650 likes | 1.98k Views
การภาษีอากร. โดย อาจารย์ธีระวัฒน์ ธีระเดชานันท์. บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีอากร. รายรับของรัฐบาล มีที่มาของรายรับ 5 ทาง คือ 1. การเก็บภาษีอากร 2. การหาประโยชน์จากทรัพย์สิน การขายสินค้าและบริการ 3. การกู้เงิน 4. พิมพ์ธนบัตร 5. เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ.
E N D
การภาษีอากร โดย อาจารย์ธีระวัฒน์ ธีระเดชานันท์
บทที่ 1ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีอากร รายรับของรัฐบาล มีที่มาของรายรับ 5 ทาง คือ 1. การเก็บภาษีอากร 2. การหาประโยชน์จากทรัพย์สิน การขายสินค้าและบริการ 3. การกู้เงิน 4. พิมพ์ธนบัตร 5. เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
ประเภทของภาษีอากร ภาษีอากรแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. ภาษีทางตรง ( direct tax ) หมายถึงการที่รัฐเรียกเก็บภาษี จากผู้นั้นโดยตรง ไม่สามารถผลักภาระภาษีให้ผู้อื่นได้ 2. ภาษีทางอ้อม ( indirect tax ) รัฐคาดหวังจะเก็บภาษีจากผู้ หนึ่งแล้วให้ผู้นั้นไปไล่เบี้ยเก็บเอาจากผู้อื่น เป็นการผลักภาระภาษี
ลักษณะภาษีอากรที่ดี ลักษณะภาษีอากรที่ดีมี 8 ประการ คือ 1. หลักความยุติธรรม 2. หลักความแน่นอน 3. หลักความสะดวก 4. หลักความประหยัด 5. หลักการอำนวยรายได้ 6.หลักความยืดหยุ่น 7.หลักการยอมรับของประชาชน 8. หลักการบริหารที่ดี
บทที่ 2ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบ่งออกได้ 4 ประเภท 1. บุคคลธรรมดา 2. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล 3. ผู้ที่ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี 4. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
แหล่งเงินได้ของประเทศไทยแหล่งเงินได้ของประเทศไทย แหล่งเงินได้ของประเทศไทย มี 2 ทาง คือ 1. แหล่งเงินได้ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย หมายถึงเงินได้ที่มาจาก - มีหน้าที่การงานที่ทำในประเทศ - กิจการที่ในประเทศ - กิจการของนายจ้างในประเทศ - ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศ
2. แหล่งเงินได้ที่เกิดนอกประเทศ หมายถึงผู้ที่มีเงินได้นอกประเทศ จะเสียภาษีจะต้องเข้าองค์ประกอบ 3 ข้อ คือ - มีหน้าที่ หรือมีกิจการหรือมีทรัพย์สินในต่างประเทศ - นำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทย - ต้องเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ถึง 180 วัน
บทที่ 3 เงินได้พึงประเมิน เงินได้พึงประเมิน หมายถึงเงินได้ของผู้ที่มีเงินได้ซึ่งต้องนำมาชำระภาษีให้แก่รัฐ - เงินได้พึงประเมิน มีกล่าวไว้อยู่ในประมวลรัษฎากร ตาม มาตรา 39 และ มาตรา 40 เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 หมายถึง 1. ตั๋วเงิน เช่น ธนาณัติ เช็ค ตั๋วแลกเงิน 2. ทรัพย์สินที่คิดคำนวณเป็นตัวเงินได้ เช่น ได้รับค่าจ้างเป็นข้าวเปลือก 3. ประโยชน์ที่คิดคำนวณเป็นตัวเงินได้ เช่นการอยู่บ้านนายจ้างโดยไม่เสียค่าเช่า 4. ภาษีที่มีผู้จ่ายแทนให้ เช่น นายจ้างออกภาษีแทนให้ลูกจ้าง 5. เครดิตเงินปันผลหรือส่วนแบ่งผลกำไรจากบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา มาตรา 40 เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ได้จำแนกประเภทของเงินได้ออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้ 1. เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส 2. เงินได้เนื่องจากหน้าที่การงานที่ทำหรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ เช่น ค่านายหน้า ค่าธรรมเนียม 3. ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น
4. เงินได้ที่เป็น ก. ดอกเบี้ยต่าง ๆ เช่น ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยพันธบัตร ข. เงินปันผล เงินส่วนแบ่งผลกำไรเงิน 5. เงินหรือประโยชน์ที่ได้จาก ก. การให้เช่าทรัพย์สิน ข. การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน ค. การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน 6. เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ กฎหมาย การประกอบโรคศิลป สถาปัตยกรรม วิศวกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม
7. เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหา สัมภาระ ในส่วนสำคัญ นอกจากเครื่องมือ 8. เงินได้จาก ธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือ การอื่น ๆ นอกจากที่ระบุไว้ ใน ข้อ 1 - 7 เช่น เงินได้จากการขายที่ดินจัดสรร เงินได้จากธุรกิจนายหน้าขาย ประกันภัย
เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีจะ ต้องมีกฎหมาย บัญญัติรองรับไว้ กฎหมายดังกล่าว มีดังนี้ • ตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร • กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ( 2509 ) • พระราชกฤษฎีกา • กฎหมายอื่น
บทที่ 4เงินได้สุทธิ ค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน เงินได้สุทธิคือเงินได้พึงประเมิน หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ แล้ว จึงนำเงินได้สุทธินี้ไปคำนวณภาษี ตามอัตราภาษีเงินได้บุคธรรมดา ค่าใช้จ่าย คือ รายจ่ายที่จ่ายไปเพื่อให้ได้เงินได้หรือประโยชน์กลับมา การหักค่าใช้จ่าย สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ
- การหักค่าใช้จ่าย สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ 1. การหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา เป็นการหักค่าใช้จ่ายตามอัตราร้อยละ แต่ละประเภทของเงินได้ พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร 2. การหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร เป็นการหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
ค่าลดหย่อน หมายถึงค่าใช้จ่ายส่วนตัวของผู้มีเงินได้ซึ่งไม่เกี่ยวกับการหาเงินได้ โดยกฎหมายยอมให้หักออกจากเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว หลักเกณฑ์การหักค่าลดหย่อน - 1. ผู้มีเงินได้ หักค่าลดหย่อนได้ 30,000 บาท 2. สามีหรือภรรยาของผู้มีเงินได้ หักค่าลดหย่อนได้ 30,000 บาท 3. บุตรของผู้มีเงินได้ หักค่าลดหย่อนได้ คนละ 15,000 บาท
กรณีบุตรศึกษาอยู่ในประเทศ หักค่าลดหย่อนได้คนละ 2,000 บาท - บุตรมี 2 ประเภท คือ บุตรเก่า และบุตรใหม่ ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนบุตรได้ไม่เกิน 3 คนที่มีชีวิตอยู่ หลักเกณฑ์การหักค่าลดหย่อนบุตร 1). บุตรนั้นอายุไม่เกิน 20 ปี 2). บุตรนั้นต้องไม่มีเงินได้ 3). บุตรนั้นต้องอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ 4). บุตรนั้นกำลังศึกษาอยู่ไม่เกินระดับปริญญาตรี โท เอก และอายุไม่เกิน 25 ปี
4. เบี้ยประกันชีวิต หักค่าลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท กำหนดอายุกรมธรรม์มีกำหนดไม่เกิน 10 ปี และบริษัท ผู้รับประกันชีวิตต้องทำการอยู่ในประเทศไทย 5. เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หักค่าลดหย่อนได้ไม่เกิน 10,000 บาท 6. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมธนาคารเพื่อสร้าง ซื้อ เช่าซื้อ อาคารที่อยู่อาศัย หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท 7. เงินบริจาค หักลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริงแต่หักได้ไม่เกิน 10 % ของเงินที่เหลือ
บทที่ 5การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา • การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มี 2 วิธี 1. การคำนวณโดย นำเงินได้พึงประเมินหักด้วยค่าใช้จ่ายและค่า ลดหย่อนที่เหลือคือเงินได้สุทธิแล้วนำไปคำนวณภาษีตามตาราง บัญชีอัตราภาษี 2. นำเงินได้นอกเหนือจากประเภทที่ 1 ซึ่งต้องมียอดเงินเกิน 60,000 บาทมาคำนวณภาษี ในอัตรา 0.5 %
บทที่ 6วิธีการเสียภาษี • การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามี 6 วิธี คือ 1. การหักภาษี ณ ที่จ่าย 2. การประเมินตนเอง 3. การประเมินโดยเจ้าพนักงาน 4. การเสียภาษีเงินได้แทนกัน 5. การเลือกเสียภาษีเงินได้
การคำนวนภาษีเงินที่ได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาการคำนวนภาษีเงินที่ได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา • วิธีการคำนวณ 1. เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นตัวตั้ง 2. หักค่าใช้จ่าย 50 % 3. หารด้วยจำนวนปีที่ถือครอง 4. เงินที่เหลือนำไปคำนวณภาษีตามตารางบัญชีอัตราภาษี 5. คูณด้วยจำนวนปีที่ถือครอง หมายเหตุ ภาษีที่ได้ต้องไม่เกิน ร้อยละ 20 ของราคาขาย
ในกรณีที่ดินที่ขาย ตั้งอยู่นอกเขต เทศบาล สุขาภิบาล เมืองพัทยา กรุงเทพมหานคร จะได้รับยกเว้นภาษี 200,000 บาท • ถ้าครอบครองที่ดินเกินกว่า 10 ปี ให้ถือว่าครอบครองที่ดินเพียง 10 ปี • เศษของปี (ระยะเวลาไม่ครบปี)ให้ปัดเป็น 1 ปี
บทที่ 7ภาษีเงินได้นิติบุคคล • ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล 1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลของไทย 2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลของต่างประเทศ 3. กิจการซึ่งดำเนินการค้า หากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ 4. กิการร่วมค้า 5. มูลนิธิหรือสมาคม 6. นิติบุคคลที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดไว้
เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี • ยกเว้นตามประมวลรัษฎากร • ยกเว้นตามพระราชกฤษฎีกา • ยกเว้นตามกฎหมายอื่น • ยกเว้นตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
บทที่ 8การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล • ฐานในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล มีหลักเกณฑ์ดังนี้ 1. คำนวณจากฐานกำไรสุทธิ 2. คำนวณจากฐานยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย 3. คำนวณจากฐานการส่งเงินได้ไปต่างประเทศ 4. คำนวณจากฐานการจำหน่ายกำไรไปต่างประเทศ 5. คำนวณโดยการหักภาษี ณ ที่จ่าย
บทที่ 9วิธีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล • วิธีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล มีวิธีการเสียภาษี ดังนี้ 1. การหักภาษี ณ ที่จ่าย 2. การประเมินโดยตนเอง 3. การประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมิน
บทที่ 10อากรแสตมป์ • คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง • 1. ตราสาร • 2. กระดาษ • 3. แสตมป์ • 4. กระทำ • 5. ปิดแสตมป์
6. ขีดฆ่า • 7. ปิดแสตมป์บริบูรณ์ • 8. ใบรับ
การยกเว้นอากรตามประมวลรัษฎากรการยกเว้นอากรตามประมวลรัษฎากร • การยกเว้นอากรแสตมป์ มีดังนี้ 1. ตราสารที่ระบุยกเว้นในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ 2. กำหนดยกเว้นไว้ในมาตรา 121 แห่งประมวล รัษฎากร 3. การยกเว้นอากรแสตมป์ตามพระราชกฤษฎีกา
บทที่ 11ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) • ภาษีมูลค่าเพิ่มคือ ภาษีที่จัดเก็บจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิตและการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ • การคำนวณภาษี ภาษีที่ต้องชำระ = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ • ภาษีขายคือภาษีที่ผู้ประกอบการเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ • ภาษีซื้อ คือภาษีที่ผู้ประกอบการได้จ่ายให้กับผู้ขายสินค้าหรือบริการ
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม • ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ บุคคล ดังนี้ 1. ผู้ประกอบการ 2. ผู้นำเข้า 3. ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม • ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มใช้อัตราภาษี ดังนี้ • อัตราร้อยละ 7 ใช้กับการประกอบการ ดังนี้ • อัตราร้อยละ 0
ตัวอย่างการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตัวอย่างการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม • ผู้ผลิตเสื้อสำเร็จรูป ซื้อผ้า 5,000 บาท วัสดุอื่น เช่น ด้าย กระดุม กล่องบรรจุรวม 3,000 บาท มียอดขาย 10,000 บาท จงคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ผลิตต้องชำระ ภาษีขาย = 10,000 x 7 % = 700 ภาษีซื้อ = ( 3,000 + 5,000 )x 7 % = 560 ภาษีที่ต้องชำระ = ภาษีขาย -- ภาษีซื้อ = 700 – 560 = 140 บาท ดังนั้นผู้ผลิตจะต้องเสียภาษีเป็นเงิน 140 บาท
ใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่ม • ใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มคือ เอกสารที่ผู้ประกอบการต้องออกให้แก่ผู้ซื้อทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือบริการ • ประเภทของใบกำกับภาษี มี 2 ประเภท คือ 1. ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ 2. ใบกำกับภาษีแบบย่อ
“ใบเพิ่มหนี้ ”เป็นใบกำกับภาษีที่ผู้ประกอบการออกให้ผู้ซื้อสินค้าบริการ โดยนำภาษีขายรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต่อมาพบว่ามีเหตุทำให้ภาษีขายเพิ่มขึ้น • “ใบลดหนี้”เป็นใบกำกับภาษีที่ผู้ประกอบการออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ โดยได้นำเอาภาษีขายไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต่อมาพบว่ามีเหตุทำให้ภาษีขายมีจำนวนลดลง
บทที่ 12ภาษีธุรกิจเฉพาะ • ภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นภาษีทางอ้อมเก็บจากการบริโภคโดยจะคำนวณจากรายรับตามอัตราภาษีที่กฎหมายกำหนดไว้ • ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับพร้อมกับภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อ พ.ศ. 2535 และต้องเสียภาษีเป็นรายเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ 1. บุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล นิติบุคคล 2. ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ 3. ประกอบกิจการในราชอาณาจักร
กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ 1. ธนาคาร 2. ธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ เครดิตฟองซิเอร์ 3. การประกันชีวิต 4. การรับจำนำ 5. กิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ 6. การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร
7.การขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์7.การขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ 8. กิจการอื่นที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ได้แก่ ธุรกิจ แฟคเตอริ่ง • ธุรกิจแฟคเตอริ่ง คือธุรกิจที่ผู้ขายสินค้าหรือบริการจะโอนทรัพย์สินเนื่องจากการขายสินค้าหรือบริการระหว่างตนกับลูกหนี้ ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจแฟคเตอริ่ง ซึ่งกิจการแฟคเตอริ่งจะให้สินเชื่อ และยังให้ผู้ขายกู้ยืมเงินด้วย
กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะและอัตราภาษีกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะและอัตราภาษี • กิจการธนาคาร ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ เครดิตฟองซิเอร์ กิจการเยี่ยงธนาคาร เสียภาษีร้อยละ 3 • การรับประกันชีวิต เสียภาษีร้อยละ 2.5 • การซื้อและขายคืนหลักทรัพย์ เสียภาษีร้อยละ 3
กิจการโรงรับจำนำ เสียภาษีร้อยละ 2.5 • กิจการขายอสังหาริมทรัพย์ เสียภาษีร้อยละ 3.0 • กิจการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ เสียภาษีร้อยละ 0.1 (ปัจจุบันยกเว้น)
ธุรกิจแฟคเตอริ่ง เสียภาษีร้อยละ 3.0
การคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะการคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะ • วิธีคำนวณ นำรายรับมาคิดภาษีในอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ และบวกด้วยภาษีท้องถิ่นอีก 10 %
ตัวอย่าง บริษัทบ้านวิวสวย ขายบ้านได้ในเดือน ตุลาคม 2551 5 หลัง เป็นเงิน 15,000,000 บาท บริษัทจะต้องเสียภาษีเท่าใด วิธีทำ ขายบ้าน 5 หลัง เป็นเงิน 15,000,000 บาท เสียภาษี 3 % ของ 15,000,000 บาท = 450,000 บาท เสียภาษีท้องถิ่น อีก 10 %= 45,000 บาท รวมเป็นภาษีที่ต้องชำระ 450,000 + 45,000 = 495,000 บาท