250 likes | 450 Views
การประมวลผลข้อมูลดาวเทียม SMMS เพื่อใช้ในการเฝ้าระวังภัยดินถล่ม. โดย นายสัณห์ อุทยารัตน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. บทนำเสนอ . ปัจจัยและแนวทางในการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อประเมินภัยดินถล่ม ศักยภาพของดาวเทียม SMMS ในการประเมินปัจจัยดินถล่ม
E N D
การประมวลผลข้อมูลดาวเทียม SMMS เพื่อใช้ในการเฝ้าระวังภัยดินถล่ม โดย นายสัณห์ อุทยารัตน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทนำเสนอ • ปัจจัยและแนวทางในการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อประเมินภัยดินถล่ม • ศักยภาพของดาวเทียม SMMS ในการประเมินปัจจัยดินถล่ม • แนวทางการประยุกต์ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อประเมินปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดดินถล่ม • สรุป • งานในอนาคต
ปัจจัยและแนวทางในการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อประเมินภัยดินถล่มปัจจัยและแนวทางในการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อประเมินภัยดินถล่ม • ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการเกิดดินถล่ม มี 6 ชนิด ได้แก่ • ชนิดของหินและดิน (Rock and Soil Type) • ความสูงและความชัน (Elevation and Slope) • สิ่งปกคลุมดิน (Land Use and Cover) • ปริมาณน้ำฝน (Rain Fall) • ทำการคัดเลือกเพียง 3 ปัจจัย เป็นตัวแปรที่ไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก นั้นคือ ปริมาณน้ำฝน สิ่งปกคลุมดิน และความสูง
ศักยภาพของดาวเทียม SMMS ดาวเทียม SMMS ภาพถ่ายดาวเทียมจาก กล้อง CCD ภาพถ่ายดาวเทียมจากกล้อง Hyper-Spectrum มีวงโคจรลักษณะ Sun-Synchronous ที่ความสูง 649 กิโลเมตร กล้อง CCD 4 แถบความถี่ (NIR, Red, Green, Blue) ที่ความละเอียด 30 เมตรต่อจุด ความกว้างของภาพ 711 กิโลเมตร กล้อง Hyper-Spectrum (HSI) มีแถบความถี่ 115 ความถี่ ที่ความละเอียด 100 เมตรต่อจุด ความกว้างของภาพ 51 กิโลเมตร
แนวทางการประยุกต์ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อประเมินปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดดินถล่ม :สิ่งปกคลุมดิน • ในการหาสิ่งปกคลุมดินด้วยภาพถ่ายดาวเทียมจะมีขั้นตอนดังนี้คือ • หาค่าดัชนีพืชพรรณ (NDVI) จากภาพถ่ายดาวเทียม (ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม SMMS วันที่ 19 มกราคม 2553) • ทำการแก้ไขภาพจาก Ground Control Point • ทำการจัดกลุ่มภาพด้วยวิธีการ ISODATA • สำรวจพื้นที่ เพื่อตรวจสอบข้อมูล พร้อมทั้งวัดค่า Spectrum Signature (สำรวจเมื่อวันที่ 30-31 มีนาคม 2553) • วิเคราะห์ประเมินผล
การจัดกลุ่มภาพถ่าย CCD ของดาวเทียม SMMS ภาพถ่ายดาวเทียม บริเวณจังหวัดอุตรดิษถ์ ด้วยวิธีการผสมสีจริง ภาพถ่ายดาวเทียม บริเวณจังหวัดอุตรดิษถ์ ด้วยวิธีการจัดกลุ่มแบบ ISODATA ภาพถ่ายดาวเทียม บริเวณจังหวัดอุตรดิษถ์ ด้วยวิธีการผสมสีเท็จ หลังจากแก้ไข GCP
การสำรวจพื้นที่ และวัดค่า Spectrum ของพืชพรรณต่างๆ ที่พบบริเวณพื้นที่ต้นแบบ วันที่ 30 มีนาคม 2553 วันที่ 31 มีนาคม 2553 • ตำแหน่งที่ 1 บริเวณสวนผลไม้ ในอำเภอแม่พูน จังหวัดอุตรดิตถ์ • ตำแหน่งที่ 2 แนวดินถล่ม ในอำเภอแม่พูน จังหวัดอุตรดิตถ์ • ตำแหน่งที่ 3 หินบริเวณที่เกิดดินถล่ม ในอำเภอแม่พูน จังหวัดอุตรดิตถ์ • ตำแหน่งที่ 4 ดินทรายที่ถล่มลงมาอยู่บริเวณหมู่บ้านแม่พูน ในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ • ตำแหน่งที่ 5 ดินบริเวณที่เคยเกิดการสไลด์ ในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ • ตำแหน่งที่ 6 ดินในแปลงปลูกหัวหอม ในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ • ตำแหน่งที่ 7 แปลงปลูกหัวหอม ในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ • ตำแหน่งที่ 8 ป่าไผ่ ในอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ • ตำแหน่งที่ 9 หินทราย ในอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ • ตำแหน่งที่ 10 แนวดินสไลด์มีต้นก๋ง ในอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ • ตำแหน่งที่ 11 ป่าสัก ในอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ • ตำแหน่งที่ 12 หินแกรนิตผุ ในอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
แนวทางการประยุกต์ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อประเมินปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดดินถล่ม :สิ่งปกคลุมดิน • ผลลัพธ์จากการจัดกลุ่มแบบ ISODATA จะเกิดพื้นที่ทับซ้อนกันดังนี้ • พื้นที่สีฟ้า มีในตำแหน่งที่ 1, 6, 7, 8, 9, และ 10 • พื้นที่สีส้ม มีในตำแหน่งที่ 2, 3, 4, 11 และ 12 • พื้นที่สีเหลือง มีเฉพาะตำแหน่งที่ 5 เท่านั้น • เห็นได้ว่าภาพถ่ายดาวเทียมแบบ CCD ยังไม่สามารถแยกแยะพืชพรรณได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นต้องวัดค่า Spectrum เพื่อนำไปวิเคราะห์หาข้อผิดพลาด
ภาพบรรยากาศในการสำรวจพื้นที่ต้นแบบภาพบรรยากาศในการสำรวจพื้นที่ต้นแบบ การสำรวจ ณ จุดที่ 8 ป่าไผ่ บริเวณอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ค่า Intensity หรือค่าการสะท้อนของวัตถุ ที่วัดได้จาก Spectrometer การสำรวจ ณ จุดที่ 7 แปลงปลูกหัวหอม บริเวณอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
ค่า Spectrum Signature ที่ได้ (อ้างอิงกับกระดาษลูกฟูก) จุดที่ 8 จุดที่ 7
ค่า Spectrum Signature ที่ได้ (อ้างอิงกับกระดาษลูกฟูก) ผลที่ได้ก็คือลายเซ็นต์เชิงคลื่นของพืชพรรณ มีค่าในแต่ละตำแหน่งใกล้เคียงกัน ทำให้ค่าที่ได้จากการจัดกลุ่มแบบ ISODATA ใกล้เคียงกัน สาเหตุที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 1. การประมวลผลก่อนจัดกลุ่มยังไม่ดีพอ ในประเด็นเรื่องค่า Digital Number (ที่ได้จากภาพถ่ายดาวเทียม Level 2) ต้องมีการปรับค่าไปใช้เป็นค่า Reflectance เพื่อให้สามารถสะท้อนค่าความเป็นจริงให้ได้มากที่สุด 2. การใช้จุดอ้างอิง ในการเปรียบเทียบค่า Spectrum อาจจะเกิดความคลาดเคลื่อน ซึ่งประเมินว่ามีความจำเป็นในการจัดหาอุปกรณ์มาตรฐานที่ใช้สำหรับการอ้างอิง
การประเมินสิ่งปกคลุมดินการประเมินสิ่งปกคลุมดิน ใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม ณ วันที่ 3 มีนาคม 2553
การประเมินสิ่งปกคลุมดิน (บริเวณอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ • เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลในพื้นที่มาใช้ Training ดังนั้นผลลัพธ์ที่ได้ในครั้งนี้จึยังมีความผิดพลาด
การประเมินสิ่งปกคลุมดินด้วย Hyper Spectrum • เป็นการประเมินสิ่งปกคลุมดินด้วยการใช้ภาพถ่าย HSI • สามารถแยกแยะวัตถุได้ดีกว่า (มีความละเอียดในการถ่ายภาพที่ดีกว่า) • สามารถแยกแยะพืชเชิงเดี่ยว หรือเชิงผสมได้ เช่นแยกแยะยางพารา อ้อย สัปปะรด หรือมันสัมปะหลังได้ • ด้วยการสร้างข้อมูล Spectrum Library จากการสำรวจผสมกับข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม
การประเมินสิ่งปกคลุมดินด้วย Hyper Spectrum
แนวทางการประยุกต์ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อประเมินปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดดินถล่ม :ความสูง ขั้นตอนการประยุกต์ใช้ความสูงกับภาพถ่ายดาวเทียม ใช้ข้อมูล G-DEM ที่มีความละเอียดเทียบเท่ากับภาพถ่ายดาวเทียม 30 เมตร และเป็นมาตรฐานที่ยอมรับได้ 1 2 3 นำภาพถ่าย CCD ดาวเทียม SMMS ในพื้นที่ต้นแบบ (วันที่ 19 มกราคม 2553) ใช้ซอฟต์แวร์ Global Mapperนำข้อมูลมาซ้อนทับกัน
แนวทางการประยุกต์ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อประเมินปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดดินถล่ม :ความสูง (จังหวัดอุตรดิตถ์) ลักษณะความสูง จะอยู่ในช่วง 300-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล และเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำ
การประเมินความสูง (ในพื้นที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่) ใช้ G-DEM ขนาดความละเอียด 30 เมตร มาประยุกต์ใช้ร่วมกับภาพถ่ายดาวเทียม SMMS ด้วยซอฟต์แวร์ Global Mapper ลักษณะความสูงจะอยู่ในช่วง 300-2,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล และลักษณะของพื้นที่เป็นหุบเขา
สรุป • การประเมินสิ่งปกคลุมดิน พบว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการใช้การแยกแยะแบบ Supervised เพื่อให้มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น • ต้องมีการใช้ข้อมูล Ground Truth จากหน่วยงานอื่นๆ เข้าร่วมในการประเมินสิ่งปกคลุมดิน • การประเมินค่าความสูง เป็นการดำเนินการโดยใช้ข้อมูล G-DEM ซึ่งมีความเหมาะสมกับข้อมูลที่ใช้งาน • ทำให้สามารถระบุความสูงของพื้นที่ และลักษณะภูมิประเทศในเบื้องต้น
งานในอนาคต • เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการประมวลผลภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อใช้ในภาวะภัยดินถล่ม คณะผู้วิจัยมีแผนการณ์ที่จะ • วิเคราะห์และประเมินความชุ่มชื้นในดิน ด้วยภาพถ่ายดาวเทียมแบบ HSI • วิเคราะห์ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อภัยดินถล่ม ได้แก่ ความลาดชัน ความสูง และชนิดของดิน ประกอบกับภาพถ่ายดาวเทียมแบบ CCD และ HSI
การประเมินปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดดินถล่ม :ความชุ่มชื้นในดิน ด้วยภาพถ่าย HSI บนดาวเทียม SMMS กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างย่านความถี่และความชุ่มชื้นในดินที่ระยะความลึก (ที่ระยะ 30และ 60 เซนติเมตร)
สามารถดาว์โหลดหรือติดตามความเคลื่อนไหวของดาวเทียม SMMS ได้ที่ www.facebook.com/SMMSThailand
Thank You for Your Attention Question??