100 likes | 1.04k Views
งานวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง พัฒนาการสอนแบบสาธิตร่วมกับการลงมือปฏิบัติ เรื่อง การ ตะไบผิวเรียบเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน อาจารย์ ว่าที่ ร.ต. ศุภกร พรพนารัตน์ 082-449-4959 , 083-493-7555 , Supakorn2510@hotmail.com วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม(สยาม เทค ). ความ เป็นมาและความสำคัญของปัญหา
E N D
งานวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง พัฒนาการสอนแบบสาธิตร่วมกับการลงมือปฏิบัติเรื่อง การตะไบผิวเรียบเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อาจารย์ ว่าที่ ร.ต. ศุภกร พรพนารัตน์ 082-449-4959 , 083-493-7555 ,Supakorn2510@hotmail.com วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม(สยามเทค)
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (บทนำ) การจัดการอาชีวศึกษาตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 9(พ.ศ.2545-2559) ระบุส่วนใหญ่การจัดการศึกษายังไม่สามารถจัดการศึกษาและ อบรมความรู้และทักษะหลายด้านให้แก่ผู้เรียนจากผลวิจัยประนอม เนติพุทถาวรกูล พบว่า การสอนแบบสาธิตร่วมกับการลงมือปฏิบัติหลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน (ปัญหาที่เกิดกับผู้เรียนในวิชาที่จะทำวิจัย) จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ เมื่อนักศึกษาตะไบแล้วผิวไม่เรียบ ส่วนมากผิวจะโก่งหรือโค้ง ถ้านักศึกษาไม่เข้าใจจากการทำงานก็จะแก้ไขผิดวิธี ทำให้ชิ้นงานมีขนาดเล็กกว่าที่ กำหนดและผิวไม่เรียบ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อศึกษาพฤติกรรมวิธีการตะไบผิวเรียบของนักศึกษา 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังสาธิต ขอบเขตของการวิจัย 1.3.1 ขอบเขตด้านเนื้อหาทำการวิจัยในเนื้อหาเรื่อง พัฒนาการสอน แบบสาธิตร่วมมือกับการลงมือปฏิบัติเรื่องการตะไบผิวเรียบ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน วิชา งานฝึกฝีมือ ตามหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ.2545 ปรับปรุง พ.ศ.2546 1.3.2 ประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาระดับ ปวช. ชั้นปีที่1 แผนกวิชา ช่างยนต์ ของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม(สยามเทค) ที่ลงทะเบียนเรียน วิชา ฝึกฝีมือ ในภาคเรียนที่ 1 จำนวน 40 คน
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย 1.นักศึกษาปฏิบัติงานตะไบได้ถูกต้อง 2.นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางกาเรียนดีขึ้น
ผลของการวิจัย ผลการวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยของคะแนนก่อนสาธิตและคะแนนหลังสาธิต สรุปได้ว่า คะแนนเฉลี่ยจากหลังการสาธิตสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการสาธิตจริง เชื่อถือได้ 99% สรุปว่าผู้เรียนที่เรียนด้วยการสอนแบบสาธิตกับการลงมือปฏิบัติมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นจริง
สรุปผลและข้อเสนอแนะ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมวิธีการตะไบผิวเรียบของนักศึกษาได้ถูกต้อง 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการสาธิตการตะไบผิวเรียบ สรุปผลการวิจัย จากการสอนแบบสาธิตร่วมกับการลงมือปฏิบัติเรื่องการตะไบผิวเรียบ โดยทดลองกับนักศึกษา ปวช.1 สาขา ยานยนต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) จำนวน 40 คน ผลการวิจัยซึ่งได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏ ดังนี้
1.พฤติกรรมวิธีการตะไบผิวเรียบของนักศึกษาได้ถูกต้อง ร้อยละ 97.50 2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการสอนแบบสาธิตร่วมกับการลงมือปฏิบัติ ทำให้คะแนนเฉลี่ยหลังสาธิตมีค่าสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนสาธิต อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 อภิปรายผล จากผลที่ผู้วิจัยนำการสอนแบบสาธิตร่วมกับการลงมือปฏิบัติ ไปทดลองใช้ พบประเด็นที่สามารถนำไปอภิปรายผลได้ดังนี้ ในภาพรวมของผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนคะแนนเฉลี่ยหลังสาธิตสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนสาธิตทั้งนี้เพราะว่า การสาธิตจาก ของจริงมีส่วนช่วยกระตุ้นให้นักศึกษามีความสนใจและได้เห็นการปฏิบัติงานจริงอย่าง ถูกต้อง
ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย 1.การสอนแบบสาธิตร่วมกับการลงมือปฏิบัติ ควรจัดให้นักศึกษาเป็นกลุ่ม ย่อยเพื่อนักศึกษาจะได้มองเห็นการสาธิตอย่างชัดเจน 2.การสอนต้องเน้นย้ำจุดสำคัญและเทคนิควิธีการต่างๆและการใช้เครื่องมือ- วัดให้ถูกต้อง