540 likes | 1.01k Views
บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. ความหมายของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E - Business) ประเภทของ E - commerce ขั้นตอนการซื้อ-ขาย สำหรับ E - commerce วิธีการชำระเงิน ( Electronic Payment Systems ) ภัยคุกคามสำหรับ E - commerce แนวคิดเรื่องการพัฒนาระบบ E - commerce. สารบัญ.
E N D
บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ความหมายของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) ประเภทของ E-commerce ขั้นตอนการซื้อ-ขาย สำหรับ E-commerce วิธีการชำระเงิน (Electronic Payment Systems) ภัยคุกคามสำหรับ E-commerce แนวคิดเรื่องการพัฒนาระบบ E-commerce สารบัญ บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ความหมายของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ความหมายของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) หมายถึง การดำเนินธุรกรรมทุกขั้นตอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในส่วนหน้าร้าน (Front Office) และหลังร้าน (Back Office) บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ความหมายของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) คือ การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจต่าง ๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจมีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของคู่ค้าและลูกค้าให้ตรงใจและรวดเร็ว เพื่อลดต้นทุน และขยายโอกาสทางการค้าและการบริการ บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ความหมายของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) BI=Business Intelligence:การรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านตลาดข้อมูลลูกค้า และคู่แข่งขัน EC=E-Commerce:เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เกิดการสั่งซื้อการขาย การโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ต CRM=Customer Relationship Management:การบริหารจัดการ การบริการ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับทั้งสินค้า บริการและบริษัท ระบบCRM นี้จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยดำเนินงาน และจัดเตรียมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการบริการลูกค้า บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ความหมายของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) SCM=Supply Chain Management:การประสานห่วงโซ่ทางธุรกิจ ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้จัดส่ง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก จนถึงมือผู้บริโภค ERP=Enterprise Resource Planning:กระบวนการของสำนักงานส่วนหลังและการผลิต เช่น การรับใบสั่งซื้อการจัดซื้อ การจัดการใบส่งของ การจัดสินค้าคงคลัง แผนและการจัดการการผลิต ระบบ ERP จะช่วยให้กระบวนการดังกล่าวมีประสิทธิภาพและลดต้นทุน บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ความหมายของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) พาณิชอิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) คือ การทำธุรกรรมทุกรูปแบบ (การซื้อขายสินค้าบริการ การชำระเงิน การโฆษณา และการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นส่วนหนึ่งของ ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ความหมายของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) การทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่และพีดีเอ (PDA) Mobile E-commerce หรือ M-Commerce เช่นการจองตั๋วชมภาพยนตร์และหักเงินจากบัญชีอัตโนมัติ การสั่งซื้อสินค้าและบริการ การดาวน์โหลดเกมการดาวน์โหลดเสียงเรียกเข้า หรือรับข้อความ SMS บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ความหมายของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) ประโยชน์ ธุรกิจ E-Commerce มีประโยชน์ร่วมกันของทั้ง ผู้ซื้อ, ผู้ขาย, ผู้ผลิต 3 ประเด็น ได้แก่ ประหยัดค่าใช้จ่าย โดยสามารถลดค่าใช้จ่ายบุคลากรบางส่วน ลดขั้นตอนการประกอบธุรกิจ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อแบบเดิมๆ ได้ ไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่ ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลก ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ลูกค้าสามารถใช้เว็บไซต์เพื่อเข้าถึงธุรกิจ E-Commerce ได้ตลอดเวลาจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสามารถทำการค้าได้ 24 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์ ผ่านระบบอัตโนมัติได้ บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ความหมายของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) ประโยชน์สำหรับผู้ซื้อ/ผู้บริโภค หาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบเรื่องราคา, คุณภาพสินค้า และข้อมูลอื่นๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อ อินเทอร์เน็ตมีประโยชน์มากในเรื่องนี้ สามารถเข้าไปในเว็บบอร์ดต่างในการหาข้อมูลหรือเปรียบเทียบสินค้าได้ง่าย มีร้านค้าให้เลือกมากขึ้น เพียงแค่พิมพ์คำค้น (keywords) ลงในเครื่องมือค้นหา (search engine) ก็มีสินค้าออกมาให้เลือกมากมาย ได้รับสินค้าอย่างรวดเร็ว ในกรณีที่ซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เพลง ภาพยนตร์ ซอฟต์แวร์ เพราะสามารถได้รับสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้เลย การซื้อสินค้าบางประเภทสามารถลดพ่อค้าคนกลางได้ ทำให้ได้ราคาที่ถูกลง บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ความหมายของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) ประโยชน์สำหรับผู้ผลิต/ผู้ขาย ลดความผิดพลาดในการสื่อสารแบบเดิมที่ใช้ในการค้า เช่น การส่งแฟกซ์, บอกจดทางโทรศัพท์ หรือการรับใบคำสั่งซื้อแล้วพิมพ์ข้อมูลเข้าระบบ ซึ่งมีโอกาสผิดพลาดมากกว่า ถ้าจะให้ดีนั้น ลูกค้าต้องสามารถทำการติดต่อผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และส่งข้อมูลได้เลยโดยตรงซึ่งจะช่วยลดความผิดพลาดในส่วนนี้ไปได้ ลดเวลาในการผลิต สามารถนำเทคโนโลยีมาช่วยในการคำนวณเรื่องความต้องการของการใช้วัตถุดิบ เช่น การทำคำสั่งซื้อวัตถุดิบ เป็นต้น เพิ่มประสิทธิภาพในระบบสำนักงานที่ประสานงานและบริการ เช่น การเปิดตลาดใหม่, การหาคู่ค้า, การจัดหาผู้ส่งสินค้า (Supplier) รายใหม่ ๆ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง เพิ่มความสัมพันธ์กับคู่ค้าให้ดีขึ้น สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเว็บไซต์ของบริษัท โดยการสร้างข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้า, การให้บริการหลังการขาย, ให้คำปรึกษาเรื่องผลิตภัณฑ์ หรือการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นอย่างรวดเร็ว เป็นต้น บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ประเภทของ E-commerce บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ประเภทของ E-commerce จำแนกเป็น 5 ประเภทได้แก่ 1. ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business) หรือ B-to-B หรือ B2B เป็นการทำธุรกรรมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การธุรกิจด้วยกัน เช่น ผู้ผลิต-ผู้ผลิต ผู้ผลิต-ผู้ส่งออก และผู้ผลิต-ผู้ค้าส่ง การทำธุรกิจลักษณะนี้สินค้ามีจำนวนมาก รวมถึงมูลค่าของสินค้าจึงมีสูงตามไปด้วย ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ประเภทของ E-commerce 2. ธุรกิจกับลูกค้า (Business to Customer) หรือ B-to-C หรือ B2C คือการค้าระหว่างผู้ค้าหรือผู้ประกอบการกับผู้บริโภค เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่รวมการขายส่งการทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) สินค้าที่จับต้องได้เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลง ขายเครื่องประดับ ขายของเล่น สินค้าที่จับต้องไม่ได้ เช่น เพลง ซอฟต์แวร์ การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อขายหุ้น และธนาคารออนไลน์ บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ประเภทของ E-commerce 3. ธุรกิจกับภาครัฐ (Business to Government) หรือ B-to-Gหรือ B2G คือ การประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ เช่น การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement นอกจากนี้ยังมีการประมูลออนไลน์ (E-Auction) การจดทะเบียนการค้าและการนำสินค้าเข้าออกโดยใช้อีดีไอ (EDI: Electronic Data Interchange) ผ่านกรมศุลกากร เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ประเภทของ E-commerce 4. ลูกค้ากับลูกค้า (Customer to Customer) หรือ C to C หรือ C2C คือ การประกอบธุรกิจระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค อาจเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง หรือประมูลสินค้า หรือการขายของมือสองเป็นต้น 5. ภาครัฐกับประชาชน (Government to Customer) หรือ G-to-C หรือ G2C ไม่ใช่เพื่อการค้า แต่เป็นการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ขั้นตอนการซื้อ-ขาย สำหรับ E-commerce บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ขั้นตอนการซื้อ-ขาย สำหรับ E-commerce ขั้นตอนการขาย 1. การค้นหาและการระบุ (Search and Identification) เป็นขั้นตอนที่ผู้ซื้อหรือผู้บริโภค ค้นหาเว็บไซต์ และเข้าสู่เว็บไซด์ที่ต้องการ 2. การเลือกและการเจรจา (Selection and Negotiation) เป็นขั้นตอนที่ผู้ซื้อได้เห็นรูปสินค้า รายละเอียด และคุณภาพของสินค้า และบริการของผู้ขาย รวมถึงราคาของสินค้า บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ขั้นตอนการซื้อ-ขาย สำหรับ E-commerce ขั้นตอนการขาย 3. การจัดซื้อสินค้าและบริการอิเล็กทรอนิกส์ (Purchasing Products and ServicesElectronically) เป็นขั้นตอนการซื้อขายสินค้าและบริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญคือ ขั้นตอนการชำระเงินของผู้ซื้อ เช่น ชำระผ่านบัตรเครดิต หรือผ่านบริการ Paypal หรือ อื่นๆ ผู้ขายจึงควรระบุให้ชัดเจนและควรใส่ใจเรื่องความปลอดภัยในเรื่องดังกล่าว บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ขั้นตอนการซื้อ-ขาย สำหรับ E-commerce ขั้นตอนการขาย 4. การจัดส่งสินค้าและบริการ (Product and Service Delivery) เมื่อชำระเงินแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือขั้นตอนการจัดส่งสินค้าหรือบริการ ทั้งแบบที่จับต้องได้ เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลง ขายเครื่องประดับ ขายของเล่น หรือจะเป็นสินค้าที่จับต้องไม่ได้ เช่น เพลง ซอฟต์แวร์ การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อขายหุ้น และธนาคารออนไลน์ แต่หากเป็นสินค้าแบบจับต้องได้ ต้องมีขั้นตอนเพิ่มคือการบรรจุหีบห่อการขนส่งและการติดตามสินค้า ตัวอย่างของการบริการ เช่น การไปรษณีย์แห่งประเทศไทย DHL FedEx บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ขั้นตอนการซื้อ-ขาย สำหรับ E-commerce ขั้นตอนการขาย 5. การบริการหลังการขาย (After-Sales Service) ผู้ขายจะมีข้อมูลรายการสั่งซื้อในฐานข้อมูล เช่น ชื่อของลูกค้าที่อยู่เบอร์โทรศัพท์ประวัติด้านเครดิต และรายละเอียดของการสั่งสินค้า ลูกค้าต้องการติดต่อกับผู้ขายหลังจากซื้อสินค้าไปแล้ว เช่น สินค้าชำรุด ได้รับสินค้าไม่ถูกต้อง หรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม หรือแม้แต่การเปลี่ยนคืนซ่อมสินค้า ก็สามารถกระทำและตรวจสอบได้ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ทำให้ลูกค้าได้รับการคุ้มครองการซื้อสินค้าได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังทำให้เกิดความมั่นใจในการเลือกซื้อต่อ ๆ ไปด้วย บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
วิธีการชำระเงิน (Electronic Payment Systems) บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
วิธีการชำระเงิน (Electronic Payment Systems) เงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic cash) คือ จำนวนเงินที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการคำนวณ การเก็บ และการใช้การจ่ายผ่านทาง E-commerce สามารถกระทำได้โดยลูกค้าจะเปิดบัญชีกับธนาคาร และกำหนดเอกลักษณ์ขึ้นมาเอง จากนั้นจะได้รับ Electronic Cash มา เมื่อลูกค้าต้องการถอนเงินออกจากธนาคารก็สามารถทำผ่านอินเทอร์เน็ต และจะแสดงสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ และสามารถพิสูจน์ได้จาก digital certificate จาก CA เมื่อธนาคารตรวจสอบเอกลักษณ์เรียบร้อยแล้วจะแสดงจำนวนเงินที่ลูกค้าต้องการออกมา และทำการลดจำนวนเงินจากบัญชีของลูกค้าออกตามที่ลูกค้าต้องการ บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
วิธีการชำระเงิน (Electronic Payment Systems) Paypal(www.paypal.com) เป็นบริษัทออนไลน์ที่ให้บริการระบบโอนและชำระเงินผ่านอีเมลระหว่างผู้ขายกับผู้บริโภค โดยไม่ต้องเปิดเผยเลขที่บัตรเครดิตให้แก่ผู้ค้าได้รับทราบ และสามารถตรวจสอบใบสั่งซื้อได้อย่างรวดเร็ว บัญชีของ PayPal สามารถนำเข้ายอดเงินได้จากการหักจากบัญชีธนาคารหรือตัดจากบัตรเครดิต ผู้รับการโอนเงินจาก PayPal จะรับเงินทางเช็คจาก PayPal หรือจัดตั้งบัญชีรับเงินจาก PayPal หรือให้มีการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารโดยตรง PayPal ดำเนินการในกระบวนการการชำระเงินสำหรับร้านค้าออนไลน์ เช่น amazon.com หรือ ebay.com โดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียม และบางครั้งอาจจะเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ค้าด้วย บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
วิธีการชำระเงิน (Electronic Payment Systems) Credit Card ผู้ออกบัตร (เช่น ธนาคาร) จะให้วงเงินกับผู้ถือบัตร (เช่น ลูกค้า) ไว้ระดับหนึ่ง ผู้ถือบัตรสามารถใช้บัตรดังกล่าว จับจ่ายซื้อสินค้าและบริการได้ภายในวงเงินที่กำหนด เมื่อถึงกำหนดจ่ายเงิน ไม่จำเป็นต้องจ่ายครบเต็มจำนวน โดยอาจจ่ายเพียงบางส่วนก่อนก็ได้ ความปลอดภัยของข้อมูลที่มีการถ่ายโอนทางอินเทอร์เน็ตยังเป็นที่วิตกสำหรับลูกค้า ณ ขณะนี้บริษัทต่าง ๆ หลายบริษัทใช้โพรโตคอล SSL (Secure Socket Layer) เพื่อรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว (https://) ความเสี่ยงในการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น แฮคเคอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลของบัตรเครดิตระหว่างที่เดินทางในอินเทอร์เน็ต การใช้บัตรเครดิตปลอม บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
วิธีการชำระเงิน (Electronic Payment Systems) Credit Card บริษัทวีซ่าและมาสเตอร์การ์ดได้ร่วมกันพัฒนาและเสนอโพรโตคอลที่ปลอดภัยกว่า เรียกว่า SET (Secure Electronic Transaction) ต้องใช้ซอฟต์แวร์พิเศษที่ฝั่งผู้ใช้งานเรียกว่า Digital Wallet บริษัทวีซ่าและมาสเตอร์การ์ดจะยอมรับข้อมูลที่เป็นไปตาม SET protocol เท่านั้น บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
วิธีการชำระเงิน (Electronic Payment Systems) Charge card บัตรที่ผู้ถือสามารถซื้อก่อน แล้วค่อยจ่ายเต็มทีหลัง บัตรประเภทนี้ไม่มีการจำกัดวงเงินการใช้จ่าย แต่เมื่อถึงกำหนดระยะเวลาชำระเงิน ผู้ถือบัตรจะต้องจ่ายครบเต็มจำนวน เช่น American Express เป็นต้น Debit card ต้องมีเงินฝากอยู่ในบัญชีก่อน เมื่อต้องการชำระเงินก็สามารถชำระได้เท่าที่เงินในบัญชีมีเท่านั้น เช่น K-My Debit Cardกสิกรไทยหรือ บัตร Be1st ของธนาคารกรุงเทพ เป็นต้น บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
วิธีการชำระเงิน (Electronic Payment Systems) Smart card การนำแผ่นไมโครชิป (Microchip) และแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ แบบวงจรรวม มาฝังลงบนตัวบัตร โดยมีกลไกในการเขียนและการอ่านข้อมูลที่ซับซ้อน สามารถเก็บรหัสลับ และข้อมูลทางชีวภาพบางอย่าง เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ หรือรูปภาพ ทำให้ยากแก่การปลอมแปลง และให้ความปลอดภัยของข้อมูลสูงกว่า ทั้งยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางกว่าเดิม บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
วิธีการชำระเงิน (Electronic Payment Systems) Electronic Wallets ข้อมูลที่อยู่ใน electronic wallets จะประกอบไปด้วยข้อมูลของ บัตรเครดิต electronic cash เอกลักษณ์ของผู้ถือบัตร ที่อยู่ ซึ่งจะมีการจัดเตรียมข้อมูลที่หน้าจ่ายเงินของเว็บไซต์ขายของออนไลน์นั้น ๆ เมื่อลูกค้าเลือกสิ่งของที่จะชำระเงิน เขาสามารถคลิกที่ electronic wallets ส่วนตัวของเขา ตามรายการของที่สั่ง โดยการซื้อขายออนไลน์ทำให้เร็วกว่าและง่ายกว่า บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
วิธีการชำระเงิน (Electronic Payment Systems) Electronic Checks เช็คอิเล็กทรอนิกส์ มีพื้นฐานมาจากเช็คที่เป็นกระดาษ เว้นเสียแต่ว่าเช็คประเภทนี้ต้องใช้กับ digital signatures และต้องมีการใช้ digital certificates เพื่อรับรองผู้ชำระเงินรับรองธนาคารของผู้ชำระเงิน และตัวบัญชีธนาคารด้วย Electronic Fund Transfer (EFT) เป็นวิธีการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ถ่ายโอนค่าเงินจากบัญชีหนึ่งไปยังอีกบัญชีหนึ่งของธนาคารเดียวกันหรือต่างธนาคาร บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
วิธีการชำระเงิน (Electronic Payment Systems) Paysbuy (www.paysbuy.com) คือบริการชำระเงินออนไลน์ที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถส่งเงินไปยังผู้รับเงินปลายทางได้อย่างง่ายดาย ไม่ต่างกับการส่งอีเมล์ โดยผู้ใช้สามารถส่งเงินให้บุคคลใดก็ตามที่มีที่อยู่อีเมล์และมีบัญชีธนาคารในประเทศไทย บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ภัยคุกคามสำหรับ E-commerce บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ภัยคุกคามสำหรับ E-commerce 1.การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เช่น ลิขสิทธิ์เพลงออนไลน์ การค้าขายสินค้าปลอม การปลอมเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตรที่ละเมิดลิขสิทธิ์ อุตสาหกรรมความบันเทิงและการท่องเที่ยว การซื้อขายดังกล่าว เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย อีกทั้งยังมีผลเสียในทางธุรกิจในระยะยาวอีกด้วย สินค้าที่เป็นของปลอมนั้น อาจก่อให้เกิดโทษต่อสุขภาพของผู้ใช้สินค้าด้วย บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ภัยคุกคามสำหรับ E-commerce 2.การโกง การใช้งานอินเทอร์เน็ตช่วงแรก มีอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ กลโกงโดยใช้การโทรศัพท์เข้ามาหลอกให้ผู้ใช้ตกเป็นเหยื่อ ปัจจุบันการโกงลักษณะเช่นนี้ก็ยังคงมีอยู่ เช่น มีโทรศัพท์มาบอกว่ามีการคืนเงินภาษีผ่านตู้เอทีเอ็ม เป็นต้น Phishing เป็นการส่งข่าวสารปลอมผ่านทางอีเมล โดยหลอกให้ผู้ใช้เข้าใจว่ามาจากองค์กรบริษัท หรือบุคคลที่น่าเชื่อถือ และสร้างเว็บไซต์ปลอมที่มีรูปแบบต่างๆ เหมือนเว็บไซต์จริงขึ้นมา ซึ่งเว็บไซต์ปลอมนี้จะให้ผู้ใช้ใส่ข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญและเป็นความลับลงไป บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ภัยคุกคามสำหรับ E-commerce 3.การโกงของมือสองออนไลน์ การขายของมือสองออนไลน์ทำให้เกิดความเสียหายกับการขายผ่าน E-commerce เป็นอย่างมาก เช่น การสร้างเว็บขึ้นมาเพื่อขายของแต่ไม่มีสินค้าจริง ๆ พอลูกค้าจ่ายเงินแล้วก็ไม่มีสินค้าส่งให้ เป็นต้น เมื่อผู้ใช้จะตามก็สามารถทำได้ยากเพราะข้อมูลที่ทางเว็บให้ไว้ อาจจะเป็นที่อยู่ปลอมก็ได้ บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ภัยคุกคามสำหรับ E-commerce 4. Spam คือ อีเมลที่เราไม่ต้องการ เป็นประเภทหนึ่งของอีเมลขยะ (Junk Mails) จุดประสงค์ของผู้ส่ง spam mail มักต้องการโฆษณาบริการต่าง ๆ ที่ตัวเองมีอยู่ spam mail เป็นการส่งอีเมลไปหาคนจำนวนมาก โดยผู้ส่งไม่จำเป็นต้องรู้จักมาก่อน และมักเป็นอีเมลที่ไม่พึงประสงค์ บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ภัยคุกคามสำหรับ E-commerce 5.การละเมิดข้อมูลส่วนตัวของผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น การให้ข้อมูลทางโทรศัพท์ มีความเสี่ยงสูง อาจจะมีการดักฟังโทรศัพท์ หรือนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดได้ เว็บไซต์ที่บันทึกพฤติกรรมการเข้าใช้งานของลูกค้า เพื่อนำไปใช้ประโยชน์นอกเหนือจากการค้าในเว็บไซต์นั้น ๆ บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
แนวคิดเรื่องการพัฒนาระบบ E-commerce บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
แนวคิดเรื่องการพัฒนาระบบ E-commerce 1.สำรวจตลาด สำรวจว่าในปัจจุบัน ความต้องการของผู้บริโภคหรือลูกค้าไปในทิศทางใด การแบ่งประเภทของกลุ่มลูกค้า เช่น แยกตามอายุแยกตามเพศ ซึ่งข้อมูลที่ได้มาอาจจะมาจากการรับข้อมูลข่าวสารทั่วไป ข่าวสารการเงิน ข่าวการตัดสินใจลงทุน การเรียนรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หรือการบริการข้อมูลจากความต้องการของสังคมในปัจจุบัน ข้อมูลอาจมาจากการตั้งคำถามในลักษณะดังต่อไปนี้ ธุรกิจนี้น่าลงทุนหรือไม่ ธุรกิจมีแนวโน้มหรือโอกาสที่จะประสบความสำเร็จตั้งแต่เมื่อแรกตั้งมากน้อยขนาดไหน ธุรกิจนี้มีความได้เปรียบหรือความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวมากน้อยเพียงใด สินค้าที่จะขาย มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
แนวคิดเรื่องการพัฒนาระบบ E-commerce 2.วางแผนการตลาดและพัฒนาเว็บไซต์ ถือเป็นเครื่องมือกลยุทธ์ในการวางแผนอย่างหนึ่งที่ช่วยกำหนดทิศทางการตลาดของสินค้าและบริการ การวางแผนการตลาดช่วยกำหนดรูปแบบยุทธศาสตร์ทางการตลาดให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น โดยช่วยกำหนดนโยบายการตลาดที่จำเพาะเจาะจง และช่วยตีกรอบระยะเวลา แผนการตลาดนี้สามารถกำหนดเป้าหมายทางการตลาด และวิธีการที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ สินค้าหรือบริการที่จะขาย กลุ่มลูกค้าที่คาดหวัง บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
แนวคิดเรื่องการพัฒนาระบบ E-commerce วิธีการพัฒนาเว็บไซต์ โดยเริ่มจากการจดโดเมน โดยชื่อที่ตั้งควรตั้งชื่อให้น่าเชื่อถือ และจดจำง่าย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้ รวมถึงป้องกันความผิดพลาดจากการติดต่อสื่อสาร ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการจดชื่อโดเมน เช่น http://thainame.cat.net.th/ http://www.thnic.net/ http://www.serverinter.com การจัดทำเว็บไซต์ การออกแบบเว็บที่ดีนั้นขึ้นอยู่กับเป้าหมายว่าเราต้องการขายอะไร ไม่จำเป็นต้องใช้กราฟิกที่สวยงามมาก ๆ เพียงแต่เน้นการเสนอคุณสมบัติของสินค้าของเรานั้นให้ตรงตามลักษณะของสินค้านั้น ๆ เช่น การขายอัญมณีมุกน้ำเค็ม สิ่งที่ลูกค้าต้องการคือ รูปแบบแต่ละแบบที่เห็นและความเด่นชัดของสินค้า รูปภาพที่แสดงให้ลูกค้าดูนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่ง บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
แนวคิดเรื่องการพัฒนาระบบ E-commerce วิธีการพัฒนาเว็บไซต์ การดาวน์โหลดข้อมูลไม่ควรจะช้ามากจนเกินไป เพราะจะทำให้ไม่ดึงดูดความสนใจได้ ควรออกแบบเว็บไซต์ให้เป็นกันเองกับผู้เยี่ยมชมควรมีสิ่งที่เกี่ยวกับสังคมอินเทอร์เน็ตบ้างเพื่อไม่เป็นการมุ่งแต่การขายอย่างเดียว การสร้าง Catalog ในการออกแบบสินค้าเพื่อให้ลูกค้า ค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและ มีเงื่อนไขที่หลายรูปแบบ การสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ 1. การจัดทำนโยบายการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy) 2. เครื่องหมายแสดงความน่าเชื่อถือ (Trustmark) คือ สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่แสดงไว้เพื่อประกาศให้ผู้ใช้บริการเว็บไซต์ทราบว่าเว็บไซต์ของผู้ประกอบธุรกิจนั้นได้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติหรือคุณลักษณะต่าง ๆ ตามมาตรฐาน บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
แนวคิดเรื่องการพัฒนาระบบ E-commerce 3. นำเว็บไซต์เข้าสู่อินเทอร์เน็ต สำหรับการติดตั้งเพื่อนำเว็บเข้าสู่อินเทอร์เน็ตนั้น ทำได้โดยการ upload หน้าเว็บและข้อมูลที่จำเป็นขึ้นไปไว้ที่เครื่องผู้ให้บริการ 4. ประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ จะต้องทำให้แน่ใจว่าเว็บไซต์สามารถถูกค้นพบได้ง่ายและสามารถดึงดูดลูกค้าที่มีความต้องการตรงกับที่เว็บไซต์ให้บริการ ชื่อโดเมนควรจะบอกบางสิ่งเกี่ยวกับธุรกิจของเรา ป้ายระบุ meta คือป้ายระบุ HTMLพิเศษ ไม่ใช่ที่มองเห็นการแสดงบนหน้าเว็บไซต์ ซึ่งบรรจุคำค้นที่แสดงเนื้อหาสาระของเว็บของเรา เพื่อให้ผู้ที่ต้องการค้น ค้นเจอเว็บไซต์ของเราได้ง่ายขึ้น บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
แนวคิดเรื่องการพัฒนาระบบ E-commerce Meta Data <meta name="description" content="ร้านขายน้ำหอม" /> <meta name="keywords" content="ร้านค้า, ออนไลน์, น้ำหอม, กลิ่น, หอม, ดับกลิ่นกาย, ยุโรป" /> <meta name="author" content="ตริณณ์ พัฒนดี" /> <meta http-equiv="Content-Type" content="text/html;charset=utf-8" /> บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
แนวคิดเรื่องการพัฒนาระบบ E-commerce 5.บริการหลังการขาย รวมถึงการรักษาและปรับปรุงเว็บไซต์ บริการที่ดีหลังการขายจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้รับการดูแล ทั้งในรูปแบบที่เป็นการโทรศัพท์เพื่อถาม หรือแม้แต่ถ้าหากลูกค้าต้องการเปลี่ยนซ่อม หรือขอคำแนะนำเกี่ยวกับสินค้า เป็นการเพิ่มความพอใจให้กับลูกค้า เพิ่มความเป็นไปได้ในการเข้ามาเยี่ยมชมหรือเป็นลูกค้ากับเราอีก บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
คำถาม บทที่ 10 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์