610 likes | 966 Views
การใช้โปรแกรม SPSS ในการวิเคราะห์ Chi-square. 14 มี.ค 50 LNG 301. การทดสอบ Chi-square. ใช้สำหรับข้อมูลที่อยู่ในรูปข้อมูลนามบัญญัติ ( Nominal Scale) เช่น จำนวนอาจารย์จำแนกตามตำแหน่งทางวิชาการ ตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน(ความถี่) ศาสตราจารย์ 5 รองศาสตราจารย์ 48
E N D
การใช้โปรแกรม SPSS ในการวิเคราะห์ Chi-square 14 มี.ค 50 LNG 301
การทดสอบ Chi-square • ใช้สำหรับข้อมูลที่อยู่ในรูปข้อมูลนามบัญญัติ (Nominal Scale) เช่น • จำนวนอาจารย์จำแนกตามตำแหน่งทางวิชาการ • ตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน(ความถี่) • ศาสตราจารย์ 5 • รองศาสตราจารย์ 48 • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 102 • อาจารย์ 10
จำนวนผู้มาใช้บริการห้อง self access ในแต่ละวัน • วัน จำนวน • จันทร์ 30 • อังคาร 40 • พุธ 60 • พฤหัส 50 • ศุกร์ 60 • เสาร์ 120 • อาทิตย์ 140
เราใช้ Chi-square ทดสอบข้อมูลแบบนามบัญญัติใน 3 กรณีคือ • การทดสอบความถูกต้องตามทฤษฎี(The χ2 one – variable case หรือ Goodness-of-fit test) • การทดสอบความเป็นเอกพันธ์ของข้อมูล (Test of Homogeneity of Distribution) การทดสอบนี้มักจะใช้ในกรณีที่มีตัวแปรอิสระ 2 ตัว เพื่อที่จะศึกษาว่า การแจกแจงข้อมูลของตัวแปรทั้ง 2 ตัวเหมือนกันหรือแตกต่างกัน
การทดสอบความเป็นอิสระการทดสอบความเป็นอิสระ • (Test of Independence) เป็นการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว ว่าตัวแปร 2 ตัวนั้นมีความสัมพันธ์กันหรือไม่
กรณีที่ 1การทดสอบความถูกต้องตามทฤษฎี (The χ2 one – variable case หรือ Goodness-of-fit test) • สูตรการคำนวณ χ2= Σki=1(O-E)2 E เมื่อχ2 แทนค่าไคร์สแควร์ O แทนค่าความถึ่ที่ได้จากการสังเกตุ(Observe frequency) E แทนค่าความถึ่ที่คาดหวัง (Expected frequency) K แทนจำนวนประเภทหรือจำนวนกลุ่ม
Hypothesis • H0 : ไม่มีความแตกต่างระหว่างความถี่ที่สังเกตุกับความถี่ที่คาดหวัง หรือ H0 : ρ = ρ0 • H1 : มีความแตกต่างระหว่างความถี่ที่สังเกตุกับความถี่ที่คาดหวัง หรือ H1 : ρ = ρ0 • เมื่อ ρ= ค่าสัดส่วนของประชากรที่สนใจจะทดสอบ • ρ0 = ค่าสัดส่วนที่ผู้ใช้กำหนดเพื่อการทดสอบ
ตัวอย่างการทดสอบค่าสัดส่วนกรณีข้อมูลมีค่าเป็นไปได้ 2 ค่า(Binomial) • ตัวอย่างที่ 1 Ex 1 • ทางมหาวิทยาลัยต้องการทราบความคิดเห็นของอาจารย์ว่า เห็นด้วยหรือไม่ที่จะมีการออกระเบียบว่าด้วยการแต่งกายของนักศึกษา จึงได้สุ่มอาจารย์ 100 คนมาสอบถาม ปรากฎว่ามีอาจารย์ที่ตอบว่าเห็นด้วย 60 คน ไม่เห็นด้วย 40 คน จงทดสอบว่า จะสรุปว่าอาจารย์ส่วนใหญ่ของมหาวิทยาลัยเห็นด้วยได้หรือไม่
สมมติฐานของการทดสอบ • H0 : สัดส่วนของอาจารย์ที่ตอบว่าเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเท่ากัน • H1 : สัดส่วนของอาจารย์ที่ตอบว่าเห็นด้วยมากกว่าที่ตอบว่าไม่เห็น
การเตียมข้อมูลในโปรแกรม SPSS • 1. สร้างตัวแปร Opinion ที่ Data Editor • 2. กำหนดValue เป็น 0 กับ 1 เมื่อ0 =no 1=yes • 3. Measure กำหนดเป็น Nominal • 4. Case ที่ 1 – 40 ใส่ค่า 0 • 5. Case ที่ 41 – 100 ใส่ค่า 1
การใช้คำสั่ง วิเคราะห์ Chi-square • 1. เลือก menuAnalyze • 2. เลือก Nonparametric tests • 3. เลือก Binomial • 4. เอาตัวแปร Opinion ใส่ในช่อง Test variable list • 5. Test Proportion เลือก .50 • 6. เลือก OK
Test Statistics • opinion of teacher • Chi-Square 4.000 • df 1 • Asymp. Sig. .046 • a 0 cells (.0%) have expected frequencies less than 5. The minimum expected cell frequency is 50.0.
ค่า P-value เท่ากับ .046 ซึ่งต่ำกว่า ค่า แอลฟา ที่กำหนดไว้ที่ .05 • สรุป ปฏิเสธ H0 นั่นคือ สัดส่วนของอาจารย์ที่ตอบว่าเห็นด้วยมากกว่าที่ตอบว่าไม่เห็น
ตัวอย่างการทดสอบค่าสัดส่วนกรณีข้อมูลมีค่าเป็นไปได้ 2 ค่า • ตัวอย่างที่EX 2 สมมุติผู้ทดสอบต้องการทราบว่า ในการผลิตสินค้าชนิดหนึ่งจะผลิตสินค้าได้มาตรฐานไม่ต่ำกว่า 90 % หรือไม่ จึงทำการสุ่มสินค้าที่ได้จากการผลิตมา 30 ชิ้น และทำการทดสอบมาตรฐาน ปรากฎผลดังนี้(ให้ 1 แทนสินค้าที่ได้มาตรฐาน และ 0 เทนสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน) • 1 1 0 1 1 1 0 1 1 1 • 0 1 1 1 1 1 1 1 1 0 • 1 1 1 0 1 1 1 1 1 1
สมมติฐานสำหรับการทดสอบสมมติฐานสำหรับการทดสอบ • H0 : จำนวนสินค้าที่ได้มาตรฐานมีมากกว่าหรือเท่ากับ 90 % • H1 : จำนวนสินค้าที่ไม่มาตรฐานมีน้อยกว่า 90 %
การเตรียมข้อมูลในโปรแกรม SPSS • 1. สร้างตัวแปร product ที่ Data Editor • 2. กำหนดValue เป็น 0 กับ 1 เมื่อ0 =non standard 1= standard • 3. Measure กำหนดเป็น Nominal • 4. ใส่ข้อมูล
การใช้คำสั่ง วิเคราะห์ Chi-square • 1. เลือก menuAnalyze • 2. เลือก Nonparametric tests • 3. เลือก Binomial • 4. เอาตัวแปร product ใส่ในช่อง Test variable list • 5. Test Proportion เลือก .09 • 6. เลือก OK
การทดสอบค่าสัดส่วนกรณีข้อมูลมีค่าเป็นไปได้ตั้งแต่ 2 ค่าขึ้นไป • ตัวอย่างEx3 ต้องการทดสอบว่า จำนวนลูกค้าที่มาทานอาหารในแต่ละวัน ไม่แตกต่างกัน โดยทำการบันทึกจำนวนลูกค้าแต่ละวันได้ดังนี้
สมมติฐานสำหรับการทดสอบสมมติฐานสำหรับการทดสอบ • H0 : จำนวนลูกค้าในแต่ละวันไม่แตกต่างกัน • H1 : จำนวนลูกค้าในแต่ละวันแตกต่างกัน • หรือ • H0 : อัตราส่วนจำนวนลูกค้าแต่ละวัน = 1:1:1:1:1:1:1 • H1 : อัตราส่วนจำนวนลูกค้าแต่ละวัน = 1:1:1:1:1:1:1
การเตรียมข้อมูลในโปรแกรม SPSS • 1. สร้างตัวแปร custom ที่ Data Editor • 2. กำหนดValue เป็น 1 - 7 เมื่อ 1 =Monday 2=Tuesday 3=Wednesday 4=Thursday 5=Friday 6=Saturday 7=Sunday • 3. Measure กำหนดเป็น Nominal • 4. ใส่ข้อมูล
การใช้คำสั่ง วิเคราะห์ Chi-square • 1. เลือก menuAnalyze • 2. เลือก Nonparametric tests • 3. เลือก Chi-square • 4. เอาตัวแปร Custom ใส่ในช่อง Test variable list • 5. Expected Values เลือก All categories equal • 6. เลือก OK
สรุปได้ว่า ปฏิเสธ H0 : อัตราส่วนจำนวนลูกค้าแต่ละวัน = 1:1:1:1:1:1:1 นั้นคือ อัตราส่วนจำนวนลูกต้าแต่ละวันไม่เท่ากัน โดยที่ในวันเสาร์ อาทิตย์มีแนวโน้มจะมีลูกค้ามากกว่าวันธรรมดา
สมมติฐานสำหรับการทดสอบสมมติฐานสำหรับการทดสอบ • Ex 4 สมมติว่าผู้วิจัยได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าอัตราส่วนลูกค้าตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์เป็นอัตราส่วน 2:1:1:1:1:3:6 • H0 : จำนวนลูกค้าตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์เป็นอัตราส่วน 2:1:1:1:1:3:6 • H1 : จำนวนลูกค้าตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์ไม่เป็นอัตราส่วน 2:1:1:1:1:3:6
การใช้คำสั่ง วิเคราะห์ Chi-square • 1. เลือก menuAnalyze • 2. เลือก Nonparametric tests • 3. เลือก Chi-square • 4. เอาตัวแปร Custom ใส่ในช่อง Test variable list • 5. Expected Values เลือก Value ใส่ค่า อัตราส่วน 2 1 1 1 1 3 6 • 6. เลือก OK
สรุปได้ว่า ปฏิเสธ H0 : จำนวนลูกค้าตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์เป็นอัตราส่วน 2:1:1:1:1:3:6 นั้นคือ จำนวนลูกค้าตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ไม่ได้เป็นอัตราส่วน 2:1:1:1:1:3:6
ตัวอย่างEx5 ร้านจำหน่ายโทรทัศน์แห่งหนึ่งคิดว่ายอดขายโทรทัศน์ยี่ห้อต่างๆ ต่อเดือนคือ โซนี่ เนชั่นแนล และยี่ห้ออื่นๆ น่าจะเป็นอัตราส่วน 5:3:2 จึงทำการเก็บข้อมูลโดยกำหนดรหัสในการเก็บข้อมูลดังนี้ 1 แทน โซนี่ 2 แทน เนชั่นแนล 3 แทน ยี่ห้ออื่นๆ ได้ข้อมูลดังนี้ • 1 1 1 1 1 1 2 1 2 3 1 2 1 2 1 1 1 1 2 3 • 1 1 3 2 1 1 1 1 1 1 1 2 1 2 2 1 3 1 1 2
สมมติฐานสำหรับการทดสอบสมมติฐานสำหรับการทดสอบ • สมมติว่าผู้วิจัยเชื่อว่าอัตราส่วนยอดขายโซนี่ เนชั่นแนล และยี่ห้ออื่นๆเป็น 5:3:2 • H0 : ยอดขายยี่ห้อโซนี่ เนชั่นแนล และยี่ห้ออื่นๆ เป็นอัตราส่วน 5:3:2 • H1 : ยอดขายยี่ห้อโซนี่ เนชั่นแนล และยี่ห้ออื่นๆ ไม่เป็นอัตราส่วน 5:3:2
การเตรียมข้อมูลในโปรแกรม SPSS • 1. สร้างตัวแปร brand ที่ Data Editor • 2. กำหนดValue เป็น 1 เมื่อ 1 =sony 2=national 3=other • 3. Measure กำหนดเป็น Nominal • 4. ใส่ข้อมูล
การใช้คำสั่ง วิเคราะห์ Chi-square • 1. เลือก menuAnalyze • 2. เลือก Nonparametric tests • 3. เลือก Chi-square • 4. เอาตัวแปร brand ใส่ในช่อง Test variable list • 5. Expected Values เลือก Value 5 3 2 • 6. เลือก OK
สรุปได้ว่า ยอมรับ H0 : ยอดขายยี่ห้อโซนี่ เนชั่นแนล และยี่ห้ออื่นๆ เป็นอัตราส่วน 5:3:2
กรณีที่ 2 การทดสอบความเป็นเอกพันธ์ของข้อมูล (Test of Homogeneity of Distribution) การทดสอบนี้มักจะใช้ในกรณีที่มีตัวแปรอิสระ 2 ตัว เพื่อที่จะศึกษาว่า การแจกแจงข้อมูลของตัวแปรทั้ง 2 ตัวเหมือนกันหรือแตกต่างกัน • เป็นการใช้ chi-square ทดสอบความเท่ากันหรือความแตกต่างกันของสัดส่วนของความถี่ ซึ่งการทดสอบลักษณะนี้มักจะใช้ในกรณีที่มีตัวแปรอิสระ 2 ตัว
การทดสอบสัดส่วนสองกลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีความสัมพันธ์กันการทดสอบสัดส่วนสองกลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน • ตัวอย่างเช่น ex 5 • นักวิจัยต้องการทราบว่าสัดส่วนของคนที่ชอบดนตรีและไม่ชอบดนตรีจะเท่ากันในทุกระดับรายได้หรือไม่
สมมติฐานสำหรับการทดสอบสมมติฐานสำหรับการทดสอบ • สมมติว่าผู้วิจัยเชื่อว่า สัดส่วนของคนที่ชอบดนตรีจะเท่ากันในทุกระดับรายได้ • H0 :สัดส่วนของคนที่ชอบดนตรีจะเท่ากันในทุกระดับรายได้ • H1 :สัดส่วนของคนที่ชอบดนตรีจะไม่เท่ากันในทุกระดับรายได้
การเตรียมข้อมูลในโปรแกรม SPSS • 1. สร้างตัวแปร music และincome ที่ Data Editor • 2. กำหนดValue ของ music เมื่อ 1 = like 2=dislike • 3. กำหนดValue ของ income เมื่อ 1 = high 2=medium 3=low • 3. Measure กำหนดเป็น Nominal • 4. ใส่ข้อมูล
การใช้คำสั่ง วิเคราะห์ Chi-square • 1. เลือก menuAnalyze • 2. เลือก Descriptive statistics • 3. เลือก Crosstabs • 4. เอาตัวแปร Music ใส่ในช่อง Row income ใส่ในช่อง Column • 5. Statistic เลือก Chi-square • 6. เลือก OK
สรุปผลการทดสอบ • ปฏิเสธ H0แสดงว่า สัดส่วนของคนที่ชอบดนตรีและไม่ชอบดนตรีไม่เท่ากันในทุกระดับรายได้ โดยในกลุ่มผู้ที่มีรายได้สูงมีแนวโน้มว่าจะมีสัดส่วนของผู้ที่ชอบดนตรีมากกว่ากลุ่มที่มีรายได้ต่ำ H0 H0
การทดสอบสัดส่วนสองกลุ่มตัวอย่างที่มีความสัมพันธ์กันการทดสอบสัดส่วนสองกลุ่มตัวอย่างที่มีความสัมพันธ์กัน • Ex 6 จากการสอบถามความพอใจของผู้ที่ใช้บริการของห้อง self access ก่อนและหลังการปรับปรุงการให้บริการได้ผลการสำรวจเป็นดังนี้ (1 แทน พอใจ 2 แทน ไม่พอใจ) • ลำดับที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 • ก่อน 1 2 1 2 1 2 1 2 1 2 1 1 2 2 2 • หลัง 1 1 1 1 2 1 2 1 1 1 2 2 1 1 1 • ลำดับที่ 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 • ก่อน 2 1 2 2 2 1 2 2 2 2 2 2 1 2 2 • หลัง 1 2 1 1 2 2 1 1 1 1 1 1 2 1 1
สมมติฐานสำหรับการทดสอบสมมติฐานสำหรับการทดสอบ • สมมติว่าผู้วิจัยเชื่อว่า สัดส่วนของคนที่ชอบดนตรีจะเท่ากันในทุกระดับรายได้ • H0 :สัดส่วนของผู้ที่ตอบว่าพอใจ ก่อนและหลังการปรับปรุงไม่แตกต่างกัน • H1 : สัดส่วนของผู้ที่ตอบว่าพอใจ ก่อนและหลังการปรับปรุงแตกต่างกัน
การเตรียมข้อมูลในโปรแกรม SPSS • 1. สร้างตัวแปร Pre และ Post ที่ Data Editor • 2. กำหนดValue ของ Preและ Post เมื่อ 1 = satisfy 2=unsatisfy • 3. Measure กำหนดเป็น Nominal • 4. ใส่ข้อมูล
การใช้คำสั่ง วิเคราะห์ Chi-square • 1. เลือก menuAnalyze • 2. เลือก Descriptive statistics • 3. เลือก Crosstabs • 4. เอาตัวแปร Pre ใส่ในช่อง Row Post ใส่ในช่อง Column • 5. Statistic เลือก Mcnemar • 6. เลือก OK
สรุปผลได้ว่า สัดส่วนของผู้ที่ตอบว่าพอใจก่อนและหลังการปรับปรุงแตกต่างกัน นั้นคือ การปรับปรุงการบริการจะมีผลทำให้ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจมากขึ้น(พิจารณาจากตัวเลขในส่วนที่ 2 จะเห็นว่าก่อนปรับปรุงมีผู้พอใจ 10 คน หลังปรับปรุงมีผู้พอใจเพิ่มขึ้นเป็น 22 คน)