170 likes | 2.47k Views
โรคมือ เท้า ปาก และ Herpangina . โรคมือ เท้า ปาก กลุ่มที่พบ พบบ่อยในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุระหว่าง 2 สัปดาห์ถึง 3 ปี ส่วนใหญ่เด็กที่ป่วยมักมีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายได้เอ สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อ ไวรัส ในกลุ่มเอน เทอ โร ไวรัส ( Enterovirus ) ซึ่งมีหลายชนิด
E N D
โรคมือ เท้า ปาก และ Herpangina โรคมือ เท้า ปาก • กลุ่มที่พบ • พบบ่อยในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุระหว่าง 2 สัปดาห์ถึง 3 ปี ส่วนใหญ่เด็กที่ป่วยมักมีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายได้เอ • สาเหตุ • เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) ซึ่งมีหลายชนิด • เชื้อที่พบบ่อย ได้แก่ ไวรัสคอก แซคกี้ เอ (Coxsackie A) และเอนเทอโรไวรัส71 • ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกายโดย • ทางการหายใจ และทางเดินอาหาร • โดยการสัมผัสกับน้ำมูก น้ำลาย น้ำจากตุ่มพอง หรืออุจจาระของผู้ป่วย • เชื้อมีระยะฟักตัวนานประมาณ 3-6 วัน
โรคมือ เท้า ปาก และ Herpangina • สังเกตอาการ • ภายหลังได้รับเชื้อที่เป็นสาเหตุประมาณ 3-6 วัน เด็กจะเริ่มมีอาการไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร บางรายจะมีอาการถ่ายเหลวร่วมด้วย ต่อมาอีกประมาณ 1-2 วัน เด็กจะเริ่มมีอาการเจ็บปากจนไม่ยอมกินสำหรับเด็กเล็กจะมีอาการน้ำลายไหลยืดบ่อยครั้ง เนื่องจากมีแผลตื้น ๆ ขนาดเล็กกระจายอยู่ตามเยื่อบุกระพุ้งแก้ม เพดาน ปาก เหงือก ลิ้น และจะพบผื่นที่มีลักษณะเป็นตุ่มน้ำใสหรือผื่นเม็ดแดง ๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า บางครั้งอาจพบผื่นบริเวณลำตัว แขน ขา และบริเวณก้นได้ อาการไข้มักจะหายภายใน 2-3 วัน และผื่นจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 7-10 วัน
ลักษณะอาการที่สำคัญของโรคติดเชื้อไวรัสชนิดนี้(ดังแสดงในรูป)ลักษณะอาการที่สำคัญของโรคติดเชื้อไวรัสชนิดนี้(ดังแสดงในรูป) ลักษณะสำคัญเฉพาะโรคนี้คือ มีแผลตื้นๆ เกิดขึ้นที่บริเวณเยื่อบุช่องปาก ลิ้น เหงือกและข้างกระพุ้งแก้ม เริ่มเป็นจุดแดงๆ ก่อนแล้วเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำใสและแตกเป็นแผลส่วนบริเวณผิวหนังจะเกิดมีผื่นแดงๆ ก่อนแล้วเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำใสโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมี ผื่นตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า บางครั้งอาจจะมีผื่นขึ้นที่บริเวณก้นด้วย ผื่นที่ผิวหนังนี้จะไม่แตกเป็นแผล (เหมือนในปาก) และไม่มีอาการคันร่วมด้วย
โรคมือ เท้า ปาก และ Herpangina Herpangina • สาเหตุ • เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกันกับโรคมือเท้าปาก อาการมักไม่ค่อยรุนแรง และสามารถหายได้เองเช่นกัน • ความแตกต่างจากโรค มือ เท้า ปาก • อาจจะสังเกตอาการของโรคนี้ได้ค่อนข้างลำบากในช่วงแรก ต่อเมื่อเริ่มมีผื่นขึ้น จึงจะสามารถสังเกตอาการได้ บางรายอาจพบเพียงผื่น และแผลตื้น ๆ กราย ๆ ในช่องปากเท่านั้น แต่เฮอร์แปงไจน่า (Herpangina) จะไม่พบผื่นบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า
โรคมือ เท้า ปาก และ Herpangina • การรักษา • โรคนี้ส่วนใหญ่หายได้เอง • เนื่องจากเกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่มียารักษาเฉพาะ • การรักษา เป็นเพียงการรักษาตามอาการ เช่น • มีไข้ – เช็ดตัวลดไข้ ให้รับประทานยาลดไข้ • ร่วมกับให้ยาบรรเทาอาการอื่นๆ • ลดความเจ็บปวดจากผื่นแผลในปาก • กระตุ้นให้ดื่มน้ำ และรับประทานอาหารเหลวทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง • หากรับประทานอาหารได้น้อย อาจให้รับประทานอาหารเหลวที่แช่เย็น เพื่อช่วยลดความเจ็บปวด
โรคมือ เท้า ปาก และ Herpangina • อาการแทรกซ้อนที่ควรเฝ้าระวัง • หากรับประทานอาหารได้น้อย และมีภาวะขาดน้ำเกิดขึ้น ได้แก่ • ปากแห้ง ตาลึกโบ๋ ปัสสาวะออกน้อยลงและมีสีเหลืองเข้ม ให้พาไปพบแพทย์ • สิ่งสำคัญ - ควรรีบไปโรงพยาบาลหากมีอาการดังนี้ • ไข้สูงมาก ซึมลง และอาเจียนบ่อย มีอาการหายใจหอบเหนื่อย แขนขาอ่อนแรง • วิธีการป้องกันที่สำคัญ • แยกผู้ป่วย และรักษาสุขอนามัยสิ่งแวดล้อมให้ดี ทำความสะอาดเครื่องใช้และของเล่น • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกัน • เน้นการล้างมือด้วยน้ำและสบู่ • หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในที่ชุมชนแออัด