380 likes | 717 Views
BCOM3501 การจัดการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 3(2-2-5) Electronics Business Management อาจารย์ สุกิจ สุวิริยะชัยกุล ปริญญาโท ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี e-mail: sukits2000@hotmail.com tel : 08-9309-8945. คำอธิบายรายวิชา.
E N D
BCOM3501 การจัดการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 3(2-2-5)Electronics Business Managementอาจารย์ สุกิจ สุวิริยะชัยกุลปริญญาโท ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีe-mail: sukits2000@hotmail.comtel : 08-9309-8945 Electronic Commerce
คำอธิบายรายวิชา • ความรู้เบื้องต้น แนวโน้ม และเทคนิคต่าง ๆ ทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงปัจจัยพื้นฐานทางด้านโครงสร้าง เทคนิคทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบดั้งเดิม ได้แก่ อีดีไอ • การใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • แบบจำลองทางด้านธุรกิจสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แบบธุรกิจสู่ธุรกิจและแบบธุรกิจสู่ผู้บริโภค • การตลาดบนระบบอินเทอร์เน็ต • ระบบการปฏิบัติตามสัญญาและการชำระเงิน • ปัจจัยเกี่ยวกับกฎข้อบังคับและการรักษาความปลอดภัยทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce
จุดมุ่งหมายของวิชา • เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจหลักการพื้นฐาน ของพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ • เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงระบบการรักษาความปลอดภัยในการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ • เพื่อให้ผู้เรียนรู้ถึงกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ • เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์อย่างมีระบบ มีคุณภาพและมีความปลอดภัย Electronic Commerce
ลักษณะการเรียนการสอน • การบรรยาย • สัปดาห์ละ 4 คาบ 3(2-2) • ต้องอ่านหนังสือก่อนเข้าเรียน • กรุณาตรงต่อเวลา • ช้า 15 นาที : สาย • ช้า 30 นาที : ขาด • ขาดเรียนเกิน 80%: หมดสิทธิ์สอบ • สามารถ download เอกสารได้ที่ http://www.stou-coop.com/com Electronic Commerce
ลักษณะการเรียนการสอน • โครงงานคนละ 1 เรื่อง • พัฒนาระบบงานพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ 1 ระบบ • เอกสารประกอบโปรแกรม • Problem statement • Requirements specification Document • Design Document • Testing Plans and User Manual • Demonstration • แบบฝึกหัดและรายงาน Electronic Commerce
เอกสารประกอบการเรียน • หนังสือหลัก • Efraim Turban,Jae Lee, David King : Introduction toElectronic Commerce, Prentice-Hall,Inc., 2003 • หนังสือประกอบ • Efraim Turban,Jae Lee, David King and H. Michael Chung: Electronic Commerce : A Managerial Perspective, Prentice-Hall,Inc., 2002 • Jim Perry and Gary Schneider, Electronic Commerce. • Margaret Melvin and Marilyn Greenstein. Electronic commerce: security, risk management and control, 2 ed. McGraw-Hill, 2001. • อาณัติ ลีมัคเดช, เรียนรู้พาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ภาคทฤษฎีและปฏิบัติ, กรุงเทพ, บริษัทเอ.อาร์. บิซิเนส เพรส จำกัด, 2546 330หน้า • กิตติ ภักดีวัฒนกุลและทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ คัมภีร์การพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์(E-COMMERCE),กรุงเทพ: เคทีพี คอมพ์แอนด์ คอนซัลท์, 2547 • ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-commerce Business on the internet, สวทช 2544 • ฉัททวุฒิ พืชผล, เปิดโลกการค้าอิเลกทรอนิกส์, Microsoft press, บริษัทโปรวิชัน Electronic Commerce
การปฏิบัติการ • เนื่องจากรายวิชานี้ไม่มีชั่วโมงปฏิบัติการ แต่จะมีกิจกรรมที่นิสิตต้องปฏิบัติ โดยนิสิตจะต้องไปหาเวลาในการฝึกปฏิบัติการ • เขียนโปรแกรมบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล • ภาษา • Perl • PHP • ASP • Java, Servlet, JSP ฯลฯ • ฐานข้อมูล • MySQL • MS SQL • Oracle • ProsgetSQL ฯลฯ Electronic Commerce
การส่งงาน • ต้องตรงต่อเวลา • เวลาเรียนไม่ครบ 80% ไม่มีสิทธิ์สอบ • ส่งช้าหักวันละ 10 % • จัดทำเป็นรายงานและแฟ้ม pdf หรือ doc Electronic Commerce
เกณฑ์การให้คะแนน • โครงงาน 30 % • แบบฝึกหัด/รายงาน/Quiz/เข้าร่วมกิจกรรม 20 % • สอบกลางภาค 20 % • สอบปลายภาค 30 % Electronic Commerce
การประเมินผล ประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ Electronic Commerce
รายงานเรื่องที่ 1:การวิเคราะห์ SWOT เว็บไซต์ • เลือกบริษัท dot com (ต่างประเทศ) 1 บริษัท บริษัทไทย 1 บริษัท • จัดทำเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ โดยมีหัวข้อต่อไปนี้ 1. รายละเอียดเกี่ยวกับ Domain โดยนิสิต ต้องนำชื่อเว็บคู่แข่งไปค้นหาใน www.register.com or thainic.net ซึงจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับ • ชื่อ Domain • ปีที่เริ่มจดทะเบียน และสิ้นสุด • ผู้ที่เป็นเจ้าของ • ที่อยู่ของบริษัท 2. สินค้าหรือบริการที่นำเสนอ 3. กลุ่มลูกค้าเป้าหมายโอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการไทย 4. รูปแบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น แบบ B2C C2C หรือ B2B หรือผสม Electronic Commerce
รายงานเรื่องที่ 1:การวิเคราะห์ SWOT เว็บไซต์(2) 5. ระบบการสั่งซื้อ และระบบตะกร้า 6. วิธีการชำระเงิน และระบบความปลอดภัย 7. การขนส่ง – ส่งมอบสินค้า 8. ลักษณะการออกแบบเว็บไซต์ • หน้า Home ของเว็บไซต์ • ลักษณะของเมนู เช่น ความชัดเจนของภาพ คำอธิบาย ภาษาที่ใช้ 9. กลยุทธ์การตลาด 6P (price, product, promotion, place, personalization, privacy) (เช่น ราคา , ลด แลก แจก แถม ) 10. ความถี่ในการ update สินค้า 11. พันธมิตรของเว็บไซต์ (นศ.สามารถสังเกตจาก logo ของบริษัทอื่นที่อยู่หน้าเว็บไซต์) 12. รูปแบบการสร้าง CRM กับลูกค้า เช่น Web board, FAQ, Chat Room, E-mail 13. สถิติผู้เข้าชม (ดูจาก Visitor หรือ www.truehit.net) Electronic Commerce
รายงานเรื่องที่ 1:การวิเคราะห์ SWOT เว็บไซต์(3) 14. ทดสอบกลยุทธ์การโฆษณาในเว็บค้นหา ทดสอบผลการค้นหา โดยระบุ • 1. ชื่อ search engine เช่น google.com, sanook.com (3 เว็บไซต์) • 2. ระบุ key words ที่ใช้ค้นหา คือ (ไม่ซ้ำกัน 4 คำ) • 3. พบว่าอยู่อันดับที่ (ให้ดูผลลัพธ์ว่าอยู่อันดับที่เท่าไหร่ หน้าอะไร ถ้าเกิน 5 หน้า ก็ให้แสดงข้อความว่าเกินหน้าที่ 5) 15. สรุป จุดอ่อน และจุดแข็งของเว็บคู่แข่ง Electronic Commerce
สิ่งที่คาดว่าผู้เรียนจะได้รับสิ่งที่คาดว่าผู้เรียนจะได้รับ • สามารถเขียนโปรแกรมเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ • มีความเข้าใจในหลักการของพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ • สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับการพาณิชย์ อิเลกทรอนิกส์ได้เป็นอย่างดี Electronic Commerce
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไรพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร Electronic Commerce
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร • “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (ECRC Thailand, 1999) • “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (WTO,1998) Electronic Commerce
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร?พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร? • “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และครอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การค้าอิเล็กทรอนิกส์ อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ โทรสาร แคตะล็อกอิเล็กทรอนิกส์ การประชุมทางไกล และรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร” (ESCAP, 1998) Electronic Commerce
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไรพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร • “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ทั้งในระดับองค์กรและส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัลที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ” (OECD, 1997) Electronic Commerce
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไรพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร • “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวลและการส่งข้อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รวมถึงการขายสินค้าและบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์ม การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ การจำหน่ายหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์ ใบตราส่ง การประมูล การออกแบบและวิศวกรรมร่วมกันการจั้ดซื้อจ้ดจ้างของภาครัฐ การขายตรง การให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า (เช่น สินค้าบริโภค อุปกรณ์ทางการแพทย์) และบริการ (เช่น บริการขายข้อมูล บริการด้านการเงิน, บริการด้านกฎหมาย) รวมทั้งกิจการทั่วไป (เช่น สาธารณสุข การศึกษา ศูนย์การค้าเสมือน (Virtual Mall)) ” (European Union, 1997) Electronic Commerce
สรุป จากนิยามทั้งหมดข้างต้น สรุปได้ว่า • พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การซื้อ การขาย หรือ การแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ และข้อมูลข่าวสาร ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Kalakota and Whinston (1997) ในที่นี้หมายรวมถึงการค้าทุกประเภทที่กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ • แสดงให้เห็นว่าพาณิชย์มีขอบเขตที่กว้างขวางอย่างยิ่ง ทั้งในเชิงเทคโนโลยีที่มีการใช้อุปกรณ์พื้นฐานจำพวกโทรศัพท์ โทรสาร บาร์โค้ด บัตรแถบแม่เหล็ก บัตรอัจฉริยะ (Smart Card) ตลอดจนระบบที่มีขนาดและความซับซ้อนมากขึ้น เช่น ระบบอีดีไอ ระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ • เทคโนโลยีที่มีผลต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้แก่ “เครือข่ายอินเทอร์เน็ต” ที่เอื้ออำนวยให้ผู้ประกอบการสามารถสื่อถึงผู้บริโภค ทั่วโลกได้ตั้งแต่การโฆษณาสินค้า สั่งซื้อ ชำระเงิน จัดการระบบขนส่งสินค้า ตลอดจนบริการหลังการขาย Electronic Commerce
ตัวอย่างของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตัวอย่างของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • การสั่งพิซซ่าทางโทรศัพท์ • การของบัตรชมภาพยนตร์ผ่านโทรศัพท์มือถือ • การส่งข้อมูลใบขนสินค้าให้กรมศุลกากรผ่านระบบ EDI • การซื้อหนังสือจากเว็บไซต์ Amazon.com Electronic Commerce
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)ผ่านทางอินเทอร์เน็ต • การค้า E-Commerce เป็นการซื้อ-ขายผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายระบบคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมโยงซึ่งกันและกันทั่วโลกโดยใช้เว็บไซด์(Web Site)เป็นที่ตั้งของบริษัท มีโดเมนเนมเป็นชื่อร้านค้า และเว็บเพจ (Web page)เป็นสื่อกลางในการแสดงรายละเอียดของสินค้าและบริการ พร้อมราคา ตลอดจนถึงวิธีการขนส่ง และการชำระเงิน • ดังนั้นจำนวนผู้เล่นอินเทอร์เน็ตและ เว็บไซด์ที่มีคนรู้จักมาก จะมีผลต่อความสำเร็จในการค้าแบบE-Commerce • ปัจจุบัน E-Commerce ในไทยยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว Electronic Commerce
ตัวอย่าง E-Commerce Electronic Commerce
ความหมาย e-Commerce ความหมายของ E-Commerceในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ • การสื่อสารและคมนาคม E-Commerce คือ การขนส่ง หรือส่งมอบสินค้า บริการ ข้อมูลข่าวสาร หรือ การชำระเงินผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ • การบริหารธุรกิจ E-Commerce คือ การนำเทคโนโลยีไปใช้ในกระบวนการ และ ขั้นตอนการทำงานของธุรกิจ • การบริการE-Commerce คือ เครื่องมือที่จำเป็นขององค์กร ใช้ในการจัดการเพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มคุณภาพสินค้า และเพิ่มความเร็วของการให้บริการแก่ลูกค้า Electronic Commerce
ความหมาย e-Commerce (ต่อ) • การ Online E-Commerceคือ ความสามารถ ในการซื้อ การขายสินค้า และข้อมูลข่าวสาร บนอินเตอร์เน็ต และเครือข่าย Online อื่น ๆ • สังคมชุมชนE-Commerceคือ สถานที่พบปะ แลกเปลี่ยน เรียนรู้ และร่วมมือกันของสมาชิก • องค์กรความร่วมมือE-Commerceคือ กรอบของความร่วมมือขององค์กรในประเทศ และต่างประเทศ Electronic Commerce
ความหมาย e-Business • ความหมายของคำว่า การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) ซึ่งหมายถึงการซื้อขายระหว่างผู้ซื้อ กับ ผู้ขาย อาจจะเป็นความหมายที่ค่อนข้างแคบ และถือเป็นจุดเริ่มต้นของคำว่า e-Businessซึ่งความหมายจะครอบคลุมถึงการบริการลูกค้า การร่วมมือระหว่างบริษัท-บริษัทคู่ค้า โดยดำเนินการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce
ความหมาย e-Business (ต่อ) • e-Business : หมายถึง การดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยี ด้านอิเล็กทรอนิกส์ หรืออินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง โดยมีการประยุกต์ใช้ในทุกกิจกรรมทั้งในส่วนของหน้าร้าน (Front Office) และหลังร้าน (Back Office)รวมทั้งการเชื่อมต่อกับระบบการค้ากับองค์กรภายนอกด้วย อาทิเช่น กับธนาคารโดยใช้ระบบ e-Banking หรือกับ Suppliers โดยผ่านระบบ e-Supply Chain ทั้งนี้โดยอาศัยสื่อ ทั้งในรูปของ Internet,Intranet และ Extranet Electronic Commerce
ความหมาย e-Business (ต่อ) • e-Businessหมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเกี่ยวกับเวลา ความเร็ว โอกาส ที่จะทำให้มีโอกาสได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ รวมถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างองค์กรเพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน (IBM’ s CEO) Electronic Commerce
สรุป E-Commerce กับ E-Business เหมือนกันหรือแตกต่างอย่างไร มีคนจำนวนมากเข้าใจว่า E-Business ก็คือ E-Commerce ซึ่งในความจริงแล้วมีความหมายไม่เหมือนกัน โดยที่ E-Commerce เป็นส่วนหนึ่งของ E-Business ซึ่งมีความหมายที่กว้างกว่า ความหมาย E-Businessการทำกิจกรรมทั้งหมดเกี่ยวกับการขาย การตลาด การผลิต การเงิน การบริหารบุคคล การสั่งซื้อวัตถุดิบ และกิจกรรมในการดำเนินธุรกิจทั้งหมด โดยใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้าไปประยุกต์และเป็นตัวเชื่อมต่อในทุกกิจกรรมหรือขั้นตอนของธุรกิจ ในขณะที่ E-Commerce มีความหมายในส่วนของการซื้อ-ขาย สินค้าและบริการ เท่านั้น Electronic Commerce
เศรษฐกิจแบบดิจิทัล (Digital Economy) • ปัจจุบันเรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจใหม่ หรือที่เรียกว่า “เศรษฐกิจแบบดิจิทัล (Digital Economy) “ ที่ระบบการค้าและการเงินของโลกจะเข้าสู่ระบบที่ใช้วิธีการโอนถ่ายข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มากกว่าจะใช้กระดาษแบบเก่า • การเข้ามาของ E-commerce ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เป็นการนำเราเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ (New Economy) อย่างสมบูรณ์ ซึ่งเป็นระบบการค้าที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมที่ทรัพย์สินจับต้องไม่ได้ (Intangible Asset) มากกว่าทรัพย์สินที่จับต้องได้ (Tangible Asset) หรือปัจจัยทางเศรษฐกิจแบบเก่า นั่นคือ ที่ดิน เครื่องจักร แรงงาน และเงินทุน Electronic Commerce
เศรษฐกิจแบบดิจิทัล (Digital Economy) (ต่อ) E-commerce E-Business Digital Economy Electronic Commerce
Pure E-commerce and Partial E-commerce • Pure E-commerceคือ การทำธุรกรรม E-commerce ในรูปแบบดิจิตอล Digital ทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนที่เริ่มจาก • การสั่งซื้อสินค้า หรือ บริการ • กระบวนการชำระเงิน • การส่งมอบ • ตัวอย่างเช่น การซื้อขาย โปรแกรม เพลง หรือ เกมส์ ผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยบัตรเครดิต Electronic Commerce
Pure E-commerce and Partial E-commerce (ต่อ) • Brick and Mortar Organization คือ องค์กรที่มีกระบวนการซื้อขายสินค้าแบบทั่วไปขององค์กรธุรกิจ (Pure Physical) เช่น การซื้อสินค้าด้วยตนเอง หรือสั่งซื้อผ่านพนักงาน (Sales) • Click and Mortar Organizationคือ องค์กรที่มีกระบวนการซื้อขายสินค้าแบบ EC ในบางขั้นตอน หรือ บางส่วนของกระบวนการทั้งหมด • Partial E-commerceคือ การทำธุรกรรม E-commerceที่บางขั้นตอนยังอยู่ในรูปแบบกายภาพ (Physical) เช่น การสั่งซื้อตำรา ต้องมีการขนส่งผ่านระบบขนส่งปกติทั่วไป หรือ การชำระเงินโดยใช้วิธีโอนผ่านธนาคาร หรือ ATM เป็นต้น Electronic Commerce
The Dimensions of EC Source: Choi et al. (1997), p. 18. Electronic Commerce
Internet vs. Non-Internet EC • การค้าแบบ E-commerce ส่วนมากใช้สื่ออินเทอร์เน็ต • บางระบบใช้เครือข่าย VAN (Value Added Network : เป็นเครือข่ายเสริมคุณค่าสำหรับธุรกิจ ที่มีผู้ดูแลโดยเฉพาะ มักจะใช้ในระบบ EDI ระหว่างบริษัทคู่ค้า) • หรือ LANs (Local Area Network : เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะใกล้) • หรือ เครื่องแมชชีนแบบ Stand Alone ยกตัวอย่างเช่น การซื้ออาหาร หรือ เครื่องดื่มผ่านเครื่องตู้แมชชีนเฉพาะ โดยชำระเงินด้วยบัตรสมาร์ดการ์ด Electronic Commerce
ประเภทของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถจัดประเภทของการดำเนินธุรกิจออกได้เป็นหลายรูปแบบคือแยกตามคู่ค้า • Business-to-Business (B to B) • Business-to-Consumer (B to C) • Business-to-Government (B to G) • Consumer-to-Consumer (C2C) • People-to-People(P2P) • Consumer-to-Business (C2B) • Government-to-Citizens (G2C) • Intrabusiness (Organizational) • Mobile Commerce Electronic Commerce
Q & A Electronic Commerce