520 likes | 1.1k Views
บทที่ 4 การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auction). 4.1 ความหมายของการประมูล. การประมูล (Auction) หมายถึง การเสนอซื้อ เสนอขาย สินค้า หรือบริการระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย เข้ามาแข่งขันกันเสนอราคาในช่วงเวลาที่กำหนด
E N D
บทที่ 4 การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auction)
4.1 ความหมายของการประมูล • การประมูล (Auction) หมายถึง การเสนอซื้อ เสนอขาย สินค้า หรือบริการระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย เข้ามาแข่งขันกันเสนอราคาในช่วงเวลาที่กำหนด • การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auction)หมายถึง การเสนอซื้อ เสนอขาย สินค้าหรือบริการ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาแข่งขันกันเสนอราคาในช่วงเวลาที่กำหนด
4.2 รูปแบบการประมูล • การประมูลแบบดั้งเดิม (Traditional Auction) หรือเรียกว่า Offline ในส่วนของภาคเอกชนจะเป็นรูปแบบที่ผู้ซื้อ และผู้ขายจะต้องมาพบกันเพื่อเสนอราคา และสินค้าแข่งขันกันจนกระทั่งได้ผู้ชนะการประมูลไป สำหรับภาครัฐ จะกระทำในลักษณะของการยื่นซองประกวดราคา โดยผู้ขายสามารถที่จะยื่นซองเสนอราคาได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น (Static Pricing)
กระบวนการประมูลแบบดั้งเดิมกระบวนการประมูลแบบดั้งเดิม กำหนดสินค้า ที่ต้องการซื้อ/ขาย ร่าง RFQ/ Quotation คัดเลือกผู้ซื้อ ผู้ขายที่มี ศักยภาพ เจรจาต่อรอง จัดส่งสินค้าและ ชำระเงิน ตัดสินผู้ชนะ
4.2 รูปแบบการประมูล • ข้อจำกัดของการประมูลแบบดั้งเดิม 1. ต้องเดินทางมาร่วมการประมูล 2. ผู้ซื้อไม่มีโอกาสได้พบกับผู้ขายรายใหม่ 3. ผู้ขายรายอื่นๆไม่สามารถทราบข้อมูลการแข่งขันได้ ทำให้เกิดปัญหาความไม่โปร่งใส 4. เสียค่าใช้จ่ายสูงในการจ่ายค่านายหน้า ค่าเช่าสถานที่ ค่าโฆษณา ค่าจ้างพนักงาน
4.2 รูปแบบการประมูล • การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions) หรือเรียกว่า Online การดำเนินการต้องผ่านตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace) ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่จัดการประมูล เป็นตัวกลางระหว่างผู้ขาย และผู้ซื้อตลอดจนจัดหาผู้ขายเพิ่มเติม
กระบวนการประมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์กระบวนการประมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ ร่าง RFQ/ Quotation กำหนดสินค้า ที่ต้องการซื้อ/ขาย ตัดสินผู้ชนะ จัดส่งสินค้าและ ชำระเงิน คัดเลือกผู้ซื้อ/ผู้ขายที่มีศักยภาพ โดยการประมูลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
4.2 รูปแบบการประมูล • ข้อดีของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ 1. ไม่ต้องเดินทางมาพบกัน 2. เสนอราคาได้หลายครั้ง (Dynamic Pricing) 3. มีความโปร่งใส คือ สามารถทราบข้อมูลการแข่งขันได้ 4. มีความยืดหยุ่น มีการประมูลหลายรูปแบบ 5. ลดต้นทุนในการจัดทำเอกสารต่างๆ 6. เปิดโอกาสให้ผู้ค้ารายใหม่ได้เข้าร่วมประมูล
4.3 ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ • ตัวอย่างที่ 1 เมื่อเดือนมีนาคม นาย ก เข้าร่วมประมูลเพื่อซื้อสินค้าจากบริษัทผู้เปิดประมูล คือบริษัท AA แสดงว่า นาย ก มีสถานะเป็นผู้ซื้อ ส่วนบริษัท AA มีสถานะเป็นผู้ขาย และได้เปิดประมูลเพื่อขายสินค้า อีก 3 เดือน ถัดมา นาย ก ต้องการขายสินค้าโบราณ จึงได้ทำการเปิดประมูล เพื่อขายสินค้า โดยหนึ่งในจำนวนผู้ที่มาร่วมประมูลก็คือตัวแทนจากบริษัท AA ซึ่งในครั้งนี้มีสถานะเป็นผู้ซื้อ
4.3 ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ • ตัวอย่างที่ 2 กระทรวงศึกษาธิการต้องการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 250,000 ชุด เพื่อแจกจ่ายให้กับโรงเรียนในต่างจังหวัด จึงได้ทำการเปิดประมูล เพื่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ จากผู้ขายที่สนใจเข้าร่วมประมูล จะเห็นว่าตัวอย่างนี้ ผู้ซื้อคือ กระทรวงศึกษาธิการ
4.3 ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ 1. การประมูลขาย (Forward Auction) เป็นการประมูลที่เริ่มขึ้นตามความประสงค์ของผู้ที่ต้องการขายสินค้า โดยผู้ขายกำหนดความต้องการให้ผู้ซื้อเข้ามาเสนอราคาแข่งขันกัน ผู้ซื้อที่เสนอราคาสูงสุดจะเป็นผู้ชนะการประมูล และได้รับสินค้าไป
4.3 ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ 2. การประมูลซื้อ (Reverse Auction) เป็นการประมูลที่เริ่มขึ้นตามความประสงค์ของผู้ที่ต้องการซื้อสินค้า โดยผู้ซื้อจะกำหนดความต้องการซื้อสินค้าให้ผู้ขายเข้ามาเสนอราคาแข่งขันกัน ผู้ขายที่สามารถเสนอราคาได้ต่ำที่สุดจะเป็นผู้ชนะการประมูล ผู้ซื้อจะต้องซื้อสินค้าจากผู้ขายที่ชนะการประมูลในครั้งนั้น
4.3 ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ • One Knock Auction เป็นการประมูลที่ผู้ขายต้องการขายสินค้าแบบเร่งด่วน กล่าวคือ เมื่อผู้ขายเปิดประมูลเพื่อขายสินค้า หากผู้ซื้อที่เข้าร่วมประมูลรายใดรายหนึ่งเสนอราคา การประมูลจะสิ้นสุดลงทันที และผู้ซื้อรายนั้นจะได้สินค้าไปในราคาที่ตนเสนอ การประมูลชนิดนี้จะปิดประมูลก่อนเวลากำหนดทันทีที่มีผู้เสนอราคา
4.3 ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ • English Auction เป็นการประมูลขายชนิดหนึ่ง โดยที่ผู้ซื้อ (Bidders) จะเริ่มต้นเสนอราคาซื้อที่ค่อนข้างต่ำก่อน จากนั้นจะมีผู้ซื้อคนอื่นๆเสนอราคาเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆจนกว่าจะไม่มีผู้ซื้อรายใดเสนอราคาซื้อเพิ่มสูงขึ้นได้อีก หรือจนกว่าเวลาในการประมูลจะหมดลง ผู้ซื้อที่เสนอราคาคนสุดท้ายจะเป็นผู้ชนะการประมูล และจะประกาศชื่อผู้ชนะพร้อมทั้งราคาที่ชนะการประมูลในสินค้าชิ้นนั้น - First-Price Open-Cry Ascending Auction - Open Auction
4.3 ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ • Yankee Auction การประมูลแบบ English Auction สินค้าแต่ละชนิดที่นำมาเสนอขายจะมีเพียงชิ้นเดียว แต่สำหรับการประมูลแบบ Yankee สินค้าแต่ละชนิดที่นำมาเสนอขายจะมีหลายชิ้น ในตอนเริ่มต้นของการประมูลผู้ขายจะกำหนดราคาเริ่มต้นของสินค้าแต่ละชนิดต่อจำนวนชิ้นที่ต้องการเสนอขาย ผู้ซื้อที่เข้าร่วมประมูลจะเสนอราคาที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะไม่มีผู้ซื้อรายใดสามารถสู้ราคานั้นได้ ผู้ซื้อที่เสนอราคาสูงสุดจะเป็นผู้ชนะการประมูล และได้สินค้าชนิดนั้นไปในจำนวนชิ้นที่ผู้ขายประกาศ
4.3 ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ • Dutch Auction เป็นการประมูลที่เริ่มต้นด้วยผู้ขายเสนอราคาสินค้าที่สูงมาก จากนั้นจะลดราคาลงเรื่อยๆ จนถึงระดับที่มีผู้ซื้อสามารถจ่ายในราคาระดับนั้นได้ และผู้ซื้อที่ยอมรับราคาในระดับดังกล่าวก็จะเป็นผู้ชนะการประมูลและได้สินค้าชนิดนั้นไป - สินค้าที่นำมาประมูลจะมีหลายชนิด - ผู้ขายจะได้เปรียบผู้ซื้อ คือ ผู้ซื้อไม่อาจรอให้ราคาลดระดับลงไปมากกว่านี้ได้ เนื่องจากกลัวว่าสินค้าจะตกเป็นของผู้ซื้อรายอื่นไป - First-Price Open-Cry Descending Auction
4.3 ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ • Free-Fall Auction มีลักษณะการประมูลเหมือน Dutch Auction แต่ต่างกันที่ การประมูลชนิดนี้จะเสนอสินค้าเพียงชนิดเดียว ราคาประมูลสินค้าชนิดนั้น จะเริ่มด้วยราคาสูงมากเช่นกัน แต่จะลดลงเรื่อยๆตามช่วงเวลาที่กำหนดแน่นอน จนกว่าจะมีผู้ซื้อหยุดราคาประมูลเป็นคนแรก ผู้ซื้อรายนั้นก็จะชนะการประมูลและได้สินค้าชนิดนั้นไป
4.3 ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ • Sealed-Bid Auction เป็นการประมูลแบบปิด (Closed Auction) กล่าวคือ ผู้เข้าร่วมประมูลจะทำการเสนอราคาประมูลแบบยื่นซองประมูลพร้อมกัน โดยที่ไม่ทราบราคาเสนอของผู้ประมูลรายอื่นเลย แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1. First-Price Sealed Bid Auction 2. Second-Price Sealed Bid Auction
4.3 ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ • Sealed-Bid Auction 1. First-Price Sealed Bid Auction ผู้ที่จะชนะการประมูล คือ ผู้ที่ยื่นซองเสนอราคาสูงที่สุด และจะต้องจ่ายตามราคาที่ยื่น เช่น การประมูลใบอนุญาตประกอบการเหมืองแร่ (สัมปทาน)
4.3 ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ • Sealed-Bid Auction 2. Second-Price Sealed Bid Auction ผู้ที่จะชนะการประมูล คือ ผู้ที่ยื่นซองเสนอราคาสูงที่สุด แต่จะจ่ายจริงในราคาที่สูงเป็นอันดับสองรองลงมา - Vickrey Auction - วัตถุประสงค์ เพื่อช่วยป้องกันผู้ประมูลแบบ First-Price ด้วยราคาที่สูงเกินจริง แต่จำเป็นต้องเสนอไปในราคาที่สูงมาก เนื่องจากเกรงว่าผู้ประมูลรายอื่นจะได้สินค้าชนิดนั้นไปนั่นเอง
4.3 ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ • Doubled Auction เป็นวิธีการประมูลทั้ง 2 ฝ่าย คือ ทั้งผู้ซื้อ และผู้ขายต่างก็ยื่นเสนอราคา และสินค้าในจำนวนที่ตนเองต้องการให้กับผู้ดำเนินการประมูล จากนั้นผู้ดำเนินการประมูลจะทำการจับคู่ราคา และสินค้าที่เหมาะสมให้ โดยนำสินค้าที่ผู้ขายเสนอ (เริ่มจากต่ำสุด จากนั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ) มาจับคู่กับราคาที่ผู้ซื้อเสนอซื้อสำหรับสินค้าแต่ละชนิด (เริ่มจากราคาที่สูงสุด และลดลงไปเรื่อยๆ)
ผู้ขาย ผู้ดำเนิน การประมูล ผู้ซื้อ
4.4 ขั้นตอนการประมูล • ในการประมูล ผู้ซื้อ หรือผู้ขายถ้าเป็น นิติบุคคลของภาคเอกชนก็สามารถเข้าร่วมการประมูลกับเว็บไซต์ที่เป็นตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปที่ให้บริการประมูลซื้อ-ขายสินค้าได้ • แต่ถ้าเป็นนิติบุคคลที่จะร่วมการประมูลกับภาครัฐจะต้องยื่นความประสงค์หรือลงทะเบียนกับเว็บไซต์ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการคัดเลือก และประกาศให้เป็นตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐอย่างเป็นทางการเท่านั้น
4.4 ขั้นตอนการประมูล 1. การเตรียมตัวก่อนเข้าร่วมการประมูล เป็นการเตรียมพร้อม หรือการค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เงื่อนไขในการประมูล กฎเกณฑ์ กฎหมาย วิธีการเข้าร่วมประมูล ชนิดการประมูล เวลาในการประมูล ราคาสินค้าและบริการ เป็นต้น
4.4 ขั้นตอนการประมูล 2. ขั้นตอนในระหว่างการประมูล
4.4 ขั้นตอนการประมูล 3. ขั้นตอนหลังการประมูล • การจัดส่งสินค้า • รูปแบบการชำระเงิน • การส่ง E-Card เพื่อแสดงความขอบคุณ • จัดให้มีการโหวต ให้คะแนนการให้บริการ • การจัดส่งเอกสารต่างๆ เช่นใบส่งสินค้า ใบกำกับภาษี ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น
4.5 บริการเสริมของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ 1. กลไกการสืบค้นข้อมูล (Search Engine)
4.5 บริการเสริมของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ 2. การจัดหมวดหมู่สินค้า
4.5 บริการเสริมของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ 3. ประกาศข่าวการประมูล
4.5 บริการเสริมของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ 4. รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับการประมูลอิเล็กทรอนิกส์
4.5 บริการเสริมของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ 5. ตัวอย่างแสดงขั้นตอนสาธิตการประมูล (Demo)
4.5 บริการเสริมของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ 6. เครื่องมือปิดประกาศประมูลสินค้า (Auction Posting)
4.5 บริการเสริมของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ 7. อื่นๆ • เครื่องมือสนับสนุนการเขียนใบขอเสนอราคา (RFQ) • เครื่องมือรายงานสถานะการประมูล (Bid Watching) • อีเมล์ • เครื่องมือติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เข้าร่วมประมูล • เครื่องมือจัดทำเอกสารการซื้อขาย
4.6 ข้อดี-ข้อเสียของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ • ข้อดี
4.6 ข้อดี-ข้อเสียของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ • ข้อเสีย 1. เสี่ยงต่อการถูกหลอกลวง สำหรับสินค้าที่เป็นของหายาก เนื่องจากผู้ซื้อไม่สามารถเห็นชิ้นงานก่อนการประมูลได้ 2. การประมูลอิเล็กทรอนิกส์บางครั้งจำกัดกลุ่มผู้เข้าร่วมประมูล 3. เสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมข้อมูล โดยเฉพาะการประมูลแบบ C2C 4. มีปริมาณการขาย หรือซื้อต่ำ 5. ราคาที่ซื้อมาได้อาจสูงเกินไป
4.7 กลโกงต่างๆ • หน้าม้าเสนอราคาหลอก • นำเสนอรูปภาพสินค้าที่บิดเบือนความจริง • จูงใจผู้ประมูลด้วยเกรดสินค้า • ขายสินค้าปลอม • ราคาประมูลต่ำแต่ค่าขนส่งแพง • ผู้ขายไม่ส่งสินค้าให้ • ผู้ซื้อต้องการสินค้าฟรี
4.8 M-Auction (Mobile Auction) • เป็นการประมูลสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือ • ข้อดี 1. สะดวก 2. มีความเป็นส่วนตัวมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล 3. ใช้งานง่าย ทำงานเร็ว • ข้อเสีย 1. คุณภาพของการแสดงข้อมูล 2. ขนาดของหน่วยความจำมีน้อยกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ 3. มาตรฐานของระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลยังต่ำ