740 likes | 1.08k Views
การพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของประเทศ (Thai Qualifications Framework for Higher Education) (TQF:HEd) วันเสาร์ที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๒ ณ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
E N D
การพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิการพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของประเทศ (Thai Qualifications Framework for Higher Education) (TQF:HEd) วันเสาร์ที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๒ ณ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ(Thai Qualifications Framework for Higher Education ; TQF : HEd) หมายถึง กรอบที่แสดงระบบคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษา ของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ระดับคุณวุฒิ การแบ่งสายวิชา ความเชื่อมโยงต่อเนื่องจากคุณวุฒิระดับหนึ่งไปสู่ระดับที่สูงขึ้น มาตรฐานผลการเรียนรู้ของแต่ละระดับคุณวุฒิซึ่งเพิ่มสูงขึ้นตามระดับของคุณวุฒิ ลักษณะของหลักสูตรในแต่ละระดับคุณวุฒิ ปริมาณการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเวลาที่ต้องใช้ การเปิดโอกาสให้เทียบโอนผลการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งระบบและกลไกที่ให้ความมั่นใจในประสิทธิผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของสถาบันอุดมศึกษาว่าสามารถผลิตบัณฑิตให้บรรลุคุณภาพตามมาตรฐานผลการเรียนรู้
เดิม TQF วัตถุประสงค์ของหลักสูตร กลุ่มเนื้อหาสาระสำคัญ โครงสร้างหลักสูตร รายวิชา มคอ.2 รายละเอียดของหลักสูตร วัตถุประสงค์ของหลักสูตร กลุ่มเนื้อหาสาระสำคัญ ผลการเรียนรู้ โครงสร้างหลักสูตร รายวิชา
ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ ด้านความรู้ มาตรฐานผลการเรียนรู้ (Domains of Learning)
การเรียนรู้ 5 ด้าน(5 Domains of Learning) • คุณธรรม จริยธรรม (คิดดี ทำดี รับผิดชอบการกระทำ) • ความรู้ (รู้ เข้าใจ อธิบายได้) • ทักษะทางปัญญา (ปฏิบัติได้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินได้) • ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (มนุษยสัมพันธ์ รับผิดชอบการทำงาน/การพัฒนาตนเอง) • ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (เสริม/สนันสนุนการเรียนรู้ด้านอื่นๆ และการประกอบอาชีพ)
มคอ.1 (มาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชา) มคอ.5 (รายงานผลการดำเนินการ ของรายวิชา) มคอ.2 (รายละเอียดของหลักสูตร) มคอ.6 (รายงานผลการดำเนินการ ของประสบการณ์ภาคสนาม) มคอ.3 (รายละเอียดของรายวิชา) มคอ.7 (รายงานผลการดำเนินการ ของหลักสูตร) ขั้นตอนการปฏิบัติตามกรอบ TQF มคอ.4 (รายละเอียดของ ประสบการณ์ภาคสนาม)
Road Map ของการดำเนินการเข้ากรอบมาตรฐาน 2552 (ก.ย.) 2552 (เม.ย.) 2553 (ต.ค.) 2554 (เม.ย.) 2553 (พ.ค.) มคอ.1 มคอ.2 มคอ.3 มคอ.5 มคอ.7 มคอ.4 มคอ.6 ก่อนการเปิดการศึกษา ภายใน 30 วันหลังสิ้นสุด การสอบ ภายใน 60 วันหลังสิ้นสุดปีการศึกษา
ไม่ ติดตาม การดำเนินการ ตาม TQF ใช่ ใช่ เผยแพร่หลักสูตรที่ดำเนินการได้มาตรฐาน TQF 1 กก.อ.กำหนดหลักเกณฑ์การปรับปรุง ประกาศ ศธ. เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ .พ.ศ. 2552 กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ประกาศ กกอ. เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร 1 มาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชาต่างๆ เกณฑ์กำหนดชื่อปริญญา สกอ. 5 ปี หลักเกณฑ์การเทียบโอน เกณฑ์/แนวทางอื่น ๆ มหาวิทยาลัย สภาสถาบันอนุมัติ เสนอ วางแผนปรับปรุง + พัฒนา 2 1 ปี รายละเอียดของหลักสูตร (Programme Specification) เสนอ 7 รายละเอียดของรายวิชาและภาคสนาม/ฝึกงาน (ถ้ามี) (Course + Field Experience Specifications) สกอ. รับทราบ หลักสูตรและ บันทึกไว้ในฐาน ข้อมูล รายงานประจำภาค และประจำปีการศึกษา (Semester/Annual Programme Report) 3/4 5 กระบวนการเรียนการสอน (ที่ทำให้บรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง) รายงานรายวิชา (Course Reports) การวัดและประเมินผล มุ่งเน้นผลการเรียนรู้ของนักศึกษา/บัณฑิต (POD Network) Teaching Unit การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก สภาพแวดล้อม นักศึกษา/บัณฑิตได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้ในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (บัณฑิตมีคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของผู้จ้างงานและสังคม)
TQF เริ่มต้น จากอะไรดี กับ TQF
มคอ.2 รายละเอียดของหลักสูตร(Program Specification)
รายละเอียดของหลักสูตร ต่างจาก เอกสารหลักสูตรเดิม อย่างไร? • คงข้อความของเอกสารหลักสูตรเดิม และแบบ สมอ.01-06 (การวิเคราะห์หลักสูตร) • เพิ่มเติมเรื่องผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอน และการประเมินผลการเรียนรู้ การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา การพัฒนาคณาจารย์และบุคลากร การประกันคุณภาพ กระบวนการประเมินและปรับปรุงหลักสูตร • จัดข้อมูลเป็น 8 หมวดหมู่
ส่วนประกอบของรายละเอียดของหลักสูตรส่วนประกอบของรายละเอียดของหลักสูตร หมวดที่ 1. ข้อมูลทั่วไป หมวดที่ 2. ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร หมวดที่ 3. ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างหลักสูตร หมวดที่ 4. ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและการประเมินผลการเรียนรู้ หมวดที่ 5. หลักเกณฑ์ในการประเมินผล หมวดที่ 6. การพัฒนาคณาจารย์และบุคลากร หมวดที่ 7. การประกันคุณภาพหลักสูตร หมวดที่ 8. การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการหลักสูตร
8) การประเมินและปรับปรุง การดำเนินการของหลักสูตร 4 1) ข้อมูลทั่วไป 7) การประกันคุณภาพ หลักสูตร 7 13 8 หมวด 2) ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร 2 6) การพัฒนา คณาจารย์ 2 5) หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนักศึกษา 3 5 3) ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร 3 4) ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอน และการประเมินผล
มคอ.2 รายละเอียดของหลักสูตร • เป็นคำอธิบายภาพรวมของการจัดหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนที่จะทำให้บัณฑิตบรรลุผลการเรียนรู้ของหลักสูตรนั้นๆ • ช่วยอธิบายให้นักศึกษาทราบว่าตนต้องเรียนวิชาอะไรบ้าง เข้าใจถึงวิธีการสอน วิธีการเรียนรู้ ตลอดจนวิธีการวัดและประเมินผล • ช่วยให้นักศึกษาเลือกเรียนในหลักสูตรที่เหมาะกับรูปแบบการเรียนรู้และความต้องการของตนเองได้ • ผู้ใช้บัณฑิตสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณารับบัณฑิตเข้าทำงาน ใช้ มคอ. 2 แทนเอกสารหลักสูตร อนุมัติโดยสภามหาวิทยาลัย และเสนอ สกอ.รับทราบภายใน 30 วัน
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป • รหัสและชื่อหลักสูตรทั้งไทยและอังกฤษ • ชื่อปริญญาและสาขาวิชา (ชื่อย่อ และชื่อเต็มทั้งไทย และอังกฤษ) • วิชาเอก (ถ้ามี) • จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป 5) รูปแบบของหลักสูตร 5.1 รูปแบบ (หลักสูตรปริญญาตรี โท หรือเอก .... ปี ) 5.2 ภาษาที่ใช้ (ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ) 5.3 การรับเข้าศึกษา (รับเฉพาะนักศึกษาไทย หรือต่างประเทศ หรือรับทั้ง 2 กลุ่ม) 5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น 5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา (สาขาเดียว หรือทวิปริญญา หรือ ปริญญาร่วม)
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป 6) สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร • หลักสูตรใหม่ พ.ศ....... หรือ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ...... • สภาวิชาการ เห็นชอบให้นำเสนอสภามหาวิทยาลัย เมื่อ ...../...../........ • สภามหาวิทยาลัย อนุมัติหลักสูตร เมื่อ ....../...../......... และเปิดสอนตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ ..../............. • สภาวิชาชีพให้การรับรอง เมื่อ ...../...../.......... (ถ้ามี)
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป • ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ระบุปีที่คาดว่าจะได้รับการเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบ TQF (เมื่อสถาบันได้เปิดสอนไปแล้วอย่างน้อยครึ่งระยะเวลาของหลักสูตร) • อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา • ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวบัตรประชาชน ตำแหน่ง คุณวุฒิการศึกษา ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (ให้ระบุสาขาวิชา และปีที่สำเร็จดัวย)
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ถ้าจัดการเรียนการสอนมากกว่า 1 แห่ง ต้องเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรคนละชุดกัน
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป • สถานที่จัดการเรียนการสอน • สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร 11.1 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 11.2 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม • ผลกระทบจากข้อ 11.1 และ 11.2 ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน 12.1 การพัฒนาหลักสูตร 12.2 ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป • ความสัมพันธ์ (ถ้ามี) กับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนในคณะ/ภาควิชาอื่นของสถาบัน 13.1 กลุ่มวิชา/รายวิชาในหลักสูตรนี้ที่ต้องเรียนจากคณะ/ภาควิชาอื่น 13.2 กลุ่มวิชา/รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนเพื่อให้บริการคณะ/ ภาควิชาอื่น 13.3 การบริหารจัดการ (แผนความร่วมมือหรือการประสานงาน ร่วมกับภาควิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง)
หมวดที่ 2 ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร • ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร • แผนพัฒนาปรับปรุง 2.1 แผนการพัฒนา/เปลี่ยนแปลง (ระบุเวลาที่คาดว่าจะดำเนินการเสร็จ) 2.2 กลยุทธ์ 2.3 หลักฐาน/ตัวบ่งชี้
หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร • ระบบการจัดการศึกษา 1.1 ระบบ (ทวิภาค ไตรภาค จตุรภาค) 1.2 การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน 1.3 การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค (ถ้ามีการจัดการศึกษา ระบบอื่นๆ ที่มิใช่ทวิภาค ให้แสดงการเทียบเคียงกับระบบ ทวิภาคให้ชัดเจน) • การดำเนินการหลักสูตร 2.1 วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน ภาคการศึกษาที่ 1 เดือน...........-............. ภาคการศึกษาที่ 2 เดือน...........-.............
หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร 2.2 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา 2.3 ปัญหาของนักศึกษาแรกเข้า ระบุลักษณะเฉพาะของนักศึกษาที่จะสมัครเข้าเรียนในหลักสูตรที่ต้องนำมาประกอบการพิจารณา เพื่อการกำหนดหลักสูตร ตัวอย่าง นักศึกษาที่สมัครเข้าเรียนในหลักสูตรที่ไม่ได้เรียนสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อาจมีพื้นฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีไม่เพียงพอ
หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร 2.4 กลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา/ข้อจำกัดของนักศึกษาในข้อ 2.3 2.5 แผนการรับนักศึกษา และผู้สำเร็จการศึกษาในระยะ 5 ปี 2.6 งบประมาณตามแผน แสดงงบประมาณ โดยจำแนกรายละเอียดตามหัวข้อการเสนอตั้งงบประมาณ รวมทั้งประมาณการค่าใช้จ่ายต่อหัวในการผลิตบัณฑิตตามหลักสูตรนั้น
หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร 2.7 ระบบการศึกษา • แบบชั้นเรียน • แบบทางไกลผ่านสื่อสิ่งพิมพ์เป็นหลัก • แบบทางไกลผ่านสื่อแพร่ภาพและเสียงเป็นสื่อหลัก • แบบทางไกลทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อหลัก (E-learning) • แบบทางไกลทางอินเตอร์เนต • อื่นๆ (ระบุ) 2.8 การเทียบโอนหน่วยกิต รายวิชาและการลงทะเบียนเรียนข้ามมหาวิทยาลัย (ถ้ามี)
หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร • หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน 3.1 หลักสูตร 3.1.1 จำนวนหน่วยกิต (รวมตลอดหลักสูตร) 3.1.2 โครงสร้างหลักสูตร (แสดงเป็นหมวดวิชาให้สอดคล้องกับ เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร) 3.1.3 รายวิชา ระบุรหัสรายวิชา (อธิบายความหมายของรหัสวิชาด้วย) ชื่อรายวิชาทั้งไทย และอังกฤษ จำนวนหน่วยกิต จำนวนชั่วโมงบรรยาย ปฏิบัติ และศึกษาด้วยตนเอง เช่น 001101 การฟังและพูดภาษาอังกฤษ 3(3-0-6)
หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร 3.1.4 แสดงแผนการศึกษา 3.1.5 คำอธิบายรายวิชา 3.2 ชื่อ สกุล เลขประจำตัวบัตรประชาชน ตำแหน่งและคุณวุฒิของอาจารย์ 3.2.1 อาจารย์ประจำหลักสูตร 3.2.2 อาจารย์ประจำ 3.2.3 อาจารย์พิเศษ ให้ระบุสาขาวิชาและสถาบันที่สำเร็จการศึกษา ผลงานทางวิชาการ การค้นคว้า วิจัย หรือการแต่งตำรา (ถ้ามี) รวมทั้งภาระงานสอนที่มีอยู่แล้ว และที่จะมีในหลักสูตรนี้ (อาจระบุไว้ในภาคผนวก)
หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร • องค์ประกอบเกี่ยวกับประสบการณ์ภาคสนาม (การฝึกงาน หรือ สหกิจศึกษา) (ถ้ามี) 4.1 มาตรฐานผลการเรียนรู้ของประสบการณ์ภาคสนาม 4.2 ช่วงเวลา 4.3 การจัดเวลาและตารางสอน เช่น 3 วันต่อสัปดาห์เป็นเวลา 4 สัปดาห์ หรือจัดเต็มเวลาใน 1 ภาคการศึกษา เป็นต้น
หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร • ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำโครงงานหรืองานวิจัย (ถ้ามี) 5.1 คำอธิบายโดยย่อ 5.2 มาตรฐานผลการเรียนรู้ (ระบุมาตรฐานผลการเรียนรู้หลักๆ ที่ต้องการจากการทำโครงงานหรืองานวิจัย) 5.3 ช่วงเวลา 5.4 จำนวนหน่วยกิต 5.5 การเตรียมการ 5.6 กระบวนการประเมินผล
หมวดที่ 4 ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอน และการประเมินผล 1) การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนักศึกษา ระบุคุณลักษณะพิเศษของนักศึกษาที่นอกเหนือไปจากความคาดหวังทั่วๆ ไป และชี้ให้เห็นถึงกลยุทธ์การสอนและกิจกรรมนักศึกษาที่จะใช้ในการพัฒนาคุณลักษณะเหล่านั้น
หมวดที่ 4 ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอน และการประเมินผล • การพัฒนาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้าน ตาม Domains of Learning 5 ด้าน อธิบายผลการเรียนรู้แต่ละด้าน ตามหัวข้อ ดังนี้ - คำอธิบายทั่วๆ ไปเกี่ยวกับผลการเรียนรู้ในด้าน คุณธรรม จริยธรรม - กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ในด้านคุณธรรม จริยธรรม - กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ในด้านคุณธรรม จริยธรรม
การถ่ายทอด TQF แห่งชาติไปสู่มาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา * จาก TQF แห่งชาติและมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์
การถ่ายทอด TQF แห่งชาติไปสู่มาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (ต่อ) *จาก TQF แห่งชาติและมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์
การถ่ายทอด TQF แห่งชาติไปสู่มาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (ต่อ)
หมวดที่ 4 ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอน และการประเมินผล • แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) แสดงให้เห็นว่าแต่ละรายวิชาในหลักสูตรรับผิดชอบต่อมาตรฐานผลการเรียนรู้ใดบ้าง (ตาม Domains of Learning 5 ด้าน) โดยระบุว่าเป็นความรับผิดชอบหลักหรือความรับผิดชอบรอง ซึ่งบางรายวิชาอาจไม่นำไปสู่มาตรฐานผลการเรียนรู้บางเรื่องก็ได้
หมวดที่ 5 หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนักศึกษา • กฎระเบียบ หรือหลักเกณฑ์ในการให้ระดับคะแนน (เกรด) • กระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา เช่น ทวนสอบจากคะแนนข้อสอบ หรืองานที่มอบหมาย กระบวนการอาจต่างกันไปสำหรับรายวิชาที่แตกต่างกัน หรือสำหรับมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละด้าน 3) เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
หมวดที่ 6 การพัฒนาคณาจารย์ • การเตรียมการสำหรับอาจารย์ใหม่ อธิบายกระบวนการที่ใช้ในการปฐมนิเทศ และ/หรือ การแนะนำอาจารย์ใหม่และอาจารย์พิเศษให้มั่นใจได้ว่าอาจารย์เข้าใจถึงหลักสูตรและบทบาทของรายวิชาต่างๆ ที่สอนในหลักสูตรและรายวิชาที่ตนรับผิดชอบสอน • การพัฒนาความรู้และทักษะให้แก่คณาจารย์ 2.1 การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอน การวัดและการ ประเมินผล 2.2 การพัฒนาวิชาการและวิชาชีพด้านอื่นๆ
หมวดที่ 7 การประกันคุณภาพหลักสูตร • การบริหารหลักสูตร ระบุระบบและกลไกในการบริหารหลักสูตร 2) การบริหารทรัพยากรการเรียนการสอน 2.1 การบริหารงบประมาณ 2.2 ทรัพยากรการเรียนการสอนที่มีอยู่เดิม 2.3 การจัดหาทรัพยากรการเรียนการสอนเพิ่มเติม 2.4 การประเมินความเพียงพอของทรัพยากร
หมวดที่ 7 การประกันคุณภาพหลักสูตร 3) การบริหารคณาจารย์ 3.1 การรับอาจารย์ใหม่ ระบุกระบวนการย่อๆ ในการรับอาจารย์ใหม่ เพื่อให้มั่นใจว่าอาจารย์มีคุณสมบัติและประสบการณ์เพียงพอต่อความรับผิดชอบการสอน 3.2 การมีส่วนร่วมของคณาจารย์ในการวางแผน การติดตามและทบทวนหลักสูตร 3.3 การแต่งตั้งคณาจารย์พิเศษ สรุปย่อๆ ถึงนโยบายในการแต่งตั้งอาจารย์พิเศษ เช่น วิธีการอนุมัติ กระบวนการเลือกสรร
หมวดที่ 7 การประกันคุณภาพหลักสูตร 4) การบริหารบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน 4.1 การกำหนดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง 4.2 การเพิ่มทักษะความรู้เพื่อการปฏิบัติงาน เช่น การฝึกอบรม • การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา 5.1 การให้คำปรึกษาด้านวิชาการ และอื่นๆ แก่นักศึกษา 5.2 การอุทธรณ์ของนักศึกษา (กฎระเบียบสำหรับการอุทธรณ์ และกระบวนการในการพิจารณาข้ออุทธรณ์)
หมวดที่ 7 การประกันคุณภาพหลักสูตร • ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และ/หรือความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต • ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงาน (KPI) ระบุ KPI ที่ใช้ในการติดตาม ประเมิน และรายงานคุณภาพของหลักสูตรประจำปีที่ระบุไว้ในหมวด 1-6 เช่น จำนวนนักศึกษาที่จบในเวลาที่กำหนด
หมวดที่ 8 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของหลักสูตร • การประเมินประสิทธิผลของการสอน 1.1 การประเมินกลยุทธ์การสอน ก่อนสอน ควรประเมินโดยทีมผู้สอน หรือการหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรหรือวิธีการสอน หลังสอน ควรวิเคราะห์ผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา และวิเคราะห์ผลการเรียนของนักศึกษา 1.2 การประเมินทักษะของอาจารย์ในการใช้แผนกลยุทธ์การสอน เช่น - การประเมินโดยนักศึกษาในแต่ละรายวิชา - การสังเกตการณ์ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร/ทีมผู้สอน - การทดสอบผลการเรียนรู้ของนักศึกษาเทียบเคียงกับสถาบันอื่นใน หลักสูตรเดียวกัน
หมวดที่ 8 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของหลักสูตร 2) การประเมินหลักสูตรในภาพรวม อธิบายกระบวนการที่จะใช้เพื่อจะได้ข้อมูลย้อนกลับในการประเมินคุณภาพของหลักสูตรในภาพรวม จากกลุ่มบุคคลดังนี้ - นักศึกษาและบัณฑิต - ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้ประเมินภายนอก - ผู้ใช้บัณฑิต/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ