1.29k likes | 1.91k Views
SPSS for Windows. รจนา เผือกจันทึก งานวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
E N D
SPSS for Windows รจนา เผือกจันทึก งานวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ข้อมูล (Data)คือ ลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ที่ รวบรวม เพื่อทำการศึกษา วิเคราะห์ และหาข้อสรุป ในขั้นตอนวิเคราะห์ข้อมูล การเลือกสถิติวิเคราะห์ให้เหมาะสม จะขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล และมาตรการวัดของข้อมูล
ลักษณะข้อมูล 1. ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative data)เป็นลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งต่าง ๆ ที่รวบรวมได้ในรูปของตัวเลขโดยตรง เช่น อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก ราคา ฯลฯ 2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative data)เป็นลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่สามารถรวบรวมออกมาในรูปของตัวเลข แต่เป็นข้อมูลที่บอกคุณสมบัติของสิ่งนั้น เช่น เพศ(ช/ญ) การเกิดโรค(y/n) ฯลฯ
มาตรการวัดหรือสเกลการวัดข้อมูล 1. สเกลนามบัญญัติ (Nominal scale)เป็นการวัดที่หยาบที่สุด โดยจำแนกประเภทของสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เห็นความแตกต่างเท่านั้น ไม่มีความหมายในเชิงปริมาณ เช่นจำแนกคนตามเพศกำหนดเป็นชาย-หญิง หรือจำแนกตามอาชีพกำหนดเป็นแม่บ้าน-ข้าราชการ-ค้าขาย-รับจ้าง-เกษตรกร เป็นต้น
2. สเกลเรียงลำดับ (Ordinal scale)เป็นสเกลการวัดเช่นเดียวกับสเกลนามบัญญัติ คือไม่มีความหมายในเชิงปริมาณ แต่สามารถเปรียบเทียบหรือบอกความแตกต่างภายในกลุ่มได้ กล่าวคือ เป็นการจัดเรียงอันดับภายในกลุ่ม ได้ว่าสูงกว่า ดีกว่า หรือด้อยกว่าเช่น การจัดอันดับการแข่งขัน (อันดับที่ 1 อันดับที่ 2 อันดับที่ 3) หรือทัศนคติ (ชอบ/พึงพอใจมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด)
3. สเกลอันตรภาค (Interval scale)ข้อมูลอยู่ในรูปตัวเลขหรือเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ เช่น คะแนนสอบ อุณหภูมิ ซึ่งเป็นการวัดข้อมูลที่สามารถบอกได้ว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด และศูนย์ (0) ของข้อมูลชนิดนี้เป็นศูนย์สมมติ ไม่ใช่ศูนย์แท้ (Non - Absolute Zero)เช่น ที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส ไม่ได้หมายความว่า ณ จุดนั้นไม่มีความร้อนอยู่เลย หรือนักศึกษาสอบได้ 0 คะแนน ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีความรู้อยู่เลย แต่เป็นเพียงตัวเลขที่บอกว่าเขาทำข้อสอบไม่ได้เท่านั้น
4. สเกลอัตราส่วน (Ratio scale)ข้อมูลอยู่ในรูปตัวเลขหรือเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ โดยเป็นการวัดในระดับสูงสุด ที่มีศูนย์แท้ (Absolute Zero)ซึ่งหมายถึง ไม่มีอะไรเลย เช่น ความยาว น้ำหนัก ส่วนสูง ระยะทาง เวลา เป็นต้น
ข้อมูลเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงปริมาณ สเกลนามบัญญัติ Nominal Scale สเกลเรียงลำดับ Ordinal Scale DATA สเกลอันตรภาค Interval Scale สเกลอัตราส่วน Ratio Scale
การใช้โปรแกรม SPSS/FW เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล • การเข้าสู่โปรแกรม SPSS/FW การสร้างไฟล์ข้อมูลและการแก้ไขข้อมูลในไฟล์ 1. คำสั่งบนหน้าต่างของ SPSS/FW ใน Data Editor Window ในหน้าต่างของ Data Editor Window มีเมนูให้เลือกทั้งหมด 10 เมนู ตามจุดประสงค์ของการใช้งาน ดังนี้ • File ใช้เปิด/ปิดหน้าต่างประเภทต่างๆ ใช้อ่านแฟ้มข้อมูล บันทึกข้อมูล พิมพ์ข้อมูลออกทางเครื่องพิมพ์ และเลิกการใช้งานโปรแกรม • Edit ใช้ในการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลโดยการย้าย คัดลอก ค้นหา และแทนที่ข้อมูลภายในหน้าต่าง ต่างๆ • View ใช้แสดง/ซ่อน Status Bar หรือ Toolbars ใช้จัดสถานะ และรูปแบบการแสดงการเปลี่ยนแปลง/เลือกลักษณะแบบอักษรหรือตัวเลข กำหนดให้มีเส้นคั่นระหว่าง cell Data Editor Window สั่งให้แสดงหน้าต่างตัวแปรหรือหน้าต่างข้อมูล
Data ใช้ดำเนินงานกับข้อมูล เช่น การสร้าง แก้ไข เรียงลำดับข้อมูล • Transform ใช้ในการสร้างตัวแปรเพิ่ม หรือจัดค่าตัวแปรใหม่ • Analyze ใช้เรียกคำสั่งในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ • Graphs ใช้ในการสร้างกราฟ หรือชาร์ทรูปแบบต่างๆ • Utilities ใช้ในการกำหนดตัวแปร กลุ่มตัวแปร หรือเรียกใช้กลุ่มตัวแปรเหล่านั้น • Window ใช้ในการจัดเรียงหน้าต่างในรูปแบบต่างๆ การเลือกแสดงสถานะต่างๆ และการเลือกหน้าต่างใช้งานปัจจุบัน • Help เป็นคำอธิบายช่วยเหลือในการใช้โปรแกรมหรือรูปแบบคำสั่ง
2. การสร้างไฟล์ข้อมูล • ในการเตรียมไฟล์ข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์โดยโปรแกรม SPSS/FW สามารถทำได้ 2 วิธี คือ • เตรียมไฟล์ข้อมูลโดยตรงจากโปรแกรม SPSS/FW • File/Open/Data… • เตรียมไฟล์ข้อมูลจากไฟล์อื่นๆ เช่น Excel, dBase ฯลฯ แล้วใช้ SPSS/FW เปิดอ่านข้อมูลจากไฟล์ที่ได้บันทึกมาแล้ว โดยใช้คำสั่ง • แล้วเลือกชื่อไฟล์และชนิดของไฟล์ที่ต้องการเปิดดู File/Open/Data
เมื่อเข้าสู่โปรแกรม SPSS for Windows แล้ว click ที่ Variable View เพื่อกำหนดสิ่งต่าง ๆ ในโปรแกรม การจัดทำไฟล์ข้อมูลในโปรแกรม SPSS for Windows
1. การกำหนดชื่อตัวแปร (Variable Lables)ควรตั้งชื่อตัวแปรที่สอดคล้องกับความหมายของของ ตัวแปรนั้น ๆ เช่น เพศ ควรเป็น sex, อายุ ควรเป็น age ฯ
กฎการตั้งชื่อตัวแปร 1. ความยาวของชื่อตัวแปรไม่เกิน 8 ตัวอักษร2. เริ่มต้นด้วยตัวอักษร ส่วนอื่น ๆ เป็นอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์พิเศษได้3. ชื่อตัวแปรต้องไม่จบด้วยจุด4. ห้ามใช้สัญลักษณ์พิเศษต่อไปนี้ในการตั้งชื่อ : ? . *
5. ไม่ใช้ชื่อซ้ำกันในแฟ้มข้อมูลเดียวกัน6. อักษรตัวเล็กหรือใหญ่จะถือเป็นตัวเดียวกัน7. ห้ามตั้งชื่อตัวแปรตรงกับคำต่อไปนี้ All, NE, EQ, TO, LE, BY, OR, GT, AND, NOT, GE, WITH
2. การกำหนดชนิดของตัวแปร (Type) เมื่อตั้งชื่อตัวแปรแล้ว อาจจะต้องกำหนดชนิดของ ตัวแปร หากไม่กำหนดโปรแกรมได้กำหนดเป็นแบบชนิดที่เป็นตัวเลข (Numerics) ไว้ให้ก่อนแล้ว
3. การกำหนดความกว้างของตัวแปร (Width)สามารถเลือกความกว้างของคอลัมน์ (Column) ถ้าข้อมูลเป็นตัวเลขให้นับรวมเครื่องหมาย + - , .และจำนวนหลักตัวเลขหลังจุดทศนิยม เช่น ข้อมูลให้ค่าเป็น 1,500.50 ในที่นี้ความกว้างควรจะกำหนดมากกว่าหรือเท่ากับ8
4. การกำหนดตัวเลขหลังทศนิยม (Decimals)สามารถกำหนดทศนิยมได้ โดยทั่วไปโปรแกรมจะกำหนดเป็น 2 ตำแหน่งไว้ก่อนแล้ว แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ 5. การกำหนดฉลากของตัวแปร (Variable Labels) เป็นการอธิบายความหมายของตัวแปร เป็นการขยายชื่อตัวแปรให้ละเอียดยิ่งขึ้น ถ้าชื่อตัวแปรที่ตั้งสื่อความหมายชัดเจนแล้ว ไม่จำเป็นต้องกำหนดก็ได้
6. การกำหนดค่าของตัวแปร (Value Lables)เป็นการระบุค่า/รหัสที่เป็นไปได้ของตัวแปร ตามคู่มือลงรหัสที่ สร้างขึ้น 7. การกำหนดค่าข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ (Missing Value)เป็นค่าที่ผู้ใช้ไม่สนใจนำมาใช้ในกระบวนการวิเคราะห์ ซึ่งสามารถกำหนดให้เป็นค่าอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากค่าที่เป็นไปได้ของตัวแปร
ค่า Missing Value แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 7.1 System-missing value เป็นค่าไม่สมบูรณ์ กรณีที่ใน cell ของแฟ้มข้อมูลไม่มีค่าข้อมูลอยู่ หรือเป็น cell ว่าง โปรแกรมจะให้ค่าเป็นจุด (.) 7.2 User-missing value เป็นค่าที่ไม่สมบูรณ์ที่ผู้ใช้กำหนดขึ้นเอง
8. การกำหนดการจัดวางข้อมูล (Column Format)ผู้ใช้สามารถกำหนดความกว้างของข้อมูลได้ หรือความกว้างในคอลัมน์ (Column) ตามความต้องการ โดยทั่วไปเครื่องจะตั้งไว้ 8 ตัวอักษร 9. การกำหนดการวางค่าข้อมูล (Align)กำหนดให้วางค่าข้อมูลไว้ ริมซ้าย ขวา หรือ กลาง คอลัมน์ก็ได้
10. การกำหนดระดับการวัด (Measure) สามารถกำหนดได้ 3 ระดับ คือ 1. Scaleหมายถึง ค่าของข้อมูลชนิดที่มีค่าวัดเป็นตัวเลข เป็นสเกลอันตรภาค (Interval Scale) หรือสเกล อัตราส่วน (Ratio Scale) 2. Ordinalหมายถึง ค่าของข้อมูลชนิดที่เป็นสเกล เรียงลำดับ (Ordinal Scale) 3. Nominalหมายถึง ค่าของข้อมูลชนิดที่เป็นกลุ่ม หรือ สเกลนามบัญญัติ (Nominal Scale)
การบันทึกแฟ้มข้อมูล • สามารถบันทึกเป็น 2 รูปแบบ คือ • บันทึกในแฟ้มใหม่ File/Save as… • บันทึกในแฟ้มเดิม File/Save…
การปรับปรุงแก้ไขข้อมูลการปรับปรุงแก้ไขข้อมูล
1. การแก้ไขค่าข้อมูล - คลิกเลือก cell ที่ต้องการแก้ไข - พิมพ์ค่าที่ต้องการแก้ไขใน cell นั้น ๆ - กด Enter 2. การลบข้อมูล (ลบ case) - คลิกที่หมายเลข case ด้านซ้ายสุดของแถวนั้น - ใช้เมนูคำสั่ง Edit / Clear หรือ กด Delete
3. การลบตัวแปร - คลิกที่ชื่อตัวแปร ตรงหัว Column - ใช้เมนูคำสั่ง Edit / Clear หรือ กด Delete 4. การคัดลอกข้อมูล - ทำการ highlight ข้อมูลที่ต้องการคัดลอก แล้วใช้คำสั่ง Edit / copy… หรือ กด Ctrl + C - เลือกตำแหน่งที่ต้องการจะวางข้อมูลที่คัดลอก แล้วใช้คำสั่ง Edit / paste… หรือ กด Ctrl + V
5. การเพิ่มตัวแปร - การเพิ่มตัวแปรต่อจากตัวแปรสุดท้าย เป็นการเพิ่มชื่อตัวแปรต่อจากคอลัมน์สุดท้ายที่มีอยู่ โดยดับบิลคลิก cell ในหัวคอลัมน์ถัดจากคอลัมน์สุดท้าย แล้วตั้งชื่อตัวแปรเพิ่มใหม่ - การแทรกตัวแปรใหม่ ให้คลิกที่ cell ในคอลัมน์ที่ต้องการแทรกตัวแปร เช่น ต้องการแทรกที่ตัวแปรใหม่ที่แทนตัวแปรที่ 3 ให้คลิกที่ cell ของตัวแปรที่ 3 แล้วใช้คำสั่ง Data / Insert variable…
6. การเพิ่ม case ข้อมูล สามารถพิมพ์ต่อได้ โดยคลิกที่ cell สุดท้ายแล้วพิมพ์ข้อมูลได้เลย แต่ถ้าหากต้องการเพิ่ม case โดยแทรกใน cell ใด ๆ สามารถใช้คำสั่ง Data / Insert case…
การปรับเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลโดยใช้คำสั่ง Transform
7.1 คำสั่ง Compute เป็นคำสั่งเพื่อสร้างตัวแปรใหม่ โดยการคำนวณด้วยนิพจน์ทางคณิตศาสตร์ หรือนำค่าใหม่ไปไว้ในตัวแปรเดิม
ปฏิบัติการ 1จากไฟล์ชื่อ “Test_spss.sav”ให้หาคะแนนรวมของ LAB_AST , LAB_ALT , LAB_PROTEIN(แล้วตั้งชื่อเป็น “Total_Lab”)
1. Click ที่ Transform 2. Click ที่ ComputeVariable… 3. เมื่อขึ้นหน้าต่างใหม่ ให้คลิกในช่อง Target Variableให้ตั้งชื่อใหม่ ในที่นี้กำหนดเป็น Total_Lab แล้วคลิกที่ช่องNumeric Expression เลือกตัวแปร และสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ดังนี้ LAB_AST + LAB_ALT + LAB_PROTEIN 4. Click ที่ OK 5. จะได้ผลลัพธ์ Total_Lab เป็นตัวแปรใหม่ที่สร้างขึ้น ใน Data View
7.2 คำสั่ง Recode เป็นคำสั่งเพื่อปรับเปลี่ยนข้อมูล เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้สถิตินั้น ๆ สามารถใช้คำสั่งซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง
ปฏิบัติการ 2จากไฟล์ชื่อ “Test_spss.sav”” ที่บันทึกไว้ จากปฏิบัติการ 1 ให้เปลี่ยนค่าคะแนนรวมของ Total_Lab โดยที่ Total_Labน้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 ให้จัดเป็นกลุ่มที่ 1Total_Labมากกว่า 100 ให้จัดเป็นกลุ่มที่ 2 โดยให้ตั้งชื่อตัวแปรใหม่ว่า “Grp_totlab”
4. เลือกตัวแปร Total_Lab จากซ้ายมือแล้วคลิก ตั้งชื่อตัวแปรใหม่ชื่อ Grp_totlab ในช่อง Output Variable 1. Click ที่ Transform 2. Click ที่ Recode 3. Click ที่ Into Difference Variables… 5. คลิก Change 6. Click ที่ Old and New Values… 7. ด้านซ้าย Old Value คลิกที่ Range, LOWEST through value ให้ใส่ตัวเลข 100
8. Click เลือก value ด้านขวาบน กำหนดในช่อง Value ด้วย 1 แล้วคลิก Add 9. กำหนดช่วงใหม่อีกครั้ง ด้านซ้าย Old Value คลิกเลือกRange , value through HIGHEST ใส่ตัวเลข 101 10. Click เลือก value ด้านขวาบน กำหนดในช่อง Value ด้วย 2 แล้วคลิก Add 11. Click ที่ Continue 12. Click OK 13. จะได้ผลลัพธ์ Grp_totlab เป็นตัวแปรใหม่ที่สร้างขึ้น ใน Data View
การตรวจสอบการแจกแจงของข้อมูลการตรวจสอบการแจกแจงของข้อมูล • ในการเลือกใช้ตัวสถิติทดสอบ จะต้องดูลักษณะของข้อมูลว่ามีการกระจายแบบปกติหรือไม่ ซึ่งจะดูเฉพาะข้อมูลเชิงปริมาณเท่านั้น โดยใช้คำสั่ง Explore ใน SPSS
Example : อยากทราบว่าตัวแปร Age,HpL และ LAB_PROTEIN ข้อมูลมีการกระจายแบบปกติหรือไม่ • Click ที่ Analyze – Descriptive Statistics – Explore • ใส่ตัวแปร Age,HpL และ LAB_PROTEIN ใน Dependent list: • Click Plots… • Click ในช่อง Normality plots with test • Click Continue - OK
การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา
เป็นการคำนวณค่าสถิติพื้นฐานทั่วไป เช่น - ค่าสูงสุด (Maximum) - ความถี่/จำนวน (Frequency) - ค่าต่ำสุด (Minimum) - ร้อยละ (Percentage) - ความแปรปรวน (Variance) - ค่าเฉลี่ย (Mean) - ค่า Mdn - ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) - สัมประสิทธิ์ความเบ้ (Coefficient of Skewness) - สัมประสิทธิ์ความโด่ง (Coefficient of Kurtosis)
จำนวนและร้อยละ (ตารางแบบทางเดียว) ปฏิบัติการ 3จากไฟล์ชื่อ “Test_spss.sav” ที่บันทึกไว้ให้หา - จำนวนความถี่และร้อยละของตัวแปรเชิงกลุ่มทั้งหมด
4. Click ชื่อตัวแปรที่เป็นตัวแปรเชิงกลุ่มไว้ในช่อง Variable Box 1. Click ที่ Analyze 2. Click ที่ Descriptive Statistics 3. Click ที่ Frequencies... 5. Click OK
จำนวนและร้อยละ (ตารางแบบสองทาง) ปฏิบัติการ 4จากไฟล์ชื่อ “Test_spss.sav” ที่บันทึกไว้ ให้หาจำนวนและร้อยละของ sex แยกตาม ventilatorของผู้ป่วยทั้งหมด
1. Click ที่ Analyze 2. Click ที่ Descriptive Statistics 3. Click ที่ Crosstabs... 4. Click ชื่อตัวแปร sex ไว้ใน Row(s) Box 5. Click ชื่อตัวแปร ventilator ไว้ใน Column(s) Box 6. Click ที่ Cells... เพื่อหาค่าร้อยละทั้งหมด ที่ Percentage Total 7. Click OK
การหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด (ตารางแบบทางเดียว) ปฏิบัติการ 5จากไฟล์ชื่อ “Test_spss.sav” ที่บันทึกไว้ ให้หาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลเชิงปริมาณทั้งหมด
5. Click Options เพื่อหาค่าสถิตินอกเหนือจากที่ โปรแกรมกำหนดไว้ 1. Click ที่ Analyze 2. Click ที่ Descriptive Statistics 3. Click ที่ Descriptives... 4. Click ชื่อตัวแปรเชิงปริมาณไว้ใน Variable Box 6. Click OK