1 / 31

MRCF system กับการพัฒนาการผลิตแตงโมหาดสำราญ ปี 255 6 / 2557

MRCF system กับการพัฒนาการผลิตแตงโมหาดสำราญ ปี 255 6 / 2557. โดยสำนักงานเกษตรอำเภอหาดสำราญ หมู่ที่ 9 ตำบลหาดสำราญ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง 92120 โทรศัพท์ 0-7520-8785 E-mail:trg_hatsmran @doae.go.th http://hatsmran.trang.doae.go.th /. ข้อมูลพื้นฐานของอำเภอ ( Mapping ). ข้อมูลทางกายภาพ.

Download Presentation

MRCF system กับการพัฒนาการผลิตแตงโมหาดสำราญ ปี 255 6 / 2557

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. MRCF systemกับการพัฒนาการผลิตแตงโมหาดสำราญ ปี 2556/2557 โดยสำนักงานเกษตรอำเภอหาดสำราญ หมู่ที่ 9 ตำบลหาดสำราญ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง 92120 โทรศัพท์ 0-7520-8785 E-mail:trg_hatsmran@doae.go.th http://hatsmran.trang.doae.go.th/

  2. ข้อมูลพื้นฐานของอำเภอ (Mapping) ข้อมูลทางกายภาพ ที่ตั้งและอาณาเขต อำเภอหาดสำราญอยู่ในทิศใต้ของจังหวัด มีพื้นที่ทั้งหมด 224 ตร.กม. (140,000 ไร่) แบ่งการปกครองเป็น 3 ตำบล ได้แก่ หาดสำราญ บ้าหวี และตะเสะ มีจำนวน 22 หมู่บ้าน มีประชากร 16,140 คน 4,095 ครัวเรือน และครัวเรือนเกษตรกร 3,595 ครัวเรือน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ทำสวน ยางพารา ปาล์มน้ำมันไม้ผล พืชผัก นาข้าว เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และประมงชายฝั่ง

  3. แผนที่แสดงที่ตั้งอำเภอหาดสำราญแผนที่แสดงที่ตั้งอำเภอหาดสำราญ

  4. พื้นที่เขตการส่งเสริมการเกษตรพื้นที่เขตการส่งเสริมการเกษตร พื้นที่ทั้งหมด 140,000 ไร่ พื้นที่ ป่าอนุรักษ์ พื้นที่ทำการเกษตร 50,862 ไร่ ยางพารา 43,298 ไร่ ปาล์มน้ำมัน 5,411 ไร่ ไม้ผล 625 ไร่ พืชไร่พืชผัก 933 ไร่ นาข้าว 115 ไร่ แตงโม 480 ไร่

  5. ข้อมูลทั่วไปของแตงโม แตงโม(watermelon) ชื่อวิทยาศาสตร์: Citrulluslanatusจัดเป็นผลไม้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทะเลทรายคาลาฮารี ทวีปแอฟริกา ชาวอียิปต์เป็นชาติแรกที่ปลูกแตงโมเมื่อสี่พันปีมาแล้ว ชาวจีนเริ่มปลูกแตงโมที่ซินเกียง สมัยราชวงค์ถัง และชาวมัวร์ได้นำแตงโมไปสู่ทวีปยุโรป และสู่ทวีปอเมริกาพร้อมกับชาวแอฟริกาที่ถูกขายเป็นทาส สำหรับประเทศไทยมีการปลูกแตงโมทั่วทุกภูมิภาค และปลูกได้ทุกฤดูกาล

  6. ประวิติความเป็นมาการปลูกแตงโมของอำเภอหาดสำราญประวิติความเป็นมาการปลูกแตงโมของอำเภอหาดสำราญ • การปลูกแตงโมในพื้นที่อำเภอหาดสำราญมีการปลูกมายาวนาน แต่ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน มีการบอกเล่าต่อกันมาว่ามีการปลูกต่อเนื่องกันมาหลายทศวรรษ โดยมรการถ่ายทอดภูมิปัญญา จากรุ่นสู่รุ่น โดยอดีตการปลูกแตงโมจะปลูกปลายฤดูฝน ช่วงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งจะปลูกบนที่ดอนริมชายหาด ซึ่งดินยังมีความชื้น และอาศัยน้ำฝน และอีกส่วนหนึ่งจะปลูกในพื้นที่นาข้าว เมื่อมีการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จในช่วงเดือนมกราคม- กุมภาพันธ์ จะปลูกในแปลงนาในที่ลุ่ม และใช้แหล่งน้ำจากขุดบ่อน้ำตื้นสี่เหลี่ยมขนาดเล็กในแปลงนา ซึ่งในรอบปีจะมรการปลุกเพียงรอบเดียวเท่านั้น ในปัจจุบันเกษตรกรในอำเภอหาดสำราญได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่ทางการเกษตรเป็นสวนยางพาราปาล์มน้ำมัน ทำให้มีการปลูกแตงโมตลอดทั้งปี โดยปลูกแซมในสวนยางพาราละปาล์มน้ำมันที่มีอายุน้อย และได้พัฒนาเป็นการปลูกในเชิงการค้ามากขึ้น นำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้ในการปลูกแตงโม ทำให้มีผลผลิตจำหน่ายทั้งปี แต่อย่างไรก็ตามพื้นที่ปลุกแตงโมก็ลดลง เพราะถูกทดแทนโดยพื้นที่ปลูกยางพารา และปาล์มน้ำมันซึ่งเป็นไม้ยืนต้น ทำให้พื้นที่ที่สามารถปลูกแตงโมได้น้อยลง

  7. พื้นที่ปลูกแตงโมและการลงพิกัด GPS และจัดทำข้อมูลรายแปลง อำเภอหาดสำราญ มีเกษตรกรที่ปลูกแตงโม 75 ครัวเรือน จำนวน 80 แปลง 480 ไร่ ได้จัดทำพิกัด GPS และทำข้อมูลรายแปลงแล้ว จำนวน 75 ครัวเรือน จำนวน 80 แปลง 480 ไร่

  8. แผนที่แสดงพิกัดการปลูกแตงโมของอำเภอหาดสำราญแผนที่แสดงพิกัดการปลูกแตงโมของอำเภอหาดสำราญ

  9. ข้อมูลแหล่งน้ำและการใช้น้ำจากแหล่งน้ำข้อมูลแหล่งน้ำและการใช้น้ำจากแหล่งน้ำ ในการปลูกแตงโมของเกษตรกรอำเภอหาดสำราญ อาศัยน้ำฝนและ น้ำใต้ดิน โดยการขุดบ่อน้ำตื้น มีความลึก 1-2 เมตร เมื่อปลูกแตงโมเสร็จแล้วก็จะทำการกลบบ่อให้อยู่ในสภาพเดิม

  10. แผนที่แสดงแหล่งน้ำธรรมชาติอำเภอหาดสำราญแผนที่แสดงแหล่งน้ำธรรมชาติอำเภอหาดสำราญ

  11. ข้อมูลด้านชีวภาพ ข้อมูลเกษตรกร/พื้นที่ปลุกแตงโมของอำเภอหาดสำราญ ข้อมูลฤดูการผลิต 2556/2557

  12. ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ3.1 ผลิตภาพต่อหน่วยการผลิต (ต้นทุน:รายรับ) ของอำเภอหาดสำราญ

  13. องค์กร/กลุ่มเกษตรกร อำเภอหาดสำราญ มีองค์กรหรือกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกแตงโม ดังนี้

  14. ปฏิทินการปลูกแตงโม

  15. R :Remote Sensing การประสานงานและการให้บริการ วิธีการติดต่อสื่อสาร ช่องทางการสื่อสาร - โทรศัพท์มือถือ - ประชาสัมพันธ์ ผ่านหอกระจายข่าวมัสยิด - การประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้าน - การประชุมหมู่บ้าน - Facebook/Line - web site ของหน่วยงาน

  16. 1.ช่องทางการได้รับความรู้ของเกษตรกร1.ช่องทางการได้รับความรู้ของเกษตรกร • ภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น • การถ่ายทอดความรู้ผ่านศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล • การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการปลูกแตงโม • การถ่ายทอดความรู้ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรตามระบบ MRCF

  17. บทสรุปการสื่อสาร • 1.เกษตรกรผู้ปลูกแตงโมหาดสำราญทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างกลุ่มผู้ปลูกแตงโม • 2.เกษตรกรกับนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร • 3. เกษตรกรกับปราชญ์ชาวบ้าน • 4. เกษตรกรกับสื่อออนไลน์

  18. สรุปสถานการณ์การปลูกแตงโมของตำบล ข้อมูลจาก M และ R • ปัจจัยทางบวก • มีการจัดทำแผนที่แปลงปลูกแตงโมตามระบบ QGIS เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนการส่งเสริมการเกษตร • มีการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกแตงโมตามหมู่บ้าน เพื่อการส่งเสริมการปลูกแตงโมอย่างมีประสิทธิภาพ • มีการสื่อสารทางไกลโดยใช้การโทรศัพท์ การส่งข้อความเสียง/ภาพ ด้วยระบบสำเร็จรูป(ไลน์ ) และระบบอินเตอร์เน็ต ในการประสานงานและการติดต่อสื่อสารกับเกษตรกร • มีการประสานงานระหว่างนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรและนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง เพื่อสนับข้อมูล วิชาการ เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อนำข้อมูลข่าวสารส่งต่อยังเกษตรกร เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาการปลูกแตงโมในพื้นที่

  19. ปัจจัยทางลบ 2.1 การจัดทำแผนที่การปลูกแตงโมยังขาดรายละเอียดบางประการ เช่น ข้อมูลชุดดิน โครงสร้างดิน เป็นต้น 2.2 ในการสื่อสารกับเกษตรกรโดยการใช้โทรศัพท์ ระบบไลน์ และระบบอินเตอร์เน็ต มีการใช้ติดต่อสื่อสารกับเกษตรกรได้เพียงส่วนน้อย จึงต้องมีการใช้ระบบสื่อสารทางไกล ร่วมกับการประสานงานโดยตรง

  20. C : Community Participationกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีที่เกี่ยวข้อง • ภาคีเครือขายที่เกี่ยวข้อง การประชุมระหว่างหน่วยงานภาครัฐ หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ผู้นำท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน และกลุ่มผู้ปลูกแตงโม

  21. แนวทางการพัฒนาผลผลิตแตงโม จะทำอย่างไร • ลดต้นทุนการผลิตโดยการ เช่น การผลิตปุ๋ยชีวภาพ ใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี มีการใช้การกำจัด ศัตรูพืชแบบผสมผสาน แทนการใช้สารกำจัดศัตรูพืชเป็นต้น • เพิ่มผลผลิตโดยการใช้เทคนิค ในขั้นตอนต่างๆ โดยมีการจัดทำเป็นตารางวิธีปฏิบัติ ในช่วงระยะการเจริญเติบโตของแตงโม • มีการควบคุมการผลิต รวมทั้งการจดบันทึกด้านการปฏิบัติงานในสวน และผลที่ได้รับในระยะต่างของการเจริญเติบโตของแตงโม เพื่อที่สามารถนำผลมาวิเคราะห์ และควบคุมคุณภาพให้มีความสม่ำเสมอ • มีการจัดตั้งกลุ่มรวบรวมผลผลิตแตงโมเพื่อการจำหน่าย อาจเป็นกลุ่มเดียวกับกลุ่มในระดับหมู่บ้าน หรือระดับตำบลตามความเหมาะสม • มีการติดต่อประสานงานกับพ่อค้าที่มารับซื้อเพิ่มมากขึ้น และมีการจัดทำบัญชีผู้รับซื้อรายใหม่ เพื่อเปิดตลาดใหม่ๆ • มีการถ่ายทอดความรู้ การผลิตแตงโมอินทรีย์ และแตงโมปลอดสารพิษ ให้กับเกษตรกร และมีการจัดทำแปลงแตงโมตัวอย่าง โดยคัดเลือกจากเกษตรกรที่มีความสนใจ

  22. กระบวนการบูรณาการการพัฒนาแตงโมอำเภอหาดสำราญกระบวนการบูรณาการการพัฒนาแตงโมอำเภอหาดสำราญ • ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรโดยใช้ MRCF SYSTEM ระดับอำเภอ ระดับตำบล • คณะทำงานขับเคลื่อนฯ ระดับตำบลและกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกแตงโมจัดทำเวที เพื่อจัดทำแผนพัฒนาแตงโม • นำแผนพัฒนาแตงโม บรรจุในแผนพัฒนาการเกษตรระดับหมู่บ้าน และแผนพัฒนาตำบล • ส่งแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อบต. อบจ. และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาแตงโม

  23. การผลิตเชื้อไตรโคเดอร์มาการผลิตเชื้อไตรโคเดอร์มา

  24. F : Specific Field Service กระบวนการวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาในพื้นที่ จากข้อมูล M.R.C ข้างต้น สามารถสรุปสถานการณ์ในภาพรวมได้ดังนี้ Mapping กระบวนการ/ผลการวิเคราะห์ข้อมูล/สถานการณ์ของแตงโมหาดสำราญ ข้อมูลสารสนเทศแตงโมหาดสำราญ แผนปฏิบัติงานในประเด็นการพัฒนาแต่ละประเด็น ประเด็นการพัฒนา/แก้ไขปัญหาแตงโม Remote Sensing การนำไปสู่การปฏิบัติตามแผนโดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วม Community Participation แตงโมหาดสำราญได้รับการพัฒนา/แก้ปัญหา

  25. ปัจจัยภายใน จุดแข็ง (S) • 1) เกษตรกรอำเภอหาดสำราญ มีประสบการณ์และภูมิปัญญาในการปลูกแตงโมที่ยาวนาน • 2) แตงโมของอำเภอหาดสำราญ เป็นที่นิยมของผู้บริโภค และเป็นที่ต้องการของพ่อค้าคนกลาง • 3.) แตงโมหาดสำราญมีลักษณะปรากฏและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ ผิวเกลี้ยง เส้นใยในเนื้อแตงโมน้อย เนื้อทรายสีชมพู และมีความหวาน จุดอ่อน (W) • 1) เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตสูง • 2) มีการใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในปริมาณมาก • 3) ขาดการรวมกลุ่มเพื่อขายผลผลิต ทำให้ราคาผลผลิตแตงโมยังไม่เป็นที่พอใจของเกษตรกรผู้ปลูกแตงโม

  26. ปัจจัยภายนอก โอกาส (O) 1) ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอหาดสำราญ เหมาะแก่การปลูกแตงโม 2) อำเภอหาดสำราญ เป็นแหล่งท่องเที่ยว จึงมีโอกาสในการประชาสัมพันธ์แตงโมหาดสำราญ ให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป อุปสรรค (T) 1)อำเภอหาดสำราญตั้งอยู่ห่างไกลจากผู้บริโภค ทำให้เกษตรกรต้องใช้ต้นทุนสูงในการนำผลผลิตไปจำหน่าย 2)พื้นที่ปลูกแตงโมเป็นดินทราย อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล ทำให้ในหน้าแล้ง ขาดแคลนน้ำจืดในการเพาะปลูก

  27. ประเด็นการพัฒนาจากผลการวิเคราะห์ (SWOT) 1) ส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตในการปลูกแตงโม ทั้งในด้านการบำรุงดูแลรักษา และการป้องกันกำจัดศัตรูพืช 2) ส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อการจำหน่ายผลผลิต จะทำให้เกษตรกรได้รับราคาที่เหมาะสม และมีอำนาจในการต่อรองราคา 3) ส่งเสริมการปลูกแตงโมตามแนวทางเกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรปลอดสารพิษตามความเหมาะสมของพื้นที่ 4) ประชาสัมพันธ์ด้านคุณภาพของแตงโมหาดสำราญ ที่มีเอกลักษณ์ในด้านลักษณะผลตรงตามสายพันธุ์ ผิวเรียบไม่ขรุขระ ลายเส้นบนผิวชัดเจน ลักษณะภายในกรอบ เนื้อทราย มีเส้นใย และผิวสีชมพูสวยงาม พื้นที่ปลูกที่มีความพิเศษ คือมีการปลูกในพื้นที่ทรายริมชายฝั่งทะเล เป็นการสมควรนำเอกลักษณ์เหล่านี้ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคทั่วไป

  28. ประเด็นการปรับปรุงจากผลการวิเคราะห์ประเด็นการปรับปรุงจากผลการวิเคราะห์ 1) การสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ำ ให้มีการขุดบ่อบาดาล เพื่อนำน้ำมาใช้ในการเพาะปลูกแตงโมในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งเป็นช่วงที่มีความเหมาะสมมากที่สุดในการปลูกแตงโม 2) การสนับสนุนด้านการตลาด โดยการสนับสนุนช่องทางการจัดจำหน่ายให้เกษตรกรสามารถนำผลผลิตมาจำหน่ายโดยตรงสู่ผู้บริโภค เช่น การจัดสถานที่จำหน่ายให้กับเกษตรกร สัปดาห์ละ 1 วัน ให้เกษตรกรผู้ปลูก นำผลผลิตมาขายให้กับผู้บริโภคโดยตรง 3.จัดตั้งจุดรวบรวมผลผลิตระดับตำบล ระดับอำเภอ เพื่อกระจายผลผลิตสู่ผู้บริโภค

  29. แผนที่พิกัดรวบรวมผลผลิตแตงโมของอำเภอหาดสำราญแผนที่พิกัดรวบรวมผลผลิตแตงโมของอำเภอหาดสำราญ

  30. แตงโมหาดสำราญผิวพันธุ์ดี มีรสหวาน กรอบอร่อยน่าทาน ผู้บริโภคปลอดภัย

  31. จบการ นำเสนอ ขอบคุณครับ

More Related