1 / 53

คุณสมบัติ มารยาท จรรยาบรรณ และ การวางตัวของมัคคุเทศก์

คุณสมบัติ มารยาท จรรยาบรรณ และ การวางตัวของมัคคุเทศก์. 1. มรรยาทและการวางตัวของมัคคุเทศก์ 2. สิ่งที่มัคคุเทศก์ควรละเว้น 3. จรรยาบรรณของมัคคุเทศก์ 3.1จรรยาบรรณตามวิชาชีพ 3.2 จรรยาบรรณตามกฎหมาย. มารยาทและการวางตัวของมัคคุเทศก์.

alida
Download Presentation

คุณสมบัติ มารยาท จรรยาบรรณ และ การวางตัวของมัคคุเทศก์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. คุณสมบัติ มารยาท จรรยาบรรณ และ การวางตัวของมัคคุเทศก์ 1. มรรยาทและการวางตัวของมัคคุเทศก์ 2. สิ่งที่มัคคุเทศก์ควรละเว้น 3. จรรยาบรรณของมัคคุเทศก์ 3.1จรรยาบรรณตามวิชาชีพ 3.2 จรรยาบรรณตามกฎหมาย

  2. มารยาทและการวางตัวของมัคคุเทศก์มารยาทและการวางตัวของมัคคุเทศก์ • มารยาท หมายถึง กิริยา(action) วาจา(speech) ที่ถือว่าเรียบร้อย • การวางตัว หมายถึง พฤติกรรม(behavior) การปฏิบัติ (practice)การทำตัวที่แสดงออกให้เห็น • ดังนั้นมารยาท และ การวางตัวของมัคคุเทศก์ก็คือ กิริยา วาจา ท่าทาง การแสดงออก ข้อควรประพฤติ และไม่ควรประพฤติของมัคคุเทศก์ เพื่อที่จะดำรงไว้ซึ่งเกียรติภูมิของสถานภาพแห่งวิชาชีพมัคคุเทศก์

  3. หลักอันควรประพฤติปฏิบัติและเป็นคุณสมบัติอันดีงามที่มัคคุเทศก์พึงปฏิบัติ ดังนี้ 1. มัคคุเทศก์ต้องผสมผสานระหว่างมารยาทไทย กับมารยาทแบบต่างประเทศให้ได้ในลักษณะที่สอดคล้องกลมกลืน ไม่ขัดกัน และ ควรเน้นการแสดงออกถึงเอกลักษณ์ไทยให้นักท่องเที่ยวเกิดความประทับใจ 2. พูดจาสุภาพไม่เกรี้ยวกราดกับนักท่องเที่ยว 3. ไม่พูดคุยเรื่อทุกข์ร้อนหรือเรื่องส่วนตัวให้นักท่องเที่ยวฟัง เพื่อขอความเห็นอกเห็นใจ

  4. 4. ให้ปฏิบัติในการพูดกับนักท่องเที่ยวทั้งกลุ่ม อย่างเท่าเทียม ไม่เลือกอธิบายให้กับนักท่องเที่ยวบางคนที่ตนชอบเท่านั้น 5. ปฏิบัติตนให้นักท่องเที่ยวเกิดความไว้วางใจ และรู้สึกอบอุ่น ใจในการเดินทางท่องเที่ยว 6. ไม่แสดงความสนิทสนมกับนักท่องเที่ยวจนเกินสมควร โดยเฉพาะในด้านชู้สาว

  5. การแต่งกายในขณะปฏิบัติหน้าที่การแต่งกายในขณะปฏิบัติหน้าที่ 1. ในวันแรกของการออกทัวร์ และวันสุดท้ายที่เดินทางกลับ ให้แต่งกายแบบสุภาพใส่สูท (ถ้ามีฟอร์มของบริษัท ฯ ควรจะใส่ฟอร์ม) ส่วนวันต่อ ๆ ไปสามารถใส่ให้เข้ากับกาลเทศะของทัวร์ในแต่ละวันได้ (ไม่ควรใส่เสื้อผ้าสีดำ เนคไทสีดำ หรือใส่ชุดขาว – ดำคู่กัน ในขณะออกทัวร์ ) 2. ถ้าเป็นหัวป่า เขา หรือต้องเดินป่า เช่น ภูหลวง ภูกระดึง ให้แต่งตัวเข้าสภาพที่จะต้องพบในวันนั้น ๆ แต่ต้องอยู่ในลักษณะสุภาพเรียบร้อย

  6. 3. ไม่สวมรองเท้าแตะ หรือรองเท้ายาง (ผู้ชายให้ถือปฏิบัติ อย่างเคร่งครัดที่สุด) 4. ไม่ควรปล่อยชายเสื้อ ยกเว้นเสื้อฮาวาย 5. ไม่ควรสวมแว่นกันแดด หรือแว่นตาดำ หรือ สูบบุหรี่ ขณะยืนหรือพูดคุยกับแขก 6. ไม่ควรนุ่งกางเกงขาสั้น ยกเว้นทัวร์ทางทะเล 7. ไม่ควรสะพายกล้องถ่ายรูป

  7. พนักงานที่ออกทัวร์ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบการแต่งกายของมัคคุเทศก์ที่กำหนดไว้ และจงจำไว้เสมอว่า “ ความเป็นระเบียบเรียบร้อย จะยกระดับมาตรฐานของ บริษัท ฯ ให้อยู่ในระดับทัวร์ชั้นนำ ”

  8. สิ่งที่มัคคุเทศก์ควรละเว้นสิ่งที่มัคคุเทศก์ควรละเว้น • 1. ไม่ตะโกนตบมือดัง เพื่อเรียกให้นักท่องเที่ยวเข้ามาหาตน • 2. ไม่พูดดุด่าว่ากล่าวนักท่องเที่ยวเมื่อเขาทำผิดพลาด แต่ควร พูดโดยขอความร่วมมืออย่างสุภาพ • 3. ไม่สูบบุหรี่ หรือเสพของมึนเมาและมั่วสุมอบายมุขขณะปฏิบัติ หน้าที่ • 4. ไม่ทำตัวเป็นผู้รู้เพียงผู้เดียว อย่าตั้งหน้าตั้งตาพูดในลักษณะ เป็นการสอนมากเกินไป ควรมีบรรยากาศของการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นบ้าง

  9. 5. ไม่ไล่ต้อนนักท่องเที่ยวให้ขึ้นรถโดยไว โดยที่ส่วนใหญ่ยัง ไม่ได้สัมผัสบรรยากาศจากสถานที่ท่องเที่ยวได้อย่างเต็มที่ • 6. ไม่ควรตีตนเสมอนักท่องเที่ยว ให้จำไว้เสมอว่า เรามาเป็นผู้ให้ บริการไม่ควรทำตัวสนิทสนมกับนักท่องเที่ยวเกินขอบเขต โดยเฉพาะเรื่องชู้สาว

  10. 7. ไม่ควรตอบว่าไม่รู้เมื่อนักท่องเที่ยวถาม เพราะจะทำให้ นักท่องเที่ยวขาดความเชื่อมั่น แต่ควรตอบแบบสงวนท่าทีใน ทำนองว่าไม่แน่ใจในคำตอบ แต่จะไปหาคำตอบให้ในภายหลัง • 8. ไม่ควรปล่อยให้นักท่องเที่ยวท่องเที่ยวเองโดยไร้จุดหมาย ปราศจากคำแนะนำที่ดีจากมัคคุเทศก์ • 9. ไม่ควัก ล้วง จิ้ม แคะ แกะ เกา ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ไอ จาม ต่อหน้านักท่องเที่ยว หากกลั้นไม่ได้ก็ควรหันเหความ สนใจไปที่อื่นเสียก่อน หรือไม่ก็ทำให้แนบเนียน

  11. 10. ไม่เอารัดเอาเปรียบหรือหลอกลวงนักท่องเที่ยว พาไปซื้อของ เพื่อหวังประโยชน์จากทางร้านค้า ทำให้นักท่องเที่ยวต้องซื้อ ของแพง • 11. ไม่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในเชิงทำลายศิลปวัฒนธรรมประเพณี ที่ดีงาม ทำลายธรรมชาติ แต่ต้องส่งเสริมให้มีการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืน • 12. ไม่ควรพูดหรือเล่าเรื่องตลกลามก หรือเรื่องที่เกี่ยวกับ ชาติ ศาสนา ความเชื่อบุคคลสำคัญในทางลบ

  12. 13. ไม่กล่าวตำหนิ หรือใส่ร้ายผู้อื่น • 14. ไม่โต้เถียง ประชดประชัน หรือทะเลาะกับนักท่องเที่ยว • 15. ไม่ควรเอาใจใส่นักท่องเที่ยวแบบไม่เสมอหน้ากัน

  13. 16. ไม่เล่าเรื่องส่วนตัวหรือบ่นความทุกข์ยากเศร้าโศกเสียใจให้ นักท่องเที่ยวฟัง เพื่อเรียกร้องบางสิ่งบางอย่าง • 17. ไม่ชักจูงให้นักท่องเที่ยวทำสิ่งผิดกฎหมาย • 18. ไม่แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอต่อลมฟ้าอากาศ ความ ยากลำบาก ฯลฯ

  14. จรรยาบรรณของมัคคุเทศก์จรรยาบรรณของมัคคุเทศก์ • 1. เทิดทูนชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ด้วยความบริสุทธิ์ใจ • 2. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตย • 3. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น • 4. มีความรับผิดชอบและตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ของตนเองที่ได้รับมอบหมายด้วยความเสียสละ และอุทิศ ตนโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของนักท่องเที่ยวเป็นสำคัญ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้

  15. 5. รักษาชื่อเสียงของตน โดยการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต และไม่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบหรือปฏิบัติตนอันเป็นการฝ่าฝืนต่อศีลธรรมอันดี หรือเสื่อมเสียต่อศักดิ์ศรี และเกียรติคุณของวิชาชีพมัคคุเทศก์ • 6. พึงมีทัศนคติที่ดี พัฒนาตนเองให้มีคุณภาพ คุณวุฒิ คุณธรรม และทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพมัคคุเทศก์

  16. 7. พึงเป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์ทรัพยากรท่องเที่ยวให้ยั่งยืน ทั้งทางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และศิลปวัฒนธรรม • 8. ถือปฏิบัติตามคำสั่งกฎระเบียบแบบแผน ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของสถานที่ท่องเที่ยวทุกแห่ง ตลอดจนการปฏิบัติตนตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ • 9. ประพฤติตนด้วยความสุภาพ รู้รักสามัคคีต่อผู้ร่วมวิชาชีพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบุคคลทั่วไปโดยปราศจากอคติใด ๆ ทั้งสิ้น

  17. คณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยว และมัคคุเทศก์ได้ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยว และมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2535 และประกาศพฤติกรรมที่มัคคุเทศก์ไม่ควรกระทำเนื่องจากจะทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงเกียติยศ และจรรยาบรรณของมัคคุเทศก์ดังนี้

  18. 1. การบังคับให้นักท่องเที่ยวซื้อรายการนำเที่ยว หมายถึง มัคคุเทศก์ ที่แสดงกิริยาล่อล่วงหรือขู่เข็ญหรือกระทำการใด ๆ เพื่อให้นักท่อง เที่ยวอยู่ในสภาพที่ต้องปฏิบัติตาม โดยไม่สมัครใจนอกเหนือจาก ที่ได้ตกลงกันไว้กับผู้ประกอบการเที่ยว 2. การนำนักท่องเที่ยวไปซื้อสินค้าที่เป็นการหลอกลวง หรือมีราคา สูงผิดปกติเพื่อให้ตนเองได้รับค่าบำเหน็จจากร้านค้าที่เกี่ยวข้อง

  19. 3. การเรียกร้องขอเงินค่าทิป หมายถึง พูดจาโน้มน้าวของความเห็นอกเห็นใจแก่ตนว่าการนำเที่ยวครั้งนี้ขาดทุนขอให้จ่ายค่าตอบแทนให้เป็นพิเศษ 4. การยึดหนังสือเดินทางและบัตรโดยสารเครื่องบินไว้ จนกว่านักท่องเที่ยวจะจ่ายค่าตอบ แทนบางประเภทเสียก่อน 5. อธิบายหรือบอกกล่าวเรื่องราวแก่นักท่องเที่ยว อันนำมาซึ่งความไม่ถูกต้อง และเสื่อมเสียแก่ชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย์ รวมทั้งภาพพจน์ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย

  20. 6. ไม่รับผิดชอบงานในหน้าที่ของมัคคุเทศก์ ซึ่งจะต้องคำนึงถึง ประโยชน์ของนักท่องเที่ยวเป็นสำคัญ หรือละทิ้งหน้าที่การงาน 7. ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ซื่อสัตย์สุจริตแสวงหาผลประโยชน์โดยมิ ชอบ หรือกระทำการใดเพื่อให้นักท่องเที่ยวอยู่ในสภาพที่ต้อง ปฏิบัติตามโดยไม่สมัครใจ

  21. บทบาทของมัคคุเทศก์ บทบาทครูหรือนักวิชาการ • เนื่องจากมัคคุเทศก์ต้องคอยทำหน้าที่ในการอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ พร้อมทั้งสามารถตอบคำถามของนักท่องเที่ยวได้ มัคคุเทศก์จึงต้องมีวิธีการในการถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้บทบาทครูของมัคคุเทศก์ ไม่ใช่การสอนหนังสือให้กับนักท่องเที่ยว จึงต้องระวังการพูดของตนเองเสมอ

  22. บทบาทของนักจิตวิทยา • มัคคุเทศก์ ต้องเรียนรู้จิตวิทยาความต้องการของนักท่อง เที่ยว ในแต่ละคนว่าต้องการหรือสนใจในเรื่องใด ซึ่งความต้องการนั้นจะแตกต่างกันไปตามแต่ละช่วงวัย เพศ การศึกษา รายได้หรือฐานะ ฯลฯ หาความลงตัวของ นักท่องเที่ยวแต่ละคนให้เจอ เทคนิคทางจิตวิทยาประการหนึ่งก็คือ การพูด

  23. บทบาทของนักแสดง • ในการนำเที่ยวมัคคุเทศก์อาจจำเป็นต้องแสดงบทบาทเป็นนักแสดงบ้างในบางครั้ง เพื่อสร้างบรรยากาศการนำเที่ยวให้มีชีวิตชีวาสนุกสนาน ทั้งนี้มัคคุเทศก์ควรมีทักษะในการสร้างความสนุกสนานให้ได้อย่างพอเหมาะพอควร ต้องรู้จักสังเกตการตอบสนองจากนักท่องเที่ยวด้วย อย่ายัดเยียดการแสดงหรือความบันเทิงให้นักท่องเที่ยว เมื่อเขาบ่งบอกอาการ หรือแสดงความไม่ต้องการโดยเด็ดขาด

  24. บทบาทของนักการทูต • มัคคุเทศก์ ต้องรู้ว่าควรอธิบายเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศ หรือท้องถิ่นของตนให้นักท่องเที่ยวทราบได้อย่างไร จึงจะทำให้นักท่องเที่ยวสนใจและเกิดความรู้สึกที่ดี และสิ่งที่มัคคุเทศก์พึงต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง คือ การพูด ในเชิงลบ การกล่าวถ้อยคำ หรือแสดงกิริยาอันเป็นการลบหลู่ดูหมิ่นสถาบันหรือบุคคล ไม่พูดในเรื่องที่ละเอียดอ่อนที่อาจขัดแย้งทางความคิดกับนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ไม่ว่าจะเป็นของประเทศไทย หรือประเทศใด ๆ ก็ตามควรพูดในสิ่งที่นักท่องเที่ยวสนใจ หรือสิ่งที่อยู่ในรายการนำเที่ยว

  25. บทบาทของนักบริหาร • บริหารของมัคคุเทศก์ อาจหมายถึง การบริหารคน ก็คือนักท่องเที่ยว โดยมากต้องบริหารนักท่องเที่ยวด้วยการใช้คำพูดที่น่าเชื่อถือ มีวิธีการพูดให้เขาเชื่อฟังไม่ทำให้คณะทัวร์เสียระบบ ทำให้คณะนักท่องเที่ยวมีความสามัคคี ท่องเที่ยวโดยคำนึงถึงส่วนรวม และสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว

  26. การบริหารอีกแง่หนึ่ง คือการบริหารเงินแทนบริษัทมัคคุเทศก์ต้องใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น หรือเท่าที่ระบุไว้ในรายการเท่านั้น ไม่ทำบัญชีใช้จ่ายที่เป็นเท็จ • และการบริหารอีกอย่างหนึ่งคือ การบริหารเวลาให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของนักท่องเที่ยวเป็นสำคัญ และในบางครั้งมัคคุเทศก์ก็ต้องเป็นผู้บริหารในการตัดสินชี้ขาดว่าควรหรือไม่ควรปฏิบัติอย่างไรหรือไม่

  27. บทบาทของนักบริการ • บทบาทของการเป็นนักบริการ เป็นอีกบทบาทหนึ่ง ที่จะสามารถทำไห้มัคคุเทศก์ ได้เข้าไปใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยว สามารถสร้างมนุษยสัมพันธ์ และเรียนรู้ถึงความต้องการของเขาได้เป็นอย่างดี มัคคุเทศก์ต้องพยายามอาสาเป็นผู้รับใช้ และให้บริการนักท่องเที่ยวทุกครั้งเมื่อมีโอกาส โดยไม่ต้องรอให้นักท่องเที่ยวเอ่ยปากขอ

  28. บทบาทและหน้าที่ในฐานะตัวแทนของประเทศหรือของท้องถิ่น บทบาทและหน้าที่ในฐานะตัวแทนของประเทศหรือของท้องถิ่น • เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยว บุคคลที่นักท่องเที่ยวจะต้องสัมพันธ์ใกล้ชิดที่สุดและตลอดระยะเวลาท่องเที่ยว คือ มัคคุเทศก์ นักท่องเที่ยวจะต้องยึดมัคคุเทศก์เป็นที่พึ่ง ให้ความไว้วางใจและเชื่อถือทุกสิ่ง

  29. บทบาทในฐานะผู้นำเที่ยวบทบาทในฐานะผู้นำเที่ยว ในฐานะผู้นำเที่ยว มัคคุเทศก์มีหน้าที่ 3 ประการ คือ • การรับเข้านักท่องเที่ยว (Transfer – in) • การนำเที่ยว • การส่งออกนักท่องเที่ยว (Transfer – out)

  30. หน้าที่ในการรับเข้านักท่องเที่ยวหน้าที่ในการรับเข้านักท่องเที่ยว การรับเข้านักท่องเที่ยว หมายถึง การไปรับนักท่องเที่ยวจากจุดเข้าเมืองหรือเข้าจังหวัด แล้วนำมาส่งยังสถานที่พักแรม ดูแลให้นักท่องเที่ยวเข้าที่พักอย่างเรียบร้อย โดยมีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้ 1. รับงานจากแผนก Operation ของบริษัท 2. ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับงานให้เข้าใจ เช่น รายชื่อนักท่องเที่ยว วันและเวลาเดินทางมาถึง รายละเอียดเกี่ยวกับการพักแรม รายการท่องเที่ยว วันและเวลาในการเดินทางกลับ

  31. 3. จัดเตรียมเอกสารเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวให้เรียบร้อย 4. ตรวจสอบวันและเวลาเข้าของเที่ยวบินทันทีหรืออย่างช้าก่อนเวลา เข้าของเที่ยวบินนั้น 5 ชั่วโมง 5. นัดหมายคนขับรถ 6. เดินทางถึงจุดหมายก่อนเวลาอย่างน้อย 30 นาที กรณีที่นักท่อง เที่ยวเดินทางโดยสนามบิน มัคคุเทศก์จะต้องติดต่อกับพนักงาน ATTA ให้เป็นผู้ไปรับนักท่องเที่ยวมาส่งให้มัคคุเทศก์อีกทอดหนึ่ง

  32. 7. จัดเตรียมป้ายชื่อของนักท่องเที่ยว หรือป้ายชื่อของบริษัท นำเที่ยว เพื่อแสดงแก่นักท่องเที่ยว ณ จุดรับเข้า 8. ตรวจสอบสัมภาระของนักท่องเที่ยวก่อนนำขึ้นรถ 9. ตรวจเก็บ Voucher หรือ บัตรใช้บริการด้านต่าง ๆ ตาม รายการท่องเที่ยว เช่น บัตรรับประทานอาหาร บัตรทัวร์ รายการต่าง ๆ ฯลฯ จากนักท่องเที่ยว

  33. 1.10 นำบัตรโดยสารไปยืนยัน (Reconfirm) เที่ยวบิน 1.11 นำนักท่องเที่ยวไปส่ง ณ ที่พัก โดยระหว่างการเดินทาง มัคคุเทศก์ควรใช้เวลานี้ใน การปฏิสันถารกับนักท่องเที่ยว กล่าวต้อนรับ ถามทุกข์สุข ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย เป็นต้น 1.12 ดูแลส่งนักท่องเที่ยวเข้าที่พักร่วมกับเจ้าหน้าที่ของสถานที่พัก แรมจนเรียบร้อย 1.13 นัดหมาย วัน เวลา ในครั้งต่อไป รวมทั้งแจ้งข้อควรและไม่ ควรปฏิบัติตลอดจนข้อควรระวังแก่นักท่องเที่ยว

  34. หน้าที่ในการนำเที่ยว การนำเที่ยวได้แก่การนำนักท่องเที่ยวไปท่องเที่ยวยังสถานที่ต่าง ๆ ในรายการที่กำหนดแล้วนำมาส่งยังที่พัก มีแนวปฏิบัติดังนี้ • 1. นัดหมายคนขับรถ • 2. มัคคุเทศก์เดินทางไปถึงที่พักนักท่องเที่ยวก่อนกำหนดการ นัดหมายอย่างน้อย 30 นาที • 3. ดูแลตรวจสอบจำนวนนักท่องเที่ยวให้ครบ ช่วยเหลือ นักท่องเที่ยวในการแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดมีขึ้นในระหว่าง การเดินทางท่องเที่ยว

  35. 4. ทำสัญลักษณ์นักท่องเที่ยวในกลุ่มของตนเพื่อความสะดวกใน การตรวจสอบ 5. ตรวจสอบสัมภาระของนักท่องเที่ยว และทำเครื่องหมายเพื่อ ป้องกันการพลัดหลง หรือสูญหาย การตรวจสอบสัมภาระ ต้องทำทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนที่พักแรม

  36. 6. นำนักท่องเที่ยวเที่ยวชมสถานที่ต่าง ๆ ให้ครบถ้วนตาม รายการที่กำหนดในรายการ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะแก่ ความสนใจของนักท่องเที่ยว 7. ดูแลอำนวยความสะดวก ช่วยเหลือแก้ปัญหาให้นักท่องเที่ยว สร้างบรรยากาศการท่องเที่ยวให้สนุกสนานรื่นรมย์ตลอด รายการ 8. นำนักท่องเที่ยวกลับมาส่ง ณ ที่พัก และดูแลให้นักท่องเที่ยว เข้าที่พักจนเรียบร้อย 9. นัดหมาย วัน เวลา ครั้งต่อไป ถ้ามีรายการต่อ

  37. หน้าที่ในการส่งออกนักท่องเที่ยวหน้าที่ในการส่งออกนักท่องเที่ยว • การส่งออกนักท่องเที่ยว คือ การนำนักท่องเที่ยวจากที่พักไปส่งยังท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ หรือ สถานีรถยนต์เพื่อเดินทางกลับ มีแนวในการปฏิบัติดังนี้ 1. ตรวจสอบยืนยัน (Reconfirm) บัตรโดยสาร โดยปกติต้องทำก่อนเวลาเดินทางไม่น้อยกว่า 72 ชั่วโมง 2. ตรวจสอบเวลาออกที่แน่นอนของเที่ยวบิน 3. นัดคนขับรถ

  38. 4. ดูแลให้การคืนที่พัก (Check – out) ของนักท่องเที่ยวเป็นไปโดยเรียบร้อย 5. ตรวจสอบสัมภาระของนักท่องเที่ยวให้ถูกต้องครบถ้วน 6. นำนักท่องเที่ยวออกจากที่พักไปส่งยังท่าอากาศยาน โดยต้องไปถึงท่าอากาศยานก่อนเวลาเครื่องบินออก อย่างน้อย 2 ชั่วโมง 7. ดุแลการ Check – in ของนักท่องเที่ยว ณ เคาน์เตอร์สายการบินที่นักท่องเที่ยวใช้บริการให้เป็นไปโดยเรียบร้อย 8. ดูแลให้นักท่องเที่ยวผ่านการตรวจสอบหนังสือเดินทางเข้าไปสู่ห้องพักผู้โดยสารโดยเรียบร้อย

  39. เอกสารที่ต้องเตรียมก่อนนำเที่ยวเอกสารที่ต้องเตรียมก่อนนำเที่ยว 1. หมายกำหนดการท่องเที่ยวหรือโปรแกรมนำเที่ยว 2. สัญญาเช่าใบจองใบมัดจำต่างๆ (Voucher) ของโรงแรม ร้านอาหาร สถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง (Sub Contractor) ฯลฯ 3. แผนที่สถานที่ท่องเที่ยว สถานประกอบการต่างๆ 4. แผนที่นั่งบนรถหรือบนเครื่องบินของนักท่องเที่ยว 5. แบบฟอร์มการจัดห้องพัก (Rooming List) 6. รายการค่าใช้จ่ายที่บริษัทกำหนด 7. คู่มือนำเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยว

  40. 8. เอกสารด้านสันทนาการ 9. หมายเลขโทรศัพท์สำคัญๆ ที่ต้องติดต่อ 10. แบบสอบถามการบริการของบริษัท (ควรจะต้องมี) 11. นามบัตรบริษัท 12. บัตรติดกระเป๋าเดินทาง (Tag) 13. แบบฟอร์มการเข้าออกประเทศ (ใบตรวจคนเข้าเมือง) และแบบฟอร์มการแจ้งรายการสิ่งของต่อศุลกากร 14. เอกสารการเดินทางของนักท่องเที่ยว เช่น หนังสือเดินทาง บัตรโดยสารเครื่องบิน

  41. อุปกรณ์ที่ต้องเบิกในการนำเที่ยวอุปกรณ์ที่ต้องเบิกในการนำเที่ยว 1. กระติกน้ำ 2. แก้วน้ำ ถาดเสิร์ฟน้ำ 3. ถังน้ำ 4. เครื่องดื่มต่างๆ 5. ยาสามัญประจำบ้านทั่วไป 6. ป้ายชื่อบริษัท สำเนาใบประกอบธุรกิจนำเที่ยว ติดหน้า-หลังรถ 7. ถุงใส่ขยะ

  42. 8. ผ้าเย็น 9. อาหารว่าง ของขบเคี้ยว ลูกอม 10. อุปกรณ์ในการสันทนาการ เกมส์ต่างๆ เทปเพลง วีดีโอ ซีดี 11. ของรางวัล ของแจกต่างๆ เช่น หมวก ปากกา ฯลฯ 12. โทรโข่ง ไมโครโฟนสำรอง 13. อุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในแต่ละสถานที่ 14. อาหารไทย เช่น น้ำพริก ฯลฯ

  43. เมื่อถึงแหล่งท่องเที่ยวหรือจุดแวะชมเมื่อถึงแหล่งท่องเที่ยวหรือจุดแวะชม • กรณีที่ต้องปลุกนักท่องเที่ยวให้ขึ้นมาเตรียมลงไปเที่ยว ให้ปลุกโดยเปิดเพลงเบา ๆ หรือเปิดไฟหรี่ ๆ แล้วอาจตามด้วยการเสิร์ฟน้ำ หรือผ้าเย็น หรืออาจเลี้ยวรถเข้าปั๊มเลยก็ได้ • ควรอธิบายเรื่องราวเกี่ยวกับท้องถิ่น หรือสถานที่ต่าง ๆ ขณะรถแล่นผ่าน และก่อนถึงแหล่งท่องเที่ยวมัคคุเทศก์ควรอธิบายประวัติเรื่องราวความเป็นมา ข้อควรปฏิบัติในสถานที่ท่องเที่ยวนั้นเสียก่อน เพื่อเป็นการให้ความรู้ และได้ปฏิบัติในการเข้าชมได้อย่างถูกต้อง การได้อธิบายข้อมูลล่วงหน้าก่อนตอนอยู่บนรถเป็นสิ่งจำเป็น

  44. ก่อนลงจากรถไปยังสถานที่แวะชมหรือแหล่งท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ต้องนัดแนะเวลานัดจุดขึ้นรถที่ชัดเจน และย้ำให้นักท่องเที่ยวรักษาเวลา • มัคคุเทศก์ควรยืนใกล้ประตูทางขึ้นลงรถ เพื่อบอกทางดูแลช่วยเหลือนักท่องเที่ยวให้ขึ้นลงรถได้อย่างสะดวกปลอดภัย พร้อมๆ กับการไปติดต่อบัตรเข้าชม • หลังลงจากรถมัคคุเทศก์ควรเดินนำนักท่องเที่ยวไปยังจุดที่ต้องการชมโดยไม่ทิ้งระยะห่างจากนักท่องเที่ยวมากเกินไป

  45. การนำชมต้องไม่มีท่าทีรีบเร่ง ระวังให้ทุกคนเดินทางไปได้อย่างราบรื่น หากมีการเลี้ยวซ้ายขวา ก็ต้องหยุดรอบอกทางด้วย • หากมีคำถามให้พึงสันนิษฐานไว้ก่อนว่าคำถามนั้นยังได้ยินไม่ทั่วถึง ต้องทวนคำถามซ้ำ • ควรอธิบายข้อมูลของแหล่งท่องเที่ยวให้เข้าใจง่าย ๆ ไม่ยืดยาวหรือสั้นเกินไป เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้ซักถามตามสมควร

  46. เอาใจใส่ดูแลสวัสดิภาพ ย้ำกับนักท่องเที่ยวเรื่องความปลอดภัยระหว่างการท่องเที่ยว • ห้าม หรือตักเตือนนักท่องเที่ยวให้ระมัดระวังในการเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยวบางแห่งที่เป็นเขตหวงห้าม จุดอันตราย หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ควรเคารถ พร้อมให้คำแนะนำข้อปฏิบัติตนในแต่ละสถานที่ • ถ้ามีสต๊าฟผู้ช่วย ควรแบ่งหน้าที่กันดูแลนักท่องเที่ยว ต้องมีคนนำ และคนปิดท้ายขบวนนักท่องเที่ยวเสมอ

  47. ช่วยลูกค้าถ่ายรูปโดยไม่ต้องให้เขาเอ่ยปากขอ ควรแนะนำมุมหรือบริเวณที่จะถ่ายภาพให้ได้สวยงาม • เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เก็บบรรยากาศในสถานที่ท่องเที่ยวตามสมควร ไม่จี้เร่งนักท่องเที่ยวมากเกินไป • สต๊าฟทีมงานควรกลับมาถึงที่รถก่อนเวลานัดอย่างน้อย 15 นาทีเพื่อเตรียมความพร้อม • ตรวจนับจำนวนนักท่องเที่ยวให้ครบทุกครั้งก่อนออกเดินทาง • เช็ค ยืนยันการไปถึงสถานที่ถัดไปทุกครั้ง

  48. เมื่อถึงร้านบริการอาหารเมื่อถึงร้านบริการอาหาร • ก่อนถึงร้านอาหารควรโทรศัพท์ยืนยันเวลาถึงกับทางร้าน ควรแนะนำประเภทของอาหาร รายการอาหารที่ขึ้นชื่อประจำร้าน • เมื่อถึงร้านอาหารควรจัดลูกค้าให้นั่งครบเป็นโต๊ะๆ (กรณีอาหารเป็นเซ็ท) และควรเสิร์ฟโต๊ะที่นั่งครบก่อน ควรให้ผู้ที่มาด้วยก้นนั่งด้วยกัน • อย่าลืมตรวจสอบนักท่องเที่ยวว่ามีใครที่ทานอาหารมังสวิรัติ หรืออาหารมุสลิม ฯลฯ

  49. ตรวจเช็ครายการอาหารว่าครบตามที่ตกลงกันหรือไม่ อย่าละเลยจัดที่นั่งให้เด็ก และคนขับรถ • ดูแลให้พนักงานเสิร์ฟบริการอาหารให้ทั่วถึงต่อเนื่อง และเพื่อความรวดเร็วควรช่วยพนักงานร้านในการเสิร์ฟอาหาร • เมื่อลูกค้าเริ่มรับประทานอาหาร และอาหารลงครบแล้ว ควรตรวจดูแลความเรียบร้อยอีกครั้งแล้วทีมงานจึงค่อยรับประทาน • อาจนำแก้วน้ำสัมภาระบนรถมาล้างทำความสะอาดที่ร้านอาหารด้วยก็ได้ • ชำระค่าอาหารและจัดหาสิ่งของที่ต้องใช้ในการบริการเพิ่มเติม • ให้เวลานักท่องเที่ยวได้นั่งพักเพื่อให้อาหารได้ย่อยสักระยะ ก่อนเริ่มไปยังจุดอื่นต่อ

  50. จุดแวะพัก หรือจุดถ่ายรูป • ระหว่างเดินทางหากเส้นทางมีระยะไกล รถจะมีการหยุดพัก (อย่างน้อยทุก ๆ 2-4 ชั่วโมง) เพื่อให้นักท่องเที่ยวและคนขับทำธุระส่วนตัว เปลี่ยนอิริยาบถ หรือเติมน้ำมัน โดยการหยุดแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที เช่นเดียวกับการหยุดเพื่อถ่ายรูปเมื่อเห็นว่ามีวิวทิวทัศน์สวยเป็นที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ แม้จะไม่มีระบุในโปรแกรม มัคคุเทศก์อาจบอกคนขับรถให้หยุดเพื่อลงไปถ่ายรูป แต่ควรใช้เวลาสั้นๆ และต้องแน่ใจว่ามีที่จอดรถ มีความปลอดภัย

More Related