470 likes | 592 Views
Money Stock Fluctuation. ความสัมพันธ์ระหว่างเงินและผลผลิต. - ถ้าความผันผวนในปริมาณเงินลดลง ความผันผวนในผลผลิตจะลดลงด้วย ความสัมพันธ์ของเงินและผลผลิต 1. ปริมาณเงินและผลผลิตที่แท้จริงสัมพันธ์กันในทางบวก 2. การเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินทำให้ผลผลิตที่แท้จริงเปลี่ยนแปลง
E N D
ความสัมพันธ์ระหว่างเงินและผลผลิตความสัมพันธ์ระหว่างเงินและผลผลิต • - ถ้าความผันผวนในปริมาณเงินลดลง ความผันผวนในผลผลิตจะลดลงด้วย • ความสัมพันธ์ของเงินและผลผลิต • 1. ปริมาณเงินและผลผลิตที่แท้จริงสัมพันธ์กันในทางบวก • 2. การเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินทำให้ผลผลิตที่แท้จริงเปลี่ยนแปลง • 3. อัตราดอกเบี้ยช่วยในการหาความสัมพันธ์ของทั้งสองตัวแปร • 4. เงินและผลผลิตสัมพันธ์กันในรูป Deposit-currency ratio
A Model of Currency and Deposit ข้อสมมติ - ประชาชนเลือกถือเงินได้ 2 รูปแบบ 1. เงินฝากในธนาคาร ( Inside Money ) 2. เงินสดในมือตนเอง ( Fiat Money ) - ไม่มีReserve requirement
A Model of Inside and Outside Money ข้อสมมติ จะใช้ Overlapping Feneration Modelมาพิจารณา - จำนวนประชากรคงที่ ปริมาณเงินคงที่ - คนมี 2 period ในชั่วชีวิต คือ หนุ่มและแก่ - มีคน 3 ประเภท คือ แรงงาน นายทุน และนายธนาคาร ซึ่งเป็น Risk neutralทั้งหมด
A Model of Inside and Outside Money แรงงาน - ผลิตได้สินค้าที่เก็บไว้ไม่ได้ ลงทุนด้วยตัวเองไม่ได้ - ถือเงินเพื่อแลกกับสินค้าบริโภคในตอนแก่ - มีสินค้าเริ่มต้นและถือเงินในปริมาณที่ต่างกัน - คนงาน iต้องการถือเงิน Si หน่วยของสินค้าบริโภค - Identity cost ของแรงงานแต่ละคน =ø
A Model of Inside and Outside Money นายทุน - มีสินค้าเริ่มต้น รู้ความต้องการของแรงงาน และลงทุนเองได้ - สินค้าทุนให้ผลผลิต x ในperiod หน้า - สินค้าที่ได้จากการลงทุนเป็นทั้งที่ผลิตเองและสินค้าของคนอื่น - อัตราผลตอบแทนการลงทุนยิ่งมากจะยิ่งลงทุนเองมากขึ้น นายธนาคาร - ไม่สามารถผลิตสินค้าหรือลงทุนได้เอง - สามารถ locate นายทุนได้ และ identity cost = 0
A Model of Inside and Outside Money • - แรงงานจะถือ Fiat money ได้เพียงรูปแบบเดียว มี rate of return = 1 • นายทุนลงทุนได้ rate of return = x • - นายธนาคารสร้างกำไรได้จากการยืมเงินจากแรงงานปล่อยให้นายทุนกู้ • นายทุนจะหยุดกู้เมื่อ ดอกเบี้ยเงินกู้ = x • แรงงานจะได้ดอกเบี้ยเงินฝากสูงสุด = x • - การทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคาร Transaction cost = Ø
A Model of Inside and Outside Money • ถ้าธนาคารจ่ายดอกเบี้ยเงินฝาก = x แรงงานจะได้ผลตอบแทน • xSi - Ø • ผลตอบแทนเงินฝากโดยเฉลี่ย • ถ้าเป็นเงินสด Ø = 0 และ rate of return = 1
A Model of Inside and Outside Money • Htคือมูลค่าที่แท้จริงของ total inside money (เงินฝาก) ในช่วงเวลา t • Qtแทนด้วยมูลค่าที่แท้จริงของ total fiat money (เงินสด) ในช่วงเวลา t • อัตรา deposit-to-currency ratio – s* ในเศรษฐกิจ • ใช้เงินสด เมื่อ rate of return 1 • ใช้เงินฝาก เมื่อ rate of return > 1
Rates of Return x 1 0 Purchase Size (Si) S* Use checks Use currency
A Model of Inside and Outside Money พิจารณาระดับราคา ptหาจาก หรือ จาก (M1)t มาจากเงินสดและเงินฝากที่ไม่มี reserve จะได้ว่า (M1)t = Mt + ptHt
A Model of Inside and Outside Money เราสามารถเขียนใหม่ได้ว่า คือ money multiplier ขึ้นกับความพอใจของประชาชนในการเลือกถือเงินสดหรือเงินฝาก ถ้าเงินฝากเพิ่ม ทำให้ปริมาณเงินเพิ่มด้วย ดังนั้น อะไรก็ตามที่ทำให้ผลตอบแทนของเงินฝากและเงินสดเปลี่ยนก็จะส่งผลต่อ Ht/Qtด้วย
Linking Output and Money Multiplier พิจารณาตลาดเงิน ถ้าประสิทธิภาพการผลิตของทุนดีขึ้น ผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นจาก x เป็น x’ จะทำให้ rate of return ของเงินฝากเพิ่มขึ้น ทำให้ s* ลดลงเป็น s*’ คนจะฝากเงินเพิ่มขึ้นถือเงินสดลดลง Ht/Qtเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณเงินเพิ่มขึ้นด้วย และเมื่อคนถือเงินสดลดลง Qt ลดลง demand for currency ลดลง ทำให้ราคาเพิ่มขึ้น [pt = Mt/Qt ] ในทุกช่วงของชีวิต
Rates of Return X’ x 1 0 S*’ S* Purchase Size (Si)
Linking Output and Money Multiplier พิจารณาตลาดผลผลิต ถ้าประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้น ได้ผลผลิตมากขึ้น เมื่อทุนคงที่ ยิ่งผลตอบแทนการลงทุนสูง ( x มีค่ามาก) จะลงทุนมากขึ้นทั้งทางตรงจากนายทุน และทางอ้อมจากแรงงานผ่านเงินฝากธนาคาร ดังนั้นผลผลิตรวม ณ t+1 มาจากการลงทุนทั้งสองทาง ณ t
Linking Output and Money Multiplier GDPt+1 = Yt+1 + x’ Ht + x’ Kt Yt+1 = ผลรวมของรายได้ของคนงานและผู้ประกอบการหนุ่มที่เกิดในเวลา t+1 x’Ht = ผลผลิตที่เกิดขึ้นในเวลา t+1 จากทุนที่เกิดขึ้นในเวลา t x’Kt = ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากทุนที่เกิดจากการลงทุนทางตรง (M1)t มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับผลผลิตที่แท้จริง โดยผ่านการเปลี่ยนแปลงใน Money multiplier ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงใน Ht/Qt แต่ การเปลี่ยน (M1)tไม่ได้เป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในผลผลิตที่แท้จริง
A Once-and-for-All Change in the Fiat Money Stock คือ การเพิ่มจำนวนเงินเพียงครั้งเดียว แต่ส่งผลถึงปริมาณเงินใน periodอื่นๆ ด้วย Mt คงที่ - ด้านตลาดเงิน rate of return = 1 ไม่ทำให้ s* หรือ Ht/Qt เปลี่ยนแปลง money multiplier คงที่ - ด้านผลผลิต ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใน Ht ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงการลงทุน คือผลผลิตคงที่
A Once-and-for-All Change in the Fiat Money Stock ระดับราคาได้รับผลกระทบจาก Mt ที่เพิ่มขึ้น ณ period t=0 ถ้า Mtเพิ่มขึ้น 2 เท่า Ptเพิ่มขึ้น 2 เท่า (M1)t เพิ่มขึ้น 2 เท่าด้วย เมื่อ money multiplier คงที่ การเพิ่มขึ้นของ Mt ณ period t = 0 ส่งผลต่อระดับราคาและปริมาณเงินรวมให้สูงขึ้น แต่ไม่ทำให้ระดับผลผลิตเปลี่ยนแปลง เพราะ ผลผลิตจะถูกกระทบจาก การที่ x เปลี่ยนแปลงไปจาก Ht ที่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น x เป็นตัวแปรที่เข้ามาช่วยในการอธิบายความสัมพันธ์ของเงินและผลผลิต
A Monetary Stabilization Policy สมมติว่า ความสามารถในการผลิตสินค้าทุน x ลดลง ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดลง ซึ่งทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของเงินภายนอก ( Qt ) และการลดลงของเงินภายใน ( Ht ) ทำให้ Ht/Qt ลดลง ซึ่งทำให้ ( M1 )t ลดลง เป็นผลทำให้ผลผลิตลดลงตามไปด้วย จึงเกิดคำถามขึ้นว่า “ เราจะสามารถป้องกันการลดลงของผลผลิตในช่วงเวลาต่อไป โดยการพิมพ์ธนบัตรเพิ่มขึ้น ( ใช้นโยบายการเงิน ) ได้หรือไม่ ” จาก
A Monetary Stabilization Policy คำตอบ คือ “ ไม่ ” เพราะ (M1)tเชื่อมโยงกับผลผลิต ในกรณีที่ [1+Ht/Qt] เชื่อมโยงกับผลผลิต นโยบายการพิมพ์ธนบัตรเพิ่มขึ้น Mt เพิ่มขึ้น เพื่อให้หักล้างอย่างสมบูรณ์กับการที่ [1+Ht/Qt]ลดลง ทำให้ (M1)t ไม่เปลี่ยนแปลง แต่ไม่ได้ทำให้ผลผลิตคงที่ด้วย เพราะผลผลิตลดลงเนื่องจากการที่ [1+Ht/Qt] ลดลง
Another Look at Monetary Aggregates total money stockเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีของระดับราคา ซึ่งเราพบว่าเมื่อใดก็ตามที่มีการเพิ่มขึ้นของ money stock ไม่ว่าจะเกิดจากการเพิ่มขึ้นของฐานเงิน (Mt) หรือการเพิ่มขึ้นของตัวคูณ [1+Ht/Qt]จะทำให้ระดับราคาสูงขึ้น แต่ total money stockไม่ได้เป็นตัววัดที่ดีในการดูผลผลิตใน modelนี้ โดยที่เงินภายในและเงินภายนอกมีความสัมพันธ์อย่างซับซ้อนกับผลผลิต ขณะที่เงินภายในมีความเชื่อมโยงกับผลผลิต แต่เงินภายนอกไม่มีความเกี่ยวข้อง
Another Look at Monetary Aggregates ถ้ามองเฉพาะภายรวมของ total money stock โดยที่ไม่สนองค์ประกอบจะทำให้เข้าใจผิดได้ ความผิดพลาดนี้สามารถป้องกันได้ ถ้านักเศรษฐศาสตร์แบ่งแยกระหว่างการเปลี่ยนแปลงของเงินภายในและเงินภายนอกในการศึกษา เพราะผลผลิตจะสัมพันธ์กับเงินภายใน ( เงินฝากธนาคาร ) เท่านั้น
Anticipated Inflation and Output Revisited ถึงแม้ว่าการเพิ่มขึ้นในฐานเงินจะไม่เกี่ยวข้องกับผลผลิต แต่การเพิ่มขึ้นของฐานเงินจะมีผลต่อตัวคูณ ทุน และการผลิต สมมติว่า เกิดอัตราคาดการณ์ของ Fiat money creation โดยกำหนดให้ประชากรคงที่ เพิ่มจาก zเป็น z’ อัตราผลตอบแทนของ fiat moneyจะลดลง ตามรูปทำให้ s* ลดลงเป็น s*’ ทำให้คนฝากเงินเพิ่มขึ้น ถือเงินลดลง Ht/Qtเพิ่มขึ้น เมื่อ Htเพิ่มขึ้นทำให้การลงทุนเพิ่มขึ้น ผลผลิตก็เพิ่มขึ้นด้วย
Rates of Return x 1/z 1/z’ 0 S*’ S* Purchase Size (Si)
Anticipated Inflation and Output Revisited • คำถาม “ ภาวะเงินเฟ้อเป็นที่ต้องการในระบบเศรษฐกิจใช่หรือไม่ ? ” • คำตอบ คือ “ไม่ใช่” เพราะการที่ปริมาณเงินทั้งหมดเพิ่มขึ้นจากการเกิดเงินเฟ้อ ( ราคาสินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้น ) • (M1)t = Mt + pt Ht • จะกระทบต่อผลผลิตเพียงเล็กน้อยเพราะผลผลิตขึ้นกับปริมาณเงินภายในมากกว่า และการที่ภาวะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นทำให้ transaction costเพิ่มขึ้นด้วย
Paying Interest on Money ข้อสมมติ ใช้ Overlapping Generation Model ในการพิจารณา - คนมี 2 periods ในชีวิต - สินค้าทุนให้อัตราผลตอบแทนเพียง 1 ช่วงอายุ โดยมีอัตราผลตอบแทนเท่ากับ x ( x > 1 ) สินค้าทุนไม่สามารถแบ่งออกเป็นส่วนๆได้ - สถาบันการเงินเอกชนเป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์ โดยให้อัตราผลตอบแทน เท่ากับ x แก่เงินฝาก - จำนวนประชากรคงที่ endowment ของคนหนุ่ม = y คนแก่ = 0 - ธนาคารกลางทำ OMOในตอนต้น ขาย Stock of Money ปริมาณ เท่ากับ M นำไปใช้ในการลงทุนเท่ากับ Kg
Paying Interest on Money Periodที่ 1 ธนาคารกลางขายพันธบัตร และนำเงินลงทุนสินค้าทุนจำนวนเท่ากัน v1M = Kg และจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ที่ถือพันธบัตรจำนวน ดอลลาร์ เท่ากับอัตราผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนในสินค้าทุน อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงของพันธบัตร
Paying Interest on Money จากอุปสงค์และอุปทานของพันธบัตรจะได้ vtM = N ( y – c1,t - ht ) ตามกฎ Stationary Equilibrium ดังนั้น อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงคือ
Paying Interest on Money อัตราดอกเบี้ยที่ทางธนาคารกลางจะจ่ายแก่ผู้ถือพันธบัตร ต้องมากกว่าหรือเท่ากับที่ทางสถาบันการเงินเสนอ จะได้ 1 + ≥ xหรือ ≥ x– 1 ผลตอบแทนสุทธิที่ธนาคารกลางได้จากการลงทุน xKg - Kg = ( x - 1 ) Kg เส้นงบประมาณของธนาคารกลาง ( x - 1 ) Kg = Mv Kg = vM
Another Look at the Quantity Theory พิจารณาผลกระทบของการขายพันธบัตรต่อระดับราคา จาก v = Kg / M p = 1 / v = M / Kg เมื่อเพิ่มปริมาณพันธบัตร (M) ขึ้น 2 เท่า และนำเงินไปลงทุนในสินค้าทุน ทำให้ปริมาณสินค้าทุน (Kg) ก็เพิ่ม 2 เท่าด้วย ทำให้มูลค่าของเงินและระดับราคาคงที่
Another Look at the Quantity Theory แต่ละคนจะต้องตัดสินใจเลือกว่าจะถือเงินที่ธนาคารกลางเป็นผู้ออก หรือจะฝากเงินกับธนาคารของเอกชนBudget Constraints ในช่วงเวลาแรกของชีวิตดังต่อไปนี้ c1 + vm + h = y การบริโภคในช่วงเวลาที่สองของชีวิตนั้นจะได้เงินมาจากเงินที่ถือไว้ และผลตอบแทนจากการถือพันธบัตรที่ธนาคารกลางเป็นผู้ออกและธนาคารเอกชนเป็นผู้ออกในรูปของเงินฝาก Budget Constraints ในช่วงเวลาที่สองของชีวิต ได้แก่ c2 = ( 1 + ) vm + xh
Another Look at the Quantity Theory เนื่องจากเงินทั้ง 2 ชนิดให้ผลตอบแทนในอัตราเดียวกัน ( 1 + = x ) จะได้ c2 = xvm + xh = x (vm + h) ผลรวมของ vm + h แสดงถึงยอดการถือเงินที่แท้จริงของแต่ละคนในสังคม เนื่องจากเงินทั้ง 2 ชนิดให้ผลตอบแทนในอัตราเดียวกัน ทำให้คนในสังคมจะไม่เกิดความแตกต่างไม่ว่าจะถือเงินชนิดใดLifetime Budget Constraints ของแต่ละคนในสังคม
Another Look at the Quantity Theory คนแต่ละคนจะเลือก c1* และ c2* ที่ทำให้เกิดความพอใจสูงสุดบน Lifetime Budget Constraints ไม่ได้ขึ้นอยู่กับยอดโดยเปรียบเทียบของการถือเงินของธนาคารกลาง และการฝากเงินกับธนาคารเอกชน (vm และ h) หากยิ่งถือเงินที่ธนาคารกลางเป็นผู้ออกมากเท่าไร เขาจะต้องถือเงินที่ธนาคารเอกชนน้อยลงเท่านั้น กรณีนี้ การทำ Open Market Operation ของธนาคารกลางไม่มีผลต่อสวัสดิการที่คนในสังคมได้รับ รวมทั้งไม่มีผลต่อขนาดของทุนที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจด้วย
Another Look at the Quantity Theory อุปทานและอุปสงค์ของเงินที่ธนาคารกลางเป็นผู้ออก vM = N ( y – c1* - h ) Nh + Kg = N ( y – c1* ) ถ้าปริมาณที่แท้จริงของเงินที่ธนาคารกลางเป็นผู้ออกเพิ่มขึ้นขณะที่การบริโภคของคนในสังคมยังคงเดิม ปริมาณเงินที่ออกโดยธนาคารเอกชนจะต้องลดลงในปริมาณที่เท่ากับปริมาณเงินของธนาคารกลางที่เพิ่มขึ้น ทำให้การเปลี่ยนจากการถือเงินที่ออกโดยธนาคารเอกชนมาถือเงินที่ออกโดยธนาคารกลางแทนจะไม่ทำให้ทุนที่มีอยู่โดยรวมเปลี่ยนแปลง
Another Look at the Quantity Theory ธนาคารกลางจะไม่สามารถเพิ่มปริมาณเงินที่ออกมาได้เกิน N( y – c1* ) การที่ธนาคารกลางเพิ่มปริมาณเงินจะไม่ส่งผลต่อมูลค่าของเงินและไม่ทำให้ระดับราคาเพิ่มขึ้น เพียงแต่ทำให้ปริมาณเงินที่ออกโดยธนาคารเอกชนลดลง จากสมการของอุปสงค์และอุปทานของเงินนั้น M + pNh = pN ( y – c1* ) เมื่อ M เพิ่มขึ้น และ N ( y – c1* ) ปริมาณเงินฝากจะปรับตัวลดลง โดยระดับราคาคงที่ ดังนั้นสรุปได้ว่าทฤษฎีปริมาณเงินใช้ไม่ได้กับ Fully Backed Money
Another Look at the Quantity Theory ผลกระทบต่อระดับราคาเมื่อธนาคารกลางเพิ่มปริมาณเงินในกรณี Fully Backed Money แตกต่างจากกรณี Fiat Money เมื่อปริมาณเงินที่ธนาคารกลางเป็นผู้ออกเพิ่มขึ้น จะนำเงินนั้นไปซื้อสินค้าเพื่อสร้างความพอใจให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาล แทนที่จะนำเงินที่ออกนั้นไปลงทุน
Another Look at the Quantity Theory จาก เมื่อปริมาณเงิน ( M ) เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า แต่ทุน ( Kg) ไม่เพิ่มขึ้น ทำให้ธนาคารกลางต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เนื่องจากมีเงินที่ไว้จ่ายผลตอบแทนเท่าเดิม ในกรณีนี้มูลค่าของเงินที่ธนาคารกลางออกไปทั้งหมดจะต้องลดลง 50 % ( ระดับราคาสูงขึ้นเป็น 2 เท่า )
Deflation Deflation คือ การลดปริมาณเงินของธนาคารกลางโดยการนำผลตอบแทนจากสินค้าทุนไปซื้อและทำลายเงินในมือประชาชน แทนที่จะจ่ายเป็นผลตอบแทนแก่ผู้ถือเงิน
Deflation Mt = zMt-1 ปริมาณเงินลดลงจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป โดยที่ z < 1 มูลค่าของเงินที่ลดลงในแต่ละช่วงเวลา คือ เราพบว่าผลตอบแทนสุทธิของสินค้าทุนเมื่อเวลาผ่านไป 1 ช่วงคือ (x - 1) Kg
Deflation การซื้อคืนเงินของธนาคารกลางจะได้ Budget Constraint ของธนาคารกลาง คือ แต่ vtMt = Kg จะได้ Budget Constraint ของธนาคารกลางดังนี้ ดังนั้น อัตราการลดลงปริมาณเงิน
Deflation จากอุปสงค์และอุปทานของ fiat money ภายใต้ Stationary Equilibrium vtMt = N ( y - c1 - h ) จะได้ว่า
Deflation เมื่อธนาคารลดปริมาณเงินในอัตรา z = 1 / x ผลตอบแทนของ Fiat money จะเท่ากับผลตอบแทนของสินค้าทุน ซึ่งเป็นอัตราผลตอบแทนเดียวกันกับที่ธนาคารเอกชนจ่ายให้ ดังนั้นการลดปริมาณเงิน โดยไม่มีการจ่ายผลตอบแทนแก่ผู้ถือเงินของธนาคารกลาง จะทำให้ผู้ที่ถือเงินของธนาคารกลางได้ผลตอบแทนอัตราเดียวกับสินค้าทุนและเป็นอัตราเดียวกับที่ธนาคารเอกชนจ่าย
Currency Boards การใช้ Backed money หรือการออกขายพันธบัตรผ่าน Open Market Operation ของธนาคารกลางสามารถป้องกันการเก็งกำไรของค่าเงินในตลาดสกุลเงินระหว่างประเทศได้ โดยการรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน และธนาคารกลางมีทรัพยากรที่เพียงพอในการซื้อคืน Backed Money ทั้งหมดที่ได้พิมพ์ออกไป ธนาคารกลางมีปริมาณพันธบัตรที่เป็นตัวเงินจำนวน M* มีมูลค่าหน่วยละ v* และนำไปลงทุนในสินค้าทุนจำนวน Kg* ซึ่งจะได้ Budget Constraint ของธนาคารกลางดังนี้ v*M* = Kg*
Currency Boards ถ้าซื้อคืนพันธบัตร ให้พันธบัตรลดลงครึ่งหนึ่ง จาก M* เป็น M*/2 ธนาคารกลางก็จะขายสินค้าทุนที่ได้ลงทุนไว้ออกไปครึ่งหนึ่งด้วย จาก Kg* เป็น Kg* /2 เพื่อนำเงินจากการขายสินค้าทุนมาชดเชยปริมาณพันธบัตรที่ออกขายได้ลดลง โดยไม่ทำให้มูลค่าของพันธบัตรลดลง นั่นคือ v* มีค่าคงที่ สามารถแสดงด้วยสมการดังนี้
Currency Boards ประเทศอาร์เจนตินาได้ทำ Currency Board โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนของเงินเปโซ เท่ากับ e* โดยมีปริมาณเงินในระบบเท่ากับ M เปโซ เพื่อใช้ในการซื้อพันธบัตรจำนวน $A ซึ่งมีค่าเท่ากับ e*M แสดงด้วยสมการดังนี้ e*M = A โดย e* แทนด้วย v และ A แทนด้วย Kg* ถ้าผู้ถือเงินของอาร์เจนตินาต้องการแลกเปลี่ยนเงินเป็นจำนวนหนึ่งในสามของเงินทั้งหมด นั่นคือ e*M / 3 ดอลลาร์ ทาง Currency Board ก็สามารถขายหนึ่งในสามของพันธบัตรที่ถือครองอยู่ออกมาได้ โดยไม่ทำให้ค่าเงินเปโซลดค่าลงเป็นการรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนให้คงอยู่ ณ ระดับเดิมได้
Currency Boards การทำ Currency Board เป็นการให้ผลประโยชน์แก่รัฐบาลประเทศอื่นมากขึ้น ถ้าประเทศที่ทำ Currency Board แสดงให้ประเทศอื่นเห็นว่ารายได้ของประเทศหรือกำไรมาจากการทำ Currency Board มาก จะทำให้เกิดการเก็งกำไรขึ้นมา เพื่อป้องกันการเก็งกำไรค่าเงิน รัฐบาลต้องแสดงว่ารายได้จากการทำ Currency Board ไม่ได้มีความสำคัญต่อประเทศของตน