734 likes | 7.01k Views
1. การกำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา. เริ่มจากการเลือกหัวข้อหรือประเด็นทางประวัติศาสตร์ที่ตนสนใจ และตั้งประเด็นคำถาม. - องค์พระปฐมเจดีย์มีความเป็นมาอย่างไร - ใครเป็นคนสร้างองค์พระปฐมเจดีย์. 2. การรวบรวมหลักฐาน.
E N D
1. การกำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา เริ่มจากการเลือกหัวข้อหรือประเด็นทางประวัติศาสตร์ที่ตนสนใจ และตั้งประเด็นคำถาม
- องค์พระปฐมเจดีย์มีความเป็นมาอย่างไร - ใครเป็นคนสร้างองค์พระปฐมเจดีย์
2. การรวบรวมหลักฐาน รวบรวมหลักฐานสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่จะศึกษาทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรอง หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
3. การประเมินคุณค่าของหลักฐาน หลักฐานมีทั้งหลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรอง จะต้องมีการวิเคราะห์ ประเมินคุณค่าและความสำคัญว่าเป็นหลักฐานชั้นต้นที่เป็นของแท้ มีความเที่ยงตรง ถ้าเป็นหลักฐานชั้นรองต้องพิจารณาว่าผู้เขียนเป็นใคร มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการเขียนเรื่องนี้เพียงใด
4. การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการจัดหมวดหมู่ข้อมูล การวิเคราะห์ คือ แยกแยะประเด็นต่างๆ การสังเคราะห์ คือ รวมประเด็น แล้วนำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์มาจัดหมวดหมู่ให้ตรงกับหัวเรื่อง
5. การเรียบเรียงหรือการนำเสนอ เป็นขั้นตอนสุดท้าย ผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องนำข้อมูลทั้งหลายมาเรียบเรียงหรือนำเสนอแก่บุคคลทั่วไป โดยใช้ภาษาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย มีการอ้างอิงหลักฐาน
รูปแบบการนำเสนอ การจัดนิทรรศการ การเขียนเรียงความ
เรียงลำดับให้ถูกนะจ๊ะเด็กๆเรียงลำดับให้ถูกนะจ๊ะเด็กๆ 1. ซองวูบิน และโซอีจองนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาว่าเป็นของแท้ หรือของปลอม 2. ซองวูบิน และโซอีจองนำข้อมูลที่ได้ไปเล่าให้กูจุนเพียวฟัง 3. ซองวูบิน และโซอีจองสงสัยว่าใครใส่ร้ายกึมจันดี 4. ซองวูบิน และโซอีจองนำข้อมูลที่ได้มาแยกประเภท และจัดหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการเรียบเรียงและนำเสนอข้อมูล 5. ซองวูบิน และโซอีจองสอบถามข้อมูลจากคนทั่วไป และค้นหาหลักฐาน เฉลย3,5, 1, 4, 2
หลักฐานทางประวัติศาสตร์หลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักฐานที่ประเมินตามความสำคัญของหลักฐาน 1. หลักฐานชั้นต้น หรือหลักฐานปฐมภูมิ หมายถึง บันทึกหรือคำบอกเล่าของผู้พบเห็นเหตุการณ์ หรือผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง เช่น จารึก จดหมายเหตุ
หลักฐานทางประวัติศาสตร์หลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักฐานที่ประเมินตามความสำคัญของหลักฐาน 2. หลักฐานชั้นรอง หรือหลักฐานทุติยภูมิ หมายถึง ผลงานที่เขียนขึ้นหรือเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นแล้ว โดยศึกษาจากการฟังหรืออ่านจากคำบอกเล่าของผู้อื่น หรือศึกษาจากหลักฐานชั้นต้น ได้แก่ หนังสือประวัติศาสตร์ ตำนาน
หลักฐานทางประวัติศาสตร์หลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักฐานที่กำหนดตามลักษณะอักษร 1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นหลักฐานข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือ เช่น พระราชพงศาวดาร จารึก จดหมายเหตุ
หลักฐานทางประวัติศาสตร์หลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักฐานที่กำหนดตามลักษณะอักษร 2. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นหลักฐานข้อมูลที่ไม่เป็นตัวหนังสือ เช่นหลักฐานทางโบราณสถาน โบราณวัตถุ ภาพเขียนเกี่ยวกับชีวิตผู้คน เป็นต้น
หนังสือไทยรบพม่า หลักฐานชั้นรอง หลักฐานที่เป็น ลายลักษณ์อักษร
ภาพเขียนสี หลักฐานชั้นต้น หลักฐานที่ไม่เป็น ลายลักษณ์อักษร
ศิลาจารึก หลักฐานชั้นต้น หลักฐานที่เป็น ลายลักษณ์อักษร
โบราณสถาน หลักฐานชั้นต้น หลักฐานที่ไม่เป็น ลายลักษณ์อักษร
ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ หลักฐานชั้นรอง หลักฐานที่ไม่เป็น ลายลักษณ์อักษร
ข่าวจากหนังสือพิมพ์ หลักฐานชั้นต้น หลักฐานชั้นรอง หลักฐานที่เป็น ลายลักษณ์อักษร
การแยกแยะหลักฐานทางประวัติศาสตร์การแยกแยะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ 1. ความจริง คือ สิ่งที่มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป ไม่มีข้อโต้แย้งเพราะมีหลักฐานยืนยันจนปราศจากข้อสงสัย 2.ข้อเท็จจริง คือ ความคิด ความเชื่อ หรือข้อมูลที่ต้องการหลักฐานมายืนยันเพื่อพิสูจน์หาความจริง 3.ความคิดเห็น เป็นสิ่งที่เกิดจากประสบการณ์ ทัศนคติ ค่านิยม ความรู้สึกของบุคคล แล้วแสดงออกมาให้ปรากฏเป็นคำพูดหรือข้อเขียน ซึ่งอาจมีหรือไม่มีหลักฐานประกอบก็ได้
สามแยก ความคิดเห็น ความจริง ข้อเท็จจริง
สามแยก ความคิดเห็น เหตุการณ์การเสียกรุงศรีอยุธยาเป็น ความจริง ข้อเท็จจริง หรือความคิดเห็น ข้อเท็จจริง ความจริง
สามแยก ข้อมูลที่ปรากฏในหลักฐานว่าทำไมไทยจึงเสียกรุงศรีอยุธยา เช่น คนไทยเตรียมตัวไม่พร้อม ผู้นำอ่อนแอ คำอธิบายดังกล่าวอาจถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ความคิดเห็น ข้อเท็จจริง ความจริง
สามแยก สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงให้ความเห็นเกี่ยวกับการสร้างกรุงศรีอยุธยาว่า จดหมายเหตุโหรระบุว่าพระเจ้าอู่ทอง 2 ครั้ง ครั้งแรกปีขาล จุลศักราช 712 (พ.ศ.1893) อีกครั้งหนึ่งปีกุน จุลศักราช 712 (พ.ศ.1902) ในเรื่องนี้ทรงอธิบายว่า ทรงเข้าใจว่า “โหรวางศักราชปีกุลนั้นผิด” ความคิดเห็น ข้อเท็จจริง ความจริง
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดา แห่งประวัติศาสตร์ไทย
นายเมธี อมรวุฒิกุลยอมรับว่าเคยคบกับ แอนนี่บรู๊คเมื่อ 11 ปี ก่อน ซึ่งแอนนี่เคยใช้วิธีเดียวกันกับ ฟิล์ม รัฐภูมิ โตคงทรัพย์ นักร้องชื่อดัง เคยบอกกับตนว่าตั้งครรภ์ แต่ตนไม่เชื่อเพราะป้องกันมาโดยตลอด โดยส่วนตัวรู้สึกเห็นใจฟิล์มและอยากให้กำลังใจให้ผ่านเหตุการณ์นี้ไปให้ได้ นักเรียนคิดอย่างไรเกี่ยวกับข่าวนี้ หากนักเรียนเป็นฟิล์ม หรือแอนนี่ จะแก้ปัญหาอย่างไร
ความสำคัญของการตีความทางประวัติศาสตร์ความสำคัญของการตีความทางประวัติศาสตร์ 1. เพื่ออธิบายเรื่องราวที่ปรากฏในหลักฐาน เพราะหลักฐานอาจกล่าวถึงบุคคล, สถานที่, เหตุการณ์ไว้สั้นๆ ซึ่งคนทั่วไปอาจไม่เข้าใจ จึงจำเป็นต้องมีคำอธิบาย 2. เพื่อตีความ วิเคราะห์ความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ 3. เพื่อวิพากษ์วิจารณ์หลักฐานว่ามีความเที่ยงตรง 4. ช่วยอธิบายความถูกผิดของหลักฐานได้ เพราะหลักฐานอาจมีการเขียนข้อมูลผิด เช่น รับรู้มาผิด จดบันทึกผิด 5. เพื่ออธิบายหลักฐานให้เข้าใจง่ายขึ้น
โคนัน เจ้าหนูยอดนักสืบจากหลักฐาน
โคนัน เจ้าหนูยอดนักสืบจากหลักฐาน (หลักฐานชั้นต้น)ศิลาจารึกวัดจุฬามณี ลุ (จุล) ศักราช 826 ปีวอกนักษัตร อันดับนั้น สมเด็จพระรามาธิบดีศรีบรมไตรโลกนาถ บพิตรเป็นเจ้า ให้สร้างอารามจุฬามณี ที่เสด็จออกทรงมหาภิเนษกรมณ์ ขณะนั้นเอกราชสามเมือง คือ พระญาล้านช้าง แลมหาราชพระญาเชียงใหม่ แลพระญาหงษาวดี ชมพระศรัทธาก็แต่งเครื่องอัฐบริขารให้มาถวาย - วัดจุฬามณีสร้างขึ้นเมื่อใด - ใครเป็นคนให้สร้างวัดจุฬามณี - วัดจุฬามณีสร้างขึ้นเพื่ออะไร - ใครส่งเครื่องอัฐบริขารมาร่วมทำบุญ
โคนัน เจ้าหนูยอดนักสืบจากหลักฐาน (หลักฐานชั้นรอง) - พระราชพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับของบริติชมิวเซียมและพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)ว่าสร้างวิหารวัดจุฬามณี เมื่อศักราช 810 ปีมะโรงสัมฤทธิศก - พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐฯ ว่าสร้างวิหารวัดจุฬามณี เมื่อศักราช 826 วอกศก - จากหลักฐานชั้นรอง พระราชพงศาวดารฉบับใดให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เพราะอะไร - จุลศักราช 826 ตรงกับพุทธศักราชที่เท่าไร
การเทียบศักราช ม.ศ. + 621 = พ.ศ. พ.ศ. - 621 = ม.ศ. จ.ศ. + 1181 = พ.ศ. พ.ศ. - 1181 = จ.ศ. ร.ศ. + 2324 = พ.ศ. พ.ศ. - 2324 = ร.ศ. ค.ศ. + 543 = พ.ศ. พ.ศ. - 543 = ค.ศ. ฮ.ศ. + 1122 = พ.ศ. พ.ศ. - 1122 = ฮ.ศ.
ความสำคัญของการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลความสำคัญของการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล 1. ความสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูล 1) เพื่อแยกข้อมูลในส่วนที่เป็นข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น 2) เพื่อแยกข้อมูลที่มีข้อเท็จจริงตรงกัน กับข้อมูลที่แตกต่างกัน 3) เพื่อแยกข้อมูลที่ต่อเนื่อง ที่เป็นความเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์
ความสำคัญของการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลความสำคัญของการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล 2. ความสำคัญของการสังเคราะห์ข้อมูล 1) เพื่อจัดรวบรวมข้อมูลที่เป็นเรื่องเดียวกันไว้ด้วยกัน ทั้งที่เป็นข้อมูลสนับสนุนและขัดแย้ง เพื่อความสะดวกในการเสนอ 2) เพื่อจัดลำดับเหตุการณ์ ความต่อเนื่อง ความเปลี่ยนแปลงของข้อมูล เพื่อความสะดวกในการนำเสนอ 3) เพื่อจัดรวบรวมความคิดเห็นส่วนตัว ซึ่งเป็นผลจากการอ่าน ค้นคว้าข้อมูลจากหลักฐานต่างๆ เพื่อจะได้นำเสนอต่อไป
สืบจากหลักฐาน “กรุงศรีอยุธยาจึงเป็นสถานที่ที่ผู้คนเดินทางเข้ามาค้าขายทั้งโดยทางบกและทางน้ำ มีชาติต่างๆ จากเอเชียและพวกพ่อค้าคริสเตียน...” “คนจีนมีส่วนทำการค้ามากอยู่ในประเทศสยาม...มีสำเภาเข้ามาไม่ต่ำกว่าปีละ 15 ถึง 20 ลำ บรรทุกสินค้าดีๆ มาจากประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่น และมีแหล่งที่แลกเปลี่ยนสินค้ามาก”