1 / 40

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการทรงงาน

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการทรงงาน. เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร. เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็ม ที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม

Download Presentation

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการทรงงาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงาน

  2. เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไรเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็ม ที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป (จากวารสารชัยพัฒนา)

  3. เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไรเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย. ถ้าทุกประเทศมีความคิด-อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ- มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข. (๔ ธ.ค. ๒๕๔๑)

  4. เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไรเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร การอยู่พอมีพอกินนั้น ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีความก้าวหน้า มันจะมีความก้าวหน้าแค่พอประมาณ ถ้าก้าวหน้าเร็วเกินไป ไปวิ่งขึ้นเขา ยังไม่ทันถึงยอดเขาหัวใจวาย แล้วก็หล่นจากเขา ถ้าบุคคลหล่นจากเขา ก็ไม่เป็นไร ช่างหัวเขา แต่ว่าถ้าคนๆ เดียวนั้น ขึ้นไปวิ่งบนเขา แล้วหล่นลงมา หล่นลงมา บางทีทับคนอื่น ทำให้คนอื่นต้องหล่นไปด้วย อันนี้เดือดร้อน

  5. ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความ อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึก ในดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญาและความรอบคอบ รอบคอบ และความระมัดระวัง คุณธรรมความซื่อสัตย์ สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่ เหมาะสม เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี เศรษฐกิจพอเพียง “เศรษฐกิจพอเพียง”เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า๒๕ปีตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ กรอบแนวคิด ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับ ครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอ คำนิยาม ประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผล กระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน เงื่อนไข แนวปฏิบัติและผลที่คาดหมาย

  6. ทางสายกลาง พอประมาณ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีเหตุผล นำไปสู่ ชีวิต/เศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม สมดุล/มั่นคง/ยั่งยืน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เงื่อนไขความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) เงื่อนไขคุณธรรม(ซื่อสัตย์สุจริต สติปัญญา ขยันอดทน แบ่งปัน)

  7. หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง • ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ • ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆอย่างรอบคอบ • การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

  8. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน • เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ • เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

  9. ความพอเพียงระดับบุคคลความพอเพียงระดับบุคคล เศรษฐกิจพอเพียง แบบพื้นฐาน ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๑ ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๒ ความพอเพียงระดับชุมชน/องค์กร เศรษฐกิจพอเพียง แบบก้าวหน้า ความพอเพียงระดับประเทศ ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๓ เศรษฐกิจพอเพียง & ทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ

  10. วิวัฒนาการของความเข้าใจคำในการสื่อความหมายวิวัฒนาการของความเข้าใจคำในการสื่อความหมาย • พอดี พอประมาณ • พออยู่พอกิน พอมีพอกิน • การเดินทางสายกลาง • ความสมดุล • ไม่โลภ ไม่ตระหนี่ • ไม่สุรุ่ยสุร่าย ประหยัด

  11. ความพอดีด้านจิตใจ • มีจิตใจเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ • มีจิตสำนึกที่ดี • เอื้ออาทร ประนีประนอม • นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

  12. ความพอดีด้านสังคม • ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน • รู้รักสามัคคี • สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน

  13. ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ • เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด

  14. ความพอดีด้านเทคโนโลยีความพอดีด้านเทคโนโลยี • รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสอดคล้องต่อความต้องการและสภาพแวดล้อม • พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเองก่อน • ก่อให้เกิดประโยชน์กับคนหมู่มาก

  15. หลักการทรงงาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการพัฒนา

  16. พระปฐมบรมราชโองการณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ วันศุกร์ที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓เนื่องในวันบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

  17. พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการพัฒนาพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการพัฒนา การพัฒนาเพื่อให้พสกนิกรทั้งหลาย ประสบความสุขสมบูรณ์ในชีวิต ได้เริ่มจากการเสด็จฯไปเยี่ยมประชาชน ทุกหมู่เหล่า ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ได้ทอดพระเนตรความเป็นอยู่ของราษฎรด้วยพระองค์เอง จึงสามารถเข้าพระราชหฤทัยในสภาพปัญหา ได้อย่างลึกซึ้ง และมีแนวพระราชดำริที่ เรียบง่าย ปฏิบัติได้ผล

  18. ทรงเยี่ยมประชาชน ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๙๘ ได้เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทุกภาค โดยเฉพาะในชนบทท้องที่ทุรกันดาน ได้มีพระราชปฏิสันถารกับราษฎรถึงสภาพความเป็นอยู่ ทำให้ทรงทราบถึงปัญหาและความต้องการที่แตกต่างกันของประชาชนในแต่ละท้องที่ ตลอดจน ทรงซักถามข้าราชการที่ปฏิบัติงานในแต่ละจังหวัดนั้นๆ อันเป็นข้อมูลที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาให้แก่ราษฎรในระยะต่อมา

  19. ด้านสาธารณสุข ในระยะต้นแห่งการเสด็จขึ้นครองราชย์ ประชาชนมีปัญหาด้านสุขภาพอนามัยกันมาก ทำให้บั่นทอนกำลังในการพัฒนาประเทศ พระราชกรณียกิจช่วงแรก (๒๔๙๓ – ๒๕๐๕) จึงเน้นการช่วยเหลือ และบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้า เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของประชาชน และงานด้านสังคมสงเคราะห์เป็นส่วนใหญ่ ในการเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานตามพื้นที่ต่าง ๆ ทรงมีหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ตามเสด็จพระราชดำเนิน เพื่อช่วยเหลือ และบรรเทา ปัญหาด้านสุขภาพของราษฎร ที่อยู่ห่างไกล ให้สามารถเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขได้

  20. ด้านการศึกษา ทรงมีแนวพระราชดำริในการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาทุกระดับมาตรฐาน ทั้งในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน เพื่อให้มีความพร้อมสมบูรณ์ ทั้งร่างกาย ความคิดและจิตใจ และสามารถนำวิชาความรู้ ที่ถูกต้อง ไปปฏิบัติงานด้วยตนเองได้จริง อันเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่ง ในการพัฒนาประเทศ

  21. ด้านคุณภาพชีวิต ทรงเห็นว่าราษฎรควรมีความเป็นอยู่ อย่างพอมีพอกิน ตามควรแก่อัตภาพ ทรงพยายามแนะนำและช่วยเหลือ ให้ประชาชน ประกอบอาชีพ ให้สามารถเลี้ยงตนเอง และพึ่งพาตนเองได้ เพื่อให้พออยู่พอกินเป็นเบื้องต้น สามารถลดรายจ่ายในครอบครัว โดยไม่ต้องไปซื้อจากภายนอก และถ้าเหลือใช้ ก็ยังสามารถนำไปขาย ได้เงินเพิ่มเติมมาจุนเจือตัวเองและครอบครัวมากขึ้น

  22. การทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดการดำเนินงานในลักษณะทางสายกลางที่สอดคล้องกับสิ่งที่อยู่รอบตัว และสามารถปฏิบัติได้จริง ทรงมีความละเอียดรอบคอบ และทรงคิดค้นหาแนวทางพัฒนา เพื่อมุ่งสู่ประโยชน์และความสุขต่อประชาชนสูงสุด หลักการทรงงานนี้ มีคุณค่า และควรยึดเป็นแบบอย่าง ในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทนำมาปฏิบัติ เพื่อให้บังเกิดผลต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติตลอดไป

  23. ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ การที่จะพระราชทานโครงการใดโครงการหนึ่ง จะทรงศึกษาข้อมูลรายละเอียด อย่างเป็นระบบทั้งจากข้อมูลเบื้องต้น จากเอกสาร แผนที่ สอบถามจากเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ และราษฎรในพื้นที่ เพื่อให้ได้รายละเอียดที่ถูกต้อง และเพื่อที่จะพระราชทานความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว ตรงตามที่ประชาชนต้องการ

  24. ทดลองทำงานวิจัยก่อน การแก้ไขปัญหาให้ราษฎรนั้น ทรงเห็นว่าควรจะได้ทำการศึกษาทดลองให้ถ่องแท้ก่อน จึงจะได้นำผลสำเร็จไปเผยแพร่แนะนำให้ราษฎรได้ ดังนั้น จึงทรงทดลองปฏิบัติ เป็นการส่วนพระองค์ในพระราชวังที่ประทับ จนเป็นผลสำเร็จ อย่างเป็นรูปธรรม แล้วจึงนำมาขยายผลสู่ประชาชน โครงการส่วนพระองค์ มีทั้งการทำนา การปลูกพืชผลต่าง ๆ รวมทั้งโรงงาน ตลอดจนห้องปฏิบัติการทดลองที่หลากหลาย ฯลฯ ในบริเวณที่ประทับสวนจิตรลดา นอกจากนี้ ยังทรงจัดตั้งศูนย์ศึกษาพัฒนาขึ้น ๖ แห่ง ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยมีจุดประสงค์ เพื่อทำการศึกษาค้นคว้า ทดลอง และวิจัยในทุกๆ ด้านที่เกี่ยวกับ การประกอบอาชีพของราษฎร ให้เหมาะสมกับท้องถิ่นนั้น ๆ

  25. แล้วจึงทรงนำไปเผยแพร่แล้วจึงทรงนำไปเผยแพร่ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา และศูนย์ศึกษาพัฒนาทั้ง ๖ แห่ง สามารถเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรและราษฎรทั่วไป ได้เข้าไปศึกษาหาความรู้ นำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ ให้เกิดประโยชน์ ในการประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับตน และสามารถนำไปปฏิบัติ ให้แก่ครอบครัวตนเองได้ตามฐานะ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

  26. แนวทางการทรงงานและพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาแนวทางการทรงงานและพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนา

  27. ระเบิดจากข้างใน พระองค์ทรงมุ่งเน้น เรื่องการพัฒนาคน ทรงตรัสว่า ต้องระเบิดจากข้างใน หมายความว่า ต้องสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนที่เราเข้าไปพัฒนา ให้มีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนาเสียก่อน แล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก มิใช่การนำเอาความเจริญ หรือบุคคล จากสังคมภายนอก เข้าไปหาชุมชนหมู่บ้าน ที่ยังไม่ทันได้มีโอกาสเตรียมตัวหรือตั้งตัว

  28. คำนึงถึงภูมิสังคม พระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า การพัฒนาจะต้องเป็นไปตามภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์ และทางสังคมศาสตร์ในสังคมวิทยา คือนิสัยใจคอของคน กล่าวคือ คนเราจะไปบังคับ ให้คนอื่นคิดอย่างอื่นไม่ได้ เราเข้าไปช่วยโดยที่จะคิดให้เขาเข้ากับเราไม่ได้ แต่ถ้าเราเข้าไปแล้ว เราเข้าไปดูว่า เขาต้องการอะไรจริงๆแล้วก็อธิบายให้เขาเข้าใจ หลักการของการพัฒนานี้ก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง

  29. ทำตามลำดับขั้น ในการทรงงาน จะทรงเริ่มต้นจาก สิ่งที่จำเป็นของประชาชนที่สุดก่อนได้แก่ สาธารณสุข เมื่อมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแล้ว ก็จะสามารถทำประโยชน์ด้านอื่นๆ ต่อไปได้ จากนั้น ก็เป็นเรื่องการส่งเสริมคุณธรรม ให้ความรู้ พัฒนาทักษะฝีมือ ที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต และประกอบอาชีพ แล้วจึงพัฒนา สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ อาทิ ถนน แหล่งน้ำ เพื่อการเกษตร การอุปโภคบริโภค ที่เอื้อประโยชน์ต่อประชาชนโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ

  30. เน้นให้พึ่งตนเองได้ พระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า “ การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชน ในการประกอบอาชีพ และตั้งตัวให้มีความพอกินพอใช้ ก่อนอื่นเป็นสิ่งสำคัญยิ่งยวดเพราะผู้มีอาชีพ และฐานะเพียงพอที่จะพึ่งพาตนเองได้ ย่อมสามารถสร้างความเจริญ ในระดับสูงขั้นต่อไป”

  31. มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลักมุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก ขาดทุนคือกำไร หลักการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อพสกนิกรไทย คือ การให้ และการเสียสละ เป็นการกระทำอันมีผลกำไร คือความอยู่ดีมีสุขของราษฎร การปฏิบัติงานทุกอย่างของข้าราชการ มีผลเกี่ยวเนื่องถึงประโยชน์ส่วนรวมของบ้านเมือง และประชาชนทุกคน ดังนั้นข้าราชการ ต้องทำหน้าที่ทุกประการ ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ โดยเต็มกำลังสติปัญญา ความรู้ ความสามารถ เพื่อบรรลุความสำเร็จอย่างสูง และบังเกิดประโยชน์อย่างดีที่สุด แก่ตน แก่หน้าที่ และแก่แผ่นดิน

  32. แก้ปัญหาที่จุดเล็ก การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่จุดเล็ก ที่คนมักจะมองข้าม ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า “ถ้าปวดหัวก็คิดอะไรไม่ออก เป็นอย่างนั้น ต้องแก้ไขการปวดหัวนี้ก่อน มันไม่ได้เป็นการแก้อาการจริง แต่ต้องแก้ปวดหัวก่อน เพื่อที่จะให้อยู่ในสภาพที่คิดได้ แบบ Macro นี้ เขาจะทำแบบรื้อทั้งหมด ฉันไม่เห็นด้วย อย่างบ้านคนอยู่ เราบอกบ้านนี้มันผุตรงนั้น ผุตรงนี้ ไม่คุ้มที่จะไปซ่อม เอาตกลงรื้อบ้านนี้ ระเบิดเลย เราจะไปอยู่ที่ไหน ไม่มีที่อยู่ วิธีทำ ต้องค่อยๆทำ จะไประเบิดไม่ได้”

  33. ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด ทรงคิดค้น ดัดแปลง ปรับปรุง และแก้ไขงานการพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริ โดยใช้หลักในการแก้ปัญหา ด้วยความเรียบง่าย และประหยัด ราษฎรสามารถทำได้เอง และประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคนั้นๆ มาแก้ไขปัญหา โดยไม่ต้องลงทุนสูง ไม่ใช้เทคโนโลยีที่ยุ่งยากซับซ้อน ดังเช่น พระราชดำรัสที่ว่า “ให้ปลูกป่า โดยไม่ต้องปลูก โดยปล่อยให้ขึ้นเอง ตามธรรมชาติ จะได้ประหยัดงบประมาณ”

  34. ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ ทรงนำความจริงในเรื่องความเป็นไปแห่งธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ มาเป็นหลักการในการแก้ปัญหา อาทิ การปลูกผักตบชวาบำบัดน้ำเสีย หรือ การแก้ปัญหาป่าเสื่อมโทรม“การปลูกป่า โดยไม่ต้องปลูก ปล่อยให้ธรรมชาติช่วย ในการฟื้นฟูธรรมชาติ”

  35. ไม่ติดตำรา การพัฒนาตามแนวพระราชดำริ มีลักษณะของการพัฒนาที่อนุโลม และรอมชอม กับสภาพธรรมชาติสิ่งแวดล้อม คือ ไม่ติดตำรา ไม่ผูกมัดกับวิชาการ และเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม กับสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ที่แท้จริงของคนไทย

  36. ปลูกจิตสำนึก ในการที่จะฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้กลับคืนมา จะต้อง ปลูกจิตสำนึกในการรักผืนป่าให้แก่คนเสียก่อน ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า “เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ควรจะปลูกต้นไม้ ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้น ก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง”

  37. การมีส่วนร่วม พระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า “สำคัญที่สุด จะต้องหัดทำใจให้กว้างขวาง หนักแน่น รู้จักรับฟังความคิดเห็น แม้กระทั่ง คำวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่นอย่างฉลาด เพราะการรู้จักรับฟังอย่างฉลาดนั้น แท้จริงคือ การระดมสติปัญญา และประสบการณ์อันหลากหลาย มาอำนวยการ ปฏิบัติ บริหารงาน ให้ประสบความสำเร็จที่สมบูรณ์นั่นเอง”

  38. บริการรวมที่จุดเดียว ทรงเน้นในเรื่อง การสร้างความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกัน ด้วยการปรับลดช่องว่าง ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่มักจะต่างคนต่างทำ และยึดติดกับการเป็นเจ้าของเป็นสำคัญให้แปรเปลี่ยนมาร่วมมือกัน และสามารถอำนวยประโยชน์สูงสุดให้กับประชาชน

  39. สรุป - รู้ รัก สามัคคี - รู้การที่เราจะลงมือทำสิ่งใดสิ่งนั้น จะต้องรู้เสียก่อน รู้ถึงปัจจัยทั้งหมด รู้ถึงปัญหาและรู้ถึงวิธีการแก้ปัญหา รัก เมื่อเรารู้ครบด้วยกระบวนความแล้ว จะต้องมีความรักที่จะเข้าไปลงมือปฏิบัติแก้ไขปัญหานั้นๆ สามัคคี การที่จะลงมือปฏิบัตินั้น ควรคำนึงเสมอว่า เราจะทำงานคนเดียวไม่ได้ ต้องทำงานร่วมมือร่วมใจเป็นองค์กร เป็นหมู่คณะ จึงจะมีพลังเข้าไปแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี

  40. ทำงานอย่างมีความสุข พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระเกษมสำราญ และทรงมีความสุขทุกคราที่ช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเคยรับสั่งครั้งหนึ่งว่า “ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากการมีความสุขร่วมกัน ในการทำประโยชน์กับผู้อื่น”

More Related