720 likes | 1.01k Views
การประชุมชี้แจงและเตรียมการ. การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา ( V-NET ) ระดับสนามสอบ ประจำปีการศึกษา 2555 10 มกราคม 2556 ณ ห้องประชุม 1 มทร .ล้านนา ลำปาง โดย ศูนย์สอบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง. หัวข้อการประชุม.
E N D
การประชุมชี้แจงและเตรียมการการประชุมชี้แจงและเตรียมการ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET)ระดับสนามสอบ ประจำปีการศึกษา 2555 10 มกราคม 2556 ณ ห้องประชุม 1 มทร.ล้านนา ลำปาง โดย ศูนย์สอบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง
หัวข้อการประชุม 1. การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอาชีวศึกษา (V-NET) 2. โครงสร้างการบริหาร V-NET 3. แบบทดสอบและกระดาษคำตอบ 4. ตารางสอบ 5. ข้อปฏิบัติในการสอบ V-NET 6. การจัดสนามสอบ 7. การรับ-ส่งแบบทดสอบ กระดาษคำตอบและอุปกรณ์การจัดสอบ 8. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสอบ V-NET 9. ปฏิทินการปฏิบัติงาน 10. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดสอบ 11. คำถามที่พบบ่อย FQAs 12. เกี่ยวกับเว็บไซต์ และอื่น ๆ
วัตถุประสงค์ของการทดสอบ V-NET • 1. เพื่อทดสอบความรู้และความคิดของนักเรียน ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง 2546) 2. เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนของสถานศึกษา 3. เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชาติ 4. เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา
ศูนย์สอบที่บริหารการทดสอบ V-NET • ศูนย์สอบที่บริหารการจัดสอบ V-NET ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 8 แห่ง และวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 17 แห่ง มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี มหาวิทยาลัย ราชภัฎนครปฐม และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ รวมจำ นวนศูนย์สอบทั้งหมด 28 ศูนย์ • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง- รับผิดชอบ จ. ลำปาง และ จ.อุตรดิตถ์
ข้อมูลการจัดสอบศูนย์สอบมทร. ล้านนา ลำปาง
ข้อมูลการจัดสอบศูนย์สอบมทร. ล้านนา ลำปาง (ต่อ)
ข้อมูลการจัดสอบศูนย์สอบมทร. ล้านนา ลำปาง (ต่อ)
กำหนดการสอบV-NET ปีการศึกษา 2555 วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม 2556 ตารางสอบ V-NET ปวช. 3
การจัดสอบ V-NET ปีการศึกษา 2555 (พ.ศ. 2556) • ข้อสอบ มีทั้งหมด 2 ฉบับ • ฉบับที่ 1 ความรู้พื้นฐานทั่วไป ผู้เข้าสอบทุกคนสอบเหมือนกัน • ฉบับที่ 2 ความรู้วิชาชีพพื้นฐาน มี 22 ชุดวิชา ผู้เข้าสอบต้องแยกสอบตามประเภทวิชาและสาขาวิชา • แบบทดสอบและกระดาษคำตอบจะบรรจุแยกซองกัน แบบทดสอบและกระดาษคำตอบมีจำนวนเท่ากับจำนวนผู้เข้าสอบในห้องสอบนั้น • กระดาษคำตอบของผู้เข้าสอบทุกคน ได้ระบุข้อมูลไว้เรียบร้อยแล้ว กรรมการคุมสอบต้องแจกให้ตรงกับผู้เข้าสอบ หากไม่ตรงกับผู้เข้าสอบหรือชำรุด ต้องใช้กระดาษคำตอบสำรอง
แบบทดสอบแต่ละชุดวิชามีรหัสสีเฉพาะ ซึ่งรหัสสีจะเหมือนกันทั้งที่ซองแบบทดสอบ ซองกระดาษคำตอบ • ซองแบบทดสอบจะถูกปิดด้วย “เทปกาวพิเศษแบบทำลายตนเอง” เพื่อมิให้เปิดจนถึงห้องสอบ ในแต่ละชุดวิชาที่สอบจะมีจำนวนซองแบบทดสอบ 1 ซอง และซองกระดาษคำตอบ 1 ซอง ต่อห้องสอบ • สทศ. จะบรรจุซองแบบทดสอบและซองกระดาษคำตอบลงในกล่อง ตามจำนวนห้องสอบของแต่ละสนามสอบเพื่อใช้สอบ และแต่ละสนามสอบจะมีแบบทดสอบสำรอง 5% และกระดาษคำตอบสำรอง 5% ของผู้เข้าสอบ
ศูนย์สอบรับกล่องบรรจุแบบทดสอบ และกล่องบรรจุกระดาษคำตอบ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกระจายให้สนามสอบในเช้าวันสอบ • หัวหน้าสนามสอบเปิดกล่องบรรจุแบบทดสอบต่อหน้าตัวแทนศูนย์สอบหรือผู้ที่ศูนย์สอบมอบหมายก่อนเวลาสอบของแต่ละวิชาไม่เกิน 1 ชั่วโมง • เมื่อสอบเสร็จ สนามสอบจะนับกระดาษคำตอบให้ครบถ้วนตามจำนวน ผู้เข้าสอบและผู้ขาดสอบบรรจุใส่ซองระดาษคำตอบปิดทับด้วยเทปกาวพิเศษแบบทำลายตนเอง แล้วบรรจุลงในกล่องปรับขนาดสำหรับใส่ซองกระดาษคำตอบ เพื่อส่ง สทศ. ผ่านศูนย์สอบ โดยศูนย์สอบจะนับกล่องให้ครบถ้วนตามจำนวนสนามสอบเท่านั้น
สนามสอบนับจำนวนแบบทดสอบให้ครบถ้วนแล้วใส่ซอง และบรรจุลงกล่องแบบทดสอบ แล้วเก็บรักษาไว้ที่สนามสอบ หลังประกาศผลสอบเรียบร้อยแล้วให้ศูนย์สอบนำไปทำลาย • หัวหน้าสนามสอบนำกล่องบรรจุซองกระดาษคำตอบ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดสอบส่งศูนย์สอบตามกำหนดนัดหมายของศูนย์สอบ • สทศ. จะนัดหมายมารับกล่องกระดาษคำตอบ พร้อมบัญชีส่งจำนวนกล่องกระดาษคำตอบฯ (V-NET 3)
2. โครงสร้างการบริหารการทดสอบ V-NET สทศ. (กำหนดนโยบาย)ศูนย์สอบ (กำกับการจัดสอบให้โปร่งใส ได้มาตรฐาน)สนามสอบ(ดำเนินการจัดสอบ ระดับสนามสอบ)
หน้าที่หลักของศูนย์สอบหน้าที่หลักของศูนย์สอบ • ประสานงานกับ สทศ. และดำเนินงานตามนโยบายและแนวปฏิบัติของ สทศ. • ประสาน กำกับ และติดตาม การส่งข้อมูลสถานศึกษา ข้อมูลนักศึกษาของสนามสอบ ให้เป็นไปตามกำหนด • ปชส. การสอบให้สถานศึกษาทราบ กำกับดูแล และติดตามการส่งข้อมูลของสถานศึกษา • กำหนดสนามสอบ และแจ้งข้อมูลห้องสอบให้ สทศ. ทราบผ่านระบบ V-NET
แต่งตั้งคณะทำงานระดับศูนย์สอบและกรรมการระดับสนามสอบแต่งตั้งคณะทำงานระดับศูนย์สอบและกรรมการระดับสนามสอบ • ควบคุม กำกับให้การจัดสอบของศูนย์สอบและสนามสอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ (ไม่ทุจริต โปร่งใส ยุติธรรม และเป็นไปตามมาตรฐานการทดสอบ) • แก้ปัญหาในการจัดสอบของศูนย์สอบและสนามสอบ • บริหารค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสอบ • รายงานสรุปผลการดำเนินการจัดสอบและสรุปค่าใช้จ่ายแจ้งให้ สทศ.
การนำส่งข้อมูลนักเรียนผ่านเว็บไซต์การนำส่งข้อมูลนักเรียนผ่านเว็บไซต์ • ประสานติดตามการส่งข้อมูลสถานศึกษาและนักศึกษา • กำหนดสนามสอบและกำกับให้สนามสอบกรอกข้อมูลสนามสอบและห้องสอบ • แก้ไขรายชื่อนักศึกษาและข้อมูลสถานศึกษาให้ถูกต้องตามคำร้องขอของสถานศึกษา • ตรวจสอบประกาศ เลขที่นั่ง ห้องสอบ และสนามสอบ • กำกับให้สนามสอบและสถานศึกษาตรวจสอบประกาศเลขที่นั่งและห้องสอบ
การประสานการจัดสอบ • แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินการทดสอบระดับศูนย์สอบ ระดับสนามสอบ และตัวแทนศูนย์สอบ • กำหนดปฏิทินการทำงาน จัดประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้องและกำกับให้มีการประชุมระดับสนามสอบ • แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ศูนย์สอบรับผิดชอบดูแลการรับส่งแบบทดสอบและกระดาษคำตอบระหว่างศูนย์สอบกับสนามสอบ
จัดเก็บรักษาแบบทดสอบ กระดาษคำตอบและอุปกรณ์ในสถานที่เหมาะสม • กำกับการสอบให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ยุติธรรม บ และมีมาตรฐานเป็นไปตามขั้นตอนในคู่มือการสอบ V-NET • กำกับให้สนามสอบส่งกระดาษคำตอบ แบบทดสอบ พร้อมเอกสารให้ศูนย์สอบตามวันที่นัดหมาย • ส่งสรุปรายงานผลการจัดสอบระดับศูนย์สอบ ให้ สทศ. ภายใน 30 วัน
การควบคุมค่าใช้จ่าย • ยึดตามบัญชีแนบท้าย 3 ข้อบังคับ สทศ. ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ พ.ศ. 2555
ข้อระวังของศูนย์สอบ • กำกับตรวจสอบการส่งข้อมูลของสถานศึกษาในความดูแลอย่างสม่ำเสมอ และกำกับให้ดำเนินการภายในเวลาที่ สทศ. กำหนด • กำชับให้สถานศึกษาตรวจสอบรายชื่อและสาขาของผู้เข้าสอบให้ถูกต้อง • ตรวจรับและต้องนับจำนวนกล่องแบบทดสอบ กระดาษคำตอบ เอกสารการสอบจาก สทศ. ให้ครบถ้วนและเก็บรักษาให้ปลอดภัย
จัดส่งกล่องแบบทดสอบ กระดาษคำตอบ เอกสารการสอบให้สนามสอบครบถ้วนตามเอกสารการส่งมอบและกำชับให้สนามสอบเก็บรักษาให้ปลอดภัย • ส่งตัวแทนศูนย์สอบไปประจำสนามสอบ เพื่อกำกับการขนส่งแบบทดสอบ กระดาษคำตอบ และเอกสาร ระหว่างศูนย์สอบกับสนามสอบ ตรวจสอบระหว่างการสอบว่าเป็นไปตามแนวปฏิบัติที่ สทศ.กำหนด • ตัวแทนศูนย์สอบต้องกำกับการเปิดกล่องบรรจุแบบทดสอบของสนามสอบ และตรวจนับจำนวนกระดาษคำตอบของกรรมการกลางก่อนปิดผนึกซอง • ตรวจนับจำนวนกล่องบรรจุกระดาษคำตอบและแบบทดสอบ พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนก่อนส่งคืน สทศ.
หน้าที่หลักของสนามสอบหน้าที่หลักของสนามสอบ • ประสานงานกับศูนย์สอบ และดำเนินการตามนโยบายและแนวปฏิบัติของศูนย์สอบ • กรอกข้อมูลห้องผ่านระบบ V-NET ภายในวันเวลาที่ สทศ. กำหนด • เสนอชื่อคณะกรรมการระดับสนามสอบให้ศูนย์สอบพิจารณาแต่งตั้ง • เตรียมความพร้อมก่อนการจัดสอบเกี่ยวกับสถานที่สอบและห้องสอบ การ ปชส. การสอบ การประกาศรายชื่อและเลขที่นั่งสอบ
รับ-ส่ง กล่องแบบทดสอบ กล่องกระดาษคำตอบ และเอกสารที่เกี่ยวกับการสอบจากศูนย์สอบ ตามเวลาที่ศูนย์สอบนัดหมาย และเก็บรักษาไว้ให้ปลอดภัย • ดำเนินการสอบให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติที่ สทศ.กำหนด มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และยุติธรรม • รวบรวมกระดาษคำตอบของผู้เข้าสอบในแต่ละห้องให้ครบถ้วน รวมทั้งส่งคืนแบบทดสอบทุกฉบับกลับคืน สทศ. • ประสานกับศูนย์สอบเกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่าตอบแทนระดับสนามสอบและรายงานสรุปการจัดสอบให้ศูนย์สอบหลังเสร็จสิ้นการสอบ
กรรมการระดับสนามสอบ -รายชื่อคณะกรรมการระดับสนามสอบที่เสนอให้ศูนย์สอบแต่งตั้ง ประกอบด้วย 1. หัวหน้าสนามสอบ (ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย) 2. หัวหน้าตึก 3. กรรมการกลางประจำสนามสอบ อัตรา 1 คน : 3 ห้องสอบ 4. กรรมการคุมสอบ อัตรา 2 คน : 1 ห้องสอบ (กรรมการคุมสอบไม่คุมสอบนักเรียนตนเอง) 5. นักการ ภารโรง อัตรา 1 คน : 5 ห้องสอบ 6. เจ้าหน้าที่ตำรวจ (ในกรณีสนามสอบนั้นมีหลายโรงเรียนมาสอบรวมกัน) 7. กรรมการอื่น ๆ (ปชส. , การเงิน) 8. กรรมการประสานงาน
บทบาทของคณะกรรมการระดับสนามสอบบทบาทของคณะกรรมการระดับสนามสอบ • 1. หัวหน้าสนามสอบ มีหน้าที่ 1. นำ นโยบายการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) ของ สทศ. มาปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และรับผิดชอบการดำเนินการสอบภายในสนามสอบให้โปร่งใส ได้มาตรฐานและไม่ทุจริต 2. เสนอรายชื่อคณะกรรมการฯ ไปให้ศูนย์สอบเพื่อเสนอให้แต่งตั้งคณะกรรมการดำ เนินการทดสอบฯ ระดับสนามสอบ 3. ร่วมกับตัวแทนศูนย์สอบจัดประชุมคณะกรรมการระดับสนามสอบก่อนวันสอบ เพื่อทำ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดสอบ และปฏิบัติตามคู่มือการจัดสอบอย่างเคร่งครัด
4. เตรียมความพร้อมในการจัดสอบให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติของสทศ. ดังนี้ 4.1 กำกับการจัดห้องสอบ และติดสติ๊กเกอร์รายชื่อผู้เข้าสอบบนโต๊ะผู้เข้าสอบ 4.2 กำกับให้ภายในห้องสอบ ไม่มีบอร์ดความรู้หรือข้อมูลทางวิชาการ 4.3 กำกับให้มีการติดรายชื่อผู้เข้าสอบในสนามสอบและที่บอร์ดประชาสัมพันธ์ 4.4 กำกับให้ติดรายชื่อผู้เข้าสอบและแผนผังที่นั่งสอบหน้าห้องสอบ 5. ประสานงานกับศูนย์สอบ เกี่ยวกับตัวแทนศูนย์สอบที่จะมาประจำ สนามสอบ 6. เปิดกล่องแบบทดสอบต่อหน้าตัวแทนศูนย์สอบที่จะมาประจำ สนามสอบซึ่งกล่องบรรจุแบบทดสอบและกล่องบรรจุกระดาษคำ ตอบ ห้ามเปิดก่อนถึงเวลาสอบ 1 ชั่วโมง ตามตารางสอบ
7. กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ การจัดสอบให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตามคู่มือการจัดสอบฯ ให้มีความโปร่งใส และยุติธรรม 8. จ่ายค่าปฏิบัติงานของคณะกรรมการระดับสนามสอบ และรวบรวม หลักฐานค่าใช้จ่ายทั้งหมดส่งมอบให้ศูนย์สอบ 9. ส่งกล่องบรรจุกระดาษคำ ตอบ ผ่านศูนย์สอบเพื่อส่งต่อให้ สทศ. 10. ส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ศูนย์สอบ 11. รายงานผลการปฏิบัติงานการดำเนินทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา ระดับสนามสอบ และเอกสารหรือหลักฐานอื่น (ถ้ามี) ให้ศูนย์สอบ ตามกำหนดเวลาที่ศูนย์สอบนัดหมาย
12. รวบรวมแบบทดสอบทุกฉบับ และเก็บรักษาไว้ที่สนามสอบให้ปลอดภัย จนกว่าจะประกาศผลสอบเรียบร้อยแล้ว ให้ศูนย์สอบนำ ไปทำ ลาย 13. หัวหน้าสนามสอบต้องเข้ามารายงานสถิติจำนวนผู้เข้าสอบ โดยผ่าน ทาง niets.or.thรายงานสถิติผู้เข้าสอบหลังจากเสร็จสิ้นการสอบใน เเต่ละวิชา
2. หัวหน้าตึกมีหน้าที่ดังนี้ 1. ประสานงานกับหัวหน้าสนามสอบ ในการจัดห้องสอบ ติดบัญชีรายชื่อผู้เข้าสอบหน้าห้องสอบและติดสติ๊กเกอร์บนโต๊ะ 2. รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับและส่งแบบทดสอบ ระหว่างกองกลางของสนามสอบกับกรรมการคุมสอบ 3. ควบคุมดูแลการสอบภายในตึกหรืออาคารที่รับผิดชอบ ต้องเดินตรวจสอบตลอดระยะเวลาการสอบ 4. รับรองรายงานตัวและอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการสอบ แก่กรรมการคุมสอบและเจ้าหน้าที่
5. รายงานต่อหัวหน้าสนามสอบทันที ในกรณีที่มีเหตุการณ์ต่อไปนี้ 5.1 กรรมการคุมสอบไม่เพียงพอที่จะคุมสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.2 ผู้เข้าสอบมาผิดสนามสอบ 5.3 พบการทุจริตในห้องสอบหรือบริเวณตึก 5.4 ผู้เข้าสอบไม่ได้รับความสะดวก 5.5 ผู้เข้าสอบเจ็บป่วยระหว่างการสอบ 5.6 กรรมการคุมสอบบกพร่องต่อหน้าที่หรือความประพฤติไม่เหมาะสม 6. ห้ามผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสอบเข้ามาในบริเวณตึกหรืออาคารที่ทำ การสอบ
3. กรรมการกลางประจำสนามสอบ มีหน้าที่ดังนี้ - แจกซองแบบทดสอบ กระดาษคำตอบ ใบเซ็นชื่อผู้เข้าสอบ (สทศ.2) ให้กรรมการคุมสอบ (เฉพาะวิชาที่สอบตามตาราง ห้ามแจกวิชาที่ยังไม่สอบ) - ประสานงานกับผู้เข้าสอบที่มีปัญหาเช่น มาสาย ขอแก้ไขชื่อ นามสกุล หรืออื่นๆ - เมื่อการสอบเสร็จสิ้น กรรมการคุมสอบนำซองแบบทดสอบและซองกระดาษคำตอบมาส่ง ให้ตรวจสอบดังนี้ 1. ตรวจสอบว่ามีการลงลายมือชื่อของผู้เข้าสอบและกรรมการคุมสอบครบถ้วนหรือไม่ 2. รวบรวมและนับจำนวนกระดาษคำตอบทั้งหมดให้ครบถ้วนทั้งผู้เข้าสอบและขาดสอบ โดยตรวจให้ตรงกับใบเซ็นชื่อ (สทศ.2) เรียงกระดาษคำตอบตามลำดับเลขที่นั่งสอบ แล้วหุ้มด้วยใบเซ็นชื่อผู้เข้าสอบ (สทศ.2) และใช้กระดาษแข็งปิดด้านบนและล่าง ก่อนบรรจุลงในซองกระดาษคำตอบ และลงลายมือชื่อ ปิดผนึกซองกระดาษคำตอบด้วยเทปกาวพิเศษต่อหน้ากรรมการคุมสอบ
3. นับจำนวนแบบทดสอบว่าครบตามที่ระบุไว้หน้าซองหรือไม่ และปิดผนึกซองเก็บรักษาไว้ที่สนามสอบ 4. นับจำนวนซองกระดาษคำตอบทั้งหมดบรรจุใส่กล่องปรับขนาด สำหรับแบ่งใส่กระดาษคำตอบกลับ แยกเป็นรายวิชา (กรณีมีหลายห้อง) หรือรวมในกล่องเดียวกัน (กรณีมีจำนวนห้องสอบน้อย) - บริการผู้เข้าสอบที่ขอแก้ไขข้อมูล โดยเขียน สทศ. 6 พร้อมแนบหลักฐาน - ช่วยควบคุมห้องสอบกรณีที่กรรมการคุมไม่เพียงพอ - เดินตรวจความเรียบร้อยของห้องและสนามสอบ
4. กรรมการคุมสอบ มีหน้าที่ดังนี้ 1. อ่านคู่มือการจัดสอบฯ สำหรับสนามสอบและกรรมการคุมสอบ และดูดีวีดี การจัดสอบให้เข้าใจ 2. รับ-ส่งแบบทดสอบ กระดาษคำตอบ และเอกสารเกี่ยวกับการสอบจากหัวหน้าสนามสอบ หรือกรรมการกลางประจำสนามสอบ ตามกำหนดเวลา 3. ดูแลความเรียบร้อยของห้องสอบและบริเวณใกล้เคียงเพื่อให้การสอบเป็นไปอย่างยุติธรรมและโปร่งใส 4. กำกับการสอบให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพเป็นตามคู่มือการจัดสอบฯ ให้มีความยุติธรรมและโปร่งใส 5. รายงานหัวหน้าสนามสอบ /กรรมการกลาง เกี่ยวกับการคุมสอบ 5. นักการภารโรง 1. ดำเนินการจัดห้องสอบ เตรียมป้ายประชาสัมพันธ์การสอบและเตรียมสถานที่สำหรับการจัดสอบ 2. ดำ เนินการตามที่หัวหน้าสนามสอบมอบหมาย
ข้อระวังของสนามสอบ 1. หัวหน้าสนามสอบต้องประชุมกรรมการระดับสนามสอบให้เข้าใจอย่างชัดเจนโดยเฉพาะกรรมการคุมสอบ 2. กรรมการกลางต้องตรวจสอบซองแบบทดสอบ ซองกระดาษคำตอบ ใบ สทศ.2 ให้ตรงตามตารางและห้องสอบ3. แจกแบบทดสอบให้ถูกต้องตามตารางสอบ4. กรรมการกลางต้องตรวจนับจำนวนกระดาษคำตอบให้ครบทั้งของผู้เข้าสอบและขาดสอบ โดยให้ตรงกับ สทศ.2 ด้วย เมื่อเรียบร้อยแล้วให้ปิดผนึกด้วยเทปกาวพิเศษต่อหน้ากรรมการคุมสอบทันที
6. วิธีการทำงานของกรรมการคุมสอบ 1. รายงานตัวต่อหัวหน้าสนามสอบก่อนเวลาสอบ 30 นาที 2. รับซองแบบทดสอบ + ซองกระดาษคำตอบ + สทศ.2 (2 แผ่น/วิชา) (ลงชื่อรับในบัญชีรับ-ส่งแบบทดสอบ) ( V-NET 1) 3. ตรวจสอบความเรียบร้อยภายในห้องสอบ 4.ก่อนเวลาสอบ 15 นาทีตรวจบัตรหรือหลักฐานแสดงตนของผู้เข้าสอบ ก่อนอนุญาตให้เข้านั่งที่โต๊ะตามเลขที่นั่งสอบของตนเอง(ไม่มีบัตร ไม่มีเลขที่นั่ง ไม่อนุญาตให้เข้าสอบ เว้นได้รับแจ้งจาก หน.สนามสอบ)
5. อธิบายประกาศ สทศ.เรื่องข้อปฏิบัติสำหรับผู้เข้าสอบ (5 ข้อ)และระเบียบการเข้าห้องสอบ (7 ข้อ) 6.ก่อนเวลาสอบ 10 นาที ให้ผู้เข้าสอบ 2 คน เป็นตัวแทนลงชื่อรับรองความเรียบร้อยของซองแบบทดสอบ ใน สทศ.2 ทั้ง 2 แผ่น 7. แจกกระดาษคำตอบ (สทศ.1) ให้ตรงกับผู้เข้าสอบ เป็นรูปตัว Uย้ำให้นักเรียนตรวจสอบความถูกต้องว่าเป็นของตนเองเท่านั้น และให้ลงลายมือชื่อบน สทศ.1 (ด้วยปากกาหมึกดำ/น้ำเงิน)
หน้าห้อง โต๊ะกรรมการ 1 1 12 13 24 25 2 11 14 23 26 3 10 15 22 27 4 9 16 21 28 5 8 17 20 29 6 7 18 19 30 โต๊ะกรรมการ 2 แจก และ เก็บ เป็นรูปตัว U ตามแผนผังที่นั่งสอบ
แจกแบบทดสอบตามลำดับเลขที่นั่งสอบ เป็นรูปตัว U และให้เขียนชื่อ – สกุล เลขที่นั่งสอบบนปกแบบทดสอบ 9. เมื่อถึงเวลาสอบให้ผู้เข้าสอบตรวจสอบความเรียบร้อยของแบบทดสอบ (จำนวนหน้า จำนวนข้อ) และประกาศให้ลงมือทำข้อสอบ (ให้ระบายคำตอบด้วยดินสอ 2B เท่านั้น) 10.หลังจากเริ่มสอบผ่านไป 30 นาที เก็บแบบทดสอบ และกระดาษคำตอบของนักเรียนที่ขาดสอบกลับคืน และให้ผู้เข้าสอบลงชื่อใน สทศ.2 ทั้ง 2 ใบ
11. ประกาศให้ผู้เข้าสอบทราบเมื่อเวลาสอบผ่านไป 1 ชั่วโมงและ ก่อนหมดเวลาสอบ 5 นาที 12. เมื่อหมดเวลาสอบ ประกาศให้ผู้เข้าสอบหยุดทำข้อสอบ วางดินสอ หรือ ปากกา และห้ามผู้เข้าสอบลุกจากที่นั่ง 13. ตรวจสอบความเรียบร้อยของการเขียนข้อมูล ที่ปกแบบทดสอบ ที่หัวกระดาษคำตอบ และการระบายเลขที่นั่งบนกระดาษคำตอบและแบบทดสอบให้ถูกต้อง ก่อนอนุญาตให้ผู้เข้าสอบออกจากห้องสอบ
กรรมการคนที่ 1 เก็บแบบทดสอบ กรรมการคนที่ 2 เก็บกระดาษคำตอบ 15. รวบรวมและนับจำนวนกระดาษคำตอบทั้งหมด ทั้งของผู้เข้าสอบและขาดสอบ เรียงลำดับจากเลขที่นั่งสอบน้อยไปมาก แล้วหุ้มด้วย สทศ.2 (แผ่นที่ระบุศูนย์สอบส่งคืน สทศ.) ใช้กระดาษแข็งประกบด้านบน - ล่าง 16. บรรจุกระดาษคำตอบลงซองกระดาษคำตอบ และกรอกข้อมูลหน้าซองกระดาษคำตอบให้เรียบร้อยโดยยังไม่ต้องปิดผนึกซอง
17. นำซองกระดาษคำตอบซึ่งบรรจุ สทศ.2 (ที่ใช้หุ้มกระดาษคำตอบ) + ซองแบบทดสอบ + สทศ.2 ที่เหลือ 1 แผ่น (แผ่นที่ระบุสนามสอบส่งคืนศูนย์สอบ) ส่งหัวหน้าสนามสอบ / กรรมการกลาง ลงชื่อส่งกระดาษคำตอบในบัญชีรับส่งแบบทดสอบ (V-NET 1)หลังจากหัวหน้าสนามสอบ / กรรมการกลาง ตรวจนับกระดาษคำตอบและเอกสารถูกต้องแล้วจากนั้นกรรมการกลางจะปิดผนึกและปิดทับด้วยเทปกาวพิเศษ
การใช้กระดาษคำตอบสำรองการใช้กระดาษคำตอบสำรอง • กรณีกระดาษคำตอบไม่ตรงกับผู้เข้าสอบหรือชำรุด- แจกกระดาษคำตอบสำรอง พร้อมลงชื่อกำกับบนกระดาษคำตอบก่อนแจกผู้เข้าสอบ (ให้ผู้เข้าสอบกรอกข้อมูลด้วยปากกา และระบายวงกลมด้วย 2B ให้สมบูรณ์) • กรณีนักเรียนเข้าสอบกรณีพิเศษ (ผู้ที่ไม่มีชื่อใน สทศ.2 และมีเลขที่นั่งสอบที่ออกโดย สทศ.) - ให้กรรมการคุมสอบระบายในกระดาษคำตอบสำรอง ตรงช่อง “ผู้เข้าสอบกรณีพิเศษ” พร้อมลงชื่อกำกับก่อนแจกให้ผู้เข้าสอบ
กรณีมีผู้ขาดสอบ ให้ใช้ดินสอดำ 2B ระบาย “ข” บนหัวกระดาษคำตอบตรงช่อง “กรณีขาดสอบ” และให้เขียนคำว่า -ขาดสอบ- ด้วยปากกาหมึกแดงลงในช่องเซ็นชื่อผู้เข้าสอบใน สทศ.2 ทั้ง 2 แผ่น • กรณีกระดาษคำตอบไม่ตรงกับผู้เข้าสอบหรือชำรุด ให้ใช้ดินสอ 2B ระบาย “ย” บนหัวกระดาษคำตอบตรงช่อง “กรณียกเลิกกระดาษคำตอบ” และลงลายมือชื่อ แล้วเก็บส่ง สทศ. โดยบรรจุใส่ซองกระดาษคำตอบเรียงต่อจากกระดาษสำรองที่ผู้เข้าสอบคนนั้นใช้
ห้ามกรรมการคุมสอบ แก้ไขแบบทดสอบหรืออธิบายเพิ่มเติมจากแบบทดสอบ (เว้นแต่ได้รับแจ้งจากหัวหน้าสนามสอบ) • ห้ามกรรมการคุมสอบ ทำกิจกรรมอื่นที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อการสอบ (คุยโทรศัพท์ คุยเสียงดัง ทำงานส่วนตัว อ่านหนังสือ ฯลฯ) • กำกับการสอบในห้องตลอดเวลา เว้นมีเหตุจำเป็น ต้องมีกรรมการอย่างน้อย 1 คนอยู่ในห้องสอบ
กรณีที่มีการยกเลิกกระดาษคำตอบ และใช้กระดาษคำตอบสำรอง ให้นำกระดาษคำตอบสำรองขึ้นก่อนแล้วต่อด้วยกระดาษคำตอบที่ยกเลิกของผู้เข้าสอบคนนั้น • กรณีมีผู้เข้าสอบกรณีพิเศษ ให้เรียงกระดาษคำตอบของผู้เข้าสอบจากหมายเลขที่นั่งน้อยไปหามาก แล้วหุ้มด้วยใบเซ็นชื่อผู้เข้าสอบกรณีพิเศษ ( สทศ.3) แล้วบรรจุลงในซองกระดาษคำตอบในห้องสอบสุดท้ายของสนามสอบ
7. การรับ-ส่งแบบทดสอบ กระดาษคำตอบและเอกสารการสอบ • สทศ. จะบรรจุซองแบบทดสอบ และ ซองกระดาษคำตอบ ลงในกล่องแยกกันตามจำนวนห้องสอบของแต่ละสนามสอบ • หัวหน้าสนามสอบรับ กล่องแบบทดสอบ กล่องกระดาษคำตอบ และกล่องใส่ซองกระดาษคำตอบกลับ จากศูนย์สอบ และเก็บรักษาให้ปลอดภัย (หรือตัวแทนศูนย์สอบนำไปตอนเช้าวันสอบ) • หัวหน้าสนามสอบส่ง กล่องบรรจุซองกระดาษคำตอบ กล่องแบบทดสอบ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดสอบ ไปยังศูนย์สอบตามกำหนดนัดหมาย
การรับส่งแบบทดสอบ กระดาษคำตอบ และเอกสารการสอบ - วันสอบ หัวหน้าสนามสอบรับกล่องแบบทดสอบ กล่องกระดาษคำตอบ และกล่องปรับขนาดสำหรับใส่ซองกระดาษคำตอบกลับ จากตัวแทนศูนย์สอบ และนำไปจัดเก็บในสถานที่ปลอดภัยก่อน ดำเนินการสอบตามกำหนดนัดหมายของศูนย์สอบ เพื่อใช้เตรียมการในการประชุมระดับ สนามสอบ แล้วนำ กล่องบรรจุซองกระดาษคำตอบกลับทั้งหมด และซองเอกสาร ส่งศูนย์สอบตามกำหนดนัดหมายของศูนย์สอบกล่องแบบทดสอบ ให้สนามสอบเป็นผู้เก็บรักษาไว้ หลังจากประกาศผลสอบแล้ว จึงนำไปเผยแพร่หรือทำลายได้ - หลังจากสอบเสร็จสิ้น ให้หัวหน้าสนามสอบ 1. นำซองกระดาษคำตอบทั้งหมดของทุกห้องสอบ ทุกวิชา บรรจุลงในกล่องปรับขนาดสำหรับใส่ซองกระดาษคำตอบกลับ (1 กล่อง สามารถบรรจุซองกระดาษคำตอบได้ประมาณ 15 ซอง) แล้วปิดกล่องให้เรียบร้อย
2. นำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดสอบบรรจุใส่ซองเอกสาร ได้แก่ 1. สทศ.2 แผ่นที่ระบุสนามสอบส่งคืนศูนย์สอบ ศูนย์สอบเก็บไว้ สทศ.3 (ถ้ามี) และแบบขอแก้ไขข้อมูล สทศ.6 (ถ้ามี) 2. บัญชีรับ - ส่งแบบทดสอบและกระดาษคำตอบระหว่างหัวหน้าสนามสอบกับกรรมการคุม สอบ (V-NET 1) 3. บัญชีส่งกล่องกล่องกระดาษคำตอบและกล่องแบบทดสอบและเอกสารฯ จากหัวหน้าสนาม สอบถึงศูนย์สอบ (V-NET 2) 4. เอกสารกำกับการเปิดกล่องบรรจุแบบทดสอบ (V-NET 10) 5. รายงานสรุปผลการดำเนินการจัดสอบฯ ระดับสนามสอบ 6. ใบสำคัญรับเงินค่าเบี้ยเลี้ยงผู้ปฏิบัติงานประจำสนามสอบฯ แล้วนำ กล่องบรรจุซองกระดาษคำตอบกลับทั้งหมด และซองเอกสาร ส่งศูนย์สอบตามกำหนดนัดหมายของศูนย์สอบ