1 / 81

การแจ้งการเกิด

การแจ้งการเกิด. หลักการ. นายทะเบียน สามารถรับแจ้งการเกิด และออกสูติบัตร ให้กับเด็กทุกคนที่เกิดในราชอาณาจักรไทย ไม่ว่าบิดามารดา เป็นต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และไม่ว่าจะมีชื่อ และรายการบุคคลในเอกสารการทะเบียนราษฎร มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก หรือไม่.

zayit
Download Presentation

การแจ้งการเกิด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การแจ้งการเกิด

  2. หลักการ นายทะเบียนสามารถรับแจ้งการเกิด และออกสูติบัตร ให้กับเด็กทุกคนที่เกิดในราชอาณาจักรไทย ไม่ว่าบิดามารดา เป็นต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และไม่ว่าจะมีชื่อและรายการบุคคลในเอกสารการทะเบียนราษฎร มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก หรือไม่

  3. การออกสูติบัตร หรือใบเกิด มาตรา ๒๐ เมื่อมีการแจ้งการเกิดตาม ม.๑๘ ม.๑๙ ม.๑๙/๑ หรือ ม.๑๙/๓ ทั้งกรณีของเด็กที่มีสัญชาติไทย หรือเด็กที่ไม่ได้สัญชาติไทย.. ให้นายทะเบียนผู้รับแจ้งรับแจ้งการเกิด และออกสูติบัตร เป็นหลักฐานแก่ผู้แจ้งโดยมีข้อเท็จจริง เท่าที่สามารถจะทราบได้ ฯลฯ

  4. ปัญหาของประเทศไทยก่อนการแก้ไขกฎหมาย 2551 ๑. การปฏิเสธการรับแจ้งการเกิด - เด็กที่เป็นบุตรของคนต่างด้าวที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎร ๒. เด็กบางประเภทไม่อาจแจ้งการเกิด - เด็กเร่ร่อน เด็กอนาถา เด็กที่ไม่ปรากฏบุพการี

  5. กฎหมาย - พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 กฎกระทรวง(2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.การ ทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534กฎกระทรวงกำหนดให้คนต่างด้าวปฏิบัติเกี่ยวกับ การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2548กฎกระทรวงกำหนดให้คนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ปฏิบัติเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร และกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมพ.ศ. 2551

  6. มาตรา 5ให้ รมต. มีอำนาจออกกฎกระทรวง กำหนด หรือยกเว้นการปฏิบัติ เกี่ยวกับการแจ้ง เกิดแจ้งตาย การจัดทำทะเบียนประวัติ หรือการ อื่นใด อันเกี่ยวกับคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ตาม กฎหมายที่เกี่ยวด้วยสัญชาติได้

  7. หนังสือสำนักทะเบียนกลาง ที่ มท 0310.1/ว 8 ลงวันที่ 26 มีนาคม 2545 ต่างด้าวที่ดำเนินการในเรื่องแจ้งการเกิด การตาย การย้าย ได้ มี 3 ประเภท 1. ต่างด้าวมีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว

  8. 2. ต่างด้าวที่ รมต.มท.โดยอนุมัติ ครม.อนุญาตให้เข้ามา อยู่เป็นกรณีพิเศษเฉพาะเรื่องตามกฎหมายคนเข้าเมือง เช่น ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ ที่จัดทำทะเบียนประวัติและ จัดทำบัตรไว้เป็นหลักฐาน โดยมีมติ ครม.ผ่อนผันให้อยู่ ชั่วคราวหรือให้สถานะเข้าเมืองโดยชอบ เช่น ญวนอพยพ อดีตทหารจีนคณะชาติ 3. ต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย(ประสงค์ปฏิบัติ)

  9. ต่างด้าวนอกจากนี้ ไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร นายทะเบียนไม่สามารถดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร ให้ได้ ยกเว้น การรับแจ้งการตาย ซึ่งต้องใช้หลักฐานในการจัดการศพ สามารถออก ท.ร.4 ตอนหน้า โดยอนุโลม ไม่ออกมรณบัตร

  10. กฎกระทรวงกำหนดให้คนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ปฏิบัติเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร และกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม พ.ศ. 2551ยกเลิก กฎกระทรวงกำหนดให้คนต่างด้าวปฏิบัติเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎรพ.ศ. 2548(ให้ไว้ วันที่ 23 สิงหาคม 2551)

  11. (1) คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่า ด้วยคนเข้าเมืองและมีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และบุตรที่เกิด ในไทย และไม่ได้สัญชาติไทย... คนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ในกฎกระทรวง หมายถึง

  12. (2) คนต่างด้าวซึ่งได้รับการผ่อนผัน ให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะรายจาก รมว.มท. ตามกฎหมาย ว่าด้วยคนเข้าเมือง และบุตรที่เกิดในไทย และไม่ได้สัญชาติไทย...

  13. (3) คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาต ให้เข้ามาอยู่ในไทยเป็นการชั่วคราว ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และบุตรที่เกิดในไทย และไม่ได้สัญชาติไทย...

  14. (4) คนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และบุตรที่เกิด ในไทย และไม่ได้สัญชาติไทย...

  15. ข้อ 3 ของกฎกระทรวงเมื่อมีคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (ทุกประเภท)เกิด หรือตาย ให้บุคคลตามมาตรา 18 มาตรา 19 มาตรา 19/1 หรือมาตรา 21 แจ้งการเกิด หรือการตาย แล้วแต่กรณี(สอดคล้องกับมาตรา 20)(ต่างด้าวชั่วคราว ยกเว้นเฉพาะ เรื่องเพิ่มชื่อ แจ้งย้าย)

  16. บทกำหนดโทษ มาตรา 48ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ที่ออกตามมาตรา 5 ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินห้าพันบาท (คนไทยปรับตาม มาตรา 47 ระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท (20 บาท) เช่น มาตรา 18 มาตรา 21 มาตรา 23)

  17. การแจ้งการเกิดกรณีต่างๆการแจ้งการเกิดกรณีต่างๆ

  18. การแจ้งเกิด ๑. เกิดในบ้าน มาตรา ๑๘ (๑)เมื่อมีคนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือบิดาหรือมารดาแจ้งต่อ นายทะเบียนผู้รับแจ้ง แห่งท้องที่ที่คนเกิด ในบ้านภายใน 15 วัน

  19. การแจ้งเกิด ๑. เกิดในบ้าน บ้าน หมายถึง อาคาร โรงเรือน หรือสถานที่ที่สามารถใช้ เป็นที่อยู่อาศัยประจำได้ เช่น โรงพยาบาล สถานีอนามัย เรือ แพ ฯ ทั้งนี้ จะต้องเป็นบ้านที่มีเลขที่บ้าน

  20. การแจ้งเกิด ๒. เกิดนอกบ้าน มาตรา ๑๘ (๒)เมื่อมีคนเกิดนอกบ้าน ให้บิดาหรือมารดาแจ้งต่อ นายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดนอกบ้านหรือแห่งท้องที่ ที่พึงจะแจ้งได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด ในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนด ให้แจ้งภายหลังได้แต่ต้องไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันเกิด

  21. การแจ้งเกิด ๓. การแจ้งเกิดต่อ นทบ.ท้องที่อื่น มาตรา ๑๘ วรรคสามในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน การแจ้งการเกิดจะแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่อื่นก็ได้

  22. ๓. การแจ้งเกิดต่อ นทบ.ท้องที่อื่น ๓.๓ หลักฐานเพิ่มเติมที่ต้องมี - หนังสือรับรองการเกิด (ท.ร.๑/๑) ที่ออกให้โดยโรงพยาบาล หรือ สถานพยาบาลที่เด็กเกิด หรือผลการตรวจดีเอ็นเอที่ตรวจพิสูจน์จากหน่วยงานของรัฐหรือสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ - พยานบุคคลไม่น้อยกว่า ๒ คน (ยืนยันความเป็นบิดา/มารดา) ๓.๔ ค่าธรรมเนียม ๒๐ บาท

  23. ๔. การแจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา มาตรา ๑๙/๓ผู้ซึ่งเจ้าบ้านหรือบิดามารดามิได้แจ้งการเกิดให้ตามมาตรา ๑๘ อาจขอแจ้งการเกิดได้ ในกรณีที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองแจ้งแทนได้

  24. ๕. การแจ้งเกิดเด็กในสภาพแรกเกิดหรือ เด็กไร้เดียงสาซึ่งถูกทอดทิ้ง มาตรา ๑๙ผู้ใดพบเด็กฯ ให้นำเด็กไปส่งฝ่าย ปค.หรือตำรวจ หรือ พม. โดย ฝ่าย ปค. หรือตำรวจจะนำตัวเด็กพร้อมบันทึกการรับตัวเด็กส่งให้ พม. เพื่อแจ้งการเกิดให้เด็ก

  25. ๖. การแจ้งเกิดเด็กเร่ร่อนหรือเด็กไม่ปรากฏบุพการีหรือบุพการีทอดทิ้ง (ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์)มาตรา ๑๙/๑ สรุปว่าเด็กฯ ซึ่งอยู่ในการอุปการะของหน่วยงานของรัฐ/ หน่วยงานเอกชน ตาม ปมท. ถ้าเด็กยังไม่ได้แจ้งการเกิดและไม่มีรายการบุคคลในทะเบียนบ้านให้หัวหน้าหน่วยงาน เป็นผู้แจ้งการเกิด

  26. ประเภทสูติบัตร ท.ร. 1 • สูติบัตรสำหรับ คนที่มีสัญชาติไทย และแจ้งการเกิดภายในกำหนด ท.ร. 2 • สูติบัตรสำหรับ คนที่มีสัญชาติไทย และแจ้งการเกิดเกินกำหนด

  27. ท.ร. 3 • สูติบัตรสำหรับ คนที่ไม่มีสัญชาติไทย • ท.ร. 03 • สูติบัตรสำหรับ บุตรแรงงานต่างด้าว • ท.ร. 031 • สูติบัตรสำหรับ บุคคลที่ไม่มีสถานะ ทางทะเบียน

  28. หนังสือรับรองการเกิด(ท.ร.1/1)หนังสือรับรองการเกิด(ท.ร.1/1) โรงพยาบาล/สถานีอนามัย 2 ใบรับแจ้งการเกิด (ท.ร.1 ตอนหน้า) กำนัน / ผู้ใหญ่บ้าน 1 สูติบัตร สำนักทะเบียน กรณีเกิด ในสถาน พยาบาล ท.ร.1 ท.ร.2 ท.ร.3 ท.ร.031 ท.ร.14 ท.ร.13 ท.ร.38ก

  29. ผู้มีหน้าที่แจ้ง 2 ใบรับแจ้งการเกิด (ท.ร.1 ตอนหน้า) กำนัน / ผู้ใหญ่บ้าน 1 สูติบัตร สำนักทะเบียน กรณีเกิด นอกสถาน พยาบาล ท.ร.1 ท.ร.2 ท.ร.3 ท.ร.031 ท.ร.14 ท.ร.13 ท.ร.38ก

  30. แจ้งเกิดเด็กถูกทอดทิ้งแจ้งเกิดเด็กถูกทอดทิ้ง เจ้าหน้าที่ พม. กรณี เด็กแรกเกิดและเด็กไร้เดียงสา ผู้แจ้ง หัวหน้าหน่วยงานสงเคราะห์กรณีเด็กเร่ร่อน เด็กไร้บุพการี 1. รับแจ้ง 2. ตรวจฐานข้อมูล 3. ออกใบรับ ท.ร.100 4. สอบสวน 5. เสนอนายอำเภอ 1. พิสูจน์ได้ไทย ออก ท.ร.2 2. ไม่ได้ไทย ออก ท.ร.3 3. พิสูจน์ไม่ได้ ทำ ท.ร.38ก นายทะเบียน นายอำเภอ พิสูจน์สถานะการเกิด/สัญชาติ

  31. เด็กเกิดต่างประเทศ แจ้งตามกฎหมายของต่างประเทศ เจ้าหน้าที่สถานทูต สถานกงสุลไทย ผู้แจ้ง แปลเอกสารเป็นไทยรับรองคำแปลโดยกระทรวงการต่างประเทศ นายทะเบียน รับคำร้อง ตรวจหลักฐาน เพิ่มชื่อ ท.ร.๑๔ ท.ร.๑๓

  32. หนังสือสำนักทะเบียนกลางที่ มท 0309.1/ว 8 ลงวันที่ 17 ก.พ. 2552 เป็นการแก้ไขปัญหา การไร้สถานะทางทะเบียน ของผู้ที่อยู่ในไทย ไม่ว่าคนไทย หรือคนไม่มีสัญชาติไทย ทั้งเรื่องการรับแจ้งการเกิด การจัดทำเอกสารทะเบียนราษฎร...

  33. ประเภทสูติบัตร ท.ร. 1 • สูติบัตรสำหรับ คนที่มีสัญชาติไทย และแจ้งการเกิดภายในกำหนด ท.ร. 2 • สูติบัตรสำหรับ คนที่มีสัญชาติไทย และแจ้งการเกิดเกินกำหนด

  34. ท.ร. 3 • สูติบัตรสำหรับ คนที่ไม่มีสัญชาติไทยเช่น ท.ร. 03 • สูติบัตรสำหรับ บุตรแรงงานต่างด้าว ท.ร. 031 • สูติบัตรสำหรับ บุคคลที่ไม่มีสถานะ ทางทะเบียน

  35. ตารางจัดทำสูติบัตรและทะเบียนประวัติบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร

  36. ประเภทของหลักฐานทางทะเบียนราษฎรประเภทของหลักฐานทางทะเบียนราษฎร ทะเบียนบ้าน ทะเบียนประวัติ (ทะเบียนบ้านกลาง , คนไปต่างประเทศ)

  37. ท.ร.14

  38. ท.ร. 14 สำหรับลงรายการบุคคล สัญชาติไทย และคนต่างด้าว ที่มีสิทธิอาศัย ถาวร ในไทย

  39. ท.ร.13 (ใช้ผิดเล่ม , สละ)

  40. ท.ร. 13 สำหรับลงรายการคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ได้แก่1. ผู้ที่สละสัญชาติไทย ถูกถอนสัญชาติไทย หรือเสียสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติและ ยังไม่ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว 2. เข้าเมืองถูกต้อง และได้รับอนุญาตให้อยู่ชั่วคราว (ป.มท.เรื่องการจัดทำทะเบียนบ้านและทะเบียนประวัติ สำหรับบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย)

  41. 3. ได้รับผ่อนผันให้อยู่อาศัย เป็นกรณีพิเศษเฉพาะ (ไม่สามารถส่งกลับ) หรือ มติ ครม.ให้สถานะการอาศัยอยู่ 4. บุตรของ (1) - (3) ที่เกิดในไทย และไม่ได้สัญชาติไทย (เลข 7)

  42. การให้เลขประจำตัวประชาชนสำหรับบุคคลที่มีชื่อในทะเบียนบ้านการให้เลขประจำตัวประชาชนสำหรับบุคคลที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน บุคคลที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน จะได้รับการกำหนด เลข ๑๓ หลัก โดยเลขหลักแรกจะมีตั้งแต่เลข ๑ - ๘ ซึ่งมีความหมายบ่งบอกประเภทของบุคคลที่เข้าสู่ระบบทะเบียนราษฎร ดังนี้

  43. เลข ๑ หมายถึง คนสัญชาติไทยที่แจ้งการเกิดภายในกำหนด เลข ๒ หมายถึง คนสัญชาติไทยที่แจ้งการเกิดเกินระยะเวลา ที่กฎหมายกำหนด เลข ๓ หมายถึง คนสัญชาติไทย และคนต่างด้าวที่มีชื่อ ในทะเบียนบ้านก่อน 31 พ.ค. 2527 เลข ๔ หมายถึง คนสัญชาติไทย และคนต่างด้าวที่เพิ่มชื่อ ในทะเบียนบ้านด้วยใบแจ้งย้ายในช่วงการให้เลข ระหว่าง 1 ม.ค. - 31 พ.ค. 2527

  44. เลข ๕ หมายถึง คนสัญชาติไทยที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน โดยการเพิ่มชื่อภายหลังช่วงการให้เลข ๑๓ หลัก (ต่างด้าว) เลข ๖ หมายถึง คนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ที่ได้รับการ เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน (กลุ่มที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยชั่วคราว และได้รับผ่อนผันให้อยู่เป็นกรณีพิเศษ)

  45. เลข ๗ หมายถึง บุตรของคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ที่เกิดในประเทศไทย แต่ไม่ได้สัญชาติไทย เลข ๘ หมายถึง คนที่ได้สัญชาติไทยตามกฎหมาย และคนต่างด้าว ที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ใน ประเทศไทย ขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน

  46. ข้อสังเกต8-XXXX-84XXX-XX-X ได้รับการลงรายการตามระเบียบฯ 438-XXXX-73XXX-XX-X ได้สัญชาติไทยตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551

  47. ทะเบียนประวัติบุคคล ที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน (ท.ร.๓๘ ก)

  48. ๑. กลุ่มที่ไม่อาจรับแจ้งการเกิดตามมาตรา ๑๙ มาตรา ๑๙/๑ และมาตรา ๑๙/๓ เนื่องจากไม่อาจพิสูจน์สถานะการเกิดและสัญชาติ ๒. กลุ่มที่อ้างว่าเป็นผู้มีสัญชาติไทยขอเพิ่มชื่อ ในทะเบียนบ้านแต่ไม่อาจพิสูจน์สถานะการเกิดและ สัญชาติ ๓. กลุ่มบุคคลตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะ และสิทธิของบุคคลตามมติ ครม.๑๘ มกราคม ๒๕๔๘จำนวน ๖ กลุ่ม ประกอบด้วย

  49. กลุ่ม ๑ชนกลุ่มน้อยที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานานแต่ตกการสำรวจ(เข้ามาก่อน 2538 ล่าสุด 2542 มิยาซาว่า) กลุ่ม ๒ เด็กนักเรียน นักศึกษาที่กำลังศึกษา เล่าเรียนอยู่ในสถานศึกษาทั้งของรัฐ และเอกชน (สถานศึกษา - (มติ ครม. 5 ก.ค. 2548)) กลุ่ม ๓ กลุ่มบุคคลที่ไร้รากเหง้า ไม่ปรากฏบุพการี หรือบุพการีทอดทิ้ง (พม. , กรมพินิจและคุ้มครองเด็ก , กรมราชทัณฑ์)

More Related