310 likes | 488 Views
Search Engine. สามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะการทำงาน ดังนี้ 1. Crawler based Search engine (Keyword Index)
E N D
Search Engine สามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะการทำงาน ดังนี้ 1. Crawler based Search engine (Keyword Index) Search engine ที่ทำงานในลักษณะนี้จะตรวจสอบข้อมูลบนเวบเพจที่ Crawler หรือ Spider ส่งเข้ามาพร้อมกับอินเด็กซ์ไว้บนฐานข้อมูลโดยอัตโนมัติทั้งหมด เช่น Title Tag , Meta Tag , หรือคำในส่วนแรกๆ ที่ปรากฏบนเว็บเพจ Search engine ที่ทำงานในลักษณะนี้ เช่น AltaVista , HotBot หรือ AlltheWeb เป็นต้น
ตัวอย่าง Search Engine Google : http://www.google.com
2. Directories Search engine Search engine ที่ทำงานในลักษณะนี้จะใช้คนเข้ามาช่วยในการจัดเรียงข้อมูลบนฐานข้อมูล เช่น Yahoo หรือที่กำลังมาแรงเช่น Open Directory Project (ODP) เป็นต้นและก็เนื่องจากการใช้คนเข้ามาจัดเรียงและเก็บข้อมูลนี้เองทำให้ระยะเวลาที่ข้อมูลจะถูกเก็บไว้บนฐานข้อมูลใช้เวลานานกว่าการจัดเก็บโดยใช้คอมพิวเตอร์และในกรณีที่ผู้ใช้เลือกหมวดหมู่ของเว็บไซต์ไม่ถูกต้องก็เป็นไปได้ที่เว็บไซต์จะไม่ถูกอินเด็กซ์บนฐานข้อมูล
ตัวอย่าง Search Engine YAHOO : http://www.yahoo.com
3. Meta Search engine Search engine ประเภทนี้จะไม่มีฐานข้อมูลเป็นของตนเองแต่จะ Query จากฐานข้อมูลอื่นดังนั้นเราจะไม่สามารถ Submit เว็บไซต์ไปยัง Search engine ประเภทนี้โดยตรงได้อย่างไรก็ตามโดยการ Submit เว็บเพจไปยัง Search engine อื่นที่ Search engine ประเภทนี้ไปค้นหาข้อมูลก็จะทำให้เว็บไซต์ปรากฏที่ลิสต์ของการค้นหาของ Search engine ประเภทนี้, Search engine ที่ทำงานในลักษณะนี้เช่นMetaClawler, Dog pile
ตัวอย่าง Search Engine IXQUICK : http://www.ixquick.com
ตัวอย่าง Search Engine ของต่างประเทศ
Search Engineคืออะไร Search Engine เป็นเครื่องมือหรือโปรแกรมในการค้นหาเว็บต่างๆ โดยมีการเก็บ รายชื่อเว็บไซต์ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่างๆ ของเว็บไซต์และนำมาจัดเก็บไว้ใน server เพื่อให้สามารถค้นหาและแสดงผลได้สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ บาง search engine อาจไม่ได้มีการเก็บข้อมูลใน server ของตัวเอง แต่อาจอาศัยข้อมูลจากเจ้าของ server นั้นๆ
“ด้วยข้อมูลที่หลากหลายบนเว็บไซต์ ดังนั้น ผู้ใช้ต้องกลั่นกรองเลือกสรรข้อมูล ที่ได้รับออกมาให้ดี และตัดสินออกมาให้ได้ว่าข้อมูลที่ได้รับควรแก่การน่าเชื่อถือ มากน้อยเพียงไร”
เทคนิคการสืบค้นข้อมูลโดย Google
Google.com - Search Engineที่ดีที่สุดและใหญ่ที่สุดในโลก - หาข้อมูลได้แทบทุกอย่างบนอินเตอร์เน็ต - มีดัชนี (Index) มากกว่า 3 พันล้านเว็บเพจ - มีการเรียกใช้บริการมากกว่า 200 ล้านครั้งต่อวัน - ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตโดยเฉลี่ยใช้ Google 10-20 หรือ 100 ครั้งต่อวัน
เทคนิคการตั้งคีย์เวิร์ดที่ดี เลือกคำที่ระบุถึงสิ่งที่ต้องการได้ชัดเจนที่สุดเช่นถ้าต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ Smart phone iPhone 4s ก็ให้พิมพ์คำว่า iPhone 4s เข้าไปในช่องค้นหาจะดีกว่าคำว่า Smart phone
กฎของคีย์เวิร์ดที่ควรทราบกฎของคีย์เวิร์ดที่ควรทราบ - ไม่สนใจตัวอักษรพิมพ์เล็ก (Lower case) หรือพิมพ์ตัวใหญ่ (Upper case)ดังนั้น Harry Potter = harry potter - คีย์เวิร์ดกับผลลัพธ์ที่ได้จะ “ตรงเป๊ะ” เท่านั้นเช่นค้นคำว่าwindow ก็จะได้คำตอบที่ไม่ใช่เว็บไซต์ windows เป็นต้น - ลำดับคำของคีย์เวิร์ดที่ใช้จะมีผลกับผลลัพธ์ที่ได้เช่น Network Microsoft กับ Microsoft Network ผลลัพธ์ของเว็บเพจที่ได้จะเป็นคนละเรื่องเลย - คีย์เวิร์ดที่ใช้ค้นหาถูกจำกัดความยาวไว้แค่ 10 คำเท่านั้น
AND ไม่ใส่ก็เหมือนใส่ Google จะถือว่ามีตัวเชื่อมเป็น AND อยู่ระหว่างคีย์เวิร์ดที่พิมพ์เข้าไปทุกครั้งตัวอย่างเช่นคำว่า Global Network ผลลัพธ์ที่ได้จะหมายถึงเว็บเพจที่มีทั้งคำว่า Global และ (AND) Network ดังนั้นถ้าสนใจแค่ต้องการให้พบคำใดคำหนึ่งก็ได้ในหน้าเว็บแนะนำให้ใส่ OR คั่นระหว่างคีย์เวิร์ดเช่น Crocodie OR Aligator เป็นต้น
ค้นหาด้วย “วลี” ในกรณีที่ต้องการค้นหาด้วยวลีหรือกลุ่มคำให้ใส่เครื่องหมายคำพูดล้อมรอบข้อความด้วยเช่น“may the force be with you” Google จะค้นหาเว็บเพจที่มีวลีตามนี้เป๊ะๆ
Google จะตัดคำทั่วไปในคีย์เวิร์ด Google จะตัดเอาคีย์เวิร์ดที่เป็นอักษรตัวเดียวตัวเลขตัวเดียวและคำทั่วๆไปอย่างเช่น “to”, “the” และ “how” ออกไปโดยอัตโนมัติซึ่งการตัดคำเหล่านี้ออกไปจะช่วยให้ Google ค้นหาผลลัพธ์ได้เร็วขึ้นแต่ถ้ายังต้องการให้ Google ใช้คำเหล่านี้ในการค้นหาก็ให้ใส่เครื่องหมาย + เข้าไปที่หน้าคำนั้นเช่น +the Hulk
Google จัดลำดับผลลัพธ์อย่างไร Google ได้สร้างระบบที่เรียกว่า Page Rank ซึ่งทำหน้าที่จัดอันดับผลลัพธ์ที่ได้จากการค้นหา Page Rank เริ่มต้นทำงานด้วยการนับจำนวนลิงค์ของเว็บไซต์ต่างๆที่ลิงค์เข้าไปยังแต่ละเว็บไซต์ผลลัพธ์โดยตัวเลขนี้จะถูกใช้แทนคะแนนโหวตอย่างไม่เป็นทางการ
Similar Pages Link ภาษาไทยใช้ว่า “หน้าที่คล้ายกัน” เป็นเครื่องมือวิจัยที่ดีมากและรวดเร็วมากสำหรับการค้นหาเว็บเพจที่มีความคล้ายคลึงหรือสัมพันธ์กับรายชื่อผลลัพธ์ที่ได้จากการค้นหาเหมาะที่จะใช้เมื่อกำลังมองหาวิธีที่รวดเร็วในการสร้างลิงค์มากมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่สนใจแม้จะไม่ทราบคีย์เวิร์ดที่ถูกต้องทั้งหมด
ไฟล์รองรับการค้นหาของ Google - Adobe Portable Document Format (.pdf) - Adobe Postscript (.ps) - Lotus 123 formats, Lotus WordPro (.lwp), MacWrite (.mw) - Rich Text format (.rtf), Text (.txt, .ans) - Microsoft Excel (.xls) - Microsoft PowerPoint (.ppt) - Microsoft Word (.doc), Microsoft Works (.wks, .wps, .wdb) Microsoft Write (.wri)
Google images (http://images.google.com) • Google Image Search สามารถค้นหาภาพจากทั่วโลกได้มากกว่า 425 ล้านซึ่งถือว่าเป็นดัชนีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกการค้นหาภาพสามารถทำได้โดยใช้คีย์เวิร์ดส่วนผลลัพธ์จะส่งกลับมาในรูปของรูปย่อขนาด 20 รูปผู้ใช้สามารถดูรูปขนาดเต็มได้ด้วยการคลิกบนรูปย่อเหล่านั้น
Google Toolbar (http://toolbar.google.com) • Google Toolbarจะเหมาะกับผู้ที่ต้องใช้งาน Google มากๆหลังจากดาวน์โหลด Toolbar มาติดตั้งในคอมพิวเตอร์มันจะอยู่ใต้ชุดปุ่มควบคุม (ถอยหลัง, เดินหน้า, หยุด, แอดเดรส) ของเบราเซอร์โดยจะมีเครื่องมือช่วยในการค้นหามากมาย
Google Toolbar http://toolbar.google.com
หลากหลายชื่อไซต์ยังไงก็ไม่หลงทางหลากหลายชื่อไซต์ยังไงก็ไม่หลงทาง • แม้ชื่อGoogleจะจำง่ายและพิมพ์ง่ายแต่ก็ยังมีผู้พิมพ์ผิดมากมายทำให้ไม่สามารถไปเว็บไซต์Googleได้เพื่อแก้ปัญหานี้ทางเว็บไซต์จึงได้จดโดเมนเนมชื่อGoogleในรูปแบบที่พิมพ์ผิดไว้ด้วยเช่น • Googel.com • Gogle.com • Goolge.com • ซึ่งทุกชื่อจะพาผู้ใช้ไปยังGoogle.com