1 / 29

การวิจัยเชิงนโยบายแบบมีส่วนร่วม Participatory Policy Research

การวิจัยเชิงนโยบายแบบมีส่วนร่วม Participatory Policy Research. รศ. ดร. วิโรจน์ สารรัตนะ หลักสูตรศึกษา ศาสตร ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราช วิทยาลัย 2556. for. EFFECTIVE PROBLEM SOLVING. นโยบาย ( Policy ).

flynn
Download Presentation

การวิจัยเชิงนโยบายแบบมีส่วนร่วม Participatory Policy Research

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การวิจัยเชิงนโยบายแบบมีส่วนร่วมParticipatory Policy Research รศ. ดร. วิโรจน์ สารรัตนะ หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย 2556 for EFFECTIVE PROBLEM SOLVING

  2. นโยบาย (Policy) นโยบาย(Policy) หมายถึง แนวหรือวิธีการเพื่อการปฏิบัติที่รัฐบาล หรือสถาบัน หรือกลุ่ม หรือบุคคล เลือกจากทางเลือกหลายๆ ทาง เพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติ โดยปกติจะสะท้อนให้เห็นถึงการตัดสินใจในปัจจุบันเพื่อการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิผลและเพื่ออนาคตที่ดีกว่า

  3. Policy process การวิจัยเชิงนโยบาย เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการกำหนดนโยบาย ยังไม่ถึงขั้นนำไปปฏิบัติและประเมินผล

  4. องค์ประกอบของนโยบาย... องค์ประกอบของนโยบายที่สำคัญ 2 องค์ประกอบ คือ • วัตถุประสงค์ของนโยบาย (policy objectives) • แนวทางของนโยบาย (policy means) โดยวัตถุประสงค์ของนโยบาย หมายถึง “จุดหมาย” (ends) ที่คาดหวังให้บรรลุผล และแนวทางของนโยบายหมายถึง “วิถีทาง” (means) ที่จะทำให้บรรลุผลในจุดหมายนั้น ซึ่งจุดหมายหนึ่งๆ อาจมีแนวทางเพื่อการปฏิบัติที่หลากหลาย ในทางกลับกัน แนวทางหนึ่งอาจเพื่อการบรรลุผลเกินกว่าหนึ่งจุดหมายได้ Policy objectives Policy means

  5. องค์ประกอบของนโยบาย...ในบางครั้งองค์ประกอบของนโยบาย...ในบางครั้ง ในบางครั้งอาจมีองค์ประกอบส่วนที่สามด้วย คือ 3) กลไกของนโยบาย (policy mechanism) ในความหมายดังนี้ ...เพื่อให้นำเอา “แนวทางหนึ่งๆ หรือแนวทางโดยภาพรวม” ไปปฏิบัติให้เกิดผลตาม “วัตถุประสงค์” ที่กำหนด ต้องมี “กลไกหรือเงื่อนไขอะไรบ้าง.... ก ข ค ....” กลไกหรือเงื่อนไข.... ปัจจัยภายใน ได้แก่ คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ ทางสังคม

  6. ผลลัพธ์จากการวิจัย ผลจากการวิจัยเชิงนโยบาย.... จะทำให้ได้ “ข้อเสนอเชิงนโยบาย” (บางกรณีเรียกว่าข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ หรือบางกรณีเรียกว่าข้อเสนอแผนที่ยุทธศาสตร์ หรืออื่นๆ ตามความเหมาะสม) ที่มีองค์ประกอบอย่างน้อย 2 องค์ประกอบ คือ 1) วัตถุประสงค์ของนโยบาย (policy objective) และ 2) แนวทางของนโยบาย (policy means) บางกรณีอาจกำหนดเป็น 3 องค์ประกอบ คือ 1) วัตถุประสงค์ของนโยบาย (policy objective) และ 2) แนวทางของนโยบาย (policy means) และ 3) กลไกของนโยบาย (policy mechanism) ที่จะทำให้การนำแนวทางนโยบายไปปฏิบัติ บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด เช่น การออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมาย การจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะ การใช้เทคนิคการบริหารแนวใหม่ การสนับสนุนจากต้นสังกัด เป็นต้น

  7. ข้อเสนอเชิงนโยบาย (Proposed Policy)… ผลลัพธ์จากการวิจัย For effective problem solving And for… Policy means Policy objectives Policy means Policy means ข้อความของ policy means และ policy mechanism หรือแม้แต่ policy objectives ควรเสนอเป็นประเด็นหลัก มีประเด็นรองขยายความประเด็นหลักนั้นด้วย เพื่อให้เข้าใจในสาระสำคัญและแนวปฏิบัติ Policy mechanism Policy mechanism Policy mechanism

  8. ข้อเสนอเชิงนโยบาย มุ่งเพื่อ... FOR EFFECTIVE PROBLEM SOLVING and for… • ข้อเสนอเชิงนโยบาย ควรเป็นข้อเสนอใหม่ๆ กระบวนทัศน์ใหม่ๆ หลักๆ ที่เชื่อว่า หากปฏิบัติแล้วจะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิผล นำไปสู่อนาคตที่ดีกว่าในปัจจุบัน เป็นข้อเสนอที่เพิ่มขึ้น (added on) จากงานประจำ (routine work) ไม่เป็นประเด็นเล็กๆ น้อยๆ หรือเป็นประเด็นงานประจำที่อัดแน่นจนขาดจุดเน้นสำคัญ กลายเป็นแผนปฏิบัติการ (action plan) ของหน่วยงานที่รวมทุกอย่างไว้ • การนำเสนอข้อเสนอเพื่อพัฒนา อาจจำแนกออกเป็น ข้อเสนอเพื่อการปฏิบัติในระยะสั้น 1-2 ปี เพื่อการปฏิบัติระยะปานกลาง 3-5 ปี และเพื่อการปฏิบัติระยะยาว 5 ปีขึ้นไป

  9. การเขียน “ข้อเสนอเชิงนโยบาย” แนะนำให้ศึกษารูปแบบการนำเสนอ “แผนยุทธศาสตร์” “แผนเชิงนโยบาย” หรือ ... ของหน่วยงานที่มีมาตรฐาน ที่มีรูปแบบการนำเสนอที่ดีในแนวคิดหลักๆ กระชับ เข้าใจง่าย สื่อความหมาย ไม่เยิ่นเย้อ ไม่สับสน ไม่อุ้ยอ้าย ไม่วกไปวนมา หรือแล้วนำแนวคิดที่ดีๆ มาใช้กับการเขียน “ข้อเสนอเชิงนโยบาย” ในงานวิจัยของตัวเองได้ อย่าลืม... ข้อเสนอนำไปสู่.....การแก้ปัญหาที่มีประสิทธิผล...และอนาคตที่ดีกว่าปัจจุบัน ไม่อยู่กับที่หรือถอยหลัง และไม่เป็นข้อเสนออย่างเป็นแผนปฏิบัติการ ประเด็นเล็กประเด็นน้อย

  10. Policy research การวิจัยเชิงนโยบาย (Policy Research) เป็นกระบวนการศึกษาปัญหาพื้นฐานทางสังคม เพื่อให้ได้ข้อเสนอที่เน้นการปฏิบัติที่เป็นไปได้ (possible action oriented recommendations) ที่ผู้กำหนดนโยบายสามารถใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาที่มีประสิทธิผล และนำไปสู่อนาคตที่ดีขึ้นกว่าในปัจจุบัน

  11. ข้อคิด....ทำให้ดีที่สุดข้อคิด....ทำให้ดีที่สุด • ผลจากการวิจัยเป็นเพียงส่วนหนึ่งของบรรดาปัจจัยป้อนเข้า (inputs) ที่จะนำเข้าสู่การตัดสินใจเชิงนโยบาย (policy decision) ยังมีปัจจัยป้อนเข้าอื่นๆ ที่จะต้องนำมาประกอบการตัดสินใจอื่นๆ อีก • การวิจัยเชิงนโยบายไม่ใช่เป็นยาครอบจักรวาลที่จะรักษาได้ทุกโรคในการแก้ปัญหาสังคมนั้น สิ่งที่สามารถกระทำได้ก็คือการแสวงหาข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณค่าเพื่อประกอบการตัดสินใจ โดยคาดหวังว่าจะช่วยให้การแก้ปัญหาเป็นไปด้วยดี • กระบวนการนโยบายจะมีความซับซ้อนยิ่งขึ้นหากปัญหาที่ศึกษานั้นมีความซับซ้อน ผู้วิจัยจะต้องเข้าใจในส่วนของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีอย่างมากมาย ตลอดจนกลไกสนับสนุนต่างๆ ให้ดี มิฉะนั้นก็อาจจะไม่สามารถนำเสนอให้ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้กำหนดนโยบายได้อย่างที่คาดหวัง

  12. ลักษณะสำคัญ... • เป็นพหุมิติ (multi-dimension) มองปัญหาที่ศึกษาด้วยหลากหลายแง่มุม • เป็นวิธีการอุปมานเชิงประจักษ์ (empirico-inductive approach) อุปมานผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างไปสู่ประชากร เพื่อทำให้ข้อสรุปจากการวิจัยใช้อธิบายได้ทั่วไป (generalization) • ให้ความสำคัญทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ไม่กำหนดกรอบตัวแปรไว้อย่างตายตัว แต่เปิดกว้างต่ออิทธิพลและตัวแปรแทรกซ้อนต่างๆ • ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ผลงานวิจัยหรือแหล่งทุน • เขียนให้ดี เสนอให้ดี... แสดงคุณค่า หรือค่านิยม หรือแนวคิด ให้เห็นชัดเจนในนิยามของปัญหา ปัญหาการวิจัย การพัฒนาข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย และการเผยแพร่ผลการวิจัย Better Future

  13. แนวคิดที่สำคัญ.... • แนวคิดเกี่ยวกับ....การออกแบบการวิจัย (design of study) ว่าสามารถจะดัดแปลง (adapting) ผสม (combining) หรือปรับปรุง (improvising) ให้มีความเหมาะสมได้ ส่วนมากแล้วจะไม่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเดี่ยว แต่จะเป็นแบบผสมจากระเบียบวิธีวิจัยประเภทต่างๆ • แนวคิดที่ว่า.....งานวิจัยส่วนใหญ่จะจบลงตรงที่การสรุปผลและการให้ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย แต่การวิจัยเชิงนโยบายจะไม่หยุดลงเพียงข้อเสนอแนะที่ได้มาเท่านั้น แต่จะศึกษาต่อเนื่องเพื่อคาดคะเนถึงโอกาสในการปฏิบัติ (estimating the probability of implementation) ของข้อเสนอแนะนั้นอีกด้วย

  14. วิธีดำเนินการวิจัย... 2 ขั้นตอนหลัก ขั้นตอนแรก การกำหนดหรือจัดทำ “ข้อเสนอเชิงนโยบาย” ขั้นตอนที่สอง การคาดคะเนโอกาสในการปฏิบัติของข้อเสนอ สู่

  15. ขั้นตอนแรก ---- การกำหนดหรือจัดทำ “ข้อเสนอเชิงนโยบาย” ควรออกแบบเป็นวิธีวิทยาการวิจัยแบบผสม (Mixed Methodology) เพื่อให้ได้ข้อมูลจากหลากหลายแหล่ง เช่น...... ข้อมูลจากการศึกษาบริบทของหน่วยงานหรือพื้นที่ที่ทำการวิจัย (contextual study / survey study) อาจเป็นการวิจัยเชิงสำรวจภายในสถาบันหรือภายในพื้นที่ที่กำหนด เช่น เขตพื้นที่การศึกษา จังหวัด ภูมิภาค หรือประเทศ เป็นต้น เพื่อให้ทราบสภาพปัญหาและข้อเสนอแนะ โดยใช้แบบสอบถามแบบปลายเปิดและปลายปิด ---- ถือเป็นข้อมูลจากบริบทที่เป็นจริง จากคนในพื้นที่ ถือเป็นข้อมูลแบบล่างขึ้นบน (bottom-up) เพื่อโอกาสได้ข้อเสนอแนะที่เปิดกว้างอย่างเป็นอิสระของผู้ตอบ ควรเป็นแบบสอบถามแบบปลายเปิด

  16. ขั้นตอนแรก ---- การกำหนดหรือจัดทำ “ข้อเสนอเชิงนโยบาย” ควรออกแบบเป็นวิธีวิทยาการวิจัยแบบผสม (Mixed Methodology) เพื่อให้ได้ข้อมูลจากหลากหลายแหล่ง เช่น..... ข้อมูลจากการศึกษากรณีตัวอย่างที่ประสบผลสำเร็จ (outstanding/best practice) อาจเป็นการศึกษาเฉพาะกรณี (case study) เพื่อหาข้อสรุปรูปแบบการพัฒนาที่ประสบผลสำเร็จนั้น ว่ามีวัตถุประสงค์ของนโยบาย (policy objective) และแนวทางของนโยบาย (policy means) อะไรและอย่างไร ซึ่งหากจะให้มีความหลากหลาย ควรเป็นการศึกษาพหุกรณี (multi-cases study) --- ถือเป็นข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ “นำ/ยืม” นโยบายที่ดีๆ ของเขามาใช้

  17. ขั้นตอนแรก ---- การกำหนดหรือจัดทำ “ข้อเสนอเชิงนโยบาย” ควรออกแบบเป็นวิธีวิทยาการวิจัยแบบผสม (Mixed Methodology) เพื่อให้ได้ข้อมูลจากหลากหลายแหล่ง เช่น.... ข้อมูลเชิงวิชาการ จากทฤษฎี นโยบาย/แผน และผลงานวิจัย จากที่ศึกษาไว้ในบทที่ 2 หรือจากการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) เพิ่มเติม --- ถือเป็นข้อมูลจากภายนอก แบบบนลงสู่ล่าง (top-down) ทั้ง 3 กรณี ... จะทำให้ได้แหล่งข้อมูลจากทั้งบริบทที่เป็นจริง จากกรณีตัวอย่างที่ประสบผลสำเร็จ และจากเชิงวิชาการ แต่หากจะเพิ่มแหล่งข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้คุณวุฒิทางวิชาการ/ทางปฏิบัติประกอบอีกด้วยก็ได้ Content Analysis แหล่งข้อมูลทั้งจากตำรา จากเว็บไซด์ เช่น... จาก...พระบรมราโชวาท...พระราชดำรัส ... จาก พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ จากแผนการศึกษาแห่งชาติ จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จากนโยบายของรัฐบาล จากกระทรวงศึกษาธิการ จากต้นสังกัด จากหลักการ แนวคิด ทฤษฎี จากกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษาศตวรรษที่ 21 จากทัศนะของนักวิชาการ จากงานวิจัย จากการประชุมสัมมนาทางวิชาการ ฯลฯ ให้คำนึงถึงข้อมูลจาก “นอกกรอบที่ทันสมัย” อื่นๆ ด้วย ไม่ยึดแต่นโยบายจากต้นสังกัด จะทำให้ได้ข้อเสนอแนะนโยบายที่ซ้ำๆ เดิม ไม่มีอะไรใหม่ๆ และที่สำคัญ สังคมมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ควรเป็น “แนวคิดใหม่ๆ ปัจจุบัน” ไม่เป็นข้อมูลย้อนหลังหลายปีที่ไม่สอดคล้องกับยุคสมัยปัจจุบันและอนาคตแล้ว

  18. ขั้นตอนแรก --- จัดทำร่าง.. ข้อมูลจาก 3-4 แหล่งดังกล่าว.... ผู้วิจัยจะนำมาสังเคราะห์เพื่อกำหนดเป็น "ร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย” ใน 2 องค์ประกอบสำคัญ คือ วัตถุประสงค์ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น และแนวทางปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น โดยในขั้นตอนการสังเคราะห์ข้อมูลจาก 3-4 แหล่งมาเป็นร่างข้อเสนอเชิงนโยบายนี้ ผู้วิจัยอาจอาศัยหลักการมีส่วนร่วม โดยจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการของ “ผู้มีส่วนได้เสีย” เพื่อให้มีการระดมสมองของคนที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ซึ่งจะทำให้ได้ข้อเสนอเชิงนโยบายที่ผ่านการกลั่นกรองได้ดีกว่าที่ผู้วิจัยจะจัดทำเพียงลำพัง แนวทางปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น กลไกสนับสนุน

  19. เกณฑ์....... ความเป็นได้ ความเป็นประโยชน์ ความยอมรับ ความครอบคลุม ............ ผู้วิจัย + ผู้มีส่วนได้เสีย.....จัดทำร่าง Survey Study Multi-case study Content analysis ข้อมูลที่ได้จากการวิจัย 3 แหล่ง โดยเฉพาะจากการวิเคราะห์เนื้อหา จะมีมากมาย ต้องมีการกลั่นกรอง ตามกรอบประเด็นหลัก โดยใช้เกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนดว่าจะใช้เกณฑ์อะไรบ้าง หากไม่กลั่นกรอง จะทำให้มีข้อเสนอเล็กๆ น้อยๆ มากมาย แหล่ง content analysis ทั้งจากเอกสารและอินเตอร์เน็ต

  20. ร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย...อย่าลืม..มีเป้าหมาย และตรงเป้าหมายตามเกณฑ์ที่กำหนด คาดหวังให้เกิดอะไร.. จะทำได้อย่างไร....มีเงื่อนไข/กลไกสนับสนุนอย่างไร....นำเสนอประเด็นหลักและประเด็นรองที่ขยายความให้เข้าใจถึงแนวปฏิบัติที่เป็นไปได้ แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิผล เกิดสิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม (better future)นำเสนอง่ายต่อการทำความเข้าใจ กระชับ ชัดเจน ไม่วกวน ไม่มากมายเล็กๆ น้อยๆ ... หากมี mind mapประกอบ จะทำให้ชัดเจนขึ้นหรือไม่ ลองทำดู ย้อนกลับไปดูข้อแนะนำการเขียน “ข้อเสนอเชิงนโยบาย” ข้างต้น

  21. ช่วยกันคิด......มีอะไรอีก..ช่วยกันคิด......มีอะไรอีก.. มีข้อคิดเห็นอะไรที่ดีๆๆๆ เพื่อให้ได้ “ร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย” ที่ดีๆๆ ขึ้นอีก

  22. ขั้นตอนที่ 2 -- คาดคะเนโอกาสในการปฏิบัติของข้อเสนอเชิงนโยบาย การคาดคะเนโอกาสในการปฏิบัติของข้อเสนอเชิงนโยบาย นั้น หากพิจารณาจากแนวคิดดั้งเดิม “ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการวิจัย” ดังนี้ 1) การวิเคราะห์อำนาจของผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจนโยบาย 2) การวิเคราะห์ศักยภาพขององค์การ 3) การคาดการณ์ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น 4) การคาดคะเนโอกาสในการปฏิบัติ 5) การจัดเตรียมให้ข้อเสนอแนะสุดท้าย กิจกรรมเหล่านี้สามารถนำเอาหลักการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้เสียมาแทนได้ กล่าวคือ เปลี่ยนจากการที่ “ผู้วิจัย” เป็นผู้ศึกษาวิเคราะห์ในองค์ประกอบด้านต่างๆ ด้วยตนเอง ไปเป็นใช้ “หลักการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้เสีย” มาร่วมกันคิด ร่วมกันวิเคราะห์ และร่วมกันให้ข้อเสนอแนะแทนโดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยในขั้นตอนแรกมาใช้ประกอบการพิจารณา เสมือนเป็นการวิเคราะห์อิทธิพลและท่าทีการสนับสนุนของผู้มีส่วนได้เสียไปด้วยในตัว ขณะเดียวกันก็พิจารณาถึงความเป็นไปได้ไปด้วย จากเกณฑ์ที่กำหนดใช้ประกอบการพิจารณา เช่น เกณฑ์ความเป็นไปได้ (feasible) และเกณฑ์การยอมรับ (acceptable) เป็นต้น ถือเป็น “การวิจัยเชิงนโยบายแบบมีส่วนร่วม” (Participatory Policy Research: PPR)

  23. ขั้นตอนที่ 2 – คาดคะเนโอกาสในการปฏิบัติของข้อเสนอเชิงนโยบาย...กิจกรรมที่ใช้...ตามความเหมาะสม..และตามศักยภาพ เช่น • การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) • การอภิปรายกลุ่มเป้าหมาย (focus group discussion) • การสัมมนากลุ่มย่อย (small group seminar) • การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (operational seminar) • การประชาพิจารณ์ (public hearing) • อื่นๆ ....................

  24. วิจัยเชิงนโยบายแบบมีส่วนร่วม (Participatory Policy Research: PPR) --- ขั้นตอนที่ 1 + ขั้นตอนที่ 2

  25. การนำเสนอผลการวิจัย.. การนำเสนอผลการวิจัยในส่วนที่เป็นการวิเคราะห์ข้อมูล ในบทที่ 4 อาจแยกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 ผลการวิจัยและร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย • ผลการวิจัยเชิงสำรวจ • ผลการวิจัยพหุกรณีศึกษา • ผลการวิจัยเอกสาร (และอื่นๆ ถ้ามีเพิ่มเติม) • ร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย ตอนที่ 2 ผลการคาดคะเนโอกาสในการปฏิบัติและข้อเสนอเชิงนโยบายฉบับสมบูรณ์ • ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก • ผลการสนทนากลุ่มเป้าหมาย • ร่างข้อเสนอเชิงนโยบายที่ปรับแก้จากผลการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มเป้าหมาย (หรือจัดทำเป็นสรุปประเด็นที่มีการปรับแก้) เพื่อนำข้อมูลสู่การประชาพิจารณ์ • ผลการประชาพิจารณ์ (และอื่นๆ ถ้ามีเพิ่มเติม) • ข้อเสนอเชิงนโยบายฉบับสมบูรณ์ สำหรับที่ 5 ควรเป็นการสรุป อภิปรายผล และให้ข้อเสนอแนะในส่วนที่เป็น “ข้อเสนอเชิงนโยบาย” ไม่จำเป็นนำผลการวิจัยในขั้นตอนที่ 1 และผลการคาดคะเนโอกาสในการปฏิบัติด้วยเทคนิคต่าง ๆ มากล่าวถึง

  26. รายงานผลการวิจัย คำแนะนำ ---- การนำเสนอผลการวิจัย ผู้วิจัยควรนำมาเสนอเป็นระยะๆ หรือหลังเสร็จสิ้นการทำวิจัยแต่ละขั้นตอน ไม่รอจนกว่าเสร็จสิ้นทุกขั้นตอน มิฉะนั้นจะเกิดสภาพของภูเขาข้อมูล หรือสภาพได้หน้าลืมหลัง อาจมีผลทำให้นำเสนอข้อมูลไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ปฏิบัติจริง มีความสับสน อันเนื่องจากความเร่งรัดของเวลา ความเหนื่อยล้า ความท้อแท้ใจ ความหลงลืม และความมากมายของข้อมูล

  27. PPR….ผู้วิจัย • เป็นผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (visionary leader) • เป็นนักยุทธศาสตร์ (strategist) • เป็นนักวางแผนยุทธศาสตร์ (strategic planner) • เป็นผู้นำแห่งอนาคต (tomorrow’s leader) • เป็นผู้บริหารเชิงรุก (proactive administrator) • เป็นนักสร้างสรรค์ (creator) • เป็นนักนวัตกรรม (innovator) • เป็นนักบูรณาการ (integrator) • เป็น............ Future - oriented

  28. สิ่งที่ควรทำ...แต่เนิ่นๆสิ่งที่ควรทำ...แต่เนิ่นๆ หากตัดสินใจทำวิจัยเชิงนโยบาย ควรเริ่ม review วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอไว้ในบทที่ 2 เสียแต่เนิ่นๆ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะนำไปสู่ “การวิจัยเอกสาร” หรือ “การวิจัยเนื้อหา” ในขั้นตอนแรกของการวิจัย Review ทั้งจากตำรา จากเว็บไซด์ และแหล่งอื่นๆ โดยเน้น “แนวคิดใหม่ๆ ไม่ล้าสมัย” เพราะหากนำเอาแนวคิดเก่าๆ มาใช้ จะมีผลให้ “การวิจัยเอกสาร” หรือ “การวิจัยเนื้อหา” ในขั้นตอนแรกของการวิจัยได้ “ร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย” ที่เก่าๆ ล้าสมัย ไม่คุ้มค่า เสียเวลาทำวิจัยโดยเปล่าประโยชน์ • แหล่งข้อมูลทั้งจากตำรา จากอินเตอร์เน็ต และอื่นๆ เช่น... • จาก...พระบรมราโชวาท...พระราชดำรัส ... • จาก พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ • จากแผนการศึกษาแห่งชาติ • จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ • จากนโยบายของรัฐบาล จากกระทรวงศึกษาธิการ จากต้นสังกัด • จากหลักการ แนวคิด ทฤษฎี • จากกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษาศตวรรษที่ 21 • จากทัศนะของนักวิชาการ จากงานวิจัย จากการประชุมสัมมนาทางวิชาการ • ฯลฯ

  29. กรณีศึกษา • http://ednet.kku.ac.th/~edad/OLD/Dissertation_Pdf/Kanoung.pdf • http://ednet.kku.ac.th/~edad/OLD/Dissertation_Pdf/Chaiya.pdf • http://ednet.kku.ac.th/~edad/OLD/Dissertation_Pdf/Napadon.pdf • http://ednet.kku.ac.th/~edad/OLD/Dissertation_Pdf/Somphan.pdf • http://ednet.kku.ac.th/~edad/OLD/Dissertation_Pdf/Wichit.pdf • http://ednet.kku.ac.th/~edad/OLD/Dissertation_Pdf/Komsan.pdf • http://ednet.kku.ac.th/~edad/OLD/thesis_new/tapicha.pdf • http://phd.mbuisc.ac.th/case%20study.htm

More Related