290 likes | 1.26k Views
สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดนครนายก. ประวัติความเป็นมาของจังหวัดนครนายก.
E N D
สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดนครนายก
ประวัติความเป็นมาของจังหวัดนครนายกประวัติความเป็นมาของจังหวัดนครนายก นครนายกเป็นจังหวัดในภาคกลางสันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองสมัยทวาราวดีมีหลักฐานแนวกำแพงเนินดินและสันคูอยู่ที่ตำบลดงละครแต่นครนายกนั้นปรากฏหลักฐานในสมัยอยุธยาเป็นเมืองหน้าด่าน ทางทิศตะวันออกในสมัยพระเจ้าอู่ทองในปีพ.ศ.2437รัชกาลที่5ทรงจัดลักษณะการปกครองโดยแบ่งเป็น มณฑลนครนายกได้เข้าไปอยู่ในเขตมณฑลปราจีนบุรีจนเมื่อพ.ศ.2445ทรงเลิกธรรมเนียมการมีเจ้าครองเมือง และให้มีตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดขึ้นแทนและในช่วงพ.ศ.2486-2489นครนายกได้โอนไปรวมกับจังหวัดปราจีนบุรีและสระบุรีหลังจากนั้นจึงแยกเป็นจังหวัดอิสระ จังหวัดนครนายกเดิมชื่อบ้านนาเล่ากันว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาดินแดนของนครนายกเป็นป่ารกชัฏ เป็นที่ดอนทำนาหรือทำการเพาะปลูกอะไรไม่ค่อยได้ผลมีไข้ป่าชุกชุมผู้คนจึงพากันอพยพไปอยู่ที่อื่น จนกลายเป็นเมืองล้างต่อมาพระมหากษัตริย์ทรงทราบความเดือดร้อนของชาวเมืองจึงโปรดให้ยกเลิกภาษีค่านา เพื่อจูงใจให้ชาวเมืองอยู่ที่เดิมทำให้มีผู้คนอพยพมาอยู่เพิ่มมากขึ้นจนเป็นชุมชนใหญ่และเรียก และเรียกเมืองนี้จนติดปากว่าเมืองนา-ยกภายหลังจึงกลายเป็นนครนายกจนทุกวันนี้
สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดนครนายกสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดนครนายก
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (โรงเรียนนายร้อย จปร.) ตั้งอยู่ที่ตำบลพรหมณี ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 14 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ตามเส้นทางองครักษ์ประมาณ 75 กิโลเมตร บริเวณโรงเรียนติดกับเขาชะโงก มีพื้นที่ ประมาณ 19,290 ไร่ เป็นสถานที่ให้การศึกษาแก่ผู้ที่จะรับราชการเป็นนายทหารสัญญาบัตรแห่งกองทัพไทย ภายในมีสถานที่น่าสนใจหลายแห่ง และมีกิจกรรมต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวได้เพลิดเพลินและสนุกสนานเหมาะแก่การมาเที่ยวกันแบบครอบครัว นักท่องเที่ยวควรติดต่อศูนย์บริการท่องเที่ยว โรงเรียนนายร้อย จปร. ก่อนเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับกิจกรรมท่องเที่ยวภายในบริเวณโรงเรียน
อุทยานพระพิฆเณศ พระพิฆเณศปางประทานพร ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเลขที่ 24/4 หมู่ที่ 11 ถ.นครนายก-น้ำตกสาริกา (สี่แยกประชาเกษม)ต.สาริกา อ.เมือง จากตัวเมืองนครนายกไปทางถนนสาริกา-นางรอง ถึงสี่แยกประชาเกษม เลี้ยวซ้ายไปทางน้ำตกลานรัก ประมาณ 200 เมตร อุทยานพระิพิฆเณศตั้งอยู่ด้านซ้ายมือ ภายในบริเวณอุทยาน สักการะองค์พระพิฆเณศ และอาคารพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมองค์พระพิฆเณศจำนวน 108 ปาง ที่สมบูรณ์อีกแห่งของเมืองไทย
เขื่อนขุนด่านปราการชลเขื่อนขุนด่านปราการชล ตั้งอยู่ที่บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก สร้างขึ้นตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อบรรเทาความทุกข์ยากที่เกิดกับประชาชนชาวนครนายก และจังหวัดใกล้เคียง ตัวเขื่อน ประกอบด้วยเขื่อนหลักและเขื่อนรองสร้างด้วยคอนกรีตบดอัด ปัจจุบันเป็น เขื่อนคอนกรีตบดอัดที่มีความยาว ที่สุดในโลก มีความยาวรวม 2,720 เมตร ความสูง ( สูงสุด ) 93 เมตร รับน้ำที่ไหลจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ผ่านน้ำตกเหวนรกลงสู่อ่างเก็บน้ำมีความจุ 224 ล้าน ลบม.
ศาลหลักเมือง ศาลหลักมืองเดิมเป็นเสาหลักยาวประมาณ 1 เมตรเศษปลายเสาแกะสลักเป็นรูปดอกบัวตั้งอยู่บริเวณกำแพงเมืองเก่าต่อมาประมาณ พ.ศ. 2453ทางราชการเห็นว่าศาลหลักเมือง เดิมชำรุดมากจึงได้ย้ายหลักเมือง ไปประดิษฐานที่ตึกแดงในโรงเรียนสตรีประจำจังหวัด คือ โรงเรียนศรีนครนายก ภายหลังได้ย้ายมาสร้างใหม่ริมแม่น้ำนครนายก ภายในสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 9 โดยสร้างเป็นศาลาจตุรมุข เพื่อความสง่างาม และเป็นมงคลคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดนครนายกจนทุกวันนี้
พระแก้วมรกตองค์จำลอง พระแก้วมรกตองค์จำลอง ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารบนยอดเขา ณ วัดคีรีวัน ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี อยู่บนถนนสายนครนายก – ท่าด่านอำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ห่างจากตัวเมืองประมาณ 9 กิโลเมตร พระแก้วองค์จำลองนี้มีเนื้อเป็นเรซิ่น ขนาดหน้าตักกว้าง 49 นิ้ว สูง 32.9 นิ้ว หนัก 1 ตัน และมีเครื่องทรงครบทั้ง 3 ฤดู ประดับตกแต่งด้วยเพชรแท้ 7 กะรัตพลอยแท้2,000กว่าเม็ดและทับทิมอีกนับไม่ถ้วน
อนุสรณ์สถานกองพลทหารญี่ปุ่นที่ 37 อยู่ที่วัดพราหมณี ตำบลสาริกา อำเภอเมืองนครนายก ตรง กม .5 ถนนไปน้ำตกสาริกา–นางรองจัดสร้างโดย สมาคมทหารสหายสงครามกองพลญี่ปุ่นที่ 37 เมื่อปี พ . ศ .2535เพื่อเป็นที่ระลึก ถึงดวงวิญญาณของบรรดาทหาร ซึ่งสังกัดในอดีตกองพลญี่ปุ่นที่ 37 จำนวน 7,920 นาย ซึ่งสูญเสียชีวิตในระหว่างสงคราม เอเชียบูรพา เมื่อปี พ.ศ. 24822488โดยทำการนำอัฐิที่ฝังอยู่ในบริเวณวัดมาบรรจุในแท่นที่จัดสร้างขึ้น นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดยังมีสวนสัตว์จำลอง ทำจากปูนปั้นมากมายเช่น ช้าง โค กระบือ กระทิงเก้ง กวาง และยังมีพระพุทธ รูปเก่าแก่ (หลวงพ่อปากแดง)ที่ชาวลาวอพยพ ได้อัญเชิญมาสมัย เวียงจันทน์แตก ขณะนี้ได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้
รอยพระพุทธบาทจำลองเขานางบวชรอยพระพุทธบาทจำลองเขานางบวช อยู่ในมณฑปบนยอดเขานางบวช ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลสาริกา อำเภอเมืองนครนายก ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 9 กิโลเมตร เขานางบวชสูงประมาณ 100 เมตรมีบันไดคอนกรีตจากเชิงเขาถึงมณฑป 227 ขั้น รอยพระพุทธบาทนี้สร้างไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2401 แรม 8 ค่ำ เดือน 12 ปีระกาจะมีงานเทศกาลนมัสการรอยพระพุทธบาทในกลางเดือน 5 ของทุกปี
อุทยานวังตะไคร้ อุทยานวังตะไคร้ เป็นอุทยานที่ ได้รับการตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้ประดับนานาพันธุ์ ในเนื้อที่ 1,500 ไร่ มีถนนให้รถยนต์วิ่งเข้าชมในบริเวณได้ เปิดรับนักท่องเที่ยวทั่วไปทั้งประเภทเช้าไปเย็นกลับ และประเภทค้างแรมค่าผ่านประตู (ตั้งแต่ 1 ก.ย.46) นักท่องเที่ยวเดินเท้าคนละ10บาทรถยนต์รถกระบะรถตู้ รถสองแถวคันละ 100 บาท
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 2,168 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ของ 4 จังหวัด คือ นครนายก นครราชสีมาปราจีนบุรี และสระบุรี มีภูมิประเทศสวยงาม ประกอบด้วยป่าดิบ ป่าโปร่ง ธารน้ำ น้ำตก สัตว์ป่าและพันธุ์ไม้ป่านานาชนิด ยอดเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาใหญ่ คือ ยอดเขาแหลม มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,292 เมตร ถูกประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2505 นับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย และถูกประกาศเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2548 ฃ สถานที่ท่องเที่ยวบนเขาใหญ่เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ต่าง ๆ ได้แก่ จุดชมวิว กม.ที่ 30 ถนนธนะรัชต์( จากปากช่อง ) จุดชมวิวเขาเขียว ( ผาตรอมใจ ) และจุดชมวิว กม.ที่ 9 บนทางขึ้นเขาเขียว
อ่างเก็บน้ำทรายทอง อยู่ที่ตำบลเขาพระ อำเภอเมืองนครนายก แยกซ้ายมือจากถนนไปน้ำตกสาริกา – นางรอง ตรง หลัก กิโลเมตรที่ 1 ไปตามถนนเขาทุเรียน ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร อ่างเก็บน้ำทรายทอง เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ภูมิประเทศอ่างเก็บน้ำเป็นภูเขา มีความสวยงาม คงความเป็นธรรมชาติ เหนืออ่างเก็บน้ำขึ้นไปประมาณ 2 กิโลเมตร มีน้ำตกชื่อ น้ำตกทรายทอง เป็นน้ำตกขนาดเล็ก แต่มีน้ำเกือบตลอดปี การ เดิน ทาง ไปยังน้ำตก ทรายทองต้องเดิน เท้าเข้าไปโดยเริ่มจากตัวเขื่อนอ่าง เก็บน้ำใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที
อ่างเก็บน้ำห้วยปรือ อยู่ที่ตำบลเขาพระ อำเภอเมืองนครนายก แยกซ้ายมือจากถนนไปน้ำตกสาริกา – นางรอง ตรงหลักกิโลเมตรที่ 1 ไปตามถนนเขาทุเรียน ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตรเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก แต่มีผิวน้ำกว้าง มีน้ำตลอดปี มีถนนดินรอบอ่าง ภูมิประเทศรอบอ่างเก็บน้ำ มีความสวยงามตามธรรมชาติ ได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ ของประชาชนทั่วไป
น้ำตกนางรอง เป็นน้ำตกขนาดกลางที่ลดหลั่นลงมาเป็นชั้น ๆ ไม่สูงนัก บริเวณด้านล่างของน้ำตกมีห้องอาบน้ำและห้องสุขาบริการ เสียค่าบำรุงรถยนต์โดยสาร ( รวมบุคคล ) 150 บาท รถยนต์เล็ก ( รวมบุคคล ) 50 บาท รถตู้ ( รวมบุคคล ) 100 บาท รถจักรยานยนต์ 10 บาท บุคคลคนละ 5 บาท
วัดถ้ำสาริกา ตั้งอยู่ใกล้กล้เคียงกับน้ำตกสาริกา เป็นสถานที่ที่อาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เคยมาบำเพ็ญศาสนธรรมระหว่างปี พ.ศ. 2460-2463 สภาพบริเวณเป็นเชิงเขา ภายในบริเวณประกอบด้วยกุฏิสงฆ์ เรือนบูชาหลวงปู่มั่น พร้อมด้วยโบสถ์ซึ่งอยู่ตอนสุดทางเดินเท้าขึ้นเขา
วัดพระพุทธฉาย ตั้งอยู่ที่เขาชะโงกในบริเวณโรงเรียนนายร้อยจปร. ตำบลพรหมณี อำเภอเมืองนครนายก เป็นภาพเขียน ติดอยู่กัชะโงกผาบนภูเขาเตี้ยๆ พระพุทธฉายนี้ประวัติเดิมไม่เคยปรากฏ เล่าต่อกันมาว่าสภาพเดิมเป็นภาพพระพุทธรูปราง ๆ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2485 กรมแผนที่ทหารบกได้เข้าไป ตั้งโรงงานหินอ่อน ที่เชิงเขานี้และ ได้เขียนตามรอยพระพุทธรูปเดิมให้ชัดเจนยิ่งขึ้นราษฎรบริเวณนั้น นับถือว่า เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของจังหวัดนครนายกทุกกลาง เดือน 3 จะมีงานนมัสการเป็นประจำทุกปี
แหล่งโบรารคดีบ้านดงละครแหล่งโบรารคดีบ้านดงละคร แหล่งโบรารคดีบ้านดงละครหรือเมืองดงละคร กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถานแห่งชาติเมื่อวันที่8 มีนาคม พ.ศ.2478 ตั้งอยู่ที่ตำบลดงละคร ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศใต้ประมาณ 9 กิโลเมตร แต่เดิมเรียกกันว่า “ เมืองลับแล ” เป็นสถานที่ตั้งเมืองโบราณสมัยขอมมีอำนาจ มีแนวกำแพงเป็นเนินดินและคูเมืองปรากฏอยู่ ชาวบ้านเรียกกันว่า“ สันคูเมือง ” มีคูน้ำล้อมรอบ ซึ่งเป็นแบบเมืองทวารวดีทางภาคกลางของไทย
ความรุ่งเรืองที่เด่นชัดแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรกเริ่มในราวพุทธศตวรรษที่ 14-16 เป็นวัฒนธรรมแบบทวารวดี ช่วงที่สองราวพุทธศตวรรษที่ 17-19 เป็นวัฒนธรรมเขมร และวัฒนธรรมก่อนกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าน่าจะมีความสำคัญเกี่ยวข้อง กับเมืองศรีมโหสถ ซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 55 กิโลเมตร โบราณวัตถุที่ค้นพบ เช่น เศียรพระพุทธรูปกะไหล่ทองขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย ตราประทับหัวแหวนรูปปู ช้าง แหวนสำริด ลูกปัดแก้ว ลูกปัดหิน ตุ้มหูสำริด ตำนานเมืองลับแลนั้นยังเล่ากันว่า เมืองนี้เคยเป็นเมืองของราชินีขอม ซึ่งเป็นที่รโหฐาน ผู้อื่นไม่สามารถเข้าออกได้ ประกอบกับลักษณะของบริเวณเมือง มีไม้ใหญ่ขึ้นอยู่ทั่วไป ใครเข้าไปแล้วอาจหาทางออกไม่ได้ จะต้องวนเวียนอยู่ในดงนั้นเอง และในวันโกนวันพระจะได้ยินเสียงกระจับปี่ ซอ ปี่พาทย์ มโหรีขับกล่อม คล้าย ๆ กับมีการเล่นละครในวัง ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “ดงละคร ” หรืออีกนัยหนึ่ง คำว่า “ดงละคร ” นั้นอาจเพี้ยนมาจาก “ ดงนคร
อ้างอิง http://www.tat8.com/thai/ny/ny_place%20index.html http://www.tat.or.th/travelplacedet.asp?prov_id=26&id=3602
จัดทำโดย นางสาวเยาวลักษณ์ ศรีไวทย์ รหัสนิสิต56670160กลุ่ม 3305 คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา