200 likes | 458 Views
จรรยาบรรณ และการติดต่อสื่อสาร ในการทำงานก่อสร้าง สำหรับ วิศวกรโยธาจบใหม่. หน้าที่. วิศวกรโยธาประจำหน่วยงาน มีหน้าที่ ควบคุมงานก่อสร้างให้ได้ กำหนดการ ค่าใช้จ่าย และคุณภาพ ที่กำหนดไว้ตามแบบ โดยอาศัยหลักวิชาการทางวิศวกรรมที่ถูกต้อง
E N D
จรรยาบรรณและการติดต่อสื่อสารในการทำงานก่อสร้างสำหรับ วิศวกรโยธาจบใหม่
หน้าที่ • วิศวกรโยธาประจำหน่วยงาน มีหน้าที่ • ควบคุมงานก่อสร้างให้ได้ กำหนดการ ค่าใช้จ่าย และคุณภาพ ที่กำหนดไว้ตามแบบ โดยอาศัยหลักวิชาการทางวิศวกรรมที่ถูกต้อง • วิศวกรใหม่ มักจะได้รับงานทางด้านเทคนิค เช่นตรวจงานหน้างาน ทำรายงานประจำวัน มากกว่าที่จะควบคุมกำหนดการ เร่งงาน หรือ ดูแลค่าใช้จ่าย • ให้รับหน้าที่กับผู้บังคับบัญชาให้ชัดเจน
ความรับผิดชอบ • รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด • ทำงานรวดเร็ว ฉับไว • ตรงหรือดีกว่าความต้องการ อย่าทำลวกๆ • ไม่ทิ้งงาน • มีปัญหาให้ปรึกษา ไม่เก็บเรื่องไว้นาน • ทำงานเป็นมืออาชีพ
Professional Liability • ต้องไม่ละเลย สิ่งที่ต้องทำตามวิชาชีพของตนเอง ที่อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่ ชีวิต หรือ ทรัพย์สิน • เป็นความรับผิดชอบตามกฎหมาย • ผู้ออกแบบ ออกแบบตามขั้นตอน และทฤษฎีที่ถูกต้อง ตามลำดับที่ถูกต้อง ทางวิชาการวิศวกรรมโยธา • ผู้ควบคุมงาน ตรวจสอบงานครบถ้วน • ผู้รับเหมา ทำงานถูกต้องตามหลักวิศวกรรม • การประสานงานเป็นไปอย่างถูกต้องตามขั้นตอน
สิ่งที่ต้องทำพื้นฐาน • สิ่งที่ต้องทำพื้นฐานคือ • อ่านแบบก่อสร้าง ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ วาดภาพ เทคนิคที่ต้องใช้ ลำดับขั้นตอนการทำงานให้ถูกต้อง • สงสัยให้ซักถามหัวหน้าหรือ Supervisor • หรือให้ค้นคว้าจากตำราที่มีอยู่ หรือถามอาจารย์ที่ปรึกษา • ศึกษาทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับงาน เช่น กำหนดการ สเป็ค วัสดุ กฎหมาย พรบ. ก่อสร้าง ฯลฯ
การตรวจงาน • ท่านจะสามารถตรวจงานได้ดี จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานที่แน่น และแม่นยำ ในประเด็นที่สำคัญ เช่น การตั้งไม้แบบต้องตรวจดูสิ่งใดบ้าง การผูกเหล็กโครงสร้างต้องตรวจดูสิ่งใดบ้าง เป็นต้น • ตรวจดูงานด้วยตาของตนเอง อย่าไว้ใจ ช่าง หรือกรรมกร เนื่องอาจมีการทำงานที่ไม่เรียบร้อย ลวก หรือ ขอไปทีเกิดขึ้นเสมอ ให้แยกแยะว่าอะไรสำคัญ อะไรไม่สำคัญด้วย
จรรยาบรรณ • สำหรับปัญหาพื้นฐานในการตรวจงาน เช่น แบบเอียง แบบไม่สะอาด ผูกเหล็กเสริมเบี้ยว เทคอนกรีตสูงเกินไป ฯลฯ ปัญหาประเภทนี้เกี่ยวกับคุณภาพของงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่วิศวกรใหม่สามารถสั่งงานได้ • ปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้ควบคุมงานจะต้องกวดขันให้การทำงานได้คุณภาพเสมอ หากสั่งแล้วไม่ปฏิบัติตามให้แจ้งผู้ที่มีอำนาจสูงกว่า
จรรยาบรรณ • อย่านำความลับของบริษัทไปเปิดเผย ไม่ว่าจะเป็นเอกสารด้านเทคนิค และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เอกสารทางการเงิน BOQ ฯลฯ • ซื่อสัตย์สุจริต • ไม่ลงลายมือชื่อเกิดอำนาจของตน
ตรวจหน้างาน • ดูแลความปลอดภัย ของตนเองและของทุกคนในหน่วยงาน • ดูแลด้านเทคนิค • ช่างสังเกต ระวังบุคคลภายนอก ระวังพวกมิจฉาชีพ • แม่นเอกสาร • ทำงานให้ละเอียด ประณีต รวดเร็ว ถูกต้อง โดยดูตัวอย่างของงานที่แล้ว
บุคลิก • การแต่งกายเพื่อควบคุมงานให้รัดกุมมีความปลอดภัย • ใส่ Shop ให้เรียบร้อย ไม่ใส่รองเท้าแตะ • ทรงผมสุภาพ • ท่าทางการเดิน • เป็นคนตรงต่อเวลา • สีหน้ายิ้มแย้ม เป็นกันเอง • มีสัมมาคารวะ รู้กาลเทศะ
การติดต่อสื่อสาร การติดต่อสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญมากเนื่องจาก วิศวกรหน้างานต้องคุยกับ คนงาน หัวหน้างาน โฟร์แมน วิศวกรรุ่นพี่ ผู้จัดการโครงการ ฯลฯ ต้องพูดคุยกับทุกคนให้เหมาะสม
การคุยให้รู้เรื่อง • การคุยให้รู้เรื่องเป็นสิ่งที่สำคัญ เช่นการอธิบายแบบก่อสร้าง ต้องอธิบายให้ละเอียดครบถ้วน ใช้ศัพท์เทคนิคให้ถูกต้อง เพราะหน้างานก่อสร้างการ Clear แบบเป็นสิ่งที่ต้องทำประจำ • ทำความเข้าใจให้ตรงกับผู้ที่พูดคุยด้วย อย่าคิดว่าอีกฝ่ายจะเข้าใจสิ่งที่เราพูดได้เอง • การคุยผิดพลาด ทำให้งานก่อสร้างผิดพลาด ต้องแก้ไขงาน เสียหายมากได้ ต้องใจเย็น • What When Where Why How ยังใช้ได้เสมอ
การคุยกับคนงานและหัวหน้างานการคุยกับคนงานและหัวหน้างาน • ให้ความเคารพกับผู้มีอาวุโส • ไม่วางอำนาจ แม้ตำแหน่งเราจะสูงกว่า • ไม่ก้าวร้าวในการสั่งงาน งานก่อสร้างความเครียดสูง • เป็นกันเอง คุยเป็นธรรมชาติ • อย่าคุยลักษณะจับผิด • สงสัยสามารถถามในจุดที่ไม่รู้ได้ • หากความรู้และประสบการณ์แน่นเราสามารถออกความคิดเห็นอย่างมั่นใจ • ให้คำชม ยกย่อง
การคุยกับหัวหน้างานและผู้ที่มีตำแหน่งสูงกว่าการคุยกับหัวหน้างานและผู้ที่มีตำแหน่งสูงกว่า • มีมารยาท • คนไทย รู้จักการไหว้ • พูดจาไพเราะมีหางเสียง • รู้กาลเทศะ • ไม่พูดเท็จ คำหยาบ ส่อเสียด เพ้อเจ้อ • รายงานให้ชัดเจน • ถามข้อสงสัยได้
การเขียนเอกสารหรือ Memo • ให้ดู Memo ในองค์กรนั้นๆ เป็นตัวอย่าง • ใช้ภาษาเขียนให้สละสลวย พิจารณาการแต่งประโยคให้ถี่ถ้วน • ลายมือตัวบรรจง ตัวใหญ่ ชัดเจน • สื่อสารชัดเจนครบถ้วนทุกประเด็นเช่นเดียวกับการพูดคุย • ให้หัวหน้า อนุมัติก่อนถ้าเป็นไปได้
หากมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้นหากมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้น • ถ้าเป็นไปได้ให้หลีกเลี่ยง อย่ายุ่งเกี่ยว • ใช้คำพูดที่สุภาพ • ใช้เหตุผลอย่าใช้อารมณ์ • ถ้าใช้เหตุผลไม่ได้ให้ห่างออกมา • อย่าสร้างอริ ให้เป็นมิตรกับทุกคน • คนไม่เหมือนกัน
ในการประชุม • กล่าวรายงานด้วยเสียงชัดถ้อยชัดคำ • สื่อสารให้คนอื่นเข้าใจ รู้เรื่อง ครบถ้วนทุกประเด็น • พูดให้ตรงเป้าหมาย ตรงประเด็น • อย่าแทรกคนอื่นพูด • อย่าตำหนิหรือแสดงความไม่เห็นด้วยโดยตรง • แสดงความคิดเห็นในหน้าที่ของตนเองเท่านั้น • ไม่แน่ใจ ไม่ควรแสดงความคิดเห็น
ในที่พัก หรือ งานเลี้ยง • งานก่อสร้าง งานเลี้ยงเป็นเรื่องทั่วไป • หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา • อย่าทำสิ่งผิดกฎหมาย เช่น เล่นการพนัน • ในที่พัก ไม่รบกวนคนอื่น ให้เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้ร่วมอาศัย • ไม่ก่อเสียงดังรบกวนทั้งในที่ทำงานและที่พัก • ใช้ห้องน้ำอย่างสะอาด ทั้งในที่ทำงานและที่พัก
TEST - 1 • 1. ท่านต้องศึกษาอะไรบ้างเมื่อเริ่มงานที่หน่วยงาน อธิบาย • 2. เมื่อท่านเดินตรวจหน้างาน สิ่งใดที่ท่านสามารถสั่งงานได้ และสิ่งใดที่ทำไม่ได้ อธิบาย • 3. ท่านเดินตรวจหน้างานท่านต้องดูแลประเด็นใดบ้าง อธิบาย • 4. ท่านควรมีบุคลิกอย่างไร อธิบาย • 5. จงอธิบาย การติดต่อสื่อสารที่ดี
TEST- 2 • 6. ท่านมีเทคนิคการพูดคุยกับระดับหัวหน้างานคนงานลงไปอย่างไร อธิบาย • 7. ท่านพูดคุยกับระดับหัวหน้าอย่างไร • 8. การเขียนเอกสาร มีข้อที่ต้องคำนึงถึงอย่างไรบ้าง อธิบาย • 9. เมื่อเจอข้อขัดแย้ง การโต้เถียงเกิดขึ้น ท่านควรทำอย่างไร • 10. มารยาทที่ดีในที่ทำงานและที่พักมีอะไรบ้าง