570 likes | 1.11k Views
วิชาความเป็นครู. วิสัยทัศน์และแผนพัฒนาการศึกษาไทย. ประเภทของแผน. แผนระยะยาว 10-20 ปี เช่น แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559 ) แผนระยะกลาง 4-6 ปี เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ
E N D
วิสัยทัศน์และแผนพัฒนาการศึกษาไทยวิสัยทัศน์และแผนพัฒนาการศึกษาไทย
ประเภทของแผน แผนระยะยาว 10-20 ปี เช่น แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559) แผนระยะกลาง 4-6 ปี เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาประจำปี 1 ปี เช่นแผนพัฒนาการศึกษาระดับต่าง ๆ (แผนขอเงิน) แผนปฏิบัติการประจำปี (แผนใช้เงิน)
ความหมายของแผนการศึกษาแห่งชาติ และแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ หมายถึง แผนงานหลักในการจัดการศึกษาของชาติ แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ หมายถึง แผนกำหนดทิศทาง และขอบเขตในการพัฒนาการศึกษาของชาติ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับ 1-10 ฉบับที่ 1 (2504-2509) ฉบับที่ 6(2530-2534) ฉบับที่ 2 (2510-2514) ฉบับที่ 7 (2535-2539) ฉบับที่ 3 (2515-2519) ฉบับที่ 8 (2540-2544) ฉบับที่ 4(2520-2524) ฉบับที่ 9(2545-2551) ฉบับที่ 5(2525-2529) ฉบับที่ 10(2552-
วิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์(Vision)หมายถึงภาพในอนาคตขององค์กรซึ่งได้มาจาก ปัญญา ความคิด โดยภาพนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริง มีความเป็นไปได้ ดึงดูดใจให้ปฏิบัติตาม สอดคล้องกับภาระหน้าที่ขององค์กร อันจะทำให้องค์กรมีสภาพดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
วิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์(Vision) คือภาพความสำเร็จในอนาคตขององค์กร โดยเน้นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาให้ถึงจุดหมาย เป็นสภาพที่พึงปรารถนา ในอนาคต อาจมีลักษณะในเชิงปรัชญา ที่สามารถให้ทิศทางกับผู้นำ ที่จะนำองค์กรไปสู่ภารกิจหลักที่มีความชัดเจน เป็นรูปธรรม กล่าวคือ เป็นภารกิจที่ต้องทำ ทำเพื่ออะไร ทำเพื่อใคร ในมิติเวลานั้น หรือ
วิสัยทัศน์ ลักษณะของวิสัยทัศน์ แสดงจุดมุ่งมั่นในภารกิจ มีความชัดเจน จำได้ง่ายและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ เป็นภาพเชิงบวกที่สะท้อนถึงความเป็นเลิศขององค์กรในอนาคต คำนึงถึงผู้รับบริการเป็นสำคัญ
วิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์ถ้าปราศจากการกระทำ ก็เป็นเพียงความฝัน การกระทำถ้าปราศจากวิสัยทัศน์ ก็เป็นเพียงกิจกรรม วิสัยทัศน์ และการกระทำ ถ้าไปด้วยกัน จะสามารถเปลี่ยนแปลงองค์กรได้
วิสัยทัศน์ ตัวอย่างวิสัยทัศน์ กระทรวงศึกษาธิการ :เป็นองค์กรการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ในการส่งเสริมการจัดการศึกษาตามปรัชญาของแต่ละระดับ สร้างผลงานวิจัย และบริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีคุณภาพ
วิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์การศึกษาไทย จากแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับต่าง ๆ
วิสัยทัศน์ แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับ 1-9 เน้นเศรษฐกิจเป็นหลัก เป็นตัวนำ มองว่า ประเทศอุดมสมบูรณ์ มีรายได้ดีช่วยให้ เศรษฐกิจดี จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนา เศรษฐกิจ มองข้ามการพัฒนาคน ฉบับที่ 1-2(2504-2514) ฉบับที่ 3 (2515-2519) ฉบับที่ 4 (2520-2524) ฉบับที่ 5-7(2525-2539) เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เป็น ช่วงมีการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสังคม คุณภาพประชาชนตกต่ำ ค่านิยมเปลี่ยนแปลง การศึกษาถูกละเลยมองข้าม ฉบับที่ 8 (2540-2544) ฉบับที่ 9(2545-2551)
วิสัยทัศน์ แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับ ที่ 10 ฉบับที่ 10 (2552- สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10(พ.ศ. 2550 – 2554) และแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552 – 2559) มุ่งให้คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การขับเคลื่อนต้องใช้ “ความรู้”ในการพัฒนาด้านต่าง ๆ สอดคล้องกับวิถีสังคมไทย ตลอดจนสร้างศีลธรรมและจิตสำนึกใน “คุณธรรม” ดำรงตนอย่างมั่นคงในกระแสโลกาภิวัตน์
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 8 - 10 ในภาพรวมแล้วแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับต่างๆ โดยเฉพาะ ฉบับที่ 8 ฉบับที่ 9และฉบับที่ 10 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในภาพรวมที่สอดคล้องกันคือ “จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตมุ่งพัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรมคิดเป็นทำเป็นพึ่งตนเองได้รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้สรรค์สร้างสังคมที่สงบสุขมีความรักความเอื้ออาทรต่อเพื่อนมนุษย์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความรอบรู้มีความสามารถที่เป็นสากลดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย”
แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง (2552-2559) กำหนดวิสัยทัศน์ 1. พัฒนาคนไทยให้เป็น “ มนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข” 2. พัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีความเข้มแข็งและมีดุลยภาพใน 3 ด้าน คือ เป็นสังคมคุณภาพ สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้และสังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน”
จะเห็นได้ว่า การจัดการศึกษาไทยต้องการให้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการ สร้างคนให้เป็น “คนดี คนเก่ง และ คนมีความสุข”โดย 1. เป็นการศึกษาที่มุ่งพัฒนามนุษย์ที่สมบูรณ์ มีลักษณะมองกว้าง คิดไกล ใฝ่ดี มีวินัย มีทักษะสำหรับยุคโลกาภิวัตน์ 2. เป็นการศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของบุคคล ชุมชน สังคม ประเทศชาติ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 3. เป็นการศึกษาที่ปรับแนวคิดการจัดการใหม่ ให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง รูปแบบการสอนหลากหลาย ทุกส่วนของสังคมเอื้อต่อการเรียนรู้
สาระสำคัญของแผนการศึกษาแห่งชาติสาระสำคัญของแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552 — 2559)
ปรัชญาหลักและกรอบแนวคิดปรัชญาหลักและกรอบแนวคิด ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงยึดทางสายกลางอยู่ บนพื้นฐานของความสมดุลพอดี รู้จักพอประมาณ อย่างมีเหตุผล มีความรอบรู้เท่าทันโลก เพื่อมุ่งให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย เกิดการบูรณาการแบบองค์รวมที่ยึด “คน” เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมี “ดุลยภาพ” ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม
ปรัชญาหลักและกรอบแนวคิดปรัชญาหลักและกรอบแนวคิด เป็นแผนที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬากับการศึกษาทุกระดับ รวมทั้งเชื่อมโยงการพัฒนาการศึกษากับการพัฒนาด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นต้น โดยคำนึงถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
วัตถุประสงค์ของแผน 1. เพื่อให้บรรลุตามปรัชญาหลักและเจตนารมณ์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552 — 2559) จึงกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนฯ ที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้ 2. พัฒนาคนอย่างรอบด้านและสมดุลเพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนา 3. เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้ 4. เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน และสร้างสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้
การบริหารแผนสู่การปฏิบัติการบริหารแผนสู่การปฏิบัติ แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้ให้ความสำคัญกับการนำแผนสู่การปฏิบัติ เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนข้อเสนอปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ที่เน้นเป้าหมาย 3 ด้าน คือ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การขยายโอกาสทางการศึกษา การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริการและจัดการศึกษา
การบริหารแผนสู่การปฏิบัติการบริหารแผนสู่การปฏิบัติ • ระยะที่ 1 แผนงานรีบด่วน ระหว่างปี 2552 — 2554 ให้เร่งดำเนินการตามข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง โดยให้มีการจัดทำแผนเพื่อพัฒนาการศึกษาตามประเด็นเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา ได้แก่ • แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา • แผนขยายโอกาสทางการศึกษา และ • แผนส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษา รวมทั้งควรมีการสร้างกลไกเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนการศึกษาแห่งชาติ
การบริหารแผนสู่การปฏิบัติการบริหารแผนสู่การปฏิบัติ ระยะที่ 2ระหว่างปี 2555 — 2559 ให้เร่งดำเนินการตามนโยบายทั้ง 14 ด้านให้บรรลุผลตาม เป้าหมายที่กำหนดไว้ และติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนฯ เมื่อสิ้นสุดระยะที่ 1 และระยะที่ 2 รวมทั้งการเตรียมการร่างแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ต่อไป
ด้วยวิสัยทัศน์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง จึงได้พัฒนาการมาเป็น มาตรฐานการศึกษาของชาติดังนี้ มาตรฐานการศึกษาของชาติ วิสัยทัศน์การศึกษาไทยในภาพรวมคือ ต้องการให้การศึกษาไทย สร้างคนให้เป็น “คนดี คนเก่ง และ คนมีความสุข”โดย 1. เป็นการศึกษาที่มุ่งพัฒนามนุษย์ที่สมบูรณ์ มีลักษณะมองกว้าง คิดไกล ใฝ่ดี มีวินัย มีทักษะสำหรับยุคโลกาภิวัตน์ 2. เป็นการศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของบุคคล ชุมชน สังคม ประเทศชาติ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 3. เป็นการศึกษาที่ปรับแนวคิดการจัดการใหม่ ให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง รูปแบบการสอนหลากหลาย ทุกส่วนของสังคมเอื้อต่อการเรียนรู้
มาตรฐานการศึกษาของชาติ เป็นสาระเกี่ยวกับอุดมการณ์ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาของชาติที่พึงประสงค์ มีไว้เป็นหลักสำหรับ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการอาชีวศึกษา และคณะกรรมการอุดมศึกษา นำไปใช้กำหนดแนวทางการพัฒนาและจัดการศึกษา เพื่อประกันว่าผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ เต็มตามศักยภาพและตรงตามความต้องการ อย่างคุ้มค่า เสมอภาคและเป็นธรรม
ความหมายของมาตรฐานการศึกษาชาติความหมายของมาตรฐานการศึกษาชาติ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้นิยามไว้ว่า เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่งและเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและการกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผลและการประกันคุณภาพการศึกษา
มาตรฐานการศึกษาของชาติ ประกอบด้วยสาระสำคัญ 4 ประเด็น 3.1 อุดมการณ์ หลักการในการจัดการศึกษาของชาติ 3.2 คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก 3.3 การจัดการศึกษา 3.4 แนวนำสู่การปฏิบัติ
มาตรฐานการศึกษาชาติ มี 3 มาตรฐาน 11 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานที่ 1คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะ พลเมืองและพลโลก (คนไทยเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข) (5 ตัวบ่งชี้) มาตรฐานที่ 2แนวการจัดการศึกษา( 3 ตัวบ่งชี้)มาตรฐานที่ 3แนวการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่ง ความรู้ ( 3 ตัวบ่งชี้)
การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต มุ่งพัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรมคิดเป็นทำเป็นพึ่งตนเองได้รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้สรรค์สร้างสังคมที่สงบสุขมีความรักความเอื้ออาทร ต่อเพื่อนมนุษย์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความรอบรู้มีความสามารถที่เป็นสากลดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย