200 likes | 599 Views
งานวิจัยในชั้นเรียน. ของงานแนะแนว ระดับประถมศึกษา. ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2546. จุดประสงค์.
E N D
งานวิจัยในชั้นเรียน ของงานแนะแนว ระดับประถมศึกษา
ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2546
จุดประสงค์ 1.เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2.เพื่อทดลองใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน 3.เพื่อศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน
สมมุติฐาน นักเรียนที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ มีคะแนนความคิดสร้างสรรค์เพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
ขอบเขตการวิจัย กลุ่มเป้าหมายนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2546 จำนวน 265 คน ซึ่งทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ได้นักเรียนกลุ่มตัวอย่าง 44 คน
ตัวแปรอิสระ ชุดกิจกรรมแนะแนวตัวแปรอิสระ ชุดกิจกรรมแนะแนว ตัวแปรตาม ความคิดสร้างสรรค์
นิยามศัพท์เฉพาะ ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถของนักเรียนในการคิดได้จำนวนมาก หลายทิศทาง มีความแปลกใหม่ มีคุณค่า โดยนักเรียนสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือปัญหาในด้านปริมาณ ความแปลกใหม่ ความหลากหลาย ไม่ซ้ำ ไม่จำเจ และมีรายละเอียด ความคิดสร้างสรรค์ที่ศึกษาประกอบด้วยความคิด 2 ลักษณะ คือ
1.1.ความคิดริเริ่ม หมายถึง ความสามารถของนักเรียนในการคิดตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือต่อปัญหาได้แปลกใหม่ แตกต่างจากคนอื่น และมีคุณค่า • 1.2.ความคิดละเอียดละออ หมายถึง ความสามารถของนักเรียนในการคิดตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือต่อปัญหาในการตกแต่งให้รายละเอียดเพื่อให้เกิดเป็นภาพหรือความคิดที่ชัดเจนสมบูรณ์
ชุดกิจกรรมแนะแนว หมายถึง ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วยกิจกรรม 7 กิจกรรม ซึ่งมีทั้งกิจกรรมรายบุคคลและรายกลุ่ม เนื้อหาที่ใช้ในกิจกรรมเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่
วิธีดำเนินงานวิจัย ขั้นเตรียม - ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง • ขั้นสร้าง - สร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความคิด • สร้างสรรค์ • - สร้างแบบทดสอบความคิดสรรค์ โดย • ปรับปรุงจาก แบบทดสอบความคิดสร้าง • สรรค์ โดยอาศัยรูปภาพแบบ ก (Torrance • Test of Creative Thinking Figural Form • A)ของทอแรนซ์ ซึ่งได้แปลและปรับปรุงโดย • ดร.อารี รังสินันท์
ขั้นทดลอง 1. ทำการทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนก่อนการทดลอง โดยใช้แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ที่สร้างขึ้น 2. ดำเนินการทดลองใช้ชุดกิจกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง 1 ภาคเรียน โดยใช้เวลาในชั่วโมงกิจกรรมแนะแนว สัปดาห์ละ 1 ครั้ง 3. ทำการทดสอบหลังการทดลอง โดยใช้แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ชุดเดียวกับข้อที่ 1
การวิเคราะห์ข้อมูล • สถิติร้อยละ • ค่าเฉลี่ย • ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย นักเรียนมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์หลังจากการทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
แผนภูมิเปรียบเทียบคะแนนความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมแผนภูมิเปรียบเทียบคะแนนความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม
แผนภูมิเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมแผนภูมิเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม
แผนภูมิเปรียบเทียบร้อยละของคะแนนเฉลี่ยก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมแผนภูมิเปรียบเทียบร้อยละของคะแนนเฉลี่ยก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม
ซึ่งแสดงว่า ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนได้