471 likes | 1.6k Views
การเสนอหัวข้อและโครงร่างวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าแบบอิสระ ( Thesis/IS Proposal). โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์ วัฒเนสก์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์ / การค้นคว้าแบบอิสระ. 1. เสนอหัวข้อและโครงร่าง ฯ. - ลงทะเบียนกระบวนวิชามาแล้ว > 6 หน่วยกิต.
E N D
การเสนอหัวข้อและโครงร่างวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าแบบอิสระ (Thesis/IS Proposal) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์ วัฒเนสก์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าแบบอิสระขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าแบบอิสระ 1. เสนอหัวข้อและโครงร่าง ฯ - ลงทะเบียนกระบวนวิชามาแล้ว > 6 หน่วยกิต 2. ลงทะเบียน • อาจลงทะเบียนพร้อมกับการเสนอหัวข้อและโครงร่างฯ • หรือ ลงทะเบียนหลังจากหัวข้อและโครงร่างฯได้รับอนุมัติ • แต่ต้องลงทะเบียนภายใน 2 ภาคการศึกษาปกติถัดไป 2/25
3. ทำ Thesis/IS - ควรติดต่อและรายงานความก้าวหน้าต่ออาจารย์ที่ปรึกษาอย่าง สม่ำเสมอ 4. เสนอ Thesis/IS เพื่อขอสอบ - ส่งก่อนวันสอบ >2 สัปดาห์ 5. ส่ง Thesis/IS ฉบับสมบูรณ์ • ส่ง 3 เล่ม + CD Rom ( abstract + complete text เหมือน hard • copy ทุกอย่าง เป็น word file )+ ปกมีลายเซ็นอาจารย์ที่ปรึกษา + มช. 22 บว. 3/25
การเสนอหัวข้อและโครงร่าง Thesis/IS - อาจเสนอก่อนลงทะเบียน Thesis/ISหรือ เสนอในเทอมที่ลงทะเบียน Thesis/ISก็ได้ • ภาษาที่ใช้เขียนอาจจะเป็นภาษาไทยหรืออังกฤษก็ได้ แต่ชื่อสกุล • ของนักศึกษา และชื่อเรื่อง Thesis/IS จะต้องระบุทั้งภาษาไทยและ • อังกฤษ 4/25
ลำดับหัวข้อของโครงร่างฯ 1. ชื่อและสกุล(ผู้เสนอ) (Name and Surname) 2. ชื่อเรื่อง Thesis/IS (Title) 2.1 ภาษาไทย (Thai) 2.2 ภาษาอังกฤษ (English) 3. หลักการ ทฤษฎี เหตุผล และ/หรือสมมติฐาน (Principle, Theory, Rationale, and/or Hypotheses) 4. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Literature review) 5. วัตถุประสงค์ของการศึกษา (Purposes of the study) 5/25
6. ประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษาเชิงทฤษฎีและ/หรือเชิงประยุกต์ (Education/application advantages) 7. แผนดำเนินการ ขอบเขตและวิธีการวิจัย (Research designs, scope and methods) 8. สถานที่ที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยและรวบรวมข้อมูล (Location) 9. ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย (Duration) 10. เอกสารอ้างอิง (References) 6/25
“หัวข้อเรื่องที่ดีจะต้องเป็นหัวข้อที่สั้น แต่สามารถบ่งถึงสาระของงานวิจัยนั้นอย่างครบถ้วน” การตั้งหัวข้อ Thesis/IS หลักเกณฑ์ในการตั้งหัวข้อ IS 1. ตั้งหัวข้อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัย การปรับปรุงรูปแบบการเสริมไอโอดีนของกระทรวงสาธารณสุขในตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ตรงประเด็น ผลสัมฤทธิ์ของการปรับปรุงการเสริมไอโอดีน.......... 7/25
2. หัวข้อต้องสื่อความหมายได้ชัดเจน ไม่สั้นหรือยาวเกินไป เมทริกซ์เฉพาะขนาด 3 สั้นเกินไป ยาวเกินไป ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางการเรียนของผู้ปกครอง ทัศนคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ นิสัยและทัศนคติในการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ใช้คำ “เปลือง” การเผชิญความเครียดของสตรีจีนที่เป็นมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี อาชีพเสริมของข้าราชการครูจังหวัดลำปาง กว้างเกินไป 8/25
3. ความสำคัญของการเรียงลำดับคำ การเรียงลำดับคำ หากไม่ถูกต้อง ชัดเจน อาจทำให้เข้าใจความหมายผิดไป เช่น ตัวอย่างที่ 1 อิทธิพลของไก่พื้นเมืองและลูกผสมต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพเนื้อ สมรรถภาพการผลิตและคุณภาพเนื้อของไก่พื้นเมืองและลูกผสม ตัวอย่างที่ 2 Technical Efficiency of Dendrobium Orchid for Cut Flower Production Technical Efficiency for Cut Flower Production of Dendrobium Orchid ตัวอย่างที่ 3 Mechanism of Suppression of Nontransmissible Pneumonia in Mice Induced by Newcastle Disease Virus Mechanism of Suppression of Nontransmissible Pneumonia Induced in Mice by Newcastle Disease Virus 9/25
4. หัวข้อภาษาไทยและหัวข้อภาษาอังกฤษ ควรสื่อ ความหมายชัดเจนและสอดคล้องกันทั้งสองภาษา หัวข้อภาษาไทย ทุกคำจะต้องเขียนเป็นภาษาไทย หากคำนั้น ไม่มีคำแปลหรือ ศัพท์บัญญัติ ก็ให้ใช้ทับศัพท์ โดยใช้เกณฑ์ของ ราชบัณฑิตยสถาน เช่น ฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อหลอดลมของอนุพันธ์ฟีนิลอัลเคน Relaxant Effects of Phenylalkane Derivatives on Tracheo- bronchial Muscles ศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน สามารถตรวจสอบได้ใน www.royin.go.th 10/25
- การเขียนชื่อภาษาอังกฤษของ ตำบล อำเภอ จังหวัด ให้ใช้ หลักเกณฑ์ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี/ราชบัณฑิตสถาน ซึ่งจะใช้การทับศัพท์หรือศัพท์ภาษาอังกฤษก็ได้ แต่ต้องเลือกใช้ อย่างใดอย่างหนึ่งให้สอดคล้องกัน เช่น Amphoe Mueang Chiang Mai Amphoe San Sai, Changwat Chiang Mai King Amphoe Mae On, Amphoe San Kamphaeng หรือSan Sai District, Chiang Mai Province 11/25
ชื่อหัวข้อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรจะต้องสอดคล้องกัน ตัวอย่าง การทดสอบเครื่องยนต์ขนาดเล็กในการใช้งานระยะยาว โดยใช้ น้ำมันผสมเอทานอลชีวภาพเป็นเชื้อเพลิง Long-Term Tests of a Small Engine Fueled with Bio- EthanolBlends การทดสอบเครื่องยนต์ขนาดเล็กในระยะยาว โดยใช้น้ำมันผสม เอทานอลชีวภาพเป็นเชื้อเพลิง 12/25
5. หัวข้อทำหน้าที่เป็นเพียงฉลาก • หัวข้อเป็นเพียงกลุ่มคำที่ให้การสื่อความหมายที่ดี ไม่ใช่ • ประโยคที่สมบูรณ์ จึงไม่ควรกังวลเกี่ยวกับหลักไวยากรณ์ • มากนัก - หัวข้อจะต้องมี keyword ที่บ่งถึงเนื้อหาของงานวิจัย - การใช้ comma ในหัวข้อ ใช้ได้เมื่อจำเป็น Separation, Quality Control and Health Product Development of Mucilage from Hairy Basil Seeds 13/25
6. หัวข้อหลักและหัวข้อรอง ไม่ควรตั้งหัวข้อ แยกเป็นหัวข้อหลัก ตามด้วยหัวข้อรอง ตัวอย่างที่ 1 สมุนไพรเพื่อสุขภาพ: การใช้ต้นไม้ใบเพื่อรักษาโรคเบาหวาน การใช้พืชสมุนไพรชนิดต้นไม้ใบเพื่อรักษาโรคเบาหวาน ตัวอย่างที่ 2 The Meaning of Death: A Buddhist Philosophical Interpretation A Buddhist Philosophical Interpretation of the Meaning of Death หัวข้อที่ได้รับอนุมัติแล้ว อาจจะมีการแก้ไขเพื่อความเหมาะสม ในภายหลังอีกได้ โดยกรอกคำร้องขอเปลี่ยนแปลง หมายเหตุ 14/25
หลักการ ทฤษฎี เหตุผล และ/หรือสมมติฐาน • ส่วนนี้เป็นหัวใจของโครงร่างฯ • กล่าวถึงประเด็นปัญหาที่น่าจะทำการวิจัย ค้นคว้า หาคำตอบ ในหัวข้อที่ตั้งขึ้นมา • ระบุเหตุผลสำคัญที่ประเด็นปัญหาของหัวข้อวิจัยต้องได้รับการศึกษาค้นคว้า • มีหลักการ ทฤษฎีหรือสมมติฐาน ใดบ้างที่จะสนับสนุนเหตุผลที่เลือกทำวิจัยเรื่องนี้ 15/25
แนวทางการเขียน- เขียนในรูปแบบของการตอบคำถาม เช่น 1. ประเด็นปัญหา หรือคำตอบที่ต้องการค้นหาคืออะไร ? มีกี่ปัญหา? ต้องการกี่คำตอบ? 2. มีความจำเป็นเพียงใดที่จะค้นหาคำตอบดังกล่าวฯ ถ้าไม่ค้นหาจะเสียหายอย่างไร? ถ้าค้นหาได้แล้วจะช่วยให้ อะไรดีขึ้นอย่างไร? 3. การค้นหาคำตอบนี้ ทำได้อย่างไร? ใช้วิธีการใดบ้าง? 16/25
4. มีหลักการ หรือแนวคิดใดที่น่าเชื่อว่าใช้วิธีการนี้ (ข้อ 3) แล้วจะได้คำตอบ? 5. มีสมมติฐานหรือทฤษฎีสนับสนุนโดยตรงหรือเทียบเคียงได้บ้างหรือไม่? 6. มีปัจจัยใด ๆ เกี่ยวข้องกับวิธีการค้นหาคำตอบนี้บ้างหรือไม่? อย่างไร? สรุปแล้ว ต้องชี้ให้เห็นประเด็นปัญหาของหัวข้อวิจัยที่ตั้งขึ้นมา ว่าสมควรมีการศึกษาค้นคว้า โดยที่หลักการหรือแนวคิดที่นำเสนอ มีความเป็นไปได้ หรือเป็นไปตามหลักวิชาและวิธีการที่จะใช้ศึกษา ค้นคว้านั้นเหมาะสมแล้ว 17/25
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อยสองส่วน ได้แก่ 1. ส่วนที่สรุปให้ทราบถึงสถานภาพปัจจุบันหรือองค์ความรู้ที่มีอยู่ใน ปัจจุบัน เกี่ยวกับประเด็นปัญหาของหัวข้องานวิจัย เช่น เคยมีใคร ศึกษาค้นคว้าเพื่อหาคำตอบในประเด็นนี้ หรือประเด็นใกล้เคียง มาแล้วบ้าง? ใช้วิธีการใด? และได้ผลอย่างไร? 2. ส่วนที่สรุปสาระเกี่ยวกับระเบียบวิธี (methodology) หรือเทคนิค ทุกๆวิธีที่จะนำมาใช้ในโครงการวิจัยนี้ ว่าเคยมีใครใช้วิธีการ/เทคนิค ดังกล่าวมาแล้วบ้าง ภายใต้ข้อจำกัดหรือเงื่อนไขใดประยุกต์กับ ประเด็น ปัญหาใด มีขอบเขตของการศึกษาครอบคลุมเพียงใด และ ได้ผลอย่างไร เป็นต้น 18/25
ประโยชน์ของ literature review นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นนี้แล้ว ยังช่วยให้เราทราบถึงแหล่งข้อมูลต่อเนื่อง สามารถขยายผลต่อไปได้ สามารถนำมาเปรียบเทียบ วิเคราะห์ อ้างอิง กับงานวิจัยของเราได้ และช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงการศึกษาค้นคว้าซ้ำซ้อนกับงานที่เคยมีผู้ทำมาก่อนแล้ว วัตถุประสงค์ของการศึกษา ควรกำหนดวัตถุประสงค์ให้กระชับและตรงเป้าที่สุด วัตถุประสงค์ ของการศึกษาตามโครงการวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์จึงควรมีเพียงประการ เดียว คือเพื่อค้นหาคำตอบของประเด็นปัญหาวิจัยนั้น 19/25
อย่างไรก็ตาม โครงการวิจัยบางโครงการอาจมีวัตถุประสงค์สำคัญหลายประการ (แต่ก็ไม่ควรหลากหลายนัก อย่างมากที่สุด ไม่น่าสูงถึงสามวัตถุประสงค์) ในกรณีเช่นนี้ควรระบุวัตถุประสงค์ แยกเป็นข้อ ๆ โดยเรียงลำดับความสำคัญ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษาเชิงทฤษฎี และ/หรือเชิงประยุกต์ ควรระบุเป็นข้อ ๆ ว่าหากผลการค้นคว้าวิจัยเป็นไปตามที่คาด หมายจะพึงมีประโยชน์อะไรบ้าง โดยเรียงลำดับความสำคัญ 20/25
แผนดำเนินการ ขอบเขตและวิธีการวิจัย ควรระบุ วิธีการ/เทคนิค ที่จะใช้ในการค้นหาคำตอบของประเด็นปัญหาวิจัย อาจระบุรายการวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ วิธีการวิเคราะห์การออกแบบ การทดลอง การเก็บรวมรวมข้อมูล ฯลฯ ที่จำเป็นต้องใช้ในโครงการ (ระบุฉพาะที่สำคัญ ไม่จำเป็นต้องแจงรายละเอียด) ขอบเขตของโครงร่างฯที่พึงระบุ อาจเป็นขอบเขตเชิง พื้นที่ เชิงเวลา เชิงสมบัติเฉพาะ ของกลุ่มตัวอย่าง/ข้อมูลหรือ อื่น ๆ เพื่อให้ชัดเจนว่า สิ่งที่เสนอแนะจะทำในงานวิจัยนี้ครอบ คลุมแค่ไหน 21/25
ควรกำหนดแผนดำเนินการ โดยประมาณ อาจแสดงในรูปของตารางการทำงาน แสดงระยะเวลาของแต่ละกิจกรรมย่อยของโครงการ หรือในรูปของ flow chart ที่สำคัญคือ ต้องมีความชัดเจน ต้องสอดคล้องกับหัวข้อวิจัยและวัตถุประสงค์ เพราะเป็นส่วนที่คณะกรรมการที่พิจารณาจะใช้เป็นเครื่องตัดสินว่ามีปริมาณงานเหมาะสมหรือไม่ และวิธีการที่จะใช้มีความเป็นไปได้เพียงใด เพื่อการพิจารณาอนุมัติ 22/25
สถานที่ที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยและรวบรวมข้อมูลสถานที่ที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยและรวบรวมข้อมูล หมายถึงภาควิชา และคณะที่สาขาวิชาสังกัดอยู่ ในกรณีที่มีการดำเนินการนอกคณะหรือมหาวิทยาลัย เช่น ต้องมีการเก็บข้อมูลนอกสถานที่หรือดำเนินการทดลอง หรือปฏิบัติในห้องทดลองอื่น ๆ ก็ให้ระบุสถานที่เหล่านั้นด้วย ระยะเวลาดำเนินการวิจัย หมายถึง ระยะเวลาของทั้งโครงการ ประมาณการตั้งแต่ เริ่มปฏิบัติงานจนเขียนรายงานการค้นคว้าแบบอิสระแล้วเสร็จ ควรสอดคล้องกับแผนดำเนินการที่ระบุไว้ 23/25
เอกสารอ้างอิง ประกอบด้วยรายละเอียดของรายการเอกสารทุกรายการ ที่ได้มีการอ้างถึงในการเขียน proposal นี้ วิธีเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ควรเขียนตามรูปแบบที่นิยมใช้ในสาขาวิชานั้น ๆ และควรใช้เพียงรูปแบบเดียว 24/25
ขอขอบคุณที่สนใจ 25/25