1 / 44

สารพิษจากแบคทีเรีย ( Bacterial Toxins)

สารพิษจากแบคทีเรีย ( Bacterial Toxins). FoOd hYgiEne 1 / 2549. เอนทีโรทอกซิน( Enterotoxin ). แบคทีเรียสามารถผลิตสารพิษและเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอาหารได้ เนื่องจากมี เอนทีโรทอกซิน( enterotoxin ) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. เอกโซทอกซิน ( exotoxin )

lucas
Download Presentation

สารพิษจากแบคทีเรีย ( Bacterial Toxins)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สารพิษจากแบคทีเรีย (Bacterial Toxins) FoOd hYgiEne 1 / 2549

  2. เอนทีโรทอกซิน(Enterotoxin) แบคทีเรียสามารถผลิตสารพิษและเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอาหารได้ เนื่องจากมี เอนทีโรทอกซิน(enterotoxin) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. เอกโซทอกซิน (exotoxin) 2. เอนโดทอกซิน (endotoxin)

  3. เอนทีโรทอกซิน(Enterotoxin) 1. เอกโซทอกซิน (Exotoxin) • เป็นสารพิษที่เชื้อจุลินทรีย์สร้างขึ้นและปล่อยออกสู่ภายนอกเซลล์ระหว่างการเจริญเติบโต • เป็นชนิดกรัมบวก (gram +ve) • สารพิษที่ปล่อยออกมา : สารประกอบโปรตีน ซึ่งเป็นสารแอนติเจนและมีพิษรุนแรงมาก (เปลี่ยนเป็นสารที่ออกฤทธิ์หลังจากระยะเวลาหนึ่ง คื่อมีระยะพักตัว) • สารพิษปล่อยออกมาโดย : Clostridium botulinum เรียกว่าโบทูลิน (botulin toxin) สารพิษนี้เป็นโปรตีนที่ออกฤทธิ์เป็นพิษต่อระบบประสาท : Clostridium perfringens : Staphylococus aureus เป็นแบคทีเรียชนิดที่พบมากที่สุดที่ทำให้อาหารเป็นพิษ • อาการพิษที่เกิดขึ้น : คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง และปวดท้อง • พบในอาหารที่มาจากสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ เนยแข็ง อาหารพวกสลัดบางชนิด

  4. เอนทีโรทอกซิน(Enterotoxin) 2. เอนโดทอกซิน (Endotoxin) • เป็นสารพิษที่ถูกสร้างขึ้นและอยู่ภายในเซลล์ของเชื้อจุลินทรีย์ ปล่อยออกมาเมื่อเซลล์ถูกทำลาย • มักเกิดกับแบคทีเรียชนิดกรัมลบ (gram -ve) • ออกฤทธิ์เหมือนเป็นแอนติเจน จะจับอยู่อย่างเหนียวแน่นกับผิวของเซลล์แบคทีเรีย และเป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่ประกอบด้วยโปรตีน ลิพิด และพอลิแซ็กคาไรด์ • ทนความร้อนและออกฤทธิ์ทันทีโดยไม่มีระยะพักตัว • อาการ : เป็นไข้ชนิด typhus และ paratyphus fevers เรียกว่า salmonellosis และท้องร่วงชนิดมีเชื้อ (bacterial dysentery) • อาหารที่ทำให้มีโอกาสติดเชื้อ : ผลิตภัณฑ์ไข่ เนื้อไก่แช่แข็ง เนื้อบด และผลิตภัณฑ์ลูกกวาดและลูกอม

  5. สาเหตุของความเป็นพิษที่เกิดจากแบคทีเรียสาเหตุของความเป็นพิษที่เกิดจากแบคทีเรีย เช่น • ได้รับสารพิษที่แบคทีเรียสร้างโดยตรง เช่น เชื้อคลอสตอริเดียมโบทูลินัม (Clostridium botulinum) และ สแตพฟิโลคอกคัส (Staphylococcus aureus) • ได้รับสปอร์ของเชื้อ เช่น Clostridium perfringens และ Bacillus cereus • การติดเชื้อโดยตรง เช่น เชื้อซาลโมเนลลา (Salmonell spp.) หรือ Shigella spp. • โรคที่เกิดขึ้นโดยยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดจากเชื้อบางชนิด เช่น เชื้อProteus spp., Escherichia coli และ Pseudomonas spp.

  6. เชื้อแบคทีเรีย ชนิดต่างๆ FoOd hYgiEne 1 / 2549

  7. ซาลโมเนลลา (Salmonella) ลักษณะของเชื้อ • เป็นแบคทีเรียลักษณะรูปท่อน • เคลื่อนที่โดยใช้แฟลกเจลลารอบเซลล์ • การเติบโต : -ต้องการออกซิเจน, -อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 37 ํc, -ช่วง pH4.1-9.0, -Aw (ปริมาณน้ำอิสระในอาหารที่จุลินทรีย์นำไปใช้ในการเติบโต) ประมาณ 0.93-0.95

  8. ซาลโมเนลลา (Salmonella) แหล่งที่มาของเชื้อ • น้ำและอาหารสู่คน • สัตว์สู่คนและสัตว์อื่นๆ • อาหารที่มักจะพบเชื้อ :- พายเนื้อ ไส้กรอก แฮม เบคอน แซนวิซ- อาหารที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง- เนื้อไก่ ไข่ นม ผลิตภัณฑ์ปลา และอาหารทะเลที่ไม่ได้ผ่านความร้อนเพียงพอ- อาหารสุกๆ ดิบๆ เช่น แหนม ลาบ ยำ ปูเค็ม ปูดอง ผักสด

  9. ซาลโมเนลลา (Salmonella) อันตรายของเชื้อ • ซาลโมเนลลาเป็นแบคทีเรียที่ทำให้อาหารเป็นพิษที่เรียกว่า Salmonellosis • เมื่อร่างกายรับเชื้อ --> เชื้อโรคจะมุ่งเข้าสู่เซลล์น้ำเหลืองของลำไส้เล็ก และจะเจริญแบ่งตัวที่นั่น (ยังไม่มีอาการ เป็นระยะฟักตัว) --> เชื้อแพร่เข้าสู่กระแสเลือดกระจายสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย --> เริ่มแสดงอาการ • อาการจะเกิดขึ้นหลังบริโภคประมาณ 6-48 ชั่วโมง, มีอาการอยู่ในระหว่าง 1-5 วัน • อาการทั่วไป : ชีพจรเต้นช้ากว่าปกติ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ปวดศรีษะ ปวดท้อง มีไข้ หนาวสั่น และอ่อนเพลีย • ผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคนี้มักเนื่องจากเลือดออกในลำไส้เล็ก และลำไส้ทะลุ • โรคที่เกิดจากเชื้อซาลโมเนลลาที่สำคัญได้แก่ โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (Gastroenteritis) โรคโลหิตเป็นพิษ (Septicemia) และไข้ไทฟอยด์ (Typhoid Fever) • เชื้อซาลโมเนลลาปริมาณประมาณ 108-109เซลล์ สามารถทำให้เกิดโรค Salmonellosis ได้

  10. ซาลโมเนลลา (Salmonella) อันตรายของเชื้อ : กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ • สาเหตุ : เชื้อ S.typhimuruim • เชื้อมีระยะฟักตัว 4-48 ชั่วโมง • อาการ : ในระยะแรกจะคลื่นไส้ อาเจียน เจ็บปวดบริเวณท้อง หรือท้องร่วง อุณหภูมิร่างกายสูงถึง 38-39 องศาเซลเซียส และจะพบเม็ดเลือดขาวปะปนมากับอุจจาระด้วย อาการผู้ป่วยจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 5 วัน ไม่ว่าจะได้รับการรักษาหรือไม่ก็ตาม

  11. ซาลโมเนลลา (Salmonella) อันตรายของเชื้อ : โลหิตเป็นพิษ • สาเหตุ : เชื้อ S.cholerasuis อยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน เชื้อจะเข้าสู่กระแสเลือด และสามารถแพร่กระจายไปเจริญตามส่วนต่างๆ ของร่างกายทำให้เกิดการอักเสบที่อวัยวะต่างๆ เช่น ไต ตับ ม้าม หัวใจ ปอด และเยื่อหุ้มประสาทเป็นต้น • อาการ : ครั่นเนื้อครั่นตัว หรือหนาวสั่น เบื่ออาหาร และน้ำหนักตัวลดลง

  12. ซาลโมเนลลา (Salmonella) อันตรายของเชื้อ : ไข้ไทฟอยด์ • สาเหตุ : เชื้อ S.typi และ S.paratyphi ชนิด A, B, C • การรับเชื้อ : - โดยตรงจากผู้ป่วย หรือผู้ที่เป็นพาหะ- ได้รับเชื้อทางอ้อม โดยปนเปื้อนอยู่ในอาหารหรือน้ำ - เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว เชื้อมีระยะฟักตัว 3-35 วัน แต่โดยทั่วไปประมาณ 7-14 วัน • อาการ : หนาวสั่น อ่อนเพลีย ปวดศรีษะ ปวดหลัง ท้องร่วง และมีอุจจาระเหม็นมาก ในบางรายอาจเกิดหลอดลมอักเสบได้ อุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น 39-40 องศาเซลเซียส จะมีอาการเช่นนี้นาน 1-2 สัปดาห์ และอาการไข้จะค่อยๆ ลดลง จนกระทั่งถึงสัปดาห์ที่ 4 จะไม่มีอาการไข้เลย ในผู้ป่วยที่ไม่ได้มีการรักษาจนถึงสัปดาห์ที่ 2-3 จะเกิดจุดสีแดงขนาดประมาณ 2-5 มิลลิเมตรตามผิวหนัง เนื่องมาจากเชื้อแพร่กระจายอยู่ตามเส้นเลือดฝอยจำนวนมาก ผู้ป่วยอาจมีอาการทางสมองเลอะเลือน คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง เจ็บคออย่างรุนแรง ชีพจรเต้นเร็ว มีเลือดออกตามบริเวณลำไส้ และอุจจาระจะมีเนื้อเยื้อเมือกออกมาด้วย

  13. ซาลโมเนลลา (Salmonella) การป้องกัน • เชื้อทำลายได้ง่ายที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นาน 4-5 นาที หรือ 100 องศาเซลเซียส นาน 1 นาที • รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ และรับประทานในขณะที่ยังร้อน • แช่เย็นที่อุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียสจะยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อซาลโมเนลลาได้ • ไข่มีเชื้อซาลโมเนลลาเข้าไปได้ จึงควรจะปรุงให้สุกด้วยความร้อนที่พอเหมาะ • ล้างอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ที่ใช้ในการบรรจุ หั่นหรือรองหั่นอาหารที่ใช้เสร็จแล้วให้สะอาด

  14. สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) ลักษณะของเชื้อ • เป็นแบคทีเรียที่มีลักษณะกลม เรียงตัวเป็นกลุ่มคล้ายพวงองุ่น หรือเป็นคู่ หรือเป็นสายสั้นๆ ไม่เคลื่อนที่ • โคโลนีมีสีเหลืองหรือสีทอง • สภาพที่เหมาะต่อการเจริญเติบโต :- สภาพอากาศที่มีออกซิเจน, - ช่วงอุณหภูมิ 35-40 องศาเซลเซียส, - ช่วง pH 7-7.5, - Aw ต่ำสุดสำหรับการเติบโตในสภาพมีออกซิเจน 0.86 สภาพไม่มีออกซิเจน 0.90

  15. สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) แหล่งที่มาของเชื้อ • อากาศ ฝุ่นละออง ขยะมูลฝอย น้ำ อาหารและนม หรืออาหารบรรจุเสร็จ ส • ภาวะแวดล้อมภายนอกมนุษย์และสัตว์ ทางเดินหายใจ ลำคอ หรือ เส้นผมและผิวหนังถึง 50% หรือมากกว่านี้ในคนที่มีสุขภาพดี • อาจพบเชื้อชนิดนี้ 60-80% ในผู้ที่สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วยหรือผู้ที่สัมผัสกับสภาพแวดล้อมในโรงพยาบาล • ผู้ประกอบอาหาร รวมทั้งในขั้นตอนของการบรรจุและสภาพแวดล้อมภายที่ทำให้เกิดการปนเปื้อน • อาหารที่มักพบเชื้อปนเปื้อนได้แก่ เนื้อและผลิตภัณฑ์เนื้อ เนื้อสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์จากไข่ อาหารประเภทสลัดเช่น ไข่ ทูน่า เนื้อไก่ มันฝรั่ง และมักกะโรนี ผลิตภัณฑ์ขนมอบ ครีมพาย เอแคลร์ ชอกโกแลต แซนวิช และผลิตภัณฑ์นม ที่เก็บไว้ในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม และเก็บไว้เป็นเวลานานก่อนรับประทาน

  16. สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) อันตรายของเชื้อ (1) • บางสายพันธุ์สามารถสร้างสารพิษ คือ เอนเทอโรทอกซิน ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทนต่อความร้อนได้ดี ทำให้อาหารเป็นพิษ • เอนเทอโรทอกซินที่ผลิตมีหลายชนิด แต่ชนิดที่พบว่าทำให้เกิดอาหารเป็นพิษบ่อย คือ ชนิดเอ และดี • ช่วงอุณหภูมิที่เชื้อชนิดนี้จะผลิตเอนเทอโรทอกซินอยู่ระหว่าง 15.6 และ 46.1 องศาเซลเซียส และผลิตได้ดีที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส • อุณหภูมิในการหุงต้มธรรมดาหรืออุณหภูมิน้ำเดือนจึงไม่สามารถทำลายสารพิษชนิดนี้ได้ • โรคอาหารเป็นพิษที่เกิดจากเชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียสนั้นมีชื่อเรียกว่า Stapyhloenterotoxicosis และStaphylorenterotoxemia

  17. สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) อันตรายของเชื้อ (2) • อาการทั่วไป : คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน เป็นตะคริวในช่องท้องและอ่อนเพลีย ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอื่นแทรกซ้อน หลายรายจะมีอาการปวดหัว เป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อ และมีการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิตเป็นระยะๆ รวมทั้งอาจมีการเต้นของชีพจรผิดปกติซึ่งโดยทั่วไปอาการจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน • อาหารที่มีสารพิษปนเปื้อนในปริมาณน้อยกว่า 1 ไมโครกรัมจะสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้

  18. สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) การป้องกัน • ผู้ปรุงต้องไม่ไอหรือจามรดอาหาร • ควรรับประทานอาหารขณะร้อน • การเก็บรักษาอาหารควรเก็บไว้ในตู้เย็น ไม่ควรเก็บอาหารที่เตรียมเสร็จแล้วไว้ในที่ที่อุณหภูมิสูง เพราะจะเป็นสาเหตุให้มีการเพิ่มจำนวนเชื้ออย่างรวดเร็วซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นกรณีที่พบได้บ่อย • ก่อนที่จะรับประทานอาหาร ต้องนำอาหารมาอุ่นให้ร้อนเสียก่อนทุกครั้ง

  19. บาซิลลัส ซีเรียส (Bacillus Cereus) ลักษณะของเชื้อ • เป็นแบคทีเรียที่มีลักษณะเป็นรูปท่อนตรง • ขนาด 0.3 – 2.2 x 1.2 – 7.0 ไมโครเมตร • ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ • การเติบโต : อุณหภูมิ 30-37 องศาเซลเซียส บางสายพันธุ์เติบโตได้ที่อุณหภูมิ 4-5 องศาเซลเซียส, pH 6-7, สามารถเติบโตได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน • สร้างสปอร์และสร้างสารพิษ ซึ่งจะขับสารพิษออกมาขณะปนเปื้อนอยู่ในอาหาร • สร้างสารพิษเมื่ออยู่ภายใต้สภาพที่มีออกซิเจนน้อย

  20. บาซิลลัส ซีเรียส (Bacillus Cereus) แหล่งที่มาของเชื้อ • พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ ในดิน ฝุ่นละออง • ผลิตภัณฑ์จากพืช เช่น ข้าว ธัญพืช แป้ง, ผลิตภัณฑ์จากแป้ง เครื่องเทศ, ผลิตภัณฑ์จากสัตว์, เครื่องปรุงแต่รสต่างๆ • ในอุจจาระของคนที่มีสุขภาพปกติพบได้ประมาณ 15% • อาหารที่พบว่ามีการปนเปื้อนจนทำให้เกิดอาการอาเจียนได้แก่ อาหารประเภทข้าว และแป้ง อาทิ มักกะโรนี และข้าวผัด เนยแข็ง ผลิตภัณฑ์จากวานิลลาที่ทำในลักษณะยัดไส้ครีม • อาหารที่พบว่ามีการปนเปื้อนของเชื้อจนทำให้เกิดอาการท้องร่วง ได้แก่ ผักต่างๆ สลัด อาหารที่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบ ซอส ซุป และอาหารที่มีแป้งและครีมเป็นส่วนประกอบ

  21. บาซิลลัส ซีเรียส (Bacillus Cereus) อันตรายของเชื้อ • การเกิดพิษมี 2 ลักษณะอาการคือ ทำให้อาเจียน (Emetic illness) และทำให้ท้องเสีย (Diarrhea illness) • อาการอาเจียน มักเกิดจากการได้รับสารพิษชนิดที่มีความคงทน มีชีวิตรอดได้ในอุณหภูมิสูงและค่าความเป็นกรด-ด่างสูง โดยผู้ป่วยจะเกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียนภายหลังจากการบริโภคอาหารที่มีสารพิษเข้าไป 11-15ชั่วโมง แต่โดยทั่วไปมักปรากฎอาการใน30 นาทีถึง 6 ชั่วโมง • อาการท้องเสีย มักเกิดจากสารพิษชนิดที่ไม่ทนความร้อนและกรด ตามปกติใช้เวลาฟักตัวประมาณ 6-12 ชั่วโมง หลังจากบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนสารพิษของเชื้อ อาการประกอบด้วย การปวดท้องและถ่ายอุจจาระเหลว เนื่องจากมีน้ำมาก โดยทั่วไปอาการจะทรงอยู่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง แล้วจะทุเลาลง

  22. บาซิลลัส ซีเรียส (Bacillus Cereus) การป้องกัน • ในขั้นตอนของการจัดเตรียม การเก็บรักษา และการขน ส่งอาหารจึงต้องกระทำอย่างระมัดระวัง และรักษาความสะอาด โดยเฉพาะอาหารที่ทำให้สุกแล้ว ไม่ควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องนานเกินควร

  23. คลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) ลักษณะของเชื้อ • เป็นแบคทีเรียมี รูปร่างเป็นท่อน • ติดสีแกรมบวก • สร้างสปอร์รูปไข่อยู่ค่อนทางปลายเซลล์ • เจริญได้ดีที่อุณหภูมิประมาณ 30-37 องศาเซลเซียสในสภาวะไม่มีออกซิเจน • ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมเชื้อสามารถสร้าง สปอร์ ซึ่งจะเปลี่ยนรูปร่างเป็นเซลล์ เมื่อสภาพเหมาะสมและเข้าสู่ระยะฟักตัว เจริญเติบโตเพิ่มจำนวนและสร้างสารพิษ เชื้อจะเพิ่มจำนวนเป็นสองเท่าทุกๆ 20-30 นาที

  24. คลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) แหล่งที่มาของเชื้อ • ในสิ่งแวดล้อม แยกได้จาก ดิน น้ำ ผัก เนื้อ นม ลำไส้ของปลา เหงือก และสัตว์ทะเลอื่นๆ • อาหารที่อยู่ในสภาพไร้ออกซิเจน ซึ่งผ่านความร้อนไม่เพียงพอ เช่น อาหารกระป๋อง ไส้กรอกเป็นต้น

  25. คลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) อันตรายของเชื้อ • การสร้างสารพิษของ Clostridium botulinumมีผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนปลายโดยสารพิษจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตและไปสู่เซลล์ของระบบประสาทส่วนกลาง • สารพิษออกฤทธิ์ที่ neuromuscular junction โดยจะไปสกัดการหลั่งสารสื่อประสาท acetylcholine หรือขัดขวางการสร้าง acetylcholine • กระแสประสาทไม่สามารถผ่านสู่กล้ามเนื้อได้ จึงเกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ เป็นสาเหตุของการเกิดอัมพาต

  26. คลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) อันตรายของเชื้อ : Botulinum Toxins (1) • Botulinum toxin หรือneurotoxin แบ่งได้ 8 ชนิดได้แก่ A ,B , C , C , D , E , F และ G • แบ่งตามสายพันธุ์ที่มีการสร้างสารพิษออกเป็น 2 สายพันธุ์ คือ proteolytic endospore และ non proteolytic endospore

  27. คลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) อันตรายของเชื้อ : Botulinum Toxins (2) สารพิษที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ และ เป็นอันตรายต่อมนุษย์ มี 4 ชนิดได้แก่ • ชนิด A (ออกฤทธิ์รุนแรง)อาการกลืนน้ำลายลำบาก มีอัตราการตายสูงถึงร้อยละ 60-70 สารพิษชนิดนี้ส่วนใหญ่จะเป็นสายพันธุ์ proteolytic endospore อาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อชนิดนี้จะมีกลิ่นเหม็น • ชนิด B อาการเป็นอัมพาต มีอัตราการตายร้อยละ 25 สารพิษชนิดนี้สามารถสร้างได้ทั้งสายพันธุ์ที่เป็น proteolytic endospore และ สายพันธุ์ non proteolytic endospore ซึ่งเป็นชนิดที่ทนความร้อนสูง และมีชีวิตอยู่ในอาหารได้นาน • ชนิด E พบการระบาดในอาหารทะเล สร้างโดยสายพันธุ์ non proteolytic endospore อาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อชนิดนี้จะมีกลิ่นผิดปกติเล็กน้อย สามารถทำลายได้ง่ายโดยการต้ม • ชนิด Fพบในอาหารทะเล พบการระบาดได้ประปราย มีอัตราการตายต่ำ

  28. คลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) อันตรายของเชื้อ : กรณีหน่อไม้ปี๊บ • หน่อไม้มีการปนเปื้อนด้วยเชื้อClostridium botulinumและผลการตรวจวิเคราะห์พบว่า Clostridium botulinum toxin positive สำหรับหน่อไม้อัดปี๊บที่พบการปนเปื้อนของสารพิษ neurotoxin คาดว่าสาเหตุมาจากหน่อไม้ที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาจมีการปนเปื้อนด้วยสปอร์ของเชื้อ Clostridium botulinumซึ่งในขั้นตอนการผลิตอาจให้ความร้อนที่ไม่ทั่วถึง ทำให้ไม่สามารถทำลายสปอร์ของเชื้อได้ การต้มในขณะผลิตจะช่วยไล่ออกซิเจนออกจากปี๊บ หลังจากทำการปิดปิ๊บจะทำให้สภาวะภายในปิ๊บอยู่ในสภาพขาดออกซิเจน ซึ่งเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสปอร์และกลายเป็นเซลล์ที่มีชีวิตสร้างสารพิษ neurotoxin ปนเปื้อนในหน่อไม้ได้

  29. คลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) การป้องกัน / ข้อเสนอแนะ • food borne botulism ส่วนใหญ่จะเกิดกับอาหารกระป๋อง โดยเฉพาะอาหารชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำ ( pH 4.6 ) เช่น ผักกระป๋อง หน่อไม้อัดปิ๊บ เนื่องจากมีสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมต่อเชื้อ Clostridium botulinumดังนั้นในกระบวนการหรือขั้นตอนการผลิตอาหารกระป๋องควรคำนึงถึงการใช้ความร้อนและเวลาในการฆ่าเชื้อ หรือควรปรับ pH ของอาหารให้มีสภาพเป็นกรดอ่อนๆ • ไม่ควรบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์สุญญากาศ หรือในกระป๋องที่มีลักษณะบวม โป่งพองออกมา มีรอยตะเข็บรั่ว หรือมีกลิ่นผิดปกติ • ก่อนการบริโภคอาหารควรให้ความร้อนเพื่อทำลายสารพิษ โดยทั่วไปใช้อุณหภูมิ 80 0C 15 นาที เพียงพอที่จะทำลายได้และควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อมีการแบ่งตัวเพิ่มและสร้างสารพิษ

  30. คลอสทริเดียม เพอร์ฟริงเกนส์ (Clostridium perfringens) • แบคทีเรียที่อยู่ในสกุล (genus) เดียวกับคลอสทริเดียม บอทูลินัม • ทำให้อาหารกระป๋องเน่าเสียและเกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ • หากแบคทีเรียชนิดนี้เข้าไปอาศัยอยู่ในแผลที่สกปรกและอากาศเข้าไม่ถึงแล้ว พิษของมันจะทำให้เกิดก๊าซขึ้นในบาดแผล ทำให้แผลบวมเบ่งและเนื้อเน่าตาย (gas gangrene) และพิษอาจแพร่เข้าในระบบโลหิตและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

  31. วิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส (Vibrio Parahaemolyticus) ลักษณะของเชื้อ • เป็นแบคทีเรียที่มีลักษณะรูปท่อนตรงหรือโค้ง ขนาด 0.5 X 1.5-3 ไมโครเมตร • ไม่สร้างสปอร์ ไม่สร้างแคปซูล แต่สร้างเอนไซม์ออกซิเดสที่อุณหภูมิ 35-37 องศาเซลเซียส • การเติบโต : ช่วงอุณหภูมิ 10-44 องศาเซลเซียส ช่วง pH ในการเติบโตอยู่ระหว่าง 6-9 ต้องการเกลือในการเติบโตประมาณ 1-3% และสามารถเติบโตได้ที่มีเกลือ 7%

  32. วิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส (Vibrio Parahaemolyticus) แหล่งที่มาของเชื้อ • ในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ตามชายฝั่งทะเล • ในช่วงฤดูที่มีอากาศอบอุ่นจะพบเชื้อนี้ได้อยู่ทั่วไปในน้ำทะเล ในปลา กุ้ง หอย และปู • แหล่งน้ำจืดทั่วไปและบริเวณปากอ่าวแม่น้ำ ซึ่งมีทั้งชนิดที่เป็นเชื้อก่อโรคและไม่เป็นเชื้อก่อโรค • ตู้เย็นที่มีการควบคุมอุณหภูมิไม่ดีเพียงพอ เชื้อจะเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว • อาหารดิบ อาหารที่ผ่านการให้ความร้อนไม่เพียงพอ หรืออาหารปรุงสุกที่มีการปนเปื้อนเชื้อชนิดนี้เข้าไปอีก เช่น ในปลาหรือพวกปู กุ้ง หอย สามรถทำให้เกิดโรคกระเพราะอาหารและลำไส้อักเสบ

  33. วิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส (Vibrio Parahaemolyticus) อันตรายของเชื้อ • ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษ และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ • ระยะฟักตัว 4-96 ชั่วโมงหลังจากได้รับเชื้อเข้าทางปาก โดยส่วนใหญ่อาการเกิดประมาณ 15 ชั่วโมงหลังจากได้รับเชื้อ • แสดงอาการเมื่อเชื้อรอดชีวิตไปอยู่ที่ลำไส้เล็กแล้วปล่อยสารพิษ(ยังไม่สามารถระบุชนิดของสารพิษได้) • อาการ : ท้องเสีย เป็นตะคริวในช่องท้อง มีอาการคลื่นเหียนวิงเวียนอาเจียน ปวดหัว มีไข้และหนาวสั่น อาการป่วยค่อนข้างจะบางเบาหรืออยู่เพียงระดับกลางๆ แต่ก็มีบางรายที่จะต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล • ปริมาณของเชื้อที่สามารถทำให้เกิดโรคได้คือ ปริมาณมากกว่า 1 ล้านเซลล์ และอาจมีการติดเชื้อได้จากเชื้อที่มีปริมาณน้อยกว่านี้เนื่องจากการรับประทานยาลดกรด หรืออาหารที่มีสมบัติเป็นบัฟเฟอร์

  34. วิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส (Vibrio Parahaemolyticus) การป้องกัน • ทำลายได้ง่ายด้วยความร้อน • ไม่เติบโตที่ pH ต่ำกว่า 5 หรือสูงกว่า 11

  35. ลิสทิเรีย โมโนไซโตจิเนส (Listeria monocytogenes) ลักษณะของเชื้อ • เป็นแบคทีเรียที่มีลักษณะรูปท่อนสั้น มักเรียงตัวเป็นสายต่อกัน 3-5 เซลล์ หรือมากกว่านั้น เซลล์อายุ 18-24 ชั่วโมง จะเรียงตัวแบบพาลิเสด • ไม่สร้างสปอร์หรือแคปซูล • อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเติบโตคือ 37 องศาเซลเซียส แต่สามารถเติบโตได้ทุกอุณหภูมิจนต่ำถึง 2.5 องศาเซลเซียส • สามารถอยู่รอดในที่มีโซเดียม คลอไรด์ 20% ที่4 องศาเซลเซียส นานถึง 8 สัปดาห์ • สามารถทนความร้อนได้ดี

  36. ลิสทิเรีย โมโนไซโตจิเนส (Listeria monocytogenes) แหล่งที่มาของเชื้อ • ทั่วไปในน้ำ น้ำเสีย • อุจจาระคนและสัตว์ • อาหารที่มักพบแบคทีเรียชนิดนี้ได้แก่ นม เนื้อ ไก่ อาหารทะเล ส่วนในผักไม่พบหรือพบน้อยมาก • เจริญได้ที่อุณหภูมิตู้เย็น และทนความร้อนได้ดีกว่าแบคทีเรียที่ไม่สร้างสปอร์ชนิดอื่นจึงมีชีวิตอยู่รอดได้ในผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ เช่นนม เนื้อสัตว์ ผัก และไส้กรอก

  37. ลิสทิเรีย โมโนไซโตจิเนส (Listeria monocytogenes) อันตรายของเชื้อ / ข้อเสนอแนะ • ก่อให้เกิดโรค Listeriosis • อาการโลหิตเป็นพิษและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มักพบในผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือทารกที่เกิดจากมารดาที่ได้รับเชื้อขณะตั้งครรภ์ • มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตเนื่องจากบริโภคอาหาร ที่มีเชื้อปะปนอยู่ ลิสทิเรีย โมโนไซโตจิเนส จึงเป็นดัชนีตัวหนึ่งแสดงถึงความปลอดภัยของอาหารด้วย

  38. เอสเคอริเชีย คอไล (Escherichia coli O157:H7) ลักษณะและแหล่งที่พบของเชื้อ • แบคทีเรีย Escherichia coli มีอยู่ตามธรรมชาติในลำไส้ใหญ่ของสัตว์และมนุษย์ พบได้ในอุจจาระ • พบเชื้อได้ในอาหารที่ปรุงไม่สุกหรืออาหารดิบโดยเฉพาะเนื้อดิบซึ่งเคยมีรายงานการแพร่ระบาดและยังเคยมีการแพร่ระบาดผ่านทางน้ำนมดิบ • เป็นจุลินทรีย์ในกลุ่มโคลิฟอร์มที่จะบ่งชี้ว่าอาหารมีการสุขาภิบาลที่ดีเพียงพอหรือไม่ • มีประโยชน์ต่อระบบขับถ่ายของร่างกายคือช่วยยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่เป็นโทษต่อร่างกาย • มีเพียงไม่กี่สายพันธุ์ที่เป็นโทษต่อมนุษย์ เช่น สายพันธุ์ Escherichia coli O157:H7

  39. เอสเคอริเชีย คอไล (Escherichia coli O157:H7) อันตรายของเชื้อ • สร้างสารพิษที่มีผลทำให้เกิดการระคายเคืองเยื่อบุผนังลำไส้สารพิษชนิดนี้คือ verotoxin (VT), shiga-like toxin • จุลินทรีย์ไม่ผ่านลำไส้ออกสู่ระบบอื่นและไม่เข้าสู่กระแสเลือด (ผู้ป่วยไม่แสดงอาการไข้)

  40. เอสเคอริเชีย คอไล (Escherichia coli O157:H7) อันตรายของเชื้อ • เลือดออกในลำไส้ : ( Hemorrhagic colitis) • สาเหตุ : เกิดจาก verotoxin ที่ผลิตโดยเชื้อ Escherichia coli O157:H7 ( VTCE ) • อาการ : ท้องเสียกระทันหันและปวดท้องมาก มักจะท้องเสียภายใน 24 ชั่วโมง ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ และจะถ่ายเป็นเลือด อาเจียน ไม่มีไข้หรือมีไข้เล็กน้อย ระยะฟักตัวของโรคอาจนาน 3-9 วัน โดยทั่วไปมักมีอาการใน 4 วัน และช่วงเวลาที่ผู้ป่วยมักจะเป็นติดต่อกัน 2-9 วันส่วนใหญ่จะเป็นอยู่ 4 วัน สามารถเกิดได้ในคนทุกวัยแต่ส่วนใหญ่พบในเด็ก ซึ่งอาการจะหายไปได้เอง

  41. เอสเคอริเชีย คอไล (Escherichia coli O157:H7) อันตรายของเชื้อ • ถ่ายเป็นเลือด : (Hemolytic uremic syndrom) • ส่วนใหญ่พบในเด็กประมาณ 5-10% ที่เป็น Hemorrhagic colitis จะมีการพัฒนาของโรคไปเป็น Hemolytic uremic syndrom • อาการ : เริ่มมีอาการอาเจียน ชีดขาวเนื่องจาก verotoxin ทำลาย endothelial cell ใน renal arteriotes ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก และเป็นสาเหตุของโรคไตวายในเด็ก ปรากฏอาการหลายแบบด้วยกันคือ การจับรวมตัวกันของเม็ดเลือดขาว ทำให้ถูกทำลายไป ไตทำงานผิดปกติทำให้ปัสสาวะออกมาเป็นเลือดและโลหิตจางเนื่องจากมีเลือดออกในลำไส้ใหญ่ คนที่เป็นโรคนี้อย่างรุนแรงมักต้องให้การรักษาโดย dialysis และการถ่ายเลือดผู้ป่วยอาจมีอาการทางประสาท คือมีอาการนิ่งไปนานๆ และมีอาการโคม่าเป็นเวลานาน ในที่สุดอาจเสียชีวิตได้ ในผู้ป่วยสูงอายุอาการดังกล่าวจะรุนแรงมากขึ้นและมีอัตราการตายสูงถึง 50%

  42. เอสเคอริเชีย คอไล (Escherichia coli O157:H7) การป้องกัน • รับประทานเนื้อสัตว์และเนื้อแฮมเบอเกอร์ที่ผ่านการให้ความร้อนอย่างน้อยที่สุด 72 องศาเซลเซียส • ดื่มนม น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ ที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์แล้วเท่านั้น • สังเกตวันหมดอายุของเครื่องดื่มทุกชนิดที่จะรับประทาน • ล้างผักผลไม้ที่จะรับประทานให้สะอาดโดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีการรับประทานสดและควรมีการเอาใจใส่เป็นพิเศษสำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบในการที่จะรับประทานผักและผลไม้สด • เก็บเนื้อดิบแยกออกจากอาหารที่พร้อมจะรับประทาน • ล้างมือ ภาชนะที่ใส่และวัสดุที่ใช้สัมผัสกับเนื้อดิบด้วยน้ำสบู่ร้อนๆ • ไม่ใช้วัสดุอุปกรณ์ของอาหารพร้อมรับประทานร่วมกับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้กับเนื้อดิบ

  43. รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม FoOd hYgiEne 1 / 2549 นายอิทธิพัฒน์ ทามณีวัน 490710180 น.ส.ปุณย์จารี วิริโกศล 490710099 น.ส.ศศิภา ปรางค์สุวรรณ 4701232 น.ส.ภัสสร โพธิ์สา 4701225 น.ส.ณิชนันทน์ ก่อวาณิชกุล 4802064 น.ส. สายน้ำผึ้ง ใจวงศ์เป็ง 4802080 นายสิริวัฒน์ หนองน้ำ 4802081

  44. FoOd hYgiEne 1 / 2549 แหล่งข้อมูล / อ้างอิง • http://textbookofbacteriology.net • http://www.thailabonline.com/sec51foodpoison.htm • National Food Institute Thailand (2547). ภัยในอาหาร, สถาบันอาหาร, พฤษภาคม 2547.

More Related