2.71k likes | 16.74k Views
บทเรียนเพื่อการศึกษาวิชาสุขศึกษา. เรื่อง. การเลือกใช้บริการสุขภาพ ในชีวิตประจำวัน. โดย...ครูอนันต์ นุชเทศ. ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. การบริการสุขภาพในประเทศไทย. การบริการสุขภาพ. คือ การจัดบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข
E N D
บทเรียนเพื่อการศึกษาวิชาสุขศึกษาบทเรียนเพื่อการศึกษาวิชาสุขศึกษา เรื่อง การเลือกใช้บริการสุขภาพ ในชีวิตประจำวัน โดย...ครูอนันต์ นุชเทศ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
การบริการสุขภาพในประเทศไทยการบริการสุขภาพในประเทศไทย การบริการสุขภาพ คือ การจัดบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข ในรูปแบบต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาความต้องการของประชาชนในเรื่องของสุขภาพ และเป็นการยกระดับสุขภาพของประชาชนให้ดีขึ้น ปัจจุบันระบบบริการสุขภาพ มีผู้ดำเนินการอยู่หลายฝ่ายทั้งใน ส่วนภาครัฐและส่วนของเอกชน เช่น - โรงพยาบาลของรัฐ - โรงพยาบาลเอกชน - คลินิก - สถานออกกำลังกาย - NGO (Non Government Organization)
การจัดระบบบริการสุขภาพในประเทศไทยการจัดระบบบริการสุขภาพในประเทศไทย จุดมุ่งหมายการจัดระบบบริการสุขภาพในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้มีหน้าที่หลักในการดำเนินการด้านสุขภาพ โดยมีองค์ประกอบครอบคลุม 4 ด้าน คือ 1. การสร้างเสริมสุขภาพ 2. การป้องกันและควบคุมโรค 3. การรักษาพยาบาล 4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ
การจัดระบบบริการสุขภาพในประเทศไทยการจัดระบบบริการสุขภาพในประเทศไทย 1. การสร้างเสริมสุขภาพ เน้นการส่งเสริมสุขภาพกายและจิต และให้ บริการแก่ประชาชนทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา ได้แก่ 1. การวางแผนครอบครัว 2. งานโภชนาการ 3. งานสุขศึกษา 4. งานทันตสาธารณสุข 5. งานอนามัยโรงเรียน 6. งานสร้างเสริมสุขภาพจิต 7. งานอนามัยแม่และเด็ก
การจัดระบบบริการสุขภาพในประเทศไทยการจัดระบบบริการสุขภาพในประเทศไทย 2. การป้องกันและควบคุมโรค เน้นการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเจ็บไข้ได้ป่วยของประชาชน ได้แก่ 1. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 2. การปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม 3. การจัดหาน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภค และบริโภค 4. การกำจัดของเสียและพาหะนำโรค 5. การบริการอาชีวอนามัยเพื่อป้องกัน โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ 6. การป้องกันโรคที่เกิดระบาดขึ้น
การจัดระบบบริการสุขภาพในประเทศไทยการจัดระบบบริการสุขภาพในประเทศไทย 3. การรักษาพยาบาล เป็นบริการที่จัดขึ้นเมื่อมีการเจ็บป่วย โดยเน้นการตรวจวินิจฉัย และให้การ รักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วย เพื่อให้หายจาก โรคที่เป็นอยู่ และเป็นการป้องกันภาวะ ทุพพลภาพหรือบรรเทาอาการที่ป่วยหนัก ให้เบาลง
การจัดระบบบริการสุขภาพในประเทศไทยการจัดระบบบริการสุขภาพในประเทศไทย 4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ เน้นการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายและใจของ ผู้ป่วยให้คืนสู่สภาพปกติ ได้แก่ 1. การทำกายภาพบำบัด 2. การฟื้นฟูสุขภาพจิต 3. การสังคมสงเคราะห์ผู้สูงอายุ
การจัดระบบบริการสุขภาพในประเทศไทยการจัดระบบบริการสุขภาพในประเทศไทย การบริการสาธารณสุขมูลฐาน เป็นการดูแลสุขภาพที่กระจายไปถึงระดับ หมู่บ้าน โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) เน้นการให้ความรู้ความ เข้าใจแก่ประชาชนในท้องถิ่นให้ใส่ใจต่อ สุขภาพของตนเอง เป็นการป้องกันมิให้ เกิดโรคมากกว่าเน้นการบำบัดรักษา การบริการสาธารณสุขระดับ 1 หรือระดับปฐมภูมิ เป็นการบริการ ที่จัดขึ้นสำหรับประชาชนที่ป่วยด้วยโรค เบื้องต้น โดยอยู่ในขอบเขตการรักษา ของสถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล
การจัดระบบบริการสุขภาพในประเทศไทยการจัดระบบบริการสุขภาพในประเทศไทย การบริการสาธารณสุขระดับ 2 ระบบบริการระดับกลางหรือ ทุติยภูมิ หมายถึง ระบบบริการด้านสุขภาพที่จัดบริการ ทั้งส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมปัญหาที่คุกคามสุขภาพ รักษาพยาบาล และให้การ ฟื้นฟูผู้ป่วย ซึ่งมีความยุ่งยุ่งยากซับซ้อนใน เรื่องของเทคโนโลยีมากกว่าการบริการใน ระดับต้น โดยต้องอาศัยความรู้เทคโนโลยีและ บุคลากรเฉพาะด้าน เช่น โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลทั่วไป
การจัดระบบบริการสุขภาพในประเทศไทยการจัดระบบบริการสุขภาพในประเทศไทย การบริการสาธารณสุขระดับ 3 หรือระดับตติยภูมิ เป็นการบริการ ที่จัดขึ้นสำหรับประชาชนที่ป่วยด้วยโรค ซับซ้อน และต้องใช้เครื่องมือพิเศษใน การรักษาหรือใช้แพทย์เฉพาะทางในการ ตรวจวินิจฉัยโรค คือ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลมหาราช โรงพยาบาลเฉพาะ โรค รวมถึงโรงพยาบาลที่มีขีดความ สามารถในการรักษาสูง ได้แก่ โรงพยา- บาลมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลสังกัดกรุง เทพมหานคร โรงพยาบาลในสังกัดกองทัพต่างๆ
การจัดระบบบริการสุขภาพและความเชื่อมต่อของระบบบริการสุขภาพในประเทศไทยการจัดระบบบริการสุขภาพและความเชื่อมต่อของระบบบริการสุขภาพในประเทศไทย การ บริการ สาธารณสุขระดับ 3 การบริการสาธารณสุขระดับ 2 ระบบเชื่อมต่อ การบริการสาธารณสุขระดับ 1 การบริการสาธารณสุขมูลฐาน
การจัดระบบบริการสุขภาพในประเทศไทยการจัดระบบบริการสุขภาพในประเทศไทย ระบบบริการด้านสุขภาพรูปแบบอื่น 4. การบริการสุขภาพของเอกชน เป็นบริการที่ประชาชนสามารถเลือกเข้ารับ บริการได้ เช่น คลินิก โพลีคลินิก โรงพยา บาลเอกชน ร้านขายยา สถานออกกำลัง กาย สปา โดยการดำเนินการจะเน้นเชิงธุรกิจ 3. โครงการบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นบริการของรัฐที่จัดให้ประชาชนมีสิทธิ ได้รับบริการสาธารสุขที่มีมาตรฐานและมี ประสิทธิภาพ 1. ระบบบริการสุขภาพเฉพาะทาง หมายถึง ระบบริการด้านสุขภาพที่มุ่งกลุ่ม เป้าหมายเฉพาะ หรือรองรับการจัดการกับปัญหาเฉพาะเรื่องที่ต้องใช้องค์ความรู้ เทค โนโลยี ทรัพยากร ความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา เช่น ระบบบริการทางการแพทย์ ฉุกเฉิน ระบบบริการด้านการแพทย์โรคจิตและประสาท ระบบบริการสำหรับกลุ่มเป้า หมายเฉพาะโรคไต 2. ระบบบริการส่งต่อผู้ป่วย หมายถึง การส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่ มีเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ครบ และมีแพทย์เฉพาะทางในการรักษา โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยในการติด ต่อ เพื่อขอส่งต่อผู้ป่วยไปเข้ารับการรักษา พยาบาล
โครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพโครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพ สถานบริการสุขภาพทางการแพทย์และการสาธารณสุข • หมายถึง สถานที่ให้บริการด้านสุขภาพในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นการแก้ปัญหา • และความต้องการของประชาชนในเรื่องของสุขภาพอนามัย จุดมุ่งหมายของสถานบริการสุขภาพทางการแพทย์ ฯ 1. เพื่อให้ประชาชนมีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ ตลอดจน อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข 2. เพื่อให้ประชาชนปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ 3. เพื่อให้ประชาชนมีอายุยืนยาว 4. เพื่อให้ประชาชนพ้นจากอุปัทวันตรายต่างๆ เช่น ภัยจากสิ่งแวดล้อม ภัยจากอาหารหรือยาพิษ
โครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพโครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพ • สถานบริการสุขภาพในประเทศไทยนั้น มี 2 ประเภทคือ สถานบริการสุขภาพภาครัฐ และสถานบริการสถานสุขภาพภาคเอกชน สำหรับในภาครัฐนั้นสามารถ • จำแนกได้เป็น 2 ส่วน คือ 1. การจัดบริการสุขภาพในส่วนกลาง 2. การจัดบริการสุขภาพในส่วนภูมิภาค
โครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพโครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพ 1. การจัดบริการสุขภาพในส่วนกลาง เป็นการจัดบริการเพื่อให้การรักษา โดย ทั่วไปและเฉพาะโรค รักษาพยาบาลและฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วย ทำหน้าที่ฝึกอบรมบุคลากร ทางการแพทย์ตามสาขาพิเศษเฉพาะโรค ตลอดจนสนับสนุนทางวิชาการ วางแผน หน่วยงานที่รับผิดชอบ ดังนี้ 1. กระทรวงสาธารณสุข 2. กระทรวงกลาโหม 3. กระทรวงมหาดไทย 4. สังกัดมหาวิทยาลัย 5. กรุงเทพมหานคร 6. สภากาชาดไทย 7. กรมการแพทย์ 8. สถาบันสุขภาพจิต
โครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพโครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพ 2. การจัดบริการสุขภาพในส่วนภูมิภาค มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ ดังนี้ 1. ระดับจังหวัด ได้แก่ - โรงพยาบาลมหาราช - โรงพยาบาลศูนย์ - โรงพยาบาลทั่วไป 2. ระดับอำเภอ 3. ระดับตำบลและหมู่บ้าน - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล - ศูนย์สุขภาพชุมชน (ศสช.) - สถานีอนามัย - ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.)
โครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพโครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพ ระดับจังหวัด โรงพยาบาลมหาราช เป็นโรงพยาบาลที่มีจำนวนเตียงผู้ป่วย มากกว่า 1,000 เตียง มีหน้าที่ในการให้ บริการตรวจรักษาแก่ประชาชนทั่วไป และ โรคเฉพาะทาง เช่น โรคทางตา หู คอ จมูก ปาก เป็นโรคที่ต้องอาศัยแพทย์ที่มีความ เชี่ยวชาญพิเศษ ดังนั้น โรงพยาบาลมหา- ราช จึงมีขีดความสามารถในการให้บริการ สุขภาพอยู่ในระดับ 3
โครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพโครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพ ระดับจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ เป็นโรงพยาบาลที่มีจำนวนเตียงผู้ป่วย 500-1,000 เตียง มีหน้าที่ในการให้บริการ ตรวจรักษาแก่ประชาชนทั่วไปและโรคเฉพาะ ทาง เช่นเดียวกับโรงพยาบาลมหาราช แตก ต่างกันที่จำนวนบุคลากรและศักยภาพในการให้บริการน้อยกว่าโรงพยาบาลมหาราช จึงมี ขีดความสามารถในการให้บริการสุขภาพอยู่ ในระดับ 3 เช่นกัน
โครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพโครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพ ระดับจังหวัด โรงพยาบาลทั่วไป เป็นโรงพยาบาลที่มีจำนวนเตียงผู้ป่วย 120-500 เตียง มีมีหน้าที่คล้ายคลึงกับโรงพยาบาลศูนย์ แต่แตกต่างกันที่จำนวน บุคลากรและศักยภาพในการให้บริการน้อย กว่าโรงพยาบาลศูนย์ จึงมีขีดความสามารถ ในการให้บริการสุขภาพอยู่ในระดับ 2-3
โครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพโครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพ ระดับอำเภอ เป็นโรงพยาบาลที่มีจำนวนเตียง ผู้ป่วย 10-120 เตียง แต่ไม่เกิน150 เตียง มีหน้าที่ในการให้บริการตรวจ รักษาแก่ประชาชนในเขตอำเภอ หรือ ชุมชนที่รับผิดชอบ มีขีดความสามารถ ในการให้บริการสุขภาพอยู่ในระดับ 2
โครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพโครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพ ระดับตำบลและหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นสถานบริการสุขภาพที่เกิดจาก การยกระดับศักยภาพมาจากสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลส่ง เสริมสุขภาพตำบล มีขีดความสามารถใน การให้บริการสุขภาพอยู่ในระดับ 1-2 แต่มากกว่าศูนย์สุขภาพชุมชน และสถานีอนามัย
โครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพโครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพ ระดับตำบลและหมู่บ้าน ศูนย์สุขภาพชุมชน (ศสช.) เป็นสถานบริการสุขภาพที่เกิดจาก นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของ รัฐบาล มีบริการสุขภาพที่หลากหลายกว่า สถานีอนามัย โดยมีแนวนโยบายที่เน้น การจัดบริการแบบ “ใกล้บ้าน ใกล้ใจ” ศูนย์สุขภาพชุมชนมีขีดความสามารถ ในการให้บริการสุขภาพอยู่ในระดับ 1-2
โครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพโครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพ ระดับตำบลและหมู่บ้าน สถานีอนามัย เป็นสถานบริการสุขภาพระดับล่าง เน้นงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ และการ ป้องกันโรคเป็นหลัก สามารถให้การรักษา โรคง่ายๆ ที่ไม่มีความซับซ้อนมากนัก เช่น การอนามัยแม่และเด็ก การวางแผนครอบครัว การโภชนาการ การควบคุม และป้องกันโรคติดต่อ สถานีอนามัยมีขีดความสามารถในการให้บริการสุขภาพอยู่ ในระดับ 1
โครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพโครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพ ระดับตำบลและหมู่บ้าน ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) เป็นสถานบริการสุขภาพโดยประชาชนที่เป็นอาสาสมัครสาธารณสุข หรือ อสม. เน้นการตรวจคัดกรองและ การให้บริการส่งเสริมสุขภาพขั้นพื้นฐาน ตามขีดความสามารถของ อสม. ที่ได้รับ การฝึกอบรมมา
โครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพโครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพ การให้บริการโดยหน่วยงานเอกชน โรงพยาบาล คือ สถานพยาบาล ขนาดใหญ่ที่มีแพทย์ พยาบาล และเตียงจำนวนมาก คลินิกแพทย์ทั่วไปคือ คลินิก แพทย์ที่รับรักษาโรคทั่วไป และโดย ทั่วไปมักจะมีแพทย์ประจำเพียงคน เดียว โพลีคลินิก คือ คลินิกที่มีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญประจำมากกว่า 1 สาขา โดยมากจะไม่รับคนไข้ไว้ค้างคืน สถานพยาบาลหรือสถานผดุงครรภ์ คือ สถานพยาบาลที่ดำเนิน การโดยพยาบาลหรือผดุงครรภ์
โครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพโครงสร้างและบทบาทของสถานบริการสุขภาพ การให้บริการโดยหน่วยงานเอกชนที่สนับสนุนและสอดคล้องในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขตามนโยบายของประเทศ 2. สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรเอกชนสาธารณกุศล มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องการวางแผนครอบครัว ประชากรศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต จัดให้มีการบริการวางแผนครอบครัวโดยไม่คิดมูลค่า 1. สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน คือ ที่ดำเนินการเผยแพร่ อบรม บริการการ วางแผนครอบครัว การสาธารณสุข การ พัฒนา และการบรรเทาสาธารภัยชุมชน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 หน่วยงาน คือ - สนง. บริการวางแผนครอบครัวชุมชน - สนง. บริการวิทยากรและการพัฒนา ชุมชน - สนง. บรรเทาสาธารณภัยชุมชน - ศูนย์พัฒนาประชากรและชุมชนเอเชีย 3. สมาคมทำหมันแห่งประเทศไทย โดยมีจุด มุ่งหมายที่จะส่งเสริมการทำหมัน ทั้งในด้านเทคนิค วิธีการ และด้านการศึกษาค้นคว้า และวิจัยเกี่ยวกับการทำหมันทั้งหญิงและชาย โดย ร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐและเอกชน
แนวทางการเลือกใช้บริการทางสุขภาพแนวทางการเลือกใช้บริการทางสุขภาพ เลือกใช้บริการทางสุขภาพได้อย่างถูกต้อง เลือกใช้บริการทางสุขภาพจากหน่วยงานบริการทางสุขภาพที่ถูกต้อง พิจารณาปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ในกรณีที่มีหลักประกันด้านสุขภาพ ตัดสินใจในการเลือกใช้บริการ
ลักษณะของปัญหาการใช้บริการทางสุขภาพลักษณะของปัญหาการใช้บริการทางสุขภาพ 1. การเลือกใช้บริการทางสุขภาพไม่ถูกต้อง เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้สถานบริการต่างๆ ให้เหมาะสมกับความต้องการ เช่น การนิยมซื้อยามารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร 2. การปฏิบัติตนในการใช้บริการทางสุขภาพไม่ถูกต้อง เช่น ไม่ให้ความร่วม มือในการรักษาพยาบาล เมื่อแพทย์นัดหมายมาตรวจรักษาก็ไม่มาตามนัด หรือไม่ ปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ในการรักษา การรับประทานยาผิดขนาด รับประทานยาไม่ ตรงตามเวลาที่กำหนด 3. การไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสถานบริการ ประชาชนมักไม่ทราบว่า สถาน บริการทางสุขภาพทางการแพทย์นั้น มีบริการด้านใดบ้าง จึงทำให้เสียโอกาสในการใช้ บริการจากสถานบริการสุขภาพต่างๆ เหล่านั้น 4. การบริการด้านการแพทย์และการสาธารณสุขไม่เพียงพอกับความจำเป็น
การสาธารณสุขมูลฐาน การสาธารณสุขมูลฐาน หมายถึง วิธีการทางสาธารณสุขที่เพิ่มขึ้นจากระบบบริการสาธารณสุขของรัฐ ที่ดำเนินการโดยประชาชน ตั้งแต่เข้าร่วมวางแผนการดำเนินการ จนถึงการประเมินผล และรัฐให้การสนับสนุนด้านวิชาการ ข้อมูลข่าวสาร การฝึกอบรม และระบบส่งต่อผู้ป่วย แต่ยังคงการให้บริการครอบคลุมองค์ประกอบการบริการสุขภาพทั้ง 4 ด้าน คือ - ด้านการส่งเสริมสุขภาพ - ด้านการป้องกันและควบคุมโรค - ด้านการรักษาพยาบาล - ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ
การสาธารณสุขมูลฐาน องค์ประกอบการสาธารณสุขมูลฐาน งานสุขศึกษา งานโภชนาการ การรักษาพยาบาล การจัดหายาที่จำเป็น การสุขาภิบาลและจัดหาน้ำสะอาด การวางแผนครอบครัวและการอนามัยแม่และเด็ก งานควบคุมป้องกันโรคในท้องถิ่น
การสาธารณสุขมูลฐาน องค์ประกอบการสาธารณสุขมูลฐาน การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การส่งเสริมสุขภาพภายในช่องปาก การส่งเสริมสุขภาพจิต การควบคุมป้องกันโรคเอดส์ การป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุ อุบัติภัย และโรคไม่ติดต่อ การคุ้มครองผู้บริโภค การป้องกันและแก้ไขมลภาวะสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ
องค์ประกอบการสาธารณสุขมูลฐานองค์ประกอบการสาธารณสุขมูลฐาน - การแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขท้องถิ่น - เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรค - การส่งเสริมสุขภาพอนามัย งานสุขศึกษา งานโภชนาการ - สำรวจและแก้ไขปัญหาด้านโภชนาการ - การให้ความรู้ด้านโภชนาการ - ส่งเสริมด้านการเกษตรในครัวเรือนเพื่อ นำมาประกอบอาหาร
องค์ประกอบการสาธารณสุขมูลฐานองค์ประกอบการสาธารณสุขมูลฐาน - อาสาสมัครและเจ้าหน้าที่จะให้การ รักษาพยาบาล - จัดหาเวชภัณฑ์สำหรับหมู่บ้าน - ส่งต่อผู้ป่วยถ้าเกินความสามารถ ของอาสาสมัคร การรักษาพยาบาล การจัดหายาที่จำเป็น ดำเนินการจัดตั้งกองทุนยาและเวชภัณฑ์ ประจำหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนสามารถ ซื้อได้ตลอดเวลา สะดวก รวดเร็ว และ ราคาถูก
องค์ประกอบการสาธารณสุขมูลฐานองค์ประกอบการสาธารณสุขมูลฐาน - ชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงความสำคัญ ของการจัดหาน้ำสะอาดไว้ดื่ม - การสร้างส้วม การกำจัดขยะมูลฝอยและ การดูแลบ้านเรือนให้สะอาด - กำหนดเป้าหมายเพื่อพัฒนาการสุขาภิบาล ในหมู่บ้าน การสุขาภิบาลและจัดหาน้ำสะอาด การวางแผนครอบครัวและการอนามัยแม่และเด็ก - ชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงความสำคัญของการวางแผนครอบครัว - ประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการจัดหายาเม็ด อุปกรณ์การคุมกำเนิด - ชี้แจงให้เห็นความสำคัญของการดูแลก่อนคลอด หลังคลอด ตรวจครรภ์ นัดหมาย เด็กมารับการฉีดวัคซีน รวมทั้งช่วยเหลือในกรณีคลอดฉุกเฉิน
องค์ประกอบการสาธารณสุขมูลฐานองค์ประกอบการสาธารณสุขมูลฐาน ชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงโรคที่เป็นปัญหาในท้องถิ่นของตน ความจำเป็นในการ ป้องกันรักษา รวมทั้งการให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิด โรคระบาด งานควบคุมป้องกันโรคในท้องถิ่น การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค - ชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงความสำคัญ ของการให้วัคซีนป้องกันโรค โดยเฉพาะ กับเด็ก - ประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใน การออกไปให้บริการประชาชน
องค์ประกอบการสาธารณสุขมูลฐานองค์ประกอบการสาธารณสุขมูลฐาน - ให้ความรู้และล่งเสริมการดูแลรักษา สุขภาพภายในช่องปากและฟัน - นัดหมายประชาชนมารับบริการจาก หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ การส่งเสริมสุขภาพภายในช่องปาก การส่งเสริมสุขภาพจิต - ชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงวิธีการ ส่งเสริมสุขภาพจิต - การค้นหาผู้ป่วย เพื่อให้คำแนะนำที่ ถูกต้อง
องค์ประกอบการสาธารณสุขมูลฐานองค์ประกอบการสาธารณสุขมูลฐาน - ชี้แจงให้ประชาชนทราบและเข้าใจในการ ปฏิบัติตนที่จะหลีกเลี่ยงการติดโรคเอดส์ - การสร้างและให้กำลังใจแก่ผู้ติดเชื้อในพื้น ที่ที่มีปัญหาโรคเอดส์ การควบคุมป้องกันโรคเอดส์ การป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุ อุบัติภัย และโรคไม่ติดต่อ - ให้บริการตรวจร่างกาย เพื่อค้นหาอาการของโรคเบื้องต้นที่ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) - การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลป้องกันและรักษาโรคไม่ติดต่ออย่างง่ายๆ - การให้ความรู้การป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติภัยในครัวเรือน การจราจร ภัยธรรมชาติ
องค์ประกอบการสาธารณสุขมูลฐานองค์ประกอบการสาธารณสุขมูลฐาน - ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับความรู้เบื้องต้น ตระหนักและสนใจต่อความปลอดภัยของ การบริโภค - ส่งเสริมให้ประชาชนสามารถดูแลหรือคุ้ม ครองตนเอง และสมาชิกในครอบครัวให้ ได้รับความปลอดภัยจากการบริโภคอาหาร และยา เครื่องสำอาง และวัตถุมีพิษ การคุ้มครองผู้บริโภค
องค์ประกอบการสาธารณสุขมูลฐานองค์ประกอบการสาธารณสุขมูลฐาน - ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการอนามัยสิ่งแวดล้อม - ส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของสภาวะสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อมนุษย์ และมีพฤติกรรมต่อสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง การป้องกันและแก้ไขมลภาวะสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ
หลักประกันสุขภาพ หลักประกันสุขภาพ การประกันสุขภาพ หมายถึง การทำสัญญาระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายผู้รับประกันภัย กับฝ่ายผู้เอาประกันภัย โดยผู้รับประกันภัยตกลงจะชดใช้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและอื่นๆ ให้กับผู้เอาประกันภัย เมื่อ ผู้เอาประกันภัยเจ็บป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บหรืออุบัติเหตุ สามารถจำแนกได้เป็น 4 รูปแบบ ดังนี้ 1. สวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ 2. หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 3. ระบบประกันสังคม 4. การประกันสุขภาพภาคเอกชน
หลักประกันสุขภาพ 1. สวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ เป็นสิทธิประโยชน์และความคุ้มครอง ด้านการรักษาพยาบาลแก่ข้าราชการ ลูกจ้าง ประจำ ข้าราชการบำนาญและบุคคลในครอบ ครัว (คู่สมรส บิดามารดาของตน และบุตรที่ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 3 คน) ผู้มีสิทธิสามารถ รับบริการได้ที่โรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 2. หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2544 โดยรัฐบาลมี นโยบาย เพื่อให้ประชาชนมีหลักประกัน สุขภาพทุกคน ซึ่งเริ่มจากจังหวัดนำร่อง 6 จังหวัด จนครบทุกจังหวัดทั้งประเทศ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2545 ประชาชนที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการ จะต้องเป็นผู้ที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและ ประกันสังคม ประชาชนจะได้รับ “บัตรทอง” ต่อมายกเลิกให้ใช้บัตรประชาชนแทนได้ โดยรับบริการได้ทุกสถานบริการทั้งภาครัฐและเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ
หลักประกันสุขภาพ 3. ระบบประกันสังคม เป็นสิทธิประกันสุขภาพแบบบังคับให้แก่ ลูกจ้างในภาคเอกชนตาม พรบ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 กำหนดให้สถาน ประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1คนขึ้นไป ต้องเป็นผู้ประกันตามกฎหมายนี้ โดยนายจ้างและลูกจ้างจะต้องจ่ายเงิน เข้าสมทบกองทุนประกันสังคมร้อยละ 1.5 ของเงินเดือน และรัฐบาลจะจ่าย สมทบอีกร้อยละ1.5 เช่นกัน รวมเป็น ร้อยละ 4.5 โดยรับบริการได้ทุกสถานบริการ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ และผู้ประกันตนสามารถเลือกโรง พยาบาลในการเข้ารับบริการสุขภาพได้ตามความพึงพอใจ
หลักประกันสุขภาพ 4. การประกันสุขภาพภาคเอกชน เป็นการประกันสุขภาพของกลุ่มผู้มี ฐานะมีรายได้สูง มีกำลังทรัพย์พอที่จะ ซื้อประกันสุขภาพกับบริษัทประกันของ เอกชน ขอบเขตการให้บริการสุขภาพ เป็นไปตามสัญญากับบริษัทที่รับประกัน