2.13k likes | 4.34k Views
มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for NPAEs). ดร.สันสกฤต วิจิตรเลขการ ภาควิชาบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน. การนำส่วนใดส่วนหนึ่งของเอกสารชุดนี้ไปดัดแปลง ทำซ้ำหรือเผยแพร่ในลักษณะใดๆก็ตาม ควรอ้างอิงให้เหมาะสม. หัวข้อการบรรยาย.
E N D
มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(TFRS for NPAEs) ดร.สันสกฤต วิจิตรเลขการ ภาควิชาบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน การนำส่วนใดส่วนหนึ่งของเอกสารชุดนี้ไปดัดแปลง ทำซ้ำหรือเผยแพร่ในลักษณะใดๆก็ตาม ควรอ้างอิงให้เหมาะสม
หัวข้อการบรรยาย • ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ • ขอบเขต • กรอบแนวคิด • การนำเสนองบการเงิน • การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและการแก้ไขข้อผิดพลาด • เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
หัวข้อการบรรยาย • ลูกหนี้ • สินค้าคงเหลือ • เงินลงทุน • ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ • สินทรัพย์ไม่มีตัวตน • อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน • ต้นทุนการกู้ยืม
หัวข้อการบรรยาย • สัญญาเช่า • ภาษีเงินได้ • ประมาณการหนี้สินและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น • เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน • รายได้ • การรับรู้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ • สัญญาก่อสร้าง
หัวข้อการบรรยาย • ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ • การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลงและวันถือปฏิบัติ
มาตรฐานการรายงานทางการเงินสาหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะมาตรฐานการรายงานทางการเงินสาหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ ๒๐/๒๕๕๔ เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงินสาหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (http://www.fap.or.th) • 1 มาตรฐานประกอบด้วย 88 หน้า 22 บท ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ ๒๙/๒๕๕๔ เรื่อง คำอธิบายเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน สำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (http://www.fap.or.th) 1 2
ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ • ภาระและต้นทุนในการจัดทำรายงานทางการเงินของกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) • ความซับซ้อนของ TFRSs … การใช้มูลค่ายุติธรรม • ความแตกต่างระหว่างกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (PAEs) และกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) • ผู้ใช้งบการเงินหลักและจำนวนผู้มีส่วนได้เสียในกิจการ • แหล่งการระดมเงินทุน • ความซับซ้อนของธุรกรรมการค้า
ขอบเขตของมาตรฐานฯ • ระดับการบังคับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินของสภาวิชาชีพบัญชีฯ • ทางเลือกที่ 1: 3 ระดับ • ทางเลือกที่ 2: 2 ระดับ • สภาวิชาชีพบัญชีฯกำหนดใช้มาตรฐานฯ เป็น 2 ระดับ 1 PAEs (Publicly Accountable Entities) = กิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ 2 NPAEs (Non-Publicly Accountable Entities) = กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ = กิจการที่ไม่ใช่ PAEs
ขอบเขตของมาตรฐานฯ กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) หมายถึง ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มาตรา 8 และไม่ใช่กิจการดังต่อไปนี้ 1) กิจการที่มีตราสารทุนหรือตราสารหนี้ของกิจการซึ่งมีการซื้อขายต่อประชาชน ไม่ว่าจะเป็นตลาดหลักทรัพย์ในประเทศหรือต่างประเทศหรือการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์ (Over thecounter) รวมทั้งตลาดในท้องถิ่นและในภูมิภาค หรือ กิจการที่นำส่งหรืออยู่ในกระบวนการของการนำส่งงบการเงินของกิจการให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือหน่วยงานกำกับดูแลอื่นเพื่อวัตถุประสงค์ในการออกขายหลักทรัพย์ใดๆ ต่อประชาชน
ขอบเขตของมาตรฐานฯ 2) กิจการที่ดำเนินธุรกิจหลักในการดูแลสินทรัพย์ของกลุ่มบุคคลภายนอกในวงกว้าง เช่น สถาบันการเงิน บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนรวม ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น เป็นต้น 3) บริษัทมหาชน ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชน 4) กิจการอื่นที่จะกำหนดเพิ่มเติม
ขอบเขตของมาตรฐานฯ • ในกรณีที่กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะไม่ประสงค์ที่จะจัดทำรายงานทางการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ให้กิจการจัดทำรายงานทางการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทย (TFRSs) ทุกฉบับ โดยปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ หรือ
กิจการเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี (5 ประเภท) ตามมาตรา 8 ของ พรบ.การบัญชี 2543 ใช่ ไม่ใช่ สภาวิชาชีพบัญชีฯ PAEs กิจการอื่น ๆ ใช่ ไม่ใช่ 2 3 1 (Full) TFRSs TFRS for NPAEs ขึ้นอยู่กับหน่วยงานกำกับดูแลกิจการนั้นๆ
มุมมองของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าต่อมาตรฐานการรายงานทางการเงินมุมมองของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าต่อมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี 5 แบบ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี แบบ 1: ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน, แบบ 2: บริษัทจำกัด, แบบ 3: บริษัทมหาชนจำกัด, แบบ 4: นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ, และแบบ 5: กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร แบบ 3 (PAEs) แบบ 1, 2, 4, 5 A PAEs NPAEs B C D (Full) TFRSs TFRS for NPAEs
ขอบเขตของมาตรฐานฯ อดีต • การบังคับใช้มาตรฐานฯของ NPAEs: • “TFRS หัก 8 ฉบับ” • TAS 7 งบกระแสเงินสด • TAS14 การเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน • TAS 24 การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้อง • TAS 27 งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ • TAS 28 เงินลงทุนในบริษัทร่วม • TAS 31 ส่วนได้เสียในการร่วมค้า • TAS 36 การด้อยค่าของสินทรัพย์ • TAS 32+TFRS 7 การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน ปัจจุบัน (ตั้งแต่ 1 ม.ค. 54) • การบังคับใช้มาตรฐานฯของ NPAEs: “TFRS for NPAEs”
กรอบแนวคิด • เน้นการจัดทำและนำเสนองบการเงินที่มีวัตถุประสงค์ทั่วไป • ข้อสมมติ : เกณฑ์คงค้างและการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง • กำหนดวัตถุประสงค์ของงบการเงินให้นำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน • ผู้ใช้งบการเงินหลัก : เจ้าของกิจการ • รวมถึงผู้ใช้งบการเงินอื่นๆ เช่น ผู้ให้กู้ ผู้ขายสินค้า เจ้าหนี้อื่น หน่วยงานรัฐบาล และหน่วยงานกำกับดูแลกิจการ
กรอบแนวคิด • ลักษณะเชิงคุณภาพของข้อมูลในงบการเงิน • ลักษณะเชิงคุณภาพพื้นฐาน • เชื่อถือได้---ไม่ครอบคลุมถึงการเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม • เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ • ลักษณะเชิงคุณภาพเสริม • เปรียบเทียบกันได้ • ยืนยันความถูกต้องได้ • ทันต่อเวลา • เข้าใจได้ • ข้อควรพิจารณาอื่น • ความมีสาระสำคัญ • ความระมัดระวัง • ความสมดุลระหว่างประโยชน์ที่ได้รับกับต้นทุนที่เสียไป---ต้นทุนต่อหน่วยในการจัดทำรายงานทางการเงิน • ความสมดุลระหว่างลักษณะเชิงคุณภาพ
กรอบแนวคิด • การรับรู้รายการและองค์ประกอบของงบการเงิน • สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต การรับรู้รายการสินทรัพย์ต้องเป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้รายการสินทรัพย์ทุกข้อดังนี้ • มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต • รายการนั้นมีราคาทุนหรือมูลค่าที่วัดได้อย่างน่าเชื่อถือ
กรอบแนวคิด • การรับรู้รายการและองค์ประกอบของงบการเงิน • หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ โดยภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งการชำระภาระผูกพันนั้น คาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจ การรับรู้รายการหนี้สินต้องเป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้รายการหนี้สินทุกข้อ ดังนี้ • มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของทรัพยากรจะออกจากกิจการ อันเนื่องมาจากการชำระภาระผูกพัน • มูลค่าที่ต้องชำระภาระผูกพันสามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ • ส่วนของเจ้าของ หมายถึง ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการ หลังจากหักหนี้สินทั้งสิ้นออกแล้ว---สินทรัพย์สุทธิ
กรอบแนวคิด • การรับรู้รายการและองค์ประกอบของงบการเงิน • รายได้หมายถึง • การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลารายงาน หรือการเพิ่มค่าของสินทรัพย์ หรือการลดลงของหนี้สิน ซึ่งส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น โดยที่ไม่รวมถึง (1) เงินทุนที่ได้รับจากเจ้าของและ (2) รายการกำไรซึ่งมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กำหนดให้กิจการต้องรับรู้โดยตรงไปยังส่วนของเจ้าของ • กิจการต้องรับรู้รายได้เมื่อกิจการ • คาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หรือ การลดลงของหนี้สิน และ • สามารถวัดมูลค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ • ทั้งนี้รายได้ตามคำนิยามรวมถึงรายได้จากกิจกรรมหลักของการดำเนินงานตามปกติและผลกำไร โดยผลกำไรอาจเกิดจากกิจกรรมตามปกติของกิจการหรือไม่ก็ได้
กรอบแนวคิด • การรับรู้รายการและองค์ประกอบของงบการเงิน • ค่าใช้จ่าย หมายถึง • การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลารายงาน หรือ การลดค่าของสินทรัพย์หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน ซึ่งส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลง โดยที่ไม่รวมถึง (1) การแบ่งปันให้กับเจ้าของและ (2) รายการขาดทุนซึ่งมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กำหนดให้กิจการต้องรับรู้โดยตรงไปยังส่วนของเจ้าของ • กิจการควรรับรู้ค่าใช้จ่ายเมื่อกิจการ • คาดว่าจะเสียประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต อันเนื่องมาจากการลดลงของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน และ • สามารถวัดมูลค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ • ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายตามคำนิยามรวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดจากกิจกรรมหลักของการดำเนินงานตามปกติและผลขาดทุน โดยผลขาดทุนอาจเกิดจากกิจกรรมตามปกติของกิจการหรือไม่ก็ได้
กรอบแนวคิด • การวัดมูลค่าองค์ประกอบของงบการเงิน ราคาทุนเดิม ราคาทุนปัจจุบัน มูลค่าที่จะได้รับหรือชำระ มูลค่าปัจจุบัน • มูลค่ายุติธรรม--การวัดมูลค่าโดยใช้มูลค่ายุติธรรมกระทำได้จำกัด และมีต้นทุนในการวัดมูลค่าไม่สูงมากเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่จะได้รับ มูลค่ายุติธรรมควรสามารถหาได้โดยตรงจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ตลาดที่มีสภาพคล่องสูง
การนำเสนองบการเงิน • งบการเงินที่สมบูรณ์ต้องประกอบด้วย • งบแสดงฐานะการเงิน ซึ่งนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินของกิจการ ณ วันสิ้นงวด • งบกำไรขาดทุน แสดงถึงผลการดำเนินงานของกิจการสำหรับงวด • งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงในรายการที่เป็นองค์ประกอบต่างๆ ของเจ้าของในระหว่างงวด • หมายเหตุประกอบงบการเงิน แสดงถึงข้อมูลเกี่ยวกับเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดทำงบการเงิน นโยบายการบัญชีที่ใช้และข้อมูลอื่นๆ นอกเหนือจากที่นำเสนอในงบการเงิน
การนำเสนองบการเงิน • มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ (ทางเลือก) • ไม่กำหนดให้กิจการต้องทำงบกระแสเงินสด แต่หากกิจการเห็นถึงประโยชน์ของงบกระแสเงินสดก็สามารถจัดทำได้ โดยปฏิบัติตาม TAS 7 • ไม่กำหนดให้กิจการนำเสนอหรือเปิดเผยข้อมูลในเรื่องดังต่อไปนี้ แต่หากกิจการเห็นถึงประโยชน์ของการนำเสนอหรือเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวก็สามารถจัดทำได้ • ข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน (หากต้องการปฏิบัติให้ปฏิบัติตาม TAS14) • การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน (หากต้องการปฏิบัติให้ปฏิบัติตาม TAS24) • เครื่องมือทางการเงิน (หากต้องการปฏิบัติให้ปฏิบัติตาม TAS107)
การนำเสนองบการเงิน • จัดทำงบการเงินอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งและนำเสนอข้อมูลเปรียบเทียบ • งบการเงินระหว่างกาลให้เป็นไปตามทุกข้อของมาตรฐานฯนี้ • การรวมยอด และการหักกลบ • เอกลักษณ์ของงบการเงิน • ชื่อของงบการเงิน เช่น งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน เป็นต้น • ชื่อของกิจการที่เสนอรายงาน และการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลดังกล่าว นับจากสิ้นรอบระยะเวลารายงานงวดก่อน • วันที่สิ้นสุดของรอบระยะเวลาบัญชีหรือรอบระยะเวลารายงานของงบการเงินชุดนี้ • สกุลเงินที่ใช้รายงาน • จำนวนหลักที่ใช้ในการแสดงจำนวนเงินในงบการเงิน
การนำเสนองบการเงิน • งบแสดงฐานะการเงิน: จำแนกรายการเป็นหมุนเวียนและไม่หมุนเวียน โดยแสดงรายการต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย (ถ้ามี) ในแต่ละบรรทัดพร้อมจำนวนเงิน • เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด • เงินลงทุนชั่วคราว • ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น • เงินให้กู้ยืมระยะสั้น • สินค้าคงเหลือ • สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น • เงินลงทุนระยะยาว • เงินให้กู้ยืมระยะยาว • อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (Investment Property)
การนำเสนองบการเงิน • ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ • สินทรัพย์ไม่มีตัวตน • สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น • เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน • เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น • เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี • เงินกู้ยืมระยะสั้น • ประมาณการหนี้สินระยะสั้น • หนี้สินหมุนเวียนอื่น • เงินกู้ยืมระยะยาว • ประมาณการหนี้สินระยะยาว • หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น • ทุนที่ออกและสำรองต่างๆ รวมทั้งกำไร (ขาดทุน) สะสม แล้วแต่ประเภทธุรกิจ
การนำเสนองบการเงิน • งบกำไรขาดทุน: กิจการต้องรับรู้รายการรายได้และค่าใช้จ่ายทุกรายการสำหรับงวดในงบกำไรขาดทุน เพื่อคำนวณหาผลกำไร (ขาดทุน) ยกเว้นรายการกำไรหรือขาดทุน ซึ่งมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กำหนดให้กิจการต้องรับรู้โดยตรงไปยังส่วนของเจ้าของกิจการต้องแสดงรายการดังต่อไปนี้ในงบกำไรขาดทุนเป็นอย่างน้อย โดยแยกแสดงรายการแต่ละบรรทัดพร้อมจำนวนเงิน • รายได้ • ต้นทุนทางการเงิน ซึ่งประกอบด้วยดอกเบี้ยจ่ายและต้นทุนทางการเงินอื่นๆ • ภาษีเงินได้ • กำไร (ขาดทุน)สุทธิ
การนำเสนองบการเงิน • การแสดงค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน • ค่าใช้จ่ายจำแนกตามลักษณะ • ค่าใช้จ่ายจำแนกตามหน้าที่ (เมื่อกิจการเลือกแสดงค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ มาตรฐานฯ ไม่ได้กำหนดให้เปิดเผยข้อมูลค่าใช้จ่ายตามลักษณะ) • ขั้นเดียว • หลายขั้น 1 2 3
การนำเสนองบการเงิน • งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ: กิจการต้องนำเสนอรายการต่อไปนี้ • เงินทุนที่ได้รับจากเจ้าของและจ่ายคืนให้แก่เจ้าของ รวมทั้งส่วนแบ่งกำไร • กำไรหรือขาดทุนสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาของการรายงาน • ยอดคงเหลือ ณ วันต้นงวด ของกำไร (ขาดทุน) สะสม และรายการต่างๆในส่วนของเจ้าของ การเปลี่ยนแปลงรายการต่างๆ ระหว่างงวดและยอดคงเหลือของรายการนั้นๆ ณ วันสิ้นงวด • รายการซึ่งมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กำหนดให้กิจการต้องรับรู้โดยตรงไปยังส่วนของเจ้าของ ได้แก่ กำไรขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการปรับมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดประเภทเผื่อขาย
การนำเสนองบการเงิน • หมายเหตุประกอบงบการเงิน: กิจการต้องแสดงข้อมูลต่อไปนี้ • ข้อความที่ระบุว่างบการเงินได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ • สรุปนโยบายการบัญชีที่เลือกใช้ • ข้อมูลที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กำหนดให้เปิดเผยเป็นการเฉพาะ • ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ภาระผูกพันตามสัญญา
การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและการแก้ไขข้อผิดพลาด • ในกรณีที่มาตรฐาน ฯ มิได้กำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับรายการค้า เหตุการณ์หรือสถานการณ์อื่นเป็นการเฉพาะ กิจการต้องใช้ดุลยพินิจในการเลือกใช้นโยบายการบัญชีโดยอ้างอิง และพิจารณาการใช้นโยบายการบัญชีจากแหล่งต่างๆ ตามลำดับต่อไปนี้ ข้อกำหนดและแนวปฏิบัติที่ระบุไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้สำหรับเรื่องที่คล้ายคลึงและเกี่ยวข้องกัน ลักษณะเชิงคุณภาพของข้อมูลในงบการเงิน คำนิยามและการรับรู้รายการ และการวัดมูลค่าองค์ประกอบของงบการเงิน ที่ระบุไว้ในกรอบแนวคิดของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ มาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทย (TFRSs) เฉพาะรายการนั้นๆ ลำดับที่ 1 ลำดับที่ 2 ลำดับที่ 3
การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและการแก้ไขข้อผิดพลาด • การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี หมายถึง การเปลี่ยนแปลงวิธีปฎิบัติทางการบัญชี ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปเป็นอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปเช่นเดียวกัน • การเปลี่ยนแปลงโดยสมัครใจ (Voluntary Change) • การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากข้อกำหนดของมาตรฐานฯ (Mandatory Change) • การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี หมายถึง การปรับปรุงมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ หรือหนี้สิน หรือจำนวนที่มีการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ในระหว่างงวด อันเป็นผลมาจากการประเมินสภาพปัจจุบันของสินทรัพย์และหนี้สิน และการประเมินประโยชน์และภาระผูกพัน ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์และหนี้สินนั้น การปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีเป็นผลจากการได้รับข้อมูลใหม่หรือมีการพัฒนาเพิ่มเติมจากเดิม การเปลี่ยนแปลงประมาณการจึงไม่ถือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาด
การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและการแก้ไขข้อผิดพลาด • ข้อผิดพลาดในงวดก่อน หมายถึง การละเว้นการแสดงรายการและการแสดงรายการที่ขัดต่อข้อเท็จจริงในงบการเงินของกิจการในงวดใดงวดหนึ่งหรือหลายงวดก็ตาม ซึ่งข้อมูลดังกล่าว (ก) มีอยู่ในงบการเงินของงวดก่อนที่ได้รับการอนุมัติให้เผยแพร่ (ข) สามารถคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผลว่าสามารถหาข้อมูลได้ และนำมาใช้ในการจัดทำและการแสดงรายการในงบการเงิน ข้อผิดพลาดดังกล่าวรวมถึงผลกระทบจากการคำนวณผิดพลาด ข้อผิดพลาดจากการใช้นโยบายการบัญชี การมองข้ามหรือการตีความข้อเท็จจริงผิดพลาด และการทุจริต “เปลี่ยนแปลงนโยบายฯ” หรือ “เปลี่ยนแปลงประมาณการ?” “แก้ไขข้อผิดพลาด” หรือ “เปลี่ยนแปลงประมาณการ?”
การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและการแก้ไขข้อผิดพลาด
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด • กิจการต้องนำเสนอเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดรวมเป็นรายการเดียวกัน • เงินสด หมายถึง “เงินสดในมือและเงินฝากธนาคาร” • เงินสดในมือ ได้แก่ ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ที่กิจการมีอยู่ รวมทั้งเงินสดย่อย ธนาณัติ ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ เช็คที่ถึงกำหนดชำระแต่ยังมิได้นำฝาก เช็คเดินทาง และดราฟต์ของธนาคาร • เงินฝากธนาคาร ได้แก่ เงินฝากธนาคารกระแสรายวันและออมทรัพย์ ทั้งนี้ไม่รวมเงินฝากธนาคารประเภทจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลา (เงินฝากประจำ) และบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่น • รายการเทียบเท่าเงินสด หมายถึง เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง ซึ่งพร้อมที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดในจำนวนที่ทราบได้และมีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าน้อยหรือไม่มีสาระสำคัญ เช่น เงินลงทุนที่มีวันครบกำหนดในระยะสั้น กล่าวคือ 3 เดือน หรือน้อยกว่านับจากวันที่ได้มา เป็นต้น
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด • ให้กิจการแสดงเงินฝากธนาคารประเภทจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลา (เงินฝากประจำ) และบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่นเป็นเงินลงทุนชั่วคราวโดยจัดประเภทเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน หรือเงินลงทุนระยะยาวโดยจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน • ให้กิจการแสดงเงินฝากธนาคารที่มีข้อจำกัดในการเบิกถอนเป็นสินทรัพย์อื่น โดยจัดประเภทเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนหรือไม่หมุนเวียน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำหนดเวลาของข้อจำกัดในการเบิกถอน และกิจการต้องเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขหรือข้อจำกัดในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย • เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารจัดเป็นหนี้สินหมุนเวียน กิจการไม่สามารถนำมาหักกลบกับรายการเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
ลูกหนี้ • ลูกหนี้ หมายถึง สิทธิที่กิจการจะได้รับเงินสดหรือทรัพยากรหรือประโยชน์เชิงเศรษฐกิจอื่นๆ เมื่อถึงกำหนดชำระ ลูกหนี้อาจรวมถึงลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่นฯ • ลูกหนี้การค้า หมายถึง ลูกหนี้ที่เกิดจากการขายสินค้าหรือการให้บริการที่กิจการได้ส่งใบแจ้งหนี้หรือได้ตกลงอย่างเป็นทางการกับผู้ซื้อ รายการดังกล่าวนี้อาจอยู่ในรูปของตั๋วเงินรับ • ลูกหนี้อื่น หมายถึง ลูกหนี้ที่ไม่ใช่ลูกหนี้การค้า เช่น ลูกหนี้และเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการและลูกจ้าง เงินให้กู้ยืมอื่น เป็นต้น • ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่นต้องวัดมูลค่าภายหลังด้วยมูลค่าที่จะได้รับ ซึ่งหมายถึงมูลค่าหลังจากหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
ลูกหนี้ • วิธีการประมาณหนี้สงสัยจะสูญ • วิธีอัตราร้อยละของยอดขายเชื่อสุทธิ • วิธีอัตราร้อยละของลูกหนี้ที่ค้างชำระจำแนกตามอายุของลูกหนี้ • วิธีพิจารณาลูกหนี้เป็นแต่ละราย (พิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้และจำนวนเงินที่คาดว่าจะได้รับชำระจากลูกหนี้) • มาตรฐานฯ กำหนดการตัดจำหน่ายเป็นหนี้สูญทางบัญชี (ไม่ได้กำหนดวิธีการตัดจำหน่ายหนี้สูญตามกฎหมาย) โดยปรับปรุงที่บัญชีลูกหนี้และบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่เกี่ยวข้อง • มาตรฐานฯ กำหนดวิธีปฏิบัติสำหรับหนี้สูญ (ทางบัญชี) ได้รับคืน โดยปรับปรุงบัญชีลูกหนี้และค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่เกี่ยวข้องพร้อมรายการรับชำระหนี้
สินค้าคงเหลือ • สินค้าคงเหลือ หมายถึง สินทรัพย์ซึ่งมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ • ถือไว้เพื่อขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติของกิจการ • อยู่ในระหว่างกระบวนการผลิตเพื่อให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อขาย • อยู่ในรูปของวัตถุดิบ หรือวัสดุที่มีไว้เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าหรือให้บริการ • ต้นทุนงานให้บริการส่วนที่กิจการยังไม่ได้รับรู้เป็นรายได้ • สินค้าคงเหลือต้องวัดมูลค่าด้วยราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า (มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ หมายถึง ราคาโดยประมาณที่คาดว่าจะขายได้ตามปกติธุรกิจ หักด้วยประมาณการต้นทุนในการผลิตสินค้านั้นให้เสร็จและต้นทุนที่จำเป็นต้องจ่ายไปเพื่อให้ขายสินค้านั้นได้) • ต้นทุนของสินค้าคงเหลือต้องประกอบด้วยต้นทุนทั้งหมดในการซื้อ ต้นทุนแปลงสภาพและต้นทุนอื่นๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อให้สินค้าคงเหลือนั้นอยู่ในสถานที่และอยู่ในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
สินค้าคงเหลือ • ต้นทุนในการซื้อของสินค้าคงเหลือ: • ราคาซื้อ อากรขาเข้าและภาษีอื่น (สุทธิจากจำนวนที่กิจการจะได้รับคืนในภายหลังจากหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษี) รวมทั้งค่าขนส่ง ค่าขนถ่าย และต้นทุนอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการได้มาซึ่งสินค้าสำเร็จรูปวัตถุดิบ และบริการ • ให้นำส่วนลดการค้า เงินที่ได้รับคืนและรายการอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันมาหักออก • วิธีการคำนวณต้นทุนของสินค้าเมื่อขาย: • วิธีราคาเจาะจง • วิธีเข้าก่อนออกก่อน • วิธีถัวเฉลี่ยต้นทุนสินค้าที่ซื้อเข้ามาแต่ละงวด ห้ามใช้วิธีเข้าหลังออกก่อน
สินค้าคงเหลือ • การลดมูลค่าของสินค้าคงเหลือลงให้เท่ากับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ ให้พิจารณาจากสินค้าแต่ละประเภท แต่ในบางสถานการณ์ อาจพิจารณาจากกลุ่มสินค้าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันหรือมีความเกี่ยวพันกัน • วัตถุดิบ • งานระหว่างทำ • สินค้าสำเร็จรูป • กิจการต้องไม่ปรับมูลค่าวัตถุดิบหรือวัสดุอื่นที่ถือไว้เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าให้ลดต่ำกว่าราคาทุน หากสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากวัตถุดิบหรือวัสดุนั้นคาดว่าจะขายได้ในราคาเท่ากับหรือสูงกว่าราคาทุนของสินค้าสำเร็จรูปดังกล่าว • กิจการต้องไม่ปรับมูลค่างานระหว่างทำให้ลดต่ำกว่าราคาทุน หากสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากงานระหว่างทำนั้นคาดว่าจะขายได้ในราคาเท่ากับหรือสูงกว่าราคาทุนของสินค้าสำเร็จรูปนั้น
สินค้าคงเหลือ • การลดลงของมูลค่าสินค้าคงเหลือ: • จากการปรับมูลค่าให้เท่ากับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายโดยแสดงเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนขายในงวดที่ปรับมูลค่าสินค้าให้ลดลง • ส่วนผลขาดทุนอื่นที่เกี่ยวข้องกับสินค้าคงเหลือ (เช่น ขาดทุนจากสินค้าสูญหาย เป็นต้น) ต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายโดยแสดงเป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายในการบริหาร ในงวดที่มีผลขาดทุนเกิดขึ้น • กิจการต้องรับรู้จำนวนที่เกิดจากการกลับรายการปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าสุทธิที่จะได้รับในงวดปัจจุบัน โดยนำไปหักจากต้นทุนขายสำหรับงวดปัจจุบัน
สินค้าคงเหลือ ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ ๒๙/๒๕๕๔ เรื่อง คำอธิบายเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อกาหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน สาหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ
เงินลงทุน • เงินลงทุน หมายถึง ตราสารหนี้และตราสารทุนที่กิจการมีไว้ เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งให้กับกิจการไม่ว่าจะอยู่ในรูปของส่วนแบ่งที่จะได้รับ เช่น ดอกเบี้ย ค่าสิทธิ และเงินปันผล หรืออยู่ในรูปของราคาที่เพิ่มขึ้น หรือในรูปของประโยชน์ที่กิจการได้รับ เช่น ประโยชน์ที่ได้จากความสัมพันธ์ทางการค้า • เงินลงทุนในตราสารทุน • วัดมูลค่าเงินลงทุนทุกประเภทเมื่อเริ่มแรกด้วยราคาทุน ซึ่งหมายถึงมูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบแทนที่ให้ไปเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินลงทุนนั้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการทำรายการ • เงินลงทุนในตราสารหนี้ • วัดมูลค่าเมื่อเริ่มแรกไม่รวมดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นก่อนที่กิจการจะได้เงินลงทุนดังกล่าวมา เช่น ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นก่อนที่กิจการจะได้หุ้นกู้ที่ระบุอัตราดอกเบี้ย ดอกเบี้ยดังกล่าวรวมอยู่ในราคาซื้อของหุ้นกู้ แต่ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาทุนของเงินลงทุน เป็นต้น
เงินลงทุน * ตามปกติกิจการจะวัดมูลค่าด้วยราคาเสนอซื้อปัจจุบัน หากราคาเสนอซื้อปัจจุบันไม่สามารถหาได้หรือไม่เป็นตัวแทนของมูลค่ายุติธรรมกิจการอาจใช้ราคาซื้อขายครั้งล่าสุดเมื่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไม่เปลี่ยนแปลงอย่างเป็นสาระสำคัญระหว่างวันที่มีการซื้อขายครั้งล่าสุดกับวันที่วัดมูลค่า **ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ว่าเงินลงทุนมีมูลค่าลดลงอย่างถาวร เช่น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ลดลง อย่างมีสาระสำคัญและติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน หรือมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารลดลงอย่างเป็นสาระสำคัญ เป็นต้น กิจการต้องรับรู้ผลขาดทุนจากการลดมูลค่าของเงินลงทุนในงบกำไรขาดทุน หากกิจการสามารถประมาณราคาขายได้อย่างน่าเชื่อถือโดยที่ไม่มีต้นทุนสูงมากจนเกินไป และราคาขายหักด้วยต้นทุนในการขายเงินลงทุนต่ำกว่าราคาตามบัญชีของเงินลงทุน ในกรณีที่ไม่ปรากฏว่ามีข้อบ่งชี้ข้างต้นอีกต่อไป กิจการสามารถบันทึกกลับรายการผลขาดทุนดังกล่าวได้
เงินลงทุน * ตามปกติกิจการจะวัดมูลค่าด้วยราคาเสนอซื้อปัจจุบัน หากราคาเสนอซื้อปัจจุบันไม่สามารถหาได้หรือไม่เป็นตัวแทนของมูลค่ายุติธรรมกิจการอาจใช้ราคาซื้อขายครั้งล่าสุดเมื่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไม่เปลี่ยนแปลงอย่างเป็นสาระสำคัญระหว่างวันที่มีการซื้อขายครั้งล่าสุดกับวันที่วัดมูลค่า **ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ว่าเงินลงทุนมีมูลค่าลดลงอย่างถาวร เช่น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ลดลง อย่างมีสาระสำคัญและติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน หรือมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารลดลงอย่างเป็นสาระสำคัญ เป็นต้น กิจการต้องรับรู้ผลขาดทุนจากการลดมูลค่าของเงินลงทุนในงบกำไรขาดทุน หากกิจการสามารถประมาณราคาขายได้อย่างน่าเชื่อถือโดยที่ไม่มีต้นทุนสูงมากจนเกินไป และราคาขายหักด้วยต้นทุนในการขายเงินลงทุนต่ำกว่าราคาตามบัญชีของเงินลงทุน ในกรณีที่ไม่ปรากฏว่ามีข้อบ่งชี้ข้างต้นอีกต่อไป กิจการสามารถบันทึกกลับรายการผลขาดทุนดังกล่าวได้
เงินลงทุน • ราคาทุนตัดจำหน่าย หมายถึง ราคาทุนของตราสารหนี้ที่ได้มาเมื่อเริ่มแรก หักเงินต้นที่จ่ายคืนและบวกหรือหักค่าตัดจำหน่ายสะสมของส่วนต่างระหว่างราคาทุนเริ่มแรกกับมูลค่าที่ตราไว้ โดยใช้วิธีการตัดจำหน่ายส่วนต่างตาม “วิธีอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง” หรือ “วิธีอื่นที่ให้ผลไม่แตกต่างจากวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอย่างมีสาระสำคัญ” • วิธีมูลค่ายุติธรรม -กำไร (ขาดทุน) ที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการปรับมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด • สำหรับตราสารทุน - วัดจากผลต่างระหว่างราคาตามบัญชีและมูลค่ายุติธรรม ณ วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาการรายงาน • สำหรับตราสารหนี้ - วัดจากผลต่างระหว่างราคาทุนตัดจำหน่ายและมูลค่ายุติธรรม ณ วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาการรายงาน
เงินลงทุน • หากกิจการจำหน่ายเงินลงทุนเพียงบางส่วน ราคาตามบัญชีต่อหน่วยที่ใช้ในการคำนวณกำไร(ขาดทุน) จากการจำหน่ายเงินลงทุนชนิดเดียวกันต้องคำนวณโดยใช้วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักหรือวิธีเข้าก่อน-ออกก่อน • ตามปกติ การโอนเปลี่ยนเงินลงทุนจากประเภทหนึ่งไปเป็นอีกประเภทหนึ่งจะไม่เกิดขึ้นบ่อยเนื่องจากกิจการต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการถือเงินลงทุน นับตั้งแต่เริ่มแรกที่ได้เงินลงทุนมา หากกิจการไม่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน กิจการต้องจัดประเภทเงินลงทุนนั้นเป็นหลักทรัพย์เผื่อขายในทันที อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปอาจทำให้กิจการต้องโอนเปลี่ยนประเภทเงินลงทุนการโอนเปลี่ยนประเภทเงินลงทุนต้องมีหลักฐานสนับสนุนอย่างเพียงพอ
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ • ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ หมายถึง สินทรัพย์ที่มีตัวตนที่กิจการมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิต ในการจำหน่ายสินค้า ให้บริการ ให้เช่าหรือใช้ในการบริหารงาน ซึ่งกิจการคาดว่าจะใช้ประโยชน์มากกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี • การรับรู้รายการ (สำหรับรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกและเมื่อภายหลัง เช่น ซ่อมบำรุง ต่อเติม ดัดแปลง ปรับปรุง เปลี่ยนแทน) ต้องเข้าเงื่อนไข ทุกข้อต่อไปนี้ • มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากรายการนั้น • กิจการสามารถวัดมูลค่าต้นทุนของรายการนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ • ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ รวมถึง • ชิ้นส่วนอะไหล่ที่สำคัญและอุปกรณ์ที่สำรองไว้ใช้งานที่กิจการคาดว่าจะใช้ประโยชน์ได้มากกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาการรายงาน • ชิ้นส่วนอะไหล่และอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงที่ต้องใช้ร่วมกับรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ • ราคาทุนของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ประกอบด้วย • ราคาซื้อรวมอากรขาเข้าและภาษีซื้อที่เรียกคืนไม่ได้ หลังหักส่วนลดการค้า และจำนวนที่ได้รับคืนจากผู้ขาย • ต้นทุนทางตรงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาสินทรัพย์เพื่อให้สินทรัพย์นั้นอยู่ในสถานที่และสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ตามความประสงค์ของฝ่ายบริหาร • ต้นทุนที่ประมาณที่ดีที่สุดสำหรับการรื้อ การขนย้าย และการบูรณะสถานที่ตั้งของสินทรัพย์ ซึ่งเป็นภาระผูกพันของกิจการที่เกิดขึ้นเมื่อกิจการได้สินทรัพย์นั้นมาหรือเป็นผลจากการใช้สินทรัพย์นั้นในช่วงเวลาหนึ่ง