290 likes | 373 Views
Presentation By. Research methodology. ว่าที่ร้อยตรีเกรียงไกร ศรีประเสริฐ รหัสนักศึกษา 542132028 สาขาการจัดการความรู้ วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. นาย เศรษฐ์ศิลา เปรมใจสัญชาติ 542132017. โครงร่างการค้นคว้าอิสระ. นาย เศรษฐ์ศิลา เปรมใจสัญชาติ 542132017.
E N D
Presentation By Research methodology ว่าที่ร้อยตรีเกรียงไกร ศรีประเสริฐ รหัสนักศึกษา 542132028 สาขาการจัดการความรู้วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นาย เศรษฐ์ศิลา เปรมใจสัญชาติ542132017
โครงร่างการค้นคว้าอิสระโครงร่างการค้นคว้าอิสระ นาย เศรษฐ์ศิลา เปรมใจสัญชาติ542132017
หลักการและเหตุผล การบริหารจัดการองค์กรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้บริหารองค์กรจำเป็นต้องได้รับข้อมูลที่ดีเป็นปัจจุบันเพื่อประกอบการตัดสินใจ เพื่อลดความเสี่ยงในการตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างกว้างขวางและเป็นจำนวนมาก และระบบการทำงานส่วนใหญ่เชื่อม ต่อด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อวัตถุประสงค์ในการทำงานและการใช้ข้อมูลร่วมกัน การนำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS) มาปรับใช้จริงในองค์กร จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสอดคล้องกับระบบการดำเนินงานขององค์กร โดยคำนึงถึงความแตกต่างในการใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือสำคัญ ในการสร้างบรรยากาศในการทำงานร่วมกันให้ที่ดีขึ้น ลดขั้นตอนการทำงาน ลดการทำงานซ้ำซ้อน และลดความผิดพลาดการจากการทำงานของคน การนำคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพของงาน ทำให้สามารถลดต้นทุนในการปฏิบัติงาน (Kenneth C. Laudon and Jane P.Laudon ,Management Information Systems)
ข้อเสนอแนะจาก สมศ. องค์ประกอบที่ ๕ การบริการวิชาการแก่สังคม จุดแข็ง วิทยาลัยฯ มีศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้ ที่มีบทบาทในการให้บริการวิชาการแก่สังคมในลักษณะที่มุ่งเน้นการแสวงหารายได้ ควบคู่ไปกับการให้บริการในลักษณะที่ไม่แสวงหาผลกำไร และมีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ด้านการจัดการความรู้ ซึ่งจะนำไปสู่การดำเนินงานอย่างยั่งยืน วิทยาลัยฯ มีผู้จัดการโครงการ และบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินโครงการ โดยปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลา และมีคณาจารย์ เป็นที่ปรึกษา เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการ วิธีเสริมให้แกร่ง การปรับปรุงกระบวนการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมให้มีความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในกระบวนการบริหาร และจัดการ จุดอ่อน เป็นหน่วยงานในกำกับที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ ยังไม่มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหา เมื่อเทียบกับองค์กรลักษณะเดียวกันที่จัดตั้งขึ้นมานาน ข้อจำกัดในด้านพื้นที่ของวิทยาลัยฯในการดำเนินกิจกรรม/โครงการ ข้อเสนอแนะ ควรมีการสร้างเครื่องข่ายเพื่อและเปลี่ยนเรียนรู้ ขององค์กรด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคมในมหาวิทยาลัยฯ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างความเข้มแข็งให้กับหน่วยงานด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคมในมหาวิทยาลัย ข้อมูลจากงานประกันคุณภาพการศึกษา ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2554
ข้อเสนอแนะจาก สมศ. วิธีเสริมให้แกร่ง การปรับปรุงกระบวนการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมให้มีความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในกระบวนการบริหาร และจัดการ ข้อมูลจากงานประกันคุณภาพการศึกษา ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2554
Diagram of problems ไม่บรรลุผลเป้าหมายของตัวชี้วัดของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในระดับดีมาก ขาดการบริหารจัดการองค์กรที่ดี ขาดระบบสารสนเทศที่เอื้ออำนวย ขาดบริหารงานที่ดี ขาดประสิทธิภาพของบุคลากร • ขาดระบบฐานข้อมูลงานการบริการวิชาการ • ฐานข้อมูลงานการบริการวิชาการ • ฐานข้อมูลงบประมาณการบริการวิชาการ • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง • ฐานข้อมูลความร่วมมือการพัฒนาการบริการวิชาการ • ขาดการประสานงานที่ดี • ขาดความเข้าใจและทักษะงานประกันคุณภาพ • กรอกข้อมูลไม่ครบถ้วน • ระยะเวลาการในการทำงานล่าช้า • ขาดการตระหนักความสำคัญ • การเกษียณหรือลาออกของบุคลากร • นโยบายที่ไม่ชัดเจน • ขาดงบประมาณสนับสนุน • กระบวนการงานที่ซ้ำซ้อน • ขาดการรวบรวมเป็นหมวดหมู่และสามารถนำข้อมูลของการบริการวิชาการ
Diagram of objectives บรรลุผลเป้าหมายของตัวชี้วัดของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การบริหารจัดการองค์กรที่ดี มีระบบสารสนเทศที่เอื้ออำนวย บริหารงานที่ดี เพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากร • นโยบายที่ชัดเจน • เพิ่มงบประมาณสนับสนุน • ลดกระบวนการงานที่ซ้ำซ้อน • รวบรวมเป็นหมวดหมู่และสามารถนำข้อมูลของการบริการวิชาการ • มีระบบฐานข้อมูลงานการบริการวิชาการ • ฐานข้อมูลงานการบริการวิชาการ • ฐานข้อมูลงบประมาณการบริการวิชาการ • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง • ฐานข้อมูลความร่วมมือการพัฒนาการบริการวิชาการ • มีการประสานงานที่ดีเพิ่มขึ้น • เพิ่มความเข้าใจและทักษะงานประกันคุณภาพ • กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน • ลดระยะเวลาการในการทำงาน • เพิ่มการตระหนักความสำคัญ • มีการจัดเก็บความรู้ จากบุคลากรที่จะมีการเกษียณหรือลาออกของบุคลากร
Clustering บรรลุผลเป้าหมายของตัวชี้วัดของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การบริหารจัดการองค์กรที่ดี มีระบบสารสนเทศที่เอื้ออำนวย บริหารงานที่ดี เพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากร ระบบสารสนเทศ • มีระบบฐานข้อมูลงานการบริการวิชาการ • ฐานข้อมูลงานการบริการวิชาการ • ฐานข้อมูลงบประมาณการบริการวิชาการ • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง • ฐานข้อมูลความร่วมมือการพัฒนาการบริการวิชาการ • มีการประสานงานที่ดีเพิ่มขึ้น • เพิ่มความเข้าใจและทักษะงานประกันคุณภาพ • กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน • ลดระยะเวลาการในการทำงาน • เพิ่มการตระหนักความสำคัญ • มีการจัดเก็บความรู้ จากบุคลากรที่จะมีการเกษียณหรือลาออกของบุคลากร • นโยบายที่ชัดเจน • เพิ่มงบประมาณสนับสนุน • กระบวนการงานที่ซ้ำซ้อน • รวบรวมเป็นหมวดหมู่และสามารถนำข้อมูลของการบริการวิชาการ การบริหารจัดการองค์กร การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล
Management Technology Knowledge DBMS
1.2 โจทย์วิจัย โจทย์หลัก มีระบบการจัดการความรู้สำหรับพัฒนาระบบฐานข้อมูลการบริการวิชาการของศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้ โจทย์รอง • มีระบบการจัดการความรู้และฐานข้อมูลของการบริการวิชาการ ที่ครบถ้วน ใช้งานได้ในเวลาที่ต้องการและมีข้อมูลทั้งหมดที่ต้องการ • การจัดการความรู้การบริการวิชาการของศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้เป็นอย่างไร
1.3 วัตถุประสงค์การวิจัย • เพื่อให้มีระบบการจัดการความรู้และฐานข้อมูลของการบริการวิชาการ ที่ครบถ้วน ใช้งานได้ในเวลาที่ต้องการและมีข้อมูลทั้งหมดที่ต้องการ • เพื่อศึกษาการจัดการความรู้การบริการวิชาการของศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้ • เพื่อศึกษากระบวนการบริการทางวิชาการให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมของศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้
1.4 สมมุติฐานการวิจัย ระบบการจัดการความรู้สำหรับพัฒนาระบบฐานข้อมูลการบริการวิชาการของศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้ ช่วยให้ระบบและกลไกการบริการทางวิชาการแก่สังคมและกระบวนการบริการทางวิชาการให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมขององค์กร อยู่ในระดับดีมาก
1.5 การทบทวนวรรณกรรม พบว่า ปัจจุบันนี้เทคโลยีระบบการจัดการฐานข้อมูลได้รับความสนใจมาก เพราะองค์กรหรือธุรกิจต่าง ๆ มักจะนำระบบการจัดการฐานข้อมูลไปช่วยในการดำเนินงานและจัดการทางด้านธุรกิจเพื่อการแข่งขันด้านธุรกิจกับบริษัทอื่น ๆ รวมทั้งใช้ในด้านการให้บริการลูกค้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการนำระบบจัดการฐานข้อมูลมาช่วยเก็บข้อมูลต่าง ๆ และผู้บริหารส่วนใหญ่มักนำข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ มาช่วยการทำงานด้านต่าง ๆ ในการสร้างข้อมูลสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพนั้น (ผศ.ปราลี มณีรัตน์,2552) ระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ผสมผสานเทคโนโลยีสารสนเทศ IT และการทำงานของบุคลากรทุกระดับในองค์กรเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานและการให้บริการที่รวดเร็ว ตลอดจนใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยตัดสินในดำเนินงานธุรกิจต่ง ๆ ระบบสารสนเทศจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับผู้บริหาร (ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุลและเจษฏาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย,2552) แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการฐานข้อมูล
1.5 การทบทวนวรรณกรรม ศุภกิตติ์ พินิจเวชการ (2547) ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารในด้านการตลาดบริษัทสหพานิชเชียงใหม่ เพื่อเป็นเครื่องมือที่ทำให้ผู้บริหารสามารถบริหารงานด้านการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ลดความยุ่งยากในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยระบบสามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลต่าง ๆ ณัฐสิทธิ์ บุญแปลง (2547) ได้ศึกษาเรื่องการพัฒนาระบบช่วยในการตัดสินใจทางด้านวิศวกรรมการผลิต บนเครือข่ายองค์กรของบริษัทอินโนเวกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด มาพัฒนาระบบช่วยในการตัดสินใจทางด้านวิศวกรรมการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ลดความผิดพลาด ความล่าช้าจากการทำงาน เนื่องจากเห็นว่ามีความเหมาะสมทั้งในด้านทรัพยากรทางสารสนเทศขั้นพื้นฐาน ความรู้ความเข้าใจของบุคลากร และลักษณะการจัดการข้อมูลการผลิตที่ต้องการความรวดเร็วในการแก้ปัญหา และการจัดการข้อมูล แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการฐานข้อมูล
1.5 การทบทวนวรรณกรรม การบริหารธุรกิจและการบริหารจัดการยุคใหม่จึงจำเป็นต้องสร้าง จัดหาข้อมูล และสามารถประยุกต์ใช้ผลการศึกษาข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์ที่ถูกต้องตามหลักการวิจัยมาช่วยสนับสนุนการดำเนินงานและการตัดสินใจของแต่หน่วยงาน เพื่อให้การบริหารไปอย่างรวดเร็วและแม่นยำ สามารถบรรลุเป้าหมายของค์กรได้ด้วยความภาคภูมิใจและพร้อมรับผิดชอบต่อสังคม (วุฒิชาติ สุนทรสมัย,2552) แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการฐานข้อมูล
1.5 การทบทวนวรรณกรรม แนวคิดเกี่ยวกับความรู้
1.5 การทบทวนวรรณกรรม ตามรูปแบบของเซกิ (SECI Model) (ของ Nonaka และ Takeuchi) ความรู้ทั้งแบบแฝงเร้นและแบบชัดแจ้งจะมีการแปรเปลี่ยนถ่ายทอดไปตามกลไกต่างๆ เช่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถอดความรู้ การผสานความรู้ และการซึมซับความรู้ แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความรู้
1.5 การทบทวนวรรณกรรม กระบวนการในการสร้างความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่องเผยแพร่ความรู้ทั่วทั้งองค์กรการนำไปเป็นส่วนประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์การบริหารเทคโนโลยีและระบบใหม่ ๆ(Takeuchi & Nanaka,2004) ความสำคัญกับการจัดการความรู้มากยิ่งขึ้น มีการนำความรู้ขององค์กรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สร้างคุณค่าในรูปแบบของสินค้า นวัตกรรม บริการหรือกระบวนการที่เกื้อหนุนให้ธุรกิจหรือองค์กรเกิดความได้เปรียบในการแข่งขันและธำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง (ภรากร จินดาวงศ์, 2549) แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความรู้
1.5 การทบทวนวรรณกรรม การจัดการความรู้: การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุดดร.ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์(2552) โดยสรุป การจัดการความรู้เป็นกระบวนการอย่างเป็นระบบในการแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้หรือนวัตกรรม และการจัดเก็บความรู้อย่างเหมาะสม เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานอันจะก่อให้เกิดการแบ่งปันและถ่ายโอนความรู้ เพื่อให้เกิดการแพร่กระจายและไหลเวียนความรู้ทั่วทั้งองค์กร เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพขององค์กร แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความรู้
1.5 การทบทวนวรรณกรรม ผลการทบทวนวรรณกรรมทที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อโครงร่างการวิจัย “ระบบการจัดการความรู้สำหรับพัฒนาระบบฐานข้อมูลการบริการวิชาการของศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้” ในครั้งนี้ แนวคิด ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง และการทบทวนวรรณกรรม • แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการฐานข้อมูล • แนวคิดเกี่ยวกับความรู้ • แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความรู้
1.6 ขอบเขตการวิจัย โดยสรุปแล้วการศึกษาครั้งนี้มีขอบเขตในการศึกษาต่อไปนี้ ขอบเขตด้านประชากร ได้แก่ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้และอาจารย์หรือบุคลากรที่ให้บริการการวิชาการแก่ชุมชนโดยงบประมาณของศูนย์นวัตกรรมฯ ขอบเขตด้านเนื้อหา ประกอบด้วย ระบบการจัดการความรู้และฐานข้อมูลของการบริการวิชาการ กลยุทธ์ในการจัดการความรู้การบริการวิชาการ กระบวนการบริการทางวิชาการ ขอบเขตด้านระยะเวลามีนาคม 2555– ตุลาคม 2555 สถานที่ศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้
1.6 ขอบเขตการวิจัย 1.6.1 การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การรวบรวมข้อมูลได้ดำเนินการมาตรฐาน ISO 12207 ที่นำมาปรับใช้ให้เหมาะสมจากเดิม 48 กิจกรรม ให้เหลือ 15 กิจกรรมที่สำคัญ และมีการวัดและประเมินผลตามหลักการของ Deming’s CyclePDCA ซึ่งได้ ได้แบ่งขั้นตอนที่สำคัญ 3 ขั้นตอนคือ • การสร้างระบบการจัดการความรู้ (Eng1-Eng4) • การกำหนดและจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ (Man1-Man3) • กิจกรรมสนับสนุนการจัดการความรู้ (Rin1-4,Reu1-3,Sup1)
1.6 ขอบเขตการวิจัย • 5 กระบวนการจาก 17 กระบวนการ • 15 กิจกรรมจาก 48 กิจกรรม ที่มา : คู่มือแนวทางในการพัฒนาระบบคุณภาพวิชาการค้นคว้าอิสระวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี อ.พุทธวรรณขันต้นธง.หลักการการวิจัยการจัดการความรู้.วิทยาลัยศิลปะสื่อและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.2554.
1.6 ขอบเขตการวิจัย 1.6.1 การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล • การศึกษาและเก็บความต้องการ (ENG1: Requirement Elicitation) • วิเคราะห์ความต้องการระบบงาน (ENG2: System Requirement Analysis) • วิเคราะห์ความต้องการซอร์แวร์ (ENG3: Software Requirement Analysis) • การออกแบบซอฟต์แวร์ (ENG4: Software Design) • การสื่อสารภายในองค์กร (MAN1: Organizational Alignment) • การจัดองค์กร (MAN2: Organization Management) • การจัดการโครงการ (MAN3: Project Management) • การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (RIN1: Human Resource Management) • การฝึกอบรม (RIN2: Training) • การจัดการความรู้ (RIN3: Knowledge Management) • โครงสร้างพื้นฐาน (RIN4: Infrastructure) • การจัดการทรัพย์สิน (REU1: Asset Management) • การใช้โปรแกรมข้อมูลต่างๆ (REU2: Reuse Program Management) • ความรู้เฉพาะงาน (REU3: Domain Engineering) • ประกันคุณภาพ (SUP1 :Quality Assurance(QA)
1.7 ผลที่คาดว่าจะได้รับ • นำข้อมูลของการบริการวิชาการ ที่ครบถ้วน ใช้งานได้ในเวลาที่ต้องการและมีข้อมูลทั้งหมดที่ต้องการไปใช้เพื่อตัดสินใจการวางแผนอนาคต • นำผลการศึกษาจะเป็นแนวทางในการกำหนดยุทธ์ในการจัดการความรู้ให้กับองค์กรอื่น ๆ ต่อไป • เพื่อให้ได้แนวทางในการปรับปรุง หรือพัฒนากระบวนการบริการทางวิชาการให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมของศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้ให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น
มีระบบการจัดการความรู้สำหรับพัฒนาระบบฐานข้อมูลการบริการวิชาการของศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้มีระบบการจัดการความรู้สำหรับพัฒนาระบบฐานข้อมูลการบริการวิชาการของศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้ Management Technology Knowledge DBMS
ข้อมูลอ้างอิง • อ.พุทธวรรณขันต้นธง.หลักการการวิจัยการจัดการความรู้.วิทยาลัยศิลปะสื่อและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.2554. • ดร.ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์, "ทฤษฎีการจัดการความรู้", บริษัท ธนาเพรส จำกัด., กรุงเทพฯ, 2552. • Senge,P.M.1990.The Fifth Discipline : The Art and Practice of Learning Organizations. New York : Doubleday Currency. • Swan,J.,Robertson,M. & Newell,S.2002 Knowledge Management Systecms Theory and Practice.Oxford : the Alden Press PP.179-194 • Takeuchi,H.&Nonaka,I.2004.Hitotsubashi on Knowledge Management,ClementiLoop,Singapore : John wiley & Sons(Asia) • Wick, C.& Leon, S.1993 . The Learning Age.New York : McGraw- Hill • Wiig, K.1993 .Knowledge Management Foundations : Thinking About Thinking – How people and Organizations Represent , Create and Use Knowledge. Arlington,TX : Schema Press. • ผศ.ปราลี มณีรัตน์,การจัดการฐานข้อมูลธุรกิจ,โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม,2552(7152) • ลาภ วานิชอังกูร, Database/Query/T-SQL/Stored Procedure,ซีเอ็ดยูเคชั่น,2552 • Kenneth C.Laudon and Jane P.Laudon, ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ,เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินไดไชน่า,2546(1319) • สมรัก อินทุจันทร์ยง, ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2549(6157) • ลาภ วานิชอังกูร, Database/Query/T-SQL/Stored Procedure,ซีเอ็ดยูเคชั่น,2552 (8419) • เจษฏา นกน้อยและคณะ,นานาทรรศนะ การจัดการความรู้และการสร้างองค์กร แห่งการเรียนรู้,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2553(8489)
ข้อมูลอ้างอิง • รายงานประจำปี 2554 ของศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้ • ผลการดำเนินงาน 2553ของงานประกันคุณภาพวิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ • มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2551 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา • มาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษารอบสาม พ.ศ. 2553 สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.)
KM CAMT.CMU Thank You.