150 likes | 291 Views
9 ปี ของการเผยแพร่ Backward Design
E N D
9 ปี ของการเผยแพร่ Backward Design Backward Design เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมการศึกษาในเรื่องของการออกแบบ การจัดการเรียนรู้ที่ Grant wingginsและ Jay Mc Tigheได้เผยแพร่แนวคิดในเรื่องดังกล่าวมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในมิติที่ได้รับการพัฒนาต่อเติมขึ้นใหม่
ในช่วงที่ประเทศไทยได้มีการปฏิรูปการศึกษาในปี พ.ศ. 2542 ที่ริเริ่มเรื่องการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนเก่งดีและมีความสุขนั้น Backward Design ได้เผยแพร่แนวคิดไปยังประเทศพัฒนาแล้ว แต่ประเทศไทยยังมิได้เปิดรับแนวคิดในเรื่อง Backward Design แต่อย่างใด ยังคงมุ่งถกประเด็นระหว่างเก่ง ดี มีสุข ว่าในการปฏิรูปการศึกษาในปี พ.ศ.2542 นั้น ผู้เรียนควรจะมีคุณลักษณะอย่างไรระหว่าง เก่ง ดี มีสุข กับ ดี เก่ง มีสุข
ผลสุดท้ายคล้ายๆ จะยอมรับว่าผู้เรียนในยุคปฏิรูปการศึกษาควรจะมีลักษณะ ดี > เก่ง > มีสุข เป็นสำคัญหลังการปฏิรูปการศึกษา ในปี พ.ศ. 2544 ได้มีการระดมสรรพกำลังในการจัดทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ในช่วงเวลานั้นก็ยังไม่มีใคร “สั่งเข้า” ภูมิปัญญา Backward Design เข้ามาใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้แต่อย่างใดทั้งๆ ที่ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ได้เน้นในเรื่องของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ไว้ค่อนข้างมาก
หลังจากมีการประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 แล้ว ก็ได้มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา แต่ความคิดในเรื่องBackward Design ก็ยังไม่ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาแต่อย่างใด
พ.ศ. 2550 ปีแห่ง Backward Design ปี พ.ศ. 2550 ในขณะทิศทางการพัฒนาประเทศและการพัฒนาการศึกษาไทยก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจพอเพียง หรือ ปี พ.ศ.พอเพียง นั้น ในวงการศึกษาไทยก็ได้เริ่มก้าวเข้าสู่ปีแห่ง Backward Design อย่างเร่งรีบ ซึ่งคาดว่าน่าจะมาจากคำบรรยายของผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการในวาระสำคัญช่วงที่มีการพัฒนาให้เกิดผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาขึ้น ทำให้เกิดการตื่นตัวในการศึกษาหาความรู้ในเรื่อง Backward Design กันอย่างกว้างขวาง
จน ณ เวลานี้ (มิถุนายน 2550) ก็ยังไม่มีคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยใดแปลหรือเขียนตำราเกี่ยวกับ Backward Design ฉบับสมบูรณ์ออกมาแต่อย่างใดมีแต่เอกสารเผยแพร่เป็นบางส่วนบางตอนออกมาเพียงประปราย Backward Design อีกหนึ่งรูปแบบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญในวงการศึกษาของไทยในปัจจุบัน
นิยามและความหมาย ของ Backward Design หลากหลายนิยาม แต่ความหมายเดียว Backward Design มีผู้ให้นิยามและความหมายไว้อย่างหลากหลาย อาทิ Backward Design: กระบวนการออกแบบและถอยหลังกลับ Backward Design: การออกแบบแบบย้อนกลับ Backward Design: การออกแบบถอยกลับ Backward Design: การออกแบบย้อนกลับ Backward Design: การออกแบบสะท้อนกลับ
นิยามและความหมาย โดยสรุปแล้ว Backward Design หมายถึงกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตลอดกระบวนทัศน์ที่มุ่งไปสู่ผลผลิตตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการเรียนรู้ คำว่ากระบวนทัศน์ในที่นี้หมายถึง การเริ่มต้นการคิดในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ผู้ออกแบบได้กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นจนจบว่าในการออกแบบการจัดการเรียนรู้นั้น จะต้องออกแบบอะไรอีกบ้างที่ทำให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายของมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ซึ่งสามารถจะย้อนกลับมาตรวจสอบถึงประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา
การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design จึงเป็นการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีความเข้มข้นมุ่งผลสัมฤทธิ์อย่างจริงจัง โดยก่อนที่จะออกแบบการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวจะต้องมีการกำหนดสิ่งเหล่านี้ไว้อย่างชัดแจ้ง ได้แก่ 1.การกำหนดพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียน 2.การกำหนดกิจกรรมการประเมินผลของผู้เรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้
เมื่อกำหนดพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียนและการกำหนดกิจกรรมการประเมินผลของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้แล้ว การออกแบบการเรียนรู้จะต้องออกแบบไว้อย่างมีมาตรฐานเป็นวิทยาศาสตร์สามารถวัดได้ ตรวจสอบได้ โดยการออกแบบกิจกรรมที่จะนำไปสู่สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ได้แก่ เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียน • มีความรู้ • มีความสามารถ • สามารถแสดงออกซึ่งความรู้ • ความสามารถตามพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริงจากการแสดงออกของ ผู้เรียนและตามกิจกรรมการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามที่ผู้ออกแบบได้กำหนดไว้
ทั้งหมดนี้ คือ นิยามความหมายรวมไปถึง หลักการสำคัญเบื้องต้นของการ ออกแบบการจัดการเรียนรู้ของ Backward Design
สามความสัมพันธ์ ของ การออกแบบ การจัดการเรียนรู้
กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี