360 likes | 799 Views
การ วิเคราะห์ข้อสอบ ( Item Analysis ). การ ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบจะให้ดีและ ถูกต้องจะต้อง ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบเป็นรายข้อและตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบทั้งฉบับ ( ชวาล แพรัตกุล. 2516 : 10-11) โดย การตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบเป็นรายข้อมี จุดมุ่งหมาย
E N D
การวิเคราะห์ข้อสอบ ( Item Analysis) การตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบจะให้ดีและถูกต้องจะต้องตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบเป็นรายข้อและตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบทั้งฉบับ (ชวาล แพรัตกุล. 2516 : 10-11) โดยการตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบเป็นรายข้อมีจุดมุ่งหมาย เพื่อตรวจสอบคุณภาพ 2 ประการคือ ความยากของข้อสอบ (dificulty)และอำนาจจำแนกของข้อสอบ (discrimination) การตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบทั้งฉบับมีจุดมุ่งหมาย เพื่อหาคุณภาพ 2 ประการ คือ ความเที่ยงตรง (validity) และความเชื่อมั่น (reliability)
การสร้างและพัฒนาแบบสอบถามการสร้างและพัฒนาแบบสอบถาม • แบบสอบถาม (Questionnaire) ใช้สำหรับวัดความรู้สึกหรือการรับรู้ หรือ ความคิดเห็นต่างๆที่อาจเรียกว่า แบบสอบถามความคิดเห็น (Opioninaire)
แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับแบบสอบถามแนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับแบบสอบถาม • ต้องพิจารณาถึงคุณลักษณะของผู้ตอบ ผู้ตอบทีมีคุณลักษณะต่างกัน เช่น เพศ อายุ ฐานะ จะมีแนวทางในการตอบคำถามต่างกันไป • ใช้ได้กับการวัดเจตคติและความเชื่อหรือพฤติกรรมอื่นๆ เนื่องจากไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิด แต่ควรพิจารณาถึงธรรมชาติของการตอบเกี่ยวกับค่านิยม การรับรู้ ความรู้สึก • ใช้ได้กับข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน คำถามที่ละเอียดอ่อน เช่น รายได้ สถานะการเงิน หรือ เรื่องส่วนตัว เป็นต้น ผู้ตอบจะไม่รู้สึกอึดอัด
ประหยัด รวดเร็ว การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามมีความประหยัด เพราะไม่ต้องใช้อุปกรณ์มาก • ได้ข้อมูลตรงตามความต้องการ เนื่องจากผู้สร้างกำหนดกรอบไว้ชัดเจน แม้จะมีคำถามปลายเปิดก็ตอบนอกกรอบยาก • อาจเข้าใจผิดในข้อคำถามได้ การตอบคำถามด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การตอบด้วยการอ่าน ผู้ตอบอาจเข้าใจผิดได้ • สามารถใช้ร่วมกับเครื่องมือประเภทอื่นๆได้ การเก็บรวบรวมข้อมูลตามตัวแปรในการวิจัย หรือตัวชี้วัดในการประเมินนั้น บางครั้งอาจต้องใช้เครื่องมือหลายประเภทร่วมกัน
องค์ประกอบของแบบสอบถามองค์ประกอบของแบบสอบถาม • ชื่อแบบสอบถาม (Title) • คำนำ (Introduction) • คำชี้แจง (Directions of Instructions) • ข้อคำถามหลัก • ข้อคำถามรอง
ประเภทของแบบสอบถามประเภทของแบบสอบถามตามเกณฑ์การตอบ • แบบปลายปิด (Closed Form) เป็นแบบสอบถามที่ผู้สร้างให้ผู้ตอบเลือกคำตอบที่กำหนดไว้แล้ว คล้ายกับแบบสอบชนิดเลือกตาม • ประเภทของแบบสอบถามตามเกณฑ์ข้อมูลที่ต้องการ • แบบสอบถามความจริง ( Questionnaire ) • แบบสอบถามความคิดเห็น ( Opinionnaire)
ลักษณะของแบบสอบถามที่ดีลักษณะของแบบสอบถามที่ดี • ถามในประเด็นหรือสาระสำคัญ • สั้น กระชับ • เหมาะสมกับข้อมูลที่ต้องการ • มีรูปแบบน่าสนใจ • แต่ละข้อคำถามมีประเด็นเดียว • ไม่ควรใช้คำถามนำ • เริ่มจากคำถามกว้างไปสู่แคบ • ประหยัด • อำนวยความสะดวกแก่ผู้ตอบให้มากที่สุด • แปลความหมายง่าย
แนวทางการสร้างและพัฒนาแบบสอบถามแนวทางการสร้างและพัฒนาแบบสอบถาม • ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการต่างๆ • กำหนดนิยาม • ร่างข้อคำถามและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง
การหาคุณภาพเครื่องมือการหาคุณภาพเครื่องมือ • การหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้แก่ 1.1 ค่าความยาก (Difficulty)หมายถึง สัดส่วนของผู้ที่ตอบถูกข้อนั้น เมื่อเทียบกับจำนวนคนที่ตอบคำถาม ข้อนั้นถูก ซึ่งแทนสัญลักษณ์ด้วย "p"
ความยากง่าย (Difficulty) ระดับความยากง่ายของข้อสอบ หากผู้เรียนทำได้มาก แสดงว่าง่าย หากผู้เรียนทำได้น้อย แสดงว่ายาก ค่า P ที่ใช้ได้ก็คือ .20 - .80 ค่า P ที่เหมาะสม คือ .50 สูตรที่ใช้คือ P = ความยากง่าย R = จำนวนผู้เรียนที่ตอบคำถามข้อนั้นถูกต้อง N = จำนวนผู้เรียนทั้งหมด
1. 2 ค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) หมายถึง ประสิทธิภาพของข้อสอบ ในการจำแนกผู้สอบออกเป็นกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ สัญลักษณ์ที่ใช้ คือ r
1.2การหาค่าอำนาจจำแนก การตรวจให้คะแนน นำแบบทดสอบไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างแล้วตรวจให้คะแนน เรียงลำดับคะแนนจากสูงไปต่ำ คัดเลือกออกมา 25% จากกลุ่มสูงเป็นกลุ่มเก่ง คัดเลือก 25%จากกลุ่มล่างเป็นกลุ่มอ่อน แทนค่าในสูตร r หรือ D Ru = จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ถูกในกลุ่มเก่ง RL = จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ถูกในกลุ่มอ่อน N = จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด เชาวรัตน์ เตมียกุล
ค่า r มีค่าตั้งแต่ -1.00 ถึง +1.00 ถ้าค่าเป็น + แสดงว่ากลุ่มสูงตอบถูก มากกว่ากลุ่มต่ำ แต่ถ้าค่าเป็น - แสดงว่ากลุ่มสูงตอบถูกน้อยกว่ามากกว่ากลุ่มต่ำการแปลความหมายของ ค่า r มีเกณฑ์ดังนี้ค่า r = .40 ขึ้นไป หมายถึง มีอำนาจจำแนกสูงมากค่า r = .30 - .39 หมายถึง มีอำนาจจำแนกสูงค่า r = .20 - .29 หมายถึง มีอำนาจจำแนกพอใช้ค่า r = .00 - .19 หมายถึง มีอำนาจจำแนกต่ำค่า r = ติดลบ หมายถึง ไม่มีอำนาจจำแนก
สรุป แบบสอบถามใช้กันแพร่หลายสำหรับวัดข้อเท็จจริง ความรู้สึก การรับรู้ ความคิดเห็นต่างๆ เนื่องจากมีผู้ให้แนวคิดว่า มีความประหยัด รวดเร็ว สะดวก ในการตอบและใช้ร่วมกับเครื่องมือประเภทอื่นๆ แบบสอบถามแบ่งประเภทได้ตามเกณฑ์ 2 เกณฑ์ คือ ตามเกณฑ์การตอบ แบ่งเป็น แบบปลาบปิด แบบปลายเปิด และผสมตามเกณฑ์ข้อมูล แบ่งเป็น ตามความจริง และความคิดเห็น แนวทางการสร้างและพัฒนาแบบสอบถาม มี 9 ขั้นตอน โดย ต้องศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการของตัวแปรหรือตัวชี้วัด เพื่อนำมานิยามและร่างข้อคำถาม รวมทั้งองค์ประกอยที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบปรับปรุงก่อนที่ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจ แล้วนำไปทดลองใช้ด้วยการหาค่าสถิติต่างๆ โดยนำผลมาปรับปรุงอีกครั้งเพื่อเตรียมจะนำไปใช้จริงต่อไป
การสร้างและพัฒนาแบบสังเกต แบบวัดทักษะปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและประเมิน ซึ่งเน้นวิธีการมากกว่าตัวเครื่องมือ คือ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ สำหรับแบบวัดทักษะปฏิบัติจะมีความคล้ายคลึงกับแบบสังเกตมาก เพียงแต่ว่าประเด็นที่สังเกตจะเน้นกระบวนการทำงานและผลงานต่าง ๆ รวมทั้งพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน
แบบสัมภาษณ์ • แบบสัมภาษณ์ (Interview Schedule) มีลักษณะคล้ายแบบสอบถาม เพียงแต่ใช้ถามและตอบแทนการเขียน หรืออาจเรียกว่า Oral Questionnaire • แบบสัมภาษณ์จะเน้นวิธีการมากกว่าตัวเครื่องมือ และส่วนใหญ่จะเป็นการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยถือว่าผู้สัมภาษณ์เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือด้วย สาระเนื้อหาเกี่ยวกับตัวแบบสัมภาษณ์โดยตรงมีการกล่าวถึงกันค่อนข้างน้อย เช่นเดียวกันกับตัวแบบสังเกต
ประเภทของแบบสัมภาษณ์ การแบ่งประเภทของแบบสัมภาษณ์ แบ่งตามเกณฑ์ต่าง ๆ ได้ 4 เกณฑ์ ดังนี้ • 1. แบ่งตามเกณฑ์โครงสร้าง ได้ 3 ประเภท ดังนี้ 1.1 แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง เป็นแบบสัมภาษณ์ที่กำหนดเค้าโครงหรือข้อคำถามไว้ล่วงหน้า ซึ่งแบบนี้จะมีลักษณะคล้ายกับแบบสอบถาม บางครั้งเรียกว่าแบบสัมภาษณ์เป็นทางการ 1.2 แบบสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้าง เป็นแบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีกำหนดคำถามไว้ เหมาะสำหรับการวิจัยและประเมินเชิงคุณภาพ บางครั้งเรียกว่าแบบสัมภาษณ์ไม่เป็นทางการ 1.3 แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง หรืออาจเรียกว่าแบบผสม เป็นแบบสัมภาษณ์ที่กำหนดเค้าโครงล่วงหน้าและยังไม่ได้กำหนดไว้ มีลักษณะผสมระหว่างแบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง บางครั้งเรียกว่าแบบสัมภาษณ์กึ่งทางการ
2. แบ่งตามเกณฑ์ข้อคำถาม การแบ่งตามเกณฑ์นี้ได้ 3 ประเภท ดังนี้ • 2.1 แบบคำถามกำหนดตัวเลือก แบบสัมภาษณ์ประเภทนี้คล้ายกับแบบสอบถามที่กำหนดตัวเลือกให้ • 2.2 แบบคำถามปลายเปิด แบบสัมภาษณ์ประเภทนี้คล้ายกับแบบสอบถามปลายเปิด • 2.3 แบบคำถามกรวย จะใช้คำถามจากกว้างไปสู่แคบหรือใหญ่ไปสู่ย่อย มีลักษณะเป็นคำถามกรวย (Funnel Question) โดยจะถามต่อเนื่องไปจากคำตอบที่ได้ ซึ่งนงลักษณ์ วิรัชชัย (2536 : 94) ได้ยกตัวอย่างไว้ ดังนี้ คำถามที่ 1 คุณมีอาชีพอะไรคะ คำถามที่ 2 (ถ้าตอบว่าเป็นครู) คุณตัดสินใจเป็นครูเมื่อไรคะ คำถามที่ 3 มีเหตุผลอะไรบ้างในการตัดสินใจ คำถามที่ 4 เหตุผลที่สำคัญในการตัดสินใจ
3. แบ่งตามเกณฑ์ระดับคำถาม การแบ่งตามเกณฑ์นี้ได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 3.1 แบบคำถามทั่วไป ใช้สัมภาษณ์เรื่องทั่ว ๆ ไปที่คนปกติให้ข้อมูลได้ 3.2 คำถามลึก ใช้สัมภาษณ์บุคคลที่มีความรู้ความสำคัญหรือความเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ (Key Information Interview)
4. แบ่งตามเกณฑ์ผู้ตอบ การแบ่งตามเกณฑ์นี้ได้ 2 ประการ ดังนี้ 4.1 แบบสัมภาษณ์เดี่ยว ใช้สำหรับเก็บข้อมูลจากบุคคลเพียงคนเดียวต่อการสัมภาษณ์ครึ่งหนึ่ง ซึ่งอาจใช้ในการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In – Depth Interview) 4.2 แบบสัมภาษณ์กลุ่ม ใช้สำหรับเก็บข้อมูลจากบุคคลหลายคนในคราวเดียวกัน ซึ่งอาจใช้ในการสัมภาษณ์กลุ่ม (Group Interview) หรือกลุ่มแบบเจาะจง (Focus Group Interview)
แนวทางการสร้างและพัฒนาแบบสัมภาษณ์แนวทางการสร้างและพัฒนาแบบสัมภาษณ์ การสร้างและพัฒนาแบบสัมภาษณ์มีขั้นตอนต่าง ๆ ตามแนวทางเช่นเดียวกับการสร้างเครื่องมือประเภทอื่น ๆ ซึ่งในที่นี้จะเน้นกล่าวเฉพาะขั้นตอนที่ต่างกัน ดังนี้ 1. ศึกษาพฤติกรรมที่จะสัมภาษณ์ พฤติกรรมที่จะสัมภาษณ์อาจเป็นของผู้ให้สัมภาษณ์เอง พฤติกรรมในองค์การทั้งระดับพฤติกรรมบุคคล กลุ่ม หรือระดับองค์การหรือหลายพฤติกรรมร่วมกันก็ต้องศึกษาให้เข้าใจ 2. นิยามพฤติกรรมที่จะวัด พฤติกรรมจากข้อ 1 นำมานิยามหรือสรุปให้ละเอียดพอที่จะแยกเป็นข้อคำถามอย่างครอบคลุมได้
3. ร่างข้อคำถาม นำผลจากข้อ 2 มาร่างเป็นข้อคำถามโดยเรียงลำดับให้ตอบได้อย่างราบรื่น ส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น ตัวเลือกหรือเกณฑ์การให้คะแนนนั้นอาจมีน้อยกว่าเครื่องมือประเภทอื่น ๆ เนื่องจากเน้นข้อมูลเชิงคุณภาพดังกล่าวแล้ว 4. ตรวจสอบด้วยตนเองและผู้เกี่ยวข้อง นำข้อคำถามที่ร่างไว้จากข้อ 3 ตรวจสอบ ซึ่งคงไม่ละเอียดเท่ากับเครื่องมืออื่น ๆ แต่ที่สำคัญคือ ควรทดลองสัมภาษณ์ดูในเบื้องต้น เพราะวิธีการสัมภาษณ์ถือว่ามีความสำคัญมาก อาจจะสำคัญกว่าตัวแบบสัมภาษณ์เสียด้วยซ้ำ เมื่อทดลองเบื้องต้นแล้วจะได้ปรับปรุงให้เหมาะสมทั้งตัวแบบสัมภาษณ์ วิธีการ ทราบเวลา และอุปกรณ์ที่ใช้อย่างคร่าว ๆ ได้
5. ปรับปรุงเบื้องต้น นำผลจากข้อ 4 มาปรับปรุงเบื้องต้นก่อนให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจ 6. ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจ ดำเนินการเช่นเดียวกับเครื่องมือประเภทอื่น ๆ 7. ปรับปรุงผลจากการตรวจของผู้เชี่ยวชาญ ดำเนินการเช่นเดียวกันกับเครื่องมือประเภทอื่น ๆ
8. ทดลองใช้เพื่อหาค่าความเที่ยง ความเที่ยงจากการสัมภาษณ์อาจหาได้ 2 กรณี คือใช้แบบสัมภาษณ์ที่ใกล้เคียงกัน 2 ฉบับ สัมภาษณ์ซ้ำ 2 ช่วงเวลา หรือฉบับเดียวกันสัมภาษณ์ 2 ครั้ง (Best & Khan, 2006 : 337) แล้วนำมาคำนวณหาค่าในเชิงปริมาณ (ถ้ามี) เช่นเดียวกันแบบสังเกต 9. ปรับปรุงก่อนนำไปใช้จริง แบบสัมภาษณ์สามารถทดลองใช้ได้สะดวกกว่าแบบสังเกตหรือแบบวัดทักษะปฏิบัติ เพราะแบบสังเกตจะต้องคอยเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นเหมือนกันได้ยาก ส่วนแบบสัมภาษณ์สามารถทดลองใช้ได้ตลอดเวลาถ้านัดผู้ทดลองให้สัมภาษณ์ได้
สรุป แบบสังเกต แบบวัดทักษะปฏิบัติ และแบบสัมภาษณ์ มีการกล่าวถึงตัวเครื่องมือกันค่อนข้างน้อย โดยจะเน้นวิธีการมากกว่า แบบสังเกตมี 4 ประเภท คือ แบบตรวจสอบรายการ แผนภูมิการมีส่วนร่วม แบบมาตรประมาณค่า และแบบบันทึกความประพฤติหรือพฤติกรรม การสร้างและพัฒนาแบบสังเกต มีแนวทางเช่นเดียวกับเครื่องมือประเภทอื่น ๆ เพียงแต่บางขั้นตอน เช่น การทดลองใช้อาจทำไม่ได้ เพราะโอกาสที่จะเกิดสถานการณ์หรือเหตุการณ์เหมือนกันมีน้อย
เครื่องมือที่ลักษณะและวิธีการคล้ายกับแบบสังเกต คือ แบบวัดทักษะปฏิบัติ แต่เน้นวัดกระบวนการและผลงาน โดยวัดได้ทั้งความรู้ด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย ซึ่งแบ่งประเภทตามเกณฑ์ต่าง ๆ ได้หลายเกณฑ์ คือ ตามเกณฑ์ลักษณะงาน เกณฑ์การสอบ เกณฑ์ประเภทเครื่องมือ ซึ่งประกอบด้วย แบบสอบ แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตรประมาณค่า และการรายงานผลการปฏิบัติงาน สำหรับขั้นตอนการสร้างและพัฒนาแบบวัดทักษะปฏิบัติจะคล้ายกับแบบสังเกต ส่วนแบบสัมภาษณ์ มีลักษณะคล้ายแบบสอบถาม ต่างกันตรงที่ใช้การพูดแทนการเขียน แบ่งได้หลายประเภทตามเกณฑ์ต่าง ๆ เช่น แบ่งตามเกณฑ์โครงสร้างได้ 3 ประเภท แบ่งตามเกณฑ์ข้อคำถามได้ 3 ประเภท แบ่งตามเกณฑ์ระดับคำถามได้ 2 ประเภท และแบ่งตามเกณฑ์ผู้ตอบได้ 2 ประเภท การสร้างและพัฒนาแบบสัมภาษณ์มีขั้นตอนคล้ายกับเครื่องมือประเภทอื่น ๆ