1 / 143

วินัย การดำเนินการทางวินัย

วินัย การดำเนินการทางวินัย. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่. กฎหมาย และระเบียบอื่นๆ. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร. งานของแผ่นดินเป็นงานส่วนรวม มีผลกว้างขวาง เกี่ยวข้องกับบ้านเมือง และบุคคลทุกคนทุกฝ่าย. เมื่อเป็นงานส่วนรวม และมีผลเกี่ยวข้องกับคน

myra-joseph
Download Presentation

วินัย การดำเนินการทางวินัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วินัย การดำเนินการทางวินัย ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ กฎหมาย และระเบียบอื่นๆ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร

  2. งานของแผ่นดินเป็นงานส่วนรวม มีผลกว้างขวาง เกี่ยวข้องกับบ้านเมือง และบุคคลทุกคนทุกฝ่าย. เมื่อเป็นงานส่วนรวม และมีผลเกี่ยวข้องกับคน หมู่มากปัญหาข้อขัดแย้งต่างๆ อันเนื่องมาจากความคิดเห็นไม่ตรงกัน ก็ย่อมเกิดมีขึ้นบ้าง เป็นปกติธรรมดา. ข้าราชการผู้ปฏิบัติบริหารงานของ แผ่นดิน ตลอดจนทุกคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จึงต้องมีใจที่หนักแน่น และ เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง แม้กระทั่งคำวิพากษ์วิจารณ์อย่าง มีสติ ใช้ปัญญาและเหตุผลเป็นเครื่องปฏิบัติวินิจฉัย โดยถือว่า ความคิดเห็น และคำวิพากษ์วิจารณ์นั้น คือการระดมสติปัญญา และประสบการณ์ อันหลากหลายจากทุกคนทุกฝ่าย เพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติบริหารงาน และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้งานทุกส่วนทุกด้านของแผ่นดินสำเร็จผล เป็นความเจริญมั่นคงแก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง. อาคารเฉลิมพระเกียรติโรงพยาบาลศิริราช วันที่ ๓๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖

  3. กฎหมาย หมายถึง ....... พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 : กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้นหรือ ที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ (โบราณ) พจนานุกรมมติชน พ.ศ.2547 : ระเบียบหรือข้อบังคับที่รัฐกำหนดขึ้น เพื่อเป็น เครื่องมือจัดการบริการประเทศหรือรัฐ

  4.  มาตรา 64 บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมาย เพื่อให้พ้นจากความรับผิดในทางอาญาไม่ได้ ประมวลกฎหมายอาญา ข้าราชการ ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง จะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายหรือระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ อันตนจะต้องปฏิบัติและอยู่ในหน้าที่ของตนไม่ได้ มติคณะรัฐมนตรี ที่ นว 89/2497 ลว. 1 เมษายน 2497 4 4

  5. ระเบียบ สธ. ว่าด้วยพนักงานกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2556 ลงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2556 1. จ้างเงินบำรุงของหน่วยบริการของทุกกรม /สถานศึกษาของ สธ. พกส.มี 2 ประเภท คือ พกส ทั่วไป และ พกส.พิเศษ 2. ตำแหน่ง มี 3 กลุ่มงาน 1 เทคนิค บริการ บริหาร 2.วช. 3. ชช. 3. กรม เป็นผู้ว่าจ้าง/มีสัญญาจ้าง/ประเมินทุกปีเพื่อเพิ่มค่าจ้าง-ต่อสัญญา 4. มีเงินเพิ่มทุกปี/สิทธิประโยชน์ต่างๆ มีบัตรประจำตัว มีกองทุน 5. มีกรอบอัตรากำลังในการจ้าง 6. วินัย อุทธรณ์ร้องทุกข์ อนุโลม ระเบียบลูกจ้างประจำ

  6. วินัย 1. กฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ 2. ที่กำหนดให้ข้าราชการประพฤติ ปฏิบัติ หรือละเว้นการประพฤติปฏิบัติ 3. ผู้ฝ่าฝืน จะได้รับโทษตามที่กำหนดไว้

  7. ลงโทษวินัยปีความผิด 4 ลำดับ ดังนี้ 1. ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตาม กม./ระเบียบ 2. ละทิ้งหน้าที่ราชการ 3. ประพฤติชั่ว/ประพฤติเสื่อมเสีย 4. ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ

  8. สาเหตุของการกระทำผิดวินัยสาเหตุของการกระทำผิดวินัย 1. ความไม่รู้ 2. งานกับคนไม่สมดุลกัน 3. อบายมุขต่าง ๆ 4. ตัวอย่างที่ไม่ดี 5. โอกาสเปิดช่องล่อใจ 6. ความขัดแย้งระหว่างบุคคล

  9. มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 13 สิงหาคม 2556 ให้ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาวินัยของ ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาตามกฎหมายโดยเคร่งครัด และ ให้ถือว่าการที่การรักษาวินัยของข้าราชการมิได้ดีขึ้น ผู้บังคับบัญชามีส่วนรับผิดชอบ เพราะมิได้เสริมสร้าง และพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัย และมิได้ ป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย ซึ่ง ผู้บังคับบัญชาอาจต้องรับผิดทางวินัยด้วย

  10. การเสริมสร้างวินัย และพัฒนาให้มีวินัย การเสริมสร้างและพัฒนาทัศนคติ จิตสำนึก และ พฤติกรรมของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ให้เป็นไป ในทางที่มีวินัย เช่น 1. การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี 2. การฝึกอบรม 3. การสร้างขวัญและกำลังใจ การจูงใจ หรือการอื่นใด

  11. การป้องกันมิให้กระทำผิดวินัยการป้องกันมิให้กระทำผิดวินัย การป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย 1. การเอาใจใส่ หรือ สังเกตการณ์ 2. ขจัดเหตุที่อาจก่อให้เกิดการกระทำผิดวินัย ในเรื่องอันอยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการป้องกัน ตามควรแก่กรณีได้

  12. ความรับผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐความรับผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทางอาญา ทางวินัย ทางแพ่ง/ละเมิด ทางวิชาชีพ

  13. วินัยข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2551 ความหมายของวินัย... คือแบบแผนความประพฤติ ที่กำหนดให้ข้าราชการ 1. พึงควบคุมตนเอง และ 2. ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ประพฤติ หรือปฏิบัติ ตามที่กฎหมาย ระเบียบแบบแผน ของทางราชการกำหนดไว้ 13

  14. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำ ของส่วนราชการ พ.ศ.2537 (ใช้สำหรับลูกจ้างประจำ/ลูกจ้างชั่วคราวโดยอนุโลม) ************ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย พนักงานราชการ พ.ศ.2547 ข้อกำหนดกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและไม่ร้ายแรง ของ สป.สธ. ลงวันที่ 24 เม.ย.49 (ใช้สำหรับพนักงานราชการ)

  15. ผลกระทบจากการถูกลงโทษทางวินัยผลกระทบจากการถูกลงโทษทางวินัย 1. จิตใจ/ครอบครัว/ชื่อเสียง/ ความก้าวหน้า 2. เงินเดือน 3. บำเหน็จ/บำนาญ 4. คดีอาญา/คดีแพ่ง 5. คุณสมบัติการกลับเข้ารับราชการ

  16. โทษทางวินัยข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ มี 5 สถาน ■ไม่ร้ายแรง 1.ภาคทัณฑ์ 2.ตัดเงินเดือน/ค่าจ้าง 3.ลดเงินเดือน/ขั้นค่าจ้าง ■ ร้ายแรง 1. ปลดออก 2. ไล่ออก

  17. โทษทางวินัยของพนักงานราชการ มี 4 สถาน กรณีผิดวินัยไม่ร้ายแรง 1. ภาคทัณฑ์ 2. ตัดเงินค่าตอบแทน 3. ลดชั้นเงินค่าตอบแทน 4. ไล่ออก กรณีผิดวินัยอย่างร้ายแรง

  18. โทษทางวินัยของลูกจ้างชั่วคราว เงินนอกงบประมาณ ตักเตือนในทางบริหาร/สั่งเลิกจ้างในบางกรณี นำไปเป็นแนวทางในการพิจารณาสั่งเลิกจ้าง โดยความเห็นชอบจาก คกก.บริหาร หน่วยบริการ ประเภทเงินบำรุง-ไม่ได้กำหนดไว้ กรณีทำผิดอย่างไม่ร้ายแรง กรณีทำผิดอย่างร้ายแรง 18

  19. ความหมาย “วินัย” พฤติกรรม งานราชการ เรื่องส่วนตัว 19

  20. หลักเกณฑ์การพิจารณาว่าเป็นการกระทำผิดวินัยหลักเกณฑ์การพิจารณาว่าเป็นการกระทำผิดวินัย 1. กระทบต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผล ของทางราชการ 2. กระทบต่อความมั่นคงของชาติ 3. กระทบต่อความผาสุกของประชาชน 4. กระทบต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียง ของทางราชการ

  21. วินัยข้าราชการ พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน  ข้าราชการต้องมีวินัย ต่อ 1. ประเทศชาติ ม. 81 2. ประชาชน ม. 82(8),ม. 83(9),ม. 85(5) 3. ผู้บังคับบัญชา ม. 82(4),ม. 83(1)(2) 4. ผู้ร่วมงาน ม. 82(7),ม. 83(7) 5. ตำแหน่งหน้าที่ราชการ ม. 82(1)(2)(3)(5) (6)(9),ม. 83(3)(4)(5),ม. 85(1)(2)(3) 6. ตนเอง ม. 82(10),ม. 83(6)(8),ม. 85(4)(6)

  22. หมวดที่ 6 วินัยและการรักษาวินัย ลักษณะของกฎหมายทางด้านวินัย ให้กระทำการอัน เป็นข้อปฎิบัติ ม.82 ต้องไม่กระทำ อันเป็นข้อห้าม ม.83 การกระทำ ที่เป็นวินัย ร้ายแรง ม.85

  23. วินัยไม่ร้ายแรง วินัยร้ายแรง 1. การกระทำตาม ม. 81 2. การกระทำอันเป็นข้อปฏิบัติ ตาม ม. 82(1)-(11) 3. การกระทำอันเป็นข้อห้าม ตาม ม. 83(1)-(10) 1. การกระทำความผิด ในลักษณะร้ายแรง ตาม ม. 85 (1)-(8) 2.การกระทำตาม ม. 82 และตาม ม. 83 อัน เป็นเหตุ ให้เสียหายแก่ ราชการอย่างร้ายแรง

  24. ข้อกำหนด วินัยข้าราชการพลเรือน วินัยต่อประเทศชาติ มาตรา 81 ข้าราชการต้องสนับสนุน การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วย ความบริสุทธิ์ใจ

  25. วินัยต่อประชาชน 1. ต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรม และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับ หน้าที่ของตน มาตรา 82(8)

  26. 2. ต้องไม่ดูหมิ่น เหยียดหยามกดขี่ หรือ ข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อราชการ มาตรา 83(9) 3 ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง หรือ ทำร้ายประชาชน ผู้ติดต่อราชการอย่างร้ายแรง มาตรา 85(5) (ผิดร้ายแรง

  27. 1. ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม มาตรา 82(1) ซื่อสัตย์.. ตรงไปตรงมา,ไม่คดโกง, ไม่หลอกลวง สุจริต..ที่ดีที่ชอบตามคลองธรรม เที่ยงธรรม..ไม่ลำเอียง วินัยต่อตำแหน่งหน้าที่

  28. 2. ต้องไม่อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยตำแหน่ง หน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์ ให้แก่ตนเอง หรือ ผู้อื่น มาตรา 83(3)  อาศัยตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน  ประโยชน์...เป็นประโยชน์ที่ควรได้

  29. ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการหรือ ดูแลกิจการใด เข้ามีส่วนได้เสีย เพื่อประโยชน์ สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยกิจการนั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000-20,000 บาท ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา152 29

  30. 3. ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง แก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่ราชการโดยทุจริตม.85(1)(ผิดร้ายแรง) เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ

  31. ป.อาญา “โดยทุจริต” • หมายถึง เพื่อแสวงหาประโยชน์ • ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย • สำหรับตนเอง หรือผู้อื่น

  32. มติ ค.ร.ม.วันที่ 21 ธ.ค.2536 (นร 0205/ว 234 ลว. 24 ธ.ค.2536) - การลงโทษผู้กระทำผิดวินัยฐานทุจริต ควรลงโทษเป็นไล่ออกจากราชการ - การนำเงินที่ทุจริตไปแล้วมาคืน หรือ มีเหตุอันควรปรานีอื่นใด ไม่เป็นเหตุ ลดหย่อนโทษเป็นปลดออกจากราชการ

  33. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ 1. เป็นเจ้าพนักงาน 2. มีหน้าที่ ซื้อ/ทำ/จัดการ/รักษาทรัพย์ 3. เบียดบังทรัพย์เป็นของตน/ผู้อื่น โดยทุจริต หรือทุจริต ยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นเสีย โทษ จำคุก 5-20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และ ปรับตั้งแต่ 2,000-40,000 บาท (อายุความ 20 ปี)

  34. ประมวลกฎหมายอาญา - มาตรา 161 เจ้าพนักงานปลอมเอกสาร โทษ จำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท - มาตรา 162 เจ้าพนักงานรับรองเอกสารเท็จ โทษ จำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 14,000 บาท (อายุความ 15 ปี)

  35. ประมวลกฎหมายอาญา ม. 157 -เจ้าพนักงานปฏิบัติ/ละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดย มิชอบ - เพื่อให้ผู้อื่นเสียหาย หรือ - โดยทุจริต - เจ้าพนักงานปฏิบัติ/ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต โทษ จำคุก 1-10 ปี หรือปรับ 2,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (อายุความ 15 ปี)

  36. ประมวลกฎหมายอาญา ม. 341ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดง ข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอก ให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สิน จากผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สาม... ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (อายุความ 15 ปี)

  37. มติ ก.พ. ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 0709.2/ว8 ลว.26 กค.2536 การเบิกเท็จโดยเจตนา ทุจริตฉ้อโกงเงินราชการ อย่างต่ำปลดออกจากราชการ/ให้ดำเนินคดีอาญา

  38. พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ.2542 ************ คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

  39. ทุจริตต่อหน้าที่ 1. ปฏิบัติ/ละเว้นการปฏิบัติอย่างใด - ในตำแหน่งหน้าที่ - โดยมีพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่า มีตำแหน่งหน้าที่ ทั้งที่ไม่มีเลย หรือ 2. ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ 3. เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบ สำหรับตน/ผู้อื่น

  40. พ.ร.บ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 (บังคับใช้ 25 มกราคม 2551) ************ คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.)

  41. ทุจริตในภาครัฐ 1. ทุจริตต่อหน้าที่ (ความหมาย เหมือนกับ พรบ.ปปช.) 2. ประพฤติมิชอบ หมายถึง ใช้อำนาจในตำแหน่งหรือ หน้าที่อันเป็นการฝ่าฝืน กฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง หรือ มติ ครม. ที่มุ่งหมายจะควบคุม ดูแล การรับ การเก็บรักษา หรือการใช้เงิน/ทรัพย์สินของแผ่นดิน

  42. 4. ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้เกิดผลดีหรือความ ก้าวหน้าแก่ราชการ ด้วยความ ตั้งใจ อุตสาหะ เอาใจใส่ และรักษาประโยชน์ของทางราชการ มาตรา 82(3) 42

  43. 5. ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็น ไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผน ของทางราชการ มาตรา 82(2) 43

  44. กฎหมายและระเบียบของทางราชการกฎหมายและระเบียบของทางราชการ ที่กำหนดให้มีอำนาจ/หน้าที่ กฎหมาย, กฎ กฎหมาย หรือ กฎ ใดก็ได้ ที่กำหนด “อำนาจ หรือหน้าที่” ไว้ เช่น กำหนดให้เป็น พนักงานเจ้าหน้าที่ ระเบียบของทางราชการ ต้องเป็นระเบียบเฉพาะ เช่น ระเบียบการเงิน/พัสดุ ที่กำหนด “หน้าที่” ไว้

  45. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม o คำนิยาม ตามข้อ 5 “ การพัสดุ ” การซื้อ การจ้าง การจำหน่าย ฯลฯ “ พัสดุ ” วัสดุ ครุภัณฑ์ ทีดินและสิ่งก่อสร้าง “การซื้อ ” การซื้อพัสดุทุกชนิด ไม่รวมถึงการจ้าง “ การจ้าง ” การจ้างทำของและรับขน การจ้างเหมาบริการ แต่ไม่รวมถึงการจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ

  46. การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานพัสดุ เจตนารมณ์ของระเบียบ... ผู้ปฏิบัติหน้าที่... 1. ต้องปฏิบัติตามระเบียบโดยเคร่งครัด 2. ไม่อาจปฏิบัตินอกเหนือที่ระเบียบกำหนดได้ 3. ถ้าระเบียบไม่ได้กำหนดเรื่องนั้นไว้...ทำไม่ได้ 4. ระเบียบพัสดุ เป็นระเบียบที่กำหนดช่องทาง เดินไว้ ผู้ปฏิบัติไม่อาจเดินนอกช่องทางได้ ข้อยกเว้น..ขอยกเว้นต่อ “ กวพ.” ได้

  47. การผ่อนผัน/ยกเว้น การปฏิบัติตามระเบียบฯพัสดุ ระเบียบ สร.ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ข้อ 12(2) คณะกรรมการว่าด้วยพัสดุ (กวพ.) - พิจารณาการอนุมัติยกเว้น หรือผ่อนผัน - การไม่ปฏิบัติตามระเบียบ

  48. บทกำหนดโทษ ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบฯ นี้ ข้อ 10 สรุป...ผู้ใดไม่ว่าจะมีอำนาจตามระเบียบนี้หรือไม่ก็ตาม กระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ หรือโดยทุจริต ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย (1) กระทำโดยทุจริต หรือเป็นเหตุให้ทางราชการ เสียหายอย่างร้ายแรง ให้ลงโทษอย่างต่ำปลดออก (2) ถ้าการกระทำเป็นเหตุให้ทางราชการเสียหาย ไม่ร้ายแรง ให้ลงโทษอย่างต่ำตัดเงินเดือน (3) ถ้าการกระทำไม่เป็นเหตุให้ทางราชการเสียหาย ให้ลงโทษภาคทัณฑ์ หรือว่ากล่าวตักเตือนเป็น ลายลักษณ์อักษร o

  49. ผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดหาพัสดุ(ข้อ๕)ผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดหาพัสดุ(ข้อ๕) เจ้าหน้าที่พัสดุ หน.เจ้าหน้าที่พัสดุ . หัวหน้าหน่วยพัสดุ โดยตำแหน่ง โดยแต่งตั้ง -ข้าราชการ/ลูกจ้าง พนักงานราชการ โดยตำแหน่ง โดยแต่งตั้ง - ข้าราชการ โดยตำแหน่ง โดยแต่งตั้ง - ข้าราชการ

  50. การแบ่งซื้อ / แบ่งจ้าง(ข้อ ๒๒ วรรค ๒) การแบ่งซื้อ แบ่งจ้าง หมายถึง การแบ่งวงเงินที่จะซื้อ /จ้าง ในครั้งเดียวกัน ออกเป็นหลายครั้ง โดยไม่มีเหตุผล /ความจำเป็น และ มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยง ๑) ให้ผู้มีอำนาจสั่งซื้อ /สั่งจ้าง เปลี่ยนไป ๒) แบ่งวงเงิน ให้ลดลงเพื่อเปลี่ยนวิธีจัดหาพัสดุ

More Related