1 / 64

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗. ศาสตราจารย์ ดร. บวร ศักดิ์ อุวรรณ โณ ราชบัณฑิต อุปนายกฯ คนที่ ๑ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า.

tave
Download Presentation

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ศาสตราจารย์ ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ราชบัณฑิต อุปนายกฯ คนที่ ๑ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า

  2. ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 24 มิถุนายน 2475โดยคณะราษฎรยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 เมื่อ 27 มิถุนายน 2475 เป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก

  3. ตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงวันนี้เรามีรัฐธรรมนูญ 19 ฉบับ ดังนี้ • พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามพุทธศักราช 2475 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (รัฐธรรมนูญตุ่มแดงหรือรัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม) • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495

  4. ตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงวันนี้เรามีรัฐธรรมนูญ 19 ฉบับ ดังนี้ • ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 • ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 • ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 • ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534

  5. ตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงวันนี้เรามีรัฐธรรมนูญ 19 ฉบับ ดังนี้ • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557

  6. มีผู้แบ่งกลุ่มรัฐธรรมนูญ จากการวัดที่ระดับการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติ เป็น 3 กลุ่ม • สภาที่มาจากการเลือกตั้ง : สภานิติบัญญัติในกลุ่มนี้จะมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด • สภาที่มาจากการเลือกตั้งผสมการสรรหา : สภานิติบัญญัติที่เกิดมาจากการสรรหาทั้งหมดหรือบางส่วน โดยที่สมาชิกผู้มาจากการสรรหานั้นมีอำนาจมากพอในการจำกัดอำนาจสมาชิกที่มีมาจากการเลือกตั้งได้ • สภาที่มาจากการแต่งตั้ง : ฝ่ายบริหารมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด หรือ เกือบจะเป็นเช่นนั้น

  7. สภาที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด :- ได้แก่ • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (ซึ่งสภาผู้แทนมีการเลือกตั้งโดยตรง ส่วนสภาสูงซึ่งเรียกว่า พฤฒสภามาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม) • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (ที่ทั้งสองสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรง)

  8. สภาที่มาจากการเลือกตั้งผสมสรรหา :- ได้แก่ • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

  9. สภาที่มาจากการแต่งตั้งทั้งหมด :- ได้แก่ • พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 • ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 • ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 • ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557

  10. ถ้าแบ่งตามการเป็นรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้ใช้ชั่วคราว หรือ ถาวร จะแบ่งได้เป็น • รัฐธรรมนูญถาวร 10 ฉบับ • รัฐธรรมนูญชั่วคราว 9 ฉบับ

  11. การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ส่วนใหญ่มาจากการรัฐประหาร ซึ่งมี 11 – 13 ครั้ง สุดแต่จะใช้เกณฑ์ใดจัด ดังนี้ • รัฐประหาร 1 เมษายน พ.ศ. 2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา (บางคนไม่นับ) • รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจรัฐบาล พระยามโนปกรณ์นิติธาดา • รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นำโดย พล.ท. ผินชุณหะวัณ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

  12. รัฐประหาร 6 เมษายน พ.ศ. 2491 คณะนายทหารกลุ่มที่ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 จี้บังคับนายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมอบตำแหน่งต่อให้ จอมพล ป.พิบูลสงคราม (บางคนไม่นับ) • รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 นำโดย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง • รัฐประหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม • รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ถนอม กิตติขจร • รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 นำโดย จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง • รัฐประหาร 9 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชะลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช

  13. รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 นำโดย พล ร.อ.สงด ชะลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล นายธานินทร์กรัยวิเชียร • รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำโดย พล อ.สุนทร คงสมพงษ์ ยึดอำนาจรัฐบาล พล อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ • รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นำโดย พล อ.สนธิ บุญย-รัตกลินยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร • รัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 นำโดย พล. อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการนิวัฒน์ธำรง บุญทรง-ไพศาล (ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีหลังยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง)

  14. ข้อสังเกต • การยึดอำนาจ และเลิกรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เมื่อ พล.ท.ผิน และคณะยึดอำนาจจากรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ และ เลิกรัฐธรรมนูญฯ 2489 แล้วใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 แทน เมื่อ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ซึ่งลงนามรับสนองพระบรมราชโองการโดย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย

  15. ต่อมามีการยึดอำนาจอีกเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2494 โดยคณะบริหารประเทศชั่วคราวนำโดยพลเอกผิน ชุนหะวัณและคณะรวม 9 คน และในวันที่ 6 ธันวาคม 2494 ก็ได้มีประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นำรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2475 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาใช้บังคับ และให้สภาผู้แทนราษฎรปรับปรุงใหม่และประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495 เมื่อ 8 มีนาคม 2495 ต่อมา ในการยึดอำนาจของจอมพล ป. เมื่อ 16 ก.ย. 2500 ก็ได้มีประกาศพระบรมราชโองการ เรื่องการใช้ รธน. แห่งราชอาณาจักรไทย ให้ใช้ รธน. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม 2495 ต่อไป ภายใต้เงื่อนไขบางประการ (เลือก สส. ภายใน 90 วัน) ซึ่งต่อมาเลิก รธน .ไปเมื่อยึดอำนาจอีกครั้งใน 20 ต.ค. 2501

  16. 2.ผลทางกฎหมายของการยึดอำนาจ ในระหว่างใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2490 มีการฟ้องคดี ซึ่งมีประเด็นเกี่ยวพันไปถึงการยึดอำนาจ เมื่อ 8 พ.ย. 2490 ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นการผิดกฎหมายฐานกบฏในราชอาณาจักร รัฐธรรมนูญฯ ฉบับชั่วคราว พ.ศ.2490 จึงไม่สมบูรณ์เป็นรัฐธรรมนูญที่ชอบ ศาลฎีกาในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2496 ได้วินิจฉัยมีความตอนหนึ่งว่า

  17. “ข้อเท็จจริงได้ความว่า ใน พ.ศ.2490 คณะรัฐประหารได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศได้เป็นผลสำเร็จ การบริหารประเทศชาติในลักษณะเช่นนี้ คณะรัฐประหารย่อมมีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิก และออกกฎหมายตามระบบแห่งการปฏิวัติเพื่อบริหารประเทศชาติต่อไปได้ มิฉะนั้นประเทศชาติจะตั้งอยู่ด้วยความสงบไม่ได้ ดังนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2490 จึงเป็นกฎหมายอันสมบูรณ์ จำเลยที่ 2 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยชอบ”

  18. ต่อมาก็มีคำพิพากษาฎีกาที่ 1662/2505 วินิจฉัยเกี่ยวกับการยึดอำนาจของ จอมพล สฤษดิ์ธนะรัชต์ เมื่อปี 2501 ว่า “ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อในพ.ศ.2501 คณะปฏิวัติได้ทำการยึดอำนาจปกครองประเทศไทยได้เป็นผลสำเร็จ หัวหน้าคณะปฏิวัติย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบ้านเมือง ข้อความใดที่หัวหน้าคณะปฏิวัติสั่งบังคับประชาชนก็ต้องถือว่าเป็นกฎหมาย แม้พระมหากษัตริย์จะมิได้ทรงตราออกมาด้วยความแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรหรือสภานิติบัญญัติของประเทศก็ตาม ดังนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2496 คดีระหว่างนายทองเย็นห์ ลีละเมียร โจทก์ กระทรวงการคลัง โดยหม่อมเจ้าวิวัฒน์ชัย ชัยยันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่ 1 หม่อมเจ้าวิวัฒน์ชัย ชัยยันต์ โดยส่วนตัวที่ 2 จำเลย

  19. ฉะนั้นประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 ซึ่งประกาศคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติบังคับแก่ประชาชนดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในการปกครองในลักษณะเช่นนั้นได้ จำเลยจึงอาศัยอำนาจตามประกาศฉบับนี้ทำการจับกุมควบคุมโจทก์ได้โดยชอบ ฎีกาโจทก์ก็ไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์”

  20. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2523 วินิจฉัยเกี่ยวกับผลของการรัฐประหารของ จอมผล ถนอม กิตติขจร เมื่อปี 2514 ว่า “โจทก์ฎีกาประการสุดท้ายว่า เมื่อมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว ประกาศหรือคำสั่งของคณะปฏิวัติหรือคณะปฏิรูปต้องเลิกใช้ทันที เพราะเป็นการเหยียบย่ำอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย ศาลฎีกาเห็นว่าเมื่อคณะปฏิวัติหรือคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินได้เป็นผลสำเร็จ หัวหน้าคณะปฏิวัติหรือหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินย่อมมีอำนาจที่จะออกประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวแล้ว อันถือว่าเป็นกฎหมายใช้บังคับแก่ประชาชนทั่วไปได้ แม้จะมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยออกประกาศใช้แล้วก็ตาม

  21. แต่หาได้มีบทกฎหมายยกเลิกประกาศหรือคำสั่งของคณะปฏิวัติหรือคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินดังกล่าวนั้นไม่ ประกาศหรือคำสั่งนั้นจึงยังเป็นกฎหมายใช้บังคับอยู่”

  22. 3.การรับรองประกาศและคำสั่ง คสช.และหัวหน้า คสช. เมื่อมีการจัดทำรัฐธรรมนูญชั่วคราวหลังการใช้อำนาจรัฐประหารปกครองประเทศไประยะหนึ่ง รัฐธรรมนูญชั่วคราวจะรับรองการใช้อำนาจออกประกาศหรือคำสั่งของคณะรัฐประหารและและหัวหน้า ดังปรากฏในมาตรา 47 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญฯ ชั่วคราว ซึ่งบัญญัติว่า.....

  23. บรรดาประกาศและคำสั่งของ คสช.หรือคำสั่งของหัวหน้า คสช. ที่ได้ประกาศหรือสั่งในระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 จนถึงวันที่คณะรัฐมนตรีเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญนี้ ไม่ว่าประกาศหรือสั่งให้มีผลบังคับในทางรัฐธรรมนูญ ในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ ให้ประกาศหรือคำสั่ง ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้น ไม่ว่าจะกระทำก่อนหรือหลังวันที่รัฐธรรมนูญใช้บังคับ เป็นประกาศหรือคำสั่งหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญและเป็นที่สุด และให้ประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้มีผลบังคับต่อไปจนกว่าจะมีกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี หรือคำสั่งแล้วแต่กรณี แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก”

  24. 4. การนิรโทษกรรม โดยปกติ เมื่อมีการยึดอำนาจสำเร็จเป็นรัฏฐาธิปัตย์ แล้วก็ไม่ควรมีความผิดใดอีก แต่ก็มีธรรมเนียมในประเทศไทยที่จะนิรโทษกรรมแก่ผู้ยึดอำนาจ โดยมีการออกกฎหมายในภายหลัง เช่น พระราชกำหนดนิรโทษกรรมในคราวการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2475 และพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมให้ผู้ทำรัฐประหารอีกหลายฉบับ เช่น ในปี 2476, 2490, 2495, 2500, 2501, 2515, 2519, 2520, 2534 ต่อมาเมื่อมีการตรารัฐธรรมนูญฯ ชั่วคราว 2549 ก็มีการนิร-โทษกรรมคณะ ค.ป.ค. ผู้ทำการรัฐประหารไว้ในมาตรา 39

  25. รัฐธรรมนูญฯ ชั่วคราว 2557 ได้นิรโทษกรรมไว้ในมาตรา 48 ความว่า...“บรรดาการกระทำทั้งหลายซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดินเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ของหัวหน้าและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รวมทั้งการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อันได้กระทำไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น การกระทำดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำเพื่อให้มีผลบังคับในทางรัฐธรรมนูญ ในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ รวมทั้งการ

  26. ลงโทษและการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้น หรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการนั้นผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง” แต่ก็มีความเห็นแย้งของนายกีรติ กาญจนรินทร์ ในคดีจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จ (1 ต่อ 8) (ความเห็นส่วนตัว คดี อม.9/2552)

  27. ลักษณะและสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญชั่วคราวลักษณะและสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญชั่วคราว • เป็นรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับในฉบับเดียวกัน ประกาศ คสช. ฉบับที่ 11/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ให้รัฐธรรมนูญฯ 2550 สิ้นสุดลง ยกเว้นหมวด 2 รัฐธรรมนูญชั่วคราวมาตรา 2 วรรค 2 บัญญัติว่า “ให้บทบัญญัติของหมวด ๒ พระมหากษัตริย์ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑/๒๕๕๗ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ยังคงใช้บังคับต่อไปเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญนี้และภายใต้บังคับมาตรา ๔๓ วรรคหนึ่ง ที่ใดในบทบัญญัติดังกล่าวอ้างถึงรัฐสภาหรือประธานรัฐสภาให้หมายถึงสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญนี้ แล้วแต่กรณี”

  28. ดังนั้น มาตรา 8 – มาตรา 25 ของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 จึงใช้บังคับอยู่ คณะองคมนตรีก็ยังคงอยู่

  29. 2. เป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่ต้องใช้ประเพณีการปกครองฯ ประกอบ มาตรา 5 บัญญัติว่า “เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทำการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแต่ประเพณีการปกครองดังกล่าวต้องไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้

  30. ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการวินิจฉัยกรณีใดตามความในวรรคหนึ่งเกิดขึ้นในวงงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด หรือเมื่อมีกรณีที่เกิดขึ้นนอกวงงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี ศาลฎีกา หรือศาลปกครองสูงสุด จะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดก็ได้ แต่สำหรับศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีมติของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาหรือที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด และเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดี” อ้างถึงประเพณีการปกครองฯ ในมาตรา 4, มาตรา 22

  31. ประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขคืออะไร ? - บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหลายๆฉบับรองรับเรื่องนั้น (หลักรัฐธรรมนูญทั่วไป-Fundamental principles of the Constitution) ดู ฎ.222/2506, ฎ.562/2508, ฎ.1602-1603/2509, ฎ.913/2536)

  32. - บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกันแต่บัญญัติไว้ในหลายมาตรา - ประเพณีการปกครองที่ปฏิบัติกันมาเป็นเวลาช้านาน (actio) จนรู้สึกว่าต้องปฏิบัติตาม (Opinio Juris) หรือจารีตประเพณี เช่น พระราชอำนาจในการพิจารณาฎีการ้องทุกข์ของราษฎร ดูคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 6/2543

  33. ข้อจำกัด: ประเพณีการปกครองต้องไม่ขัดรัฐธรรมนูญชั่วคราว การวินิจฉัย - วงงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาวินิจฉัย - ศาลฎีกา/ศาลปกครองสูงสุด เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดีให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย - ครม. คสช. ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

  34. 3. เป็นรัฐธรรมนูญที่รับรองสิทธิเสรีภาพ มาตรา 4 บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้”

  35. 4. เป็นรัฐธรรมนูญที่ก่อตั้งระบบรัฐบาลของฝ่ายบริหาร อำนาจคู่ ตามรัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร 2502, 2515, 2520, 2534 และตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2549 และฉบับปัจจุบันต่างตั้งระบบ “รัฐบาลของฝ่ายบริหารอำนาจคู่” (Dualist executive government)

  36. พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้ง ถวายคำแนะนำ ทรงแต่งตั้ง นรม เลือก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คสช ครม - เสนอตั้ง สนช. , สปร. - ประชุมร่วม ครม. - ใช้อำนาจ ม.42, 44 - พิจารณากฎหมาย, ร่าง รธน. แก้ไขเพิ่มเติม - ตั้งกระทู้, อภิปรายทั่วไป - ไม่มีการยุบสภา,ไม่อาจไม่ไว้วางใจรัฐบาล

  37. คสช. อยู่ในมาตรา 42 อำนาจหน้าที่ • ถวายคำแนะนำให้ทรงแต่งตั้ง สนช. ไม่เกิน 220 คน (มาตรา 6, มาตรา 10 วรรค2) • เสนอให้ สนช. ลงมติให้นายกรัฐมนตรีพ้นตำแหน่ง (มาตรา 19 วรรค 3, 4) • ถวายคำแนะนำให้ทรงแต่งตั้ง สปร. ไม่เกิน 250 คน (มาตรา 28) • เสนอแต่งตั้งประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และตั้งกรรมาธิการ 5 คน (มาตรา 32 (1) , (3))

  38. 5. ดูแลเรื่องความมั่นคง การปฏิรูป และการสร้างความสามัคคีสมานฉันท์ - ขอให้ ครม. ทำหน้าที่ตามมาตรา 19 ได้ (มาตรา 42 วรรค 3) - ให้ความเห็นและขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ (มาตรา 36 วรรค3) - ขอประชุมร่วมกับ ครม. (มาตรา 42 วรรค 4) - ใช้อำนาจ ครม. (มาตรา 44) - มีมติร่วมกับ ครม. ให้แก้รัฐธรรมนูญชั่วคราว (มาตรา 46)

  39. หัวหน้า คสช. • รักษาการสภา, รักษาการนายกรัฐมนตรีและ ครม. ก่อน ครม. ใหม่เข้ารับหน้าที่ (มาตรา 43) • ใช้อำนาจตามมาตรา 44

  40. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) (มาตรา 6-มาตรา9) สมาชิกไม่เกิน 220 คน (อายุ 40 ปี ห้ามเป็นผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง 3 ปีก่อนได้รับแต่งตั้ง, ห้ามเป็น รมต. , สปร.)

  41. อำนาจหน้าที่ • ตรา พรป. , พรบ. (มาตรา 14) และอนุมัติ พรก. (มาตรา 21) • ให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญาบางประเภทตามมาตรา 23 วรรค 2 และ วรรค 3 • ให้ความเห็นชอบในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 46 • ลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี (มาตรา 19 วรรค 1) และให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งตามข้อเสนอ คสช. (มาตรา 19 วรรค 3)

  42. 5. ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน - ตั้งกระทู้ (มาตรา 16 วรรค 1) - อภิปรายซักถามข้อเท็จจริง (มาตรา 16 วรรค 2) - อภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติ (มาตรา 17) 6. เสนอความเห็นหรือยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ สปร. เสนอ (มาตรา 36 วรรค 3 และมาตรา 34 วรรค 2) - การขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต้องให้สมาชิก สปร. 25 คนรับรอง และสมาชิก 1 คน รับรองได้ 1 คำขอ จึงมีคำขอแก้ไขเพิ่มเติมได้ไม่เกิน 10 คำขอ

  43. คณะรัฐมนตรี (ครม.) (มาตรา 19-25) นายกรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามมติ สนช. รัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน (อายุ 40 ปี, เป็นสมาชิกพรรคการเมือง 3 ปี ก่อนได้รับแต่งตั้งไม่ได้)

  44. อำนาจหน้าที่ (มาตรา 19 วรรค 1) 1. บริหารราชการแผ่นดิน 2. ดำเนินการให้มีการปฏิรูปในด้านต่างๆ 3. ส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ รวมถึงอำนาจบริหารอื่นซึ่งเป็นพระราชอำนาจ (Royal Prerogative) ซึ่งต้องมีรัฐมนตรีนายหนึ่งลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ อาทิ การแต่งตั้งข้าราชการ (มาตรา 24 ประกอบ มาตรา 25) ฯลฯ

  45. 5. รัฐธรรมนูญจัดให้มีการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ มาตรา 27 กำหนดให้มีการปฏิรูป 11 ด้าน 1. การปฏิรูปการเมือง 2. การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน 3. การปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 4. การปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น 5. การปฏิรูปการศึกษา 6. การปฏิรูปเศรษฐกิจ 7. การปฏิรูปพลังงาน 8. การปฏิรูปสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

  46. 9. การปฏิรูปการสื่อสารมวลชน 10. การปฏิรูปสังคม 11. การปฏิรูปด้านอื่นๆ (เน้นจริยธรรม/ศาสนา) วัตถุประสงค์การปฏิรูป 1. ให้การปกครองมีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย 2. มีระบบเลือกตั้งที่สุจริตและเป็นธรรม 3. มีกลไกป้องกันและขจัดการทุจริตที่มีประสิทธิภาพ 4. ขจัดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 5. ทำให้กลไกของรัฐให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว 6. มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม

  47. สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปร. ; National Reform Assembly) (มาตรา 28) สมาชิกไม่เกิน 250 คน (อายุ 35 ปี; เป็นสมาชิกพรรค, ดำรงตำแหน่งในพรรคได้)

  48. การสรรหา สปร. มาตรา 30 และ พรฎ. นิติบุคคลที่ไม่แสวงหากำไรเสนอชื่อหน่วยละ 2 ชื่อ ต่อ คกก. เลขาธิการ กกต. ตรวจสอบคุณสมบัติเสร็จ ประกาศแต่งตั้ง คกก. สรรหา 20 วัน 10 วัน - จังหวัดละ 1 คณะ รวม 77 คณะ - ด้านต่างๆ 11 คณะ 10 วัน คกก. สรรหารับชื่อจาก เลขาธิการ กกต. คสช. รับมาเพื่อคัดเลือก 10 วัน คสช. คัดเลือกแล้วเสร็จและนำชื่อกราบบังคมทูล - จังหวัดละ 1 คน รวม 77 คน - ด้านต่างๆ 173 คน รวมระยะเวลาสรรหาและคัดเลือก 50 วัน

  49. อำนาจหน้าที่ (มาตรา 31) • ศึกษาและทำแนวทางข้อเสนอแนะการปฏิรูปต่อ • สนช. หากจำเป็นต้องตรากฎหมาย ก็เสนอร่างต่อ สนช. ได้ (มาตรา 31 วรรค 2) • ครม. • คสช. • หน่วยงานต่างๆ 2. เสนอความเห็น คำขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อคณะกรรมาธิการยกร่างฯ และให้ความเห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญ (มาตรา 31 วรรค 3, มาตรา 36, มาตรา 37)

  50. เมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญไม่เสร็จ หรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ หรือพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบ ให้ สปร. และ คกธ. ยกร่างฯ สิ้นสุดลง และจะกลับมาดำรงตำแหน่งไม่ได้ (มาตรา 38) ถ้าจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จและประกาศใช้ สปร. และ คกธ. ยกร่างยังคงอยู่เพื่อทำพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (มาตรา 39)

More Related