1 / 56

Chapter 1 : ความรู้เบื้องต้นเศรษฐศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม

Chapter 1 : ความรู้เบื้องต้นเศรษฐศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม. เอกสารประกอบคำบรรยาย วิชา เศรษฐศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม EC482. คำอธิบายวิชา. ศ. 482 นโยบายสาธารณและการพัฒนาอุตสาหกรรม 3 หน่วยกิต EC 482 Economics of Industrialization วิชาบังคับก่อน: สอบได้ ศ. 312

Download Presentation

Chapter 1 : ความรู้เบื้องต้นเศรษฐศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Chapter 1:ความรู้เบื้องต้นเศรษฐศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม เอกสารประกอบคำบรรยาย วิชา เศรษฐศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม EC482

  2. คำอธิบายวิชา ศ.482 นโยบายสาธารณและการพัฒนาอุตสาหกรรม 3 หน่วยกิต EC 482 Economics of Industrialization วิชาบังคับก่อน: สอบได้ ศ.312 • ศึกษาทฤษฎีกลยุทธ์การพัฒนาอุตสาหกรรม ความสำคัญของภาคอุตสาหกรรมและการพัฒนาอุตสาหกรรมในระบบเศรษฐกิจไทย วิวัฒนาการของนโยบายอุตสาหกรรมในประเทศไทย บทบาทของรัฐบาลในภาคอุตสาหกรรม กฎหมายเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรม

  3. การวัดผล : รายงานกลุ่ม 10% (กรณีศึกษาอุตสาหกรรม กลุ่มละ 8 คน รายกลุ่ม 20min.) สอบกลางภาค 40% 30ธันวาคม 2553 (14.30-16.30) สอบปลายภาค 50% 5 มีนาคม 2554 (9.00-12.00)

  4. ความรู้เบื้องต้นเศรษฐศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมความรู้เบื้องต้นเศรษฐศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม • ความหมายของคำว่า “อุตสาหกรรม” และ “ภาคอุตสาหกรรม” • การจำแนกกิจกรรมทางอุตสาหกรรม • ความหมายของ“การทำให้เป็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรม” และ “การพัฒนาอุตสาหกรรม” • เหตุใดจึงต้องมีการพัฒนาอุตสาหกรรม • ความสำคัญของภาคอุตสาหกรรมในเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา • ลักษณะและปัญหาการผลิตสินค้าอุตสาหรรมในปัจจุบัน • บทบาทและความสำคัญของภาคอุตสาหกรรมในเศรษฐกิจไทย • นโยบายอุตสาหกรรมไทย

  5. ความนำ • เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรม (Economics of Industrialization) • ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม (industrial economics) • ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การพัฒนา (development economics) • เศรษฐศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม จะเน้นที่ความสัมพันธ์และความสำคัญของภาคอุตสาหกรรม ที่มีต่อกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม

  6. ความหมายของคำว่า “อุตสาหกรรม” และ “ภาคอุตสาหกรรม” • อุตสาหกรรม (industry) หมายถึง การประดิษฐ์สิ่งของออกจำหน่าย การนำเอาวัตถุดิบมาปรุงแต่งแปรสภาพด้วยแรงงาน หรือเครื่องจักรกล เพื่อเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์อุปโภคและบริโภค • ภาคอุตสาหกรรม (industry sector) หมายถึง การรวมอุตสาหกรรมต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน นับตั้งแต่การผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ การแปรรูปทรัพยากรธรรมชาติและสินค้าเกษตรเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงาน การผลิตสินค้าสำเร็จรูป ตลอดจนการผลิตหีบห่อเพื่อจำหน่ายและขนส่ง

  7. การแบ่งประเภทอุตสาหกรรมการแบ่งประเภทอุตสาหกรรม • 1) แบ่งตามลักษณะวิทยาการที่ใช้ • อุตสาหกรรมหนัก (heavy industry) • อุตสาหกรรมเบา (light industry) • 2) แบ่งตามประเภทของปัจจัยการผลิต • อุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรเข้มข้น (capital intensive industry) • อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น (labour intensive industry) • อุตสาหกรรมที่ใช้ทักษะและเทคโนโลยีเข้มข้น (skill & technology intensive industry)

  8. 3) แบ่งตามขนาดของโรงงาน • อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ (large-scale industry) • อุตสาหกรรมขนาดกลาง (medium-scale industry) • อุตสาหกรรมขนาดย่อม (small-scale industry) • อุตสาหกรรมในครอบครัวหรือครัวเรือน (household/cottage industry) • 4) แบ่งตามตลาดหลักสินค้าที่ผลิต (export vs import substitutions) • 5) แบ่งตามลักษณะการใช้อุตสาหกรรมสินค้าทุน (capital goods) สินค้าขั้นกลาง (intermediate goods) และสินค้าบริโภค (consumer goods)

  9. การจำแนกกิจกรรมทางอุตสาหกรรมการจำแนกกิจกรรมทางอุตสาหกรรม • เกณฑ์ในการจัดแบ่งกลุ่มของกิจกรรมการผลิต • ประเภทของวัตถุดิบที่สำคัญ (main material) • ประเภทของผลิตภัณฑ์ (type of product) • ประเทศต่าง ๆ มีเกณฑ์หรือมาตรฐานจำแนกกิจกรรมทางอุตสากรรม (standard industrial classification: SIC) แตกต่างกันออกไป

  10. มาตรฐานระหว่างประเทศในการจำแนกกิจกรรมทางอุตสาหกรรม (international standard industrial classification: ISIC) • 1) การเกษตร ล่าสัตว์ ป่าไม้ และประมง • 2) กิจการเหมืองแร่ • 3) หัตถอุตสาหกรรม • 4) การไฟฟ้า ก๊าซ และประปา • 5) การก่อสร้าง • 6) การค้าส่ง-ค้าปลีก และภัตตาคารร้านอาหาร กับโรงแรม • 7) การขนส่ง การเก็บรักษา และการโทรคมนาคม • 8) การเงินการธนาคาร การประกันภัย อสังหาริมทรัพย์ และบริการทางธุรกิจ • 9) การบริการชุมชน สังคม และส่วนบุคคล ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ

  11. ระดับการแบ่งกลุ่มกิจกรรมทางอุตสาหกรรมระดับการแบ่งกลุ่มกิจกรรมทางอุตสาหกรรม • 1) ภาคการผลิต (sector) • ภาคการเกษตร • ภาคอุตสาหกรรม • ภาคบริการ • 2) กิจกรรมการผลิต (production activities) • 3) กิจกรรมการผลิตย่อย (subdivisions) • 4) กลุ่มผลิตภัณฑ์ (product groups)

  12. ความหมายของ“การทำให้เป็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรม” และ “การพัฒนาอุตสาหกรรม” • การทำให้เป็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (industrialization) หมายถึง การเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ให้มีลักษณะเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น • การพัฒนาอุตสาหกรรม (industrial development) หมายถึง การทำให้ภาคอุตสาหกรรมเจริญเติบโต (growth) หรือขยายตัว (expand) และมีการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงและปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น ตลอดจนสินค้ามีคุณภาพดีขึ้น รวมถึงการคิดค้นวิจัยค้นคว้าให้เกิดอุตสาหรรมใหม่ในประเทศ

  13. ดัชนีชี้ความเป็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (industrialization) • สัดส่วนผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต่อ GDP • สัดส่วนสินค้าส่งออกของภาคอุตสาหกรรมต่อการส่งออกทั้งหมด • สัดส่วนการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมต่อการจ้างงานทั้งหมด

  14. ดัชนีชี้วัดระดับการพัฒนาอุตสาหกรรม (Industrial Development) • ระดับการทำให้เป็นอุตสาหกรรม (industrialization level) • การกระจายประเภทอุตสาหกรรมย่อย (deepening of industrial structure) • การยกระดับเทคโนโลยีการผลิต (upgrading of technology level) • บทบาทของภาคอุตสาหกรรมที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ (contribution of the industrial sector to economic development)

  15. ระดับของรูปแบบการพัฒนาอุตสาหกรรม (development pattern) 1) Early Industries i.e. อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องหนัง และสิ่งทอ 2) Middle Industries i.e. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์เคมี ผลผลิตแร่อโลหะ และการแปรรูปปิโตรเลียม 3) Late Industries i.e. อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป กระดาษ ผลิตภัณฑ์เหล็ก ผลผลิตแร่พื้นฐาน

  16. เหตุใดจึงต้องมีการพัฒนาอุตสาหกรรมเหตุใดจึงต้องมีการพัฒนาอุตสาหกรรม • ผลเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ (economic linkage) • ระบบเศรษฐกิจสามารถพึ่งตนเองได้ • ปัญหาดุลการค้าและดุลการชำระเงินลดลง • ก่อให้เกิดการจ้างงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตโดยรวมดีขึ้น • ก่อให้เกิดรายได้เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ • กระตุ้นให้เกิดการสะสมทุนและการออม • กระตุ้นให้มีการนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้

  17. ปัจจัยที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมปัจจัยที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรม 1) อุปสงค์ภายในประเทศ (domestic demand) 2) การขยายตัวในการส่งออก (export expansion effects) 3) การทดแทนการนำเข้า (import substitution effects) 4) การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี (effects of technological change)

  18. ในกรณีประเทศที่มีขนาดใหญ่หรือประเทศที่พัฒนาแล้ว ปัจจัยทางด้านอุปสงค์ภายในประเทศจะส่งผลต่อความเจริญเติบของภาคอุตสาหกรรมมากที่สุด • ในกรณีประเทศเล็กที่เน้นการเกษตร ปัจจัยทางด้านการทดแทนการนำเข้าจะมีบทบาทต่อการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมมากกว่าปัจจัยทางด้านการขยายตัวของการส่งออก • ในกรณีประเทศเล็กที่เน้นผลิตสินค้าอุตสาหกรรม การค้าระหว่างประเทศและองค์ประกอบของสินค้าออกเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรม

  19. เป้าหมายระยะยาวในการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายระยะยาวในการพัฒนาอุตสาหกรรม 1) เพิ่มประสิทธิภาพ (efficiency) ของปัจจัยการผลิตในระบบเศรษฐกิจ 2) เพิ่มการกระจายรายได้และสวัสดิการทั้งระบบเศรษฐกิจ 3) เพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตนเอง (self-reliance) และสร้างความเป็นปึกแผ่นทางเศรษฐกิจ

  20. เป้าหมายการพัฒนาอุตสาหกรรมในระยะสั้น (ระดับจุลภาค) 1) รักษาเสถียรภาพของราคาสินค้า 2) ส่งเสริมการผลิตภายในประเทศ 3) ส่งเสริมประสิทธิภาพในการผลิต 4) ส่งเสริมให้มีการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ 5) ส่งเสริมให้เกิด Dynamic efficiency

  21. เป้าหมายการพัฒนาอุตสาหกรรมในระยะสั้น (ระดับมหภาค) 1) การเจริญเติบโตด้านรายได้ 2) การจ้างงานเต็มที่ 3) การรักษาเสถียรภาพด้านราคา 4) การรักษาดุลยภาพบัญชีสำรองเงินตราระหว่างประเทศ 5) ส่งเสริมการกระจายรายได้

  22. ความสำคัญของภาคอุตสาหกรรมในเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา • ประเทศ LDC ที่มีรายได้ต่ำมีสัดส่วนของภาคอุตสาหกรรมต่อ GDP ต่ำกว่าประเทศ LDC ที่มีรายได้สูงกว่า • ในช่วงปี ค.ศ.1960-1980 สัดส่วนของภาคอุตสาหกรรมต่อ GDP ของแต่ละกลุ่มประเทศ LDC ได้เพิ่มขึ้น • ขณะที่สัดส่วนของภาคเกษตรกรรมต่อ GDP ของแต่ละกลุ่มประเทศ LDC ลดลง

  23. ภาคอุตสาหกรรมยังมีส่วนในการดูดซับแรงงานในประเทศ LDC และแรงงานได้เคลื่อนย้ายเข้าไปทำงานในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้นในช่วง ค.ศ.1960-1980 (แม้ว่ากำลังแรงงานส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในภาคเกษตรกรรมและภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ) • อุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศ LDC ก็มีความสามารถในการว่าจ้างงานไม่เท่ากัน ซึ่งอุตสาหกรรมเบาจะว่าจ้างงานงานได้มากกว่าอุตสาหกรรมหนัก

  24. งานศึกษาของ Chenery and Syrquin (1975) พบว่า ขณะที่รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นระบบเศรษฐกิจจะเปลี่ยนจากการผลิตสินค้าเกษตร มาเป็นการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม แต่ก็มิได้หมายความว่า GDP ของภาคเกษตรจะลดลง • นอกจากนี้ ขณะที่รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น การเคลื่อนย้ายแรงงานจากชนบท (ภาคเอกชน) เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมและบริการเพิ่มขึ้น

  25. รูปแบบการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมในประเทศ DC และ LDC • ประเทศใหญ่จะมีสัดส่วนของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต่อ GDP สูงกว่ากลุ่มประเทศอื่น ๆ • สัดส่วนของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต่อ GDP ของประเทศเล็ก ก็เริ่มจะเข้าใกล้ของประเทศใหญ่ เมื่อระดับรายได้ต่อหัวของประเทศเล็กเพิ่มขึ้น • การเติบโตของอุปสงค์ภายใน และการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นจะทำให้โครงสร้างอุตสาหกรรมของ LDC และ DC มีความแตกต่างลดลง

  26. ประเทศ DC และ LDC มีแนวทางการเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจไปในทิศทางเดียวกัน • 1) ปรับโครงสร้างการผลิตจากการผลิตขั้นปฐมเป็นขั้นทุติยภูมิและตติยภูมิ • 2) ปรับโครงสร้างภาคการผลิตจากอุตสาหกรรมเบาเป็นอุตสาหกรรมหนัก • 3) มีการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงขึ้นและมีการกระจายการผลิตสินค้าออกไปหลากหลายยิ่งขึ้น (product upgrading & diversification)

  27. ลักษณะและปัญหาการผลิตสินค้าอุตสาหรรมในปัจจุบันลักษณะและปัญหาการผลิตสินค้าอุตสาหรรมในปัจจุบัน • ลักษณะการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศ DC และ LDC • ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดของโลกมากขึ้น • บทบาทของบรรษัทข้ามชาติ และ footlooseness of industries มีผลต่อการสะสมทุนและการพัฒนาสินค้าอุตสาหกรรมในประเทศกำลังพัฒนา • การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมมีลักษณะผลิตเฉพาะอย่างมากขึ้น • การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเริ่มใช้เครื่องจักรกลแทนแรงงานคนมากขึ้น • ผู้ประกอบการในภาคหัตถอุตสาหกรรมให้ความสนใจด้านบริการมากขึ้น

  28. การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมมีการอาศัยหรือพึ่งพานวัตกรรมใหม่มากขึ้น เพื่อแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดโลก • การแข่งขันในตลาดสินค้าอุตสาหกรรมมีความรุนแรงมากขึ้น • ประเทศต่าง ๆ ต้องมีการปรับตัวมากขึ้น ก่อให้เกิดกระแสการกีดกันทาง • การค้าการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมต้องคำนึงถึงกฎระเบียบหลายประการ • การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านรูปแบบการผลิต

  29. ปัญหาในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมปัญหาในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม • 1) ด้านอุปทาน (supply) • การแข่งขันจากประเทศที่มีค่าแรงถูกกว่า และมีทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์ • การผลิตบรรษัทข้ามชาติ • Factor intensity reversal • 2) ด้านอุปสงค์ (demand) • การลดลงการบริโภคสินค้าที่ใช้แรงงานและใช้ทรัพยากรเข้มข้น • การรวมกลุ่มของบางประเทศในระดับภูมิภาค • การกีดกันทางการค้าของประเทศมหาอำนาจ

  30. (2) บทบาทและความสำคัญของภาคอุตสาหกรรมในเศรษฐกิจไทย • ความสำคัญของภาคอุตสาหกรรมในเศรษฐกิจไทย • การเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างในภาคอุตสาหกรรมไทย • ปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย

  31. ความสำคัญของภาคอุตสาหกรรมในเศรษฐกิจไทยความสำคัญของภาคอุตสาหกรรมในเศรษฐกิจไทย • เครื่องมือชี้ความสำคัญของภาคอุตสาหกรรมต่อเศรษฐกิจ -สัดส่วนของการผลิต หรือมูลค่าเพิ่มของภาคอุตสาหกรรมต่อ GDP -สัดส่วนของการจ้างงานของภาคอุตสาหกรรมต่อการจ้างงานทั้งหมด -สัดส่วนของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม • เครื่องชี้วัดระดับการพัฒนาอุตสาหกรรม (industrial development) -การวัดประสิทธิภาพการผลิต (productivity) -ความสามารถในการแข่งขัน (competitiveness) -การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรม (structural change) -คุณภาพสินค้าอุตสาหกรรม (quality of product)

  32. ลักษณะสำคัญของภาคอุตสาหกรรมไทยลักษณะสำคัญของภาคอุตสาหกรรมไทย • ผลิตภัณฑ์ภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนสูงทั้งทางด้านการผลิตและการส่งออก • อัตราการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมมีผลต่อการเจริญเติบโตต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม • การส่งออกของสินค้าอุตสาหกรรมในประเทศยังต้องพึ่งพาสินค้าเข้าจากต่างประเทศทั้งเครื่องจักรและวัตถุดิบ • รายรับสุทธิในเงินตราต่างประเทศจากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมมีค่าต่ำกว่าตัวเลขการส่งออกมาก

  33. ประเภทของสินค้าอุตสาหกรรมประเภทของสินค้าอุตสาหกรรม • กลุ่มอุตสาหกรรมที่พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ • กลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น • กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ • กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล (อุตสาหกรรมวิศวการ) • อุตสาหกรรมอื่น ๆ

  34. ในปี พ.ศ.2547 อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลมีความสำคัญมากทั้งในด้านการผลิตและการส่งออก ส่วนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานจำนวนมาก อาทิ สิ่งทอและเสื้อผ้า เป็นกลุ่มที่สามารถสร้างการจ้างงานได้มาก • กิจการอุตสาหกรรมส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล รวมถึงพื้นที่บางจังหวัดในภาคกลางและตะวันออก • ในปี พ.ศ. 2547 จำนวนโรงงานที่จดทะเบียนมีอยู่ประมาณ 150,000 โรงงาน ซึ่งเป็นโรงงานขนาดย่อมอยู่ถึง 90 % ของจำนวนโรงงานทั้งหมด

  35. การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) • ในช่วงแรก FDI ในภาคอุตสาหกรรมไทยจะเน้นการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า ต่อมาจึงลงทุนในอุตสาหกรรมการส่งออก เนื่องจากรัฐบาลไทยมีนโยบายส่งเสริมการส่งออกและให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ส่งออก • FDI เริ่มเปลี่ยนโรงสร้างจากการผลิตสินค้าสำเร็จรูปมาเป็นการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ในประเทศไทยมากขึ้น • อุตสาหกรรมที่มี FDI กระจุกตัวอยู่มาก คือ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ และเคมีภัณฑ์ ส่วนแหล่งทุนที่สำคัญ คือ ญี่ปุ่น รองลงมาก็ คือ อเมริกา ไต้หวัน สิงคโปร์ และฮ่องกง

  36. การเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างในภาคอุตสาหกรรมไทยการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างในภาคอุตสาหกรรมไทย • โครงสร้างเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนจากเศรษฐกิจที่พึ่งพาการเกษตรมาสู่เศรษฐกิจอุตสาหกรรม • ภาคอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในปี พ.ศ. 2503 อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ เป็นอุตสาหกรรมสำคัญในแง่สัดส่วนการผลิต • ต่อมาอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปได้กลายเป็นอุตสาหกรรมสำคัญแทนที่อุตสาหกรรมข้างต้น • แต่ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องจักรกลก็กลายเป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญมากขึ้น

  37. ในปัจจุบัน สัดส่วนของสินค้าออกที่อาศัยทรัพยากรธรรมชาติและแรงงานอย่างเข้มข้นเริ่มลดลง ในขณะที่สินค้าที่มีลักษณะเครื่องจักรกล ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้ากลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย • อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีจากนักลงทุนต่างประเทศ และต้องใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนจากต่างประเทศในอัตราที่สูง

  38. สินค้าส่งออกสำคัญ 10 อันดับแรกของไทยปี พ.ศ.2547

  39. ลักษณะสำคัญของภาคการผลิตในประเทศไทยลักษณะสำคัญของภาคการผลิตในประเทศไทย • มีการเติบโตในอัตราสูง • เปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างที่รวดเร็ว • พึ่งการค้าและการลงทุนต่างประเทศ • มีอุตสาหกรรมขนาดย่อมจำนวนมาก • กระจุกตัวในกรุงเทพและปริมณฑล

  40. สัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ในภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ

  41. สินค้าออกจำแนกตามกิจกรรมการผลิตสินค้าออกจำแนกตามกิจกรรมการผลิต Value Millions of bath % ธนาคารแห่งประเทศไทย

  42. SHARE EMPLOYED PERSONS BY INDUSTRIES IN THE KINGDOM : 2003

  43. หน่วย : ร้อยละ ตาราง : สัดส่วนภาคการผลิตรายสาขา

  44. (3) นโยบายอุตสาหกรรมไทย • นโยบายอุตสาหกรรม: ความหมายและขอบเขต • วิวัฒนาการนโยบายอุตสาหกรรมไทย • นโยบายอุตสาหกรรมบางประการในช่วงแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-49)

  45. นโยบายอุตสาหกรรม: ความหมายและขอบเขต • นโยบายอุตสาหกรรม หมายถึง แนวทางปฏิบัติของรัฐบาลที่มีผลต่อขนาด โครงสร้าง อัตราการเจริญเติบโต ลักษณะการแข่งขัน และการใช้ทรัพยากรของภาคอุตสาหกรรม หรืออุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง • นโยบายอุตสาหกรรมมีความหมายที่กว้างและมีการเอานโยบายด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศและด้านอื่น ๆ เช่น การกำหนดภาษีศุลกากร อัตราแลกเปลี่ยน อัตราภาษีอากรมาใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายอุตสาหกรรม

  46. นโยบายอุตสาหกรรมมีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ • การร่วมลงทุนโดยตรง (direct investment) • การให้การปกป้องคุ้มครอง (protection) อุตสาหกรรมต่าง ๆ • การส่งเสริม (promotion) • การควบคุมดูแล (monitor and control) • การอำนวยความสะดวก (facilitation) • การส่งเสริมการแข่งขัน (competition)และการป้องกันการผูกขาด (anti-monopoly)

  47. วิวัฒนาการอุตสาหกรรมในประเทศไทยวิวัฒนาการอุตสาหกรรมในประเทศไทย • จากทุนนิยมโดยรัฐ(state Capitalism)เป็นระบบเศรษฐกิจเสรี(Free Enterprise System) • จากทดแทนการนำเข้า(Import Substitution) สู่ส่งเสริมการส่งออก(Export Promotion) • การพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก • การกระจายอุตสาหกรรมสู่ภูมิภาค • การกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมาย • การส่งเสริมอุตสาหกรรมสนับสนุน • การส่งเสริม SMEs • การส่งเสริมการสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรม • การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม • การทำข้อตกลงการค้าเสรี

  48. วิวัฒนาการนโยบายอุตสาหกรรมไทยวิวัฒนาการนโยบายอุตสาหกรรมไทย • ในช่วงปี พ.ศ.2503-12 การพัฒนาอุตสาหกรรมเน้นกลยุทธ์การผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า ต่อมาตั้งแต่แผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2515-19) จึงเน้นนโยบายส่งเสริมการส่งออก • นโยบายส่งเสริมการส่งออกมีผลให้สินค้าส่งออกมีความหลากหลายมากขึ้น และลดความสำคัญของสินค้าส่งออกเกษตรกรรมลง • การลงทุนจากต่างประเทศ (ญี่ปุ่น ไต้หวัน และประเทศอื่น ๆ) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 มีส่วนช่วยให้เพิ่มการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น และยังทำให้ภาคอุตสาหกรรมมีความหลากหลายในการผลิตและการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมมากขึ้น อาทิ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าขั้นกลางต่าง ๆ

  49. การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ล้านบาท

More Related