2.15k likes | 3.78k Views
การบริหารเชิงกลยุทธ์. นพ.พิเชฐ บัญญัติ วว.เวชปฏิบัติทั่วไป, อว.เวชศาสตร์ครอบครัว อว. เวชศาสตร์ป้องกัน (สาธารณสุขศาสตร์) อว.เวชาศาสตร์ป้องกัน (สุขภาพจิตชุมชน) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ 23 กันยายน 2555. วัตถุประสงค์. เข้าใจหลักการบริหารและการบริหารเชิงกลยุทธ์
E N D
การบริหารเชิงกลยุทธ์ นพ.พิเชฐ บัญญัติ วว.เวชปฏิบัติทั่วไป, อว.เวชศาสตร์ครอบครัว อว. เวชศาสตร์ป้องกัน (สาธารณสุขศาสตร์) อว.เวชาศาสตร์ป้องกัน (สุขภาพจิตชุมชน) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ 23 กันยายน 2555
วัตถุประสงค์ • เข้าใจหลักการบริหารและการบริหารเชิงกลยุทธ์ • สามารถนำหลักการบริหารเชิงกลยุทธ์ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารโรงพยาบาลหรือหน่วยงานสาธารณสุขได้
หัวข้อบรรยาย: การบริหารเชิงกลยุทธ์ • หลักการบริหารและการบริหารเชิงกลยุทธ์ • การกำหนดทิศทางกลยุทธ์ • การประเมินสภาพแวดล้อมทางกลยุทธ์ • การกำหนดกลยุทธ์ • การนำกลยุทธ์ลงสู่การปฏิบัติ • การประเมินผลกลยุทธ์
นโยบาย/กฎหมาย นโยบาย/กฎหมาย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้ผลเป็นอย่างไร รู้ได้อย่างไรว่าได้แล้ว ทำอย่างไรดี ต้องเก่งอะไร เราคือใคร เราคือใคร ทำอะไร ทำอะไร ทำครบไหม การบริหารเชิงกลยุทธ์ (1) ใช่สิ่งที่เขาต้องการจริงหรือไม่
นโยบาย/กฎหมาย นโยบาย/กฎหมาย ผู้มีส่วนได้เสีย องค์กร องค์กร หน้าที่ พันธกิจ กิจกรรม วิสัยทัศน์ สมรรถนะ ตัวชี้วัด กลยุทธ์ การบริหารเชิงกลยุทธ์ (2) พอใจ ติดใจ ประทับใจ
ความหมายของการบริหารเชิงกลยุทธ์ความหมายของการบริหารเชิงกลยุทธ์ • Strategic management: เป็นขั้นตอนการบริหารและตัดสินใจเพื่อพัฒนาให้บรรลุภารกิจ (Mission) ขององค์กร โดยสร้างความสามารถขององค์กรให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมทั้งภายนอกและภายใน (นรา หัตถสิน) • การบริหารที่ใช้การระดมความคิดเป็นพิเศษเพื่อกลั่นเอาแนวทางที่ดีที่สุด (กลยุทธ์) ที่สามารถเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ให้เป็นประโยชน์แก่หน่วยงาน ไม่ว่าอยู่ในสถานการณ์ใด จะเป็นช่วงได้เปรียบหรือเสียเปรียบก็ตาม แล้วนำแนวทางนั้นลงสู่การปฏิบัติภายใต้ความจำกัดขององค์การให้มุ่งสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ (พิเชฐ บัญญัติ)
การจัดการทั่วไป เน้นการจัดการภายในองค์การ เน้นความต้องการเฉพาะแผนก มุ่งกำไร การบริหารเชิงกลยุทธ์ นำสภาพแวดล้อมมาช่วยในการวางแผน เน้นความต้องการของ Stakeholders มุ่งสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ความแตกต่างการบริหารทั่วไปกับการบริหารเชิงกลยุทธ์
ลักษณะของการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ลักษณะของการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ • เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับทิศทางขององค์การในระยะยาว • เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวกับขอบเขตในการดำเนินธุรกิจ • เป็นความพยายามที่จะบรรลุถึงความได้เปรียบทางการแข่งขัน • เป็นการตัดสินใจที่ต้องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม • เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรที่มีในองค์การ • เป็นการตัดสินใจโดยพิจารณาถึงสภาวะแวดล้อมภายในขององค์การ • มีผลกระทบต่อการตัดสินใจในการปฏิบัติงานทั่วทั้งองค์การ • เกี่ยวข้องกับค่านิยม ความคาดหวัง และผู้ที่เกี่ยวข้องในองค์การ
บทบาทผู้บริหารในการบริหารเชิงกลยุทธ์บทบาทผู้บริหารในการบริหารเชิงกลยุทธ์ • เป็นผู้กำหนดทิศทางขององค์การที่ต้องการจะก้าวไป (Chief Direction Setter) • เป็นผู้กำหนดวัตถุประสงค์หลักขององค์กร (Chief Strategy – Objective Setter) • เป็นผู้กำหนดกลยุทธ์หลักขององค์การ ที่จะทำให้องค์การสามารถบรรลุวัตถุประสงค์หลักที่ต้องการ (Chief Strategy-Maker) • เป็นผู้ก่อให้เกิดการนำแผนกกลยุทธ์และแผนงานต่าง ๆ ไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จ (Chief Implementer)
ความหมายกลยุทธ์ หรือยุทธศาสตร์ (Strategy) • กลยุทธ์คือแผน (Plan): ใช้เป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางหรือแนวทางการทำงานในอนาคต • กลยุทธ์คือแบบแผนหรือรูปแบบ (Pattern): แบบแผนด้านพฤติกรรมในการทำงานอย่างต่อเนื่องในแต่ละช่วงเวลา • กลยุทธ์คือการกำหนดฐานะหรือตำแหน่ง (Position): การวางตำแหน่งในการแข่งขัน • กลยุทธ์คือทัศนภาพ (Perspective): วิธีทำงานที่ต้องการให้คนในองค์การยึดถือร่วมกัน • กลยุทธ์คือกลวิธีในการเดินหมาก (Ploy): การใช้กลอุบาย (กุสโลบาย/เพทุบาย) หรือกลวิธีในการสร้างความสำเร็จหรือชัยชนะ
กลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์และกลวิธีกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์และกลวิธี • ยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์(Strategy) คือศิลปะของการนำกำลังทหารเข้าสู่สนามรบอย่างได้เปรียบต่อกองทัพของศัตรู (จอมพลเอิร์ล เวเฟลส์) หรือศิลปะของการต่อสู้ในสนามรบเพื่อนำไปสู่การชนะสงคราม(นายพลคาร์ล ฟอน คลอเซวิทซ์) • ในทางบริหารอธิบายง่ายๆว่า “กลยุทธ์คือการทำงานให้สำเร็จภายใต้ข้อจำกัดขององค์กร” • ยุทธวิธีหรือกลวิธี(Tactics) คือศิลปะของการใช้กำลังทหารในสนามรบ • ยุทธศาสตร์จึงใช้กับเรื่องใหญ่ๆเป็นระดับชาติหรือกองทัพใหญ่ๆ ส่วนกลยุทธ์นั้นใช้กับเรื่องหรือองค์กรย่อยๆเช่นบริษัทหรือหน่วยงานต่างๆของรัฐ • กลยุทธ์ต้องได้รับการถ่ายทอดให้พนักงานทุกระดับของบริษัทได้รับทราบอย่างละเอียดชัดเจน
การบริหารเชิงกลยุทธ์ • หัวใจของการวางแผนยุทธศาสตร์คือการนำหัวสมองของผู้บริหารทุกคนเข้ามาถกเถียง ประเมินสถานการณ์ด้วยกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจใหม่ร่วมกันและสร้างความคิดใหม่ร่วมกัน เป็นการเน้นถึงการได้มาของแผน • ดังนั้นกระบวนการสร้างแผนยุทธศาสตร์(Planning)จึงมีคุณค่ามากกว่าตัวแผนยุทธศาสตร์(Plan) • กลยุทธ์ที่ดีจะต้องวางอยู่บนพื้นฐานของการเข้าใจลูกค้าอย่างถ่องแท้และอยู่ในขีดศักยภาพของบริษัท • กลยุทธ์นั้นไม่ควรเปลี่ยนบ่อยแต่ต้องเปลี่ยนเมื่อเงื่อนไขภายนอก(กฎข้อบังคับของรัฐ,พฤติกรรมของตลาด,เทคโนโลยี)เปลี่ยน
การบริหารเชิงกลยุทธ์ Dr. Nitin Nohria แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เสนอสูตรแห่งความสำเร็จของบริษัท สูตร 4+2 คือมีพฤติกรรมหลัก 4 อย่าง และพฤติกรรมรอง 2 อย่าง ดังนี้ • พฤติกรรมหลัก 4 อย่างคือ 1. วางกลยุทธ์ยอดเยี่ยม 2. เอากลยุทธ์ออกปฏิบัติอย่างได้ผล 3. สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งหวังผลสูงมีคุณภาพ 4. มีโครงสร้างองค์กรที่เรียบง่าย • พฤติกรรมรอง 2 เลือกจาก 1. มีคนเก่งมีพรสวรรค์อยู่แทบทุกกลุ่มงาน 2.หัวหน้างานทุกระดับมีลักษณะผู้นำ 3. มีการใช้นวัตกรรมใหม่ๆในการทำงาน 4. รู้จักใช้เทคนิคในการขยายกิจการโดยการควบกิจการหรือหาหุ้นส่วนใหม่ๆมาร่วม
ความหมายของการวางแผน • การวางแผนคือการคิดเรื่องอนาคต (ระยะยาว ปานกลาง สั้น) • การวางแผนคือการควบคุมอนาคต (การพยายามทำให้อนาคตที่ต้องการเกิดขึ้นให้ได้) • การวางแผนคือการตัดสินใจ (ใช้ดุลยพินิจว่าจะทำอะไร อย่างไร เมื่อไร ได้อะไร) • การวางแผนคือการตัดสินใจเชิงบูรณาการ • การวางแผนคือกระบวนการในการจำแนก แจกแจงเหตุผล และเชื่อมโยง • เป็นกระบวนการที่เป็นทางการ โดยคำนึงถึงการบูรณาการหรือเชื่อมโยงระบบการตัดสินใจของหน่วยงานต่างๆเข้าด้วยกัน อันจะนำไปสู่การกำหนดวิธีการดำเนินงานที่ชัดเจนเพื่อบรรลุสู่จุดมุ่งหมายที่ต้องการร่วมกัน
ปัญหาของการบริหารเชิงกลยุทธ์ปัญหาของการบริหารเชิงกลยุทธ์ • มีเพียงร้อยละ 10 ที่นำสู่การปฏิบัติจริง • มีเพียงร้อยละ 5 ของพนักงานเท่านั้นที่ทราบและเข้าใจ • มีเพียงร้อยละ 20 ของบรรดาผู้จัดการเท่านั้นที่ได้โบนัสตามผลงาน • มีเพียงร้อยละ 40 ของบริษัทเท่านั้นที่จัดสรรงบประมาณตามกลยุทธ์ที่กำหนด • ผู้บริหารน้อยกว่าร้อยละ 15 ใช้เวลาเกิน 1 ชม./เดือน พูดคุยเรื่องกลยุทธ์ Comparative & Competitive advantage
การวางแผนกลยุทธ์กับการดำเนินงานการวางแผนกลยุทธ์กับการดำเนินงาน การวางแผนกลยุทธ์ สภาพแวดล้อมทั่วไปและการแข่งขัน (4) (3) (2) (1) ทรัพยากร กระบวนการ ผลงาน ผลลัพธ์ Input or Resources Process or Means Outputs or Objectives Outcomes or Goals (1) (2) (3) (4) การวางแผนดำเนินงาน
Basic Elements of Strategic Management Process Strategic Direction Environmental Scanning Strategy Formulation Strategy Implementation Evaluation& Control รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง
ประเด็นคำถามในการบริหารเชิงกลยุทธ์ (1) • Who are we? (เราคือใคร มีพันธกิจอะไร มีสมรรถนะที่ เป็นจุดแข็งและจุดอ่อนอย่างไร) • Who are our customers andsuppliers? (ผู้รับบริการและผู้จัดหาคือใคร มีโอกาสและข้อจำกัดอย่างไร) • Who are our competitors? (เมื่อเปรียบเทียบ กับคู่แข่งขันหรือกิจการชั้นนำ มีโอกาสและข้อจำกัดอย่างไร) • Where are we going? (วิสัยทัศน์ ภารกิจ จุดมุ่งหมาย และ วัตถุประสงค์ ควรจะมีจุดมุ่งเน้นอะไร)
ประเด็นคำถามในการบริหารเชิงกลยุทธ์ (2) • Where are we standing? (สภาพแวดล้อมทั่วไปในการดำเนินงาน เมื่อพิจารณาจาก นโยบาย สภาพเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนเทคโนโลยี) • How do we get there? (ควรมีกลยุทธ์อะไร อย่างไร) • How much do we have to pay? (ควรมีโครงการที่จะใช้งบประมาณเท่าไร) • How do we know if we are on track? (ควรจะมีตัวชี้วัดความสำเร็จอะไร อย่างไร) • What is our blueprint for action? (จะกำหนดแผนดำเนินงานอะไรบ้าง)
Core“DesignSchool” Model of Strategy Formulation จาก HarvardBusinessSchool
ความคิดสร้างสรรค์ • คิดเชิงระบบ • คิดเชิงบวก • คิดนอกกรอบ/คิดเชิงบุก • คิดเชิงบูรณาการ
การคิดเชิงระบบ (system Thinking) • ปัญหาวันนี้มาจากการแก้ปัญหาเมื่อวาน • ยิ่งผลักแรงเท่าไหร่ แรงสะท้อนกลับยิ่งมากขึ้นเท่านั้น • สิ่งต่างๆจะเลวร้ายจนที่สุดแล้วจึงค่อยๆฟื้นตัวขึ้นมา • อะไรที่ใช้ทางออกง่ายๆมันจะนำปัญหากลับมามากกว่าเดิม • การรักษาอาจให้ผลเลวร้ายกว่าโรค • ยิ่งทำเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งจะช้าขึ้นเท่านั้น • เหตุและผลไม่ได้อยู่ในเวลาและสถานที่เดียวกัน • บางทีการเปลี่ยนอะไรเล็กๆน้อยๆที่ถูกที่ถูกเวลาก็จะให้ผลที่ยิ่งใหญ่ได้ • โลกนี้อยู่ได้ด้วยการแบ่งปัน ไม่มีใครสามารถได้ทุกสิ่งทุกอย่างคนเดียว • เอามีดผ่าช้างออกเป็นสองครึ่ง ไม่ได้ช้างสองตัว
1. การกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ ความหมายของทิศทางเชิงกลยุทธ์ ลำดับชั้นเจตนารมย์เชิงกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดมุ่งหมาย เป้าประสงค์ วัตถุประสงค์ ปรัชญา ค่านิยม วัฒนธรรม การฝึกกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์
การกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ • สมมุติว่าเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นในบ้าน คุณพร้อมๆกัน คุณจะเลือกรับมือกับเหตุการณ์ใดก่อน1. มีคนโทรมา โทรศัพท์ดัง 2. เด็กทารกร้องไห้จ้า 3. มีคนมาหา เคาะประตูเรียกอยู่หน้าบ้าน 4. ฝนทำท่าจะตก และคุณยังไม่ได้เก็บผ้าที่ตากไว้เลย 5. คุณลืมปิดก๊อกน้ำในครัวทิ้งไว้ และมันเริ่มไหลนองพื้นแล้ว
ซิกมันด์ ฟรอยด์ นักจิตวิทยาบอกไว้ว่า 1. โทรศัพท์ แทน การงาน 2. เด็กทารก แทน ครอบครัว 3. คนที่ประตู แทน เพื่อน 4. เสื้อผ้าที่ตาก แทน เงิน 5. ก๊อกน้ำ แทน เซ็กส์ การกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์
ระบบการทำงานขององค์กรหนึ่งๆระบบการทำงานขององค์กรหนึ่งๆ 0 1 2 ไม่มีระบบใดเลย แก้ปัญหาเฉพาะหน้า แนวทางเริ่มเป็นระบบ 4 5 3 มุ่งเป็นทิศทางเดียวกัน แนวทางบูรณาการ บูรณาการเป็นหนึ่ง
องค์ประกอบของเจตนารมณ์เชิงกลยุทธ์องค์ประกอบของเจตนารมณ์เชิงกลยุทธ์ • วิสัยทัศน์ (Vision) • ภารกิจหรือพันธกิจ (Mission) • จุดมุ่งหมาย (Goals) • วัตถุประสงค์ (Objectives) • กลยุทธ์และกลวิธี (Strategies and Tactics) ในรูปของแผนงานและโครงการต่างๆ • อาจเพิ่ม ปรัชญา คำขวัญ ค่านิยมหลัก วัฒนธรรม นโยบายหลัก
ลำดับชั้นของเจตนารมณ์เชิงกลยุทธ์ลำดับชั้นของเจตนารมณ์เชิงกลยุทธ์ Most Integrative Fewest in Number วิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ Greatest in Number แผนหรือกลยุทธ์ต่างๆ Most specific
ลำดับชั้นของเจตนารมณ์เชิงกลยุทธ์ลำดับชั้นของเจตนารมณ์เชิงกลยุทธ์ • Action Plan • .A • .B • .C • .D Vision Objective 1 2 Strategy 1 Goal 1 Mission • Action Plan • .E • .F • .G • .H ผลผลิต (Outputs) ผลลัพธ์(Outcomes) ผลลัพธ์บั้นปลาย/ผลกระทบ(Ultimate outcomes/Impacts) Objective 1 2 3 Goal 2 Strategy 2 Objective 1 2 Goal 3 • Action Plan • .I • .J • .K • .L Strategy 3 Objective 1 2 Goal 4 Strategy 4 Objective 1 2 3 • Action Plan • .M • .N • .O • .P Goal 5
ความหมายวิสัยทัศน์ (Vision) • วิสัยทัศน์ คือ ความมุ่งหมายในสถานภาพที่เราจะไปเป็นหรือจะไปอยู่ สักวันหนึ่งในอนาคตหรือความมุ่งหมาย ความคาดหวัง ของบุคคลหรือองค์กร ที่ประสงค์จะไปมีสถานภาพเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง(หรือหลายๆอย่าง)หรือจะไปอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ในอนาคต • วิสัยทัศน์ หมายถึง เจตจำนงค์หรือความตั้งใจที่กว้างขวาง ครอบคลุมทุกๆเรื่องขององค์การ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความคาดหวังในอนาคตโดยไม่ได้ระบุวิธีการดำเนินงาน วิสัยทัศน์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือสิ่งที่สามารถจุดประกายความคิดให้คนในองค์การร่วมกันทำงานเพื่อมุ่งไปสู่สภาพที่ดีที่สุด(the best) มากที่สุด(the most)และยิ่งใหญ่ที่สุด(the greatest) นักบริหารจึงควรเป็นผู้ที่คิดการณ์ใหญ่(think big)และมองการณ์ไกล
ลักษณะของวิสัยทัศน์ • ภาพความสำเร็จที่ต้องการในอนาคตขององค์กร • สะท้อนถึงสิ่งที่เราให้ความสำคัญและสื่อให้เข้าใจภารกิจได้ดียิ่งขึ้น • สอดคล้องกับค่านิยมและความรู้สึกอยากดีอยากได้ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริงที่มุ่งเน้นไปยังอนาคต • เป็นสิ่งที่ท้าทาย ต้องพยายามจึงจะไปถึง ไม่ใช่พื้นๆ • สั้น กระชับ ได้ใจความ • สื่อความหมายให้คนขององค์การเข้าใจทั่วถึงกัน จนเป็นวิสัยทัศน์ร่วม (Shared vision, common vision) • ช่วยบอกทิศทางขององค์กรอย่างชัดเจนและกระตุ้นให้ทุกคนในองค์กรดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน • ช่วยประสานการดำเนินงานของหน่วยงานและทรัพยากรมนุษย์
องค์ประกอบของวิสัยทัศน์องค์ประกอบของวิสัยทัศน์ ตัวอย่าง“เป็นที่หนึ่งในด้านการบริการภายในประเทศไทยรวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอย่างครบวงจรโดยดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ ให้บริการอย่างมืออาชีพ ใส่ใจลูกค้า มีความเป็นธรรม ยึดมั่นในจรรยาบรรณ” เป็นที่หนึ่ง = เป้าหมายอันสูงส่ง (Visionary Goal) ในด้านการบริการ = สินค้าและผลิตภัณฑ์ (Product) ภายในประเทศไทย = ตลาด (Market) รวมทั้งธุรกิจ...อย่างครบวงจร = ขอบเขตธุรกิจ (Business Scope) ดำเนินงานอย่าง...จรรยาบรรณ = ค่านิยม(Value)
พันธกิจ (Mission) • พันธกิจ หมายถึง ข้อความที่แสดงแนวคิดและวิธีการดำเนินงานเพื่อบรรลุถึงวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ โดยต้องระบุให้ชัดเจนใน 4 ด้านคือปณิธาน (purpose),แนวทางบริหารกิจการ (the business rationale), มาตรฐานและพฤติกรรมในดารดำเนินงาน (standards and behaviors) และค่านิยม (values) นั่นคือเราต้องบอกความมุ่งมั่นและขอบเขตขององค์กรเราที่จะทำในสิ่งดีดีมีคุณค่าให้ลูกค้า • พันธกิจหรือภารกิจ เป็นหลักการที่ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจกำหนดวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ขององค์การ
ภารกิจหรือพันธกิจ (MISSION) • แปรนามธรรมของวิสัยทัศน์ให้เป็น ทิศทางในการทำงานที่เป็นรูปธรรมเห็นได้เป็นจริง • ต้องชัดในเรื่อง • องค์กรเราทำอะไรบ้าง • รับผิดชอบอะไรต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด • กำหนดมาตรฐานอะไรบ้าง • พฤติกรรม/จริยธรรมของทีมงานเราเป็นอย่างไร
การกำหนดพันธกิจ • Mission ตอบคำถาม • Why we exist ?เหตุผลการดำรงอยู่ขององค์การคืออะไร • What is our activity for achieving our vision? เราต้องทำอะไรเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ • Peter Drucker ต้องตอบคำถาม 5 ข้อนี้ • ธุรกิจของเราคืออะไร • ลูกค้าของเราคือใคร • คุณค่าหรือค่านิยมที่ลูกค้าต้องการคืออะไร • ธุรกิจของเราจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรต่อไป • ธุรกิจของเราควรจะมีลักษณะเช่นใดในอนาคต
เป้าหมายหรือจุดมุ่งหมาย (Goals) คือ ผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย(end results)ที่กิจการหนึ่งๆวางไว้ล่วงหน้าเพื่อบรรลุภารกิจที่กำหนดไว้ โดย Peter Drucker เสนอครอบคลุม 8 มิติได้แก่ • Public Responsibility ความรับผิดชอบต่อสาธารณชน ลูกค้าและสังคม • Physical and Financial resources ทรัพยากรกายภาพและการเงิน • Innovation นวัตกรรมหรือการริเริ่ม เพื่อพัฒนาสิ่งใหม่ๆ • Managerial performance and development ผลดำเนินงาน • Profitability ความสามารถในการทำกำไร • Productivity ผลิตภาพ การเสริมสร้างประสิทธิภาพ • Worker performance and Attitude ผลงานและทัศนคติของผู้ปฏิบัติงาน • Market standing ฐานะหรือตำแหน่งทางการตลาด
วัตถุประสงค์ (Objectives) คือข้อความที่ระบุลักษณะของผลงานที่จะปฏิบัติต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการคือ • คุณลักษณะของงาน(Attributes) • เครื่องชี้วัด(index) • เป้าหมาย(Target) • ห้วงเวลา(Time frame)
กำหนดวัตถุประสงค์ที่ดีกำหนดวัตถุประสงค์ที่ดี • มีหลักการสำคัญ 5 ประการตาม SMART Principle ดังนี้ • Sensible and Specific มีความเป็นไปได้และระบุเครื่องชี้วัดที่ชัดเจน • Measurable targets ต้องระบุเป้าหมายที่วัดได้ • Attainable and Assignable ต้องบรรลุผลที่ต้องการกับสามารถมอบหมายได้ • Reasonable and Realistic ต้องอธิบายและทำให้เป็นจริงได้ • Time available ต้องกำหนดกรอบเวลาอย่างเหมาะสม
เป้าประสงค์หรือเจตน์จำนง (Purpose) • คือทำอะไร (Mission) ให้เป็นอย่างไร (Vision) ถ้าเขียนได้ดีจะบอกตัวชี้วัดคุณภาพของผลงานไว้ด้วย โดยจะมีทั้งวิธีการ (Mean) และผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการ (End) • พระปฐมบรมราชปณิธานหรือพระปฐมบรมราชโองการของในหลวง รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็น Purposeที่มีมากว่า 60 ปี “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม”
ค่านิยมร่วม (Core Values) “ คุณค่าหรือวัฒนธรรมขององค์กร ที่มีการยึดถือเป็นแบบอย่างในการทำงานทั่วทั้งองค์กร หรือยึดถือเป็นคติประจำองค์กรโดยมากนิยมเขียนเป็นคำขวัญ คำกลอน หรือวลีสั้นๆ ประจำองค์กรหรือหน่วยงาน ” ตัวอย่างเช่น ค่านิยมของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน “ ซื่อสัตย์ มืออาชีพ รับผิดชอบ ” Integrity Professional Accountability
วัฒนธรรมองค์การ • คือ ความตระหนักหรือสำนึกขององค์การที่ซ่อนเร้น มองไม่เห็น อยู่ภายในและไม่เป็นทางการ ซึ่งชี้นำและควบคุมพฤติกรรมของบุคคล (Christian Scholz) • คือ ประเพณีนิยมในการปฏิบัติขององค์การ (ทองหล่อ เดชไทย) • คือ สิ่งยึดเหนี่ยวใจคนในองค์การให้ปฏิบัติตามโดยไม่ต้องบังคับ (พิเชฐ บัญญัติ) • ระดับของวัฒนธรรม (วิธีที่เราทำกันที่นี่ ค่านิยมร่วม ความจริงที่สมาชิกทุกคนยอมรับ) • คุณลักษณะที่สำคัญของวัฒนธรรมองค์การ • วัฒนธรรมองค์การเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ • วัฒนธรรมองค์การเป็นสิ่งที่ทุกคนมีส่วนร่วม • วัฒนธรรมเป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม
P Pa a t Safety Patient tie i e n nt t Vision Mission Goals Objectives หน่วยงาน Purpose1 Purpose2 Purpose3 Purpose4 Healthy Purpose5 Purpose6 Purpose7 Purpose8
วิสัยทัศน์ พันธกิจ ชื่อองค์กร ผลลัพธ์โดยรวม ฝ่าย ผลลัพธ์เฉพาะ จุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมาย ผลงาน แผนก วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์
วิสัยทัศน์ พันธกิจ องค์กร ผลลัพธ์โดยรวม ฝ่าย ผลลัพธ์เฉพาะ กลยุทธ์ 1 กลยุทธ์ 2 กลยุทธ์ 3 ผลงาน แผนก กลวิธี1.1 กลวิธี2.1 กลวิธี3.1 กลวิธี1.2 กลวิธี2.2 กลวิธี3.2 กลวิธี1.3 กลวิธี2.3 กลวิธี3.3
ตัวอย่างวิสัยทัศน์องค์กรสาธารณสุขตัวอย่างวิสัยทัศน์องค์กรสาธารณสุข • เป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมให้ประชาชน ครอบครัว และชุมชนสุขภาพแข็งแรง ดูแลสุขภาพตนเอง จัดระบบกลไกให้เกิดการมีส่วนร่วมจากองค์กรท้องถิ่นทุกภาคส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและสิ่งแวดล้อม • ประชาชนมีสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข องค์กรมีคุณภาพ ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม • เราจะเป็นโรงพยาบาลคุณภาพที่ประชาชนเชื่อมั่นศรัทธา • เป็นโรงพยาบาลคุณภาพมุ่งส่งเสริมสุขภาพให้บริการด้วยหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์ • เราจะเป็นโรงพยาบาลชุมชนที่ให้บริการด้านสุขภาพที่ดีที่สุดในจังหวัดตาก
กรมอนามัย • วิสัยทัศน์กรมอนามัย พ.ศ. 2548-2550 “องค์กรหลักในการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมของประเทศ” • พันธกิจ • การพัฒนา ผลักดัน และสนับสนุนให้เกิดนโยบาย และ กฎหมายที่จำเป็น (Policy and Regulation Advocacy)ในด้านการส่งเสริมสุขภาพของประเทศ • การผลิตพัฒนาองค์ความรู้ และ นวัตกรรม (Innovation and Technical Development)เพื่อการส่งเสริมสุขภาพที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทย • การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการส่งเสริมสุขภาพให้กับเครือข่าย (Facilitator)รวมไปถึงการผลักดันและสนับสนุนให้เครือข่ายส่งเสริมสุขภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานและกฎหมาย เพื่อให้ประชาชนได้รับการส่งเสริมสุขภาพที่ดีและมีคุณภาพ • การพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพให้เข้มแข็ง (System Capacity Building)รวมไปถึงระบบที่เกี่ยวข้องโดยการกำกับ ติดตาม และประเมินผลเพื่อนำมาสู่การพัฒนานโยบายกฎหมาย และ ระบบอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ
กรมสุขภาพจิต • วิสัยทัศน์ • เป็นองค์กรมาตรฐานการพัฒนางานสุขภาพจิต (ด้านส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟู) • เป็นศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศ องค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านสุขภาพจิตของประเทศ • เป็นศูนย์กลางประสานงานความร่วมมือทางวิชาการสุขภาพจิตในเอเชีย • เป็นองค์กรที่มีการบริหารที่ดีเยี่ยม • เพื่อความสุขที่ยั่งยืนของคนไทย • พันธกิจ • ศึกษา วิจัย พัฒนาองค์ความรู้ และเทคโนโลยีด้านสุขภาพจิต (การส่งเสริมป้องกัน บำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ) • ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านสุขภาพจิต • บริการสุขภาพจิตที่มีคุณภาพมาตรฐานเป็นธรรม และทันต่อสถานการณ์ แก่ผู้ป่วยที่มีปัญหารุนแรง ยุ่งยาก ซับซ้อน
โรงพยาบาลบ้านตาก • นโยบายหลัก 4 C: Clean-Care-Cooperation-Community • พันธกิจ “เราให้บริการสุขภาพแบบผสมผสานและองค์รวมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน” • วิสัยทัศน์ “โรงพยาบาลบ้านตาก สะอาดและสวย ดีพร้อมด้วยการบริการ พนักงานสามัคคี เป็นโรงพยาบาลที่ดีของชุมชน” • ปรัชญา “โรงพยาบาลชุมชน เพื่อชุมชน เพื่อสุขภาพดี”
จุดมุ่งหมายโรงพยาบาลบ้านตาก: Goals • มีระบบบริการที่สะดวกรวดเร็วเข้าถึงง่ายเป็นที่ประทับใจและเหมาะสมตามศักยภาพ • มีการบริการทางคลินิกที่ปลอดภัยมีประสิทธิผลถูกต้องตามหลักวิชาจรรยาวิชาชีพและสิทธิผู้ป่วย • จัดบริการเพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพดีถ้วนหน้าของประชาชน • มีสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลและชุมชนที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี • เจ้าหน้าที่ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข • มีการบริหารแบบมีส่วนร่วมอย่างโปร่งใสเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ • มีการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องเพื่อมุ่งสู่LO