1 / 45

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา. รายได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นภาษีฯ. จิตรา ณีศะนันท์ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี. เงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้น. การยกเว้นตามมาตรา 42 การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) การยกเว้นโดยพระราชกฤษฎีกา อาศัยมาตรา 3

len-horn
Download Presentation

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รายได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นภาษีฯ จิตรา ณีศะนันท์ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี

  2. เงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้น • การยกเว้นตามมาตรา 42 • การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) • การยกเว้นโดยพระราชกฤษฎีกา อาศัยมาตรา 3 • การยกเว้นโดยพระราชบัญญัติ เช่น พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน (พ.ศ. 2520)

  3. การยกเว้นตามมาตรา 42 • ม.42(1) ค่าเบี้ยเลี้ยง หรือค่าพาหนะ ซึ่งลูกจ้างหรือผู้รับหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงานให้ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น ป.59/2538 ฎ.1793/2519

  4. กค 0706/2059 ลว. 1 มี.ค. 2547 เงินค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายที่พนักงานได้รับเนื่องจากเดินทางไปปฏิบัติงานตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว จะได้รับยกเว้นภาษี ต้องเป็นกรณีที่พนักงานได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดเพื่อการนั้น และหากพนักงานได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงในอัตราไม่เกินค่าเบี้ยเลี้ยงสูงสุดที่ทางราชการกำหนดจ่ายให้แก่ข้าราชการ ให้ถือว่า ค่าเบี้ยเลี้ยงนั้นเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงซึ่งผู้มีเงินได้ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดเพื่อการนั้น จึงไม่ต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินมาพิสูจน์และได้รับยกเว้นฯ ตาม ม.42(1) แต่ในส่วนค่าเบี้ยเลี้ยงในอัตราที่เป็นส่วนเกิน และไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ว่าได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็น ต้องนำค่าเบี้ยเลี้ยงที่เกินอัตราดังกล่าวมารวมเป็นเงินได้

  5. การยกเว้นตามมาตรา 42_2 • ม.42(2) ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดไว้ โดย พรฎ.ว่าด้วยอัตราค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทาง • ฎ.10146/2539

  6. การยกเว้นตามมาตรา 42_3 • ม.42(3) เงินค่าเดินทางซึ่งนายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง เฉพาะส่วนที่ลูกจ้างได้จ่ายทั้งหมดโดยจำเป็น เพื่อการเดินทางจากต่างถิ่นในการเข้ารับงานเป็นครั้งแรกหรือในการกลับถิ่นเดิม เมื่อการจ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ข้อยกเว้นนี้มิให้รวมถึงเงินค่าเดินทางที่ลูกจ้างได้รับในการกลับถิ่นเดิม และในการเข้ารับงานของนายจ้างเดิมภายใน 360 วันนับแต่วันที่การจ้างครั้งก่อนได้สิ้นสุดลง

  7. การยกเว้นตามมาตรา 42_4 • ม.42(4) ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญากัน โดยสุจริตก่อนใช้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พุทธศักราช 2475 มีข้อกำหนดว่า นายจ้างจะชำระเงินบำเหน็จ เงินค่าธรรมเนียม เงินค่านายหน้า หรือเงินโบนัส ให้แก่ลูกจ้างในจำนวนเดียว เมื่อการงานที่จ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว แม้เงินเต็มจำนวนนั้นจะได้ชำระภายหลังที่ใช้บทบัญญัติในส่วนนี้ก็ดี เงินบำเหน็จ เงินค่าธรรมเนียม เงินค่านายหน้า หรือเงินโบนัสส่วนที่เป็นค่าจ้างแรงงานอันได้ทำในเวลาก่อนใช้ พ.ร.บ. ภาษีเงินได้ พุทธศักราช 2475 นั้น ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้

  8. การยกเว้นตามมาตรา 42_5 • ม.42(5) เงินเพิ่มพิเศษประจำตำแหน่ง และเงินค่าเช่าบ้าน หรือบ้านที่ให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า สำหรับข้าราชการสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ • ม.42(6) เงินได้จากการขาย หรือส่วนลดจากการซื้ออากรแสตมป์ หรือแสตมป์ไปรษณียากรของรัฐบาล • ม.42(7) เบี้ยประชุมกรรมาธิการหรือกรรมการ หรือค่าสอน ค่าสอบที่ทางราชการ หรือสถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้

  9. การยกเว้นตามมาตรา 42_6 • ม.42(8) ดอกเบี้ย ดังต่อไปนี้ • (ก) ดอกเบี้ยสลากออมสิน หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของรัฐบาลเฉพาะประเภทฝากเผื่อเรียก • (ข) ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์ • (ค) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม ประเภทออมทรัพย์ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวในจำนวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน 20,000 บาท* ตลอดปีภาษีนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

  10. การยกเว้นตามมาตรา 42_7 • ม.42(9) การขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แต่ไม่รวมถึงเรือกำปั่น เรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป หรือ แพ • กค 0706/4268 ลว. 26 พ.ค. 2548

  11. การยกเว้นตามมาตรา 42_8 • ม.42(10) เงินที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก หรือจากการให้โดยเสน่หาในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี • กค.0706(กม.06)/202 ลว 2 มี.ค. 2548 • กค.0706/ 1689 ลว. 25 ก.พ. 2548 • กค.0706/5662 ลว. 12 ก.ค. 2548 • ฎ.1680/2517, ฎ.1561/2524 • ฎ.1262/2520

  12. การยกเว้นตามมาตรา 42_9 • ม. 42(11) รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการ รางวัลสลากกินแบ่งหรือสลากออมสินของรัฐบาล รางวัลที่ทางราชการจ่ายให้ในการประกวดหรือแข่งขัน ซึ่งผู้รับมิได้มีอาชีพในการประกวดหรือแข่งขัน หรือสินบนรางวัลที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการปราบปรามการกระทำความผิด • ม.42(12) บำนาญพิเศษ บำเหน็จพิเศษ บำนาญตกทอดหรือบำเหน็จตกทอด

  13. กค.0706/1627 ลว. 24 กพ. 2548 พนักงานเทศบาล มิใช่ข้าราชการพลเรือนตามความหมายใน พรบ. บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 เมื่อถึงแก่ความตาย เงินบำเหน็จบำนาญที่ได้รับจึงไม่เข้าลักษณะเป็นบำเหน็จตกทอดอันจะได้รับยกเว้นไม่ต้องคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(12) เพราะบำเหน็จตกทอดอันจะได้รับยกเว้นภาษีนั้น ผู้ถึงแก่ความตายจะต้องเป็นข้าราชการและเป็นการจ่ายให้ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการขอรับและจ่ายบำเหน็จบำนาญข้าราชการเท่านั้น เงินบำเหน็จที่สำนักงานเทศบาลจ่ายให้แก่ทายาทของพนักงานเข้าลักษณะเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1)

  14. การยกเว้นตามมาตรา 42_10 • ม.42(13) ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เงินที่ได้จากการประกันภัย หรือการฌาปนกิจสงเคราะห์ • ฎ. 2366/ 2516 ค่าเสียหายตามสัญญา เนื่องจากการผิดสัญญาไม่ได้รับยกเว้นภาษี • ม.42(14) เงินส่วนแบ่งกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลซึ่งต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ แต่ไม่รวมถึงเงินส่วนแบ่งกำไรจากกองทุนรวม

  15. การยกเว้นตามมาตรา 42_11 • ม.42(15) เงินได้ของชาวนาที่ได้จากการขายข้าว อันเกิดจากกสิกรรมที่ตนหรือครอบครัวได้ทำเอง • ม.42(16) เงินได้ที่ได้รับจากกองมรดกซึ่งต้องเสียภาษีตามความในมาตรา 57 ทวิ • ม.42(17) เงินได้ตามที่จะได้กำหนดยกเว้นโดยกฎกระทรวง • ม.42(18)รางวัลสลากบำรุงกาชาดไทย เงินได้จากการขายหรือส่วนลดจากการซื้อสลากบำรุงกาชาดไทย

  16. การยกเว้นตามมาตรา 42_12 • ม.42(19) ดอกเบี้ยที่ได้รับตามมาตรา 4 ทศ • ม.42(20) เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวม • ม.42(21) เงินได้ของกองทุนรวม • ม. 42(22) เงินประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนได้รับจากกองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม

  17. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (1) เงินได้จากกิจการของโรงเรียนเอกชนซึ่งได้ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายของ การรับจ้างทำของ หรือการให้บริการอื่นใดที่โรงเรียนเอกชน ซึ่งเป็นโรงเรียนอาชีวศึกษาได้รับจากผู้ซึ่งมิใช่นักเรียน กค.0706/7572 ลว. 8 ก.ย. 2548

  18. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_1 (2)เงินได้จากการจำหน่าย หรือส่วนลดจากการจำหน่ายสลากกินแบ่งของรัฐบาล (3)เงินได้ส่วนที่เป็นค่าจ้างการทำงาน ในระหว่างเวลาปิดภาคการศึกษาของคนต่างด้าวซึ่งเป็นนักเรียน นักศึกษา หรือนิสิตที่เข้ามาศีกษา ณ สถานศึกษาในประเทศไทย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน

  19. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_2 (4) เงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้ หรือจ่ายแทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาล สำหรับ (ก)ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับการรักษาพยาบาลที่กระทำในประเทศไทย (ข) ลูกจ้างในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ จำนวนเงินดังกล่าวได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น

  20. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_3 (6) เงินได้ที่ทางราชการจ่ายให้เป็นเงินค่าเช่าบ้าน หรือเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินช่วยการศึกษาบุตร เงินช่วยเหลือบุตร เงินค่าเบี้ยกันดาร เงินยังชีพ หรือเงินค่าอาหารทำการนอกเวลา (8)เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เท่าที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความเป็นจริง หรือเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่รัฐวิสาหกิจดังกล่าวให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า และรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายมิได้ออกค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวให้

  21. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_4 (9)เงินช่วยการศึกษาบุตร เงินช่วยเหลือบุตร เงินค่าเบี้ยกันดาร หรือเงินยังชีพที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ในอัตราเดียวกับที่ทางราชการจ่ายให้แก่ข้าราชการและรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวให้ (10)รางวัลที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการป้องกันมิให้มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับภาษีอากร

  22. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_5 (12)เงินได้ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลต่างประเทศซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยได้รับจากรัฐบาลของตน ทั้งนี้ โดยให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน (13) เงินได้ส่วนที่เป็นเงินเดือนและเงินใดๆบรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับจ้างให้ที่คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้แทนของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย ได้รับจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ

  23. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_6 (15)เงินได้ที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและกระทรวงการคลังได้อนุญาตให้เบิกจ่ายได้ กค 0706/395 ลว 17 ม.ค. 2548

  24. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_7 (16)เงินได้ส่วนที่เป็นเงินเดือนค่าจ้างและเงินใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ ที่คนต่างด้าวซึ่งไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้รับจาก (ก)คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นฐานในการปฏิบัติงานในประเทศไทย (ข)รัฐบาลแห่งประเทศของตนในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้อพยพจากอินโดจีนในประเทศไทย

  25. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_8 (17)เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา ที่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล สุขาภิบาล หรือเมืองพัทยา หรือการปกครองท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ ทั้งนี้ เฉพาะเงินได้จากการขายในส่วนที่ไม่เกิน 200,000บาท ตลอดปีภาษีนั้น

  26. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_9 (18)เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตนโดยไม่มีค่าตอบแทน บุตรชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมด้วย

  27. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_10 (22)ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (23)เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายหลักทรัพย์ที่เป็นหุ้นกู้หรือพันธบัตร (29)เงินค่าทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะที่ดินที่ต้องเวนคืนและอสังหาริมทรัพย์อื่นบนที่ดินที่ต้องเวนคืน

  28. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_11 (32)เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมที่จัดตั้งตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงเงินหรือผลประโยชน์ใดๆที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

  29. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_12 (34)เงินได้ที่คำนวณได้จากมูลค่าของเครื่องแบบซึ่งลูกจ้างได้รับจากนายจ้าง ในจำนวนคนละไม่เกิน 2 ชุดต่อปี และเสื้อนอกในจำนวนคนละไม่เกิน 1 ตัวต่อปี (35)เงินได้เท่าที่ลูกจ้างจ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้างเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 290,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น

  30. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_13 (36)เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ...เมื่อลูกจ้างออกจากงาน เพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย (ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 52) กค 0706/5342 ลว. 30 พค. 2550

  31. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_14 (37) เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้จากกิจการเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ทั้งนี้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวจะต้องมิได้ประกอบกิจการอื่นนอกจากกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

  32. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_15 (38)ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวในจำนวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน 20,000 บาทตลอดปีภาษีนั้น

  33. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_16 (41) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไปนี้ (ก) บ้าน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ประโยชน์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย (ข) อสังหาริมทรัพย์ตาม (ก) พร้อมที่ดิน (ค) ห้องชุดสำหรับการอยู่อาศัยในอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้อสังหาริมทรัพย์ตาม (ก) (ข) หรือ (ค) โดยจดทะเบียนการได้มาใน พ.ศ. 2540 และขายอสังหาริมทรัพย์นั้นภายหลังการจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 1 ปี แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2550

  34. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_17 (43)เงินได้เท่าที่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น

  35. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_18 (44)เงินหรือประโยชน์ใดๆ ที่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้รับจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เนื่องจากออกจากราชการ เพราะเหตุสูงอายุ เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทนหรือตาย ประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 70)

  36. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_19 (53) เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ หรือนายจ้าง สำหรับการกู้ยืมเงิน เพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 40,000 บาท ประกาศอธิบดีฯ ฉบับที่ 88

  37. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_20 (55) เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ จะต้องมีจำนวนไม่เกิน 300,000 บาท กรณีที่ผู้มีเงินได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่งเมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ต้องไม่เกิน 300,000 บาท

  38. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_21 (61) เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยในปีภาษีสำหรับการประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000บาท แต่ไม่เกิน 40,000บาทเฉพาะในกรณีที่กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10ปีขึ้นไป และการประกันชีวิตนั้นได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร ทั้งนี้ สำหรับเบี้ยประกันภัยที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 ประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 112)

  39. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_22 (62) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไปนี้ (ก) บ้าน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ประโยชน์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย (ข) อสังหาริมทรัพย์ตาม (ก) พร้อมที่ดิน (ค) ห้องชุดสำหรับการอยู่อาศัยในอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับกรณีการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งผู้มีเงินได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญ โดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง การได้รับตามวรรคหนึ่ง ต้องปรากฏว่า ภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีก่อน หรือนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ผู้มีเงินได้ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย และให้ได้รับยกเว้นเท่ากับจำนวนมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว แต่ไม่เกินจำนวนมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่

  40. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_23 (65) เงินหรือผลประโยชน์ใดๆที่ได้รับ เนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก และเงินหรือผลประโยชน์ดังกล่าวคำนวณมาจากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตาม (55)

  41. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_24 (66) เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ได้มีการจดทะเบียนเป็นกองทุนรวมภายในวันที่ 30 มิ.ย. 2550 ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาทและต้องเป็นเงินได้ของบุคคลธรรมดา เท่านั้น ประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 133)

  42. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_25 (68) เงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนตามมาตรา 47(1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) เท่าจำนวนเงินที่ได้บริจาคเพื่อการกีฬา... แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคตามมาตรา 47(7) ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของ เงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนดังกล่าว

  43. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_26 (69) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร เฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป แต่เมื่อรวมกับดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทรวมกันแล้วต้องมีจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 30,000 บาท และผู้มีเงินได้มีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี บริบูรณ์

  44. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_27 (70) เงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนตามมาตรา 47(1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) เท่าจำนวนเงินที่ได้บริจาคให้แก่ส่วนราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น... แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคตามมาตรา 47(7) ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนดังกล่าว ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี 2547

  45. การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126_28 (72) เงินได้ที่มีผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีอายุไม่ต่ำกว่า 65 ปี บริบูรณ์ในปีภาษีได้รับเงินได้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาททั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548

More Related