410 likes | 844 Views
แนวทางการจัดทำต้นทุนหน่วยปฏิบัติ (Operating Unit Cost : OUC). สำนักงบประมาณ มิถุนายน 2554. ที่มา. ตามบันทึกข้อตกลง (MOU) ในการดำเนินนโยบายทางการคลังและการงบประมาณให้เข้าสู่ภาวะงบประมาณสมดุล ภายในระยะเวลา 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555-2559)
E N D
แนวทางการจัดทำต้นทุนหน่วยปฏิบัติ (Operating Unit Cost : OUC) สำนักงบประมาณ มิถุนายน 2554
ที่มา • ตามบันทึกข้อตกลง (MOU) ในการดำเนินนโยบายทางการคลังและการงบประมาณให้เข้าสู่ภาวะงบประมาณสมดุล ภายในระยะเวลา 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555-2559) • กำหนดให้มีการวางแผนการลดค่าใช้จ่าย การใช้จ่ายงบประมาณและบริหารจัดการ เพื่อให้รายจ่ายประจำสุทธิขยายตัวอยู่ในระดับต่ำ • เพื่อให้การพิจารณารายจ่ายประจำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด
วัตถุประสงค์ • เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำข้อเสนอต้นทุนหน่วยปฏิบัติ (Operating Unit Cost) ของส่วนราชการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน • เพื่อให้มีข้อมูลต้นทุนหน่วยปฏิบัติ (Operating Unit Cost) สำหรับใช้ประกอบการจัดทำคำของบประมาณการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ และการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการงบประมาณของส่วนราชการและสำนักงบประมาณ
ประโยชน์ที่จะได้รับ • สำนักงบประมาณสามารถจัดสรรงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และสามารถใช้ประกอบการชี้แจงงบประมาณต่อฝ่ายนิติบัญญัติในรายละเอียด ทำให้เกิดความชัดเจนในการพิจารณางบประมาณมากยิ่งขึ้น • สำนักงบประมาณทราบกรอบวงเงินงบประมาณทั้งสิ้นล่วงหน้า ที่รัฐจะต้องสนับสนุนให้แต่ละส่วนราชการฯ • ส่วนราชการฯ มีข้อมูลในการวางแผนจัดทำคำของบประมาณ รวมถึงการจัดทำแผนการพัฒนาองค์กรในอนาคต
หน่วยปฏิบัติ (Operating Unit) ของส่วนราชการ • ความหมายในเชิงกว้าง หมายถึง “หน่วยงานภายในส่วนราชการซึ่งได้มีการบัญญัติอยู่ในกฎหมายจัดตั้งหน่วยงานของส่วนราชการหนึ่งๆ และมีการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของการจัดตั้งหน่วยงานนั้นๆ” (ดังนั้น หากพิจารณาความหมายในเชิงกว้าง ทุกหน่วยงานภายในส่วนราชการ ถือเป็นหน่วยปฏิบัติ) ตัวอย่าง เช่น พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจ แห่งชาติ พ.ศ. 2552 กำหนดให้มี 22 หน่วยงาน ภายใต้ สตช. ดังนั้น ทั้ง22 หน่วยงาน ของ สตช. เป็นหน่วยปฏิบัติ
ความหมายในเชิงเฉพาะ หมายถึง “หน่วยงานภายในส่วนราชการที่ปฏิบัติภารกิจ/พันธกิจหลักของกระทรวง/กรม และส่วนใหญ่เป็นหน่วยเล็กสุดที่ให้บริการแก่บุคคลภายนอก ทั้งนี้ ต้องสามารถระบุจำนวนบุคลากรและปริมาณงานตลอดจนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน” โดยอาจเป็นหน่วยงานที่มีชื่อปรากฏอยู่ในกฎหมายจัดตั้งหน่วยงานของส่วนราชการ หรือเป็นหน่วยระดับย่อยต่ำลงไปภายใต้หน่วยงานนั้น เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีภารกิจ/พันธกิจหลัก ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม มีหน่วยปฏิบัติ คือ กองบัญชาการประกอบด้วย กองบัญชาการตำรวจนครบาล ตำรวจภูธรภาค ๑-๙ และศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ หน่วยปฏิบัติเล็กสุดที่ให้บริการแก่บุคคลภายนอก คือ สถานีตำรวจ เป็นต้น
ขั้นตอนการจัดทำ OUC • ขั้นตอนที่ 1 กำหนดหน่วยปฏิบัติ (Operating Unit : OU) • ขั้นตอนที่ 2 การจัดทำต้นทุนหน่วยปฏิบัติ (OUC)
กรอบแนวทางการจัดทำต้นทุนหน่วยปฏิบัติ(Operating Unit Cost : OUC) 1. หลักการกำหนด Operating Unit : OU ให้พิจารณาจากกฎหมายจัดตั้งหน่วยงาน เช่น พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและ/โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ 1.1 กำหนดทุกหน่วยงานภายใต้ส่วนราชการเป็น OU และจัดทำต้นทุนของทุก OU นั้น 1.2 หากส่วนราชการใดไม่สามารถจัดทำต้นทุนของทุก OU ได้ ในระยะเริ่มต้นอาจเลือกเฉพาะ OU ที่ปฏิบัติภารกิจ/พันธกิจหลักของกระทรวง/กรมก่อนจำนวน 1-2 หน่วย โดยควรเป็นหน่วยที่ให้บริการแก่บุคคลภายนอกโดยตรงที่เล็กที่สุด และสามารถระบุจำนวนบุคลากรและปริมาณงาน ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน เช่น สถานีตำรวจ โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น
1. หลักการกำหนด Operating Unit : OU (ต่อ) 1.3 กรณีเลือกเฉพาะ OU ที่ปฏิบัติภารกิจ/พันธกิจหลักของกระทรวง/กรม หากเป็นไปได้ควรพิจารณาให้ครอบคลุมทุก OU ที่ปฏิบัติภารกิจ/พันธกิจหลักนั้น เพื่อให้ได้ข้อมูลต้นทุน ที่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์เพื่อการจัดการงบประมาณครบถ้วน เช่น สำนักงบประมาณ มีพันธกิจหลักในการเสนอแนะและให้คำปรึกษาแนะนำในด้านการงบประมาณแก่รัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐ ดังนั้น เพื่อให้สำนักงบประมาณสามารถปฏิบัติตามพันธกิจดังกล่าวได้สมบูรณ์ หน่วยปฏิบัติ (OU) ควรมีทั้งสำนักจัดทำฯ และสำนักวิชาการที่ร่วมปฏิบัติงาน เป็นต้น
2. หลักการคิดต้นทุนหน่วยปฏิบัติ(Operating Unit Cost :OUC) 2.1 ส่วนราชการคิดกรอบต้นทุนของ OU ที่ควรจะเป็น ตามความจำเป็น และความเหมาะสมของภารกิจ/พันธกิจ โดยต้องชี้แจงเหตุผล/ หลักเกณฑ์ต่างๆ ประกอบการคำนวณ 2.2 จัดทำ OUC ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 – 2559 2.3 OUC ประกอบด้วยรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน ครอบคลุม เงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ และแสดงรายละเอียด 5 งบรายจ่าย ได้แก่ งบบุคลากร งบดำเนินงาน งบลงทุน งบเงิน อุดหนุนและงบรายจ่ายอื่น 2.4 สำหรับงบลงทุนให้แสดงกรอบความจำเป็นในการปฏิบัติงาน 2.5 กรณี OU มีขนาด / ความรับผิดชอบแตกต่างกันมาก ให้แบ่ง OU เป็นกลุ่มๆ ตามความเหมาะสมของต้นทุนที่เกิดขึ้น 2.6 คิดต้นทุนหน่วยปฏิบัติ(OUC) ตามแบบฟอร์มรายจ่ายจริงและ ประมาณการต้นทุน/ค่าใช้จ่าย จำแนกตามภารกิจหลักของหน่วย ปฏิบัติ(แบบฟอร์ม OUC)
3.1 การกำหนด OU ของ สตช. • พิจารณาพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 /แผนภูมิการจัดโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ สตช. • พิจารณาภารกิจ/พันธกิจอำนาจหน้าที่ ของส่วนราชการ/หน่วยงาน เพื่อ • 2.1) เตรียมจัดทำต้นทุนหน่วยปฏิบัติที่เหมาะสม • 2.2) เลือกภารกิจ/พันธกิจหลัก/กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง(กรณีไม่สามารถ คิดต้นทุนทุก OU) • กำหนด OU ของ สตช. • 3.1) กำหนดทุกหน่วยงานภายใต้ พรฎ.ฯ เป็น OU หรือ • 3.2) เลือกบางหน่วยงาน เฉพาะที่ปฏิบัติภารกิจ/พันธกิจหลัก • 4) ในตัวอย่างนี้ จะเลือกบางหน่วยงานเป็นหน่วยปฏิบัติ ดังนี้ ตัวอย่าง การจัดทำ OUC กรณีศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ที่มา : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติสำนักงานตำรวจแห่งชาติ วิสัยทัศน์ : เป็นหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่รักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนความมั่นคงในราชอาณาจักร อำนวยความยุติธรรม ให้บริการประชาชนด้วยความเสมอภาค เป็นธรรมอย่างมีมาตรฐาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ศรัทธาต่อองค์กรและประชาชน พันธกิจ : 1.รักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์และพระราชอาคันตุกะ 2.รักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยของประชาชนและความมั่นคงของราชอาณาจักร 3.ป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดทางอาญา 4.อำนวยความยุติธรรมโดยยึดหลักนิติธรรม 5.ให้บริการที่ดีโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง 6.ส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน และท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม
ก. สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แบ่งเป็นส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ (๒) สำนักงานส่งกำลังบำรุง (๓) สำนักงานกำลังพล (๔) สำนักงานงบประมาณและการเงิน ข. ให้จัดตั้งกองบัญชาการหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ ดังต่อไปนี้ (๑) กองบัญชาการตำรวจนครบาล (๒) - (๑๐) ตำรวจภูธรภาค ๑-๙ (๑๑) ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (๑๒) กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (๑๓) กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (๑๔) กองบัญชาการตำรวจสันติบาล (๑๕) สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (๕) สำนักงานกฎหมายและคดี (๖) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (๗) สำนักงานจเรตำรวจ (๘) สำนักงานตรวจสอบภายใน (๑๖) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (๑๗) สำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ (๑๘) สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ (๑๙) สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (๒๐) กองบัญชาการศึกษา (๒๑) โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (๒๒) โรงพยาบาลตำรวจ มาตรา ๔ให้แบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
กองบัญชาการตำรวจนครบาล มีอำนาจหน้าที่ในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือเขตพื้นที่การปกครอง ดังต่อไปนี้ (ก) กำหนดยุทธศาสตร์ วางแผน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำแนะนำและเสนอแนะการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของกองบัญชาการตำรวจนครบาลและหน่วยงานในสังกัด (ข) ถวายความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาทผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ (ค) บูรณาการร่วมกับหน่วยงานตำรวจหรือหน่วยงานอื่นที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องในเขตพื้นที่รับผิดชอบ (ง) ดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม การรักษาความสงบเรียบร้อย และการให้ความปลอดภัยแก่บุคคลสำคัญ ประชาชน ตลอดจนการให้บริการช่วยเหลือประชาชน (จ) ปฏิบัติงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญา (ฉ) ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ช) ส่งเสริมและสนับสนุนเกี่ยวกับการบรรเทาสาธารณภัย (ซ) ดำเนินการเกี่ยวกับการจราจร (ฌ) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ท้องถิ่นหรือชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา การรักษาความสงบเรียบร้อยและรักษาความปลอดภัยของประชาชนตามความเหมาะสมและความต้องการของแต่ละพื้นที่ (ญ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ตำรวจภูธรภาค ๑-๙มีอำนาจหน้าที่ในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือเขตพื้นที่การปกครอง ดังต่อไปนี้ (ก) กำหนดยุทธศาสตร์ วางแผน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำแนะนำและเสนอแนะการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของตำรวจภูธรภาคและหน่วยงานในสังกัด (ข) ถวายความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาทผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ (ค) บูรณาการร่วมกับหน่วยงานตำรวจหรือหน่วยงานอื่นที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องในเขตพื้นที่รับผิดชอบ (ง) ควบคุม ตรวจสอบ และแนะนำข้าราชการตำรวจที่สังกัดหน่วยงานอื่นที่อยู่ในพื้นที่ให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติและสำนักงานตำรวจแห่งชาติตลอดจนให้มีอำนาจยับยั้งการกระทำใดๆ ของข้าราชการตำรวจที่สังกัดหน่วยงานอื่นในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือเขตพื้นที่การปกครองที่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไว้ชั่วคราว แล้วรายงานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนด (จ) ดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม การรักษาความสงบเรียบร้อย และการให้ความปลอดภัยแก่บุคคลสำคัญ ประชาชน ตลอดจนการให้บริการช่วยเหลือประชาชน (ฉ) ปฏิบัติงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาตามที่ได้รับมอบหมาย (ช) ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ซ) ส่งเสริมและสนับสนุนเกี่ยวกับการบรรเทาสาธารณภัย (ฌ) ดำเนินการเกี่ยวกับการจราจร (ญ) ดำเนินการเกี่ยวกับการสรรหาบุคคลเพื่อเข้ารับราชการตำรวจ (ฎ) ...(ฑ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีอำนาจหน้าที่ในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือเขตพื้นที่การปกครอง ดังต่อไปนี้ (ก) กำหนดยุทธศาสตร์ วางแผน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำแนะนำและเสนอแนะการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้และหน่วยงานในสังกัด (ข) ถวายความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาทผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ (ค) บูรณาการร่วมกับหน่วยงานตำรวจหรือหน่วยงานอื่นที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องในเขตพื้นที่รับผิดชอบ (ง) ควบคุม ตรวจสอบ และแนะนำข้าราชการตำรวจที่สังกัดหน่วยงานอื่นที่อยู่ในพื้นที่ให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติและสำนักงานตำรวจแห่งชาติตลอดจนให้มีอำนาจยับยั้งการกระทำใด ๆ ของข้าราชการตำรวจที่สังกัดหน่วยงานอื่นในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือเขตพื้นที่การปกครองที่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไว้ชั่วคราว แล้วรายงานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนด (จ) ดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม การรักษาความสงบเรียบร้อย และการให้ความปลอดภัยแก่บุคคลสำคัญ ประชาชน ตลอดจนการให้บริการช่วยเหลือประชาชน (ฉ) ปฏิบัติงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาตามที่ได้รับมอบหมาย (ช) ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ซ) ส่งเสริมและสนับสนุนเกี่ยวกับการบรรเทาสาธารณภัย (ฌ) ดำเนินการเกี่ยวกับการจราจร (ญ) ดำเนินการเกี่ยวกับการสรรหาบุคคลเพื่อเข้ารับราชการตำรวจ (ฎ) ดำเนินการวิเคราะห์ค้นหาความจำเป็นในการฝึกอบรม การสร้างและพัฒนาหลักสูตร ระบบการเรียนการสอน จัดฝึกอบรมก่อนเข้ารับราชการตำรวจ และจัดฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพของข้าราชการตำรวจ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสังกัด (ฏ) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม การรักษาความสงบเรียบร้อย และรักษาความปลอดภัยในกิจการของตำรวจ (ฐ) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ท้องถิ่นหรือชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการของตำรวจเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา การรักษาความสงบเรียบร้อยและรักษา ความปลอดภัยของประชาชนตามความเหมาะสมและความต้องการของแต่ละพื้นที่ (ฑ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๕) สำนักงานกฎหมายและคดี (๖) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (๗) สำนักงานจเรตำรวจ (๘) สำนักงานตรวจสอบภายใน ส่วนป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม (๑๖) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (๑๗) สำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ (๑๘) สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ (๑๙) สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (๒๐) กองบัญชาการศึกษา (๒๑) โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (๒๒) โรงพยาบาลตำรวจ สถานีตำรวจ มาตรา ๔ให้แบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ ก. สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แบ่งเป็นส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ (๒) สำนักงานส่งกำลังบำรุง (๓) สำนักงานกำลังพล (๔) สำนักงานงบประมาณและการเงิน ข. ให้จัดตั้งกองบัญชาการหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ ดังต่อไปนี้ (๑) กองบัญชาการตำรวจนครบาล (๒) - (๑๐) ตำรวจภูธรภาค ๑-๙ (๑๑) ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (๑๒) กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (๑๓) กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (๑๔) กองบัญชาการตำรวจสันติบาล (๑๕) สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
สถานีตำรวจ 2. การจัดทำ OUC ของ สตช. เตรียมข้อมูลพื้นฐาน เช่น วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง การแบ่งส่วนราชการ รายจ่ายจริงปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 จำนวนสถานีตำรวจ สถานภาพกำลังพล ฯลฯ เลือก OU คิด OUC ของสถานีตำรวจตามหลักการคิดต้นทุนหน่วยปฏิบัติ (Operating Unit Cost : OUC) และเนื่องจากสถานีตำรวจมีขนาดแตกต่างกัน ซึ่งมีผลต่อการคิดต้นทุน จึงแบ่งสถานีตำรวจออกเป็น 3 ขนาด ได้แก่ สถานีขนาดใหญ่สถานีขนาดกลางและสถานีขนาดเล็ก
2. การจัดทำ OUC ของ สตช. (ต่อ) 4. วิเคราะห์และคำนวณต้นทุน/ค่าใช้จ่าย ของสถานีตำรวจขนาดต่างๆ ตามพันธกิจ (ของสถานีตำรวจ) ประกอบด้วยรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน ครอบคลุมเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ โดยใช้ข้อมูลปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 เป็นปีฐาน และให้ประมาณการต้นทุน/ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าอีก 5 ปี ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 จำแนกตามกิจกรรมของสถานีตำรวจ และงบรายจ่าย พร้อมเปรียบเทียบกับรายจ่ายจริงปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 5. หากสามารถดำเนินการได้ (ในขณะนี้) ให้แสดงการใช้ปัจจัยนำเข้า (Input) ในแต่ละกิจกรรมของสถานีตำรวจ เกี่ยวกับจำนวนบุคลากรที่ใช้ (คน) และระยะเวลาในการดำเนินงาน (วัน) เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณ 6. จัดทำต้นทุนหน่วยปฏิบัติของ สตช. ตามแบบฟอร์มรายจ่ายจริงและประมาณการต้นทุน/ค่าใช้จ่าย จำแนกตามภารกิจหลักของหน่วยปฏิบัติ (แบบ OUC)
ต้นทุนหน่วยปฏิบัติ(Operating Unit Cost) หน่วยปฏิบัติ: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)กระทรวงสาธารณสุข
วิสัยทัศน์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขเป็นองค์กรหลักในการพัฒนาระบบสุขภาพที่มีคุณภาพประสิทธิภาพ และเสมอภาค โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน และทุกภาคส่วน เพื่อสร้างสังคมที่มีจิตสำนึกด้านสุขภาพให้คนไทยทุกคนมีสุขภาพดี สู่เป้าหมายสังคมอยู่เย็นเป็นสุข ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจกระทรวงสาธารณสุขพันธกิจกระทรวงสาธารณสุข กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพของประเทศ และระหว่างประเทศให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น พัฒนาระบบบริการสุขภาพแบบองค์รวมที่มีประสิทธิภาพ เสมอภาคทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน โดยเน้นชุดสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐาน บริการเฉพาะทางและระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การสร้างระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค และภัยทางสุขภาพ ส่งเสริมทุกภาคส่วนของสังคมในการมีส่วนร่วม สร้างจิตสำนึกทางสุขภาพ สร้างเสริมสุขภาพ พัฒนาศักยภาพด้านพฤติกรรมสุขภาพ พัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการด้านสุขภาพ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กำหนดนโยบายทิศทางการวิจัย และการบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านสุขภาพ
กระทรวงสาธารณสุข จำนวนสถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ณ ปี 2553
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ภารกิจหลัก • การป้องกันส่งเสริมสุขภาพควบคู่กับการให้บริการรักษาแบบปฐมภูมิที่ใกล้บ้าน • การส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้านสุขภาพของชุมชนและท้องถิ่นให้สามารถพึ่งตนเองได้ • การคัดกรอง-ส่งต่อเพื่อรับบริการที่สูงขึ้น รับกลับมาเพื่อดูแลต่อเนื่องที่บ้านด้วยแนวทางดูแลร่วมกันของ CUP
การเชื่อมโยงกิจกรรม รพ.สต. (ตามภารกิจของหน่วยงาน) กระทรวงสาธารณสุข (ตามเอกสารงบประมาณ) โครงการโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล งบดำเนินการ - ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ (ค่าจ้างเหมาบริการ, ค่าใช้จ่ายในการสัมมนา และฝึกอบรม) - ค่าสาธารณูปโภค (ค่าบริการสื่อสารและโทรคมนาคม) งบลงทุน - ค่าครุภัณฑ์ - ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง 1. รักษา ฟื้นฟู 2. ป้องกัน ส่งเสริม 3. คัดกรอง ส่งต่อ ผู้ป่วย
ค่าใช้จ่ายพื้นฐานสำหรับ รพ.สต. กรอบความต้องการพื้นฐานของ รพ.สต. บุคลากร - สถานีอนามัยขนาดเล็ก บุคลากร 4-6 คน - สถานีอนามัยขนาดกลาง บุคลากร 6-8 คน - สถานีอนามัยขนาดใหญ่ บุคลากร 8-10 คน ประกอบด้วยประเภทบุคลากร ดังนี้ (1) เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข จำนวน 1 ตำแหน่ง (2) นักวิชาการสาธารณสุข จำนวน 1 ตำแหน่ง (3) พยาบาลวิชาชีพ/พยาบาลเวชปฏิบัติ จำนวน 1 ตำแหน่ง (4) เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน/ สหวิชาชีพ จำนวน 1 ตำแหน่ง ทั้งนี้ ในขนาดเล็ก กลางและใหญ่ จำนวนบุคลากรที่เพิ่มขึ้น จะเป็นการเพิ่มในตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน หรือ สหวิชาชีพ แล้วแต่ความจำเป็น
ค่าใช้จ่ายพื้นฐานสำหรับ รพ.สต. งบดำเนินงาน - ค่าใช้จ่ายระบบสื่อสารทางไกล 40,000 บาท/แห่ง/ปี - ค่าใช้จ่ายในการจัดทำฐานข้อมูล(จ่ายครั้งเดียว) - ขนาดเล็ก แห่งละ 150,000 บ. - ขนาดกลาง แห่งละ 230,000 บ. - ขนาดใหญ่ แห่งละ 350,000 บ. ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายดำเนินงานอื่นๆของสถานีอนามัย/รพ.สต. จะได้รับจัดสรรจาก ค่าใช้จ่ายรายหัวในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ซึ่งสำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะจัดสรรให้กับจังหวัด และจังหวัดจะจัดสรรให้ สถานีอนามัย/รพ.สต. ซึ่งการจัดสรรของจังหวัดให้กับสถานีอนามัย/รพ.สต. จะมี วิธีจัดสรร 4 รูปแบบแล้วแต่ว่าจังหวัดจะเลือกรูปแบบใด ดังนั้นสถานีอนามัย/รพ.สต. ในแต่ละจังหวัดอาจจะได้รับการจัดสรรแตกต่างกัน
ค่าใช้จ่ายพื้นฐานสำหรับ รพ.สต. งบลงทุน ครุภัณฑ์ ครุภัณฑ์พื้นฐานในแต่ละสถานีอนามัย/รพ.สต. ประกอบด้วยครุภัณฑ์รวม 34 รายการ คิดเป็นค่าใช้จ่าย ประมาณ 1.8 ล้านบาท/แห่ง [โดยในการยกระดับสถานีอนามัยเป็น รพ.สต. ในปี 2553 (ภายใต้ แผนไทยเข้มแข็ง 2555) จัดสรรให้ 300,000 บ. – 500,000 บ. ตามขนาดของสถานีอนามัยเพื่อดำเนินการจัดซื้อภายในกรอบ 34 รายการ] สิ่งก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง รพ.สต ทดแทนสถานีอนามัย แห่งละ 2,467,000 บาท (โดยในปี 2554 จะก่อสร้างทดแทนจำนวน 399 แห่ง)
ข้อมูลค่าใช้จ่ายและต้นทุนบริการต่อหน่วยของสถานีอนามัย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ข้อมูล ต.ค. 2552 - มี.ค. 2553
ข้อมูลค่าใช้จ่ายและต้นทุนบริการต่อหน่วยของสถานีอนามัย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ข้อมูล ต.ค. 2552 - มี.ค. 2553
แบบรายงาน OUC • OUC 1 : สรุปต้นทุนหน่วยปฏิบัติเป็นรายปีงบประมาณ โดยแยกเป็น รายจ่ายของปี 2553 งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 และประมาณการงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555-2559 • แบบรายงาน OUC 2 : เป็นแบบรายงานแสดงที่มาต้นทุนหน่วยปฏิบัติของแต่ละปีงบประมาณ โดยแยกเป็นรายกิจกรรมหลัก จะแสดงเฉพาะรายจ่ายประจำ (งบบุคลากร งบดำเนินงาน งบเงินอุดหนุน และงบรายจ่ายอื่น) และในแต่ละงบรายจ่ายจะจัดสรรงบประมาณออกเป็น 2 ประเภท (สำหรับการปฏิบัติงาน และสำหรับบริหารงานทั่วไป) ทั้งนี้ ในส่วนของแต่ละกิจกรรมหลักจะต้องแสดงเป้าหมาย และทรัพยากรที่ใช้ (ปริมาณงาน บุคลากร(คน) และระยะเวลาในการดำเนินงาน(วัน))
แบบรายงาน OUC • OUC 3 : แสดงรายละเอียดที่มาของต้นทุนหน่วยปฏิบัติของแต่ละกิจกรรมของแต่ละปีงบประมาณ โดยจะแสดงรายการค่าใช้จ่ายเฉพาะรายจ่ายประจำของงบบุคลากร งบดำเนินงาน งบเงินอุดหนุน และงบรายจ่ายอื่น พร้อมทั้งแสดงตัวตั้งตัวคูณ ได้แก่ ปริมาณงาน บุคลากร(คน) ระยะเวลาในการดำเนินงาน(วัน) และอัตราต่อหน่วย ตามลักษณะที่มาของแต่ละรายการค่าใช้จ่าย • OUC 4 : เป็นแบบรายงานแสดงทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงาน (กรอบอัตรากำลัง และแผนการจัดหาครุภัณฑ์ ฯ) และปริมาณงานที่จะดำเนินการในแต่ละปีงบประมาณ
ต้นทุนผลผลิตแตกต่างจากต้นทุนหน่วยปฏิบัติอย่างไร ? • ต้นทุนผลผลิต เป็นการคำนวณค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชี ซึ่งต้องอาศัยการปันส่วนค่าใช้จ่าย และสามารถแสดงข้อมูลค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นในการจัดทำผลผลิตหนึ่งๆ ที่นำมาเป็นตัวชี้วัดหนึ่งในระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน • ส่วนต้นทุนหน่วยปฏิบัติเป็นการรวบรวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นภายในแต่ละหน่วยปฏิบัติของส่วนราชการฯ
แผนการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดทำต้นทุนหน่วยปฏิบัติของส่วนราชการฯ • ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ให้ทุกส่วนราชการฯ จัดทำต้นทุนหน่วยปฏิบัติอย่างน้อย 1 หน่วยปฏิบัติ (OU) ในลักษณะหน่วยงานนำร่อง ดังนั้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 มีหน่วยงานนำร่องที่จัดทำต้นทุนหน่วยปฏิบัติ ทั้งสิ้น 399 หน่วยปฏิบัติ • และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ให้ทุกส่วนราชการฯ จัดทำต้นทุนหน่วยปฏิบัติให้ครบทุกหน่วยปฏิบัติของแต่ละส่วนราชการฯ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2556
สรุป การจัดเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำ OUC • กรอบทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงาน • อัตรากำลัง • ครุภัณฑ์ และสิ่งก่อสร้าง • แผนการดำเนินงาน • ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการดำเนินงาน จำแนกตามงบรายจ่าย • ในการปฏิบัติงาน • ในการบริหารงานทั่วไป • ค่าใช้จ่ายจำแนกตามรายกิจกรรม • แสดงรายละเอียดรายการค่าใช้จ่ายของแต่ละกิจกรรม(แสดงตัวตั้ง ตัวคูณ ชัดเจน)
OUC OPC Cost Center ผลผลิต... ส.จัดทำฯส.ประเมินผล ค่าใช้จ่ายทางตรง (Direct Cost) FCC กิจกรรมหลัก ส.มาตรฐานฯส.กฎหมายฯ ค่าใช้จ่ายทางอ้อม (Inditect Cost) กิจกรรมรอง SCC ส.อำนวยการสถาบันฯศูนย์เทคโนฯ ค่าใช้จ่ายทางอ้อม (Inditect Cost) กิจกรรมสนับสนุน SCC OPC (Output Costing) & OUC (Operating Unit Cost)
สรุป OPC & OUC • OPC เป็นการคิดแบบ Top Down OUC เป็นการคิดแบบ Bottom Up • การสะสมค่าใช้จ่าย OPC ->ผลผลิต / OUC ->หน่วยต้นทุน • OUC เป็นส่วนหนึ่งของ OPC • OUC ไม่มีการปันส่วน จึงไม่ใช่การคิดต้นทุน แต่เป็นการหาค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของหน่วยปฏิบัติ