1k likes | 2.27k Views
การตรวจสอบธุรกิจน้ำมันเชื้อเพลิง. โดย หรรษลักษณ์ บรรดิษ. นักวิชาการตรวจสอบบัญชีชำนาญการพิเศษ. ประเด็น. ความรู้เกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง. กฎหมาย ระเบียบ คำแนะนำที่เกี่ยวข้อง. การประเมินการควบคุมภายใน. แนวการตรวจสอบ/วิธีการตรวจ. วิธีปฏิบัติทางบัญชีของน้ำมันเชื้อเพลิง.
E N D
การตรวจสอบธุรกิจน้ำมันเชื้อเพลิงการตรวจสอบธุรกิจน้ำมันเชื้อเพลิง โดย หรรษลักษณ์ บรรดิษ นักวิชาการตรวจสอบบัญชีชำนาญการพิเศษ
ประเด็น ความรู้เกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง กฎหมาย ระเบียบ คำแนะนำที่เกี่ยวข้อง การประเมินการควบคุมภายใน แนวการตรวจสอบ/วิธีการตรวจ วิธีปฏิบัติทางบัญชีของน้ำมันเชื้อเพลิง
ความรู้ธุรกิจน้ำมันเชื้อเพลิงความรู้ธุรกิจน้ำมันเชื้อเพลิง
สถานีบริการน้ำมัน สหกรณ์สุราษฎร์ธานี จำกัด สหกรณ์สุราษฎร์ธานี จำกัดเป็นสถานีบริการน้ำมันดีเด่น 3 ปีซ้อน เปิดบริการ 24 ชั่วโมง เพื่อรองรับนักเดินทาง เป็นสถานีขนาดใหญ่ 22 หัวจ่าย จำหน่ายน้ำมัน ที่ได้รับการรับรองคุณภาพจากกระทรวงพาณิชย์ โดยราคามาตรฐานของ ปตท. ห้องน้ำสะอาด พร้อมด้วยร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น ร้านฟ้าดฟู้ด เคเอฟซี ร้านกาแฟสด ร้านขายของฝาก บริการที่เติมลมอัตโนมัติ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๕๐ กฎกระทรวงพลังงาน สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 54) ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยการตัดสินค้าขาดบัญชีของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2546 ลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย คำแนะนำนายทะเบียนสหกรณ์ เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับ สินค้าคงเหลือ พ.ศ. 2546 การออกใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ม. 86/8 และการเก็บรักษารายงาน ม. 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร
พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๕๐ นิยามที่เกี่ยวข้อง 1 • “น้ำมันเชื้อเพลิง”คือ น้ำมันปิโตรเลียมดิบ น้ำมันเบนซิน น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันหล่อลื่น และรวมถึงผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียมอื่นที่เป็นของเหลวและใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่น ตามที่รัฐมนตรีกำหนดให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา • “การมีน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในครอบครอง” คือ การมีไว้ในครอบครอง ไม่ว่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น และไม่ว่าจะเป็นกรณีมีไว้เพื่อจำหน่าย เพื่อขนส่ง เพื่อใช้หรือเพื่อประการอื่นใด และรวมถึงการทิ้งหรือปรากฏในบริเวณที่อยู่ • ในความครอบครองด้วย 2
นิยามที่เกี่ยวข้อง “สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง”คือ สถานที่ที่ใช้ในการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้บริการน้ำมันเชื้อเพลิงแก่ยานพาหนะ และรวมถึงบริเวณที่กำหนดไว้ใน ใบอนุญาตให้เป็นเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตลอดจนสิ่งก่อสร้าง ถัง ท่อ และอุปกรณ์ หรือเครื่องมือต่าง ๆ ในบริเวณนั้น “การขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง”คือ การเคลื่อนย้ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่แห่งหนึ่ง ไปยังที่อีกแห่งหนึ่ง ไม่ว่าโดยทางบก ทางน้ำ ทางท่อ หรือโดยวิธีการอื่นใด “คลังน้ำมันเชื้อเพลิง”คือ สถานที่ที่ใช้เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงตามปริมาณ ที่กำหนดในกฎกระทรวง และรวมถึงบริเวณที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตให้เป็นเขต คลังน้ำมันเชื้อเพลิงตลอดจนสิ่งก่อสร้าง ถังท่อและอุปกรณ์ หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่รวมถึงสถานที่ใช้ในการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้เป็นวัตถุดิบ ในกระบวนการผลิตในโรงกลั่นหรือผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง 3 4 5
พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๕๐ 1 ชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิง 3 ชนิด • ไวไฟน้อย มีจุดวาบไฟตั้งแต่ 60 องศาเซลเซียส ขึ้นไป เช่น น้ำมันดีเซล • น้ำมันเตา น้ำมันหล่อลื่น ฯลฯ • ไวไฟปานกลาง มีจุดวาบไฟ 37.8-60 องศาเซลเซียส เช่น น้ำมันก๊าด • น้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับเครื่องบิน ฯลฯ • ไวไฟมาก มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 37.8 องศาเซลเซียส เช่น น้ำมันเบนซิน • น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ฯลฯ ภาชนะบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง5 ประเภท 2 1.ขวดน้ำมันเชื้อเพลิง 2.กระป๋องน้ำมันเชื้อเพลิง 3.ถังน้ำมันเชื้อเพลิง 4.ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง 5. ถังขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง
กฎกระทรวงพลังงาน สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๒ ออกแบบและก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง 6 ประเภท 1 บริการน้ำมันเชื้อเพลิงแก่ยานพาหนะทางบก มีขนาดความกว้างตามที่กรมธุรกิจพลังงาน ประกาศ กำหนดและเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ไว้ในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน • ประเภท ก สถานีบริการติดถนนใหญ่ • ประเภท ขสถานีบริการติดถนนซอย (3) ประเภท ค มี 2 ลักษณะดังนี้ (3.1) ปั้มถังลอยริมถนนขนาดเล็ก (3.2) ปั้มถังลอยริมถนนขนาดใหญ่ บริการน้ำมันเชื้อเพลิงแก่ยานพาหนะทางบก มีการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลาง /ไวไฟน้อยไว้ในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือ พื้นดินปริมาณไม่เกิน 10,000 ลิตร 10,000 ลิตรขึ้นไป บริการน้ำมันเชื้อเพลิง เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก/ ไวไฟปานกลาง/ไวไฟน้อยในถังน้ำมันเชื้อเพลิง (4) ประเภท ง ปั้มหลอดแก้วมือหมุน
กฎกระทรวงพลังงาน สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๒ (5) ประเภท จ มี 2 ลักษณะ ดังนี้ (5.1) สถานีบริการทางน้ำขนาดเล็ก บริการน้ำมันเชื้อเพลิงแก่เรือ ปริมารเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลาง/ไวไฟน้อย ปริมาณไม่เกิน 10,000 ลิตร และเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดิน /ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ติดตั้งภายในโป๊ะเหล็ก (5.2) สถานีบริการทางน้ำขนาดใหญ่ บริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ให้บริการแก่เรือ ที่มีปริมาณเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลาง/ไวไฟน้อย มีปริมาณเกิน 10,000 ลิตร ขึ้นไป และเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก /ไวไฟปานกลาง/ไวไฟน้อย ไว้ในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดินหรือถังเก็บที่ติดตั้งภายในโป๊ะเหล็ก หรือเก็บไว้ในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน (6) ประเภท ฉ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ให้บริการแก่อากาศยาน คลังน้ำมันเชื้อเพลิง ที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงมีปริมาณเกิน 500,000 ลิตรขึ้นไป 2
เอกสารจัดตั้งปั้มน้ำมันเชื้อเพลิงเอกสารจัดตั้งปั้มน้ำมันเชื้อเพลิง • หมวด/แขวงการทาง/รพช./สุขาภิบาล/เทศบาล รวบรวมเอกสารหลักฐานการลงบัญชี- ใบอนุญาตเชื่อมทาง ใบอนุญาตเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง • โยธาจังหวัด ใบอนุญาตผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิง • พาณิชย์จังหวัด ใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม • สรรพากรในพื้นที่ OK ใบอนุมัติเป็นสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิง • สรรพากรในพื้นที่ • ขนส่งจังหวัด ใบอนุญาตขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง • สรรพากรในพื้นที่
การใช้เงินทุน สหกรณ์ลงทุนเอง บริษัทลงทุนให้บางส่วน บริษัทลงทุนให้ทั้งหมด มีที่ดิน
การลงทุน หลังคาคลุมปั้ม/แท่งถัง/ป้าย ฯ ค่าก่อสร้าง 4 1 3 2 ถังน้ำมันใต้ดิน หรือบนดิน ตู้จ่าย
บริษัทลงทุนให้ทั้งหมดบริษัทลงทุนให้ทั้งหมด บริษัทจ่ายค่าก่อสร้าง เครื่องมือ อุปกรณ์และอื่น ๆ โดยเรียกเก็บ 1) ค่าลิขสิทธิ์ เรียกว่า ค่าสิทธิดำเนินการ คิดจาก ยอดขายน้ำมันขั้นต่ำต่อเดือน เป็นอัตราต่อลิตร ต่อยอดขายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ซื้อ ถ้าสหกรณ์ซื้อ เกินกว่ากำหนด ส่วนที่เกินไม่ต้องเสีย ค่าสิทธิฯ 2)ค่าเช่าดำเนินการสถานีบริการ(ปั้ม) รายเดือน เรียกว่า ค่าสิทธิดำเนินการ 3)สหกรณ์จะได้รับค่าเช่าที่ดินจากบริษัทรายเดือน เรียกว่า รายได้ค่าเช่าที่ดิน ตามสัญญา 20 ปี
บริษัทลงทุนให้บางส่วนบริษัทลงทุนให้บางส่วน โอกาส - เช่าชื้อถุงบรรจุ/ตู้จ่าย (เสียดอกเบี้ย) ชำระงวดแรก 20% 1 เดือนหลังจากลงน้ำมัน เชื้อเพลิงครั้งแรก รับประกัน บริษัทรับประกัน 1ปี ตู้จ่าย เฉพาะมิเตอร์และ เครื่องไม่รวมงวงจ่าย และสายส่งน้ำมัน
ท่อระบายอากาศ ท่อวัดน้ำมัน ฝาเปิด-ปิด ท่อรับน้ำมัน ลูกดิ่ง ท่อส่งไปตู้จ่าย สแกลบอกระดับน้ำมัน ระบายน้ำ ส่วนประกอบถังน้ำมันบนดิน
ส่วนประกอบถังน้ำมันใต้ดินส่วนประกอบถังน้ำมันใต้ดิน แผนผัง ระบบป้องกัน-ระงับอัคคีภัย ต้องติดตั้งระบบฉีดสารละลายโฟมและระบบน้ำหล่อเย็น ท่อน้ำดับเพลิงและท่อโฟม ให้ทาสีทั้งเส้น ท่อน้ำดับเพลิงให้ใช้สีแดง ท่อโฟมให้ใช้สีเหลือง แสดงขอบเขตที่ดิน แนวเขตคลังน้ำมันเชื้อเพลิง แท่นจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ภาชนะบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องสูบน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง แหล่งน้ำดับเพลิง ระบบบำบัด/แยกน้ำปนเปื้อนน้ำมันเชื้อเพลิง เขื่อน/กำแพง/บ่อเก็บกักน้ำมันเชื้อเพลิง ท่อหรือรางระบายน้ำหลัก สิ่งปลูกสร้างอื่นๆ และทางเข้า-ทางออกสำหรับยานพาหนะ
การคำนวณปริมาณในถังเก็บการคำนวณปริมาณในถังเก็บ ค้างสาย/ท่อ การคำนวณปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงในถังเก็บไม่ว่าจะมีน้ำมันเชื้อเพลิง อยู่ปริมาณเท่าใดก็ตามให้คิดคำนวณที่ร้อยละ ๙๕ ของปริมาณความจุ
ตู้น้ำมันหยอดเหรียญทุกตัวได้รับมาตรฐานตู้น้ำมันหยอดเหรียญทุกตัวได้รับมาตรฐาน ตามร่างพรบ.
ขั้นตอนการทำงานของระบบ ตู้น้ำมันหยอดเหรียญ 1.เครื่องขายจะตรวจสอบน้ำมันคงเหลือภายในถังเก็บ ถ้ามีเหลือก็สามารถขายได้ แต่กรณีน้ำมันหมด ตัวเครื่องจะแจ้งสถานะน้ำมันหมดให้กับเจ้าของเครื่องได้รับรู้ 2.เครื่องรับธนบัตร และตัวรับเหรียญ รอรับเงินจากผู้ใช้บริการ และเมื่อผู้ใช้ใส่เงินให้กับเครื่อง เครื่องจะทำการคำนวณและแสดง จำนวนเงินที่ใส่เข้าไป และปริมาณน้ำมันที่ผู้ใช้จะได้รับ ตัวเครื่องสามารถตั้งราคาขายขั้นต่ำไว้ได้ และจะไม่ทำการจำหน่ายน้ำมัน หากใส่เงินไม่ถึง อัตราการขายขั้นต่ำ 1 2 3.เมื่อผู้ซื้อกดปุ่มจ่ายน้ำมัน น้ำมันถูกปั๊มให้ไหลไปตามท่อจ่าย โดยผ่าน เซนเซอร์ วัดปริมาณน้ำมัน แล้วไหลเข้าสู่หัวจ่ายน้ำมัน ในขณะที่จ่ายน้ำมัน ตัวเลขจำนวนเงินที่ใส่เข้าไป และปริมาณน้ำมันจะลดลงเรื่อยๆ จนครบจำนวนที่ผู้ซื้อจะได้รับ 4.หลังจากผู้ซื้อได้น้ำมันครบตามจำนวนแล้ว เครื่องจะทำการบันทึกเวลา จำนวนเงิน ราคาขาย และปริมาณที่ขายไป ลงเข้าสู่เครื่อง เพื่อเก็บเป็นสถิติการขาย สามารถดูได้ 3 4
ชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิง 1. น้ำมันเบนซินออกเทน 95 2. น้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี 10 ออกเทน 95 3. น้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี 20 ออกเทน 95 4. น้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี 85 ออกเทน 95 5. น้ำมันเบนซินออกเทน 91 6. น้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี 10 ออกเทน 91 7. น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 2 8. น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5
เรื่องน้ำมัน ปริมาณน้ำมัน คือ จำนวนน้ำมันในแต่ละช่องของรถน้ำมัน ที่ผู้จัดการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ได้สั่งให้ทำการจัดส่ง ตราสารการเงินคือ เช็คธนาคารต่าง ๆ ที่ลูกค้าฝากมากับผู้ให้บริการ จัดส่งน้ำมัน แป้นน้ำมันคือ แป้นวัดระดับน้ำมันที่ใช้เป็นมาตรฐานในการตรวจรับน้ำมันเชื้อเพลิง ค่า API คือ ค่ามาตรฐานของน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดไว้เปรียบเทียบ กับตารางมาตรฐาน เพื่อตรวจว่าน้ำมันมีการเจือปนหรือไม่ ซีลคือ อุปกรณ์ใช้ร้อย ที่ท่อทางลงน้ำมันและฝาบนช่องเติมน้ำมัน หมายเลขซีลคือ เลขที่ปรากฏอยู่ในซีล มีหมายเลขเรียงตามลำดับ เรียงจากน้อยไปหามาก เพื่อป้องกันการทุจริตระหว่างการจัดส่งน้ำมัน
การตรวจรับน้ำมันเชื้อเพลิงการตรวจรับน้ำมันเชื้อเพลิง การตรวจสอบการรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่จัดส่งโดยรถขนส่งน้ำมัน ให้ตรวจสอบจากคุณภาพของน้ำมัน ชนิดของน้ำมัน และปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิง ว่าถูกต้องหรือไม่และตรงกับคำสั่งซื้อ หรือไม่ เครื่องมือใช้ประกอบในการตรวจรับน้ำมันเชื้อเพลิง ผู้จัดการสถานีบริการน้ำมันต้องมีไว้ประจำสถานีบริการน้ำมัน เพื่อใช้ในขั้นตอนการตรวจรับน้ำมันเชื้อเพลิง 1. อุปกรณ์วัดค่า API 2. น้ำยาวัดน้ำ 3. น้ำยาวัดน้ำมัน 4. ที-สแควร์ 5. ถังเดรนน้ำมัน
โครงสร้างราคาน้ำมัน 2 ส่วน 1 ราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นประกอบด้วย ราคา ณ โรงกลั่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และภาษีมูลค่าเพิ่ม 2 ราคาขายปลีก ประกอบด้วย ราคาขายส่งหน้าโรงกลั่น ค่าการตลาด และภาษีมูลค่าเพิ่ม 1 2
สีและการระเหยของน้ำมันแต่ละชนิดสีและการระเหยของน้ำมันแต่ละชนิด
บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงบริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ผู้ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรา 12 หมายถึงผู้ที่รับจ้างทำการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งไม่ใช่เป็นของตัวเอง โดยใช้ยานพาหนะสำหรับการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเฉพาะที่มีปริมาณการขนส่งครั้งละตั้งแต่ 3,000 ขึ้นไป
รถน้ำมัน หมายถึง รถบรรทุกน้ำมัน เพื่อใช้ในการจัดส่งน้ำมันให้ลูกค้า จากโรงกลั่นน้ำมันสู่สถานีบริการน้ำมัน ประเภทรถน้ำมันหมายถึง ลักษณะของรถน้ำมันทีใช้ในการขนส่งบรรทุกน้ำมัน เช่น รถเดี่ยว รถเทเลอร์ และรถพ่วง บรรจุจำนวน 16,000 ลิตร มี 5 ช่อง 3-3-4-3-3 บรรจุจำนวน 20,000 ลิตร มี 5 ช่อง 4-4-4-4-4 บรรจุจำนวน 32,000 ลิตร มี 4 ช่อง 8-8-8-8 บรรจุจำนวน 34,000 ลิตร มี 6 ช่อง 6-6-5-5-6-6 บรรจุจำนวน 40,000 ลิตร มี 10 ช่อง 4-4-4-4-4-4-4-4-4-4-4 1 2 3 4 5
โครงสร้างต้นทุนริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงโครงสร้างต้นทุนริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง 1. ต้นทุนคงที่ (Fixed Costs) ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ไม่ผันแปรไปตามปริมาณการขนส่ง เช่น ค่าเสื่อมราคาของรถบรรทุก , ค่าต่อทะเบียนรถ , ค่าประกันภัยรถ , เงินเดือนพนักงานขับรถ หรือพนักงานขนถ่าย (เด็กรถ) ฯลฯ มีค่าใช้จ่ายอื่นๆเช่น 1) ค่าภาษีรถบรรทุก ขึ้นอยู่กับกรมขนส่งทางบกกำหนดค่าธรรมเนียม2) ค่าประกันภัยสินค้าค่าเบี้ยประกันก็แล้วแต่เงื่อนไขในกรมธรรม์ 3) ค่าเช่าติดตั้งระบบ GPS เพื่อเพิ่มสถานของรถบรรทุก-ความปลอดภัย 4) ค่าติดตั้งอุปกรณ์พิเศษอื่น ๆ เพื่อบริการขนถ่ายสินค้ายาก หรือต้องการ ความปลอดภัยสูง เช่น สินค้าน้ำมัน เป็นต้น 2. ต้นทุนผันแปร (Variable Costs) ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ผันแปรตามปริมาณการขนส่ง เช่น ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าซ่อมแซม ค่ายางรถบรรทุกค่าบำรุงรักษารถ ค่าจ้างในการขนถ่ายสินค้า เป็นต้น
สิ่งที่ควรรู้ เพื่อ? แน่ใจว่า มีการพิจารณาเรื่องที่สำคัญอย่างเหมาะสม ความซับซ้อน ของการตรวจสอบ ขนาดของ กิจการ ระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ งานสำเร็จอย่างรวดเร็ว มอบหมายงานให้ผู้ช่วย ผู้สอบบัญชีได้เหมาะสม ประสบการณ์ การสอบบัญชี ความรู้ เกี่ยวกับธุรกิจ
การควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง 3 4 2 1 การควบคุมอุปกรณ์จำหน่าย น้ำมันเชื้อเพลิง ระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย ตู้จ่าย น้ำมันเชื้อเพลิง การตรวจรับ น้ำมันเชื้อเพลิง
การควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง “น้ำมันเชื้อเพลิง”เป็นสินค้าที่มีโอกาสสูญระเหยและสูญหายได้ทุกขั้นตอนทำให้สหกรณ์ประสบปัญหาน้ำมันขาดหายเป็นจำนวนมาก ควรควบคุมคือ การตรวจรับน้ำมันเชื้อเพลิง 1 ระยะเวลาการขนส่ง จากเวลาที่รถน้ำมันออกจากคลังน้ำมัน หากช้าต้องมีเหตุ ตรวจบัตรประจำตัวผู้ให้บริการจัดส่งน้ำมัน (ผบจ.) ชื่อและสกุล ต้องตรงกับ ที่ระบุในเอกสาร ภาพถ่ายต้องตรงกับตัวจริง ตรวจรายการเอกสารต่างๆ ในใบ (INVOICE) ให้ถูกต้องตรงกับความจริง เช่น ชื่อลูกค้า สถานที่ส่ง ชนิดและปริมาณน้ำมัน หมายเลขรถ หมายเลขซีล ชื่อ ผบจ. จอดรถในพื้นที่เรียบในแนวราบดับเครื่องยนต์ ใส่ห้ามล้อ ( 30 นาที) นำไม้หมอนหนุนล้อ นำถังดับเพลิงจากรถมาวางในที่ลงน้ำมันและต่อสายกราวด์
การควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (ต่อ) การตรวจรับน้ำมันเชื้อเพลิง ตรวจสอบตัวเลขซีลในใบกำกับสินค้า ไม่ควรมีการแก้ไข ตรวจสอบท่อน้ำมันเชื้อเพลิงข้างรถ หรือท่อจรวดเชื่อมต่อตัวถังน้ำมันหรือไม่ ตรวจสอบระดับแป้นน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องเปิดวาล์วนิรภัย หากมีน้ำมันไหลลงมา ใต้ท่อ ก็ไปดูแป้นระดับน้ำมันหากต่ำกว่าแป้นครึ่งเซนติเมตร ไม่ควรรับน้ำมัน ตรวจวัดน้ำบนรถขนส่งน้ำมัน ใช้น้ำยาวัดน้ำ (สีเหลือง) จุ่มให้สุดหากเปลี่ยนสีเป็นแดง แสดงว่ามีน้ำปน ตรวจสอบน้ำมันเชื้อเพลิงเจือปน ดูค่าความถ่วงจำเพาะ API เคลื่อนไม่เกิน + (-) 0.5 หรือดูสีน้ำมันดีเซลสีเหลือง หากมีสาร *โซเวน* เจือปนสีจะจางลงและค่า API เคลื่อนเกิน + (-) 0.5 ตรวจปริมาณน้ำมันคงเหลือ ก่อนลงน้ำมันจดไว้ เมื่อลงน้ำมันดูตัวเลขปริมาณกับใบกำกับ (ใช้ไม้วัด/ดูลูกดิ่ง) ก่อนและหลังลง พร้อมแจ้ผู้นำส่งน้ำมันทราบ
การควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (ต่อ) โยกรถหลังจาก ลงน้ำมันแล้ว โดยเปิดวาล์วจ่ายน้ำมันจะมีน้ำมันค้างท่อ แต่ก่อนโยกรถต้องเปิดวาล์วฉุกเฉิน-วาล์วพวงมาลัยทั้ง 5 ห้อง (น้ำมันชนิดเดียวกัน) และปิดเฉพาะวาล์วที่จ่ายน้ำมัน ดูน้ำมันที่หม้อกรอง / ไส้กรอง มีเหลือประมาณ 10-15 ลิตร ให้นำไปกรองสิ่งสกปรกก่อนไปใช้ การลงน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้ให้บริการจัดส่งน้ำมันทุกครั้ง จะต้องทำการกั้นพื้นที่ ขนาดลงน้ำมันเชื้อเพลิง ระยะห่างประมาณ 15 ม.และวางกรวยยางเตรียมพร้อมไว้ กับถังดับเพลิง ขณะทำการลงน้ำมัน โดยทำการวางถังดับเพลิงไว้ที่บริเวณด้านหน้ารถ ตรงกับหัวเก๋ง และด้านท้ายรถ ใช้ถังดับเพลิงชนิด 6A 20 B ขนาด 15 ปอนด์ เพื่อ ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการดำเนินการลงน้ำมัน หากตรวจรับแล้วมีปัญหา ให้ติดต่อบริษัทจำหน่ายทันที ก่อนลงน้ำมัน เพราะบริษัทจำหน่ายจะไม่รับผิดชอบถ้าลงน้ำมันแล้ว
การควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (ต่อ) การควบคุมอุปกรณ์จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง 2 ถังบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง เช่น ใส่กุญแจ วัดน้ำมันเชื้อเพลิง ตรวจสภาพถังบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง (รั่วซึม เอนเอียง โป่งพอง ไม้วัดคลาดเคลื่อน ฯลฯ ท่อน้ำมัน ท่อใต้ดินรั่วซึม โดยเปรียบเทียบปริมาณคงเหลือสิ้นวัน กับวันรุ่งขึ้น มียอดใกล้เคียงหรือไม่ หากแตกต่างให้หาสาเหตุ-แก้ไข และตรวจวาล์วรั่วซึม ที่ต่อเชื่อมถังบรรจุน้ำมันกับท่อใต้ดิน /ท่อใต้ดินกับตู้จ่ายโดยวัดน้ำมันเช้า-เย็น ตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง 3 บันทึกเลขมิเตอร์ยอดสะสม จำนวนขาย (ลิตร) /จำนวนเงิน แล้วเทียบกับปริมาณน้ำมันคงเหลือที่ตรวจวัดได้ หากแตกต่างต้องหาสาเหตุ-แก้ไข ทดสอบน้ำมันเชื้อเพลิงกับตู้จ่ายน้ำมัน โดยใช่กระบองตวง 5 ลิตร หรือปั๊มหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงควบคุมด้วยอีเล็คทรอนิคส์ ให้ทำทดสอบทุกอาทิตย์ หากมีปัญหาแจ้งพาณิชย์จังหวัด/บริษัทน้ำมัน ตรวจสภาพตู้จ่ายน้ำมัน มีมือถือ/สายาง /ท่อดูใต้ปั้มรั่วซึม กระบองตวง 5 ลิตร กุญแจ กำหนดผู้ถือกุญแจวงจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้ชัดเจน
การควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (ต่อ) ระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย 4 1. ห้ามผู้ให้บริการจัดส่งน้ำมัน เข้าในสถานที่ห้ามเข้าโดยเด็ดขาด ก่อนได้รับอนุญาต จากผู้จัดการสถานีบริการน้ำมัน 2. ห้ามสูบบุหรี่ ดื่มสุรา เสพยาเสพติดทุกชนิด หรือเล่นการพนัน ขณะทำการ ลงน้ำมันเชื้อเพลิง ภายในบริเวณสถานีบริการน้ำมันโดยเด็ดขาด 3. ห้ามนำสิ่งผิดกฎหมายเข้ามาในสถานีบริการน้ำมันโดยเด็ดขาด 4. ไม่อนุญาตให้มีการจุดไฟหรือกระทำการใด ๆ ที่ต้องใช้ไฟฟ้า หรือทำให้ เกิดประกายไฟ ภายในบริเวณสถานีบริการน้ำมันโดยเด็ดขาด
การประเมินความเสี่ยงและกิจกรรมควบคุมการประเมินความเสี่ยงและกิจกรรมควบคุม ส่วนที่ 2 การประเมินความเสี่ยงและกิจกรรมควบคุม 2.1 การประเมิน : ด้านการเงินการบัญชี ไม่มี กิจกรรม 1 2 กิจกรรมควบคุมทดแทน.................................................. ผลการประเมินความเสี่ยงอยู่ในระดับ ..............
การประเมินความเสี่ยงและกิจกรรมควบคุมการประเมินความเสี่ยงและกิจกรรมควบคุม ส่วนที่ 2 การประเมินความเสี่ยงและกิจกรรมควบคุม 2.1 การประเมิน : ธุรกิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง ไม่มี กิจกรรม 1 2 กิจกรรมควบคุมทดแทน.................................................. ผลการประเมินความเสี่ยงอยู่ในระดับ ..............
ระบบการป้องกันดูแลรักษาสินค้ามีความเหมะสมรัดกุมหรือไม่ระบบการป้องกันดูแลรักษาสินค้ามีความเหมะสมรัดกุมหรือไม่ น้ำมัน ณ สิ้นปีมีอยู่จริง กรรมสิทธิ์เป็นของสหกรณ์หรือไม่ ลูกหนี้การค้าน้ำมัน ณ สิ้นปี มีตัวตนอยู่จริง มีสิทธิ์เรียกร้องหรือไม่ การซื้อ/ขายน้ำมัน /รายได้-ค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจริงในรอบเวลาบัญชี การลดหย่อนสินค้าขาดบัญชี การสูญระเหยของน้ำมัน การตั้งค่าเผื่อ แนวการสอบบัญชีด้านธุรกิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง วัตถุประสงค์ ประสิทธิภาพของระบบการควบคุมภายในธุรกิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง มีเอกสารหลักฐานถูกต้อง/ครบถ้วน หนี้สงสัยจะสูญเหมาะสม การตัดสินค้าขาดบัญชี เป็นไปตามระเบียบ คำแนะนำ นายทะเบียนสหกรณ์ และกฎหมายอื่นหรือไม่
ประเด็นสำคัญ 1. ตรวจสอบการบันทึกบัญชี รายละเอียดและทะเบียนคุมสินค้า 2. การคุมสินค้าเป็นจำนวนหน่วย : จำนวนเงิน 3. การตรวจนับสินค้าทุกเดือน 4. การตีราคาสินค้าคงเหลือ : สินค้าปกติ/เสื่อมชำรุด/สูญระเหย 5. สินค้าขาดบัญชี และการตัดสินค้าขาดบัญชี 6. การประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
การตรวจสอบการบันทึกบัญชี การตรวจสอบการบันทึกบัญชี ซื้อสินค้า เอกสารประกอบการซื้อสินค้าเงินสด/เงินเชื่อ สมุดเงินสด(ซื้อสด) สมุดซื้อสินค้า บัญชีแยกประเภท ทะเบียนคุม บัญชีย่อยเจ้าหนี้การค้า
การตรวจสอบการบันทึกบัญชี การตรวจสอบการบันทึกบัญชี ขายสินค้า เอกสารประกอบการขายสินค้าเงินสด/เงินเชื่อ สมุดเงินสด(ขายสด) สมุดขายสินค้า บัญชีแยกประเภท ทะเบียนคุม ลูกหนี้การค้า เป็นปัจจุบัน กระทบยอดปัจจุบัน ถูกต้องตรงกัน
NO…… 1 ลูกจ้างขายน้ำมัน ชื่อ..............................นามสกุล.............................................
NO…. ใบส่งเงินค่าขายน้ำมัน 1 2 3 ลงชื่อ...............................................ผู้ส่งเงิน ( นายศักดิ์ ชูขาติรัก ) ลงชื่อ...............................................ผู้รับเงิน ( นางสมใจ รักดี ) ลงชื่อ..............................................ผู้จัดการปั้มน้ำมัน ( นายสามารถ จริงใจ )
NO 56 5,325 986787 986991 204 40.12 8,184.48 5,121 10,000 9,351 745549 745690 141 34.05 4,801.05 9,210 10,000 5,860 518413 518455 42 35.80 1,503.60 5,818 10,000 2,135 1408971 1409067 96 29.90 2,870.40 1,913 10,000 2174365 2174491 126 29.90 3,767.40 14,105 2598487 2599050 563 29.90 16,833.70 13,281 20,000 2071439 2071700 261 29.90 7,803.90 36,776 1,433 45,764.53 35,343 60,000 ลูกจ้างขายน้ำมัน ชื่อนายศักดิ์ ชูขาติรัก
ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยการตัดสินค้าขาดบัญชีของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2546 พืชผลการเกษตร สินค้าอุปโภคบริโภค กรณีอยู่ในเกณฑ์เสีย VAT • อัตราที่ราชการกำหนด • อัตราที่เอกชนใช้กันทั่วไป • อัตราที่ทดสอบเฉพาะ * ตามอัตราที่กรมสรรพากรกำหนด กรณีไม่อยู่ในเกณฑ์เสีย VAT * ลดหย่อนไม่เกินร้อยละ 0.5 ของยอดขายสินค้า/ยอดขายเฉพาะแผนก แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า
การตัดสินค้าขาดบัญชี • ตั้งสำรองสินค้าขาดบัญชีไว้เต็มจำนวน กำหนดในวาระประชุมใหญ่/แจ้งให้สมาชิกทราบ ที่ประชุมใหญ่มีมติอนุมัติเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มาประชุม การลดหย่อนสินค้าขาดบัญชี น้ำมันให้หักสูญระเหยไม่เกิน 0.50 % ของยอดขายผ่านหัวจ่าย ไม่ต้องรับภาระภาษีขาย ส่วนที่เกิน 0.50 % เป็นสินค้าขาดบัญชี/ต้องรับภาระภาษีขาย
น้ำมันเชื้อเพลิง ซื้อมา 100,000 ลิตร @37 บาท=3,700,000.- บาท หัก ขาย 90,000 ลิตร @39 บาท=3,510,000.- บาท คงเหลือ 10,000 ลิตร ตรวจนับได้ 9,500 ลิตร น้ำมันขาดหาย 500 ลิตร หัก 0.5% ของ 90,000 ลิตร = 450 ลิตร(ราคาขาย No VAT ) Dr ค่าลดหย่อนน้ำมันเชื้อเพลิง 17,550.- Cr ขายน้ำมัน 17,550.- สรุป น้ำมันขาดบัญชี 50 ลิตร ๆ ละ 39 บาท (ราคาขาย)
คำแนะนำนายทะเบียนสหกรณ์ วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ พ.ศ. 2546 การบันทึกบัญชี : น้ำมันขาดบัญชี 50 ลิตรๆ ละ 39บาท (ราคาขาย) Dr ลูกหนี้สินค้าขาดบัญชี 2,086.50 Cr ขายน้ำมัน 1,950.00 ภาษีขาย 136.50 • กรณีมี • ผู้รับผิดชอบ Dr สินค้าขาดบัญชี 2,086.50 Cr ขายน้ำมัน 1,950.00 ภาษีขาย 136.50 Dr ค่าเสียหายจากสินค้าขาดบัญชี 2,086.50 Cr ค่าเผื่อสินค้าขาดบัญชี 2,086.50 กรณีไม่มี ผู้รับผิดชอบ
กรณีเบิกน้ำมันเชื้อเพลิงใช้?กรณีเบิกน้ำมันเชื้อเพลิงใช้? 1 เพื่อใช้ประกอบกิจการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ถือเป็นการขายบันทึกบัญชี Dr บัญชีค่าใช้จ่าย............ XXX Cr บัญชีน้ำมันเบิกใช้เพื่อการดำเนินงาน XXX 2 เพื่อใช้ประกอบกิจการที่ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องรับภาระภาษีขายบันทึกบัญชี Dr บัญชีค่าใช้จ่าย............ XXX Cr บัญชีขายสินค้า XXX บัญชีภาษีขาย XXX
การตัดสินค้าขาดบัญชี?การตัดสินค้าขาดบัญชี? • เมื่อปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยการตัดสินค้าขาดบัญชีของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2546 Dr บัญชีค่าเผื่อสินค้าขาดบัญชี xxxxx Cr บัญชีสินค้าขาดบัญชี xxxxx