370 likes | 498 Views
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจในการจัดสรรทุนในระบบเศรษฐกิจไทย ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์. สฤณี อาชวานันทกุล และ กิตติชัย แซ่ลี้ 12 กันยายน 2550. หัวข้อนำเสนอ. โครงสร้างการจัดสรรทุนในบริบทของเศรษฐกิจไทยโดยรวม บทบาทของนักลงทุนต่างด้าวในระบบการเงินไทย โครงสร้างการจัดสรรทุนโดยตลาดทุน
E N D
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจในการจัดสรรทุนในระบบเศรษฐกิจไทย ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ สฤณี อาชวานันทกุล และ กิตติชัย แซ่ลี้ 12 กันยายน 2550
หัวข้อนำเสนอ • โครงสร้างการจัดสรรทุนในบริบทของเศรษฐกิจไทยโดยรวม • บทบาทของนักลงทุนต่างด้าวในระบบการเงินไทย • โครงสร้างการจัดสรรทุนโดยตลาดทุน • โครงสร้างการจัดสรรทุนโดยระบบธนาคารพาณิชย์
โครงสร้างการจัดสรรทุนในบริบทของเศรษฐกิจไทยโดยรวมโครงสร้างการจัดสรรทุนในบริบทของเศรษฐกิจไทยโดยรวม
ระบบธนาคารและตลาดหุ้นมี “ขนาด” ใกล้เคียงกัน
บริษัทและสถาบันการเงินออกตราสารหนี้มากขึ้นบริษัทและสถาบันการเงินออกตราสารหนี้มากขึ้น
โครงสร้างการระดมทุนในตลาดทุนไทยยังไม่สอดคล้องกับขนาดของภาคธุรกิจต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจ (เปรียบเทียบกับขนาดของธุรกิจใน GDP)
บทบาทของนักลงทุนต่างด้าวในระบบการเงินไทยบทบาทของนักลงทุนต่างด้าวในระบบการเงินไทย
FDI มีสัดส่วนสูงกว่าเงินลงทุนในตลาดทุนตั้งแต่ปี 2540
Global FDI share ของไทยลดลงเหลือร้อยละ 1.1 ของ FDI ในประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก FDI ปัจจุบันเน้นภาคบริการ การค้า (โดยเฉพาะ hypermarket) เครื่องจักร ขนส่ง และอสังหาริมทรัพย์
ตั้งแต่ปี 2544 ถึงปัจจุบัน นักลงทุนต่างชาติเป็นส่วนสำคัญของการระดมทุนในตลาดแรก และให้ความสนใจในหุ้นขนาดเล็กด้วย หมายเหตุ: รวม IPO, PO, PP
โครงสร้างการจัดสรรทุนโดยตลาดทุนโครงสร้างการจัดสรรทุนโดยตลาดทุน
ตลาดหุ้นไทยมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับภูมิภาค (ไม่รวมญี่ปุ่น) โดยมีมูลค่าตลาดร้อยละ 2 และมูลค่าซื้อขายร้อยละ 0.7 ของภูมิภาค • ปัจจุบันมี Global hedge fund กว่า 9,000 แห่ง มีขนาดสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (net assets under management) 1.42 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
อิทธิพลของการกำกับดูแลตลาดหุ้น “กระจุกตัว” อยู่ในมือของบริษัทหลักทรัพย์ ที่ย่อมต้องการปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง... กลุ่มอิทธิพล 2: สภาธุรกิจตลาดทุนไทย กลุ่มอิทธิพล 1: โครงสร้างทางการ FetCo* กรรมการตัวแทนจากบริษัทสมาชิก 3 คน และบริษัทจดทะเบียน 2 คน กรรมการที่ ก.ล.ต. แต่งตั้งไม่เกิน 5 คน ต้องมาจากบจ. อย่างน้อย 1 คน สมาคม บล. เลือกตั้ง เลือกตั้ง สมาคม บลจ. ผู้จัดการ ตลท. สมาคม บจ. คณะกรรมการ ตลท. 11 คน สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย กำกับดูแล สมาคมนักวิเคราะห์ เป็นสมาชิก บริษัทสมาชิก *FetCo = Federation of Thai Capital Market Organizations คือชื่อภาษาอังกฤษของสภาธุรกิจตลาดทุนไทย
...เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยมีประสิทธิภาพต่ำ......เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยมีประสิทธิภาพต่ำ... ผลการดำเนินงานเฉลี่ย 3 ปี (2547-2549) • เมื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาค พบว่า ตลท. มีผลการดำเนินงานค่อนข้าง “แย่” ทั้งในด้านความสามารถในการทำกำไร และ ROE • สัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ (cost-income ratio) ของตลาดหุ้นไทยสูงกว่าร้อยละ 94 สูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งอุตสาหกรรมซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 74
อากรแสตมป์ ค่านายหน้า Median bid-ask spread ...และนักลงทุนมีต้นทุนสูงเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆ ต้นทุนของนักลงทุนในการซื้อขายหลักทรัพย์ (1/100 ของ 1 เปอร์เซ็นต์) ต้นทุนทางอ้อม (bid-ask spread) ต้นทุนทางตรง(ค่านายหน้า+อากร)
ด้านอุปทาน หุ้น 20 ตัวที่ใหญ่ที่สุดส่วนใหญ่เป็นบริษัทของรัฐ...
เนื่องจากหุ้น 20 ตัวที่ใหญ่ที่สุดมีมูลค่าตลาดร้อยละ 60.5 ของทั้งตลาด และมีมูลค่าการซื้อขายร้อยละ 48.2 ของมูลค่าการซื้อขายทั้งตลาด การกระจุกตัวของหุ้นใหญ่ในมือรัฐ จึงส่งผลให้ตลาดมีสภาพคล่อง (Free Float) ต่ำ มีส่วนให้ต้นทุนทางอ้อมของนักลงทุน (bid-ask spread) สูงตามไปด้วย
หุ้น 8 ตัวในเครือ ปตท. มีมูลค่าตลาดรวมร้อยละ 30 และมูลค่าซื้อขายร้อยละ 24 ของทั้งตลาด ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นมีความ “ลักลั่น” กับภาคเศรษฐกิจจริงค่อนข้างมาก เพราะปัจจัยที่ทำให้เครือ ปตท. มีกำไรดี (เช่น ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น) อาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบในด้านลบต่อภาคธุรกิจอื่นๆ หมายเหตุ: หุ้นในกลุ่ม ปตท. ประกอบด้วย PTT, PTTEP, IRPC, TOP, PTTCH, RRC, ATC และ BCP
6,659 พันล้านบาท 3,596 พันล้านบาท เจ้าของ/ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ นักลงทุนต่างประเทศ นักลงทุนสถาบันในประเทศ นักลงทุนรายย่อย มูลค่าตลาด มูลค่าการซื้อขาย ด้านอุปสงค์ในตลาดรอง นักลงทุนต่างชาติมีบทบาทมากขึ้น... มูลค่าการถือหุ้นและมูลค่าการซื้อขายใน ตลท. 7 เดือนแรก 2550
...แต่ในยุคโลกาภิวัตน์ทางการเงิน นักลงทุนต่างชาติไม่ได้มองประเทศไทยโดดๆ อีกต่อไป หากตัดสินใจลงทุนจาก ปัจจัยเปรียบเทียบ ...
...อาทิเช่น ดัชนีการลงทุนระดับภูมิภาค... Country Weighting in “MSCI Far East Ex Japan” index As of 2005 As of January 12, 2007
...และการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน...และการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน • ยังไม่นับปัจจัยอื่นๆ เช่น สถานะโดยรวมของพอร์ตลงทุน (เช่น hedge fund จำนวนมากเทขายหุ้นในตลาดเอเชียเพื่อไป “โปะ” ผลขาดทุนจาก CDO)
ทั้งหมดนี้บอกอะไรเราบ้าง?ทั้งหมดนี้บอกอะไรเราบ้าง? • โครงสร้างตลาดทุนไทยมีความ “ลักลั่น” กับภาคเศรษฐกิจจริงค่อนข้างมาก และน่าจะยิ่งลักลั่นมากกว่าเดิมอีกในอนาคต ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไม่สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดฐานะหรือแนวโน้มของเศรษฐกิจโดยรวมได้อีกต่อไป • ภาครัฐต้องส่งเสริมบทบาทของนักลงทุนสถาบันไทย และเพิ่มจำนวน “นักลงทุนรายย่อยคุณภาพ” เพื่อให้สามารถทัดทานอิทธิพลของนักลงทุนต่างชาติ ลดความผันผวน สร้างเสถียรภาพให้ตลาดหุ้น และสร้างความเป็นธรรมและความโปร่งใสให้เกิดขึ้นในตลาด • ในบริบทเช่นนี้ นโยบายด้านตลาดทุนควรเน้นเป้าหมายด้าน “คุณภาพ” มากกว่า “ปริมาณ” เช่น • ส่งเสริมนักลงทุนสถาบันในประเทศ เพื่อสร้างแรงทัดทานอิทธิพลของนักลงทุนต่างชาติ และเพิ่มจำนวนผู้มีส่วนได้เสียในพัฒนาการของตลาดทุนไทย เช่น กองทุนที่ตั้งเป้าระดมทุนจากผู้มีรายได้น้อย • บังคับใช้ พ.ร.บ. หลักทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพให้ได้ โดยเฉพาะการลงโทษผู้ทุจริตที่ใช้ข้อมูลภายใน และ “เจ้ามือปั่นหุ้น” เพื่อคุ้มครองนักลงทุนรายย่อย ลดความผันผวนของราคาหุ้น ดึงดูดนักลงทุนรุ่นใหม่ และลบภาพพจน์ว่า “ตลาดหุ้นเป็นแค่บ่อน” ในสายตาประชาชน • เสริมสร้างสภาพคล่องในตลาด เช่น บังคับให้บริษัทจดทะเบียนที่มี free float ต่ำกว่า 10% เกิน 1 ปี ถอดถอนหุ้นออกจากตลาดทันที, ให้ภาครัฐกระจายหุ้นในบริษัทที่แข่งขันกับเอกชนโดยเสรีได้แล้วออกมาอีก (เช่น KTB, MCOT), และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ เช่น ธุรกิจการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ และธุรกิจการค้าตราสารอนุพันธ์ (derivatives) • ปรับปรุงกฎเกณฑ์เพื่อส่งเสริมให้บริษัทเอกชนขนาดกลางที่มีศักยภาพดีสามารถระดมทุนจากตลาดทุนได้ เช่น อาจลดค่าใช้จ่ายในการทำ filing และค่าธรรมเนียมรายปี และลดภาษีเงินได้ให้กับบริษัทจดทะเบียนที่มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท
โครงสร้างการจัดสรรทุนโดยระบบธนาคารพาณิชย์ ภายใต้ระบบโลกาภิวัตน์
ขอบเขตของการนำเสนอ • เพื่อชี้ให้เห็นความแตกต่างและการเปลี่ยนแปลงในเชิงพัฒนาการของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย • บทบาทและโครงสร้างการจัดสรรทุนของระบบสถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์ในภาพรวม • การกำกับดูแลระบบธนาคารพาณิชย์ • ประเด็นที่น่าสนใจของระบบสถาบันการเงินไทยในอนาคต
บทบาทของการจัดสรรทุนโดยระบบสถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์ในภาพรวมบทบาทของการจัดสรรทุนโดยระบบสถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์ในภาพรวม พลวัตเชิงเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังวิกฤตการณ์ทางการเงินไทย
บทบาทของการกำกับระบบการเงิน ส่งผลต่อโครงสร้างการปล่อยสินเชื่อ ที่ทำให้เกิดความเประบางทางเศรษฐกิจมหภาค และ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน ลักษณะการปล่อยสินเชื่อที่เน้นในภาคอสังหาริมทรัพย์ค่อนข้างมากและมีพื้นฐานแบบ Collateral-based ทำให้เกิดปัญหา Procyclicality และ Bubble ได้ง่ายยิ่งขึ้น Regulator ค่อนข้างผ่อนปรนมาตรฐานทางการกำกับเป็นอย่างมากก่อนการเปิดเสรีที่ดำเนินการผ่านนโยบาย BIBF เป็นเหตุปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิด Capital Ease และ ซ่อนปัญหาที่เป็นต้นทุนสำหรับการแก้ปัญหาอย่างมหาศาลในภายหลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงิน จึงถือได้ว่าเป็นนโยบายที่ “ได้ไม่คุ้มเสีย”
ผลพวงของนโยบายการเปิดเสรีที่ “ได้ไม่คุ้มเสีย” สร้างต้นทุนเพื่อการแก้ปัญหาราวร้อยละ 60 ของ GDP ควบคู่ไปกับผลที่ทำให้ระบบธนาคารพาณิชย์นอกจากจะมีบทบาทจำกัดในการแก้ปัญหาวิกฤตแล้วยังกลายเป็นภาระขนาดใหญ่ที่สังคมต้องแก้ปัญหา • รัฐ และ Regulator มุ่งแก้ปัญหา NPLs และ ปรับกติกาการดูแลอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ให้รัดกุมและเข้มงวดมากยิ่งขึ้น พร้อมกันนั้นการแก้ปัญหาในภาพรวมทำให้จำนวนของธนาคารพาณิชย์ไทยลดลงซึ่งเป็นแนวโน้มแรกที่จะเห็นอุตสาหกรรมที่ผู้ประกอบเริ่มใกล้เคียงกันมากยิ่งขึ้น กอปรกับบทบาทของรัฐและนักลงทุนต่างชาติในระบบธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มทุน
ข้อสังเกตของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยข้อสังเกตของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย • ในด้านหนึ่ง หลังจากระบบธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับการแก้ปัญหาโดยรัฐ • อุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์มีการกระจุกตัวลดลง เมื่อพิจารณา HHI Index • ผลประกอบการโดยรวมที่วัดจาก NIM ดีขึ้น • อีกทั้งผลการศึกษาเองทางสถิติที่ประมาณ Technical Efficiency จะดีขึ้นโดยรวมเมื่อธนาคารพาณิชย์ขยายแหล่งการหารายได้ไปสู่ Non-interest • ในอีกแง่หนึ่ง สังคมเองมักตั้งข้อสังเกตว่าธนาคารพาณิชย์เลือกแก้ปัญหา Excess Liquidityที่มีมากด้วยการใช้นโยบายช่วงห่างของอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง • เป็นธรรมหรือไม่ต่อสังคม และ บทบาทของผู้วางนโยบายควรเป็นอย่างไร
มิติการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของผู้กำกับอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์มิติการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของผู้กำกับอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ การกำกับดูแลระบบสถาบันการเงินและ การออกแบบระบบสถาบันการเงินไทยในอนาคต
บทเรียนในอดีตทำให้ Regulator เพิ่มความรัดกุมของกรอบการกำกับดูแลมากขึ้น • ปัจจัยภายในองค์กร (Managerial Incentive Structure) • ให้ความสำคัญของ Internal Corporate Structure ของธนาคารพาณิชย์มากขึ้น ที่เน้นธรรมาภิบาลภายใต้หัวใจการมีระบบบริหารความเสี่ยง • ปัจจัยภายนอกองค์กรและมาตรฐานสากล • International Regulatory Convergence และBasel II • Prudence-based Accounting Standard • Financial Safety Net Program อื่นๆ
ภาครัฐปรับแนวคิดจากการพยายามสร้างให้ระบบการเงินไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินไปสู่การเข้าถึงในบริการทางการเงินภาครัฐปรับแนวคิดจากการพยายามสร้างให้ระบบการเงินไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินไปสู่การเข้าถึงในบริการทางการเงิน • แผนตาม FSMPถือเป็นทางเลือกที่ค่อนข้างระมัดระวังมากแต่สามารถนำไปสู่ข้อสังเกตสองประเด็นคือ • ประโยชน์ของการเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการในธุรกิจช่วยลดช่องว่างจริงหรือไม่ (ธนาคารพาณิชย์รายย่อย) และ ธุรกิจใหม่สามารถเติบโตได้ในระยะยาวหรือไม่ • Regulator มีแนวโน้มเปิดเสรีภาคธนาคารมากขึ้น แต่เห็นอย่างไรเกี่ยวกับการควบรวมกิจการทางการเงิน (ควรมีนโยบายหรือไม่) • ทางเลือกของการลงทุนจำกัดซึ่งอาจควรส่งเสริมการเคลื่อนย้ายของเงินทุนระหว่างทางเลือกการลงทุนทั้งในและนอกประเทศ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
ประเด็นทิ้งท้ายเพื่อตั้งคำถามประเด็นทิ้งท้ายเพื่อตั้งคำถาม
ผลภายนอกจากนโยบายทางเศรษฐกิจในอดีตของรัฐบาลที่ผ่านมาอาจทำให้ต้องเริ่มมาคิดว่าแม้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะเป็นเครื่องมือเพื่อ ResilientMacroeconomicและบรรเทาปัญหาProcyclicalityได้ แต่ Fiscal Contingent Liabilityที่ไม่ชัดเจนจะเพิ่มความเสี่ยงในระยะยาว
นอกจากนี้ การกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชนเป็นช่องทางของโอกาสธุรกิจประเภท นอนแบงค์ที่มีการควบคุมรัดกุมน้อยกว่า เพราะ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียค่อนข้างจำกัด • ต้องเพิ่มเรื่อง Consumer Protection อาทิเช่น การกำหนด Effective Interest Rate ที่ชัดเจนด้วย