1 / 16

การ จัดการเรียนการสอนโดยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method)

การ จัดการเรียนการสอนโดยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method). ความหมาย.

chessa
Download Presentation

การ จัดการเรียนการสอนโดยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการเรียนการสอนโดยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method)

  2. ความหมาย • การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ เป็นการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วนตัวเองโดยใช้วิธีการและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการค้นหาความรู้ที่ผู้เรียนยังไม่เคยมีความรู้นั้นมาก่อน จนสามารถออกแบบทดลองและทดสอบสมมติฐานได้(สุวัฒก์ นิยมค้า 253:502)

  3. ทฤษฎี/แนวคิด • สำหรับการเรียนการสอนปัจจุบันส่งเสริมให้นักเรียนศึกษาหาความรู้ด้วยตัวเอง โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้นับเป็นการสอนวิธีหนึ่ง ซึงเน้นให้นักเรียนเรียนรู้และค้นพบความรู้และค้นพบความจริงต่างๆ ด้วยตนเองในการวิจัยนี้ผู้วิจัยได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งสมจิต สวธนไพบูลย์(2541:53) ได้กล่าวถึงรูปแบบทั่วไปในการแสดงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไว้ดังนี้

  4. - เกิดปัญหา - การสังเกต - ข้อเท็จจริง - ตั้งคำถาม(เพิ่ม) - การวัด - มโนมติ - อะไร….? -การคำนวณ - หลักการ -อย่างไร…? -การจำแนกประเภท -กฎ -ทำไม…? -การจำความสัมพันธ์ -ทฤษฎี -การตั้งสมมุติฐาน -การลงความเห็น -การพยากรณ์ -การทดลอง -การควบคุมตัวแปร -การกำหนดนิยามเชิงปฎิบัติการ -การตีความหมายข้อมูล ภาพที่ 15 การได้มาซึ่งความรู้วิทยาศาสตร์

  5. ข้อดีของการสอนแบบสืบเสนาะหาความรู้ข้อดีของการสอนแบบสืบเสนาะหาความรู้ • นักเรียนได้มีโอกาสได้พัฒนาความคิดอย่างเต็มที่ ได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จึงมีความอยากเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา • นักเรียนมีโอกาสได้ฝึกความคิดและฝึกการกระทำ ทำให้ได้เรียนรู้วิธีจัดระบบความคิดและวิธีเสาะแสวงหาความรู้ด้วยตนเองทำให้ความรู้คงทนและถ่ายโยงการเรียนรู้ได้ กล่าวคือ ทำให้สามารถจดจำได้นานและนำไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ได้อีกด้วย • นักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน • นักเรียนสามารถเรียนรู้มโนมติ และหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้เร็วขึ้น • นักเรียนจะเป็นผู้มีเจตคติที่ต่อการสอนวิทยาศาสตร์

  6. แนวทางการจัดการเรียนรู้แนวทางการจัดการเรียนรู้ การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ มีขั้นตอนของกิจกรรมที่สำคัญในการสอนตามแนวการสอนของสถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3 ขั้นตอนดังนี้ (ภพ เลาหไพบลูย์ 2540 : 119-200) • การอภิปลายเพื่อนำเข้าสู่การทดลอง ขั้นนี้เป็นการเริ่มต้นเพื่อนำไปสู่การกำหนดปัญหาเป็นการช่วยฝึกและปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักใช้ความคิดของตนเอง กล้าแสดงความคิดเห็นและยอมรับความคิดเห็นที่มีเหตุผลของผู้อื่น เป็นการแนะแนวทางให้นักเรียนคิดออกแบบการทดลองหรือตั้งสมมติฐานและหาวิธีทดลองเพื่อทดสอบสมมติฐาน

  7. การทดลอง ขั้นนี้เป็นส่วนสำคัญของการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้เป็นการนำไปสู้การฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ฝึกให้นักเรียนรู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่นในบางกรณีก็ไม่สามารถทำการทดลองในห้องเรียนได้ด้วยเหตุผลบางประการ ความปลอดภัยความพร้อมในด้านอุปกรณ์ที่ยุ่งยากซับซ้อนและราคาแพง คาบเวลาสอนไม่เพียงพอ เช่นนี้อาจจำเป็นต้องยกข้อมูลที่มีอยู่ก่อนที่ได้ทดลองมาแล้ว มาใช้ประโยชน์ในการอภิปลายเพื่อนำไปสู้การสรุปผลหรือให้นักเรียนทำการทกลองโดยใช้แบบจำลองจากของจริง เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลจะนำไปสู้การอภิปลายสรุปผลการทดลองต่อไป

  8. การอภิปลายเพื่อสรุปผลการทดลอง ขั้นการอภิปลายเข้าสู้การทดลองและอภิปลายเพื่อสรุปผลการทดลอง ผู้สอนจะต้องใช้คำถามเพื่อนำนักเรียนให้รู้จักคิดหาความสัมพันธ์ระหว่างสถานการณ์ที่สร้างขึ้นกับเรื่องที่จะทดลอง และข้อมูลที่จากการทดลองกับผลสรุปในการอภิปลายซักถามนั้น นักเรียนอาจจะใช้คำถาม ถามครูหรือนักเรียนด้วยกันได้ ซึ่งผลการสอนในลักษณะนี้เขียนได้ดังภาพต่อไปนี้

  9. อภิปลายโดยการใช้คำถามเกี่ยวข้องกับข้อมูลอภิปลายโดยการใช้คำถามเกี่ยวข้องกับข้อมูล • อภิปลายโดยการตั้งคำถามจากข้อมูลที่ได้จากการทดลอง นำความรู้ไปใช้กับเรื่องที่จะเรียนต่อไปหรือที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน ภาพที่ 16 ขั้นตอนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้

  10. บทบาทของครูและนักเรียนในการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้บทบาทของครูและนักเรียนในการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้

  11. บทบาทของครูและนักเรียนในการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (ภพ เลาหไพบูลย์, 2540: 125-126) คือครูเป็นผู้สร้างสถานการณ์ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆด้วยตัวนักเรียนเองเป็นผู้จัดหาวัสดุ อุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า เป็นผู้ถามคำถามต่างๆ ที่จะช่วยแนะนำทางให้นักเรียนค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ส่วนบทบาทหน้าที่ของนักเรียนต้องเป็นผู้สืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง ใช้ความคิดหาความสัมพันธ์ของสิ่งที่พบได้เป็นมโนมติ หลักการต่างๆเป็นผู้ตอบคำถาม

  12. ข้อค้นพบจากการวิจัย

  13. 1.การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน Williarn (1981) • วิจัยเปรียบเทียบระหว่างการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้กับการสอนแบบเดิมที่ครูเป็นจุดศูนย์กลางของประวัติศาสตร์อเมริกาพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มที่สอนแบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุม collins(1990)วิจัยกับนักเรียนไฮสคูลปีที่1วิชาคณิตศาสตร์ พบว่า กลุ่มที่สอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ได้คะแนนเฉลี่ย 6 คะแนน กลุ่มควบคุมได้ 5 คะแนน ซึ่งผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อนันต์ เลขวรรณวิจิตร (2538) วิจัยกับนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิชาวิทยาศาสตร์ คหกรรม และศิลปหัตถกรรม พบว่ากลุ่มทดลองที่สอนแบบสืบเสาะหาความรู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 01 วิไลพร คำเพราะ (2538) วิจัยกับนักเรียนชั้นประถมศึกาปีที่5 กลุ่มสร้างเสริมประสบการชีวิต พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่สอนแบบสืบเสาะหาความรู้หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05และมนมนัส สุดสิ้น(2534) วิจัยกับนักเรียนมัธยมชั้นปีที่ 2 ว่า นักเรียนที่สอนแบบสืบเสาะหาความรู้มีผลสัมฤทธ์ทางการเรียนสูงกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  14. 2. การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กัญญา ทองมัน (2534) • ได้วิจัยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า กลุ่มทดลองที่สอนแบบสืบเสาะหาความรู้มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทักษะที่แตกต่างกัน คือทักษะการวัด ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล ทักษะการทดลองทักษะขั้นพื้นฐาน และทักษะขั้นบูรณาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  15. 3. การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิจารณ์ มนัมนัส สุดสิ้น(2534) • วิจัยศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิจารณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ประกอบการเขียนแผนผังมโนมติกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ประกอบการเรียนเขียนแผนการผังมโนมติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิจารณ์สูงกว่าควบคุบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  16. สมาชิกกลุ่ม • 1.นายวัชรวิทย์ สิทธิอมร เลขที่ 11 • 2.นางสาวปภาวดี เหล่าทะนนท์ เลขที่ 34 • 3.นายปริญญา อัมไพ เลขที่ 35 • 4.นางสาวอริษา บุญเหลา เลขที่ 37 • 5.นายปิยะวุฒิ ธิยาโน เลขที่ 45 นักศึกษาคณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สาขา คบ.ภาษาอังกฤษ ห้อง 1 มหาวิทยาลัยนครพนม

More Related