1.18k likes | 2.81k Views
Introduction to Safety Engineering. 615181 ความปลอดภัยทางวิศวกรรมเบื้องต้น Introduction to Safety Engineering อ.ทสพล เขตเจนการ พฤศจิกายน 2549. สารบัญ. ความปลอดภัยและอุบัติเหตุ สาเหตุของอุบัติเหตุ การป้องกันอุบัติเหตุ การสอบสวนและการเก็บข้อมูลอุบัติเหตุ การประเมินผลของอุบัติเหตุ
E N D
Introduction to Safety Engineering 615181 ความปลอดภัยทางวิศวกรรมเบื้องต้น Introduction to Safety Engineering อ.ทสพล เขตเจนการ พฤศจิกายน 2549
สารบัญ • ความปลอดภัยและอุบัติเหตุ • สาเหตุของอุบัติเหตุ • การป้องกันอุบัติเหตุ • การสอบสวนและการเก็บข้อมูลอุบัติเหตุ • การประเมินผลของอุบัติเหตุ • ความรับผิดชอบและการสร้างจิตสำนึก • หน่วยงานเกี่ยวกับความปลอดภัย
ความปลอดภัยและอุบัติเหตุความปลอดภัยและอุบัติเหตุ • เป้าหมายของกิจการที่ผลิตสินค้าและบริการ ทั้งภาครัฐและเอกชน คือ การได้ผลตอบแทนสูงสุด • ปัจจัยในการทำให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด • ต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม • คุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค • ผู้ปฏิบัติงานมีความปลอดภัยในการทำงาน • ผู้ปฏิบัติงานมีขวัญและกำลังใจดี • ผู้ปฏิบัติงานมีความสามารถสูงในการทำงาน
ความปลอดภัยและอุบัติเหตุความปลอดภัยและอุบัติเหตุ • ความไม่ปลอดภัยมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรม => ความสูญเสีย • ทางตรง • ต้นทุนเพิ่ม เช่น ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมเครื่อง ค่าทำศพ ค่าฟ้องร้อง • รายได้ลด เช่น ผลผลิตน้อยลง เพราะกำลังพลน้อยลง หรือเครื่องจักรต้องหยุดทำงาน • ทางอ้อม • ขวัญและกำลังใจของพนักงาน • ภาพพจน์ของกิจการ
ความปลอดภัยและอุบัติเหตุความปลอดภัยและอุบัติเหตุ • นิยามของความปลอดภัย การทำงานอย่างปลอดภัย หมายถึง การทำงานที่ไม่มีอุบัติเหตุ การไม่เป็นโรคภัยไข้เจ็บอันเนื่องมาจากการทำงาน ได้ทำงานอย่างมีสวัสดิภาพและอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งทางกายและจิตใจ • ความปลอดภัย (Safety) คือ การปราศจากสภาพความเสี่ยงภัยหรือสภาพอันตราย ในสภาวะแวดล้อมใดๆ • หน้าที่ของวิศวกรความปลอดภัย คือ ทำให้สภาพความเสี่ยงภัยลดลง โดยการกำจัดหรือควบคุมสภาพอันตรายในสภาวะแวดล้อมนั้นๆ
ความปลอดภัยและอุบัติเหตุความปลอดภัยและอุบัติเหตุ • นิยามของอุบัติเหตุ อุบัติเหตุ (Accident) คือ เหตุการณ์ไม่คาดฝัน ที่ทำให้บุคคลบาดเจ็บ หรือทรัพย์สินเสียหาย
ความปลอดภัยและอุบัติเหตุความปลอดภัยและอุบัติเหตุ • องค์ประกอบของอุบัติเหตุ Hazard Source ต้นตอของอันตราย หม้อไอน้ำที่ผนังเป็นสนิม พนักงานและอาคารในบริเวณใกล้เคียง หม้อไอน้ำระเบิด มีเศษวัสดุกระเด็นใส่พนักงานและอาคาร ฟันเฟือง ผู้ควบคุมเครื่อง มือของผู้ควบคุมเครื่อง เข้าไปอยู่ระหว่างช่องของฟันเฟือง Receiver ผู้ที่ได้รับอันตราย Contact การพบกันระหว่าง ต้นตอและผู้รับ
ความปลอดภัยและอุบัติเหตุความปลอดภัยและอุบัติเหตุ • อุบัติเหตุกับประสิทธิภาพการทำงาน • อุบัติเหตุส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เนื่องจากเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แผนการทำงานจะต้องหยุดชะงัก • เป็นตัวชี้ให้เห็นว่า การทำงานขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากอุบัติเหตุมักเกิดจากความบกพร่องในการจัดการ ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับคน วัสดุ กระบวนการ และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ความปลอดภัยและอุบัติเหตุความปลอดภัยและอุบัติเหตุ • อุบัติเหตุกับขวัญและกำลังใจ • อัตราการเกิดอุบัติเหตุสูง ส่งผลให้สูญเสียความมั่นใจและความเอาใจใส่ในการทำงาน ทำให้ผลงานไม่ถึงเป้าหมาย • อัตราการเกิดอุบัติเหตุลดลง ทำให้ทัศนคติต่อหน่วยงานดีขึ้น • หากสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุถูกกำจัดออกเรื่อยๆ พนักงานจะเสนอแนะวิธีการปรับปรุงเพิ่มขึ้น เนื่องจากตระหนักว่าข้อเสนอแนะได้รับการตอบสนอง
ความปลอดภัยและอุบัติเหตุความปลอดภัยและอุบัติเหตุ • อุบัติเหตุกับการประชาสัมพันธ์ • การสร้างภาพพจน์ที่ดีต่อชุมชน จะส่งผลให้ได้รับการช่วยเหลือและประโยชน์มากมายจากชุมชน ไม่ถูกร้องเรียน จึงควรถือว่าการป้องกันอุบัติเหตุเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงาน
สาเหตุของอุบัติเหตุ • ส่วนใหญ่แล้ว อุบัติเหตุจะเกิดจากหลายสาเหตุรวมกัน (Multiple Causes) • สาเหตุใกล้ตัว หรือสาเหตุโดยตรง (Direct Cause) • สาเหตุส่งเสริม (Indirect Cause) • ในทางทฤษฎี 98% ของอุบัติเหตุสามารถป้องกันได้ (2% เป็นเหตุสุดวิสัยหรือภัยธรรมชาติ) ในทางปฏิบัติ 50% ของอุบัติเหตุสามารถป้องกันได้
สาเหตุของอุบัติเหตุ • ทฤษฎีโดมิโนของ H. W. Heinrich Social & Environment & Ancestry สิ่งแวดล้อม และกรรมพันธุ์ Fault of Person ความบกพร่อง ส่วนบุคคล Hazard & Unsafe Act สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย Accident อุบัติเหตุ Injury & Loss การบาดเจ็บ และการสูญเสีย
สาเหตุของอุบัติเหตุ • สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย (Hazard) คือ สภาวะหรือสภาพที่มีศักยภาพพอที่จะก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือทำให้ทรัพย์สินเสียหายได้ • การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act)คือ การกระทำของบุคคลที่อาจมีผลก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองหรือทำให้ทรัพย์สินเสียหายได้
สาเหตุของอุบัติเหตุ • สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย (Hazard) • ออกแบบไม่ดี • มีการแก้ไขดัดแปลงจากแบบเดิม • ขาดการดูแลรักษาเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ • ความเลินเล่อของคนทำงาน • การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act) • ต้องการประหยัดเวลา • ต้องการประหยัดแรงงาน • ขาดความรู้ความชำนาญ • ต้องการทำงานสบาย • ไม่พอใจงานที่ทำ
สาเหตุของอุบัติเหตุ • ปัจจัยมนุษย์กับอุบัติเหตุ • การทำผิดพลาดเป็นปกติวิสัยของมนุษย์ แต่ถ้าหากทำให้บุคคลได้รับบาดเจ็บหรือถึงแก่ชีวิต หรือทำให้ทรัพย์สินเสียหาย ย่อมต้องมีการชดใช้ แต่สิ่งที่ดีที่สุด คือ ควรป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้น • รูปร่าง อายุ ความชำนาญ และความช่างพูด มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งสัมพันธ์กับประเภทของงานอีกด้วย • ความเครียดก็เป็นเรื่องสำคัญ ผู้ปฏิบัติงานจะเกิดความเครียดใน 3 ลักษณะ คือ เครียดจากงานประจำ เครียดจากสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน และเครียดจากสภาพสังคมที่อาศัยอยู่
ความสามารถ ของบุคคล เป้าหมายของ บุคคล ไม่สมดุล ไม่สมดุล ภาระของงาน เป้าหมายของ หน่วยงาน เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ! สาเหตุของอุบัติเหตุ สิ่งแวดล้อมภายนอก ความเครียด
การป้องกันอุบัติเหตุ • แนวคิดพื้นฐาน 3E Engineering - แก้ไขปรับปรุงเครื่องจักรให้ปลอดภัยขึ้น - ปรับปรุงแผนผังโรงงาน แสงสว่าง เสียง การระบายอากาศ Education - การให้ความรู้ อบรม ฝึกซ้อมการป้องกัน อุบัติเหตุ Enforcement - กฎ ระเบียบ ข้อปฏิบัติ การลงโทษ
การป้องกันอุบัติเหตุ • โมเดลการตัดสินใจ (Performance Cycle Model) ของ Johnson ตัดสินใจ ดำเนินการ วิเคราะห์ ปัญหา วัดผล
พัฒนาวิธีการป้องกัน อุบัติเหตุ ข้อมูล ป้อนกลับ วัดประสิทธิภาพ ของการควบคุม ถ่ายทอดข้อมูล ในการป้องกันอุบัติเหตุ การป้องกันอุบัติเหตุ • ขั้นตอนการทำงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ตามแนวคิดของ American Society of Safety Engineers (ASSE) ชี้ชัดและประเมินปัญหา ของอุบัติเหตุ
การป้องกันอุบัติเหตุ • ขั้นตอนการควบคุมสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย • ชี้ระบุสภาพอันตราย • เรียงลำดับสภาพอันตรายตามภาวะเสี่ยงภัย • ฝ่ายบริหารทำการตัดสินใจ • กำหนดวิธีการแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง • วิธีการด้านการบริหารจัดการ • วิธีการด้านวิศวกรรม • ติดตาม กำกับ ดูแล • ประเมินประสิทธิผล
การสอบสวนและการเก็บข้อมูลอุบัติเหตุการสอบสวนและการเก็บข้อมูลอุบัติเหตุ • 6 Question Words => 5W+1H • Where อุบัติเหตุเกิดขึ้นที่ไหน • When อุบัติเหตุเกิดขึ้นเมื่อใด • Who ใครเป็นผู้ได้รับบาดเจ็บ ใครมีส่วนเกี่ยวข้อง • How อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร • Why ทำไมอุบัติเหตุจึงเกิดขึ้น • What มีวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักร สภาพการณ์อะไร ที่เกี่ยวข้องบ้าง • แนวทางคำถามประเภท “หรือไม่?” • ตัวอย่างแบบฟอร์มรายงานอุบัติเหตุโดยหัวหน้างาน
การสอบสวนและการเก็บข้อมูลอุบัติเหตุการสอบสวนและการเก็บข้อมูลอุบัติเหตุ • มาตรฐานการเก็บบันทึกข้อมูลอุบัติเหตุ ANSI Z 16.2 ของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา • Nature of Injury ลักษณะของการบาดเจ็บ • Part of Body ส่วนของร่างกายที่บาดเจ็บ • Source of Injury แหล่งหรือต้นตอของการบาดเจ็บ • Accident Type ประเภทของอุบัติเหตุ • Hazardous Condition สภาพการณ์ที่เป็นอันตราย • Agency of Accident ตัวการของอุบัติเหตุ • Agency Part of Accident ส่วนประกอบของตัวการของอุบัติเหตุ • Unsafe Act การกระทำที่ไม่ปลอดภัย • Contributory Factors องค์ประกอบสนับสนุน
การสอบสวนและการเก็บข้อมูลอุบัติเหตุการสอบสวนและการเก็บข้อมูลอุบัติเหตุ กระดูกหัก ขาใต้หัวเข่า รถยก ถูกรถชน ลังไม้วางกินบริเวณลงมาบนถนน ลังไม้ ไม่มี การวางวัสดุผิดที่ผิดทาง ไม่มี • ตัวอย่าง – คนขับรถยก ขับรถชนลังไม้ที่วางเกินออกมาบนถนน ทำให้รถเสียหลัก วิ่งเข้าชนพนักงานอีกคนหนึ่งจนขาหัก • Nature of Injury • Part of Body • Source of Injury • Accident Type • Hazardous Condition • Agency of Accident • Agency Part of Accident • Unsafe Act • Contributory Factors
การประเมินผลของอุบัติเหตุการประเมินผลของอุบัติเหตุ • ในการทำงานด้านความปลอดภัย จำเป็นที่จะต้องมีการประเมินผลของอุบัติเหตุ เพื่อให้ฝ่ายบริหารมองเห็นภาพได้ชัดเจนและตัดสินใจให้มีการปฏิบัติได้ง่ายขึ้น • ประเมินในเชิงมูลค่าของเงิน • ประเมินในเชิงสถิติ • การประเมินความสูญเสียเนื่องจากอุบัติเหตุ จำเป็นต้องประเมินเป็นมูลค่าของเงิน เพื่อแสดงถึงค่าใช้จ่ายที่จะประหยัดได้จากโครงการด้านความปลอดภัย และสามารถเปรียบเทียบกับเงินที่ต้องใช้ไปในการดำเนินโครงการได้ => ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพและผลกำไร
การประเมินผลของอุบัติเหตุการประเมินผลของอุบัติเหตุ • ในการคำนวณค่าใช้จ่าย จะแยกอุบัติเหตุเป็น 2 ประเภท • เหตุการณ์ที่เกิดแล้วทำให้มีผู้บาดเจ็บ • เหตุการณ์ที่ทำให้ทรัพย์สินเสียหายเท่านั้น • ค่าใช้จ่ายโดยตรง • ค่าขนย้ายผู้บาดเจ็บ • ค่ารักษาพยาบาล • ค่าซ่อมแซมเครื่องจักร • ค่าใช้จ่ายโดยอ้อม • ค่าแรงที่ต้องจ่ายให้ผู้บาดเจ็บขณะพักงาน • ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเนื่องจากผลิตไม่ทัน • ค่าแรงคนงานที่หยุดงานมามุงดู
การประเมินผลของอุบัติเหตุการประเมินผลของอุบัติเหตุ • ตัวอย่างรายการค่าใช้จ่ายที่ควรประเมิน • ตัวอย่างแบบฟอร์มประเมินค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ • ค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้พนักงานที่บาดเจ็บแม้ไม่ได้ทำงาน • ค่ารักษาพยาบาล • ค่าซ่อมแซมเครื่องจักรที่เสียหาย • ค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้พนักงานที่ไม่ได้รับบาดเจ็บแต่ไม่ได้ทำงาน • ค่าล่วงเวลาเพื่อทำงานให้ครบ ชดเชยกับการที่เกิดอุบัติเหตุ • ค่าจ้างพนักงานผู้บาดเจ็บที่กลับมาทำงานได้ไม่เต็มความสามารถ • ค่าใช้จ่ายในการฝึกพนักงานใหม่ • ค่าใช้จ่ายของหัวหน้างานในการตรวจสอบอุบัติเหตุ • ค่าใช้จ่ายที่ผู้บริหารต้องใช้เวลาไปในการตรวจสอบอุบัติเหตุ • ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าเช่าเครื่องจักรทำงานทดแทน กำไรที่ลดลง
การประเมินผลของอุบัติเหตุการประเมินผลของอุบัติเหตุ • ดัชนีที่ใช้วัดประสิทธิภาพความปลอดภัย • อัตราความถี่ของอุบัติเหตุ (Frequency Rate, FR) FR = No. of Accident x 1,000,000 working time in man-hour • อัตราความรุนแรงของอุบัติเหตุ (Severity Ratio, SR) SR = DL x 1,000,000 working time in man-hour DL = Days of Lost Time หรือ จำนวนวันที่เครื่องจักรหยุดงาน รวมกับวันที่ผู้บาดเจ็บต้องหยุดงานเนื่องจากอุบัติเหตุ
การประเมินผลของอุบัติเหตุการประเมินผลของอุบัติเหตุ • ดัชนีที่ใช้วัดประสิทธิภาพความปลอดภัย • วันสูญเสียเฉลี่ยต่ออุบัติเหตุ (Average Days Charged Per Accident, ADC) ADC = SR FR • ดัชนีการประสบอันตราย (Disabling Injury Index, DI) DI = SR x FR 1,000 ค่า DI จะชี้ให้เห็นว่า การปฏิบัติงานมีระดับความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
การประเมินผลของอุบัติเหตุการประเมินผลของอุบัติเหตุ • ตัวอย่าง – โรงงานแห่งหนึ่งมีพนักงานจำนวน 500 คน โดยเฉลี่ยแล้วแต่ละคนทำงานปีละ 50 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง ตลอดปีมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 61 ครั้ง โดย 1 ครั้งทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 คน อีก 60 ครั้งทำให้ต้องหยุดงานรวมทั้งหมด 1,200 วัน การขาดงานเนื่องจากการลาป่วยและลากิจคิดเป็นประมาณ 5% ของเวลาทั้งหมด จงคำนวณหาค่า FR, SR, ADC และ DI จำนวน ชม.-คน ทั้งหมด = 500 x 50 x 48 = 1,200,000 ชม.-คน จำนวน ชม.-คน ที่เสียไปจากการลา = 1,200,000 x 5% = 60,000 ชม.-คน จำนวน ชม.-คน จริง = 1,140,000 ชม.-คน
การประเมินผลของอุบัติเหตุการประเมินผลของอุบัติเหตุ จำนวนวันสูญเสียจากอุบัติเหตุ 60 ครั้ง = 1,200 วัน จำนวนวันสูญเสียจากการมีผู้เสียชีวิต = 6,000 วัน จำนวนวันสูญเสียทั้งหมด = 7,200 วัน FR = 61 x 1,000,000 = 53.51 1,140,000 SR = 7,200 x 1,000,000 = 6,315.79 1,140,000 ADC = 6,315.79 = 118.03 53.51 DI = 6,315.70 x 53.51 = 337.96 1,000
ความรับผิดชอบและการสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบและการสร้างจิตสำนึก • ฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบต่อความปลอดภัย • ความรับผิดชอบของผู้อำนวยการและผู้บริหารระดับสูง • สร้างสภาพการทำงานที่ปลอดภัย • ป้องกันไม่ให้มีการกระทำที่ไม่ปลอดภัย • ความรับผิดชอบของวิศวกรความปลอดภัย • ความรับผิดชอบของหัวหน้างาน • เช่นเดียวกับผู้บริหาร • สอบสวนและบันทึกข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุ • ความรับผิดชอบของพนักงาน • รายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยต่อหัวหน้างานทันที • ไม่รบกวนการทำงานของเพื่อนร่วมงาน และไม่ให้เพื่อนร่วมงานมารบกวน ในลักษณะที่จะทำให้เกิดการเสี่ยงภัย
ความรับผิดชอบและการสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบและการสร้างจิตสำนึก • หน้าที่ของวิศวกรความปลอดภัย • งานสร้างและปรับปรุงระบบป้องกันอุบัติเหตุ • งานตรวจสอบความปลอดภัย • งานฝึกอบรมความปลอดภัย • งานสืบสวนหาเหตุปัจจัยของอุบัติเหตุ • งานประสานงานกับคณะกรรมการความปลอดภัย • งานประสานงานกับฝ่ายจัดการระดับกลางหรือผู้บริหาร
ความรับผิดชอบและการสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบและการสร้างจิตสำนึก • การสร้างจิตสำนึกในเรื่องความปลอดภัย • กระจายความรับผิดชอบงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน • สรุปหรือรายงานเรื่องอุบัติเหตุหรือสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยให้ผู้รับผิดชอบทันทีหรือเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ • ดำเนินการประชุมเรื่องความปลอดภัยในการทำงานอย่างมีประสิทธิผล • ให้การศึกษา ฝึกอบรม เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานแก่พนักงานทุกระดับ • ใช้ระบบประกาศเกียรติคุณหรือการให้รางวัล เพื่อสร้างจิตสำนึก • เสนอร่างแผนปรับปรุง • จัดให้มีการแสดงนิทรรศการความสูญเสียเนื่องจากความปลอดภัย • จัดให้มีการรณรงค์เพื่อรักษาความสะอาดในที่ทำงานอย่างต่อเนื่อง
หน่วยงานเกี่ยวกับความปลอดภัยหน่วยงานเกี่ยวกับความปลอดภัย • หน่วยงานราชการ • ประเทศไทยคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (National Safety Council of Thailand, NSCT) • สมาคมวิชาชีพ • ประเทศไทย สภาวิศวกร (Council of Engineers, COE) • USA American Society of Safety Engineers (ASSE) • UK Institute of Safety Engineers (ISE)