790 likes | 1.46k Views
เอกสารประกอบการบรรยาย 14.45-16.00 น. แนวทางในการควบคุมและประเมินผลทางกลยุทธ์. การฝึกอบรม เรื่องการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning) สำหรับบุคลากรของเขตการศึกษาภูเก็ต 23 มีนาคม 2550. การประเมินโครงการ. สาระสำคัญ. ความหมาย
E N D
เอกสารประกอบการบรรยาย 14.45-16.00น. แนวทางในการควบคุมและประเมินผลทางกลยุทธ์ การฝึกอบรม เรื่องการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning) สำหรับบุคลากรของเขตการศึกษาภูเก็ต 23 มีนาคม 2550
สาระสำคัญ • ความหมาย • ประเภทของการประเมิน • รูปแบบ • โมเดลการประเมิน • การวิเคราะห์ระบบ • การเขียนโครงการประเมิน • ขั้นตอนการประเมินโครงการ • การออกแบบการประเมิน • การเขียนรายงานการประเมิน
ความหมายของการประเมินโครงการความหมายของการประเมินโครงการ การประเมินโครงการหมายถึงกิจกรรมการรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ความหมายข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับความต้องการการหาแนวทางวิธีการปรับปรุงวิธีการจัดการเกี่ยวกับการดำเนินงานและหาผลที่แน่ใจว่าเกิดจากโครงการเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น (นิศาชูโต. 2527:9)
ประเภทของการประเมินโครงการประเภทของการประเมินโครงการ จากวัตถุประสงค์ในการประเมินโครงการทำให้แบ่งประเภทของการประเมินผลโครงการได้ 3 ประเภท (รัตนะบัวสนธ์ .2540 : 21) ได้แก่ การประเมินผลโครงการก่อนดำเนินงานหรือการประเมินผลก่อนการดำเนินโครงการ การประเมินผลโครงการขณะดำเนินงานหรือการประเมินผลขณะดำเนินโครงการ การประเมินผลโครงการภายหลังสิ้นสุดการดำเนินงานหรือการประเมินผลภายหลังสิ้นสุดในโครงการ
รูปแบบการประเมินโครงการรูปแบบการประเมินโครงการ หมายถึงกรอบแนวคิดเค้าโครงหรือร่างในการประเมินโครงการซึ่งแสดงให้เห็นถึงภาพรวมทั้งหมดเกี่ยวกับการประเมินโครงการรูปแบบของการประเมินโครงการในปัจจุบันเกือบทั้งหมดเป็นรูปแบบที่มีจุดเริ่มต้นมาจากการประเมินทางการศึกษาซึ่งต่อมาได้มีผู้นำมาประยุกต์ใช้โดยแบ่งรูปแบบการประเมินผลโครงการออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 3 กลุ่มคือ (สุวิมลติรกานันท์.2544:39)
รูปแบบการประเมินโครงการรูปแบบการประเมินโครงการ Objective Based Modelในกลุ่มนี้มุ่งให้ความสนใจเปรียบเทียบผลที่ได้รับกับวัตถุประสงค์นักวิชาการในกลุ่มนี้ได้แก่ไทเลอร์และครอนบาช Judgemental Evaluation Modelในกลุ่มนี้มุ่งให้ความสนใจกับการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ถูกประเมินนักวิชาการในกลุ่มนี้ได้แก่สเต็กสคริฟเวนและโพรวัส Decision-oriented Evaluation Modelในกลุ่มนี้มุ่งผลิตสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจนักวิชาการในกลุ่มนี้ได้แก่สตัฟเฟิลบีมและอัลคิน
รูปแบบการประเมินของอัลคิน (Alkin) อัลคินกล่าวว่าการประเมินเป็นกระบวนการจัดหาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อที่จะนำไปใช้ตัดสินใจดังนั้นในการประเมินจำเป็นจะต้องดำเนินการในเรื่องต่างๆ 5 ด้านคือการประเมินระบบ (System assesment) การประเมินการวางแผนโครงการ (Program planning) การประเมินการปฏิบัติตามโครงการ (Program Implementation) การประเมินเพื่อการปรับปรุง (Program Improvement) และการประเมินเพื่อยอมรับโครงการ ( Program Confirmation)
รูปแบบของการประเมินของครอนบาช (Cronbach) ครอนบาชเสนอว่าในการประเมินจะต้องประกอบด้วยกระบวนวิธีการประเมินในด้านต่างๆ 4 ด้านคือการติดตามผลการวัดเจตคติการวัดความสามารถทั่วๆไปและการศึกษากระบวนการ
รูปแบบการประเมินของโพรวัส (Provas) เป็นกระบวนการของการเปรียบเทียบความแตกต่างของผลการปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริงกับมาตรฐานที่กำหนดขึ้นมาซึ่งมาตรฐานเหล่านั้นจะถูกกำหนดขึ้นทุกขั้นตอนของการประเมินและมีการพิจารณาดูว่ามีความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับมาตรฐานเพียงใดและนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงการดำเนินงานซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 5 ขั้นตอนคือการบรรยายโครงการการประเมินการดำเนินงานของโครงการการประเมินกระบวนการของโครงการการประเมินผลผลิตของโครงการและการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลกำไร
รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) สตัฟเฟิลบีมได้พัฒนารูปแบบการประเมินนี้ขึ้นในปีค.ศ. 1971 โดยมีแนวคิดในการสร้างสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจแบ่งการประเมินออกเป็น 4 ประเด็นตามประเภทของการตัดสินใจและการนำไปใช้ประโยชน์ดังนี้การประเมินบริบทหรือสภาวะแวดล้อม(Context Evaluation) การประเมินปัจจัยเบื้องต้น(Input Evaluation) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) การประเมินผลผลิต (Product Evaluation)
รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) การประเมินบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) เป็นการประเมินก่อนที่จะลงมือดำเนินการในโครงการใดๆเพื่อนำข้อมูลไปกำหนดหลักการและเหตุผลรวมทั้งพิจารณาความจำเป็นที่จะต้องจัดทำโครงการดังกล่าวการชี้ประเด็นปัญหาตลอดจนพิจารณาความเหมาะสมของโครงการ
รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) การประเมินปัจจัยเบื้องต้น(Input Evaluation) เป็นการพิจารณาความเหมาะสมความพอเพียงของทรัพยากรในการดำเนินโครงการตลอดจนเทคโนโลยีและแผนของการดำเนินงาน
รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เป็นการประเมินเพื่อหาข้อบกพร่องของการดำเนินโครงการหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่จะสั่งการเพื่อพัฒนางานต่างๆและบันทึกภาวะของเหตุการณ์ต่างๆรายงานความก้าวหน้าของโครงการ
รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) การประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เป็นการประเมินเพื่อเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้แต่ต้นเพื่อนำข้อมูลไปใช้ตัดสินการบรรลุความสำเร็จของโครงการ
การประเมินรูปแบบซิปนั้นเป็นการประเมินเพื่อให้ได้ข้อมูลในด้านต่างๆสำหรับประกอบการตัดสินใจคือการประเมินด้านสภาวะแวดล้อมเพื่อให้ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการวางแผนประเมินปัจจัยเบื้องต้นเพื่อให้ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการกำหนดโครงสร้างโครงการประเมินกระบวนการเพื่อให้ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการนำโครงการไปปฏิบัติและประเมินผลลัพธ์เพื่อให้ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจว่าควรดำเนินการโครงการต่อไปหรือล้มเลิกซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินกับการตัดสินใจดังกล่าวการประเมินรูปแบบซิปนั้นเป็นการประเมินเพื่อให้ได้ข้อมูลในด้านต่างๆสำหรับประกอบการตัดสินใจคือการประเมินด้านสภาวะแวดล้อมเพื่อให้ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการวางแผนประเมินปัจจัยเบื้องต้นเพื่อให้ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการกำหนดโครงสร้างโครงการประเมินกระบวนการเพื่อให้ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการนำโครงการไปปฏิบัติและประเมินผลลัพธ์เพื่อให้ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจว่าควรดำเนินการโครงการต่อไปหรือล้มเลิกซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินกับการตัดสินใจดังกล่าว
ภาพที่ 1 แสดงแผนภูมิประเภทการประเมินและการตัดสินใจในแบบจำลองซิป ประเภทของการประเมิน ประเภทของการตัดสินใจ ประเมินสภาวะแวดล้อม เพื่อการวางแผน เพื่อกำหนดโครงสร้าง ประเมินปัจจัยเบื้องต้น ประเมินกระบวนการ เพื่อนำโครงการไปปฏิบัติ เพื่อทบทวนโครงการ ประเมินผลผลิต
โมเดลการประเมินของสเตก(Stake’s Concepts and Model of Evaluation) สเตกได้สร้างรูปแบบจำลองทางความคิดเกี่ยวกับการประเมินขึ้นเรียกว่าโมเดลเคาน์ทิแนนซ์ (Stake’s Countenance Model) เป็นการประเมินใน 3 ประเด็นหลักคือปัจจัยเบื้องต้นการปฏิบัติและผลลัพธ์โดยแบ่งวิธีการเป็น 2 เมตริกซ์ประกอบด้วยเมตริกซ์การบรรยายและเมตริกซ์การตัดสินคุณค่า
ภาพที่ 2 แผนภูมิการประเมินของสเตก ความคาดหวัง (Intent) สิ่งที่เกิดขึ้นจริง (Observation) มาตรฐาน (Standard) การตัดสินใจ (Judgement) หลักการ (Rational) สิ่งนำหรือปัจจัยเบื้องต้น (Antecedents) การปฏิบัติ (Transactions) ผลผลิต (Outcome)
การวิเคราะห์ระบบ ( System Approach) แนวคิดการวิเคราะห์ระบบเป็นการนำเอาระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาประยุกต์ใช้โดยทำการประเมินใน 3 ส่วนได้แก่ปัจจัยนำเข้ากระบวนการและผลผลิต
การวิเคราะห์ระบบ ( System Approach) ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต
รูปแบบการประเมินโครงการที่กล่าวมาในแต่ละรูปแบบมีจุดเด่นจุดด้อยและประโยชน์แตกต่างกันไปซึ่งต้องนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมเพื่อใช้ในการประเมินให้ได้ผลดีที่สุด รูปแบบการประเมินโครงการที่กล่าวมาในแต่ละรูปแบบมีจุดเด่นจุดด้อยและประโยชน์แตกต่างกันไปซึ่งต้องนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมเพื่อใช้ในการประเมินให้ได้ผลดีที่สุด
กล่าวโดยสรุปการประเมินผลโครงการกล่าวโดยสรุปการประเมินผลโครงการ หมายถึงการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของโครงการต่างๆทั้งในระหว่างที่โครงการกำลังดำเนินอยู่หรือเมื่อโครงการได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วโดยอาจมีการนำเอาระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์มาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการประมาณการหรือประเมินค่าหรือคุณค่าของโครงการหรือความเป็นไปได้ของโครงการเพื่อการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของโครงการ
การเขียนโครงการการประเมินการเขียนโครงการการประเมิน
การประเมินโครงการ การประเมินโครงการมีแนวความคิดที่สำคัญ องค์ประกอบของการประเมิน ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลาของการประเมิน
การเขียนโครงการการประเมินประกอบด้วยส่วนต่างๆ 8 ส่วน 1. ชื่อโครงการประเมิน 2. หลักการและเหตุผล 3. วัตถุประสงค์ของการประเมิน
การเขียนโครงการการประเมินประกอบด้วยส่วนต่างๆ 8 ส่วน 4. วิธีดำเนินการประเมิน -ประชากร -กลุ่มตัวอย่าง -รูปแบบการประเมิน -เครื่องมือในการประเมิน -การเก็บรวบรวมข้อมูล -การวิเคราะห์ข้อมูล
5. เกณฑ์ในการประเมิน 6. ผู้รับผิดชอบโครงการประเมิน 7. ระยะเวลาในการประเมิน 8. ทรัพยากรที่ใช้ในการประเมิน
ขั้นตอนการประเมินโครงการ 6 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 วิเคราะห์โครงการ 1.บรรยายโครงการเพื่อให้เกิดความรู้เกี่ยวกับโครงการ 2.ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบของโครงการเพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ ขั้นตอนการประเมินโครงการ
ขั้นที่ 2 กำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน 1) กำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน 2) กำหนดคำถามหลักและคำถามรองสำหรับวัตถุประสงค์ของการประเมินแต่ละข้อ ขั้นตอนการประเมินโครงการ
ขั้นที่ 3 กำหนดวิธีการประเมิน 1) ระบุตัวแปรแนวทางการวัดและเครื่องมือที่ใช้สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล 2)กำหนดเกณฑ์ที่ใช้สำหรับการตัดสินใจ ขั้นตอนการประเมินโครงการ
ขั้นที่ 4 เก็บรวบรวมข้อมูล 1)สร้างเครื่องมือ 2) นำเครื่องมือไปเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนการประเมินโครงการ
ขั้นที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูล 1) วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ 2) ตัดสินคุณค่าตามเกณฑ์ของ แต่ละวัตถุประสงค์ ขั้นตอนการประเมินโครงการ
ขั้นที่ 6 จัดทำรายงานผลการประเมิน 1)จัดทำรายงานเสนอผู้บริหาร 2) นำผลที่ผ่านการพิจารณาเสนอให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ ขั้นตอนการประเมินโครงการ
ช่วงเวลาที่ทำการประเมินโครงการช่วงเวลาที่ทำการประเมินโครงการ การประเมินโครงการสามารถกระทำได้ 3 ระยะ การประเมินก่อนดำเนินงาน การประเมินระหว่างดำเนินงานและ การประเมินหลังการดำเนินงาน
การประเมินก่อนดำเนินงาน (Pre-Implementation Evaluation) เป็นการประเมินความเหมาะสมของตัวโครงการก่อนการดำเนินงานเช่นการประเมินความจำเป็นในการฝึกอบรมความจำเป็นหรือปัญหานั้นสามารถแก้ไขได้ดีที่สุดด้วยการฝึกอบรมหรือไม่? ความเหมาะสมของจุดมุ่งหมายวัตถุประสงค์เป้าหมายและวิธีการโอกาสของการประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายความเป็นไปได้ของโครงการเป็นต้น
การประเมินระหว่างดำเนินงาน (Implementation Evaluation) เป็นการประเมินกระบวนดำเนินงานการฝึกอบรมระหว่างที่การฝึกอบรมกำลังดำเนินการอยู่สำหรับพัฒนาประสิทธิภาพและปรับปรุงแก้ไขเช่นการประเมินการบริหารโครงการการดำเนินงานการฝึกอบรมที่ปฏิบัติจริงเมื่อเทียบกับแผนปัญหาอุปสรรค์ระหว่างการฝึกอบรมและการแก้ไขเป็นต้น
การประเมินหลังการดำเนินงาน (Post-Implementation Evaluation) 1.การประเมินปฏิกิริยา (Reaction) 2.การประเมินการเรียนรู้ (Learning) 3.การประเมินพฤติกรรม(Behavior) 4. การประเมินผลลัพธ์ที่เกิดต่อองค์การ (Results)
Model การประเมินของ Alkin Marvin C. Alkin มีแนวความคิดในการประเมินโครงการว่าเป็นการประเมินเพื่อการตัดสินใจและได้ให้ความหมายของการประเมินผลว่าเป็นกระบวนการกำหนดขอบเขตของสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจการเลือกข้อมูลข้อสารสนเทศที่เหมาะสมการรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่การจัดทำรายงานสรุปให้แก่ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจใช้ในการพิจารณาเลือกทางเลือกที่เหมาะสมเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการ
Model การประเมินของ Alkin 5 องค์ประกอบ 1. การประเมินระบบ (System Assessment) 2. การประเมินการวางแผนโครงการ (Program Planning ) 3. การประเมินการดำเนินการ (Program Implementation) 4. การประเมินเพื่อปรับปรุงโครงการ (Program Improvement) 5. การประเมินเพื่อการยอมรับโครงการ (Program Certification)
1. การประเมินระบบ (System Assessment) เป็นการประเมินเกี่ยวกับระบบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโครงการทั้งหมดตั้งแต่การกำหนดปัญหาการหาทางเลือกในการแก้ปัญหาการตัดสินใจเลือกทางเลือกในการแก้ปัญหาเพื่อนำมากำหนดเป็นขอบเขตจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ตลอดจนกระบวนการต่างๆในการดำเนินการตามโครงการ
2. การประเมินการวางแผนโครงการ (Program Planning ) เป็นการประเมินก่อนที่จะนำโครงการไปดำเนินการเพื่อดูว่าโครงการที่กำหนดขึ้นมานั้นมีการวางแผนที่เหมาะสมแค่ไหนเพื่อนำไปสู่การเลือกโครงการที่เหมาะสมต่อไปในการประเมินอาจจะกระทำได้โดยการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาว่าการวางแผนโครงการนั้นจะสามารถทำให้โครงการบรรลุตามที่คาดหวังไว้หรือไม่ทั้งนี้อาจต้องอาศัยเกณฑ์การประเมินทั้งจากภายนอกและภายใน
3. การประเมินการดำเนินการ (Program Implementation) เป็นการประเมินผลในขณะที่โครงการกำลังดำเนินเพื่อที่จะนำผลจากการประเมินมาใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้มีอำนาจตัดสินใจใช้ในการตัดสินว่าจากข้อมูลและสารสนเทศต่างๆเท่าที่โครงการดำเนินการไปแล้วนั้นโครงการดังกล่าวควรจะดำเนินการต่อไปในรูปใดจะมีการแก้ไขปรับปรุงหรือไม่ก่อนที่จะก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่โครงการได้
4. การประเมินเพื่อปรับปรุงโครงการ (Program Improvement) เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจในการปรับปรุงโครงการทั้งโครงการที่กำลังดำเนินอยู่และเมื่อโครงการสิ้นสุดแล้วในการประเมินผลนั้นจะดูว่าโครงการที่ประเมินนั้นจะประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลวในแต่ละด้านของโครงการตลอดจนผลกระทบที่มีต่อโครงการอื่นเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงโครงการ
5. การประเมินเพื่อการยอมรับโครงการ(Program Certification) ในบางครั้งผลจากการประเมินโครงการอาจต้องนำไปใช้เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการยอมรับว่าโครงการนั้นมีความสมเหตุสมผลและเหมาะสมที่จะนำไปดำเนินการเพื่อให้เกิดผลตามเป้าหมายดังนั้นในการประเมินผลจึงจำเป็นต้องหาข้อมูลหรือสารสนเทศเพื่อนำมาใช้อ้างอิงในการยืนยันว่าโครงการนั้นมีความเป็นไปได้และจะเกิดประโยชน์ทั้งนี้เพื่อการยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง
Model การประเมินผล (Evaluation) ของ Alkin ประเมินเพื่อการยอมรับโครงการ(Program Certificate) ประเมินระบบ(System Assessment) ประเมินการวางแผนโครงการ(Program Planning) ประเมินการดำเนินการ(Program Implement) ประเมินเพื่อการปรับปรุง(Program Improve)
การออกแบบการประเมิน ในการที่จะประเมินผลสิ่งใดก็ตามมีความจำเป็นมากที่ต้องออกแบบ (Design) ในการประเมินผลเสียก่อนซึ่งองค์ประกอบต่างๆที่ใช้ในการออกแบบการประเมินตามลำดับขั้นตอน 6 ขั้นดังนี้
การออกแบบการประเมิน 1. การเลือกจุดเน้นในการประเมิน ((Focusing) 2. การเลือกรูปแบบ Model ในการประเมิน (Designing) 3. การเก็บรวบรวบข้อมูล (Collecting) 4. การวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล (Analyzing and Interpreting) 5. การรายงานผลการประเมิน (Reporting) 6. การประเมินผลการประเมิน (Meta Evaluation)
ทางเลือกในการออกแบบการประเมินทางเลือกในการออกแบบการประเมิน 1.รูปแบบที่กำหนดตายตัวและไม่กำหนดตายตัว (Fixed VS. Emergent Evaluation) 2.การประเมินระหว่างโครงการและการประเมินรวบยอด (Formative VS. Summative Evaluation) 3.การประเมินแบบทดลองหรือกึ่งทดลองกับแบบไม่ทดลอง (Experimental or Quasi Experimental VS. Natural Evaluation)