2.03k likes | 4.24k Views
ติว O-Net วิชาดนตรีสากล ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. ครูณัฐ พล ธัญญพงษ์. ขอบข่ายการเรียนรู้. ประเภทของเครื่อง ดนตรี ไทย / สากล ประเภทของวง ดนตรี ไทย / สากล องค์ประกอบดนตรีไทย / สากล ยุคสมัยของดนตรีไทย / สากล ประเภทของบทเพลงไทย / สากล. ประเภทเครื่องดนตรีไทย .
E N D
ติวO-Net วิชาดนตรีสากล ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ครูณัฐพล ธัญญพงษ์
ขอบข่ายการเรียนรู้ • ประเภทของเครื่องดนตรีไทย/สากล • ประเภทของวงดนตรีไทย/สากล • องค์ประกอบดนตรีไทย/สากล • ยุคสมัยของดนตรีไทย/สากล • ประเภทของบทเพลงไทย/สากล
ประเภทเครื่องดนตรีไทย • เครื่องดนตรีไทยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ • 1. เครื่องดีด • 2. เครื่องสี • 3. เครื่องตี แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องดนตรีที่ใช้ตีประกอบจังหวะ เครื่องดนตรีที่ใช้ดำเนินทำนอง • 4. เครื่องเป่า
1. เครื่องดนตรีประเภทดีด
2. เครื่องดนตรีประเภทสี ซอด้วง ซอสามสาย ซออู้
3. เครื่องดนตรีประเภทตี 3.1 เครื่องดนตรีที่ใช้ตีประกอบจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง กลองต่างๆ ฉาบ ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับคู่
ตะโพนมอญ กรับพวง เปิงมางคอก โหม่ง โทนรำมะนา
กลองแขก กลองมลายู กลองชาตรี กลองตะโพน กลองทัด
3.2เครื่องดนตรีที่ใช้ดำเนินทำนอง เช่น ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องมอญ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ฆ้องวงเล็ก
ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องมอญ
4. เครื่องดนตรีประเภทเป่า ขลุ่ยอู้ ปี่นอก
ประเภทของเครื่องดนตรีสากลประเภทของเครื่องดนตรีสากล
ประเภทของเครื่องดนตรีสากลประเภทของเครื่องดนตรีสากล แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ • 1. เครื่องสาย (String Instruments) • 2. เครื่องลมไม้ (WOODWIND INSTRUMENT) • 3. เครื่องลมทองเหลือง (BRASS INSTRUMENT) • 4. เครื่องประกอบจังหวะ (PERCUSSION INSTRUMENT) • 5. เครื่องลิ่มนิ้ว (KEYBOARD INSTRUMENT)
1. เครื่องสาย (String Instruments) เครื่องดนตรีประเภทนี้ยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามลักษณะของการนำไปใช้ ได้แก่ 1.เครื่องสายใช้คันสี ได้แก่ ไวโอลิน วิโอลา เชลโล ดับเบิลเบส 2.เครื่องสายที่ใช้ดีด ได้แก่ เครื่องดนตรีทาให้เกิดเสียงโดยใช้นิ้วดีดสายหรือ ใช้แผ่นพลาสติกบาง ๆ เรียกว่า ปิ้ก(PICK) ดีดแทนนิ้วก็ได้ ได้แก่ ฮาร์พและกีต้าร์
เครื่องสายประเภทใช้คันสี ไวโอลิน – วิโอล่า Violin - Viola เชลโล่ Cello ดับเบิลเบส Double bass
เครื่องสายประเภทดีด กีตาร์เบส Guitar bass กีตาร์เบสไฟฟ้ Guitar ฮาร์ฟ Harp
2. เครื่องลมไม้ (WOODWIND INSTRUMENT) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเปุาทำด้วยไม้ ปัจจุบันแม้เครื่องดนตรีบางชนิดเปลี่ยนไปทาด้วยโลหะ แต่ก็ยังจัดอยู่ในประเภทเครื่องลมไม้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.เครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย(ไม่มีลิ้น) ได้แก่ เรดคอร์ดเดอร์ฟลุ๊ตปิคโคโล 2.เครื่องดนตรีประเภทปี่(มีลิ้น) ได้แก่ โอโบ อิงลิชฮอร์น บาสซูน คลารินเน็ท แซกโซโฟน เป็นต้น
เครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย ขลุ่ยฝรั่ง Recorder พิโคโร่ Piccolo ฟลุ๊ต Flute
เครื่องดนตรีประเภทปี่ แซกโซโฟน อัลโต-เทนเนอร์-บาริโทน-โซปราโน
3. เครื่องลมทองเหลือง (BRASS INSTRUMENT) คือ เครื่องดนตรีที่เราเรียกว่าแตรนั่นเอง ทาให้วงดุริยางค์มีอำนาจ สง่างามยิ่งขึ้น ทำจากทองเหลือง ได้แก่ ทรัมเปทเฟรนซ์ฮอร์น ทรอมโบน ยูโฟนเนียม ทูบา ซูซาโฟน เป็นต้น
เครื่องลมทองเหลือง ยูโฟเนียม Euphonium เฟรนซ์ฮอร์น France horn ทรัมเปต Trumpet ทรอมโบน Trombone
เครื่องลมทองเหลือง ทูบา Tuba ซูซ่าโฟน Sousaphone
4.เครื่องประกอบจังหวะ (PERCUSSION INSTRUMENT) เครื่องดนตรีกลุ่มนี้จะให้เสียงด้วยการที่ทาให้แผ่นหนังที่ขึงตึง หรือโลหะที่เกิดการสั่นสะเทือนด้วยการตี เคาะ เขย่าหรือกระทบกัน ตึง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ • เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงแน่นอน (Definite Pitch Instruments) เครื่องดนตรีกลุ่มนี้มีระดับเสียงสูงต่ำเหมือนกับเครื่องดนตรีประเภทอื่น เกิดเสียงโดยการตีกระทบ ส่วนใหญ่ตีกระทบเป็นทำนองเพลงได้ • ประเภทเครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงไม่แน่นอน (Indefinite Pitch Instruments) • เครื่องดนตรีกลุ่มนี้ไม่มีระดับเสียงที่แน่นอน หน้าที่สำคัญคือ ใช้เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ เกิดเสียงโดยการตี สั่น เขย่า เคาะ หรือขูด
เครื่องประกอบจังหวะที่มีระดับเสียงแน่นอน มาริมบา marimba ไซโลโฟน xylophon ทิมพานี Timpani ระฆังราว Orchestar chimes
ประเภทเครื่องประกอบจังหวะที่มีระดับเสียงไม่แน่นอน กิ่ง Triangle กลองใหญ่ Bass drum ฉาบ cymbel กลองแต้ก snare คาเบล Cabel แทมบูริน Tamburin คาบาซา Kabasa บองโก Bongo
ประเภทเครื่องประกอบจังหวะที่มีระดับเสียงไม่แน่นอน คองก้า Konga กลองชุด Drum set
5. เครื่องลิ่มนิ้ว (KEYBOARD INSTRUMENT) เครื่องดนตรีประเภทนี้จะมีแถวลิ่มนิ้วเป็นอันยาว ๆ เรียงกันเป็นแผง ทาหน้าที่เป็นคีย์ เมื่อผู้เล่นใช้นิ้วกดที่ลิ่มนิ้วเหล่านี้จะเกิดเสียงขึ้น โดยลูกค้อนที่อยู่ใต้ลิ่มนิ้วจะไปตีที่สายลวดหรือตีที่แท่งโลหะทาให้เกิดเสียง ได้แก่ ออร์แกน เปียโน ฮาร์พซิคอร์ด อิเล็คโทน เป็นต้น
เครื่องลิ่มนิ้ว ฮาร์ฟซิคอร์ด Harpsichord เปียโน piano ออร์แกน Organ แอคคอร์เดียน Accordian อิเล็คโทน คราวิคอร์ด Cravichord
แบบทดสอบ • ข้อใดเป็นเครื่องดนตรีประเภทเดียวกัน ก. ข. ค. ง.
รูปแบบดนตรีไทย • รูปแบบของวงดนตรีไทยในปัจจุบันมี 3 รูปแบบ ได้แก่ • 1.วงเครื่องสาย • 2.วงปี่พาทย์ • 3.วงมโหรี
วงเครื่องสาย • วงเครื่องสายไทยเป็นวงดนตรีที่เหมาะสำหรับการบรรเลงในอาคาร ในลักษณะของการขับกล่อมที่เป็นพิธีมงคล เช่น พิธีมงคลสมรสและงานเลี้ยงสังสรรค์ เป็นต้น วงเครื่องสายไทยนี้มักจะเรียกกันสั้นๆ ว่า “วงเครื่องสาย” มีอยู่ ๒ ขนาด คือ วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยวและวงเครื่องสายเครื่องคู่
วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยววงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีอย่างละ 1 ชิ้น ได้แก่เครื่องดำเนินทำนอง1. ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา 2. จะเข้ ๑ ตัว 3. ซอด้วง ๑ คัน 4. ซออู้ ๑ คันเครื่องประกอบ และกำกับจังหวะ1. ฉิ่ง * 2. โทน-รำมะนา * 3. กรับ 4. โหม่ง 5. ฉาบ (เล็ก)
วงเครื่องสายเครื่องคู่วงเครื่องสายเครื่องคู่ ใช้รูปแบบที่ยึดจากวงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว โดยเพิ่มเครื่องดนตรีในประเภทเครื่องดำเนินทำนองไปอีกอย่างละ 1 ชิ้น เพื่อให้เป็นคู่กัน เป็นที่มาของคำว่า "เครื่องคู่" รูปแบบของวงเครื่องสายเครื่องคู่จะมีเสียงที่หนักแน่นกว่าเครื่องสายเครื่องเดี่ยว เพราะมีการประสานเสียงกันเองของเครื่องดนตรีที่เป็นชนิดเดียวกัน ทำให้เสียงดังและหนักแน่นขึ้น
วงเครื่องสายปี่ชวา • วงเครื่องสายปี่ชวาประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายไทยเป็นหลัก และนำเอาปี่ชวามาบรรเลงแทนขลุ่ยเพียงออคงไว้แต่เพียงขลุ่ยหลิบซึ่งมีเสียงสูง และเปลี่ยนมาใช้กลองแขกบรรเลงจังหวะหน้าทับแทน วงเครื่องสายปี่ชวามี ๒ ขนาด คือ วงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็กและวงเครื่องสายปี่ชวาวงใหญ่ วงเครื่องสายปี่ชวาเกิดจากวงเครื่องสายประสมกับวงกลองแขก เกิดขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวลักษณะของวงเครื่องสายปี่ชวามีดังนี้ * เครื่องดนตรีทุกชิ้นจะตั้งเสียงให้เท่ากับเสียงปี่ชวา * ใช้กลองแขกแทนโทนและรำมะนา * ใช้ขลุ่ยหลิบแทนขลุ่ยเพียงออ
วงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็กวงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็ก
วงเครื่องสายปี่ชวาเครื่องคู่วงเครื่องสายปี่ชวาเครื่องคู่
วงปี่พาทย์ • เป็นวงที่มีการประสมของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและตีโดยมี ปี่ในเป็นประธานของวงและมีฆ้องวงใหญ่บรรเลงทำนองหลักของเพลง ในขณะที่เครื่องดนตรีอื่นจะเล่นแปรทำนองไปตามทางเฉพาะของตน วงปี่พาทย์จะนิยมเล่นในงานประเพณีหรืองานบุญเทศกาลต่างๆรวมทั้งบรรเลงประกอบการแสดง เช่น โขน ลิเก ละคร เป็นตัน ในปัจจุบัน แบ่งวงออกได้เป็น 7ประเภท ดังนี้
1.วงปี่พาทย์เครื่องห้า(ปัจจุบัน)1.วงปี่พาทย์เครื่องห้า(ปัจจุบัน) มีเครื่องดนตรีดังนี้ 1. ปี่ 2. ระนาด 3. ฆ้องวง 4. ตะโพน 5. กลองทัด (2 ลูกอย่าง สมัยปัจจุบัน) 6. ฉิ่ง
2.วงปี่พาทย์เครื่องคู่2.วงปี่พาทย์เครื่องคู่ เครื่องคู่ มีดังต่อไปนี้1. ปี่ใน 2. ปี่นอก 3. ระนาดเอก4. ระนาดทุ้ม 5. ฆ้องวงใหญ่6. ฆ้องวงเล็ก 7. ตะโพน 8. กลองทัด 9. ฉิ่ง
3.วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่3.วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีไทยในวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ มีดังต่อไปนี้1. ปี่ใน 2. ปี่นอก 3. ระนาดเอก 4. ระนาดทุ้ม5. ระนาดเอกเหล็ก 6. ระนาดทุ้มเหล็ก 7. ฆ้องวงใหญ่ 8. ฆ้องวงเล็ก9. ตะโพน 10. กลองทัด 11. ฉิ่ง
4.วงปี่พาทย์มอญ • ปี่พาทย์มอญแบ่งออกได้เป็น ๓ ขนาดการจัดรูปแบบวงอาศัยแบบอย่างวงปี่พาทย์อย่างไทย เพียงแต่ปรับเปลี่ยนเครื่องดนตรีบางชิ้นดังนี้1. ใช้ปี่มอญ แทน ปี่ใน2. ใช้ตะโพนมอญ แทน ตะโพนไทย3. ใช้เปิงมางคอก แทน กลองทัด4. ฆ้องวงมอญ แทน ฆ้องวงไทย5. เพิ่ม โหม่งราว (โหม่งสามใบ) วงปี่พาทย์มอญในปัจจุบันที่เราพบเห็นกันทั่วไป แท้จริงก็คือเครื่องดนตรีไทยผสมกับเครื่องดนตรีมอญ 5 ชนิด โดยผู้ที่นำฆ้องมอญวงแรกเข้ามาก็คือ ครูสุ่ม ดนตรีเจริญ ซึ่งในปัจจุบันตระกูลนี้ได้ตั้งรกรากอยู่แถว จังหวัดปทุมธานี
ปี่พาทย์มอญเครื่องห้าปี่พาทย์มอญเครื่องห้า วงเครื่องห้าประกอบด้วย ฆ้องวง ระนาดเอก ปี่มอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอกฉิ่ง
ปี่พายท์มอญเครื่องคู่ปี่พายท์มอญเครื่องคู่ วงเครื่องคู่ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ปี่มอญ เปิงมางคอกตะโพนมอญ ฉาบเล็กฉาบใหญ่ กรับ ฉิ่ง
ปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ วงเครื่องใหญ่ประกอบด้วย ปี่มอญ ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ตะโพนมอญ เปิงมางคอกฉาบเล็กฉาบใหญ่ กรับ ฉิ่ง
วงดนตรีประเภทปี่พาทย์มอญนั้นนิยมเรียกว่า ปี่พาทย์มอญ เป็นวงดนตรีที่นิยมเล่นทั้งงานมงคลและงานอวมงคลทั่วไป แต่ภายหลังมีการนำวงปี่พาทย์มอญ ไปบรรเลงในงานพระศพของสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระราชินีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงดำริว่ามารดาของพระองค์นั้นเป็นเชื้อสายมอญโดยตรง จึงโปรดฯให้นำวง ปี่พาทย์มอญมาเล่น ด้วยเหตุนี้เองภายหลังจากงานพระศพดังกล่าวจึงได้กลายเป็นความเชื่อและยึดถือกันมาโดยตลอดว่า ปี่พาทย์มอญนั้นใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพเท่านั้น ชาวมอญมีชื่อเสียงในเรื่องของวงปี่พาทย์และมอญรำอย่างมาก มักจะมีการบรรเลงปี่พาทย์และการแสดงมอญรำควบคู่กันไปทุกครั้ง
5.วงปี่พาทย์นางหงส์ • วงปี่พาทย์นางหงส์ เดิมเป็นวงที่ใช้บรรเลงในงานศพของสามัญชน ต่อมาได้นำมาบรรเลงในงานสวดพระอภิธรรมศพเจ้านายและใช้ในตอนถวายพระเพลิงพระบรมศพพระศพ เมื่อครั้งงานพระบรมศพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระประสงค์ให้นำวงปี่พาทย์นางหงส์ของกรมศิลปากรมาประโคมย่ำยาม ต่อจากวงประโคมของงานเครื่องสูงสำนักพระราชวัง จึงนับเป็นครั้งแรกที่ได้นำวงปี่พาทย์นางหงส์มาใช้ในงานพระบรมศพด้วย
วงปี่พาทย์นางหงส์ คือวงปี่พาทย์ชนิดหนึ่งที่นำเอาวงปี่พาทย์ไม้แข็งมาประสมกับวงบัวลอย โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบดังนี้1. ใช้กลองมลายูมาตีแทนตะโพนและกลองทัด2. ใช้ปี่ชวามาเป่าแทนปี่ใน3. เอาฆ้องเหม่งออก เพราะมีฉิ่งเป็นตัวควบคุมจังหวะแล้ว