780 likes | 1.11k Views
CHAPTER 4. The Human Side of Project Management. Chapter 4 Objectives. อธิบายถึงความสำคัญของ good human resource management ในโครงการ IT กำหนด project human resource management และทำความเข้าใจในกระบวนการ
E N D
CHAPTER 4 The Human Side of Project Management
Chapter 4 Objectives • อธิบายถึงความสำคัญของ good human resource management ในโครงการ IT • กำหนด project human resource management และทำความเข้าใจในกระบวนการ • สรุปแนวความคิดหลักในการบริหารคนโดยใช้ทฤษฎีของ Maslow, Herzberg, McClelland, และ McGregor ในการจูงใจ, ใช้แนวทางของ Thamhain and Wilemon ในการชักจูงพนักงาน และ ใช้แนวทางของ Covey เพื่อช่วยให้คนและทีมทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น • กล่าวถึงการวางแผนขององค์กรเพื่อให้สามารถสร้าง project organizational chart, responsibility assignment matrix, และ resource histogram • ทำความเข้าใจเรื่องสำคัญ ๆ ที่เกี่ยวกับ project staff acquisition และอธิบายถึงแนวความคิดของ resource assignments, resource loading, และ resource leveling
Chapter 4 Objectives • อธิบายถึง project management software ช่วยในเรื่อง project human resource ได้อย่างไร • อธิบายถึงโครงสร้างองค์กรหลัก ๆ 3 แบบ ได้แก่: functional, pure project, และ matrix. • กล่าวถึงข้อได้เปรียบ เสียเปรียบของโครงสร้างองค์กรแบบ functional, pure project, และ matrix • อธิบายถึง informal organization. • สร้าง stakeholder analysis. • อธิบายถึงความแตกต่างระหว่าง work group และ team. • อธิบายและประยุกต์ใช้แนวความคิดของ learning cycles และ lessons learned ในเชิงพื้นฐานของ knowledge management
The Importance of Human Resource Management • คนจะเป็นตัวกำหนดถึงความสำเร็จหรือล้มเหลวขององค์กรและโครงงานต่าง ๆ • สถิติที่ผ่านมาเกี่ยวกับ IT workforce: • จำนวนทั้งหมดของ U.S. IT workers มากกว่า 10.1 million ใน December 2002 ซึ่งเพิ่มจาก 9.9 million ใน January 2002 • IT manager ทั้งหลายคาดว่า จะจ้างเพิ่มเติมอีก 1.2 million ในอนาคตอันไกล้ • อัตราการจ้างงานของบริษัทที่ไม่เกี่ยวข้องกับ IT สูกว่าบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ IT เป็นอัตราof 12:1
IT Worker Recruiting • เรื่องเกี่ยวกับ IT labor pool : • IT professionals ส่วนมากทำงานด้วยชั่วโมงที่นานกว่าและมักจะอยู่ในงานที่ตนเองทำอยู่ • งานของ ITมักจะมีรูปแบบซ้ำ ๆ กันจะทำให้คนเบื่อและลาออกจากงาน เปลี่ยนไปอยู่ในสายอื่นที่ไม่ใช่ IT งานประเภทนี้สุภาพสตรีจะทำได้ดีกว่า • สิ่งที่ต้องปรับปรุงคือ ผลตอบแทน กำหนดชั่วโมงการทำงานให้ชัดเจน (ลดลง)และ เพิ่มสวัสดิการด้านอื่น ๆ ให้มากขึ้น นั่นหมายความว่า การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ควรปรับปรุงให้ดีขึ้น
What is Project Human Resource Management? • Project human resource management ประกอบด้วย กระบวนการที่จำเป็นในการใช้คนที่เกี่ยวข้องกับโครงการหนึ่ง ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดกระบวนการเหล่านี้ประกอบด้วย • การวางแผนองค์กร (Organizational planning) • การจัดหาพนักงาน (Staff acquisition) • การพัฒนากลุ่มทำงาน (Team development)
Keys to Managing People • นักจิตวิทยาและนักบริหารได้ทุ่มเทความคิด การค้นคว้าและวิจัยในด้านการบริหารจัดการการทำงานของพนักงาน • พื้นที่ต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับ project management ประกอบด้วย: • การจูงใจ motivation (intrinsic and extrinsic) • การชัดจูงและใช้อำนาจบังคับ (influence and power) • ประสิทธิผลในการทำงาน (effectiveness)
Motivation • Maslow ได้พัฒนา hierarchy of needs เพื่อแสดงถึงทฤษฎีของเขาอันกล่าวถึงพฤติกรรมของมนุษย์ที่ถูกชักจูงด้วยลำดับขั้นของความต้องการ (sequence of needs)
แรงจูงใจ หรือความต้องการตามแนวคิดของ Maslow • 1. มนุษย์มีความต้องการ ความต้องการมีอยู่เสมอและไม่มีที่สิ้นสุด แต่สิ่งที่มนุษย์ต้องการนั้นขึ้นอยู่กับว่าเขามีสิ่งนั้นแล้วหรือยังขณะที่ความต้องการใดได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการอย่างอื่นจะเข้ามาแทนที่ กระบวนการนี้ไม่มีที่สิ้นสุดและจะเริ่มตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย • 2. ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วจะไม่เป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรมต่อไป ความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนองเท่านั้นจะเป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรม • 3. ความต้องการของมนุษย์มีลำดับความสำคัญ (A Heirarachy of Needs) กล่าวคือ เมื่อความต้องการในระดับต่ำได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการระดับสูงก็จะเรียกร้องให้มีการตอบสนองทันที
ลำดับขั้นของความต้องการตามทฤษฎี Maslow ขั้นที่ 1 ความต้องการทางร่างกาย หรือพื้นฐานความจำเป็นของชีวิต (Physiological Needs หรือ Basic Physical Needs) เป็นความต้องการในสิ่งจำเป็นที่สุดของการดำรงชีวิตอันได้แก่ อาหาร อากาศ น้ำ ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม การพักผ่อน ความต้องการทางเพศ เป็นต้น องค์การหรือหน่วยงานจะตอบสนองได้ด้วยการจ่ายค่าจ้าง หรือเงินเดือนให้คนขององค์การหรือหน่วยงานนำไปใช้จ่ายแสวงหาสิ่งจำเป็นดังกล่าวได้ ขั้นที่ 2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย(Security Needs) เป็นความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในการได้รับความคุ้มครองจากภยันตรายต่างๆ เป็นความปรารถนาที่จะได้อยู่ในสังคมที่เป็นระเบียบและสามารถคาดการณ์ได้ ความปลอดภัยหรือความมั่นคงในการปฏิบัติงานเช่น การไม่ถูกย้าย หรือปลดออก หรือถูกลงโทษ
ขั้นที่ 2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย(Security Needs) การใช้ความเป็นธรรมที่ปราศจากระบบเล่นพรรคเล่นพวก ด้วยการใช้ความชอบพอส่วนตัว หรือเลือกปฏิบัติ ที่มีผลกระทบต่อท่าที ขวัญ และกำลังใจของผู้ทำงาน ขั้นที่ 3 ความต้องการทางสังคม (Social Needs) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายหลังต่อจากความต้องการขั้นที่ 2 ระดับแรกได้รับการตอบสนองเป็นความต้องการที่จะเข้ามีส่วนร่วม และที่จะได้รับการยอมรับจากเพื่อร่วมงานในด้านมิตรภาพ ในด้านความรัก ขั้นที่ 4 ความต้องการที่จะได้รับการยกย่องในสังคม (Esteem Needs หรือ Ego Needs) เป็นความต้องการอยากเด่นในสังคม อยากมีความเชื่อมั่นในตนเองต้องการมีความรู้ความสามารถที่ได้รับการยอมรับ ต้องการนับถือตนเอง ต้องมีอิสระและเสรีภาพตลอดจนต้องการมีฐานะเด่นที่คนอื่นยอมรับนับถือต้องการมีตำแหน่งสูงสุด หรือได้ใกล้ชิดบุคคลสำคัญๆ ที่ทำให้ฐานะของตนเด่นขึ้น
ลำดับขั้นของความต้องการตามทฤษฎี Maslow ขั้นที่ 5 ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จตามความนึกคิดในชีวิต (Self Actualization หรือ Self Realization) เป็นความต้องการขั้นสูงสุดที่คนธรรมดานึกอยากจะเป็น อยากจะได้แต่ไม่สามารถเสาะหาได้ผ่านความสำเร็จ จนเป็นบุคคลพิเศษที่ได้รับการยกย่องจากบุคคลทั่วไป แต่ละคนต่างมีความรู้สึก ความใฝ่ฝันในการจะบรรลุความปรารถนาสูงสุดแตกต่างกันไปได้
Herzberg’s Motivational and Hygiene Factors • ทฤษฎีของเฮอร์ซเบอร์ก เน้นอธิบายและให้ความสำคัญกับปัจจัย 2 ประการ ได้แก่ “ตัวกระตุ้น (motivators) และ “การบำรุงรักษา” (hygiene) สองปัจจัยดังกล่าวนี้มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของงานเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งผู้บริหารองค์การ ควรพิจารณาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารคนและบริหารงาน • ผลการศึกษาของเขาสรุปได้ว่า ความพอใจในการทำงานกับแรงจูงใจในการทำงานของบุคคลมีความแตกต่างกัน คือ การที่บุคคลพอใจในการทำงานมิได้หมายความว่าบุคคลนั้นมีแรงจูงใจในการทำงานเสมอไป ความพอใจในการทำงานส่งผลให้บุคคลไม่ค่อยคิดจะลาออกจากงานหรือไม่ค่อยมีความคิดจะนัดหยุดงาน แต่อาจไม่มีส่วนต่อการมุ่งมั่นทำให้งานเจริญก้าวหน้า แต่ถ้าคนงานผู้ใดมีแรงจูงใจในการทำงาน คนงานนั้นจะตั้งใจทำงานให้เกิดผลดี ทฤษฎีและการศึกษาของเฮอร์ซเบอร์ก ซึ่งให้ความสำคัญแก่ปัจจัยด้านตัวกระตุ้นและการบำรุงรักษาที่มีต่อเจตคติในงานของผู้ปฏิบัติงาน
1. ปัจจัยด้านตัวกระตุ้น • ปัจจัยด้านนี้มีผลต่อการกระตุ้น ทำให้บุคคลเกิดความพอใจ แต่แม้ว่าการไม่มีปัจจัยนี้ ก็ไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ไม่พอใจเสมอไป ตัวกระตุ้นปาระกอบด้วยปัจจัย 6 ประการ ดังนี้ • 1 ความสัมฤทธิ์ผล คือ พนักงานควรต้องมีความรู้สึกว่าเขาทำงานได้สำเร็จ ซึ่งอาจจะทั้งหมดหรือบางส่วน • 2 การยอมรับนับถือจากผู้อื่น คือ พนักงานควรต้องมีความรู้สึกว่าความสำเร็จของเขานั้นมีคนอื่นรับรู้ มีคนยอมรับ • 3 ลักษณะงานที่น่าสนใจ คือพนักงานควรต้องมีความรู้สึกว่า งานที่เขาทำมีความน่าสนใจ น่าทำ • 4ความรับผิดชอบ คือพนักงานควรต้องมีความรู้สึกว่าเขามีสิ่งที่จะต้องรับผิดชอบต่อตนเองและต่องานของเขา
5 โอกาสที่จะเจริญก้าวหน้า คือ พนักงานควรต้องรู้สึกว่า เขามีศักยภาพที่จะเจริญก้าวหน้าในงานของเขา • 6 การเจริญเติบโต คือ พนักงานจะต้องตระหนักว่าเขามีโอกาสเรียนรู้เพิ่มขึ้นจากงานที่ทำ มีทักษะหรือความเชี่ยวชาญจากการปฏิบัติงาน
2. ปัจจัยด้านการบำรุงรักษา • ปัจจัยด้านนี้ช่วยให้พนักงานยังคงทำงานอยู่และรักษาเขาไว้ไม่ให้ออกไปทำงานที่อื่น เมื่อไม่ได้จัดให้ พนักงานจะไม่พอใจและไม่มีความสุขในการทำงานของเขาการบำรุงรักษา ประกอบด้วยปัจจัย 10 ประการ ดังนี้ • 1 นโยบายแลการบริหาร คือ พนักงานรู้สึกว่าฝ่ายจัดการมีการสื่อสารที่ดียิ่งกับพนักงาน พนักงานก็มีความรู้สึกที่ดีต่อองค์การและนโยบายการบริหารงานบุคคล • 2 การนิเทศงาน คือ พนักงานรู้สึกว่า ผู้บริหารงานตั้งใจสอนและแจกจ่ายหน้าที่ความรับผิดชอบ • 3 ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน คือ พนักงานมีความรู้สึกที่ดีต่อหัวหน้างานของเขา • 4 ภาวะการทำงาน คือพนักงานรู้สึกดีต่องานที่ทำและสภาพการณ์ของที่ทำงาน
5 ค่าตอบแทนการทำงาน คือ พนักงานรู้สึกว่าเงื่อนไขค่าตอบแทนการทำงาน มีความเหมาะสม • 6 ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน คือพนักงานมีความรู้สึกที่ดีต่อกลุ่มเพื่อนร่วมงาน • 7 ชีวิตส่วนตัว คือ พนักงานรู้สึกว่างานของเขาทั้งด้านชั่วโมงการทำงาน การย้ายงาน ฯลฯ ไม่กระทบต่อชีวิตส่วนตัว • 8 ความสัมพันธ์กับลูกน้อง คือ หัวหน้างานมีความรู้สึกที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา • 9 สถานภาพ คือ พนักงานรู้สึกว่างานของเขามีตำแหน่งหน้าที่ดี • 10 ความมั่นคง คือพนักงานมีความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัยในงานที่ปฏิบัติและงานมีความมั่นคง
จากผลการศึกษาของเฮอร์ซเบอร์กดังกล่าวนี้ จึงเห็นได้ว่า ความพอใจและแรงกระตุ้นของพนักงานส่วนใหญ่เกิดจากลักษณะของงาน ดังนั้นองค์การจึงควรจัดให้มีองค์ประกอบด้านการกระตุ้นเกี่ยวกับงาน ซึ่งอาจทำได้หลายลักษณะด้วยกัน วิธีที่ยอมรับกันมากวิธีหนึ่ง คือการกระจายงาน แนวทางการกระจายงาน อาจทำได้หลายแนวทางดังนี้ • แนวทางที่ 1 ลดการเข้มงวดกับพนักงาน และเปิดโอกาสให้พนักงานใช้เหตุผลและความรับผิดชอบในงานของเขาให้มากขึ้น • แนวทางที่ 2 จัดให้พนักงานทำงานรวมกันเป็นหน่วยเดียวที่มีความสมบูรณ์ในตัวมากกว่าที่จะแยกกันทำงานตามลำพังเป็นส่วน • แนวทางที่ 3 ให้อำนาจพนักงานมากขึ้นในการตัดสินใจและการปฏิบัติ และให้คนงานมีอิสระบ้างในการดำเนินงาน • แนวทางที่ 4 จัดให้มีการประชาสัมพันธรายงานผลผลิตต่อพนักงานผู้ปฏิบัติโดยตรงอย่างสม่ำเสมอและบ่อยๆ มากขึ้น เพื่อให้พนักงานรับรู้ผลงานของตน แทนที่จะรายงานต่อผู้ตรวจงานของพนักงานเท่านั้น • แนวทางที่ 5 กระตุ้นให้พนักงานลองทำงานใหม่ๆ และงานที่มีความยากมากขึ้นซึ่งจะสร้างแรงจูงใจให้พยายาม และก้าวหน้ามากขึ้น • แนวทางที่ 6 มอบงานพิเศษให้ทำ เพื่อพนักงานจะได้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะอย่างอาจเป็นด้านปฏิบัติหรือกระบวนการทำงาน หรือการพัฒนาการคิดในตัวพนักงานแต่ละคน
McClelland’s Acquired-Needs Theory • นักจิตวิทยาที่ศึกษาเรื่องแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ที่สำคัญมี 2 คน คือ เดวิด แมคคลีแลนด์ และจอห์น แอทคินสัน ซึ่งเน้นอธิบายการจูงใจของบุคคลที่กระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการความสำเร็จ มิได้หวังรางวัลตอบแทนจากการกระทำของเขา ซึ่งความต้องการความสำเร็จนี้ ในแง่ของการทำงานหมายถึงความต้องการทำงานที่ดี ทำงานนั้นให้ดีที่สุด และทำได้สำเร็จเมื่อทำได้สำเร็จแล้วจะเป็นแรงกระตุ้นให้ทำงานอื่นให้สำเร็จต่อไป ซึ่งจากที่กล่าวนี้จะเห็นได้ว่าพนักงานในองค์การนั้น ถ้ามีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงไม่ว่าจะเป็นพนักงานระดับใด มักจะก้าวหน้าได้รวดเร็ว ในที่นี้จะกล่าวถึงทฤษฎีจากการศึกษาค้นคว้าของแมคคลีแลนด์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับและกล่าวถึงกันโดยทั่วไป
จากผลการศึกษาวิจัย แมคคลีแลนด์ได้สรุปคุณลักษณะของคนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงว่าประกอบด้วยลักษณะต่อไปนี้ คือ • มีความต้องการรับผิดชอบมาก ไม่เกี่ยงงาน และเมื่อเผชิญอุปสรรคก็มักค้นหาวิธีแก้ปัญหาให้ได้ ไม่ยอมแพ้ปัญหา ในองค์การที่มีพนักงานลักษณะนี้มักเป็นพนักงานที่ทำงานคนเดียว หรือถ้าจะเลือกผู้ร่วมงานเขามักเลือกผู้มีความสามารถ ไม่เลือกโดยคำนึงถึงความเป็นพรรคพวกเดียวกัน ไม่เล่นพวก • มีความต้องการผลสำเร็จสูง พนักงานลักษณะนี้มักตั้งเป้าหมายให้สูงเข้าไว้และพอใจกับการทำงาน ท้าทายความสามารถเพื่อให้ถึงเป้าหมายนั้นให้ได้ ไม่กลัวเหนื่อย ไม่คิดว่าตนทำงานมากกว่าคนอื่น
มีความต้องการรับทราบผลการกระทำของตน พนักงานลักษณะนี้จะกระหายใคร่รู้ความคิดของคนอื่นมาก เขาอยากรู้ว่าคนอื่นคิดอย่างไรหรือรู้สึกอย่างไรกับผลงานของเขาและอยากรู้ว่าสิ่งที่เขาทำส่งผลต่องานของส่วนรวมหรือผู้อื่นอย่างไร ถ้าไม่ได้รับทราบจะกังวลใจ ถ้าทราบว่าให้ผลดีจะพึงพอใจและเป็นแรงกระตุ้นให้กระทำอย่างอื่นต่อไป • ด้วยคุณลักษณะของผู้มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง 3 ประการดังกล่าว เมื่อแมคคลีแลนด์ทำการศึกษาพนักงานในองค์การที่มีลักษณะที่ว่านั้นว่าพนักงานเหล่านี้เมื่อทำงานสำเร็จแล้ว เขาต้องการผลตอบแทนอย่างไร ผลการศึกษาพบว่าพนักงานไม่ต้องการแรงจูงใจอื่นใดอีกเพราะเขามีของเขาอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ต้องการให้องค์การจัดกระทำ คือ สภาพการทำงานที่เหมาะสมที่เอื้อให้เขาทำงานได้สำเร็จ
จากการศึกษาของแมคคลีแลนด์และคนอื่นๆ ได้ข้อค้นพบที่น่าสนใจในเรื่องความต้องการของพนักงานที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง คือ พนักงานที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงมักต้องการทำงานที่มีลักษณะ 3 ประการด้วยกัน ดังนี้คือ • ประการที่ 1 พนักงานต้องการที่เปิดโอกาสให้เขารับผิดชอบเป็นส่วนเฉพาะของเขา เขามีอิสระที่จะตัดสินใจ และแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเขาเอง • ประการที่ 2 พนักงานต้องการงานที่มีระดับยากง่ายพอดี ไม่ง่ายเกินไป หรือยากเกินไปกว่าความสามารถของเขา เขาเห็นว่า ถ้าง่ายเกินไปก็ประสบความสำเร็จระดับต่ำ ถ้ายากเกินไปก็อาจทำไม่สำเร็จ • ประการที่ 3 พนักงานต้องการงานที่มีความแน่นอนและต่อเนื่องของการได้รับทราบผลงานและความก้าวหน้าของเขา คือ ต้องการให้มีการสนับสนุนงานนั้นๆ ให้ดำเนินไปได้ตลอดต้องการการยอมรับในระดับที่พอดีในภาพรวมของผลงาน และโดยต่อเนื่องสม่ำเสมอเพื่อให้เขาได้มีโอกาสแสดงผลงานได้เรื่อยๆ เพื่อให้เห็นความก้าวหน้าและพิสูจน์ตนเอง
McGregor’s Theory X and Theory Y • Douglas McGregor popularized the human relations approach to management in the 1960s • จากแนวคิดในทฤษฎี X ของแมคเกรเกอร์ ที่มองมนุษย์ว่าไม่ดีไม่ชอบทำงาน ถ้าจะทำงานก็ต่อเมื่อมีคนควบคุม สั่งการ และข่มขู่ลงโทษถ้าไม่ทำงาน แม้แนวความคิดนี้จะไม่สู้เป็นที่ยอมรับแพร่หลายนัก แต่ในสภาพความเป็นจริงก็มักพบว่ามีคนส่วนหนึ่งที่เป็นเช่นนี้ ดังนั้นการบังคับควบคุมและลงโทษก็อาจยังเป็นมาตรการที่จำเป็นต้องมีในหน่วยงาน แต่นักจิตวิทยาส่วนใหญ่ก็ยังเห็นว่า ก่อนใช้ควรคิดให้ดี ถ้ารุนแรงก็ก่อให้เกิดปัญหาประท้วงหรืออื่นๆ ในหน่วยงาน หรือแม้ไม่รุนแรงก็ให้ผลลบต่อความรู้สึกของพนักงานต่อองค์การ • จากแนวความคิดทฤษฎี Y ของแมคเกรเกอร์ ที่ว่ามนุษย์มีความดีมานะพยายาม ตั้งใจทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ มีความรับผิดชอบ มีความสามารถมีความต้องการเจริญก้าวหน้า และชอบอยู่เป็นพวก ดังนั้น ผุ้จัดการองค์การจึงควรสนใจสนับสนุนให้พนักงานได้ทำงานเป็นทีม ให้ช่วยเหลือกัน ให้รับผิดชอบงานเป็นชิ้นเป็นอัน ให้มีโอกาสและตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง และมีอิสระในการวางแผนงาน เพื่อให้ได้รับความสำเร็จและเจริญก้าวหน้าตามทิศทางที่ควรเป็นของแต่ละบุคคล จะเป็นการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานได้อีกส่วนหนึ่ง และช่วยให้พนักงานเกิดความรู้สึกที่ดีต่อองค์การ
Theory Z • ทฤษฎี Z (Z Theory) เผยแพร่โดย William G. Ouchi ในปี 1981 โดยอาศัยพื้นฐานของการทำงานของชาวญี่ปุ่น ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ ทฤษฎี มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการคือ • การทำให้ปรัชญาที่กำหนดไว้บรรลุ • การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ • การให้ความไว้วางใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา • การให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ • ทฤษฎีนี้ใช้หลักการ 3 ประการ คือ • คนในองค์กรต้องซื่อสัตย์ต่อกัน • คนในองค์การต้องมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน • คนในองค์การต้องมีความใกล้ชิดเป็นกันเอง
Thamhain and Wilemon’s Ways to Have Influence on Projects • 1. อำนาจในการบังคับบัญชา (Authority):มีอำนาจอันชอบธรรมในการสั่งงานตามลำดับชั้น • 2. การมอบงาน (Assignment):ต้องยอมรับว่า project manager สามารถเข้าไปบังคับบัญชาพนักงานได้ หลังจากมีการมอบหมายงานให้ทำแล้ว • 3. เงินทุน (Budget):ต้องยอมรับว่า project manager สามารถใช้อำนาจในการติดสินใจในเรื่องการใช้เงิน • 4. การเลื่อนตำแหน่ง (Promotion):ความสามารถในการเลื่อนตำแหน่งพนักงาน
Thamhain and Wilemon’s Ways to Have Influence on Projects • 5. ค่าตอบแทน (Money):ความสามารถในการเพิ่มเงิน หรือ ผลตอบแทนอื่น ๆ ให้แก่พนักงาน • 6. การลงโทษ (Penalty): project manager สามารถลงโทษพนักงานได้ • 7. งานที่ท้าทาย (Work challenge):ความสามารถในการมอบหมายงานอันทำให้ผู้ทำงานรู้สึกสนุกกับงานนั้น ๆ • 8. ความชำนาญ (Expertise): project manager ควรมีความเข้าใจในองค์ความรู้ที่พิเศษหรือแตกต่างออกไป อันทำให้ผู้อื่นมองเห็นถึงความสำคัญ • 9. ความเป็นมิตร (Friendship):ความสามารถในการผูกมิตร (เป็นมิตรในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล)ระหว่าง project manager และผู้ร่วมงาน
Ways to Influence that Help and Hurt Projects • Project มีโอกาสประสบผลสำเร็จมากขึ้นเมื่อ project managers มี (อำนาจในเชิงชักจูง เรียกว่า ผู้ร่วมงานศรัทธา) ในเรื่อง • ความชำนาญ (expertise) (คือเก่งแล้วคนจะเชื่อถือ) • ทำงานที่ท้าทาย (work challenge) (งานที่ยากหรือทำไม่ได้ เมื่อเราทำได้คนจะชื่นชม) • Projects มีโอกาสล้มเหลวเมื่อ project managers มุ่งเน้นไปในทาง • การใช้อำนาจบังคับ (authority) • การใช้เงินอย่างไม่ระมัดระวัง (money) • การลงโทษ (penalty) • (จะเห็นว่า คือ การใช้พระเดชนำหน้าพระคุณและมือเติบนั่นเอง)
Power • อำนาจ (Power) คือ ความสามารถ(ที่เป็นไปได้)ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนเพื่อให้เขาทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เขาไม่อยากทำ (หมายถึงอยากทำแบบอื่น) • รูปแบบของอำนาจTypes of power include • การบังคับขู่เข็ญ (Coercive) • การใช้สิทธิตามกฎข้อบังคับ (Legitimate) • การเป็นผู้ชำนาญ (Expert) • การให้รางวัล (Reward) • การแนะนำหรือมอบหมาย (Referent)
Covey’s 7 Habits • (1) เป็นฝ่ายรุก (Be proactive)ริเริ่ม ตอบสนอง และสร้างสิ่งต่างๆ ให้เกิดขึ้น ตระหนักว่าตนเองมีอิสระทีจะเลือก มีสติสัมปชัญญะต่อตนเอง พัฒนาความรู้และความซื่อสัตย์ต่อการเลือกต่างๆ นั้น หมายความว่าเมื่อได้ตัดสินใจเลือกว่าจะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว ก็แสวงหาความรู้และยึดมั่นต่อการกระทำต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกนั้น • (2) เริ่มต้นด้วยการตั้งเป้าหมายในใจ (Begin with the end in mind)เริ่มต้นด้วยการสร้างภาพลักษณ์ (Images) หรือ ตัวอย่าง (Paradigm) ของตนเองไว้ในใจให้มีความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งชัดเจนว่าตนเองจะไปที่ใดขณะนี้อยู่ที่ใดและการจะไปสู่เป้าหมายที่ต้องการนั้นจะต้องนำอะไรไปด้วยบ้าง ความเป็นผู้นำเป็นสิ่งสำคัญมากในเรื่องนี้ • (3) ทำในสิ่งที่จำเป็นจะต้องทำก่อนเป็นสิ่งแรก (Put First Things First)ฝึกฝนการบริหารตนเองอย่างมีประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอทุกๆ วัน วินัยในตนเองเกิดจากภายในตนเองและวัดผลด้วยความซื่อสัตย์ในตนเองบุคคลผู้ประสบความสำเร็จสูงทั้งหลายตัดสินใจในเรื่องปัจจุบันซึ่งช่วยให้เกิดผลสำเร็จตามที่ต้องการจัดการบริหารเวลาให้เหมาะสมและยึดมั่นอยู่กับเป้าหมายประจำในแต่ละสัปดาห์ต่อวินัยความสำคัญก่อนหลังและวิสัยทัศน์
(4) คิดอย่างชนะ/ชนะ (Think Win/Win)ให้มีขอบเขตในใจ แสวงหาวิธีการช่วยให้ทุกๆ คนที่เกี่ยวข้องในกิจการงานต่างๆมีความรู้สึกราวกับว่าเป็นผู้ชนะ นั่นคือได้รับผลประโยชน์ต่างๆ ร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย ทุกๆฝ่ายมีความรู้สึกดีๆ ต่อการตัดสินใจต่างๆ ที่ได้กระทำร่วมกันและรับผิดชอบร่วมกันต่อการกระทำที่จะให้บรรลุผลสำเร็จตามแผนที่ได้ตัดสินใจนั้นๆกุญแจสำเร็จคือการร่วมมือกัน • (5) แสวงหาความเข้าใจก่อน แล้วจึงทำตนให้ผู้อื่นเข้าใจ (Seek First to Understand, Then Be Understood)ฝึกฝนตนเองให้มีทักษะในการฟังอย่างเข้าใจเพื่อว่าจะได้เข้าใจผู้อื่นตามขอบเขตในใจของเขาการฟังนั้นมิใช่การฟังด้วยหูแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการฟังด้วยตาและด้วยหัวใจต่อจากนั้นให้แสดงความคิดเห็นและทัศนะต่างๆ ของตนเองอย่างมีเหตุผลชัดเจน เฉพาะเจาะจง และในขอบเขตแห่งความเข้าใจผู้อื่นเป็นสำคัญ
(6) มีกำลังใจดี (Synergize)สร้างทางเลือกใหม่ๆ โดยให้ละทิ้งส่วนที่สบาย (Comfort Zone) ของตนเองเพื่อเผชิญความท้าทายใหม่ๆ และที่ไม่รู้มาก่อนให้คุณค่าต่อความแตกต่างยอมรับนับถือความแตกต่างเหล่านั้นและใช้ความแตกต่างนั้นๆ ในการสร้างความแข็งแกร่งให้ตนเองให้ละทิ้งบทชีวิต (Life script) เช่นความเกียจคร้าน เก่าๆ ไปเสียและเขียนบทใหม่ๆขึ้นมา ความจำกัดต่างๆ ของเราเองย่อมเกิดขึ้นจากจินตนาการของเราเองทั้งนั้น พัฒนาความสร้างสรรค์และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับผู้อื่น ปลดปล่อยพลังใหม่ๆ ออกมาและสร้างทางเลือกใหม่ๆและน่าตื่นเต้นให้เกิดขึ้นแต่ชีวิตของตนเอง • (7) ดูแลตนเองให้ดีเสมอ (Sharpen the Saw)ใช้เวลาดูแลส่วนดีๆ ของตนเองไว้ ใช้เวลาดูแลสุขภาพของตนเองทั้งด้านร่างกาย สมอง สังคม/อารมณ์ และความต้องการด้านจิตใจ (spiritual needs) หรือการยึดมั่นในหลักศาสนาของตนการนำผู้อื่นนั้นต้องการพลังงานมากมาย ให้มีความพยายามอย่างสม่ำเสมอที่จะจัดการกับความต้องการทางสุขภาพเป็นตัวอย่างที่ดีในเทคนิคของการดูแลตนเองสร้างความมั่นใจต่อผู้อื่นว่าเขามีคุณค่าและควรให้คุณค่าผู้อื่นด้วย ให้มีความสุขและฉลองความสำเร็จ
Empathic Listening and Rapport (มีไมตรี) • Project manager ทีดีควรเป็นผู้รับฟังที่ดี และเป็นการรับฟังเพื่อตั้งใจ(พยายามที่จะทำความเข้าใจ) • ก่อนที่ท่านจะสื่อสารกับผู้อื่น ท่านต้องมีไมตรี (ความเป็นมิตร)กับเขาก่อน • การเสนอความช่วยเหลือ (พร้อมที่จะช่วยเหลือ)เป็นการหยิบยื่นไมตรีต่อกัน • IT มืออาชีพต้องพัฒนาทักษะของคนเพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์กับผู้ใช้และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง stakeholder) ต่าง ๆ
Improving Relationships Between Users and Developers • ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ IS จะต้องเข้าใจธุรกิจเป็นอย่างดี เพื่อที่จะได้แยกแยะและตัดสินใจในการลงทุนในระบบสารสนเทศใหม่ ๆ • CIO จะต้องผลักดัน staff ให้ตระหนักถึงความต้องการทางธุรกิจซึ่งเป็นตัวผลักดันการตัดสินใจทางด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ • บางบริษัทได้ปรับรูปแบบฝ่าย IS ของเขาให้ดูเหมือนและทำงานคล้ายกับองค์กรที่ปรึกษา
Organizational Planning • การวางแผนองค์กรเกี่ยวข้องกับการ ระบุ จัดทำให้เป็นเอกสาร และ การมอบหมายบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ความรับผิดชอบ และ จัดทำรายงานที่เกี่ยวข้อง • เอาต์พุตและกระบวนการต่าง ๆ ประกอบด้วย • ชาร์ตแสดงผังองค์กรของโครงการ (project organizational charts) • การกำหนดงานและกระบวนการที่มอบหมายให้ทำ • ตารางแสดงผู้รับผิดชอบงานที่ถูกมอบหมาย • แผนภูมิแสดงทรัพยากรต่าง ๆ (resource histograms)
ข้อเสีย ต้องกำหนดความรับผิดชอบ การสนองตอบใช้เวลา ความร่วมมือกันไม่ดี Organization and Project Planning – The Formal Organization The Functional Organization • ข้อดี • ความคล่องตัวเพิ่มขึ้น • ความรู้และประสบการณ์มีทั้งทางกว้างและทางลึก • การทำงานซ้ำซ้อนน้อย
ข้อเสีย มีการแยกโครงการจากกัน มีการทำงานซ้ำซ้อน แยกพวกตามโครงการ (Projectitis) Organization and Project Planning – The Formal Organization • ข้อดี • อำนาจและความรับผิดชอบชัดเจน • การสื่อสารได้รับการปรับปรุง • ระดับการร่วมมือกันสูง The Project Organization
รูปแบบ (Forms) Balanced matrix Functional matrix Project matrix ข้อดี การร่วมมือกันอยู่ในระดับสูง การสื่อสารได้รับการปรับปรุง project focus เพิ่มมากขึ้น ข้อเสีย มีโอกาสขัดแย้งกันสูง การสนองตอบไม่ดี (Poorer response time) Organization and Project Planning – The Formal Organization The Matrix Organization
โครงสร้างจะบอกถึงความสัมพันธ์ของคนทั้งหลายหรือกลุ่มทั้งหลายว่าควรสัมพันธ์กันอย่างไร (ตามหลักการ) แต่มันก็ไม่ได้บอกว่า ความจริงแล้วมันเป็นอย่างไร (ตามสิ่งที่เกิดขึ้นจริง) • The Informal Organization • มีการข้ามเส้นกั้นทางด้านการสื่อสารและอำนาจหน้าที่ (มีการล้ำเส้นกัน) • อำนาจดูได้จากคน ๆ หนึ่งเชื่อมต่อในเชิง informal network ได้ดีพียงใด
Organization and Project Planning – The Informal Organization • ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลาย หรือ Stakeholders ก็คือผู้คนต่าง ๆ กลุ่มต่าง ๆ หรือองค์กรต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง/กล่าวอ้างว่าเกี่ยวข้อง (stake/claim) ในผลที่ได้จากโครงการของท่าน (ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดีก็ตาม) • Stakeholder Analysis • จัดทำรายการของ stakeholder ทั้งหลายที่ให้ความสนใจในโครงการ • ระบุให้ชัดว่าเขาสนใจอะไรในโครงการ • วัด(ชั่งน้ำหนัก)ว่า เขาจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับโครงการมากน้อยขนาดไหน • กำหนดขอบเขตของแต่ละ stakeholder • ระบุให้ชัดเจนถึงวัตถุประสงค์ของแต่ละ stakeholder • ระบุให้ชัดเจนถึงกลยุทธ์ต้องต้องใช้กับแต่ละ stakeholder
Staff Acquisition • แผนการจัดหา Staff และ กระบวนการว่าจ้างที่ดีเป็นเรื่องที่สำคัญของ staff acquisition ในเชิงแรงจูงใจ (incentive)และการรักษาคนเหล่านี้เอาไว้ • บางองค์กรยอมให้พนักงานทำงานจากบ้านเพื่อใช้เป็นแรงจูงใจ • งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าพนักงานลาออกจากงานเพราะว่า เขาไม่สามารถทำในสิ่งที่ต่างออกไปได้ ไม่ได้รับการจดจำ (ว่าทำความดีความชอบ)อย่างถูกต้อง ไม่มีสิ่งใหม่ ๆให้เรียนรู้ ไม่ชอบเพื่อนร่วมงาน และต้องการรายได้เพิ่มมากขึ้น
Resource Loading and Leveling • Resource loadingหมายถึง จำนวนทรัพยากรแต่ละชนิดที่โครงงานที่เหลืออยู่ตามหมายกำหนดการต้องการใช้ในระหว่างช่วงเวลาที่กำหนด • Resource histograms ก็คือแผนผนังที่แสดง resource loading • Over allocation หมายถึง ต้องการให้มีทรัพยากรที่ต้องการให้ทำงานในช่วงเวลาที่กำหนดมากกว่าที่มีอยู่จริง (เช่น งานที่ต้องทำให้เสร็จภายใน 3 วัน ต้องการพนักงาน 10 คน แต่มีพนักงานจริง ๆ แค่ 5 คน เป็นต้น) • Resource levelingคือเทคนิคในการแก้ปัญหาที่เกิดจาก resource conflicts โดยทำการ delaying tasks (หมายถึงยอมให้งานช้าลง) • จุดประสงค์หลักของ resource leveling ก็คือสร้างการกระจายการใช้ทรัพยากรออกไปอย่างราบเรียบ (smoother distribution of resource usage) และลดการเกิด over allocation
Team Development • การพัฒนาทีมก็เพื่อให้เกิดการทำงานกันเป็นทีมเพื่อให้โครงการเสร็จสิ้นประสบผลสำเร็จอย่างสมบูรณ์แบบ • การฝึกอบรมสามารถช่วยให้พนักงานเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น และจะทำงานเป็นทีม(ให้ดี)ได้อย่างไร • Team building activities ประกอบด้วย • ความท้าทายทางด้านการภาพ • เครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้แสดงให้เห็นถึงสภาพจิตใจ
การทดสอบ "The Meyers-Briggs Type Indicator" • เอาไว้จัดแบ่งบุคลิกภาพ พัฒนาขึ้นโดย Katherine Briggs และ Isabel Briggs Meyers เลยเรียกกันว่าอย่างนั้นและบางที่ก็ย่อว่า MBTI ซึ่งจะแบ่งบุคลิกภาพของคนใน 4 ด้านดังนี้ • Extroversion (E) หรือ Introversion (I) พวก Extroverts เป็นพวกสนใจผู้คนและสิ่งอื่นๆในโลกภายนอก ส่วนพวก Introverts เป็นพวกสนใจโลกภายใน พวกไอเดียต่างๆของตน • Sensing (S) หรือ Intuition (N) อันนี้จะดูว่าคนคนนี้ต้องการข้อมูลแบบไหนในการตัดสินใจ พวก sensing จะสนใจข้อเท็จจริง ประสบการณ์ที่จับต้องได้ ส่วน intuitive จะมองทฤษฎีและความน่าจะเป็น • Thinking (T) หรือ Feeling (F) ต่อมาจากอันที่แล้ว อันนี้จะดูว่าเมื่อมีข้อมูลแล้วจะตัดสินใจอย่างไร thinker จะใช้ logic และการวิเคราะห์ต้นตอปัญหา ส่วน feeler จะใช้อารมณ์และความรู้สึกส่วนตัว • Perceiving (P) หรือ Judging (J) พวก perceiving จะชอบความยืดหยุ่นและปัญหาปลายเปิด ส่วนพวก judging จะชอบ order และ control • ซึ่งพอ test ออกมาแล้วก็จะได้ผลว่าเป็นยังไงเช่น ENTJ หรือ ISTJ • NTs or rationals are attracted to technology fields • IT people vary most from the general population in not being extroverted or sensing
Social Styles Profile • คนจะถูกยอมรับตามพฤติกรรมหลักหนึ่งในสี่ของขอบเขตของ การใช้อิทธิพลเหนือผู้อื่น (assertiveness) และการให้ความร่วมมือกับผู้อื่น (responsiveness): • สั่งการ (Drivers) • แสดงออก (Expressives) • การวิเคราะห์ (Analyticals) • มวลชน (Amiables) • People on opposite corners (drivers and amiables, analyticals and expressives) may have difficulties getting along