500 likes | 800 Views
Technical Analysis. โดย : ธนรัตน์ อิศรกุล. การวิเคราะห์หลักทรัพย์. การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ( Fundamental Analysis) การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค ( Technical Analysis). แผนภูมิทางเทคนิค. แผนภูมิแบบเส้น ( Line chart ) แผนภูมิแบบแท่ง ( Bar chart )
E N D
Technical Analysis โดย: ธนรัตน์ อิศรกุล
การวิเคราะห์หลักทรัพย์การวิเคราะห์หลักทรัพย์ • การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ( Fundamental Analysis) • การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค ( Technical Analysis)
แผนภูมิทางเทคนิค • แผนภูมิแบบเส้น ( Line chart ) • แผนภูมิแบบแท่ง ( Bar chart ) • แผนภูมิแท่งเทียน( Candlestick chart )
Line Chart ลักษณะแบบเส้น( Line Chart ) เป็นการนำราคาปิดมาลากต่อเนื่อง โดยไม่ใช้ราคาสูงสุดและต่ำสุด
Bar Chart ลักษณะแบบแท่ง ( Bar Chart ) ; เป็นแท่งแนวตั้ง มีเส้นขวางด้านซ้ายแทนราคาเปิด เส้นขวางด้านขวาแทนราคาปิด จุดสูงสุดของแท่งแทนราคาสูงสุด และจุดต่ำสุดของแท่งแทนราคาต่ำสุด
Candlestick Chart ลักษณะแบบแท่งเทียน ( Candlestick Chart ) ประกอบด้วย ราคาเปิด ราคาปิด จุดสูงสุดและจุดต่ำสุด
Dow’s TheoryPrimary Trend ขาขึ้น • Bottomใหม่สูงกว่า Bottom เก่า • Top ใหม่สูงกว่า Top เก่า • ระยะที่ราคาหุ้นวิ่งขึ้นจะยาวกว่าที่ราคาหุ้นวิ่งลง ขาลง • Bottomใหม่ต่ำกว่า Bottom เก่า • Top ใหม่ต่ำกว่า Top เก่า • ระยะที่ราคาหุ้นวิ่งลงจะยาวกว่าที่ราคาหุ้นวิ่งขึ้น
Intermediate TrendMinor Trend Intermediate Trend Minor Trend ตัวอย่าง : รูปแบบขาขึ้น ในแนวโน้มระยะกลาง ( Intermediate trend ) และแนวโน้มระยะสั้น ( Minor Trend )
Bull Market ตลาดกระทิง ( Bull Market ) : เป็นตลาดขาขึ้น จะเห็นได้ว่าเมื่อตลาดปรับตัวลงมาที่แนวรับใหญ่จะดีดตัวกลับขึ้นไปได้ทุกครั้ง และจะทำจุดสูงสุดใหม่สูงกว่าเก่า
Bear Market ตลาดขาลง ( Bear Market ) : เป็นตลาดขาลง แรงขายหนาแน่นเมื่อหลุดแนวรับใหญ่ ในขณะที่ จะเกิดจุดต่ำสุดใหม่และมีจุดยอดต่ำกว่าเดิม
วิธีการวิเคราะห์ทางเทคนิควิธีการวิเคราะห์ทางเทคนิค • TREND LINE • MOVING AVERAGE LINE • INDICATORS , MACD , RSI ,STOCH • PATTERNS • MOMENTUM
TREND LINE เส้นแนวโน้ม ( Trend line )เป็นเส้นที่ลากจากจุดต่ำสุดมาหาอีกจุดหนึ่งลากต่อขึ้นไป รอจนกว่าตกลงหลุดเส้นแนวโน้ม ถือว่าเป็นมีการเปลี่ยนรูปแบบเกิดขึ้น
MISTAKE TREND LINE ในภาพแสดงการลาก Trend lineที่ผิด โดยไม่ได้ลากจากจุดต่ำสุด แต่กลับไปลากในช่วงกลางทาง ซึ่งทำให้วิเคราะห์จุดที่ตกลงมาต่ำกว่าเส้นแนวโน้มผิดไป
Moving Average จุดขาย จุดขาย จุดซื้อ จุดซื้อ จุดซื้อ เส้นค่าเฉลี่ย: จุดซื้อเกิดเมื่อเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นตัดเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวขึ้นมา จุดขายจะเกิดเมื่อระยะสั้นตัดเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวลงมา
PLE & MACD Bearish Divergence ใน MACD: เป็นลักษณะที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นทำ New high แต่เครื่องมือ MACD ไม่ได้ปรับขึ้นตาม เป็นสัญญาณเตือนว่าราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้นได้อีกไม่ไกล
PLE & RSI Bearish Divergence ใน RSI : เป็นเครื่องมืออีกอันหนึ่งที่สามารถดูรูปแบบ Bearish & Bullish Divergence
PLE & STOCH Modified Stochastic : แสดงสัญญาณซื้อขาย หากค่า %K ตัดเส้น %D และยังแสดงขอบเขตภาวะ Oversold 0% - 20 % และ Overbought 80% - 100%
HEAD&SHOULDER TOP รูปแบบหัวและไหล่ด้านบน ( Head & Shoulder Top ) ประกอบด้วย ไหล่ซ้าย หัว และไหล่ขวา เมื่อราคาตัดเส้น Neckline ลงมา แสดงถึงรูปแบบจะเปลี่ยนเป็นขาลง
HEAD&SHOULDER BOTTOM รูปแบบหัวและไหล่ด้านล่าง ( Head & Shoulder Bottom ) ส่วนใหญ่จะเกิดที่จุดต่ำสุดของตลาด เมื่อสามารถทะลุเส้น Neck line ไปได้ แสดงถึงการเปลี่ยนเป็นรูปแบบขาขึ้น
ROUNDING TOP รูปแบบจานคว่ำ ( Rounding Top ) จะเห็นเริ่มมีแรงขายทยอยเกิดขึ้นจนทำให้ราคาหุ้นไม่สามารถปรับตัวขึ้นทำ New high ได้เหมื่อนครั้งก่อน จนทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลงในที่สุด
ROUNDING BOTTOM รูปแบบจานหงาย ( Rounding Bottom )ภายหลังจากราคาหุ้นได้ปรับตัวลงมาถึงจุดหนึ่ง และเริ่มมีแรงซื้อสะสมเกิดขึ้นและสร้างฐาน จนราคาปรับตัวขึ้นมาในท้ายที่สุด
DOUBLE BOTTOM Double Bottom : เกิดจุดต่ำสุดสองจุดในระดับใกล้เคียงกัน มักพบในช่วงราคาหุ้นปรับตัวลงมาในระดับหนึ่งแล้ว และมีแนวโน้มที่หุ้นจะปรับตัวขึ้น
DOUBLE TOP Double Top : เกิดจุดสูงสุดสองจุดในระดับใกล้เคียงกัน มักพบอยู่ในช่วงจุดสูงสุด และมีแนวโน้มที่หุ้นจะปรับตัวลง
V-FORMATION V- Formation: เป็นการเปลี่ยนแนวโน้มอย่างรวดเร็ว โดยไม่มีสัญญาณเตือน ในขณะที่ปริมาณการซื้อขายจะเป็นไปตามการแกว่งตัว
TRIPLE TOP 1 2 3 Triple Top: มีสามยอดสูงสุดอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่จะเกิดในจุดสูงสุดของตลาด เป็นสัญญาณเตือนว่าราคาหุ้นจะปรับตัวลงในอีกไม่ช้า
TRIPLE BOTTOM 1 2 3 Triple Bottom :มีสามยอดต่ำสุดอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่จะเกิดในจุดต่ำสุดของตลาด เป็นสัญญาณเตือนว่าราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้นในอีกไม่ช้า
Candlestick Reversal Pattern BEARISH ENGULFING PATTERN BULLISH ENGULFING PATTERN
Candlestick Reversal Pattern Dark Cloud Cover Piercing Line
ตัวอย่างลักษณะ Bullish Engulfing Pattern : แท่งเทียนสีขาวปกคลุมแท่งเทียนสีดำเต็มแท่งบอกถึงแนวโน้มการปรับตัวขึ้นต่อ
Candlestick Reversal Pattern Hammer Hanging Man
Candlestick Reversal Pattern Doji evening Star Doji morning Star
กลยุทธ์การลงทุนทางเทคนิคกลยุทธ์การลงทุนทางเทคนิค การวิเคราะห์ทางเทคนิค ควรจะ • ตั้งจุดขายหยุดการขาดทุน ( stop loss ) • ปล่อยให้หุ้นที่มีอยู่ทำกำไร ( let profit run ) • ปกป้องผลกำไร ( protect your profit ) • มีความคิดสวนทาง ( contrarian opinion ) • เรียนรู้และการฝึกฝน ( learn & practice ) • มีระเบียบวินัยในการลงทุน ( investment discipline ) • ซื้อขายถูกเวลาด้วยราคาที่เหมาะสม ( right time / right price )
ประโยชน์ของการวิเคราะห์ทางเทคนิคประโยชน์ของการวิเคราะห์ทางเทคนิค • มีความยืดหยุ่น • ย่นระยะเวลาการศึกษาและการวิเคราะห์ลง • ค้นพบสาเหตุของการปรับขึ้นก่อน • ให้จังหวะในการเข้าออกตลาดหุ้น
ข้อเสียการวิเคราะห์ทางเทคนิคข้อเสียการวิเคราะห์ทางเทคนิค • ข้อสรุปที่รวดเร็วอาจทำให้การวิเคราะห์ไม่ละเอียดเพียงพอ • ไม่รู้ถึงแนวคิดเบื้องหลังของเครื่องมือทางเทคนิคต่างๆ • มักเข้าผิดไปว่าวิธีทางเทคนิคสามารถซื้อและขายได้ที่ราคาสูงสุดและต่ำสุด • สัญญาณการวิเคราะห์ทางเทคนิคไม่จำเป็นต้องถูกต้องเสมอ
3 2 1 BUY จุดซื้อเกิดขึ้นเมื่อเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นตัดเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวขึ้นมา ในขณะที่มีปริมาณหุ้นสูงขึ้นตาม
BUY ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไปถึงระดับหนึ่งจนเริ่มมีแรงขายทำกำไร ทำให้ราคาหลุดเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น ในขณะที่ RSI อยู่ในระดับ Overbought เป็นสัญญาณเตือนว่าจะขึ้นได้อีกไม่ไกล
BUY เครื่องมือ Modified Stochastic เกิดสัญญาณขาย
สอดคล้องกับ MACDเกิดสัญญาณขายเช่นเดียวกัน
BUY ถึงแม้เราจะซื้อไม่ที่จุดต่ำสุด แต่การรอเกิดสัญญาณซื้อที่ชัดเจน และขายเมื่อเกิดสัญญาณที่ชัดเจนเช่นกัน ก็สามารถทำกำไรได้
ควรวิเคราะห์เครื่องมือหลายตัว จะให้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้น ในที่นี้ เครื่องมือ RSI Stochastic และ MACD เกิดสัญญาณขายพร้อมกัน
ภายหลังจากขายไปแล้ว ราคาหุ้นได้ปรับตัวลงไปตามแบบที่วิเคราะห์ไว้
จุดขาย S S H จุดซื้อ Overbought Overbought การฟอร์มตัวของหุ้นใช้เวลา 2 ปี เกิดเป็นรูปแบบ Head & Shoulder Bottom สัญญาณซื้อเกิดขึ้นเมื่อราคาทะลุผ่านเส้น Neck line ยืนยันจากการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มเช่นกัน จุดขายเมื่อราคาปรับตัวขึ้นไปมากแสดงให้เห็นใน RSI ในระดับ Overbought
Breaking down up trend and Bearish Confirmation Negative Divergence หุ้นปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง สัญญาณขายปรากฏเมื่อราคาปรับตัวหลุดเส้นแนวโน้มขาขึ้น ยืนยันได้จากการเกิดกราฟแท่งเทียนสีดำเต็มแท่ง และลักษณะ Negative Divergence ใน RSI
จุดขาย จุดขาย จุดซื้อ จุดขาย จุดซื้อ ใช้เส้นค่าเฉลี่ยหาจุดซื้อขาย สัญญาณซื้อเกิดขึ้นเมื่อ เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นตัดเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวขึ้น ในทางกลับกันเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นตัดเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวลง จะเป็นสัญญาณขาย ซึ่งจะใช้ได้ดี เมื่อตลาดอยู่ในรูปแบบขาขึ้น
RESISTANCE ZONE SUPPORT ZONE หุ้นแกว่งตัวเป็นลักษณะ Side Way จุดซื้อเมื่อราคาตกลงมาบนแนวรับ และขายเมื่อชนแนวต้าน