1.38k likes | 1.68k Views
โครงการแนะแนวในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สำหรับนักศึกษาแพทย์ปีที่ 1 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม 2551 เวลา 13.00-16.00 น.
E N D
โครงการแนะแนวในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สำหรับนักศึกษาแพทย์ปีที่ 1 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม 2551 เวลา 13.00-16.00 น. ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ศ.นพ.ธีรชัย ฉันทโรจน์ศิริ ศ.นพ.ศรีประสิทธิ์ บุญวิสุทธิ์
นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ (2547-2548) • ประธานเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพ เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ • กรรมการแพทยสภา • กรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐาน สปสช. • อดีตประธานราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทยฯ • อดีตหัวหน้าภาควิชาวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี ศ.แพทย์หญิงสมศรี เผ่าสวัสดิ์
เหรัญญิกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ2551-2552เหรัญญิกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ2551-2552 • อดีตกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐาน สปสช. 2544-2549 • อาจารย์พิเศษ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี • กรรมการราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยฯ ศ.เกียรติคุณนพ.ธีรชัย ฉันทโรจน์ศิริ
ประธานฝ่ายวิชาการแพทยสมาคมฯประธานฝ่ายวิชาการแพทยสมาคมฯ • ศาสตราจารย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล • อดีตรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนา มหาวิทยาลัยมหิดล • กรรมการสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย พ.ศ.2535-ปัจจุบัน ศ.นพ.ศรีประสิทธิ์ บุญวิสุทธิ์
ประวัติความเป็นมาของวิชาชีพแพทย์ประวัติความเป็นมาของวิชาชีพแพทย์ • พ.ศ. 2429 : สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงโปรดให้ ตั้ง “คอมมิตตีจัดการโรงพยาบาล” • พ.ศ. 2431 : โรงพยาบาลแห่งแรกเกิดขึ้น “โรงพยาบาลศิริราช” • พ.ศ. 2448 : กำเนิดสุขาภิบาลแห่งแรกที่ ต.ท่าฉลอม จ.สมุทรสาคร และ นครศรีธรรมราช ชลบุรี นครปฐม
ประวัติความเป็นมาของวิชาชีพแพทย์ประวัติความเป็นมาของวิชาชีพแพทย์ • พ.ศ. 2451 : จัดตั้งโรงพยาบาลเมืองนครราชสีมา • พ.ศ. 2469 : จัดตั้งโรงพยาบาลเมืองอยุธยา ปัตตานี เชียงใหม่ สงขลา สุพรรณบุรี • พ.ศ. 2494 – 2500 : ประเทศไทยมีโรงพยาบาล ทุกจังหวัด 72 จังหวัด • พ.ศ. 2517 – 2547 : โรงพยาบาลอำเภอ (ชุมชน) 700 กว่าแห่ง
ประวัติความเป็นมาของวิชาชีพแพทย์ประวัติความเป็นมาของวิชาชีพแพทย์ • พ.ศ. 2551 : โรงพยาบาลศูนย์ และ โรงพยาบาลทั่วไป 97 แห่ง : โรงพยาบาลชุมชน 709 แห่ง : โรงพยาบาลกองทัพ (กองทัพบก อากาศ เรือ) 59 แห่ง : โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย 30 แห่ง : โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร 9 แห่ง : โรงพยาบาลเอกชน 186 แห่ง
การถือปฏิบัติสำหรับการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในสมัยต่าง ๆ • Hippocratic Oath • Declaration of Geneva (WMA 2492) • International Code of Ethics • จรรยาแพทย์ (ร.ศ. 127) • คำปฏิญาณต่อหน้าพระพักตร์ (พ.ศ. 2471)
คำปฏิญาณต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจากแพทย์ระดับปริญญารุ่นแรก (พ.ศ.2471) ข้าพเจ้าจะประพฤติตนในหน้าที่แพทย์ เพื่อนำมาซึ่งเกียรติแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเพื่อให้มหาชนนับถือแพทย์ทั่วไป 2. บรรดาผู้ป่วยไข้ในความอารักขาของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะตั้งใจรักษาโดยสุจริต และพากเพียรจนสุดกำลังที่จะทำให้เขาเหล่านั้น พ้นจากความไข้ ความลับส่วนตัวใด ๆ ของคนไข้ที่ข้าพเจ้าทราบโดยหน้าที่แพทย์ ข้าพเจ้าจะสงวนไว้โดยมิดชิด
คำปฏิญาณต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจากแพทย์ระดับปริญญารุ่นแรก (พ.ศ.2471) ข้าพเจ้าจะไม่ใช้ยาหรือวิธีบำบัดโรคประการใด ๆ อันจะนำมาซึ่งชื่อเสียงไม่ดีงามแก่อาชีพแพทย์ไม่ว่าในบทบาทใด ๆ 4. ข้าพเจ้าจะปฏิบัติโดยสุจริต และยุติธรรมต่อเพื่อนร่วมอาชีพแพทย์ด้วยกันในความติดต่อโดยอาชีพ จะประพฤติตนเป็นสัมมาทุกประการ
แพทย์แผนปัจจุบันกับการประกอบวิชาชีพเวชกรรมแพทย์แผนปัจจุบันกับการประกอบวิชาชีพเวชกรรม • ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศตะวันตก • เป็นการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ • เริ่มมีระบบธุรกิจ การค้า (ภาคเอกชน)
เทคโนโลยีกับการแพทย์ • Technological Medicine • Humanistic Medicine
ธรรมะเบื้องต้นของแพทย์ 7 ประการ ความเชื่อถือ - ความศรัทธา ความละอายต่อความชั่ว - หิริ ความครั่นคร้ามต่อความชั่ว - โอตัปปะ ความรู้ที่ได้ศึกษามามาก - พาหุสัจจะ ความเพียร - วิริยะ ความยั้งคิด - สติ ความรู้ประจักษ์ - ปัญญา
ธรรมะที่ทำให้เป็นแพทย์ที่สมบูรณ์ 5 ประการ เมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อ เอาใจใส่ต่อโรคภัยไข้เจ็บ 5. ขันติ
ปัญหาทางการแพทย์ที่ต้องตัดสินปัญหาทางการแพทย์ที่ต้องตัดสิน การวินิจฉัยโรคและการสืบสวนค้นคว้า การรักษาและการจัดการกับการดำเนินของโรค การตัดสินใจทางเวชจริยศาสตร์
ปัญหาทางเวชจริยศาสตร์ปัญหาทางเวชจริยศาสตร์ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาทางจริยศาสตร์ในผู้ป่วยรายนั้น ทฤษฎีและหลักการทางเวชจริยศาสตร์ คนที่เกี่ยวข้อง
คนที่เกี่ยวข้อง • ผู้ป่วย • ญาติพี่น้อง • ครอบครัว • สังคมแวดล้อม
ทักษะการสื่อสาร • ฝึกฝนทักษะการพูด • การนำเสนอ • การทำงานเป็นกลุ่ม • การใช้ภาษาที่เหมาะสม
สิ่งที่นักศึกษาต้องปฏิบัติสิ่งที่นักศึกษาต้องปฏิบัติ อ่านตำรา เข้าฟังการบรรยาย เข้าเรียนกลุ่มย่อย เขียนรายงานผลการตรวจผู้ป่วย และแสดงความคิดเห็น เขียนรายงานผลการปฏิบัติให้ห้องทดลอง ปฏิบัติตัวให้เหมาะสม มีมารยาทในวิชาชีพและการดำรงตน ถ้ามีปัญหาหรือสงสัยให้สอบถามทันที
คุณสมบัติของบุคลากรทางการแพทย์คุณสมบัติของบุคลากรทางการแพทย์ สุขภาพดี บุคลิกภาพ – สังคมดี น่าเชื่อถือ มีความมั่นคงในชีวิต
สุขภาพดี • อาหาร • ออกกำลังกาย
บุคลิกภาพ – สังคมดี – น่าเชื่อถือ • สุขภาพจิต • ลด ละ เลิก อบายมุข • มีระเบียบ วินัยในชีวิต • ความเอื้ออาทรต่อเพื่อนมนุษย์ ไม่เห็นแก่ตัว
มีความมั่นคงในชีวิต • มีเศรษฐกิจพอเพียง • มีวิชาการ • มีส่วนร่วมกับสังคมทุกระดับ • ครอบครัว • ชุมชน • สังคมโดยรวม
องค์กรแพทย์ที่ควรรู้จักองค์กรแพทย์ที่ควรรู้จัก • แพทยสภา • แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ • ราชวิทยาลัยแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ • กลุ่มสถาบันฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางแห่งประเทศไทย • สมาคมแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ • สมาคมโรงพยาบาลเอกชน
“ ในขณะที่ท่านประกอบกิจแพทย์ อย่านึกว่าท่านตัวคนเดียวจงนึกว่าท่านเป็นสมาชิกของ “สงฆ์” คณะหนึ่ง คือ คณะแพทย์ ท่านทำดีหรือร้าย ได้ความเชื่อถือ หรือ ความดูถูกเพื่อนแพทย์อื่นๆจะพลอยยินดี หรือเจ็บร้อนอับอายด้วย นึกถึงความรับผิดชอบต่อผู้ที่เป็นแพทย์ด้วยกัน
แพทย์ทุกคนมีกิจที่จะแสดงความกลมเกลียวในคณะ แพทย์ต่อสาธารณชน เมื่อเกิดความเลื่อมใสในคณะ แพทย์ขึ้นในหมู่ประชาชน แล้ว ผู้ที่จะตั้งต้นทำการแพทย์ ถึงจะยังไม่ได้มีโอกาสตั้งตัวในความไว้ใจของคน ก็จะได้ส่วนความไว้ใจ เพราะเป็นสมาชิกของคณะที่มีผู้นับถือ เราเห็นพระบวชใหม่ที่ยังไม่เป็นสมภารเราก็ยกมือไหว้ เพราะเรามีความนับถือในลัทธิของพระสงฆ์ฉันใดก็ดี แพทย์หนุ่มก็ได้ความไว้ใจเพราะคณะของเขาเป็นที่น่าไว้ใจ ฉะนั้นความประพฤติของแพทย์ บุคคลนำมาซึ่งประโยชน์แก่แพทย์ใหม่ และ เราก็อยากจะช่วยผู้ที่ตั้งต้นในอาชีพของเราเสมอไป” สมเด็จพระบรมราชชนก
“ฉันไม่ต้องการ ให้เธอเป็นแพทย์เท่านั้น แต่ฉันต้องการ ให้เธอเป็นมนุษย์ด้วย” พระราชดำรัสของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระราชทานในวโรกาสเปิดการศึกษาเวชนิสิต รุ่น ๒๔๗๑
“อาชีพแพทย์นั้นมีเกียรติ แพทย์ที่ดีจะไม่ร่ำรวย แต่ไม่อดตาย ถ้าใครอยากร่ำรวย ก็ควรเป็นอย่างอื่น ไม่ใช่แพทย์” พระราชดำรัสของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระราชทานแก่แพทย์รุ่น ๒๔๗๒
“คนไข้โดยมากอยากรู้ความจริงเราไม่เชื่อความหลอกลวงของเราเองแล้วที่ไหนจะหวังให้คนไข้เชื่อถ้าท่านหลอกคนไข้แล้วท่านก็ต้องรักษาเขาได้หนเดียวโลกนี้เล็ก ถ้าท่านไม่ให้ยาจนเขาตายเลยท่านจะเจอเขาอีกและเขามีปากบอกความชั่วความดีกันไปต่อๆ” ลายพระหัตถ์ของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ถึงสภานายกและสมาชิกสโมสรแพทย์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๑
“การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิด ว่าที่จริงแล้วคนโดยมาก ไม่ชอบปิดทองหลังพระกันนัก เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้ พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๐๖
“การบำบัดทุกข์ของ เพื่อนมนุษย์ผู้เจ็บป่วย โดยไม่เลือกบุคคล และไม่เห็นแก่อามิส เป็นทั้งหน้าที่ วินัย และอุดมคติของแพทย์ วังไกลกังวล ๒๘ มีนาคม ๒๕๐๘
“จรรยาแพทย์ เป็นวินัยที่มิได้มีการ บังคับให้ทำตาม แต่ท่านจะต้อง บังคับตัวของท่านเอง ให้ปฏิบัติตามให้ได้ ” พระบรมราโชวาทของพระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ๖ เมษายน ๒๕๑๑
“การรักษาความสมบรูณ์แข็งแรงของร่างกาย เป็นปัจจัยของเศรษฐกิจที่ดีและสังคมที่มั่นคง เพราะร่างกายที่แข็งแรงนั้น โดยปกติจะอำนวยผลให้สุขภาพใจสมบูรณ์ด้วย และ เมื่อมีสุขภาพสมบูรณ์ดีพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจแล้วย่อมมีกำลังทำประโยชน์สร้างสรรค์เศรษฐกิจและสังคมของบ้านเมืองได้เต็มที่” พระบรมราโชวาทของพระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๒
“ การที่ให้ศัลยแพทย์ผู้มีฝีมือเอก ในประเทศไทยได้ไปเห็นสภาพ ในท้องที่จริงๆนั้นบ้าง จึงเป็นประโยชน์ในด้านผู้ป่วย และในด้านผู้รักษา ผู้มีฝีมือเอกเหล่านั้น ก็จะมีฝีมือเอกยิ่งขึ้น เพราะเขาเห็นสภาพจริงของประเทศ เห็นชาวบ้านเขาอยู่กันอย่างไร” พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่คณะกรรมการบริหารราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ๑๗ ตุลาคม ๒๕๒๔
“คนเราถ้าพอใจในความต้องการก็มีความโลภน้อยเมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อยถ้าทุกประเทศมีคิดว่าทำอะไรต้องเพียงพอหมายความว่าพอประมาณไม่สุดโต่งไม่โลภอย่างมากคนเราก็อยู่เป็นสุข”“คนเราถ้าพอใจในความต้องการก็มีความโลภน้อยเมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อยถ้าทุกประเทศมีคิดว่าทำอะไรต้องเพียงพอหมายความว่าพอประมาณไม่สุดโต่งไม่โลภอย่างมากคนเราก็อยู่เป็นสุข” พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่บุคคลที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพร ณ ศาลาดุสิดาลัย ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑
เหตุใดแพทย์ต้องมีจริยธรรม : เพราะต้องมีความรับผิดชอบสูง • ในฐานะผู้นำสังคม • ในฐานะผู้ได้เปรียบ • ต่อประโยชน์สุขของเพื่อนมนุษย์ • ต่อชีวิตผู้อื่นและต่อตนเอง • ต่อสถาบันวิชาชีพแพทย์
สถานการณ์ปัจจุบันสังคมมองแพทย์อย่างไรสถานการณ์ปัจจุบันสังคมมองแพทย์อย่างไร • การให้เกียรติ ต่อวิชาชีพแพทย์ น้อยลง • แพทย์ คือ ผู้ทำงาน ตรวจรักษาโรค ซึ่งผู้ป่วยมาจ่ายเงินซื้อบริการ • แพทย์พาณิชย์ คิดค่ารักษาแพง • แพทย์รักษา ไม่หาย เลี้ยงไข้ หรือเปล่า • แพทย์ วินิจฉัยโรค ผิดพลาด • เมื่อแพทย์ รักษาไม่ได้ตามที่คาดหวัง ก็ฟ้องร้องแพทย์ได้ • คนไข้ ไม่ไว้ใจแพทย์ ระแวงแพทย์
แพทย์ควรปฏิบัติตัวอย่างไร ?จึงจะทำให้ผู้ป่วยเกิดความเชื่อมั่น เชื่อถือในตัวแพทย์
ความเชื่อมั่น ความเชื่อถือ ความเชื่อใจ ในตัวแพทย์เกิดจาก ตัวแพทย์เอง • บุคลิกลักษณะ เมื่อผู้ป่วยพบแพทย์ การแต่งกายสุภาพ เรียบร้อย • การพูดจา ต่อคนไข้และญาติ ในลักษณะที่ให้เกียรติต่อเขาเสมอ • การพูดจา และแสดงออก ต่อเพื่อนแพทย์ด้วยกันหรือ เพื่อนร่วมงานสาขาอื่น ต้องให้เกียรติต่อเขาเสมอ • การมีความรู้ วิชาการที่แม่นยำ รู้จริง ทำให้แพทย์มั่นใจ ความมั่นใจนี้จะแสดงออก ให้ผู้ป่วยและญาติ รับรู้ได้ • แพทย์ต้องรู้จักสื่อสาร อธิบายให้ผู้ป่วย และญาติ รับทราบถึงคุณค่าหรือประโยชน์ที่แพทย์ให้การรักษาแก่เขาอย่างเพียงพอ
ความเชื่อมั่น ความเชื่อถือ ความเชื่อใจ ในตัวแพทย์เกิดจาก ตัวแพทย์เอง • แพทย์ต้องอธิบาย หรือชี้ให้คนไข้ รู้ถึงคุณค่าของการพบ positive finding และ negative finding • แพทย์ต้องไม่เบื่อ หรือ รำคาญ เมื่อผู้ป่วยสอบถามข้อมูลการรักษา และต้องทำในลักษณะที่เต็มใจเสมอ • การอธิบาย ตอบข้อซักถาม ให้แก่คนไข้ที่มีความรู้ทางการแพทย์ ต้องใจเย็น และ ระมัดระวัง (ถึงแม้ความรู้นั้นอาจจะไม่ถูกต้อง ก็ต้องอธิบาย และให้เกียรติคนไข้เสมอ)
การป้องกันความเสี่ยงจากการฟ้องร้องเบื้องต้นการป้องกันความเสี่ยงจากการฟ้องร้องเบื้องต้น • การบันทึกเวชระเบียน อย่างมีระบบ • บันทึกขั้นตอนการรักษาอย่างละเอียด • ข้อมูลที่แนะนำให้คนไข้และ ญาติเพื่อการรักษา และคนไข้ปฏิเสธ ควรบันทึกไว้อย่างละเอียด • การเขียน progress note • การสั่ง order ทางโทรศัพท์ ต้องทบทวนทันทีเมื่อเยี่ยมคนไข้ ถือเป็นความรับผิดชอบของแพทย์ • การเขียนใบรับรองแพทย์ และเอกสารทางการแพทย์อื่นๆ ต้องเขียนอย่างระมัดระวัง เป็นจริงตามหลักวิชาการแพทย์ (อย่าเขียนให้เพราะเกรงใจ ความรับผิดชอบอยู่ที่เรา)
การบริหารความเสี่ยง เมื่อผลการรักษา ไม่พึงประสงค์ • เมื่อผลการรักษาไม่พึงประสงค์ ให้รีบรายงานฝ่ายบริหารทราบโดยด่วน เพื่อจะได้ช่วยsupportแพทย์ • อย่ากังวล หรือ ตกใจ มากเกินไป • อย่าเพิ่งสรุป หรือ แจ้ง หรืออธิบายผลใดๆแก่ผู้ป่วย เร็วเกินไป ถ้าจำเป็นอธิบายกว้างๆ อย่าเพิ่งลงรายละเอียด • พยายามแก้ไขปัญหาผู้ป่วยโดยเร็วที่สุด อย่าเพิ่งหาคนผิดหรือโทษคนอื่นๆ เพราะ คนไข้ และญาติ จะยิ่งขาดความเชื่อมั่น ปัญหาอาจลุกลาม • แพทย์ต้องรู้จักปรึกษาผู้รู้ รุ่นพี่ที่เคยมีประสบการณ์ในการรับมือกับปัญหา
มารยาทของแพทย์ในการทำงานร่วมกันมารยาทของแพทย์ในการทำงานร่วมกัน • ไม่วิจารณ์การรักษา หรือ การทำงานของแพทย์ท่านอื่น ต่อหน้าคนไข้ หรือ ต่อหน้าพนักงาน • เมื่อมีปัญหาในการรักษา อย่าพยายามหาคนผิด หรือ โทษว่าโรงพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ ต่อคนไข้ แต่ควรจะรีบแก้ปัญหาให้คนไข้ และทำให้คนไข้รู้สึกว่า แพทย์ได้ตั้งใจและดูแลเขาอย่างดีที่สุดแล้ว • การส่งต่อ หรือ consult คนไข้ ให้สื่อสารกันโดยตรง อย่า สื่อสารผ่านพนักงาน เพราะอาจจะเกิดความเข้าใจผิด
เป็นหมอไม่รู้กฎหมาย จะเสียหายไม่รู้ตัว
ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ โทษทางอาญา โทษทางแพ่ง (ละเมิด) โทษในฐานะ ผู้ประกอบวิชาชีพ พระราชบัญญัติวิชาชีพ เวชกรรม พ.ศ.2525 หมวด 2 โฆษณา หมวด 3 การประกอบ วิชาชีพเวชกรรม หมวดอื่น ๆ ป.อาญา ม.291 ประมาทเป็นเหตุให้ ผู้อื่นเสียชีวิต ป.พ.พ. ม.420 1. กระทำโดยประมาท 2. มีหน้าที่ต้องกระทำแต่ งดเว้นไม่กระทำ 3. กระทำให้บุคคลอื่นเสีย หายแก่ชีวิต,ร่างกาย,อนามัย, เสรีภาพ,ทรัพย์สิน ป.อาญา ม.300 ประมาทเป็นเหตุให้ ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส พ.ร.บ.สถานพยาบาล2541 ป.อาญา ม.59 วรรค 3 กระทำผิดโดยมิใช่เจตนา พ.ร.บ.หลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ
การฟ้องร้อง ๑. ผู้ประกอบวิชาชีพ ๗ สาขาวิชา ๒. ก่อนถูกฟ้องร้อง ๓. เมื่อถูกฟ้องร้อง ๔. หนังสือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ๕. ข้อเท็จจริงทางการแพทย์ ๖. ตัวอย่างคำฟ้องแพ่ง
๗. ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาคดีแพ่ง การกระทำโดยประมาทเลินเล่อ ๘. คำพิพากษาคดีอาญาเกี่ยวกับพยาบาล ๙. รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐
๑ ผู้ประกอบวิชาชีพ ๗ สาขาวิชา • แพทย์ ๔. พยาบาล • ๒. ทันตแพทย์ ๕. เทคนิคการแพทย์ • ๓. เภสัช ๖. เอกซเรย์ • ๗. กายภาพบำบัด
๒. ก่อนถูกฟ้องร้อง ๒.๑ สาเหตุทั่วไปของการฟ้องร้อง ๒.๒ การร้องเรียนและการฟ้องคดี ๒.๓ การป้องกันการฟ้องร้องจากการประกอบวิชาชีพฯ