460 likes | 614 Views
WATER. รายชื่อผู้จัดทำ 1.นายอัจฉริย์ เอี้ยวซิโป 5210110758 2.นายสิรภพ ลอยประเสริฐ 5210110647 3.นายศักดิ์ดา กิตติกูลไพศาล 5210110595 4.นายวรจักร แซ่ล่อง 5210110524. น้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับงานคอนกรีต โดยทำหน้าที่ 3 ประการ ได้แก่ น้ำผสมคอนกรีต น้ำล้างมวลรวมและน้ำบ่มคอนกรีต
E N D
รายชื่อผู้จัดทำ 1.นายอัจฉริย์ เอี้ยวซิโป 5210110758 2.นายสิรภพ ลอยประเสริฐ 5210110647 3.นายศักดิ์ดา กิตติกูลไพศาล 5210110595 4.นายวรจักร แซ่ล่อง 5210110524
น้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับงานคอนกรีต โดยทำหน้าที่ 3 ประการ ได้แก่ น้ำผสมคอนกรีต น้ำล้างมวลรวมและน้ำบ่มคอนกรีต คุณภาพและปริมาณของน้ำผสมคอนกรีตเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อความแข็งแรงและความคงทนของคอนกรีต
น้ำผสมคอนกรีตควรสะอาด ใส ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส และสามารถดื่มได้ หรือถ้าไม่สามารถดื่มได้ก็ควรมีคุณสมบัติผ่านข้อกำหนดของน้ำผสมคอนกรีต นอกจากนี้น้ำผสมคอนกรีตจะต้องมีสิ่งเจือปนต่างๆ ที่ส่งผลเสียต่อคุณภาพของคอนกรีต เช่น ความสามารถเทได้ ระยะเวลาการก่อตัว การแข็งตัว กำลัง และการเปลี่ยนแปลงปริมาตร อีกทั้งต้องไม่มีผลทำให้เหล็กเสริมเป็นสนิม
หน้าที่ของน้ำสำหรับงานคอนกรีตหน้าที่ของน้ำสำหรับงานคอนกรีต น้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับงานคอนกรีต โดยทำหน้าที่ 3 ประการ ได้แก่ 1. น้ำผสมคอนกรีต : ใช้ผสมกับปูนซีเมนต์เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาไฮเดรชั่น อันมีผลต่อความสามารถในการใช้งานของคอนกรีตสด และกำลังและความคงทนของคอนกรีตแข็งตัวแล้ว 2. น้ำล้างมวลรวม : ใช้ล้างมวลรวมที่สกปรกให้สะอาดพอที่จะนำมวลรวมมาใช้ผสมทำคอนกรีตได้ 3. น้ำบ่มคอนกรีต : ใช้บ่มคอนกรีตให้มีกำลังเพิ่มขึ้นและเป็นการป้องกันปัญหาการแตกร้าวเนื่องจากการสูญเสียน้ำของคอนกรีต
การบ่มคอนกรีต การบ่มจะดำเนินการจากหลังจากการเทคอนกรีตเสร็จแล้วคอนกรีตมีเช็ดตัว จนสามารถบ่มได้ การบ่มนั้นจะมีกำลังอัดดีกว่าคอนกรีตที่เทแล้วไม่ได้รับการบ่ม หากเวลามีไม่มากพอก็อาจจะบ่มคอนกรีต ประมาณ 7 วันเป็นอย่างน้อยวิธีการบ่มคอนกรีตมีดังนี้
1. การบ่มคอนกรีตด้วยกระสอบ เมื่อคอนกรีตเริ่มก่อตัว เราก็หากระสอบมาคลุมตรงหน้าผิวคอนกรีตแล้วฉีดน้ำเปียกชื้นตลอดห้ามให้กระสอบ แห้งก่อนที่จะถึงเวลากำหนด 2. การบ่มคอนกรีตโดยการขังน้ำ เหมาะสำหรับงานคอนกรีตที่เป็นพื้นราบ เช่น พื้น ดาดฟ้า สระว่ายน้ำ เป็นต้น 3. การบ่มโดยใช้ถุงพลาสติก จะใช้สำหรับ เสา พื้น ที่ต้องการไม่ให้ความชื้นของคอนกรีตออก แล้วฉีดน้ำรดทุกวัน
ปัญหาเกี่ยวกับน้ำสำหรับงานคอนกรีตปัญหาเกี่ยวกับน้ำสำหรับงานคอนกรีต ปัญหาที่พบอยู่เสมอเกี่ยวกับน้ำสำหรับงานคอนกรีต คือ ปัญหาเรื่องปริมาณน้ำที่ใช้ผสมทำคอนกรีต ทำให้ได้คอนกรีตที่มีกำลังต่ำกว่าที่ควรจะเป็น โดยมีสาเหตุจากการใช้น้ำไม่เหมาะสมหรือไม่ถูกวิธีนั่นเอง กล่าวคือ 1. ในขณะเป็นคอนกรีตสด คอนกรีตต้องการน้ำเพียงปริมาณหนึ่ง เพื่อให้สามารถไหลลื่นเข้าไปในแบบหล่อได้ แต่ในทางปฏิบัติผู้ทำงานมักจะใส่น้ำปริมาณมาก จนทำให้คอนกรีตเหลวมาก เพื่อความสะดวกในการเท ซึ่งส่งผลทำให้คอนกรีตมีความแข็งแรงและความคงทนต่ำลงอย่างมาก
2. ในขณะเป็นคอนกรีตแข็งตัวแล้ว คอนกรีตต้องการน้ำปริมาณมาก เพื่อบ่มคอนกรีตให้กำลังอัดได้พัฒนาขึ้นตามเวลา รวมถึงเป็นการป้องกันปัญหาการแตกร้าวเนื่องจากการสูญเสียน้ำของคอนกรีตอีกด้วย แต่ผู้ทำงานมักจะละเลยการบ่มคอนกรีต
การจำแนกประเภทของน้ำผสมคอนกรีตการจำแนกประเภทของน้ำผสมคอนกรีต โดยทั่วไป ความเหมาะสมของน้ำสำหรับผสมทำคอนกรีตจะขึ้นอยู่กับแหล่งที่มา ของน้ำนั้น ๆ โดยอาจจำแนกประเภทน้ำได้ดังนี้ 1 น้ำที่ดื่มได้ มีความเหมาะสมสำหรับการผสมทำคอนกรีต และไม่จำเป็นต้องมีการ ทดสอบ
2 น้ำหมุนเวียนจากกระบวนการในโรงอุตสาหกรรมคอนกรีต อาจมีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการผสมคอนกรีต แต่ควร ทดสอบคุณภาพน้ำก่อน
3 น้ำจากแหล่งน้ำใต้ดิน เช่นน้ำบาดาล อาจมีคุณสมบัติเหมาะสำหรับการผสมทำคอนกรีต แต่ควรทดสอบคุณภาพ น้ำ ก่อน
4 น้ำจากแหล่งน้ำผิวดินตามธรรมชาติ อาจมีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการผสมทำคอนกรีต แต่ควรทดสอบคุณภาพน้ำก่อน
5 น้ำทะเล น้ำเค็ม น้ำกร่อย ไม่เหมาะสำหรับการผสมทำคอนกรีต เพราะมีคลอไรด์ และซัลเฟตซึ่งเป็นอันตรายต่อเหล็กเสริมและคอนกรีต เจือปนอยู่มาก
6 น้ำเสีย ไม่เหมาะสำหรับการผสมทำคอนกรีต เพราะมักมีสารซัลเฟต ซึ่งเป็นอันตรายต่อเนื้อคอนกรีต เจือปน อยู่มาก
สิ่งเจือปนและข้อกำหนดของน้ำผสมคอนกรีต สิ่งเจือปนและข้อกำหนดของน้ำผสมคอนกรีต ถ้าในน้ำผสมคอนกรีตมีสิ่งเจือปนอยู่มากเกินระดับหนึ่ง อาจก่อให้เกิดปัญหาทางด้านคุณภาพ อันได้แก่ 1 กำลังและความคงทนของคอนกรีตลดลง 2 เวลาการก่อตัวเปลี่ยนแปลง 3 คอนกรีตเกิดการหดตัวมากกว่าปกติ 4 อาจมีการละลายของสารประกอบภายในคอนกรีตออกมาแข็งตัวบนผิวนอก (Efflorescence)
สิ่งเจือปนที่ส่งผลเสียต่อคุณภาพของคอนกรีต 3 ประเภท คือ ตะกอน สารละลายอนินทรีย์ และสารละลายอินทรีย์ หากมีสิ่งเจือปน เหล่านี้ ปริมาณน้อยก็จะไม่ก่อให้เกิดผลเสียร้ายแรง
อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กเสียหายอย่างรุนแรง สาเหตุจากการใช้น้ำหรือทรายซึ่งมีคลอไรด์เจือปนอยู่มากมาผสมทำคอนกรีต ทำให้เหล็กเสริมเป็นสนิทจากการกระทำของคลอไรด์ และทำให้คอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมแตกร้าวและหลุดล่อน
ปริมาณคลอไรด์รวมในคอนกรีตในขณะที่ผสมคอนกรีต หมายถึง ปริมาณคลอไรด์ไอออนที่คำนวณรวมมาได้จากคลอไรด์ที่มีอยู่ในส่วนผสมทุกชนิดของคอนกรีตต่อน้ำหนักของคอนกรีต เช่น คลอไรด์ที่มีอยู่ในมวลรวม สารผสมเพิ่ม น้ำผสมคอนกรีต เป็นต้น
สำหรับคอนกรีตเสริมเหล็กธรรมดา หรือคอนกรีตอัดแรงแบบอัดแรง ทีหลัง ( post-tensioned concrete ) ปริมาณรวมในคอนกรีต ต้องไม่เกิน 0.6 กก./ลบ.ม. สำหรับคอนกรีตเสริมเหล็กที่ต้องการความคงทนสูง หรือคอนกรีตอัดแรงแบบอัดแรงก่อน ( pre-tensioned concrete ) หรือคอนกรีตอัดแรงงแบบอัดแรงทีหลัง ( post-tensioned concrete ) ที่ต้องสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่มีคลอไรด์ เช่น น้ำทะเล ปริมาณคลอไรด์รวมในคอนกรีต ต้องไม่เกิน 0.3 กก./ลบ.ม.
ในกรณีคอนกรีตผสมเสร็จ ควรควบคุมปริมาณคลอไรด์รวมไม่ให้มากกว่า 0.3 กก./ลบ.ม. ยกเว้นได้รับการอนุมัติจากผู้ใช้จึงอาจควบคุมไว้ไม่ให้เกิน 0.6 กก./ลบ.ม.
การทดสอบคุณภาพของน้ำผสมคอนกรีต การทดสอบคุณภาพของน้ำผสมคอนกรีต ทำได้โดยการทดสอบเปรียบเทียบเวลาการก่อตัวและกำลังอัดระหว่างใช้น้ำตัวอย่างกับน้ำควบคุม ซึ่งมี 2 กรณีคือ กรณีทดสอบตัวอย่างมอร์ตาร์ให้ใช้น้ำกลั่นเป็นตัวควบคุม และ กรณีทดสอบตัวอย่างคอนกรีตอาจใช้น้ำประปาเป็นตัวควบคุม ซึ่งมีข้อกำหนดดังนี้
ข้อกำหนดคุณภาพของน้ำผสมคอนกรีตจากการทดสอบตัวอย่างมอร์ตาร์ ข้อกำหนดคุณภาพของน้ำผสมคอนกรีตจากการทดสอบตัวอย่างมอร์ตาร์ 1.ค่าเวลาการก่อตัวเริ่มต้น (Initial setting time) ของตัวอย่างมอร์ตาร์ที่ใช้น้ำที่นำมาทดสอบต้องไม่น้อยกว่าน้ำควบคุม 30 นาที 2.ค่าเฉลี่ยของกำลังอัดของมอร์ตาร์ที่ใช้น้ำที่นำมาทดสอบต้องไม่น้อยกว่า 90% เมื่อเทียบกับการใช้น้ำควบคุม
การทดสอบกำลังอัดของ ตัวอย่างมอร์ตาร์
ข้อกำหนดคุณภาพของน้ำผสมคอนกรีตจากการทดสอบตัวอย่างคอนกรีต ข้อกำหนดคุณภาพของน้ำผสมคอนกรีตจากการทดสอบตัวอย่างคอนกรีต 1.ค่าเวลาการก่อตัวเริ่มต้น (Initial setting time) ของตัวอย่างคอนกรีตที่ใช้น้ำที่นำมาทดสอบเมื่อเทียบกับการใช้น้ำควบคุมต้องไม่เร็วกว่า 60 นาที และไม่ช้ากว่า 90 นาที 2.ค่าเฉลี่ยของกำลังอัดของคอนกรีตที่ใช้น้ำที่นำมาทดสอบเมื่อเทียบกับการใช้น้ำควบคุมต้องไม่น้อยกว่า 90% แต่หากไม่ต่ำกว่า 80% อาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงส่วนผสมคอนกรีต
คุณภาพของน้ำล้างมวลรวม คุณภาพของน้ำล้างมวลรวม น้ำล้างมวลรวม ควรมีคุณสมบัติเหมือนน้ำผสมคอนกรีตเพราะน้ำนี้จะเคลือบอยู่บนผิวของมวลรวมซึ่งสามารถทำอันตรายต่อคอนกรีตได้ และควรเปลี่ยนน้ำที่ใช้ล้างอย่างสม่ำเสมอเพื่อความสะอาด
ตัวอย่างการล้าง มวลรวมให้สะอาดด้วยน้ำ ประปาในห้องปฏิบัติการ
คุณภาพของน้ำบ่มคอนกรีต คุณภาพของน้ำบ่มคอนกรีต น้ำที่ใช้ต้องไม่มีสิ่งเจือปนซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อคอนกรีต เช่น สารพวกซัลเฟต, น้ำมัน, กรด และเกลือ เป็นต้น อาจทำให้ผิวคอนกรีตเกิดรอยเปื้อน หรือถูกกัดกร่อนได้
การบ่มคอนกรีตด้วยวิธีขังน้ำ การบ่มคอนกรีตด้วยวิธีขังน้ำ ในโรงงานคอนกรีตสำเร็จรูป
ข้อกำหนดใหม่สำหรับน้ำที่ใช้ผสมคอนกรีต ASTM C 1602 ซึ่งเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับน้ำที่ใช้ผลิตคอนกรีตได้ระบุถึงแหล่งที่มาของน้ำที่ใช้ไว้ดังนี้ 1. น้ำที่ใช้ผสมหลักซึ่งอาจเป็นน้ำประปาหรือน้ำจากแหล่งน้ำอื่นๆ หรือน้ำจากกระบวนการผลิตคอนกรีต 2.น้ำแข็งสำหรับลดอุณหภูมิของคอนกรีตสามารถใช้ผสมคอนกรีตได้และน้ำแข็งจะต้องละลายหมดเมื่อทำการผสมคอนกรีตเสร็จ
3. ASTM C49 ยินยอมให้มีการเติมน้ำภายหลังโดยพนักงานขับรถเพื่อเพิ่มค่ายุบตัวคอนกรีตให้ได้ตามที่ระบุแต่ทั้งนี้ W/C จะต้องไม่เกินค่าที่กำหนดไว้ 4.น้ำส่วนเกินจากมวลรวม (Free Water) ถือเป็นส่วนหนึ่งของน้ำผสมคอนกรีต จะต้องปราศจากสิ่งเจือปนที่เป็นอันตราย 5.น้ำที่ผสมอยู่ในสารผสมเพิ่มโดยจะถือเป็นส่วนหนึ่งของน้ำผสมคอนกรีต ถ้าน้ำมีปริมาณมากพอที่จะส่งผลค่า W/C เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ 0.01 ขึ้นไป
การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ น้ำที่จะนำกลับมาใช้ผสมคอนกรีตใหม่ได้ก็จะมาจากแหล่งต่างดังนี้ 1.น้ำที่ใช้ล้างเครื่องผสมคอนกรีตหรือน้ำจากส่วนผสมคอนกรีต 2.น้ำจากบ่อกักเก็บที่รองรับน้ำฝนจากพื้นที่การผลิต 3.น้ำอื่นๆ ที่มีส่วนผสมของ คอนกรีตผสมอยู่ โดยน้ำที่จะนำมาใช้ใหม่นี้ จะต้องมีค่า Solids Content ไม่เกิน 5 % ของปริมาณน้ำทั้งหมด และควรทดสอบตามมาตรฐาน ASTM C 1603
มยธ. คือ มาตรฐานการทดสอบน้ำที่ใช้ในงานคอนกรีต กรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย ASTM (American Society for Testing and Materials)