420 likes | 812 Views
การพัฒนาคุณธรรมจิตสำนึกของข้าราชการ ปรัชญาการเป็นข้าราชการที่ดีเพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน การมีส่วนร่วมของประชาชนและความคาดหวังของประชาชนต่อการบริการในภาครัฐ. วรินทร์ สุขเจริญ ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน. การนำเสนอ. วิวัฒนาการข้าราชการและระบบราชการไทย
E N D
การพัฒนาคุณธรรมจิตสำนึกของข้าราชการ ปรัชญาการเป็นข้าราชการที่ดีเพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน การมีส่วนร่วมของประชาชนและความคาดหวังของประชาชนต่อการบริการในภาครัฐ วรินทร์ สุขเจริญ ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน
การนำเสนอ • วิวัฒนาการข้าราชการและระบบราชการไทย • ลักษณะพิเศษของงานราชการและสถานภาพของข้าราชการ • การดูแลพฤติกรรมข้าราชการ • การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ธรรมาภิบาล) • คุณลักษณะข้าราชการไทยในทศวรรษหน้า • สำรวจความคิดเห็นประชาชน
วิวัฒนาการข้าราชการไทยวิวัฒนาการข้าราชการไทย
หลักการบริหารของคณะราษฎร ๒๔ มิ.ย. ๒๔๗๕ ๑. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลายเช่น เอกราชในทางการเมือง การศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง ๒. จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก ๓. ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก ๔. จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่) ๕. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก ๕ ประการดังกล่าวข้างต้น ๖. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
การเมือง เศรษฐกิจ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี ๒๔๗๕ พ.ศ. ๒๔๗๕-๗๙ เปลี่ยนแปลงการปกครอง การเมืองปั่นป่วน พ.ศ. ๒๔๘๐-๙๐ นโยบายรัฐนิยม สงครามโลกครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๙๐-๒๕๐๐ สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม อำมาตยาธิปไตย พ.ศ. ๒๕๐๐-๑๕ สฤษดิ์-ถนอม, แผนพัฒนาเศรษฐกิจ สงครามเวียดนาม พ.ศ. ๒๕๑๑-๒๔ เป็นสมัยของการหวนกลับสู่ยุคประชาธิปไตย มีความผันผวนมาก มีรัฐธรรมนูญ ๖ ฉบับ มีรัฐบาล ๑๕ ชุด พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๙ มีคณะรัฐบาล ๕ คณะ ภายใต้การนำของ พล.อ.เปรม พ.ศ. ๒๕๓๐-๔๐ เศรษฐกิจเฟื่องฟู รัฐบาลประชาธิปไตย พ.ศ. ๒๕๔๐-๔๘ รัฐธรรมนูญปี ๔๐ วิกฤตเศรษฐกิจ รัฐบาลเข้มแข็ง พ.ศ. ๒๕๔๙-ปัจจุบัน วิกฤตการเมือง รัฐธรรมนูญใหม่ ปี๒๕๕๐
ลักษณะพิเศษของงานราชการลักษณะพิเศษของงานราชการ งานราชการ • ไม่เน้นกำไร - ทำเพื่อประโยชน์ต่อสังคม เช่น ป้องกันประเทศ ดูแลความมีระเบียบ ปลอดภัย สิ่งแวดล้อม • เสมอภาค เป็นกลาง – ปฏิบัติงานด้วยความเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ • สภาพผูกขาด - เป็นงานเฉพาะทาง ไม่มีการแข่งขัน ไม่มีการล้มละลาย • ใช้อำนาจรัฐ - ปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด งานเอกชน • เน้นกำไร – มุ่งการสร้างกำไร โดยการขายสินค้าบริการ ที่ราคาถูก คุณภาพดี • เลือกปฏิบัติ – เลือกลูกค้า เลือกบริการที่ • แข่งขันเสรี ไม่มีการผูกขาด หากสินค้าบริการไม่มีคุณภาพ คนจะไม่ซื้อ • เป็นสัญญาด้วยความสมัครใจของทั้งฝ่ายซื้อ ฝ่ายขาย
สถานภาพของข้าราชการ • ผู้ปฏิบัติบริหารงานของแผ่นดิน • มองไกล มองกว้าง ขยัน ซื่อสัตย์ ตอบแทนบุญคุณของแผ่นดิน • ลูกจ้างของประชาชน • สุภาพ รับฟัง ช่วยเหลือ เป็นธรรม เสมอภาค เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจ • พนักงานของรัฐบาล • ใช้วิชาการ ซื่อตรง รักษาความลับทางราชการ ผลักดันนโยบายรัฐบาล • กลไกผลิตผลสัมฤทธิ์ในภารกิจของรัฐ • ปฏิบัติงาน ให้บริการอย่างสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า
คุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล กับการบริหารราชการ คุณธรรม (Moral) จริยธรรม (Ethics) ธรรมาภิบาล (Good Governance) การปฏิบัติงาน Operation กลไกควบคุม พฤติกรรม Behavior ตนเอง โครงสร้าง ระบบ กระบวนการ ลดความสูญเสีย ขจัดรูรั่วไหล ป้องกันการทุจริต ประพฤติ และดำเนินการที่มิชอบ เพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความคุ้มค่า โปร่งใส ตอบสนอง สุจริต ซื่อตรง เที่ยงธรรม
วิวัฒนาการของการดูแลพฤติกรรมข้าราชการพลเรือนวิวัฒนาการของการดูแลพฤติกรรมข้าราชการพลเรือน • หลักราชการ (รัชกาลที่ ๖) • วินัยข้าราชการพลเรือน (พรบ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน ๒๔๗๑-ปัจจุบัน) • มารยาททางการเมืองของข้าราชการ(ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ๒๔๙๙) • จรรยาบรรณข้าราชการพลเรือน (ข้อบังคับ ก.พ. ๒๕๓๗) • จรรยาข้าราชการ (พรบ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน ๒๕๕๑) • ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ๒๕๕๒
หลักราชการ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ๑. มีความสามารถ ๒. มีความเพียร ๓. มีไหวพริบ ๔. มีความรู้เท่าถึงการ ๕. มีความซื่อตรงต่อหน้าที่ ๖. มีความซื่อตรงต่อคนทั่วไป ๗. รู้จักนิสัยคน ๘. รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว ๙. มีหลักฐาน ๑๐. มีความจงรักภักดี
วินัยข้าราชการพลเรือน (พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน ๒๔๗๑) ๑/๒ มาตรา ๓๑ ข้าราชการพลเรือนต้อง ๑. อุททิศเวลาทั้งหมดของตนให้แก่ราชการ ๒. รักษาชื่อเสียงมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ๓. เคารพเชื่อฟังผู้บังคับบัญชา ๔. ถือประโยชน์ของราชการแผ่นดินเป็นที่ตั้ง ๕. ไม่กระทำกิจการใดๆ อันอาจเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการ มาตรา ๓๒ ห้ามมิให้ข้าราชการพลเรือน อาศัยอำนาจหน้าที่ราชการ จะโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม เพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือแก่ญาติมิตรของตน
วินัยข้าราชการพลเรือน (พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน ๒๔๗๑) ๒/๒ มาตรา ๓๓ ห้ามมิให้ข้าราชการพลเรือน ก. เป็นตัวกระทำการให้ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทใดๆ ข. กระทำการหาผลประโยชน์อย่างใดๆ อันอาจเป็นทางให้เสียความเที่ยงธรรมในตำแหน่งหน้าที่ของตน มาตรา ๓๔ ในการปฏิบัติราชการ ห้ามมิให้กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นไว้แต่จะได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว มาตรา ๓๕ คำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้อยู่ใต้บังคับจักต้องปฏิบัติตาม ...
มารยาททางการเมืองของข้าราชการพลเรือน (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ๒๔๙๙) ห้ามดำเนินการทางการเมือง - ไม่ใช้สถานที่ราชการ - ไม่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล - ไม่ปฏิบัติหน้าที่แทรกแซงในทางการเมือง ห้ามสนับสนุนพรรคการเมือง - ไม่บีบบังคับลูกน้องหรือประชาชนเป็นสมาชิกพรรคการเมือง - ไม่ขอร้องคนให้ออกเงินสนับสนุนพรรคการเมือง - ไม่โฆษณาหาเสียงให้พรรคการเมือง - ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง ไม่แสดงออกว่าสนับสนุนพรรค ห้ามแสดงตนทางการเมือง - ไม่แต่งเครื่องแบบราชการไปร่วมประชุมพรรคการเมือง - ไม่ประดับเครื่องหมายพรรคการเมืองในเวลาปฏิบัติราชการ - ไม่แต่งเครื่องแบบของพรรคการเมืองเข้าในสถานที่ราชการ
จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๗ จรรยาบรรณต่อตนเอง มีศีลธรรม ประพฤติตนเหมาะสม ใช้วิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์ ไม่แสวงหาประโยชน์ มีทัศนคติที่ดี และพัฒนาตนเอง จรรยาบรรณต่อหน่วยงาน สุจริต เสมอภาค ปราศจากอคติ ปฏิบัติหน้าที่เต็มกำลังความสามารถ รวดเร็ว ขยันหมั่นเพียร ถูกต้อง สมเหตุผล ตรงต่อเวลา ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ ดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างประหยัดคุ้มค่า จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงาน ร่วมมือ ช่วยเหลือ แนะนำ เอาใจใส่ดูแลลูกน้อง สร้างความสามัคคีในการปฏิบัติหน้าที่ สุภาพ มีน้ำใจ มีมนุษยสัมพันธ์ ละเว้นการนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน จรรยาบรรณต่อประชาชนและสังคม ให้ความเป็นธรรม เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ สุภาพ อ่อนโยน ประพฤติให้เป็นที่เชื่อถือของประชาชน ละเว้นการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดซึ่งมีมูลค่าเกินปกติวิสัยจากผู้มาติดต่อราชการ
พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ หมวด ๕ การรักษาจรรยาข้าราชการ มาตรา ๗๘ : ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาจรรยาข้าราชการตามที่ส่วนราชการ กำหนดไว้โดยมุ่งประสงค์ให้เป็นข้าราชการที่ดี มีเกียรติและศักดิ์ศรี ความเป็นข้าราชการ โดยเฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) การยึดมั่นและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง (๒) ความซื่อสัตย์สุจริตและความรับผิดชอบ (๓) การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ (๔) การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม (๕) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
หมวด 1 บททั่วไป - เวลาบังคับใช้ (90 วัน) - นิยามศัพท์ คำปรารภ - วัตถุประสงค์ - ค่านิยมหลัก 9 ประการ ของสนง.ผู้ตรวจการแผ่นดิน หมวด 2 จริยธรรมข้าราชการพลเรือน - ขยายค่านิยมหลักเพื่อให้ขรก. ยึดเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ - ฝ่าฝืนถือเป็นความผิดวินัย ประมวลจริยธรรม ข้าราชการพลเรือน ๒๕๕๒ หมวด 3 กลไกและระบบการบังคับใช้ ส่วนที่ 1 องค์กรคุ้มครองจริยธรรม ส่วนที่ 2 ระบบการบังคับใช้ • การตีความ • การดำเนินการกรณีการฝ่าฝืนจริยธรรม ก.พ. ส่วนราชการ ควบคุมกำกับให้มีการปฏิบัติตามอย่างทั่วถึงและจริงจัง แต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมประจำส่วนราชการ กลุ่มงาน คุ้มครองจริยธรรม
เป้าหมายของระบบราชการยุคใหม่ (ธรรมาภิบาล) • ปฏิบัติเฉพาะภารกิจหลักที่จำเป็น เปิดโอกาสให้ภาคส่วนและชุมชนมีบทบาท • รวดเร็ว มีคุณภาพ และประสิทธิภาพสูง • จัดองค์กรกะทัดรัด เหมาะสม คล่องตัว • ลักษณะการทำงานและการให้บริการทันสมัย ใช้เทคโนโลยี • ข้าราชการมีคุณภาพและมีมาตรฐานทางคุณธรรม • มุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยมีประชาชน และประเทศชาติเป็นเป้าหมาย • มีกลไกการบริหารงานบุคคลที่ได้มาตรฐานสากล มีระบบค่าตอบแทนที่ • เป็นธรรม • มีวัฒนธรรมและบรรยากาศในการทำงานแบบมีส่วนร่วม • มีความโปร่งใส มีความรับผิดชอบ และตรวจสอบได้
แนวความคิดที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาระบบราชการแนวความคิดที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาระบบราชการ การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่New Public Management (NPM) กระแสความเป็นประชาธิปไตยDemocratization • ประชารัฐ • Participatory State • ชุมชนนิยม • Communitarianism • ประชาธิปไตยทางตรง • Direct Democracy • เศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิค • การจัดการสมัยใหม่ • Managerialism (Business-like approach) การมีส่วนร่วมของประชาชน Participation เปิดเผยโปร่งใส Transparency ตอบสนอง Responsiveness กระจายอำนาจ Decentralization ประสิทธิภาพ Efficiency ความคุ้มค่าของเงิน Value-for-money ประสิทธิผล Effectiveness คุณภาพ Quality ภาระรับผิดชอบต่อผลงาน Accountability for results นิติรัฐ Rule of law
หน่วยงานของรัฐในกำกับฝ่ายบริหารหน่วยงานของรัฐในกำกับฝ่ายบริหาร หน่วยงานที่ใช้อำนาจรัฐ หรือเป็น เครื่องมือของรัฐ แต่ไม่เป็นองค์กรของรัฐ กระทรวง/ทบวง (20) หน่วยงานของรัฐรูปแบบใหม่ รัฐ วิสาหกิจ (58) องค์การมหาชน (44*) หน่วยธุรการขององค์กร ของรัฐ ที่เป็นอิสระ (8) สถาบันภายใต้มูลนิธิ ทบวง กลุ่มภารกิจ (30) กองทุน ที่เป็น นิติบุคคล หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (2) นิติบุคคล เฉพาะกิจ (1) สภา วิชาชีพ กรม (157) • หมายเหตุ : ตัวเลขใน ( ) คือจำนวนหน่วยงาน • องค์การมหาชนที่จัดตั้งตาม พรบ. องค์การมหาชน พ.ศ. 2542 จำนวน 31 แห่ง จัดตั้งตาม พรบ. เฉพาะ (หน่วยงานในกำกับ) จำนวน 15 แห่ง • ไม่รวมมหาวิทยาลัยในกำกับ จำนวน 15 แห่ง
ระบบการบริหารราชการแผ่นดินแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ระบบการบริหารราชการแผ่นดินแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ Planning Measurement แผนการบริหาร ราชการแผ่นดิน (4 ปี) เป้าประสงค์ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย กลยุทธ์ Corporate Scorecard ยุทธศาสตร์รัฐบาล • แผนปฏิบัติราชการ (4 ปี) • กระทรวง/กรม • กลุ่มจังหวัด/จังหวัด • Strategic Business Unit Scorecard • กระทรวง/กรม • กลุ่มจังหวัด/จังหวัด เป้าประสงค์ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์กระทรวง/กรม ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด/จังหวัด • แผนปฏิบัติราชการ (รายปี) • กระทรวง กรม • กลุ่มจังหวัด/จังหวัด Sub-unit Scorecard Team & Individual Scorecard Budgeting
การปฏิบัติราชการตามหลักธรรมาภิบาลการปฏิบัติราชการตามหลักธรรมาภิบาล สำรวจ ณ เดือนกันยายน 2553
เป้าหมายของชีวิตราชการเป้าหมายของชีวิตราชการ
คุณลักษณะข้าราชการไทยในทศวรรษหน้าคุณลักษณะข้าราชการไทยในทศวรรษหน้า Professionalism Public Ethos Ethical Value รายงานการวิจัย เรื่อง ระบบข้าราชการในอนาคต: คุณลักษณะของข้าราชการในทศวรรษหน้า 2552
คุณลักษณะพื้นฐานของข้าราชการไทยในทศวรรษหน้าคุณลักษณะพื้นฐานของข้าราชการไทยในทศวรรษหน้า • ความสามารถแบบมืออาชีพ (ทำงานบนพื้นฐานความถูกต้องตามหลักการทางวิชาชีพ และสามารถแสดงถึงความเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถที่แท้จริงในหน้าที่การงานที่ตนเองรับผิดชอบ • ความรู้ด้านการบริหารคน • ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ • ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหน่วยงาน/องค์กร • ความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ ทิศทางการพัฒนาประเทศ • ความรู้ภาษาต่างประเทศ • ทักษะการทำงานเป็นทีม • ทักษะการตัดสินใจและการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ • ทักษะการวางแผนงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่องค์กรกำหนด • ทักษะการเรียนรู้และพัฒนาด้วยตนเอง • ทักษะการคิดเชิงกลยุทธ์ • ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ Professionalism ข้าราชการมืออาชีพ ข้าราชการที่มีจิตสาธารณะ ข้าราชการที่มี จริยธรรม Public Ethos Ethical Value OCSC
คุณลักษณะพื้นฐานของข้าราชการไทยในทศวรรษหน้าคุณลักษณะพื้นฐานของข้าราชการไทยในทศวรรษหน้า Professionalism ข้าราชการ“มืออาชีพ” • รักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน • (รักษาและปกป้องทรัพย์สมบัติและ • ผลประโยชน์ของชาติ) • - เป็นผู้ที่มุ่งเอื้อประโยชน์ต่อสาธารณชน ข้าราชการที่มี “จิตสาธารณะ” ข้าราชการที่มี “จริยธรรม” Public Ethos Ethical Value OCSC
คุณลักษณะพื้นฐานของข้าราชการไทยในทศวรรษหน้าคุณลักษณะพื้นฐานของข้าราชการไทยในทศวรรษหน้า Professionalism ข้าราชการ“มืออาชีพ” • มีจริยธรรม คุณธรรม (ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม ไม่ใช้อำนาจและไม่แสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ) • มีความโปร่งใส (มีการปฏิบัติหน้าที่ที่เปิดเผย สามารถติดตามตรวจสอบได้) • มี Integrity (การยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง ชอบธรรม) • เป็นผู้ที่ยึดหลักความถูกต้อง • เป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักคุณธรรม • มีความเพียรและความอดทน ข้าราชการที่มี“จิตสาธารณะ” ข้าราชการที่มี “จริยธรรม” Public Ethos Ethical Value OCSC
การรับรู้ของสาธารณชนต่อสถานการณ์การทุจริตคอร์รัปชั่นในสังคมไทย : เอแบคโพลล์ สำรวจ 22-23 มกราคม 2553 กทม. 1,686 คน 57 % ระบุว่าสถานการณ์ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทย อยู่ในระดับรุนแรงที่สุด 67 % รับรู้ว่าในรอบ 1 ปี ที่ผ่านมา จนท.รัฐเรียกรับผลประโยชน์ 34% เคยเจอด้วยตนเอง และในกลุ่มนี้จำนวน 70% ต้องจ่าย ผลประโยชน์นั้น 63 % รับรู้ว่า จนท.รัฐนำทรัพย์สินราชการไปใช้ส่วนตัว 62.7% รับรู้ว่า จนท.รัฐเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลใกล้ชิด 53.7% จนท.รัฐไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการบริการช่วยเหลือประชาชน
เอแบคโพลล์ – ผลสำรวจความสุขมวลรวมของคนไทย มิถุนายน 2555 (ข่าวสด 2 ก.ค. 2555) มีความสุขมากที่สุดเมื่อ ปัญหาบั่นทอนความสุขคือ ปัญหาสังคมเสื่อม ขาดจริยธรรม ขาดความรักความเกื้อกูล ขัดแย้งแตกแยกวุ่นวาย 68.1 ปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพ 67.0 นักการเมืองเอาแต่ผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง ขัดแย้งแก่งแย่งกัน มีอำนาจแล้วลืมประชาชน 63.3 ระบบราชการไร้ประสิทธิภาพ เจ้าหน้าที่รัฐไม่ยอมทำงาน ไม่จริงใจ ไม่บริการประชาชน สื่อมวลชน 50.7 • เห็นคนไทยแสดงความจงรักภักดีเป็นหนึ่งเดียวกัน 94.7 • นึกถึงสุขภาพโดยรวมของตน 74.8 • นึกถึงจิตใจและสุขภาพใจของตน 70.1 • นึกถึงความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวตน 69.2 • นึกถึงการเข้าถึงบริการทางการแพทย์เวลาเจ็บป่วย 68.9
“อาชีพ” ที่ประชาชนคิดว่ามีการทุจริตคอรัปชั่นมากที่สุด อันดับ 1 นักการเมือง 42.96% อันดับ 2 ข้าราชการ 28.25% อันดับ 3 ตำรวจ 16.37% อันดับ 4 พ่อค้าและนักธุรกิจ 7.17% อันดับ 5 นักการบัญชี การเงิน 5.25% สำรวจความคิดเห็น “การแก้ปัญหาทุจริต” สวนดุสิตโพล 3-7 ม.ค. 2555 (1,884คน)
ทำอย่างไรจึงจะแก้การทุจริตคอรัปชั่นได้ทำอย่างไรจึงจะแก้การทุจริตคอรัปชั่นได้ อันดับ 1 ต้องปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกเรื่องความซื่อสัตย์ สุจริตตั้งแต่วัยเยาว์ /มี การรณรงค์และสร้างค่านิยมที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ 31.69% อันดับ 2 มีกฎหมาย บทลงโทษที่เด็ดขาด ชัดเจน /มาตรการเข้มงวด เอาจริงเอาจัง 30.41% อันดับ 3 หน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียด ถี่ถ้วน โดยเฉพาะเอกสาร หลักฐานต่างๆ 26.22% อันดับ 4 ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน /ช่วยกันสอดส่องเป็นหูเป็นตาในการตรวจสอบ ระบบการทำงาน 6.78% อันดับ 5 เน้นคุณภาพชีวิตที่ดี /เรื่องของเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการต่างๆ ที่ เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน 4.90% สำรวจความคิดเห็น “การแก้ปัญหาทุจริต” สวนดุสิตโพล 3-7 ม.ค. 2555 (1,884คน)
“องค์กรหรือหน่วยงาน” ที่ประชาชนคิดว่าจะเป็นแบบอย่างของความซื่อสัตย์สุจริต อันดับ 1 ครอบครัว โดยเฉพาะพ่อแม่ 44.71% อันดับ 2 สถาบันการศึกษา โดยเฉพาะครู อาจารย์ 19.15% อันดับ 3 ศาสนา / พระสงฆ์ 13.94% อันดับ 4 ชุมชน โดยเฉพาะผู้นำ 11.15% อันดับ 5 ทหาร 11.05% สำรวจความคิดเห็น “การแก้ปัญหาทุจริต” สวนดุสิตโพล 3-7 ม.ค. 2555 (1,884คน)
ใครควรช่วยป้องกันและจัดการการทุจริตคอรัปชั่นได้อย่างไรบ้าง? “ภาครัฐ” ควรมีบทบาทหน้าที่ ดังนี้คือ อันดับ 1 ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เอาจริงเอาจัง /เพิ่มบทลงโทษให้รุนแรง /ไม่เกรงกลัว ไม่ถูกแทรกแซงจากนักการเมืองหรือผู้มีอิทธิพล 37.77% อันดับ 2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น ป.ป.ช. สตง. เจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องทำงานเชิงรุกมากกว่านี้ 32.88% อันดับ 3 มีกระบวนการดำเนินงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ /ขั้นตอน กระบวนการต่างๆชัดเจน 29.35% สำรวจความคิดเห็น “การแก้ปัญหาทุจริต” สวนดุสิตโพล 3-7 ม.ค. 2555 (1,884คน)
สำรวจความคิดเห็น “การแก้ปัญหาทุจริต” สวนดุสิตโพล 3-7 ม.ค. 2555 (1,884คน) ใครควรช่วยป้องกันและจัดการการทุจริตคอรัปชั่นได้อย่างไรบ้าง? “ภาคธุรกิจ” ควรมีบทบาทหน้าที่ ดังนี้คือ อันดับ 1 ต้องยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม ดำเนินธุรกิจอยู่บนพื้นฐานความถูกต้อง 57.50% อันดับ 2 ภายในบริษัทจะต้องมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่สำหรับตรวจสอบฝ่ายบัญชี การเงิน /ดูแลตรวจสอบเรื่องการฮั้ว การประมูลเป็นพิเศษ 28.44% อันดับ 3 ปลูกฝังค่านิยมของพนักงานในองค์กรให้ยึดมั่นในเกียรติยศ ศักดิ์ศรีและจรรยาบรรณวิชาชีพของตนเอง 14.06%
ใครควรช่วยป้องกันและจัดการการทุจริตคอรัปชั่นได้อย่างไรบ้าง? “ภาคประชาชน” ควรมีบทบาทหน้าที่ ดังนี้คือ อันดับ 1 คอยเป็นหูเป็นตา สอดส่องดูแลแทนเจ้าหน้าที่ หากพบเห็นการทุจริตให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบทราบทันที 64.27% อันดับ 2 ผู้ใหญ่จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องของความซื่อสัตย์ สุจริตให้แก่เด็ก /การปลูกฝังจิตสำนึกแก่บุตรหลานให้เป็นคนดี มีคุณธรรม 24.49% อันดับ 3 จะต้องเริ่มต้นที่ตัวเราเองก่อน /รู้จักละอายและเกรงกลัวต่อบาป มีศีลธรรมในจิตใจ /ไม่ติดสินบนเจ้าหน้าที่ พนักงาน 11.24% สำรวจความคิดเห็น “การแก้ปัญหาทุจริต” สวนดุสิตโพล 3-7 ม.ค. 2555 (1,884คน)
สำนักงาน ก.พ. WWW.OCSC.go.th