260 likes | 423 Views
การปฏิรูปการเรียนรู้ กับอาจารย์ ยุคใหม่ ( ครูมืออาชีพ : อาชีพครู ) ดร. อมรวิชช์ นาครทรรพ 13 มี.ค 49. การศึกษามุ่งสร้าง KBE. สถานภาพอาชีพครู เงินเดือน องค์กรวิชาชีพ มาตรฐานการศึกษา สมศ. กพร. องค์กรภายนอก
E N D
การปฏิรูปการเรียนรู้ กับอาจารย์ ยุคใหม่ (ครูมืออาชีพ : อาชีพครู) ดร. อมรวิชช์ นาครทรรพ 13 มี.ค 49
การศึกษามุ่งสร้าง KBE สถานภาพอาชีพครู เงินเดือน องค์กรวิชาชีพ มาตรฐานการศึกษา สมศ. กพร. องค์กรภายนอก เรียนรู้คู่ปฏิบัติ สหกิจศึกษา การเน้นภาคปฏิบัติ ความร่วมมือ ชุมชน ภาคเอกชน อุดมศึกษาหลากหลาย หลักสูตรระยะสั้น เทียบโอน
คุณลักษณะกำลังคนรุ่นใหม่ • IT Literacy/Communication skills • Learning Skills/Research Skills • Interdisciplinary Understanding • Global Perspectives • Self-awareness/Cultural awareness • Civic Character
ยุทธศาสตร์การเรียนรู้คนยุคใหม่ยุทธศาสตร์การเรียนรู้คนยุคใหม่ - IT-Based - Issue-Based (Interdis Learning/Global Issue) - Research – Based (LearningSkills) - Student- Based (Self-Awareness) - Heritage-Based (Multi-Cultureawareness) - Community- Based
โฉมหน้าครู (ของครู) พันธุ์ใหม่ เป็น Hi-Tech และ Hi-Touch- รู้รอบ/มาจากการเรียนแบบสหวิทยาการ- ครูนักวิจัย/ครูตั้งคำถาม/ครูที่ให้เด็กเรียนรู้คู่วิจัย- ครู Mentor / ครูนักจิตวิทยา- ครูวัฒนธรรม/ครูภูมิปัญญา- ครูชุมชน/ครูนักจัดการความรู้
ฐานคิดการวิจัย - กระบวนการวิจัยกับกระบวนการเรียนรู้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน - กระบวนการเรียนรู้ผ่านการวิจัยมีมาแต่โบราณ - กระบวนการเรียนรู้ผ่านการวิจัยเป็นการสร้างคนเพื่อสร้างความรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม - กระบวนการวิจัยเป็นการปฏิรูปการเรียนรู้
การวิจัยในชั้นเรียน ควรมีลักษณะ • เป็นการวิจัยจากปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน • ทำการวิจัยเพื่อนำผลการวิจัยไปพัฒนาการเรียนการสอน • ทำการวิจัยควบคู่กับการเรียนการสอน คือ สอนไปวิจัยไป แล้วนำผลการวิจัยไปแก้ปัญหาในชั้นเรียน และทำการเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น
ความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียนความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน • นักเรียน เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน จนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจนเป็นที่น่าพอใจ • ครู มีการวางแผนการสอนอย่างเป็นระบบ เลือกวิธีสอนที่เหมาะสม ประเมินผลเป็นระยะ หาทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม • สถานศึกษา ความสัมพันธ์อันดีของคณะครูในสถานศึกษา ช่วยบริหารงานทางวิชาการให้เป็นระบบ มีประสิทธิภาพ ยกระดับมาตรฐานวิชาการสถานศึกษาให้สูงขึ้น
ขอบเขตการทำวิจัยในชั้นเรียนขอบเขตการทำวิจัยในชั้นเรียน • การวิจัยในชั้นเรียน เป็นการวิจัยโดยครูผู้สอนในห้องเรียนทำกับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนการสอนในวิชาที่ครูรับผิดชอบ • ขอบเขตให้ความสำคัญกับการคิดค้นพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม นวัตกรรมมี ๒ ประเภท • สื่อการเรียนการสอนที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ (Invention) • กิจกรรมการพัฒนา หรือเทคนิควิธีสอน (Instruction)
วงจรการทำงานการวิจัยในชั้นเรียน ของ Kemmis วางแผน (Plan) สะท้อนกลับ (Reflecting) ลงมือปฏิบัติ (Act) สังเกต (Observe)
รูปแบบของการวิจัยในชั้นเรียนรูปแบบของการวิจัยในชั้นเรียน • การวิจัยในชั้นเรียนมีลักษณะเฉพาะ เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนางานจัดการเรียนการสอน ดังนั้น รูปแบบจะเป็นแบบการวิจัยและพัฒนา(Research and Development)
กระบวนการการทำวิจัยในชั้นเรียนกระบวนการการทำวิจัยในชั้นเรียน
๑. การวิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอน • การดำเนินการ : กำหนดปัญหาการเรียนการสอนได้อย่างเฉพาะ เจาะจง และชัดเจน เพื่อนำเสนอเขียนสภาพปัญหาของผู้เรียน และครู ยังสามารถเขียนเป็นวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้ด้วย
๒. การศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง • เมื่อได้วัตถุประสงค์แล้ว ควรจะต้องศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะวิจัย เพื่อแสดงความต่อเนื่องทางวิชาการ ที่จะทำให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น • การดำเนินการ ได้เทคนิคในการแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับหลักการ ทฤษฎี หรืองานวิจัยที่มีผู้ศึกษาไว้แล้ว เพิ่มความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
๓. การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา • นวัตกรรมเป็นรูปแบบ หรือวิธีการแก้ปัญหาที่ครูสร้างขึ้นมาเอง หรือนำเอารูปแบบ หรือวิธีการที่ผู้อื่นทำไว้แล้วมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาที่ต้องการ เช่น บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน วิธีสอนรูปแบบใหม่ ๆ • การดำเนินการ ได้นวัตกรรมที่คาดว่ามีคุณภาพเหมาะสมที่นำไปใช้ในการแก้ปัญหา
๔. การออกแบบการวิจัย • เป็นการวางแผนในการวิจัย โดยกำหนดรูปแบบของการทดลองใช้นวัตกรรม การกำหนดประชากร และกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล วิธีรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล มีประเด็นสำคัญ :
การออกแบบการทดลอง จะต้องออกแบบการทดลองให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ สมมุติฐาน โดยคำนึงถึงกลุ่มตัวอย่าง และตัวแปรที่วัด • การดำเนินการ (๑) ได้รูปแบบการทดลอง นวัตกรรมที่เหมาะสม น่าเชื่อถือ เพื่อพิสูจน์ว่า นวัตกรรมนั้นมีประสิทธิภาพ และใช้แก้ปัญหาได้
๒. การสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จะใช้เครื่องมือชนิดใดย่อมขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการวิจัย และตัวแปรที่จะวัด เช่น แบบทดสอบ แบบสอบถาม ฯลฯ • เมื่อสร้างเครื่องมือวัด (๒) หรือปรับปรุงเครื่องมือที่ผู้อื่นสร้างไว้ จะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพก่อนที่จะไปใช้จริง โดยนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบความตรง ความเที่ยง
๕. การทดลองใช้นวัตกรรม • เมื่อครูสร้างนวัตกรรม และสร้างเครื่องมือวัดเสร็จแล้ว ขั้นต่อไป นำเอานวัตกรรมนั้นไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง และเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ตามแนวทางที่กำหนด
๖. การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล • นำผลจากการทดลองมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ แล้วสรุปผลข้อมูล โดยการนำเสนอให้เห็นถึงผลของการทดลองอย่างชัดเจน เพื่อสามารถนำนวัตกรรมนั้น ๆ ไปพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
๗. การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน • เป็นการเขียนรายงานงานวิจัย ตั้งแต่ เริ่มต้น วิเคราะห์และสำรวจปัญหา การพัฒนารูปแบบ การทดลองใช้รูปแบบเพื่อแก้ปัญหา การวิเคราะห์ผล สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ
สรุปกระบวนการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนสรุปกระบวนการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน
๑.วิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอน๑.วิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอน ๓.พัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง สร้างนวัตกรรม หาประสิทธิภาพ (E1/E2) ๒.ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ๕.ทดลองใช้นวัตกรรม ๔. ออกแบบการวิจัย แผนการวิจัย ประชากร / กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือ (หาคุณภาพ)(IOC) รวบรวม / วิเคราะห์ข้อมูล ๖.วิเคราะห์ และสรุปผล ๗.เขียนรายงานการวิจัย
บทสรุปทางกรอบความคิด • ทำไมถึงทำ • ทำอย่างไร • ทำแล้วมีผลสัมฤทธิ์อย่างไร • ทำแล้วมีประโยชน์อย่างไร
ใบงานที่ ๑ ให้ตอบคำถามในกระดาษที่แจกให้ • ความหมายของการวิจัยในชั้นเรียน ................ • ความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน ................ • วงจรการการวิจัยในชั้นเรียน ........................ • กระบวนการของการวิจัยในชั้นเรียน (อธิบายโดยย่อ)