1 / 26

คู่มือการ จ่ายค่าตอบแทนตามผลการ ปฏิบัติงาน ( Pay for Performance:P4P )

คู่มือการ จ่ายค่าตอบแทนตามผลการ ปฏิบัติงาน ( Pay for Performance:P4P ). นพ.ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย. หลักการ. ออกแบบให้ ยืดหยุ่น สามารถปรับเข้ากับบริบทของโรงพยาบาลได้หลากหลาย จากประสบการณ์การออกแบบค่าตอบแทนที่ผ่านมา และประสบการณ์ในการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน (P4P)

zandra
Download Presentation

คู่มือการ จ่ายค่าตอบแทนตามผลการ ปฏิบัติงาน ( Pay for Performance:P4P )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. คู่มือการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน(Pay for Performance:P4P) นพ.ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย

  2. หลักการ • ออกแบบให้ ยืดหยุ่น สามารถปรับเข้ากับบริบทของโรงพยาบาลได้หลากหลาย จากประสบการณ์การออกแบบค่าตอบแทนที่ผ่านมา และประสบการณ์ในการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน (P4P) • มีความนิ่ง ในหลักการของการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน • ผลที่คาดว่าจะเกิด คือ มีการพัฒนา ระบบการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน ที่เป็นธรรม และตอบสนองการแก้ปัญหาบุคลากรในโรงพยาบาล

  3. หลักการ

  4. หลักการ

  5. รายละเอียดในคู่มือ • ระบุหลักการและทางเลือกในการปฏิบัติ • พยายามอธิบายหลักการและวิธีการ รวมถึงข้อดี ข้อเสีย ของ แต่ละทางเลือกในการปฏิบัติ เพื่อประกอบการตัดสินใจ • ทางเลือกบางประการอาจไม่ได้รับความสนใจแล้วในปัจจุบัน • ตัวอย่างพร้อมใช้งานของแต่ละทางเลือก สามารถนำไปปรับใช้ได้

  6. รายละเอียดคู่มือ P4P

  7. รายละเอียดคู่มือ P4P

  8. ค่าคะแนนประกันขั้นต่ำค่าคะแนนประกันขั้นต่ำ • คะแนนจากการปฏิบัติงานที่เก็บได้มากกว่าคะแนนประกันขั้นต่ำ จึงจะสามารถเบิกค่าตอบแทน P4P • มาตรฐานเวลาทำการที่นำมาคิดคะแนนประกันขั้นต่ำ คือ 20 วันต่อเดือน มาจากคิดวันทำงานทั้งปี มาหาค่าเฉลี่ยเพื่อให้แต่ละเดือนใกล้เคียงกัน และสะดวกในการจัดเก็บข้อมูล และ 7 ชม.ต่อวัน • ไม่ให้บุคลากรเก็บค่าคะแนนผลการปฏิบัติงาน (Work point) ในกิจกรรมที่มีการจ่ายค่าตอบแทนรายกิจกรรมอยู่แล้ว (เช่น การจ่ายค่าตอบแทนในการผ่าตัดต่อราย เป็นต้น)

  9. วิธีกำหนดคะแนนประกันขั้นต่ำ • การกำหนดค่าคะแนนประกันผลการปฏิบัติงานขั้นต่ำ สามารถกำหนดได้หลายวิธี • คิดตามฐานเงินเดือน กำหนดให้นำเงินเดือนที่ได้รับมาปรับเป็นคะแนนประกันขั้นต่ำ ในอัตรา 10 บาทต่อ 1 คะแนน • ข้อพึงระวัง ข้าราชการอาวุโสคะแนนประกันขั้นต่ำสูงมาก • หากเลือกใช้วิธีนี้จำเป็นต้องมีการกำหนดค่าคะแนนประสบการณ์เป็นตัวคูณในการเก็บค่าคะแนนปฏิบัติงานตามระบบปกติด้วย

  10. วิธีกำหนดคะแนนประกันขั้นต่ำ 2. คิดตามอัตรากลางที่กำหนดไว้ มี 2 วิธีย่อย 2.1 กำหนดให้บุคลากรแต่ละคนมีค่าคะแนนประกันขั้นต่ำเท่ากัน โดยคิดจากเวลาทำงานขั้นต่ำต่อวันของข้าราชการทั่วไป =8,400 นาทีต่อเดือน กำหนดให้ 1 นาที เทียบเท่ากับ 1 คะแนน ค่าคะแนนประกันขั้นต่ำของทุกสาขาวิชาชีพจะเป็น 8,400 คะแนนต่อเดือนเท่ากัน ใช้กับการคิดค่าคะแนนปฏิบัติงานแบบ ModifyHay Guide Chart ข้อพึงระวัง แม้จะมีระยะเวลาทำงานเท่ากัน แต่ความยากง่ายของงานไม่เท่ากัน แนะนำให้แยกการจัดสรรเงินค่าตอนแทนตามกลุ่มวิชาชีพ หรือต้องมีคณะกรรมการกลางในการวิเคราะห์ค่างานของทุกวิชาชีพตามเกณฑ์เดียวกัน ทำร่วมกันทุกวิชาชีพอีกระดับหนึ่ง

  11. วิธีกำหนดคะแนนประกันขั้นต่ำ 2.2 กำหนดให้บุคลากรวิชาชีพเดียวกันมีค่าคะแนนประกันผลการปฏิบัติงานขั้นต่ำเท่ากัน (แต่บุคลากรต่างวิชาชีพจะมีค่าคะแนนประกันผลการปฏิบัติงานขั้นต่ำไม่เท่ากัน) • อิงหลักการ แต่ละวิชาชีพมีความยากง่ายในการทำงานไม่เท่ากัน วิชาชีพที่ยากกว่าจะมีค่าคะแนนปฏิบัติงานมากกว่า ค่าคะแนนประกันขั้นต่ำที่สูงกว่า • ใช้วิธีเทียบเคียงจากค่าตอบแทนล่วงเวลาของแต่ละวิชาชีพนั้นๆ • นำอัตรา OT ของวิชาชีพนั้นๆ มากำหนดเป็นค่าคะแนนประกันใน 1 วันคูณด้วย 20 วันทำการ อัตราคะแนนละ 10 บาท เช่น แพทย์ อัตรา OT = 1,100 บาท = 110 แต้มต่อวัน ดังนั้นค่าคะแนนประกันขั้นต่ำของแพทย์ = 110x20 = 2,200 แต้ม

  12. วิธีกำหนดคะแนนประกันขั้นต่ำ 3. การกำหนดค่าคะแนนประกันขั้นต่ำในส่วนของการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ 3.1 วิธีที่ 1 คิดค่าคะแนนประกันขั้นต่ำสำหรับการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ • โดยนำค่าตอบแทนที่ได้รับทั้งหมดมากำหนดเป็นค่าคะแนนประกันขั้นต่ำ เพิ่มจากค่าคะแนนประกันขั้นต่ำของการปฏิบัติงานในเวลาราชการ (ข้อ 1 หรือ 2 ข้างต้น) ในอัตราคะแนนละ 10 บาท • ตัวอย่างเช่น แพทย์ได้รับ OT ในเดือนนั้นเป็นเงินทั้งสิ้น 12,000 บาท ดังนั้นค่าคะแนนประกันผลการปฏิบัติงานขั้นต่ำของแพทย์รายนี้ = 2,200+(12,000/10) = 3,400 แต้ม • เหมาะสำหรับโรงพยาบาลที่มีปริมาณงานนอกเวลาราชการค่อนข้างมากในทุกกลุ่มงานที่ขึ้นปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ

  13. วิธีกำหนดคะแนนประกันขั้นต่ำ 3.2 วิธีที่ 2 ไม่คิดค่าคะแนนประกันขั้นต่ำสำหรับการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ และกำหนดให้บุคลากรทั้งหมดที่ขึ้นปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ งดการเก็บค่าคะแนนผลการปฏิบัติงาน(Work point) ในขณะที่ขึ้นปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ยกเว้น บุคลากรที่ขึ้นปฏิบัติงานในลักษณะเวรผลัด (ปฏิบัติงานในลักษณะเดียวกับพยาบาลที่ขึ้นปฏิบัติงานในลักษณะเวรผลัด) บุคลากรกลุ่มนี้ให้นำค่าตอบแทนที่ได้รับทั้งหมดมากำหนดเป็นค่าคะแนนประกันขั้นต่ำเพิ่มจากเดิม และให้เก็บค่าคะแนนผลการปฏิบัติงาน(Work point) ในขณะที่ขึ้นปฏิบัติงานนอกเวลาราชการได้ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการกำหนดวันทำการในตารางปฏิบัติงาน) เหมาะสำหรับโรงพยาบาลที่มีปริมาณงานนอกเวลาราชการไม่มาก หรือโรงพยาบาลที่มีปริมาณงานนอกเวลาราชการมากเฉพาะในบางกลุ่มงาน

  14. วิธีกำหนดคะแนนประกันขั้นต่ำ 3.3 วิธีที่ 3 ปรับวิธีที่ 3.1 และ 3.2 เข้าหากัน คิดสัดส่วนที่กำหนดกับค่าตอบแทนที่ได้รับ มากำหนดเป็นค่าคะแนนประกันขั้นต่ำเพิ่มจากค่าคะแนนประกันขั้นต่ำของการปฏิบัติงานในเวลาราชการ (เช่น กำหนด 25 % ของค่าตอบแทนนอกเวลาที่ได้รับมาเป็นค่าคะแนนประกันขั้นต่ำเพิ่มเติม) ในอัตราคะแนนละ 10 บาท เช่น แพทย์ได้รับ OT ในเดือน 12,000 บาท และโรงพยาบาลกำหนดให้คิด 25 % ของค่าตอบแทนนอกเวลาเป็นค่าคะแนนประกันขั้นต่ำเพิ่มเติม ดังนั้นค่าคะแนนประกันขั้นต่ำของแพทย์รายนี้ = 2,200+{(12,000x25/100)/10} = 2,500 แต้ม อนุญาตให้บุคลากรทั้งหมดที่ขึ้นปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ จัดเก็บค่าคะแนนผลการปฏิบัติงาน(Work point) ในขณะที่ขึ้นปฏิบัติงานนอกเวลาราชการได้ เหมาะสำหรับโรงพยาบาลที่มีปริมาณงานนอกเวลาราชการในระดับปานกลาง

  15. รายละเอียดคู่มือ P4P

  16. ระบบการคิดค่าคะแนนปฏิบัติงาน (Work Point System) • การวัดปริมาณภาระงาน (Workload) มี 5 วิธี • Activity base approach กำหนดค่าคะแนนรายกิจกรรมของทุกงาน โดยคำนึงถึง เวลาที่ใช้ในการทำงานนั้นๆ คะแนนต่อเวลาของแต่ละวิชาชีพ และคะแนนความยากง่าย บุคลากรต้องเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานทุกงานโดยละเอียด • Apply activity base ปรับการเก็บข้อมูลให้ง่ายขึ้น เป็นลักษณะเหมารวมเช่น ไม่เก็บข้อมูลรายกิจกรรมของพยาบาล แต่เก็บข้อมูลการจำแนกประเภทผู้ป่วยแล้วปรับเป็นคะแนนให้แทน เป็นต้น

  17. ระบบการคิดค่าคะแนนปฏิบัติงาน (Work Point System) • Result Base approach by DRG-RWเป็นการนำ DRG มาปรับใช้กับกิจกรรมของแพทย์ จึงเก็บข้อมูลเฉพาะผู้ป่วย ไม่ต้องเก็บข้อมูลกิจกรรมละเอียด • ใช้กับการดูแลผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก และกิจกรรมอื่น ๆ ใช้วิธี Activity base approach หรือ Apply Activity with time base approach • ใช้ได้เฉพาะแพทย์เท่านั้น RW P4P = RW - ต้นทุนบริการ RW P4P = RW - Material cost Base rate per RW

  18. ระบบการคิดค่าคะแนนปฏิบัติงาน (Work Point System) • Job Evaluation byModified Hay-Guide Chartประเมินค่างานจากการเปรียบเทียบปัจจัยการปฏิบัติงาน 2 ด้าน ได้แก่ • องค์ประกอบด้านประสบการณ์: ระดับความรู้ทางวิชาการ, การจัดการ, มนุษยสัมพันธ์, สภาพการปฏิบัติงาน • ด้านความรับผิดชอบ: ระดับความรับผิดชอบต่อผลสำเร็จ, ความยากง่าย, การมีส่วนร่วม,ลักษณะงาน ปริมาณภาระงาน = จำนวนหน่วยบริการของงาน x เวลามาตรฐาน x ระดับ ค่างานจากการเปรียบเทียบ วิธีเหมาะกับทุกวิชาชีพ แต่ขณะนี้มีเกณฑ์ที่จัดทำเสร็จแล้วสำหรับ พยาบาล เภสัชกร และทันตแพทย์

  19. ตัวอย่างคะแนน Job Evaluation byModified Hay-Guide Chart

  20. ระบบการคิดค่าคะแนนปฏิบัติงาน (Work Point System) • PiecesRate paymentจ่ายค่าตอบแทนตามปริมาณงานโดยการมอบหมายงานให้ทำให้สำเร็จเป็นชิ้นงานในระยะเวลาที่กำหนดเหมาะกับงานที่มีลักษณะเป็นชิ้นงาน สามารถจัดทำให้แล้วเสร็จเป็นครั้งๆ ไปได้แก่ งานสนับสนุน งานบริหาร งานโครงการที่มีระยะเวลากำหนดชัดเจน เป็นต้น • การจ่ายค่าตอบแทนตามปริมาณภาระงาน สามารถเลือกใช้ระบบการคิดค่าคะแนนผสมผสานได้หลายวิธี เช่น 1. ใช้วิธี Result baseapproach by DRG-RW สำหรับแพทย์ และใช้วิธี Job evaluation by Modified Hay-Guide Chart สำหรับวิชาชีพ พยาบาล เภสัชกร ทันตแพทย์ ในส่วนของงานบริหารใช้วิธี Work piece เป็นต้น หรือ 2. ใช้วิธี Result baseapproach by DRG-RW สำหรับแพทย์ บุคลากรอื่นใช้วิธี Activity base หรือ Apply Activity baseเป็นต้น

  21. ระบบการคิดค่าคะแนนปฏิบัติงาน (Work Point System) การวัดคะแนนคุณภาพงาน(Quality Point) • หลักการคิดค่าคะแนนคุณภาพต้องคำนึงถึง ผลงานคุณภาพทั้งเป็นรายหน่วยงาน ทีมงาน ทีมคร่อมสายงาน และรายบุคคล • กำหนดจัดเก็บค่าคะแนนเป็นรายกิจกรรมหรือ • วัดตาม KPI ของโรงพยาบาลและของหน่วยงาน • อาจถ่วงน้ำหนักค่าความมีส่วนร่วมในผลงานดังกล่าวเป็นรายบุคคล เช่น 80% ของคะแนนคุณภาพที่ได้เฉลี่ยให้บุคลากรทุกคนในหน่วยงาน 20% ที่เหลือแบ่งหัวหน้าหน่วยและผู้รับผิดชอบโดยตรงอีกคนละ 10% • ค่าคะแนนปฏิบัติงานตามคุณภาพ( Quality point) ที่ได้ นำมาจัดสรรเพิ่มเติมจากค่าคะแนนปฏิบัติงานตามปริมาณงานที่เก็บได้ หรืออาจนำมาเป็นตัวคูณกับค่าคะแนนผลการปฏิบัติงานตามปริมาณงานที่เก็บได้

  22. ระบบการคิดค่าคะแนนปฏิบัติงาน (Work Point System) การคิดคะแนนสำหรับงานบริหารกลางของโรงพยาบาล 1. ปรับลดค่าคะแนนประกันผลการปฏิบัติงานขั้นต่ำของผู้บริหารแต่ละระดับ เป็นสัดส่วน 2. จัดสรรวงเงินค่าตอบแทนสำหรับงานบริหารกลางของผู้บริหารแต่ละระดับ แยกออกจากค่าตอบแทน P4P • 2.1 เหมาจ่ายเป็นรายเดือนตามความรับผิดชอบในการบริหาร • 2.2 จัดสรรตามผลการปฏิบัติงานในภาพรวมของฝ่ายหรืองาน • ค่าคะแนนกิจกรรมกลาง เช่น การเข้าร่วมประชุมกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงพยาบาล

  23. รายละเอียดคู่มือ P4P

  24. การจัดกระบวนการภายใน การมีส่วนร่วม การตรวจสอบ • คณะกรรมการพิจารณาค่าคะแนนผลการปฏิบัติงาน • คณะกรรมการตรวจสอบค่าคะแนนผลการปฏิบัติงาน • การประเมินผล • การบริหารผลการปฏิบัติงาน • การตรวจสอบ • การมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่

  25. การอภิบาลระบบ กำกับและประเมินผล 1. ต้องมีการกำหนดข้อควรตระหนักสำหรับผู้บริหารในการวางระบบการจ่ายค่าตอบแทน ตามผลการปฏิบัติงาน 2. รพ.ต้องส่งแผนเงินบำรุงที่มีประมาณการรายจ่ายของ P4P ที่ชัดเจน เพื่อใช้ประกอบการติดตามกำกับ ส่งให้กลุ่มประกันของ สสจ.และ สป. (เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับการรายงานการเงินในระบบปกติ) 3. การ M&E ให้ สสจ. และ CFO เขต เป็นผู้ติดตามกำกับ 4. ควรมีระบบรายงานส่งให้ส่วนกลางเป็นผู้ประเมินในช่วง 3-5 ปีแรก เป็นรายงวด ๆ ละ 6 เดือน (จากนั้นก็ให้เขตดูแลต่อไป) รายงานประกอบด้วย ข้อมูล process indicator และ output indicator เช่น งบที่ใช้รวม, งบเฉลี่ยต่อบุคลากร, CMI, total RW, ค่าเฉลี่ยต่อpoint, ข้อมูล Output เช่น ผลงาน Quality ของหน่วยงาน 5. หน่วยงานภายนอก เช่น สวปก.เป็นผู้ประเมิน คุณภาพ ประสิทธิภาพ ขวัญกำลังใจ

More Related