180 likes | 445 Views
กรอบ แนวคิดในการวิจัย. ประเด็น. กระแสโลกา ภิ วัตรส่งผลให้ปัจจัย ต่างๆ ที่เคยเกื้อกูลและสร้างความสามารถในการแข่งขันเชิงเปรียบเทียบ ( Competitive Advantage) และความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ ( Comparative advantage) ของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงไป
E N D
ประเด็น • กระแสโลกาภิวัตรส่งผลให้ปัจจัยต่างๆ ที่เคยเกื้อกูลและสร้างความสามารถในการแข่งขันเชิงเปรียบเทียบ (Competitive Advantage) และความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative advantage) ของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงไป • การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกผลกระทบประเทศไทยได้เริ่มหันมาให้ความสำคัญ ในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจโดยมุ่งเน้นการพัฒนาตลาดภายในประเทศ (Domestic Market) และตลาดภูมิภาค (Region Market) และมุ่งเน้นการเชื่อมโยงกิจกรรมทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น
จุดแข็งและโอกาส • ประเทศไทยมีความได้เปรียบเชิงที่ตั้งในฐานะเป็นประเทศศูนย์กลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศ พม่า ลาว กัมพูชา จีนตอนใต้ และภูมิภาคตอนล่าง ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย • กรอบยุทธศาสตร์ ความร่วมมือGMSที่ทำให้เกิดเส้นทางยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงทางกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีศักยภาพด้านเศรษฐกิจผ่านสปป.ลาว(ที่เป็นประเทศที่มีประชากรน้อย)สำคัญ 2 เส้นทาง คือ ไทย-จีนตอนใต้ (เส้นทางหมายเลข R3E จากจังหวัดเชียงราย-ลาวตอนเหนือ-จีนตอนใต้) และไทย-เวียตนาม (เส้นทางหมายเลข 9 เชื่อมโยงจังหวัดมุกดาหาร-ลาวตอนกลาง-เวียตนาม)
การเชื่อมโยงระหว่างภาคเหนือของไทยกับจีนตอนใต้การเชื่อมโยงระหว่างภาคเหนือของไทยกับจีนตอนใต้ เส้นทางแม่น้ำโขง (ท่าเรือเชียงแสน-ท่าเรือกวนเล่ย-ท่าเรือจิ่งหง) เส้นทาง R3E ผ่านลาว (เชียงของ-ห้วยทราย-หลวงน้ำทา-บ่อเต็น-บ่อหาน-จิ่งหง) เส้นทาง R3W ผ่านพม่า (แม่สาย-ท่าขี้เหล็ก-เชียงตุง-เมืองลา-ต้าลั่ว-จิ่งหง)
ยุทธศาสตร์เพื่อนบ้านที่สำคัญยุทธศาสตร์เพื่อนบ้านที่สำคัญ • รัฐบาลประเทศลาวได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระยะ 10 ปี (ค.ศ. 2001-2010))ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน • รัฐบาลจีนได้ประกาศ "นโยบายดำเนินการมุ่งตะวันตก" เมื่อวันที่ 21ธันวาคม 2544 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายความเจริญ และยกระดับการพัฒนาพื้นที่ทางภาคตะวันตกให้ทัดเทียมกับภาคอื่นๆของประเทศ โดยรัฐบาลจีนจะเข้าไปลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภคต่างๆภายใต้ "นโยบาย XibuDaKaifa" หรือ Great Western Development Strategy
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำคัญของจีนตอนใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำคัญของจีนตอนใต้ การขับเคลื่อน มี 2 ยุทธศาสตร์คือ 1. ยุทธศาสตร์ 1 แกน 2ปีก (1 Axis 2 wings) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ยุทธศาสตร์ 3M ที่มุ่งเน้นการเชื่อมต่อผืนแผ่นดินของประเทศเพื่อนบ้านเป็นแกนหลัก (Axis-Mainland) จากจีนตอนใต้ เข้ากับเวียดนาม สปป.ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ เป็นแกนหลัก และ ปีกแม่น้ำโขง (Wing-Mekong) ที่เชื่อมโยงจีนตอนใต้ (ยูนนาน) พม่า สปป.ลาว ไทย กัมพูชาและเวียดนามเข้าด้วยกัน อีกหนึ่งปีก(Wing-Marine)คือการเชื่อมโยงชายฝั่งทะเลตะวันออกของเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกว่างซี (กวางสี) จากอ่าวเป้ยปู้ เข้ากับท่าเรือหลักของเวียดนามเช่นท่าเรือไฮฟอง ท่าเรือวินห์ ท่าเรือดานังท่าเรือคัมรานห์ ท่าเรือไซ่ง่อน เข้าสู่ท่าเรือของกัมพูชาและท่าเรือแหลมฉบังของไทย 2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาอ่าวเป้ยปู่ (PanBeibuDevelopment) ซึ่งรัฐบาลทุ่มเทและให้ความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะพัฒนาอ่าวเป้ยปู่เป็นทางออกทะเลของจีนตอนใต้และตะวันตก
การศึกษาขบวนการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ ระหว่างไทย-สปป.ลาว-จีนตอนใต้ผ่านเส้นทาง R3A/E แม้ว่าเส้นทางคมนาคมจะเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการเชื่อมโยงกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศด้านการขนส่งคนและสินค้า แต่หากระบบสถาบันระหว่างประเทศ เช่นกฎหมาย กฎระเบียบ และวิธีปฏิบัติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลก็จะเป็น ข้อจำกัด อุปสรรคในการที่จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงทางกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างกันอย่างมีประสิทธิผล
เป้าหมาย การนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ที่จะให้ภาคเอกชนได้ใช้ประโยชน์เส้นทางการค้า R3A/E อย่างมีประสิทธิผล (Cost Effectiveness) และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย (Competitiveness)
สมมุติฐาน สมมุติฐานที่สำคัญสองประการในการศึกษานี้คือ 1การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมทางบกระหว่าง ไทย-ลาว-จีนตอนใต้ในเส้นทางนี้สามารถอำนวยประโยชน์ด้านกายภาพในการขนส่งได้เป็นอย่างดี และ 2ข้อตกลงระหว่างประเทศภายใต้กรอบ GMS สามารถสร้างประโยชน์ร่วมได้กับทุกฝ่าย หากมีการปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว
คำถาม “ข้อจำกัดและอุปสรรคในการค้าชายแดนและผ่านแดนผ่านเส้นทางนี้คืออะไร และ ผู้ประกอบการไทยจะขยายโอกาสในการค้าชายแดนและผ่านแดนบนเส้นทางดังกล่าวได้อย่างไร”
ประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจไทยประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจไทย • การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้โครงข่ายพื้นฐานคมนาคมขนส่งสินค้าที่มีอยู่ โดยการพัฒนาระบบการจัดการที่นำไปสู่การลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการของไทย • การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทยให้สามารถปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจในกระแสยุคโลกาภิวัตร และการพัฒนาเศรษฐกิจและการลงทุนที่มีพัฒนาสู่ระบบตลาดอย่างเดียวหรือการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ • การทำให้ภาคเอกชนรับได้ทราบถึงปัญหา และอุปสรรคของของผู้ประกอบการไทย เพื่อนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ สนับสนุนการขยายโอกาสให้ผู้ประกอบการต่อไป
ทฤษฎีการศึกษาและระเบียบวิธีการวิจัย(Research Methodology)
กรอบแนวคิดทฤษฏีการวิเคราะห์ปัจจัย 4ด้าน (Diamond of Advantage)
ระบบการจัดการโลจีสติกส์ระบบการจัดการโลจีสติกส์
กรอบแนวทางในการดำเนินงานกรอบแนวทางในการดำเนินงาน งานที่ 1: ศึกษานโยบาย/ ยุทธศาสตร์/กรอบความร่วมมือ GMS / กฎหมายและ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงทางการค้า การลงทุน และ การขนส่ง ระหว่างประเทศ ไทย-ลาว-จีนตอนใต้ งานที่ 2 : ศึกษาทำความเข้าใจการไหลเวียนและเคลื่อนย้ายสินค้า และคน ในสภาพ ปัจจุบันและแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นบนแนวเส้นทางที่จะทำการศึกษา งานที่ 3 : ศึกษาเส้นทาง รูปแบบการขนส่งสินค้าและระบบการจัดการโลจีสติกส์ใน พื้นที่เกี่ยวเนื่องที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคตในแนวเส้นทาง เชื่อมโยงและเส้นทางเกี่ยวเนื่อง งานที่ 4 : ศึกษาการตัดสินใจของผู้ประกอบการในการคัดเลือกใช้หมวดการขนส่ง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดภายใต้กฎหมาย อุปสรรค ข้อจำกัด และ กฎระเบียบความร่วมมือระหว่างประเทศที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน งานที่ 5 : การจัดวางยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มประโยชน์และการเพิ่มความสามารถใน การแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย